><กระทู้ใหม่(4) วัตถุมงคลดีพิธีใหญ่สภาพสวย หลากหลายสายราคาเบา (สรุปรายการ น.1) ><

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย ศิษย์ปิยธโร, 5 มกราคม 2017.

  1. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,584
    ค่าพลัง:
    +30,871
    morning.png
     
  2. MATHS

    MATHS เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +907
    ขอจองครับ
     
  3. num ufo

    num ufo สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2018
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +21
    ผมโอนให้แล้วนะครับข้อความ
     
  4. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,207
    ค่าพลัง:
    +14,323
    1742.เล็กดีรสโตหายาก พระพุทธชินราช วัดประสาทปี06
    สุดยอดพิธีของเมืองไทย ลป.ดู่,ลพ.พรหม,ลป.ทิม,ลป.โต๊ะ ร่วมเสก

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    6BPM.jpg

    พระพุทธชินราช พิมพ์ปีกกว้าง หลังเบี้ย(หลังอูมแบบพระกดมือโบราณ) วัดประสาทบุญญาวาส เนื้อผงวิเศษผสมผงมหาพุทธคุณขาว ประกอบด้วยมวลสารสมเด็จบางขุนพรหมหลายสิบบาตรพระ และหลวงปู่ทวดปี 97 และพระเครื่อง พระกรุเก่าๆ ตลอดจนมวลสารศักดิ์สิทธิ์อื่นๆที่ผู้ศรัทธานำมาถวาย และได้รับจากพระคณาจารย์ทั่วประเทศ จัดสร้างเมื่อปี พ.ศ.2506
    *** ด้านมุมล่างขององค์พระ ไม่ใช่รอยกระเทาะนะครับ เป็นปีกเนื้อเกินขององค์พระที่กดไม่เต็มตามธรรมชาติพระแบบกดพิมพ์โบราณ ส่วนรอยละเอียดองค์พระเต็มครบไม่บิ่นไม่หัก ***

    ประกอบพิธีพุทธาภิเษก 3 วัน 3 คืน
    เมื่อวันที่ 13-14-15 พย. 2506 และในวันที่ 16 พย. 2506 เวลา 5 โมงเย็น อาราธนาพระคณาจารย์ 108 รูป ร่วมมหาพุทธาภิเษก พระเกจิอาจารย์ที่เรืองเวทย์ด้านคาถาอาคมมาร่วมพิธีปลุกเสกมากกว่า 108 รูป อาทิ เช่น อาจารย์ทิม วัดช้างให้ ,หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา ,หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ,หลวงปู่นาค วัดระฆัง ,หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ,หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม ,หลวงปู่ดู่ วัดสะแก ,หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค ,หลวงพ่อทบ วัดชนแดน ,หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก ,หลวงพ่อสุด วัดกาหลง ,หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่ ,หลวงปู่เขียว วัดหรงบน ,อาจารย์นำ วัดดอนศาลา ,เจ้าคุณประหยัด วัดสุทัศน์ ,หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ด ,หลวงปู่เฮี้ยง วัดป่าฯ ,หลวงปู่มิ่ง วัดกก ,หลวงปู่อั้น วัดพระญาติ ,หลวงปู่ครื้น วัดสังโฆ, หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว, หลวงปู่มุ่ย วัดดอนไร่, หลวงปู่ดิษฐ์ วัดปากสระ, หลวงปู่แดง วัดเขาบันไดอิฐ, หลวงปู่สี วัดสะแก, หลวงปู่โบ๊ย วัดมะนาว, หลวงปู่เส่ง วัดกัลยา, หลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง, หลวงปู่บุญมี วัดเขาสมอคอน, หลวงปู่เต๋ วัดสามง่าม, หลวงปู่หน่าย วัดบ้านแจ้ง, หลวงปู่ชื้น วัดญาณเสน, หลวงปู่กัน วัดเขาแก้ว, หลวงปู่แก้ว วัดช่องลม, หลวงปู่ทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง, หลวงปู่ฑูรย์ วัดโพิ์นิมิตร, เจ้าคุณเจีย วัดโพธิ์, หลวงปู่ดี วัดเหนือ, หลวงปู่แขก วัดหัวเขา, หลวงปู่ทองสุข วัดสะพานสูง, หลวงปู่จวน วัดหนองสุ่ม, หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช, หลวงปู่สอน วัดเสิงสาง, หลวงปู่แทน วัดธรรมเสน, หลวงปู่เทียน วัดโบสถ์, หลวงปู่นิล วัดครบุรี, หลวงปู่บุดดา วัดกลางชูศรี และคณาจารย์ชื่อดังอีกมากมายกว่า 234 รูปร่วมปลุกเสกอีกวาระหนึ่ง
    ข้อมูลภาพจาก : หนังสือพระเครื่องวัดประสาทปี06 เล่มแดง ของสองดาวยานนาวา

    สภาพผิวหิ้งเก่าเก็บ หายากแบบปีกกว้างกดมือพิมพ์โบราณหลังเบี้ย อีกหนึ่งมงคลวัตถุที่เนื้อดีพิธีใหญ่ พุทธคุณครอบครบ พระเก็บไม่ใช้ เนื้อหาเข้มข้นโชว์ผิวเหนอะให้เห็นพอสวย ของดีราคาประหยัดที่ทุกคนก็เป็นเจ้าของได้ แบ่งให้บูชา 567 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)




    (คุณthavornsiripat จองแล้วครับ)




    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com
    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มิถุนายน 2020
  5. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,207
    ค่าพลัง:
    +14,323
    1743.ยอดเหรียญดีราคาเบาๆ เหรียญพระเจ้าห้าพระองค์ นิตยสารลานโพธิ์
    มหาพิธีหลายวาระ ลป.โต๊ะ,ลป.สาม,ลพ.สงฆ์ ร่วมประจุพลัง

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    6BPi.jpg

    image-5a5d_58f5bd7e-jpg-4139143-jpg-jpg.jpg
    เหรียญพระเจ้าห้าพระองค์ หลังยันต์มงกุฏพระเจ้า นิตยสารลานโพธิ์ เพื่อเป็นที่ระลึกครบรอบ 5 ปี เนื้อทองแดงดำ ดำเนินการจัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2522

    วาระพิธีอธิษฐานจิตปลุกเสก

    วาระที่ : 1
    - หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จังหวัดชุมพร อธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว

    วาระที่ : 2

    - หลวงพ่อดำ วัดตุยง จังหวัดปัตตานี อธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว

    วาระที่ : 3

    - พระอาจารย์แอบ วัดปากน้ำ หาดใหญ่ อธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว

    วาระที่ : 4

    - หลวงพ่อขวัญ วัดปากอ่าว จังหวัดสุราษฏร์ธานี อธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว

    วาระที่ : 5

    - พ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง อธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว

    วาระที่ : 6

    - พ่อท่านแก่น วัดทุ่งหล่อ อธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว

    วาระที่ : 7

    - หลวงพ่อหงษ์ วัดชลคราม จังหวัดสุราษฏร์ธานี อธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว

    วาระที่ : 8

    - หลวงพ่อจ้อย วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี อธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว

    วาระที่ : 9

    - พ่อท่านจันทร์ วัดทุ่งเฟื้อง จังหวัดนครศรีธรรมราช อธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว

    วาระที่ : 10

    - หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กทม. อธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว

    วาระที่ : 11

    - หลวงปู่ทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง อธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว

    วาระที่ : 12

    - พระอาจารย์สมชาย วัดเขาสุกิม อธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว

    วาระที่ : 13

    - พิธีพุทธาภิเษก ณ วัดเวฬุราชิน ตลาดพลู ธนบุรี เมื่อ 9 ธันวาคม พ.ศ.2522 โดยมีพระเกจอาจารย์ดังนี้ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังวิเวการาม, หลวงปู่เส่ง วัดกัลยา, หลวงปู่สาม วัดไตรวิเวก, หลวงปู่คำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์, หลวงพ่อสมชาย วัดเขาสุกิม, หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง, หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง, หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง, หลวงพ่อทองดำ วัดถ้ำตะเพียนทอง, หลวงพ่อสุด วัดกาหลง, หลวงพ่อทองสุข วัดสพานสูง, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง เป็นต้น

    วาระที่ : 14

    - ก่อนจะนำพิธีพุทธาภิเษก ณ วัดเวฬุราชิน หากมีเวลาจะนำไปให้ หลวงปู่หลุย วัดถ้ำผาปิ้ง ปลุกเสกหากติดขัดด้วยเวลาจะนำให้พระคณาจารย์อื่นปลุกเสกแทน

    สภาพสวยเดิมสมบูรณ์ผิวเดิมๆสัมผัสน้อยมากๆ อีกหนึ่งของดีนอกวัดของหลวงปู่โต๊ะที่ราคาสบายกระเป๋าแต่พุทธคุณล้นฟ้า พระไม่ช้ำไม่ได้ใช้ ไม่หักไม่ซ่อม ของดีพิธีใหญ่ที่นับวันจะหาพระเนื้อดีๆพิธีใหญ่ๆแบบนี้ไม่ได้เเล้วครับ แบ่งให้บูชา 399 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ




    (คุณสักการะ จองแล้วครับ)





    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com
    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มิถุนายน 2020
  6. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,584
    ค่าพลัง:
    +30,871
    5485.gif
     
  7. thavornsiripat

    thavornsiripat สิ่งใดไม่เปลี่ยนแปลง ไม่มี เป็นธรรมดา เช่นนั้นเอง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    2,071
    ค่าพลัง:
    +13,917

    จอง




     
  8. สักการะ

    สักการะ ชิวิตดั่งอาทิตย์อัศดง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,692
    ค่าพลัง:
    +5,780
    จอง1743ครับ
     
  9. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,207
    ค่าพลัง:
    +14,323
    1744.มหากาพย์พิธีเหนือโลก(มีพลอยเสกหายาก) พระรอดปลอดภัย
    เจตนาสร้างแบบริสุทธิ์ ครูบาอินโท ร่วมอธิษฐานจิตมหาพิธี 9ราตรี

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    6Btg.jpg

    kyclpk-jpg-jpg-jpg.jpg kycc4q-jpg-jpg-jpg.jpg kycuqs-jpg-jpg-jpg.jpg
    พระรอดปลอดภัย(หลัง อ. วัดสันป่ายางหลวง จังหวัดลำพูน ดำเนินการจัดสร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2532 เนื้อดินสังเวชนียสถานและดินที่วังหัวกวงซึ่งเป็นดินสร้างพระของเมืองลำพูนแต่โบราณกาลมาผสม ผงยา,ผงว่าน,มวลสารต่าง ๆ ในสมัยที่ท่าน เดินธุดงค์ปฏิบัติธรรมไปในสถานที่ต่างๆ ,ใบลานจารอักขระธรรมของวัดที่หักชำรุด เอามาบดทำมวลสาร

    ประวัติพระรอด
    คนส่วนใหญ่มากเมื่อพูดถึงเมืองลำพูน มักจะเล่าสู่กันฟังถึงความวิจิตรสายงามของพระธาตุภุญชัย อันตั้งเด่นตระหง่านเป็นพันปี เท่าอายุของนครหริภุญชัยหรือลำพูน ในปัจจุบัน เช่น พระเจดีย์วัดจามเทวีและกู่บรรจุอัฎฐิพระแม่จามเทวี ปฐมกษัตริย์ของหริภุญชัย ตลอดจนพระวัดวาอารามต่างๆ อีกหลายแห่ง ซึ่งล้วนแต่มีประวัติอันยาวนานคู่บ้านคุ่เมือง

    วัดที่รู้จักกันดีในบรรดาพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ เพราะเป็นที่บรรจุพระเครื่องสำคัญเป็นอันที่รู้จัก และเป็นที่นิยมกันทั่วไปนับได้ว่าเป็นลัญญสักษณ์อย่างหนึ่งของเมืองลำพูน คือ วัดพระคงฤาษี ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของตัวเมืองลำพูน เป็นที่ประดิษฐานบรรจุพระคง หรือเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่าพระลำพูนดำ หรือ ลำพูนแดง แล้วแต่สีของพระ อีกวัดหนึ่งคือวัดมหาวัน ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของตัวเมืองลำพูน เป็นวัดที่ประดิษฐานบรรจุพระเครื่องสำคัญ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขว้าง ทั้งคนในเมืองลำพูน และคนทุกภาคทุกจังหวัดของประเทศไทย ต่างก็พยายามเสาะแสวงหามาไว้บูชาพกพาติดตัวเพื่อพึ่งพลังอิทธิฤทธิ์ ให้แคล้วคลาดจากภยันอันตรายทั้งหลายทั้งปวงอันอาจจะประสบเข้ากับตนเอง และด้วยอำนาจพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณอันบรรจุไว้ในองค์พระรอดนี้ ได้ช่วยให้ผู้ที่บูชากราบไหว้อยู่เสมอ ให้แคล้วคลาดหลุดพ้นจากเหตุการณ์อันตรายได้โดยปลอดภัยราวกับปาฎิหาริย์ มานับครั้งไม่ถ้วน มีหลักฐานบุคคลที่ประสบเหตุการณ์พอที่จะสอบถามได้อยู่มาก

    เหตุที่พระรอดเป็นพระเครื่องที่ทรงไว้ ซึ่งอิทธิปาฎิหาริย์อันยิ่งใหญ่ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นเป็นเพราะ
    1. ผู้สร้างพระรอด (รวมทั้งพระคง และพระลือ) สร้างขึ้นมาด้วยจิตอันบริสุทธิ์ ประกอบด้วยเมตตาธรรมเป็นที่ตั้ง หวังให้บุคคลผู้มีไว้ครอบครอง และบูชาอยู่เป็นนิจ ได้รับความร่มเย็นเป็นสุข รอดพ้นจากภยันตรายทั้งหลายทั้งปวงที่จะมาเบียดเบียนชีวิต ทั้งนี้ โดยไม่หวังผลเป็นอามิสไดๆ ทั้งสิ้น
    2. นอกจะมีไว้เพื่อปกป้องประชาชนแล้ว ท่านผู้สร้าง ยังมุ่งหวังเพื่อจะให้คุ้มครองบ้านเมืองให้แคล้วคลาดปราศจากภยันตรายทั้งหลายทั้งปวง ดังนั้นการสร้างก็อธิฐานไปในทางข่มศัตราวุธและอำนายให้เกิดความแคล้วคลาด (รายละเอียดการสร้างพระรอด โปรดหาอ่านได้จากหนังสือ)

    เหตุการณ์มหัศจรรย์
    ในระยะที่ทางคณะผู้จัดสร้างพระรอด กำลังดำเนินงานกันอยู่นี้ คุณไพศาล แสนไชย ผู้สามารถติดต่อกับเทวโลกได้ และนรกได้ ทำหน้าที่ทูตจากเทวโลกและนรกโลกมาเป็นเวลานานแล้ว ได้นำข่าวจากเทวโลกมาแจ้งให้แก่พระอาจารย์อินทรว่า การสร้างพระรอดครั้งนี้ทางพระสงฆ์ที่อยู่บนเทวโลก ท่านก็ได้ทราบแล้วและทุกท่านที่ทราบ เช่น ท่านครูบาคัณธา คัณธาโล ครูบาสรีวิชัย หลวงพ่อโอภาสี ก็ขอร่วมอนุโมทนา ในเจตนารมณ์อันเป็นบุญเป็นกุศลนี้ และแจ้งด้วยว่าในวันพุทธาภิเกพระนั้น ทุกท่านก็จะลงมาร่วมด้วยพร้อมกับพระสงฆ์อีกหลายรูปที่อยู่บนเทวโลก ในโอกาสนี้ท่านครูบาคัณธา คัณธาโลก สั่งมาว่าขอหัยสาธุเจ้าอินทร ไปบอกกล่าวแก่เทวดาผู้รักษา ดอยไซและขอดินที่ดอยไซมาร่วมผสมทำพระรอดด้วย เพราะเทวดาท่านนี้ในอดีตสมัยพระนางจามเทวีท่านชื่อ ขุนเจ้าคำบุญ เคยร่วมสร้างพระรอดโดยเป็นเจ้าพิธีในการทำทุกขั้นตอน ส่วนท่านพญาพิงคราช ก็กำชับมาว่าอย่าลืมเอาว่านเพชรหลีกมาผสมด้วย จะทำให้พระรอดนี้มีอิทธิทางแคล้วคลาดหลีก พ้นจากอันตราย หลวงพ่อโอภาสี ได้ขิให้ครูบาคัณธา นำท่านไปพบกับหลวงปู่บุญ หรือพระพุทธวิถีนายก วัดกลางบางแก้ว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นอาจารย์ของท่านเมื่อยังทรงสังขารอยู่ในมนุษย์โลก แต่ขณะนี้ได้มาสถิตอยู่บนพรหมโลก ท่านมีความรู้เรื่องการสร้างพระเครื่องดีมากเมื่อพบกันแล้วโดยไม่ต้องแจ้งความจำนง หลวงปู่กล่าวออกมาทันทีที่คณะของครูบาคัณธา ไปถึงว่า

    เริ่มดำเนินงาน
    การดำเนินการสร้างพระรอดในครั้งนี้ พระอาจารย์อินทร ปัญยาวัฑฒโน และบรรดาผู้ร่วมงานได้ตกลงจะจะปฏิบัติตามแบบฉบับเดิมของพระแม่เจ้าจามเทวีได้ปฏิบัติมา ซึ่งองค์พระแม่เจ้าได้เล่าเรื่องการสร้างพระรอด พระคง พระลือ อย่างละเอียดผ่านคุณไพศาล แสนไชย และได้จัดพิมพ์เป็นรูปเล่มเรื่อง
    การอธิษฐานจิตแผ่เมตตาให้แก่แบบพิมพ์พระ
    แบบพิมพ์พระรอดนี้ ได้จ้างผู้ที่มีความรู้เรื่องพระรอดและเคยแกะต้นแบบพระรอดมาแล้วจนชำนาญ เป็นผู้แกะต้นแบบจัดทำพิมพ์พระให้แต่ก่อนที่จะนำแบบพิมพ์ทั้งหมดมาทำการพิมพ์พระ ท่านอาจารย์อินทร ได้นำเอาแบบพิมพ์เหล่านั้น ไปขอความเมตตาจากครูบาสังฆะที่มากด้วยพรรษา และเปี่ยมด้วยบารมีธรรมช่วยแผ่พลังจิตอธิษฐาน เพื่อให้พระรอดทุกองค์ที่กดออกจากแบบพิมพ์นั้น ทรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ ครูบาสังฆะที่พระอาจารย์อินทร ได้ไปขอความเมตตาจากพระคุณท่าน คือ
    1. ครูบาอินตา อินทปัญโญ วัดห้วยไว อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
    2. ครูบาอิ่นแก้ว วัดวาลุการาม (ป่าแงะ) อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
    3. ครูบาคำตั๋น อารามดอย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
    4. พระครูวรวุฒิคุณ (ครูบาอินทร) วัดฟ้าหลั่ง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ แล้วได้ฝากแบบพิมพ์ทั้งหมด ไว้กับท่านครูบาอิน อินโทเป็นเวลา5 วัน กับ 5 คืน เพื่อขอรับบารมีจากครูบา

    การกดพิมพ์พระ
    พระรอดวัดสันป่ายางหลวง ได้ฤกษ์ลงมือกดพิมพ์พระตามแบบโหราจารย์ภาคเหนือ ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2532 ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 3 เหนือ ยามเช้า พระเณรในวัดสันป่ายางหลวงและคณะศรัธธาผู้ร่วมสร้างพระรอด ได้ช่วยกันนำวัตถุมงคลทุดอย่าง ที่ต้องใช้ในการกดพิมพ์พระรอด เช่น ดินผสม ผงยา และผงว่าน ที่จะนำมาคลุกดินอีกครั้งหนึ่งก่อนการกดพิมพ์พระรอด น้ำทิพย์ที่นำมาผสมดินให้อ่อนนิ่ม ทั้งหมดได้นำมารวมไว้กลางพระอุโบสถ แล้ววางรูปพระเกจิอาจารย์สำคัญๆ อันเป็นที่รู้จักและเคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศไว้รอบๆ กองวัตถุมงคลนั้น เพื่ออธิษฐานของความเมตตาจากพระคุณท่าน ช่วยแผ่พลังบารมีมาปกป้องคุ้มครองพร้อมกับร่วมประจุพลังลงในวัตถุมงคลนั้นด้วย พระสงฆ์ภายในวัดสันป่ายางหลวง อันมีพระอาจารย์อินทร ปัญญาวัฑฒโน เจ้าอาวาสเป็นประธาน ได้ร่วมกันสวดชยันโต ประพรมน้ำทิพย์ซึ่งนำมาทำน้ำพระพุทธมนต์ลงไปตามวัตถุมงคลเสร็จแล้วจึงลงมือกดพิมพ์พระ โดยพระอาจารย์อินทร เริ่มประเดิมเป็นองค์แรกพิมพ์ละองค์ทุกๆ พิมพ์ การสร้างพระครั้งนี้ ท่านพระอาจารย์อินทร ได้ตั้งใจไว้ว่าจะทำให้ได้ แปดหมื่นสี่พันองค์ เท่ากับจำนวนพระธรรมขันธ์ และเท่ากับจำนวนที่พระนางจามเทวีได้เคยสร้างไว้ครั้งแรก

    การอาบว่านยา
    การอาบว่านยาเริ่มตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2532 ไปจนถึงวันที่ 5 มกราคม 2533 รวมเวลา 9 วัน เริ่มด้วยพิธีการด้วยการเทศน์หนึ่งกันฑ์พระสงฑ์สวดชัยมงคลคาถา อุบาสกพิธีกรรมร่วมกับพระเณร ช่วยกันนำรพะลงอาบแช่น้ำว่านยา เป็นเวลาพอสมควร ให้เนื้อพระดูดซับเอาน้ำว่ายาไว้ แล้วนำขึ้นผึ่งบนแท่นที่ปูลาดด้วยผ้าเหลืองภายในปริมณฑล พระสงฑ์สวดชยันโตแล้วคลุมทับด้วยดอกไม้นานาชนิด ประพรมด้วยน้ำมนต์ น้ำอบน้ำหอม ทำพิธีเช่นนี้ติดต่อกันทุกเช้าเวลา 09.09 น. เป็นต้นไป จนถึงวันครบกำหนดคือ วันที่ 5 มกราคม 2533 และในตอนกลางคืนทุกคืน ได้รวมพระรอดกองไว้แล้วพระสงฑ์ภายในวัด สวดชัยมงคลคาถาเป็นประจำจนเสร็จพิธีอาบว่านยา หลังจากนั้นวันสุดท้ายคือ วันที่ 5 มกราคม 2533 ได้นำพระรอดทั้งหมดมาประพรมและคลุกด้วยน้ำมันมนต์ อันประกอบด้วยน้ำมันงา , น้ำมันจันทน์ , น้ำมันมะพร้าว , น้ำมันมะกอก , น้ำมันละหุ่ง , น้ำมันหมื้อ , ชมด , ผงจันทร์เทศ , และกฤษณา น้ำมันนี้ได้เก็บไว้ในโบสถ์ และทำพิธีสวดด้วยธรรมจักร ทุกวันพระตลอดพรรษา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 จนกระทั่งเนื้อพระดูดซับเอาน้ำมันมนต์ฉ่ำทั่วองค์พระแล้ว จึงนำออกผึ่งให้แห้ง พอพระรอดทั้งหมดแห้งพอดี ก็ลำเลียงเข้าสู่บริเวณพิธีที่จะทำพิธีอธิฐานจิตแผ่เมตตาต่อไป

    การอธิฐานจิตแผ่เมตตา
    เมื่อขั้นตอนทั้งหลายผ่านพ้นไป และได้สำเร็จเป็นองค์พระตามที่ต้องการแล้ว พิธีสำคัญยิ่งคือพิธีพุทธาภิเษก หรือการอธิฐานจิตแผ่เมตตาประจุไว้ในองค์พระ สถานที่ประกอบพิธีกรรมภายในโบสถ์ วัดสันป่ายางหลวง ด้วยเห็นว่า โบสถ์นั้น เป็นสถานที่ของสงฑ์โดยเฉพาะการทำพิธีกรรมของสงฑ์ เช่น การอุปสมบท การปลงอาบัติ ฟังพระปาฏิโมกข์ ก็ทำได้เอาเฉพาะในโบสถ์เท่านั้น ดังนั้น โบสถ์จึงเป็นสถานที่หมดจดสะอาดปราศจากสิ่งเลวร้ายและมลทิน

    การจัดสถานที่ได้จัดเอาบรรดาศาสตราวุธทุกชนิดเท่าที่จะจัดหาได้บางอย่างก็ต้องใช้ของสมมุติแทนสิ่งมีพิษทั้งหลาย เช่น บรรดายาพิษทั้งหลายที่ชาวบ้านใช้กัน สัตว์มีพิษ และดุร้าย เช่น งูพิษ ตะเข็บ ตะขาบ ฯลฯ เสือ สิงโต กระทิง ควายป่า ช้าง ฯลฯ สัตว์ร้ายเหล่านี้ต้องใช้ของประดิษฐ์แทนของจริง ของทั้งหมดจัดนำมาเพื่อข่มพิษร้ายโดยจัดวางไว้ใต้แท่นที่วางพระแล้วปูทับด้วยผ้าขาวโรยทับด้วยดอกไม้อันมีดอกพุธ ดอกมะลิ และดอกไม้หอมอื่นๆ อีกมาก หมายถึงการลดความเลวร้ายลงและเปลี่ยนจากร้ายให้กลายเป็นดีในที่สุด ชั้นบนเป็นชั้นที่จัดวางพระรอดที่จะนำมาเข้าพิธีอธิฐานจิตแผ่เมตตา ปูลาดด้วยผ้าขาวแล้วจึงวางเกลี่ยพระลงบนชั้นนั้น ประพรมด้วยน้ำอบ น้ำหอมจนทั่วกองพระ แล้วปูทับด้วยผ้าขาวอีกชั้นหนึ่ง ชั้นบนสุดก็โรยด้วยดอกไม้อันเป็นมงคล และมีกลิ่นหอม การโรยดอกไม้ชั้นนี้ ได้โรยทับขึ้นไปทุกคืน ตลอดระยะเวลา 9 คืน
    พิธีสำคัญนี้ได้ฤกษ์เริ่มพิธีในวันที่ 6 มกราคม 2533 ตรงกับวันเสาร์ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 4 เหนือ ไปจนถึงวันที่ 14 มกราคม 2533 พิธีเริ่มตั้งแต่เวลา 19.00 น. ไปจนถึงเที่ยงคืน หลังเที่ยงคืนไปแล้ว ก็ยังคงเปิดโบสถ์จุดเทียนชัยไว้ แล้วกล่าว อัญเชิญเทพเทวาทั้งหลาย และพระสงฑ์จากพรหมโลก เทวโลก ขอให้มาร่วมแผ่เมตตาและอนุโมทนาในกองกุศลนี้ด้วย พิธีกรรมนี้ทำติดต่อกันไปรวมเวลาได้ 9 คืน ในพิธีอธิฐานจิตครั้งนี้ ทางวัดได้นำพระพุทธรูปขนาดหน้าตักกว้าง 9 นิ้ว จำนวน 205 องค์ พระพุทธรูปใหญ่ปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง 69 นิ้ว 1 องค์ พระพุทธรูป ยืนปางห้ามมารสูง 4 ศอก 1 องค์ พระพุทธรูปปางประธานพรแบบอินเดีย ขนาดหน้าตักกว้าง 39 นิ้ว 2 องค์ เข้าร่วมพิธีด้วย พระเกจิอาจารย์หรือครูบาสังฆะ ที่นิมนต์มาร่วมในพิธีอธิฐานจิตครั้งนี้ทั้งหมด 32 รูป ส่วนมากจะมีอายุ 70 พรรษาขึ้นไป และได้บำเพ็ญจิตภาวนาสั่งสมบารมีมาตลอด แม้บางองค์จะมีอายุพรรษาน้อยกว่านั้น แต่ก็เป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และสั่งสมบุญบารมีด้วยการบำเพ็ญจิตเรื่อยๆมาไม่ขาดสาย นับได้ว่าเป็นบุญอย่างยิ่งของคณะผู้ดำเนินการสร้างพระ ที่ได้รับความเมตตาอย่างสูงจากพระคุณเจ้าทุกรูป บางองค์ แม้จะสูงอายุสังขารร่างกายก็ทรุดโทรมตามปกติไม่รับนิมนต์ที่ไหนไกลๆ แต่ก็ยินดีมาร่วมพิธีกรรมครั้งนี้โดยเฉพาะ

    รายนามพระสงฆ์ที่มาร่วมพิธีอธิฐานจิตแผ่เมตตา
    วันที่ 6 มกราคม 2533
    1. พระมหาเจติยารักษ์ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร แสดงธรรม “ไชยะสังคะหะ “ เริ่มพิธีกรรม
    2. ครูบาดวงจันทร์ จันวโร วัดป่าเส้า อ.เมือง ลำพูน
    3. ครูบาปั๋นคำ วัดสวนลำไย อ.เมือง ลำพูน
    4. พระมหาบุญช่วย วัดสวนลำไย อ.เมือง ลำพูน

    วันที่ 7 มกราคม 2533
    1. ครูบาสิงห์แก้ว สิริวิชโย วัดป่าขาม อ.เมือง ลำพูน
    2. พระครูสุทธิธรรมสุนทร วัดบ้านหลุก อ.เมือง ลำพูน
    3. ครูบาอินตา ธนักขันโธ วัดวังทอง อ.เมือง ลำพูน
    4. ครูบาต่วน อริยวังโส วัดหนองปลาขอ อ.เมือง ลำพูน

    วันที่ 8 มกราคม 2533
    1. พระครูสังวรญาณ วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน อ.บ้านโฮ่ง ลำพูน
    2. พระครูรัตนวงศ์วิวัฒน์ วัดห้วยแทง อ.บ้านโฮ่ง ลำพูน
    3. พระครูศิรินันทคุณ วัดช้างค้ำ อ.ป่าซาง ลำพูน
    4. ครูบาซอน ธันมชโย วัดดอนหลวง อ.ป่าซาง ลำพูน

    วันที่ 9 มกราคม 2533
    1. พระครูชยาลังการ วัดทาดอยแช่ อ.แม่ทา ลำพูน
    2. พระครูรัตนวงศ์วิวัฒน์ วัดปทุมสราราม อ.ป่าชาง ลำพูน
    3. ครุบาจันทร์ จันทวังโส วัดสันเจดีย์ริมปิง อ.เมือง ลำพูน
    4. ครูบาสุจินดา สุมังคโส วัดม่วงชุม อ.พาน เชียงราย

    วันที่ 10 มกราคม 2533
    1. พระครูชยาลังการ วัดทาดอยแช่ อ.แม่ทา ลำพูน
    2. พระครูรัตนวงศ์วิวัฒน์ วัดประทุมสราราม อ.ป่าซาง ลำพูน
    3. ครูบาจันทร์ จันทวังโส วัดสันเจดีย์ริมปิง อ.เมือง ลำพูน
    4. ครูบาสุจินดา สุมังคโล วัดม่วงชุม อ.พาน เชียงราย

    วันที่ 10 มกราคม 2533
    1. ครูสิงหวิชัย สิริวิชโย วัดฟ้าฮ่าม อ.เมือง เชียงใหม่
    2. ครูบาอินตา อินทปัญโญ วัดห้วยไซ อ.เมือง ลำพูน
    3. ครูบาแสง วัดล้อมก่องข้าว อ.สันกำแพง เชียงใหม่
    4. พระครูพิทักษ์ปัจจันตเขต วัดพระชินธาตุดอยตุง อ.แม่สาย เชียงราย

    วันที่ 11 มกราคม 2533
    1. พระครูคันธวงศ์วิวัฒน์ วัดหนองผำ อ.ป่าซาง ลำพูน
    2. ครูบาสม โสภโน วัดเจดีย์สามยอด อ.ป่าซาง ลำพูน
    3. ครูตุ่น ปัญญาวิลาโส วัดบ้านล้อง อ.ป่าซาง ลำพูน

    วันที่ 12 มกราคม 2533
    1. พระครูญาณภิรัต วัดป่าเจริญธรรม อ.สันป่าตอง เชียงใหม่
    2. พระครูศรียูรมงคล วัดทุ่งแป้ง อ.สันป่าตอง เชียงใหม่
    3. พระครูบวรสุขบท วัดป่าซางน้อย อ.ป่าซาง ลำพูน

    วันที่ 13 มรกราคม 2533
    1. พระครูวรวุฒิคุณ วัดฟ้าหลั่ง อ.จอมทอง เชียงใหม่
    2. พระครูธรรมภาณี วัดดอยชัย อ.สันป่าตอง เชียงใหม่
    3. พระครูญาณภิรัต วัดป่าเจริญธรรม อ.สันป่าตอง เชียงใหม่

    วันที่ 14 มกราคม 2533
    1. พระครูสุขบทบริหาร วัดห้างฉัตร อ.ห้างฉัตร ลำปาง
    2. พระครูโถมมณียคุณ วัดบ้านเป้า อ.ห้างฉัตร ลำปาง
    3.พระครูรัตนาคม วัดพระธาตุเสด็จอ.เมือง ลำปาง
    4.พระครูรักขิตคุณ วัดม่อนพญาแช่ อ.เมือง ลำปาง
    นอกจากพระเถระที่นิมนต์มาแล้ว ทุกคืนพระสงฆ์ภายในวัดสันป่ายางหลวงอันประกอบด้วย
    1.พระปลัดอินทร ปัญญาวัฑฒโน เจ้าอาวาส
    2.พระมหาเจริญ ชุตินธโร
    3.พระอุทัย อภิญญาโณ
    4.พระชัยพร สิริปัญโญ
    5.พระคัชเชน โชติธัมโม
    ได้ร่วมพิธีอธิฐานจิตแผ่เมตตา กับพระเถระเป็นประจำทุกคืน ตั้งแต่คืนเริ่มต้นจนถึงคืนสุดท้าย พระภิกษุรูปอื่นที่ไม่เข้าร่วมพิธีอธิฐานจิตแผ่เมตตา ก็เข้าไปสวดพระคาถาพุทธาภิเษก ร่วมกันกับสามเณร ตั้งแต่เริ่มพิธีจนจบพิธีกรรมทุกๆ คืน

    พระสงฆ์จากเทวโลก พรหมโลกที่มาร่วมอธิฐานจิตแผ่เมตตา ทุกคืน หลังจากพิธีกรรมทางมนุษย์โลกจบสิ้นแล้วเวลาตั้งแต่ 24.00 น.เป็นต้นไป ได้มีพระสงฆ์จากพรหมโลก เทวโลก มาร่วมอธิฐานจิตแผ่เมตตาต่อไปอีก จนถึงเวลา 05.00
    พระสงฆ์จากเทวโลก พรหมโลก ที่มาร่วมอธิฐานจิตแผ่เมตตา พระรอดปลอดภัย

    วันที่ 6 มกราคม 2533
    1.ครูบาคัณธา คัณธาโล วัดเมืองสร้อย ตาก
    2.ครูบาศรีวิชัย วัดบ้างปาง ลี้ ลำพูน
    3.ครูบาบุญทา วัดสันป่ายางหลวง ลำพูน
    4.ครูบาอภัยสะระทะ วัดฝานหิน เชียงใหม่

    วันที่ 7 มกราคม 2533
    1.ครูบาอุปาละ วัดดอยเต (บ้านทา)ลำพูน
    2.หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน นครศรีธรรมราช
    3.หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ชุมพร
    4.หลวงปู่เขียว วัดหลงบน นครศรีธรรมราช

    วันที่ 8 มกราคม 2533
    1.หลวงพ่อยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดใน อยุธยา
    2.หลวงพ่อปาน วัดคลองด่วน สมุทรปราการ
    3.หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อยุธยา
    4.หลวงปู่รอด วัดทุ่งศรีเมือง อุบล

    วันที่ 9 มกราคม 2533
    1.สมเด็จลูน ประเทศลาว
    2.หลวงพ่อโอภาสี วัดบางมด
    3.หลวงปู่บุญ นครปฐม
    4.หลวงปู่สงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ชุมพร

    วันที่ 10 มกราคม 2533
    1.ครูบาสุริยะ วัดเท้าบุญเรือง เชียงใหม่
    2.ครูบาเถิ้ม วัดแสนฝาง เชียงใหม่
    3.ครูบาอินทรจักร วัดป่าลานห้วยยาบ ลำพูน
    4.ครูบาอุปาละ วัดดอยแต (บ้านทา) ลำพูน

    วันที่ 11 มกราคม 2533
    1.หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา
    2.หลวงพ่อหมุน วัดเขาตะแคงตะวันตก พัทลุง
    3.หลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่าน ปราจีน
    4.ครูบาอุปาละ วัดดอยแต (บ้านทา) ลำพูน

    วันที่ 12 มกราคม 2533
    1.หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง นครปฐม
    2.หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นครปฐม
    3.ครูบาอ้าย อินทรปัญโญ วัดสะปุ๋งน้อย (ป่าซาง) ลำพูน

    วันที่ 13 มกราคม 2533
    1.ครูบาดง ชวโน วัดดงเหนือ แพร่
    2.ครูบาแก้ว อินทรจักโก วัดเขื่อนคำลือ แพร่
    3.พระครูเนกขัมมะวิสุทธิ์ วัดดอนตัน น่าน
    4.ครูบาขันแก้ว วัดสันพระเจ้าแดง ลำพูน

    วันที่ 14 มกราคม 2533
    1.ครุบาคำแสน วัดสวนดอก เชียงใหม่
    2.ครูบาคำแสน วัดป่าดอนมูล เชียงใหม่
    3.หลวงปู่คำปัน วัดสันโป่ง เชียงใหม่
    4.หลวงปู่ภู วัดอินทร์วิหาร กรุงเทพ

    พระมหาเถระที่มีชื่อประจำวันนี้ ท่านจะมาร่วมอธิฐานจิต ตั้งแต่เที่ยงคืนจนถึง 5โมงเช้า ตามรายการ นอกจากนี้ยังมีพระเถระอีกนับร้อยรูปจากพรหมโลก ผลัดเปลี่ยนเวียนกันมาร่วมอธิฐานจิต องค์ละประมาณ10-15 นาที แล้วกลับ ตลอดระยะเวลาพิธีอธิฐานจิต ตั้งแต่วันเริ่มต้นจนวันสุดท้าย แต่ไม่อาจจะนำรายนามท่านมาลงได้ทั้งหมด เพราะมีจำนวนมากและบางองค์คุณไพศาล ก็ไม่รู้จัก
    ในคืนเริ่มต้นและคืนสุดท้ายของพิธีกรรม พระแม่เจ้าจามเทวี ได้เสด็จมาร่วมอนุโมทนา และแผ่เมตตาด้วยแต่อยู่ภายนอกโบสถ์ พระแม่เจ้าได้ตรัสกับไพศาลว่า พระรอดปลอดภัยนี้ดีเท่ากับพระรอดในสมัยที่แม่หม่อน(พระแม่จามเทวี)สร้างสามารถปราบแป๊ (ชนะ)ภูตผี เงือกหงอน ได้ด้วย ใครมีบูชาก็จะอยู่เย็นเป็นสุข จำเริญรุ่งเรือง แม่หม่อนขออนุโมทนากับผู้ใดก็ตามที่ได้ไว้บูชาทุกผู้ทุกคน ขอให้เคารพนบยำอย่าได้เหยียบย่ำข้ามกลายเป็นอันขาด(นี่คือคำยืนยันจากดวงพระวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของพระนางจามเทวี)

    ในปีพุทธศักราช 2529 พระอาจารย์อินทรปัญญาวัฑฒโน (พระครูปัญญาธรรมวัฒน์) ได้สร้างพระอุโบสถหลังใหม่แทนหลังเก่าซึ่งชำรุด ในปีนั้นท่านได้พิจารณาว่า ในงานฉลองอุโบสถหลังใหม่จะเอาอะไรเป็นที่ระลึกแก่ญาติโยมตลอดจน พุทธบริษัทที่ได้ร่วมกันสร้างพระอุโบสถ

    ในคืนวันหนึ่งท่านนั่งสมาธิและได้เห็นรูปพระรอดปรากฏขึ้นในนิมิตนั้น รุ่งเช้าหลังจากฉันภัตตาหารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ท่านได้คำนึงถึงนิมิตนั้น ท่านได้พิจารณาว่า ถ้าสร้างพระรอดเลียนแบบของเก่าก็จะไม่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง อีกทั้งจะกลายเป็นว่ารูปแบบซ้ำกันเหมือนเลียนแบบของเดิม ท่านจึงเอาสัญญาลักษณ์ อ. ซึ่งเป็นตัวอักขระสำคัญที่ทุกคนจะต้องใช้ตัว อ. นี้ รวมเข้าไปในชื่อของทุกคน คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ โอม ซึ่งเป็นอักขระนะโม มี 9 ตัว เท่ากับโลกุตระธรรมของพระสัมมาสัมมาพุทธเจ้า อีกทั้งเป็นชื่อของท่านด้วย พระอาจารย์อินทรปัญญาวัฑฒโนจึงได้รวบรวมมวลสารต่าง ๆ ในสมัยที่ท่าน เดินธุดงค์ปฏิบัติธรรมไปในสถานที่ต่าง ๆ ใบลานจารอักขระธรรมของวัดที่หักชำรุด เอามาบดรวมกันเพื่อทำผงพระรอด ผสมกับดินสังเวชนียสถานและดินที่วังหัวกวงซึ่งเป็นดินสร้างพระของเมืองลำพูนแต่โบราณกาลมา ได้สร้างพระรอดหลัง อ. ขึ้นจนสำเร็จและทำพิธีพุทธาภิเษก โดยได้นิมนต์พระสงฆ์คณาจารย์แห่งเมืองลำพูนมาทำพิธีพุทธาภิเษก เป็นเวลาหนึ่งเดือนกับเก้าวันเก้าคืน และได้แจกให้ญาติโยมในพิธีฉลองพระอุโบสถหลังใหม่

    หลังจากที่ญาติโยมได้รับแจกพระกันไปโดยทั่วถึงแล้ว เกิดปรากฏการณ์อภินิหารแก่ผู้ที่ได้รับแจกไป ดังนี้

    เรื่องที่หนึ่ง ตำรวจถูกยิง
    นายดาบตำรวจวิสูตร ประจำสถานีตำรวจภูธรแม่ทา จังหวัดลำพูน ถูกยิงด้านหลังขณะเข้าจับกุมยาบ้า หมดสติไป
    สองวัน ในวันที่สามจึงพื้นคืนสติเหมือนคนนอนหลับ ไม่ปรากฏแผลตามร่างกายแต่อย่างใด

    เรื่องที่สอง คนจะคลอดบุตร
    นางนภาภรณ์ บ้านกอม่วง อำเภอเมือง ลำพูน ตั้งครรภ์ เลยกำหนดคลอดมาเป็นเวลานานพอสมควร ญาติจึงนำส่งโรงพยาบาลแมคคอมิค ผลกาตรวจปรากฏว่าเด็กขวางลำตัว ขณะเตรียมตัวรอเจ้าห้องผ่าตัด แม่ของนางนภาภรณ์ได้ระลึกถึงพระรอดหลัง อ.ได้ เพราะได้ยินท่านอาจารย์พูดว่า ถ้าใครมีปัญหาอะไรที่สาหัส ให้เอาพระรอดตั้งสัจจะอธิษฐาน ทำน้ำพระพุทธมนต์ น้ำไปดื่ม กิน อาบ โดยเอาพระรอดแก่วงลงไปในน้ำเพื่อทำน้ำพระพุทธมนต์ มารดาของนางนภาภรณ์ก็ทำเช่นนั้น เพราะพระรอดได้ผ่านการอาบน้ำว่าน ๑๐๘ ชนิดและน้ำมันมนต์ผ่านการทำพิธีมาเรียบร้อยแล้ว แม่ของนางนภาภรณ์จึงนำน้ำมนต์นั้นมาให้นางนภาภรณ์ดื่ม กิน ลูบหัว ลูกหน้า ลูบท้องของนางนภาภรณ์ ปรากฏเป็นที่อัศจรรย์ว่า ลูกของนางนภาภรณ์คลอดออกมาอย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องทำการผ่าตัด

    เรื่องที่สาม อุบัติเหตุรถชน
    นายสวัสดิ์ สันตติภัค คนบ้านพระคงฤาษี ในเมืองลำพูน อายุ ๖๐ ปีถูกรถกระบะชนกลางลำตัวขณะขับขี่จักรยานสองล้อตัดหน้ารถ เพราะไม่เห็นรถกระบะด้วยสายตาไม่ดี รถกระบะชนเต็มที่ ปรากฏว่า ขาหัก ๓ ท่อน โดยไม่มีบาดแผลอื่นใด หมดสติ ไปรู้สึกตัวที่โรงพยาบาล พอรู้สึกตัวก็คลำหาพระรอดหลังอ. ยกมือท่วมหัวพรางนึกในใจว่า รอดตายพระบารมีพระรอดหลังอ.คุ้มครอง หลังจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น ยังโดนรถมอเตอร์ไซด์ชนอีก ๒ ครั้ง แต่ก็รอดมาได้โดยไม่เป็นอะไร

    เรื่องที่สี่ พระรอดช่วยคนฟันปลอมติดคอ
    นายบุญชื่น บ้านต้นเหียว อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ รับประทานอาหารเสร็จในวันหนึ่งแล้วลุกมาบ้วนปาก ขณะกรั้วคอล้างปาก ฟันปลอมที่ใส่อยู่ประจำเกิดหลุดออกจากเหงือกที่ยึดอยู่ แล้วไหลลงไปติดอยู่ที่หลอดลม เจ็บปวดสุดแสนสาหัส ทำอย่างไรก็ไม่อาจสามารถเอาออกมาได้ ภรรยาจึงนำส่งโรงพยาบาลมหาราช เชียงใหม่ แพทย์ได้ทำการ x - ray ผลปรากฏว่าฟันปลอมไปติดค้างอยู่ที่หลอดลม หมอลงความเห็นว่าต้องผ่าตัดลำคอเพื่อเอาฟันปลอมออกมา ในขณะที่กำลังรอการผ่าตัด นายบุญชื่นได้รับความทรมานอย่างสุดแสนสาหัส จึงลงความเห็นให้ผ่าตัดด่วน ขณะที่รอหมอภรรยานายบุญชื่นซึ่งแขวนพระรอดหลังอ.ไว้ นึกขึ้นมาได้ จึงเดินไปเอาน้ำจากที่ดื่มน้ำบริการของโรงพยาบาลมหาราช แล้วนำพระรอดหลังอ. มาอธิษฐานว่า “ถ้าพระรอดแน่จริง ศักดิ์สิทธิ์จริง ของให้ฟันปลอมของนายบุญชื่นหลุดออกมาโดยปาฏิหารย์” ภรรยาจึงนำพระรอดหลังอ.แก่วงลงไปในน้ำเพื่อทำน้ำพระพุทธมนต์ แล้วให้นายบุญชื่นอธิษฐานดื่ม ประมาณครู่หนึ่งหลังจากที่นายบุญชื่อดื่มน้ำเข้าไปแล้ว มีอาการคลื่นไส้ อยากอาเจียรอย่างรุนแรง นายบุญชื่นจึงเดินไปที่ถังขยะ ด้วยความทุรนทุรายแล้วอาเจียรออกมาอย่างหนัก ปรากฏว่า ฟันปลอมได้หลุดมากับการอาเจียรในครั้งนั้นโดยอัศจรรย์ นายบุญชื่นได้หยิบเอาฟันปลอมมาทั้งน้ำหูน้ำตา แล้วนำออกมาเพ่งดู ขณะนั้นพอดีกับพยาบาลเรียกให้ไปเข้าห้องผ่าตัด นายบุญชื่นจึงเดินไปหาพร้อมกับยื่นฟันปลอมให้พยาบาลที่จะนำเข้าห้องผ่าตัดดู แล้วบอกว่า “ผมไม่ผ่าแล้ว ฟันผมหลุดออกมาแล้ว” พยาบาลมองดูดด้วยความงุนงงว่ามันหลุดออกมาได้อย่างไร? จึงถามนายบุญชื่นว่ามันหลุดออกมาได้อย่างไร? ภรรยาจึงเล่าเรื่องเอาพระรอดหลังอ.ทำน้ำมนต์ให้พยาบาลฟัง เรื่องนี้เป็นที่ฮือฮาและเล่าขานกันมากในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

    เรื่องที่ห้า ตำรวจได้ลาภ
    รตต.รัตน์ บุญชู ประจำกองกำกับการตำรวจภูธร จว.ลำพูน เป็นผู้มีความศรัทธาในตัวพระอาจารย์อินทรเป็นอย่างยิ่ง ตอนพักกลางวันของทุกวัน หลังจากรับประทานอาหารแล้วก็จะมาไหว้พระสวดมนต์ แล้วนั่งสมาธิภาวนาเป็นประจำทุกวัน วันหนึ่ง ได้ยินกิตติศัพท์พระรอดหลังอ. จึงมาขอต่อท่านอาจารย์ ไป ๑ องค์ จึงนำไปใส่กรอบติดตัว ในขณะที่รับพระไปนั้น ตั้งสัตย์อธิษฐานว่า ขอให้ได้เลื่อนยศภายในเร็ววัน ต่อมาอีก๒ อาทิตย์ รตต.รัตน์ ได้มาที่วัดเพื่อถวายสังฆทาน แล้วบอกท่านอาจารย์ว่า “ ใครว่าพระรอดหลังอ. รอดจากจากโชคจากลาภ ผมไม่เชื่อเด็ดขาด ท่านอาจารย์ครับ วันนี้ผมได้เลื่อนเป็นรตท.แล้วครับ”

    เรื่องที่หก พระธาตุเสด็จอยู่ในกรอบพระรอด
    นายถวิล ท้าวรอม (ร้านถวิลท้าวรอม) บ้านป่าซาง ได้มาช่วยกดพิมพ์พระรอดหลัง อ. ได้นำพระรอดหลังอ.ที่พระอาจารย์อินทรเป็นผู้กดเอง ใส่กรอบแขวนติดตัวไว้ อุปนิสัยของนายถวิลเป็นใจบุญสุนทานหมั่นปฏิบัติภาวนาเป็นประจำทุกวัน หลังจากนั้นไม่นาน พระธาตุได้เสด็จมาอยู่ในกรอบกับองค์พระรอดหลังอ. เป็นที่น่าอัศจรรย์ (เมื่อมองดูจะเห็นแต่เศียรพระรอดหลังอ. ส่วนองค์พระมองไม่เห็น เห็นแต่พระธาตุ)

    เรื่องที่เจ็ด แสงเลเซอร์ยิงไม่เข้า
    คุณวิภา องค์มหัสมงคล ผู้พิพากษาศาลสมทบจังหวัดนนทบุรี ได้บูชาพระรอดหลังอ.ทองคำไป ๑ องค์ วันหนึ่งได้ไปที่โรงพยาบาลเพื่อทำการตรวจรักษาต้อกระจก หมอนัดวันให้มาทำการรักษา เมื่อถึงวันนัดก่อนออกจากบ้าน คุณวิภาได้ยกพระขึ้นจบพร้อมกับอธิฐานขอบารมีพระรอดหลังอ.คุ้มครอง อย่าได้มีอันตรายใดใดต่อดวงตาเลย ที่โรงพยาบาล หมอทำการรักษาโดยการยิงแสงเลเซ่อร์เพื่อรักษาต้อกระจก พอเริ่มทำการรักษา หมอยิงเลเซ่อร์ ๒ - ๓ ครั้ง ปรากฏว่าเครื่องยิงหยุดการทำงาน เป็นที่อัศจรรย์ หมอได้ตรวจสอบเครื่องยิ่งเลเซ่อร์ก็ไม่พบสิ่งผิดปรกติแต่อย่างใด
    หมอจึงถามคุณวิภาว่า “คุณแขวนพระอะไรไว้?”
    คุณวิภาตอบว่า “แขวนพระรอดหลังอ. และได้อธิษฐานก่อนออกจากบ้านมาพบหมอ” สร้างความงุนงงให้กับวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นอย่างยิ่ง!!

    เรื่องที่แปด รถชนที่มาเลเซีย
    มิสเตอร์กูบูเซ็ง เจ้าของบริษัท ประเทศมาเลเซีย ได้ส่งจดหมายเป็นภาษาอังกฤษถึงท่านอาจารย์อินทรว่า มารดาของมิสเตอร์กูบูเซ็งไปออกกำลังกายตอนเช้าที่ Park หลังจากเสร็จกิจกรรมแล้วได้ขี่จักรยานสองล้อเพื่อเดินทางกลับบ้าน ขณะเดินทางกลับบ้านถูกรถยนต์ชนอย่างแรง ด้วยแรงกระแทก มารดาของมิสเตอร์กูบูเซ็งกระเด็นไปไกลหลายตลบเป็นที่น่าอัศจรรย์ว่า ไม่ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด มารดาของมิสเตอร์กูบูเซ็งจึงให้มิสเตอร์เซ็งเขียนจดหมายเล่าเรื่องประสบการณ์เหลือเชื่อให้ทางวัดสันป่ายางหลวงได้ทราบ พร้อมทั้งขอบคุณบารมีพระรอดหลังอ. ที่ช่วยให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุ

    ปาฏิหารณ์ที่เกิดจากมีมากมายหลายเรื่องหลายประการจนไม่สามารถนำมากล่าวได้หมด ผู้ที่นำไปบูชาแล้วเท่านั้นจึงได้พบความอัศจรรย์และปาฏิหารย์ต่าง ๆ ของพระรอดหลัง อ

    ข้อความทั้งหมดนี้คัดลอกมาจากหนังสือ แม่หม่อนเล่าและย้อนอดีตวัดสันป่ายางหลวง จากนิมิตของคุณ ไพศาล แสนไชย เรียบเรียงโดย คุณ ประสิทธิ์ เพชรรักษ์ ทั้งหมด
    ....เพื่อเป็นการเผยแพร่ข้อมูบให้ทุกท่านได้ทราบถึงพระรอดซึ่งทรงคุณค่าและได้รับการรับรองจากดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของพระแม่จามเทวี(แม่หม่อนหรือคุณทวด)ว่ามีคุณเปรียบดังพระรอดที่ท่านได้สร้างไว้เมื่อ 2000 กว่าปีมาแล้วครับ


    สภาพสวยผิวหิ้งเดิมเก่าเก็บ พุทธคุณหายห่วง นี้แหละครับของดีราคาเยาว์ เนื้อดีพิมพ์ดีของท่านที่ทุกคนสามารถมีไว้ในครอบครองได้ แบ่งให้บูชา 432 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)




    (คุณPeterbn จองแล้วครับ)






    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com
    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มิถุนายน 2020
  10. Peterbn

    Peterbn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2018
    โพสต์:
    446
    ค่าพลัง:
    +294
    จองครับ
     
  11. สักการะ

    สักการะ ชิวิตดั่งอาทิตย์อัศดง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,692
    ค่าพลัง:
    +5,780
    ยังมี1744 อีกหรือเปล่าครับ
     
  12. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,207
    ค่าพลัง:
    +14,323
    1745.ยอดเหรียญดีมหาพิธี 3วัน3คืน เหรียญหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต ลป.โต๊ะ,ลป.สาม,ลป.สุด,ลป.เพิ่ม,ลป.อ่อน,ลป.คง ร่วมปลุกเสก

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    6B1C.jpg

    f3e7dce16732a580317491c0d7ee4d53-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg

    a19c8a546e5d49a364f68b71371b15a7-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg

    f5cf3f3dcd47569e9aca44563dc647f8-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg

    9684e726f99bfab04dc8c98cb10d52e0-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg

    6f38f432316b0d927839fd570a004597-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg

    63a8950e219b7ead593a7fd36f1777c9-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg
    เหรียญอนุสรณ์ครบรอบ 150 ปีชาติกาล หลวงปู่ภู จนฺทเกสโร พิธีสรรพสิทธิชัยไพรีพินาศมหามังคลาภิเษก วัดอินทรวิหาร กทม. เนื้อทองแดงรมน้ำตาล ดำเนินการจัดสร้างเมื่อปี พ.ศ.2521 แกะแม่พิมพ์พระโดยบรมครูทางงานช่างโดย นายช่างเกษม มงคลเจริญ

    จัดสร้างเป็นมงคลที่ระลึกในไตรมงคลวาระ
    1) พิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากประเทศศรีลังกามาสถิต ณ พระเกศจุฬามณีขององค์หลวงพ่อโต (หลวงพ่อโต หรือพระยืนนี้ เป็นสัญลักษณ์ของวัดอินทรวิหาร)
    2) อนุสรณ์ชาติกาลของหลวงปู่ภู จนฺทเกสโร ครบ 150 ปี
    3) ครบ 200 ปี แห่งการบูรณะวัดอินทรวิหาร โดยเจ้าอินทวงศ์ เมื่อปีพุทธศักราช 2325 (วัดอินทรวิหาร เดิมชื่อวัดบางขุนพรหมใน สร้างในสมัยธนบุรี)


    วาระพิธีมหาพุทธาภิเษกครั้งยิ่งใหญ่
    '' พิธีสรรพสิทธิชัยไพรีพินาศมหามังคลาภิเษก '' ณ วัดอินทรวิหาร กทม. เมื่อวันที่ 21-23 สิงหาคม พ.ศ.2521 รวม 3วัน 3คืน ได้มีการนิมนต์พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งยุคนั้นมาในพิธีรวมกันถึง 109 รูป ดังรายนามต่อไปนี้
    - หลวงปู่เครื่อง วัดเทพสิงหาร ( ประธานเมตตาธรรมมาสู่พิธี )
    - หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
    - หลวงปู่ทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง
    - พ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง
    - หลวงปู่อ่อน วัดนิโครธาราม
    - หลวงปู่คง วัดวังสรรพรส
    - หลวงปู่สาม วัดป่ไตรวิเวก
    - หลวงปู่หมุน วัดเขาแดง
    - หลวงปู่สุด วัดกาหลง
    - พระอาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม
    - หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว
    - หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังวิเวการาม
    - หลวงปู่แว่น วัดถ้ำพระสบาย
    - พระาจารย์บัว วัดศิลามงคล
    - พระอาจารย์บุญมา วัดสิริสาลวัน
    - หลวงพ่อครูบาวงศ์ วัดพระบาทห้วยต้ม
    - หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง
    - หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี
    - พระอาจารย์เย็นเต็ก วัดโพธิ์แมน
    - พระอาจารย์เย็นเจี๋ยว วัดมังกรกมลาวาส
    - หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือแกลง
    - หลวงพ่อทองบัว วัดโรงธรรมสามัคคี
    - หลวงพ่อสำเนียง วัดเวฬุวนาราม
    - หลวงพ่อผ่อง วัดจักรวรรดิ์ราชราวาส
    - หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่
    - หลวงพ่อแสง วัดคลองน้ำเจ็ด
    - หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง
    - หลวงพ่อสมชาย วัดเขาสุกิม
    - หลวงพ่อมุม วัดดอนสัก
    - หลวงปู่เชื้อ วัดใหม่บำเพ็ญบุญ
    - หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
    - หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์
    - หลวงพ่อเก๋ วัดปากน้ำ
    - หลวงปู่ทอง วัดก้อนแก้ว
    - หลวงปู่เส่ง วัดกัลยาณมิตร
    - หลวงปู่เที่ยง วัดม่วงชุม เป็นต้น

    วันที่ 23 สิงหาคม 2521 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของพิธี สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ) วัดบวรนิเวศวิหาร (อดีตสมเด็จพระสังฆราช) ประพรมน้ำทิพยมนต์โปรยข้าวตอก ดอกไม้ ประกอบพิธีดับเทียนชัย เป็นอันเสร็จพิธีฯ
    ☆ พิธีสรรพสิทธิชัยมหามังคลาภิเษก นั้นถือว่าเป็นพิธีปลุกเสกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เคยมีมาของวัดอินทรวิหารเลยทีเดียว
    • สรรพสิทธิมงคล • ตามคติพราหมณ์ถือว่า สรรพสิ่งที่ก่อเกิดความสำเร็จ ให้ความรุ่งเรือง สมตามความปรารถนาทั้งปวง นั้นต้องมีการประสิทธิประสาทให้ถึงที่สุดแก่มงคลวัตถุในพิธี
    ซึ่งเป็นพิธีที่เคร่งครัด ผสานทั้งพิธีพุทธและพราหมณ์ ทั้งบทสวดมากมาย ในพิธีมีรายละเอียดขั้นตอนมงคลหลากหลาย ทั้งอุปกรณ์ และพระคณาจารย์ทั้งสี่ภาคในพิธี เกินกว่าพิธีมหาพุทธาภิเษกโดยทั่วไป

    พุทธคุณ :
    - เน้นด้านโชคลาภ มีชัยชนะต่อศัตรูการค้า การงานดีนักแล


    ขอขอบคุณที่มาจาก :
    -
    จากหนังสือลานโพธิ์ ฉบับที่ 139 วันที่ 10 กันยายน พ.ศ.2521


    สภาพสวยเดิมๆเก่าเก็บ เหรียญดีที่น่าบูชาอีกรุ่น ที่พิธีใหญ่โตอลังการเหนือคำบรรยายสุดๆ แบ่งให้บูชา 350 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)




    (คุณshaj จองแล้วครับ)




    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com
    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มิถุนายน 2020
  13. Peterbn

    Peterbn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2018
    โพสต์:
    446
    ค่าพลัง:
    +294
    ชำระเงินรายการ1744 เรียบร้อยครับ แจ้งรายละเอียดทางไลน์
     
  14. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +6,837
    ขอจอง1745ครับ
     
  15. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,207
    ค่าพลัง:
    +14,323
    ### ฝากประชาสัมพันธ์พี่ๆสมาชิกครับ ###


    https://palungjit.org/threads/กระทู...ามกระทู้ไว้จะไม่ผิดหวัง.661373/#post-10867359


    #############




    - รับทราบการจอง,การแจ้งโอน,การแจ้งการได้รับของ และการเข้ามาเยี่ยมชมครับผม



    ขออนุญาตแจ้งเรื่องการจองและการเช่าบูชาครับ

    พระเครื่องที่ผมนำมาลงผ่านการคัดกรองมาแล้วอย่างดี หากท่านสมาชิกท่านใดที่จะทำการจองหรือเช่าบูชา ไม่เชื่อมั่นในตัวผม หรือ ยังไม่มีรายละเอียดในพระที่ต้องการเช่าบูชา ขอความกรุณาทำการศึกษาให้ตรวจสอบให้ดีก่อนตัดสินใจนะครับ หรือจะนำภาพที่ผมลงไว้ไปให้คนที่คุณไว้ใจตรวจสอบก่อนก็ได้ ส่วนผลจะออกมาอย่างไรก็แล้วแต่ครับ เพราะการตัดสินว่าพระไหนดีไหนไม่ดี มันต้องใช้ความชำนาญและประสบการณ์บวกกับการพิจารณความเป็นไปได้ด้วย คน10คนดูพระองค์เดียวกัน ผลที่ออกมาแทบไม่เหมือนกันเลย

    ถ้าท่านยังไม่ผ่านกระบวนการดังที่ผมกล่าวไว้นี้ และบวกกับยังไม่เชื่อมั่นในตัวผม ขอแนะนำว่าอย่าเพิ่งบูชาไปนะครับ เพราะถ้าเกิดความกังขาขึ้นในตัวองค์พระแล้วพุทธคุณไม่เกิดครับ ชี้แจงจากกรณีที่มีผู้ให้ผมตรวจสอบพระที่บูชามาจากที่อื่นให้ครับ คือบูชามาแล้วไม่สบายใจ บอกได้เลยว่ากรณีนี้ไม่เกิดประโยชน์กับใครทั้งนั้นครับ ทางที่ดีควร ศึกษา เรียนรู้ ไตร่ตรอง พิจารณาให้รอบคอบก่อนเช่าบูชานะครับ

    :););):);):):)



    ขออนุญาตแจ้งเรื่องการจัดส่ง

    เพื่อความสะดวกในการได้รับของครับผม เนื่องจากผมติดภารกิจ การจัดส่งของจะสะดวกในช่วงวัน วันพฤหัสบดี - วันศุกร์ นะครับพี่ๆ หากล่าช้าอย่างไรไปบ้างผมต้องขอประทานโทษไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ



    เข้ารับชมสรุปรายการที่ หน้า 1
    ได้เลยครับผม ตามลิ้งค์เลยครับ

    []
    []
    \/



    http://palungjit.org/threads/กระทู้ใหม่-4-วัตถุมงคลดีพิธีใหญ่สภาพสวย-หลากหลายสายราคาเบา-สรุปรายการ-น-1.573785/#post-10209663

    -gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif.gif

    ขอขอบพระคุณทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม
    และอุดหนุนผมนะครับ
     
  16. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,207
    ค่าพลัง:
    +14,323

    -jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มิถุนายน 2020
  17. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,207
    ค่าพลัง:
    +14,323



    $$$$$$$$ ปิดรายการแล้วครับ $$$$$$$






    1746.สุดยอดมงคลวัตถุสายกรรมฐาน เหรียญฟ้าลั่น “เบ็ญจะมหามงคล”
    วัดสุปัฏนารามวรวิหาร ลป.ชา,ลป.ฝั้น,ลป.ขาวลป.มุม อธิษฐานจิตมหาพิธี 4วาระ

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    เหรียญฟ้าลั่น “เบ็ญจะมหามงคล” วัดสุปัฏนารามวรวิหาร อ. เมือง จ.อุบลราชธานี เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง จัดสร้างเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2516 ดำเนินการสร้างโดยเบ็ญจะมหารชาสมาคม ประกอบพิธีพุทธาภิเษกใหญ่ 4วาระ จากพระกัมมัฏฐานที่เมตตามาอธิษฐานจิต คณะกรรมการสมาคมได้จัดสร้างเหรียญจำนวน 100,000 เหรียญ

    ประวัติความเป็นมาและพิธีพุทธาภิเษก
    ในระหว่างที่พลตรีจุมพล ทองทาบ ได้รับเลือกให้เป็นนายกสมาคมนั้นได้ปรึกษาหารือกับคณะกรรมการว่า ควรจะหาเงินสักจำนวนหนึ่งมาสร้างสำนักงานของสมาคม และที่ประชุมได้มีมติให้สร้างเหรียญขึ้นเพื่อจำหน่าย ดังนั้น คณะกรรมการจึงไปขอคำแนะนำจาก เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ โดยท่านได้แนะนำให้บรรจุรูปพระอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดอุบลราชธานี 5 องค์ ลงในเหรียญคือ
    - พระคุณเจ้าพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ศิริจันโท (จันทร์)
    - พระอาจารย์เสาร์ กนฺต สีโล
    - พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
    -สมเด็จมหาวีรวงศ์ ติสโส (อ้วน)
    - เจ้าคุณพระศาสนดิลก ชิตเสโน (เสน)

    รูปของพระอริยสงฆ์ทั้ง 5 องค์ที่เป็นที่เคารพนับถือของชาวจังหวัดอุบลราชธานีและบุคคลทั่วไป เนื่องจากเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบนี้ จะรวมกันอยู่อีกด้านหนึ่งของเหรียญเรียกว่า “เหรียญเบ็ญจะมหามงคล” และมีอักษรขอมแทรกไว้ ส่วนอีกด้านหนึ่งของเหรียญให้นำรูปพระสัพพัญญูเจ้า ซึ่งเป็นพระประธานในโบสถ์วัดสุปัฏนารามวรวิหารใส่ไว้


    ด้านหน้าเหรียญประกอบไปด้วย
    1.พระอุบาลีคุณูปมาจารย์(จันทร์ สิริจันโท) วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ
    2.สมเด็จพระมหาวีรวงศ์(อ้วน ติสโส) วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ
    3.ลป.เสาร์ กันตสีโล วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    4.ลป.มั่น ภูริทัตโต วัดป่าบ้านหนองผือนาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
    5.พระศาสนดิลก(เสน ชยเสโน) วัเสปัฏนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี


    ด้านหลังเหรียญประกอบไปด้วย
    เป็นรูปของ “พระสัพพัญญูเจ้า’ พระประธานในพระอุโบสถวัดสุปัฏนาราม ซึ่งเป็นรูปพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ของจ.อุบลราชธานี มีอักขระขอมติดองค์พระว่า “อะ อุ มะ”
    “อะ” คือ อะระหัง แปลว่า ผู้ไกลจากกิเลส ซึ่งหมายถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    “อุ” คือ อุตมะธัมโม หมายถึง พระสัจธรรมอันเลิศเมื่อพระพุทธองค์ตรัสออกมาแล้วย่อมเป็นหนึ่งไม่มีสอง
    “มะ” คือ มหาสังโฆ แปลว่า พระสงฆ์หมู่ใหญ่
    มีอักขระโค้งไปตามขอบเหรียญ ความว่า “นะโมวิมุตตานัง นะโมวิมุตติยา”
    อันเป็นพระคาถา ย่อมาจากพระปริตชื่อ “โมระปริตร” ซึ่งลป.มั่น ยกย่องว่าเป็นเลิศในทางแคล้วคลาด ป้องกันภยันตราย เรียกพระคาถานี้ว่า “หัวใจยูงทอง”


    พิธีพุทธาภิเษกครั้งที่ : 1
    ณ พระอุโบสถวัดสุปัฏนารามวรวิหาร เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2516 เวลา 16.00 น. ถึงวันที่ 25 พฤษภาคม 2516 เวลา 05.40 น. โดยมี สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน เป็นองค์ประธานในพิธี และได้อาราธนาพระคุณเจ้าที่มีศีลาจาริวัตรเป็นที่น่าเลื่อมใสศรัทธามาร่วมพิธีพุทธาภิเษก จำนวน 62 องค์ เช่น พระอาจารย์ขาว วัดถ้ำกลองเพล, พระอาจารย์วัน วัดถ้ำภูเหล็ก, พระอาจารย์ฝั้น วัดถ้ำขาม, พระอาจารย์บุญมา วัดศิริสาลวัน, พระอาจารย์ชา วัดหนองป่าพง, พระอาจารย์หลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอ, พระอาจารย์หลวงพ่อเทียม วัดกษัตริยาธิราช อยุธยา, พระอาจารย์หลวงพ่อทองอยู่ สมุทรสาคร, พระอาจารย์เจ้าคุณพระราชสุทธาจารย์ วัดวชิราลงกรณ์ ปากช่อง, เจ้าคุณพระโพธิญาณมุนี ชัยภูมิ, พระครูโอภาสสมณกิจ (หลวงพ่อผาง) วัดธรรมวิเวก ชนบท เป็นต้น


    ในวันทำพิธีปลุกเสก ได้เกิดนิมิตอันดีปรากฏให้เห็นชัดเจน กล่าวคือ ขณะที่พราหมณ์กำลังกล่าวอัญเชิญเทวดา ท้องฟ้ามืดครึ้มขึ้นมาทันที ลมกระโชกแรง มีเสียงฟ้าคำรามอย่างกึกก้อง ฝนตกปรอยๆ ประมาณ 2-3 นาที แล้วก็หายไปราวปาฏิหาริย์ ประชาชนที่มาร่วมพิธีจึงให้ชื่อว่า “เหรียญฟ้าลั่น” เพราะเป็นนิมิตดี น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก
    ในขณะที่เจ้าประคุณสมเด็จฯท่านกำลังนำเทียนชนวนที่จุดไฟเพื่อนำไปจุดเทียนชัยอยู่นั้นบังเกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้นคือ
    “ฟ้าลั่นเปรี้ยงดังสนั่นหวั่นไหวที่ท่าน้ำวัดสุปัฏนารามถึง 2 ครั้งซ้อน และฟ้าได้มืดครึ้มลงอย่างกะทันหันพร้อมมีฝนโปรยปรายลงมาอยู่ครู่ใหญ่แล้วจึงหายไป” ในขณะที่เจ้าประคุณสมเด็จฯท่านกำลังจุดเทียนชัยอยู่นั้นพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ก็ได้เจริญพระพุทธมนตร์
    ดังมีรายนามดังต่อไปนี้
    1.พระธรรมบัณฑิต วัดสุทธจินดา อ.เมือง จ.นครราชสีมา
    2.พระเทพมงคลเมธี วัดมณีวนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    3.พระเทพกวี วัดสุปัฏนารามวรวิหาร อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    4.พระวิโรจน์รัตนโนบล วัดทุ่งศรีเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    5.พระศาสนดิลก วัดสุปัฏนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    6.พระครูประจักษ์อุบลคุณ วัดเลียบ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    7.พระครูศีลคุณาภรณ์ วัดแสนสำราญ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
    8.พระครูวิรุฬสุตการ วัดวารินทราราม อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
    9.พระครูสังวรศีลขันธ์ วัดสุทัศนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    10.พระครุกิตยาภรณ์โกศล วัดมหาวนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี


    การอธิษฐานจิตปลุกเสกนั้นได้ประกอบพิธีเป็นชุด ๆ ไปมีทั้งหมด 3 ชุด ดังนี้
    ชุดที่ 1.
    พระพิธีธรรม ชุดที่ 1.

    1.พระครูศีลคุณาภรณ์ วัดแสนสำราญ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
    2.พระครูบวรคณานุศาสน์ วัดศรีฐานใน อ.ป่าติ้ว จ.อุบลราชธานี(ในสมัยนั้นอ.ป่าติ้วยังขึ้นอยู่กับจ.อุบลราชธานีครับ)
    3.พระครูปลัดสวัสดิ์ วัดใต้ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    4.พระครูใบฎีกามานะ วัดไชยมงคล อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

    พระกัมมัฏฐานที่เมตตามาอธิษฐานจิต ชุดที่ 1.
    1.พระญาณสิทธาจารย์(สิงห์ สุนทโร) หรือ ลป.เมตตาหลวง วัดเทพพิทักษณ์ปุณณาราม อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
    2.พระครูภาวนานุศาสน์(สาย จารุวัณโณ) วัดป่าหนองยาว อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี
    3.พระครูสังฆรักษ์(ลป.พั่ว) วัดบ้านนาเจริญ อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี
    4.พระญาณวิริยาจารย์(วิริยังค์ สิรินธโร)วัดะรรมมงคล บางจาก กรุงเทพฯ
    5.พระครูนวกรรมโกวิท วัดมหาวนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    6.พระครูภัทรคุณาธาร วัดพรหมวิหาร อ.เลิงนกทา จ.ยดสะร
    7.พระครูญารวิจิตร วัดประชาอุทิศ อ.คำเขื่อนแก้ว จ.อุบลราชธานี
    8.พระครูพินิจสังฆภาร วัดศรีนวล อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
    9.พระอาจารย์ประยูร วัดป่าธรรมรังษี อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี(ขณะนั้น)
    10.พระอาจารย์ภา วัดหนองบัว อ.เมือง จ.อุบลราชธานี


    ชุดที่ 2.
    พระพิธีธรรม ชุดที่ 2.
    1.พระครูอุบลเดชคณาจารย์ วัดศรีอุบลรัตนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    2.พระครูธรรมประเวที วัดสุทัศนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    3.พระครูใบฎีกาจันทร์ วัดบ้านท่าบ่อ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    4.พระปลัดหมูน วัดแสนสำราญ อ.วารินชำราบ อ.อุบลราชธานี

    พระกัมมัฏฐานที่เมตตามาอธิษฐานจิต ชุดที่ 2.
    1.พระราชสุทธาจารย์(โชติ คุณสัมปันโน) วัดวชิราลงกรณ์ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
    2.พระครูพิบูลธรรมภาณ(โชติ อาภัคโค)วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
    3.พระโพธิญาณมุนี วัดศรีแก้งค้อ อ.แก้งค้อ จ.ชัยภูมิ
    4.พระครูอรุณรังษี วัดแสนสุข อ.วารินชำราบ อ.อุบลราชธานี
    5.พระครูพิเนตสมณกิจ วัดประชารังสรรค์ อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ
    6.พระครูโอภาสสมณกิจ วัดป่าธรรมวิเวก อ.เมือง จ.ขอนแก่น
    7.พระครูวิจิตรธรรมภาณี วัดหนองบัว อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    8.พระครูอมรวิสุทธิ์(ลต.พวง สุขินทริโย) วัดศรีธรรมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร
    9.พระครูพุทธิสารสุนทร วัดประดิษฐ์ธรรมาราม อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี
    10.พระครูวินัยธรอุทิศ วัดแสนสำราญ อ.วารินชำราบ อ.อุบลราชธานี


    ชุดที่ 3.
    พระพิธีธรรม ชุดที่ 3.
    1.พระครูประจักษ์อุบลคุณ วัดเลียบ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    2.พระครูชิโนวาทสาธร(อุไทย์ ปภัสสโร) วัดไชยมงคล อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    3.พระครูวินัยะร(พิมพ์) วัดสุทัศนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    4.พระครูวินัยธร(แดง)วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

    พระกัมมัฏฐานที่เมตตามาอธิษฐานจิต ชุดที่ 3.
    1.ลพ.มุม อินทปัญโญ วัดปราสาทเยอร์เหนือ อ.ไพรบึง จ.ศรีสะเกษ
    2.พระราชมุนี(โฮม) วัดปทุมวนาราม ปทุมวัน กรุงเทพฯ
    3.พระโพธิญาณเถร(ลป.ชา สุภัทโท) วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
    4.พระชินวงศาจารย์(ลพ.พุธ ฐานิโย) วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา
    5.ลป.บุญมี โชติปาโล วัดสระประสานสุข อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
    6.พระครูทัศนประกาศ วัดสำราญนิเวศ อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี
    7.พระครูชโยบลบริบาล วัดหอก่อง อ.มหาชนะชัย จ.ยโสะร
    8.พระอาจารย์บุญกอง วัดโพนทัน อ.คำเขื่อนแก้ว จ.อุบลราชธานี
    9.พระครูโอภาสธรรมคุณ วัดสุภรัตนาราม อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
    10.พระมหามณี วัดบ้านก้านเหลือง จ.อุบลราชธานี

    หมายเหตุ : ก่อนทำพิธีพุทธาภิเษกนั้นพระทุกรูปได้ทำสังฆกรรมปลงอาบัติเพื่อความบริสุทธิ์ก่อนทุกรูป และในพิธีนี้ได้มีพระเถระที่เมตตานั่งอธิษฐานจิตให้ตลอดคืนจนสว่างเลย ได้แก่
    1.ลพ.มุม อินทปัญโญ วัดปราสาทเยอร์เหนือ
    2.ลป.บุญมี โชติปาโล วัดสระประสานสุข
    3.ลป.ชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง
    4.ลพ.พุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน



    =>> ต่อมาคณะกรรมการสมาคมได้นำเหรียญ “เบ็ญจะมหามงคล” เข้าร่วมในพิธีพุทธาภิเษกในโอกาสสำคัญๆ อีก 3 ครั้ง คือ

    พุทธาภิเษกครั้งที่ : 2 ที่วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่) เมื่อ พ.ศ. 2518 พร้อมปลุกเสกพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง และเหรียญพระแก้วบุษราคัมของจังหวัด จัดทำเป็นที่ระลึกสร้างศาลหลักเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
    รายนามพระคณาจารย์ที่ได้รับนิมนต์มาร่วมนั่งปรกปลุกเสก
    1. สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯ
    2. พระเทพสิทธาจารย์ วัดศรีเทพประดิษฐ์ อ.เมือง จ.นครพนม
    3. พระพุทธมนต์วราจารย์ วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
    4. พระครูสังฆรักษ์สมาน วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ
    5. พระครูสาธุกิจวิมล หลวงพ่อเล็ก วัดหนองดินแดง อ.เมือง จ.นครปฐม
    6. พระอาจารย์ไสว สุมโน วัดราชนัดดาราม กรุงเทพฯ
    7. พระอาจารย์ใหญ่ วัดกู่คำ อ.เมืองน่าน จ.น่าน
    8. พระครูจันทสโรภาส (หลวงพ่อเที่ยง) วัดม่วงชุม อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี
    9. หลวงพ่อเทียม จ.อยุธยา
    10. พระครูสมุห์อำพล วัดอัมพวา บางกอกน้อย กรุงเทพฯ
    11. พระวิบูลวชิรธรรมนันท์ (หลวงพ่อสว่าง) วัดคหบดีสงฆ์ อ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร
    12. พระครูเกษมธรรมนันท์ (หลวงพ่อแช่ม) วัดดอนยายหอม อ.เมือง จ.นครปฐม
    13. พระครูสังฆวิชัย (ปรีชา โชติโก) วัดอนงคาราม กรุงเทพฯ
    14. พระรักขิตวันมนี (หลวงพ่อถิร) วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี
    15. พระครูพิพิธวิหารการ (หลวงพ่อเทียม) วัดกษัตราธิราช จ.อยุธยา
    16. พระครูประสาทขันธคุณ (หลวงพ่อมุม) วัดปราสาทเยอเหนือ จ.ศรีสะเกษ
    17. พระครูประสาทวรคุณ (หลวงพ่อพริ้ง) วัดโบสถ์โก่งธนู จ.ลพบุรี
    18. พระครูภาวนานุโยค (หลวงพ่อหอม) วัดซากหมาก จ.ระยอง
    19. พระครูปัญญาโชติคุณ (หลวงพ่อเจริญ) วัดทองนพคุณ จ.ลพบุรี
    20. พระอาจารย์ชา วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลฯ
    21. พระครูพิบูลธรรมภาณ (พระมหาโชติ) วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลฯ
    22. พระครูนวกรรมโกวิท (หลวงปู่นาค) วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่ เมืองอุบลฯ)
    23. พระครูสังฆรักษ์ (พัว) วัดบ้านนาเจริญ อ.เดชอุดม จ.อุบลฯ
    24. พระครูพรหมวิหาร (พระอาจารย์สิงห์) วัดหนองบัว อ.เมือง จ.อุบล
    25. พระอาจารย์ประยูร จิตตสันโต วัดป่าธรรมรังสี อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลฯ
    26. พระครูอุบลเดช (มหาด่วน) วัดศรีอุบลรัตนาราม จ.อุบลฯ
    27. พระอาจารย์สาย วัดหนองยาว อ.เดชอุดม จ.อุบลฯ
    28. พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดอุดมสมพร จ.สกลนคร
    29. พระอาจารย์ขาว (หลวงปู่ขาว) วัดถ้ำกลองเพล จ.สกลนคร
    30. พระครูพิศาลสรกิจ (มหาธวัช) วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯ
    31. พระอารย์ขันธ์ วัดพระศรีอารีย์ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
    32. พระครูโกวิทสมุทรคุณ (หลวงพ่อเนื่อง) วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม
    33. พระอาจารย์บุญมา ต.โนนทัน จ.อุดรธานี
    34. พระอาจารย์อ่อน ต.โนนทัน จ.อุดรธานี
    35. พระอาจารย์ฝั้น (ฝั่น) วัดถ้ำเอราวัณ อ.วังสะพุง จ.เลย
    36. พระอาจารย์ชอบ อ.วังสะพุง จ.เลย
    37. พระครูประสาธน์วิทยาคม (หลวงพ่อนอ) วัดกลางท่าเรือ อ.ท่าเรือ จ.อยุธยา
    38. พระอาจารย์เครื่อง วัดสระกำแพง อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ



    พุทธาภิเษกครั้งที่ : 3
    ที่วัดดอยตุง อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดย
    พระบาทมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าให้สมเด็จพระบรมโอรสรธิราชเสด็จแทน พระองค์ในการเททอง ณ มณฑลพิธีวัดเจดีย์หลวง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย วันที่ 8 มกราคม 2516และมีพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ วัดพระเจ้าล้านทอง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ตรงกับวันวิสาขบูชา 16 พฤษภาคม 2516 เวลา 15.05น.(จุดเทียนชัย) นับเป็นพิธีใหญ่มีเกจิอาจารย์ทั่วประเทศร่วมปลุกเสก
    มีพระเถราจารย์นั่งปรกอธิฐานจิต (ชุดที่แรก) เวลา 19.30 น.
    - พระพิธีธรรมสำนักวัดราชนัดดารามวรวิหารเจริญพระคาถาพุทธาภิเษก
    - พระครูภาวนาภิรัตน์ (ครูบาอินทจักร) วัดบ่อน้ำหลวง จ.เชียงใหม่
    - พระครูพรหมจักรสังวร(ครูบาพรหมจักร) วัดพระบาทตากผ้า จ.ลำพูน
    - พระครูสุตตาธิการี(หลวงพ่อทองอยู่) วัดหนองพระองค์ จ.สมุทรสาคร
    - พระครูจันทรโสภณ(หลวงพ่อนาค) วัดทัศนารุณสุนทริการาม กรุงเทพฯ
    - พระวิบูลย์เมธาจารย์ วัดดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี
    - พระครูนนทกิจวิมล(หลวงพ่อชื่น) วัดตำหนักเหนือ จ.นนทบุรี
    - พระครูสาครกิจโกศล(หลวงพ่อจ้อน) วัดเจ็ดริ้ว จ.สมุทรสาคร
    - พระครูพิพัฒน์ศิริธร(หลวงพ่อคง) วัดบ้านสวน จ.พัทลุง
    - หลวงพ่อนำ วัดดอนศาลา จ.พัทลุง
    - หลวงพ่อเตียง วัดเขาลูกช้าง จ.พิจิตร
    - พระครูพิพิธพัชรศาสตร์(หลวงพ่อจ้วน) จ.เพชรบุรี
    - พระครูพิพิชวิหารการ(หลวงพ่อเทียน) วัดกษัตราธิราช จ.พระนครศรีอยุธยา
    - พระครูปัญญาโชติคุณ(หลวงพ่อเจริญ) วัดทองนพคุณ จ.เพชรบุรี
    - พระครูสมุห์อำพล วัดอัมพวา กรุงเทพฯ
    - หลวงพ่อมิ่ง วัดกก กรุงเทพฯ

    ชุดที่สอง เวลา 01.30 น. พระพิธีธรรมสำนักวัดเลา เจริญพระคาถาจักรพรรดิ์ตราธิราช พระอาจารย์ไสว สุมโน วัดราชนัดดารามวรวิหาร กรุงเทพฯ(เจ้าพิธี)
    - พระอาจารย์สม วัดหัวข่วง จ.ลำปาง
    - พระครูพิบูลธรรมภาณ วัดภูเขาแก้ว จ.อุบลราชธานี
    - หลวงพ่อแสน วัดท่าแหน จ.ลำปาง
    - หลวงพ่อเปี่ยม วัดเทพธิดาราม กรุงเทพฯ
    - พระครูชุณห์ วัดเขาชายธง จ.นครสวรรค์
    - พระราชมุนี(หลวงพ่อโฮม) วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ
    - พระอริยเมธี วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ
    - พระครูสมุห์ละมัย วัดพระศรีมหาธาตุ จ.พิษณุโลก
    - พระครูประภาสธรรมาภรณ์(หลวงพ่อลำยอง) วัดบางระกำ จ.พิษณุโลก
    - พระครูสาธุกิจวิมล(หลวงพ่อเล็ก) วัดหนองดินแดง จ.นครปฐม
    - พระอาจารย์สมวงษ์ วัดวังแดงเหนือ จ.พระนครศรีอยุธยา
    - หลวงพ่อแดง วัดบางเกาะเทพย์ศักดิ์ จ.สมุทรสงคราม
    - พระครูศรีปริยัตยานุรักษ์ วัดพันอ้น จ.เชียงใหม่
    - พระอาจารย์สิงห์คำ วัดล่ามช้าง จ.เชียงใหม่
    - พระอาจารย์สิงห์คำ วัดเหมืองง่า จ.ลำพูน
    - พระราชปัญญาโมลี เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย วัดเจ็ดยอด
    - พระพุทธวงศ์วิวัฒน์ รองเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย วัดพระแก้ว
    - พระครูพินิตธรรมประภาส วัดมิ่งเมือง จ.เชียงราย
    - พระครูโสภณธรรมมุนี วัดศรีโคมคำ อ.พะเยา
    - พระครูเมธีธวัชคุณ วัดราชคฤห์ อ.พะเยา
    - พระครูนิวัษฐ์สัทธาคุณ วัดอำมาตย์ อ.เทิง
    - พระครูธีรธรรมวิวัฒน์ วัดกาสา อ.แม่จัน
    - พระครูหิรัญญเขตคณารักษ์ วัดศรีบุญเรือง อ.แม่จัน
    - เจ้าอธิการฝ้าย จันทโก วัดเหมืองแดง อ.แม่สาย
    - พระอาจารย์ตี๋ สุวรรณโชโต วัดพรหมวิหาร อ.แม่สาย

    นอกจากรายนามคณาจารย์ที่ร่วมปลุกเสกนี้แล้วยังได้รับการยืนยันจากผู้หลัก ผู้ใหญ่ในขณะนั้นว่ายังมีอีกหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลีร่วมปลุกเสกในการครั้งนี้ด้วย แล้วยังชี้แนะด้วยว่าเหรียญในชุดนี้ถือเป็นเหรียญดีครบทุกด้านสมควรมีไว้ใช้บูชา



    พุทธาภิเษกครั้งที่ : 4 ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2528 ที่วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี


    สภาพสวยเดิมๆผิวหิ้งนิดๆ พิมพ์คมชัดลึก เก็บเก่าไม่ผ่านการบูชา เหรียญดีพุทธศิลป์สวยงาม พุทธคุณเหนือคำบรรยาย พ่อแม่ครูอาจารย์สายหลวงปู่มั่น ร่วมอธิษฐานจิตอย่างคับคั่ง แบ่งให้บูชา 999 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)

    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com

    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 6Bis.jpg
      6Bis.jpg
      ขนาดไฟล์:
      211.7 KB
      เปิดดู:
      473
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มีนาคม 2022
  18. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,207
    ค่าพลัง:
    +14,323
    1747.สุดยอดคำเดียว(๑) พระหลวงพ่อแดง พุทโธ พิธีเสด็จกลับปี11
    .ชุม,อ.นำ,ลพ.คง,ลพ.ปาล ประจุพลัง2วาระ 33วัน+7วัน7คืน

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    6BiA.jpg

    6BiL.jpg
    พระผงพิธีเสด็จกลับ พิมพ์หลวงพ่อแดง พุทโธ เนื้อว่านสบู่เลือด ผสมผงมหาพุทธคุณ ดำเนินการจัดสร้าง เมื่อปี พ.ศ.2511 เพื่อถวายแด่ พระอาจารย์แดง วัดอุทัยธรรม(วัดเขาถล่ม) จังหวัดชุมพร เพื่อนำไปออกช่วยที่วัดเขาถล่ม และส่วนใหญ่อาจารย์แดง ได้แจกลูกศิษย์ท่านที่ไปทหารภาคใต้ ซึ่งจัดสร้างพร้อมกันกับพระรูปเหมือนอาจารย์ทองเฒ่า และ ปิดตานอโม

    มีพุทธคุณที่เชื่อกันว่า
    : โดดเด่นมาก ทางด้านมหาอำนาจ, เลื่อนยศ-เลื่อนตำแหน่ง , ประมูลงาน, ด้านการเงินการทอง , การค้าการขายต่างๆมีโชคลาภอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งยังเป็น มหาเสน่ห์, มหานิยมแก่ผู้ที่ได้เคยใช้ได้บูชามาแล้วมากมาย

    มวลสารที่นำมาสร้างประกอบด้วยผงวิเศษ ดังนี้
    - กรุสุพรรณบุรี-ผงพระขุนแผนกรุวัดบ้านกร่าง ผงพระขุนแผนไข่ผ่าซีก ผงพระเนื้อชินกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

    - กรุสุโขทัย-พระเนื้อชิน พระเนื้อดิน กรุวัดมหาธาตุ พระผงหลวงพ่อโต วัดป่ามะม่วง ผงพระกรุวัดช้างล้อม ผงระกรุวัดป่ากล้วย ผงพระนางพญาเสน่ห์จันทน์ ผงพระกรุวัดพระเชตุพน ฯลฯ

    - กรุพิษณุโลก-ผงพระเนื้อดินเผา วัดสะตือ ผงพระเนื้อดินเผา วัดท่ามะปราง ผงพระเนื้อดินเผา วัดจุฬามณี ผงพระกรุวัดชีปะขาว ผงพระอาจารย์แปลก วัดราชบูรณะ ผงพระกรุวัดนางพญา ผงพระกรุวัดอรัญญิก ผงพระพุทธรูปที่ชำรุด วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

    - กรุนครศรีธรรมราช-ผงพระคัมภีร์พระไตรปิฎก วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ผงตะไคร่พระเจดีย์ทุกองค์ในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ผงพระหักกรุวัดท่าเรือ ผงอิฐพระเจดีย์วัดท่าเรือ ผงพระเนื้อดินเผากรุวัดนางตรา ผงวัดท้าวโคตร ผงว่าน 108 ของพล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช

    - กรุเพชรบูรณ์-ผงดินพระหัก เจ้าพ่อหลักเมือง ผงดินพระป่นวัดเสือ ผงดินหักป่นวัดช้างเผือก ผงดินพระหักป่นวัดพระแก้ว ผงดินพระหักป่นวัดมหาธาตุ

    - กรุพัทลุง-ผง ดินดิบสมัยศรีวิชัย ถ้ำคูหาสวรรค์ ผงอิทธิเจพระครูสิทธิยาภิรัต (เอียด ปทุมสโร) วัดดอนศาลา ผงพระหักป่นวัดเขาเจียก ผงดินท้องถ้ำเขาไชยสน ผงดินดิบสมัยศรีวิชัยถ้ำอกทะลุ

    - กรุลำพูน-ผงพระรอดมหาวัน ผงพระเปิม ผงพระสาม หรือพระตรีกาย และยังมีผงพระกรุอื่นๆ อีกจำนวนมาก ตลอดจนว่านหลายชนิด เช่น

    - ว่านจำพวกเมตตามหานิยม และมหาลาภ ว่านเสน่ห์จันทน์ขาว ว่านเสน่ห์จันทน์แดง ว่านนางคุ้ม ว่านนางกวัก ว่านเศรษฐี ว่านนางล้อม ว่านโบตั๋น ว่านขอทอง ว่านขอเงิน ว่านขอลาภ ว่านน้ำเต้าทอง ว่านโป๊ยเซียน ฯลฯ

    - ว่านจำพวก คงกระพันชาตรี ว่านสามพันตึง ว่านพระยาดาบหัก ว่านหอกหัก ว่านคางคก ว่านมหาเมฆ ว่านมหานิล ว่านไพลดำ ว่านสบู่เลือด ว่านเพชรตาหลีก ว่านมหากาฬ ว่านมหาปราบ ว่านขมิ้นดำ ว่านสากเหล็ก ว่านเขาควาย ว่านพระเจ้าห้าพะองค์ ว่านหนุมาน ว่านประกายเหล็ก ว่านกระชายดำ ว่านกำแพงเพชรเจ็ดชั้น

    - ว่านจำพวกกำลังมาก ว่านพญาราชสีห์ ว่านเสือ ว่านม้า ว่านนิลล้อม ว่านพญาช้างสาร ว่านพญาช้างชัก ว่านถอนโมกขศักดิ์

    - ว่านจำพวกการสิทธิ์เทวดารักษา ว่านพระจันทร์ ว่านพระอาทิตย์ ว่านพระมเหศวร ว่านพระนารายณ์ ว่านพระนางมาควดี ว่านตาลปัตรฤาษี ว่านแสงไฟ ว่านกายสิทธิ์ ว่านพญานาค ว่านพญาหมอก ว่านไมยราบ ว่านพระฤาษีประสมยา ว่านปู่เจ้าสมิงพราย ว่านปู่เจ้าเขาเขียว

    ว่านที่นำมาเมื่อไปเอาต้องดูฤกษ์ยาม และต้องทำพิธีสังเวยบวงสรวงก่อนจึงนำมาใช้ได้ น้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ ที่นำมาประสมว่าน และมวลสาร
    1.น้ำพระพุทธมนต์ในพระราชวังหลวง170ปี
    2.น้ำพระพุทธมนต์ทำสังคายนา 25 พุทธศตวรรษโดยพระเถระทั่วโลก 2500 องค์ประเทศพม่า
    3.น้ำพระพุทธมนต์ 100 ปี วัดบวรนิเวศวิหาร
    4.น้ำพระพุทธมนต์ 25 พุทธศตวรรษท้องสนามหลวง
    5.น้ำพระพุทธมนต์ วัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช
    6.น้ำพระพุทธมนต์ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
    7.น้ำในสระศักดิ์สิทธ์ต่างๆทั่วประเทศ มีสระแก้ว สระคง สระยมนา สระเกตุ สระจันทร์ สระพังเงิน สระพังทอง สระศักดิ์สิทธิ์จังหวัดเพชรบุรี
    8.น้ำมนต์หลวงพ่อเลื่อม วัดสามแก้ว ชุมพร พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน นครศระรรมราช
    9.น้ำมนต์หลวงพ่อทวด วัดช้างให้ ปัตตานี
    10.น้ำในมหานที9สาย
    11.น้ำในแม่น้ำ108บางทั่วประเทศ

    พิธีพุทธาภิเษก
    วาระที่ : 1
    - เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ.2510 ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ วัดบ้านสวน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง โดยพระคณาจารย์ รวม 108 อาจารย์ เชิญวิญญาณอาจารย์สมภารนอโมและวิญญาณอาจารย์เฒ่า เข้าประทับทรงปลุกเศก เกิดเป็นตัวต่อจำนวน 1,000 ตัว มาปิดรอบปริมณฑลพิธี มีความอัศจรรย์อย่างที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อน รายนามพระคณาจารย์ อาทิ
    1.หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน
    2.หลวงพ่อหมุน วัดเขาแดง
    3.หลวงพ่อปาล วัดเขาอ้อ
    4.พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา
    5.พระครูกาชาด(บุญทอง) วัดดอนศาลา
    6.หลวงพ่อคล้อย วัดถ้ำเขาเงิน
    7.พระไชย วัดบ้านสวน
    8.พระอาจารย์ศรีเงิน วัดดอนศาลา
    9.พระครูกาชาด วัดอินทราวาส
    10.พระอาจารย์เล็ก วัดประดู่เรียง
    นอกจากนั้นยังมีศิษย์ฆราวาสสายวัดเขาอ้อ เช่น อาจารย์ชุม ไชยคีรี นายแจ้ง นายแคล้ว ฯลฯ ได้ปลุกเสกไปจนถึงรวมระยะเวลา 33 วัน

    พิธีพุทธาภิเษก7วัน7คืน วาระที่ : 2
    - เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2511 ประกอบพิธีพุทธาภิเษกใหญ่ ณ วัดถ้ำเขาเงิน จังหวัดชุมพร รายนามพระคณาจารย์ อาทิ
    1.หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน
    2.หลวงพ่อหมุน วัดเขาแดง
    3.หลวงพ่อปาล วัดเขาอ้อ
    4.พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา
    5.พระครูกาชาด(บุญทอง) วัดดอนศาลา
    6.หลวงพ่อคล้อย วัดถ้ำเขาเงิน
    7.พระไชย วัดบ้านสวน
    8.พระอาจารย์ศรีเงิน วัดดอนศาลา
    9.พระครูกาชาด วัดอินทราวาส
    10.พระอาจารย์แดง วัดอุทัยธรรม(วัดเขาถล่ม)
    11.พระครูปลัดพวง วัดประสาทนิกร
    12.ขุนพันธรักษ์ราชเดช
    13.อาจารย์ชุม ไชยคีรี เขาไชยสน เป็นต้น

    หลังเสร็จพิธี อาจารย์ชุม ได้นำพระไปปล่อยในทะเลปากน้ำหลังสวน ไกลจากพิธีประมาณ 50 กม. แล้วตั้งศาลาปะรำพิธี ขึงผ้าขาวขึ้น สวดอาราธนา บริกรรมคาถาขอให้นาคและเทวดาช่วยนำพระกลับมา แล้วพระเครื่องวัตถุมงคลที่ปล่อยลงในแม่น้ำหรือทะเลในระยะไกลหลายๆกิโลนั้นเสด็จกลับมาปรากฎอีกครั้งหนึ่ง ที่ปะรำพิธี ทีละองค์ๆจนครบถ้วนเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ศาลเทพารักษ์กลางน้ำ มีผ้าขาวขึงไว้กลางอากาศเหนือศีรษะ ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์เล่าว่า เวลาที่พระเสด็จกลับ จะมีสายรุ้งพาดลงมาบนศาลเทพารักษ์ ในขณะที่พระเครื่องวัตถุมงคลกำลังเสด็จกลับมา ก็จะมารวมกันอยู่บนผ้า ผ้านั้นจะค่อยๆตึงหนักขึ้นเรื่อยๆ และมีน้ำไหลออกมา
    ในวันนั้นหลวงพ่อหมุนท่านทราบก่อนเป็นองค์แรกว่าพระกำลังเสด็จมาแล้ว ก็ได้บอกให้ อ.ณรงค์ฤทธิ์ บุตรของท่านอาจารย์ชุม ซึ่งขณะนั้นยังเป็นเด็ก วิ่งไปบอกให้คนย่ำฆ้องเป็นสัญญาณว่าพระได้เสด็จกลับมาแล้ว

    **** มูลเหตุที่สร้างพระขุนแผนพิมพ์นี้ว่ากันว่าหลวงปู่คงตอนประทับทรงได้สั่งให้สร้างพระพิมพ์นี้ลักษณะนี้ขึ้นครับ และพิืมพ์นี้ยังเป็นต้นแบบของพระผงบารมี คงไชยชุม ที่สร้างขึ้นในปี12-13 ด้วย พระส่วนที่เหลือยังนำไปเสกเพิ่มเติมร่วมกับพิธีที่วัดบ้านสวน ดังนั้นบางท่านได้รับจากวัดบ้านสวนก็มีเช่นกันไม่ใช่เรื่องแปลก

    สภาพสวยผิวเดิมๆ คราบฝ้าไขว่านเดิม พระรุ่นนี้ศักดิ์สิทธิ์มากๆครับท่านใดมีไว้บูชา จะพบกับความเจริญรุ่งเรือง พุทธคุณครอบครบทุกด้าน แบ่งให้บูชา 399 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)





    (คุณshaj จองแล้วครับ)





    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com

    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มิถุนายน 2020
  19. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +6,837
    ขอจอง1747ครับ
     
  20. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,207
    ค่าพลัง:
    +14,323
    1748.สุดยอดประสบการณ์ เหรียญกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
    สมเด็จพระสังฆราช,ลพ.อุตตมะ,ลป.สิม,ลป.ศรี,ลป.คำพันธ์ ร่วมอธิษฐานจิต

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    6BjR.jpg

    6BjZ.jpg
    เหรียญกรมพระยาดำรงราชานุภาพ รุ่นแรก พ.ศ. 2533 ซึ่งเป็นปีแห่งการเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี ของการก่อตั้งกระทรวงมหาดไทย โดยมีเสด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นองค์ปฐมเสนาบดีพระองค์แรก เนื้อทองแดงรมน้ำตาล

    วัตถุมงคลต่าง ๆ ที่สร้างนั้น ประกอบด้วย
    - รูปเหมือนครึ่งองค์และเหรียญ สองขนาดรูปเหมือนของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และพระกริ่งดำรงราชานุภาพ

    ในการสร้างพระกริ่งดำรงราชานุภาพนั้น ที่ประชุม เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2532 มีมติร่วมกันว่า ให้ถอดแบบจากพระกริ่งองค์ที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงใช้ประจำพระองค์ ซึ่งขณะนั้นท่านอดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย นายพิศาล มูลศาสตรสาทร เป็นผู้เก็บรักษาไว้
    หลังจากนั้นจึงได้ให้คุณสุธน ศรีหิรัญ, คุณสุริยะ ประสาทบัณฑิต ประสานงานกับ คุณเกียรติศักดิ์ มูลศาสตร์สาทร ไปทำการถอดแบบที่บ้านซอยเรวดี ซึ่งพระกริ่งองค์ดังกล่าวเป็น พระกริ่งบาเก็ง สภาพคมชัดและสวยงามกว่าองค์อื่น ๆ ที่เคยพบเห็นทั้งจากของจริงและภาพถ่าย กรรมวิธีถอดแบบนั้น ให้ช่างผู้มีฝีมือทำการถอดแบบ ชนิดพิมพ์เย็น และใช้วัสดุต่าง ๆ ที่ดีที่สุด เพื่อให้มีการคงขนาดไว้เท่าเดิมทุกประการ

    การสร้างพระกริ่งดำรงราชานุภาพ เริ่มในเดือนพฤศจิกายน 2532 คณะกรรมการดังกล่าวมี นายบุญช่วย ศรีสารคาม อดีตรองปลัดกระทรวงเป็นประธานกรรมการ, นายณัฏฐ์ ศรีวิหค, นายวันชาติ วงศ์ชัยชนะ, นายผไท วิจารณ์ปรีชา, นายสุรชัย พูนผลทรัพย์, นายมนัส มธุรสสุนทร, นายพินิจ อุตส่าห์ , นายพีรพัฒน์ พรศิริเลิศกิจ , ม.ล. ปนัดดา ดิศกุล , นายประภาส บุญยินดี , นายอนุชา โมกขเวส , นายชายนำ ภาวิมล
    ในส่วนของเนื้อหาโลหะองค์พระนั้น ทางกระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดให้นำแผ่นเงิน ทอง และนาก ให้พระคณาจารย์ผู้ทรงกิตติคุณในแต่ละจังหวัดเท่าที่มีทั้งหมด จารอักขระเลขยันต์และแผ่เมตตาเพื่อนำมาสร้างเป็นเนื้อของพระกริ่งและวัตถุมงคลชุดนี้
    นอกจากนั้นยังมีผู้มอบชนวนพระจากพิธีสำคัญต่าง ๆ อีกจำนวนมากมาร่วมด้วย เช่น ท่านผู้ว่าณัฏฐ์ ศรีวิหค ได้มอบชนวนจำนวนมากมายหลายพิธีจากคณาจารย์ต่าง ๆ มาให้ และยังมีก้านช่อพระชัยวัฒน์หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้วปี พ.ศ. 2442 จำนวนหนึ่งก้านมามอบให้ด้วย พร้อมด้วยแผ่นทอง เงิน และนาก จากคณาจารย์ทั่วประเทศจำนวน 109 รูป รวมทั้งสิ้น 327 แผ่น อาทิเช่น
    1. หลวงปู่เทศก์ วัดหินหมากเป้ง หนองคาย 2. หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง นครศรีธรรมราช
    3. หลวงพ่อเกษม เขมโก ลำปาง 4. หลวงพ่อคง วัดนอก ชุมพร 5. หลวงพ่อห้อน วัดมณีบรรพต ตาก
    6. หลวงพ่อใย วัดมะขาม จันทบุรี 7. หลวงพ่อโง่น วัดพระพุทธบาทเขารวก พิจิตร
    8. หลวงพ่อเฉลิม วัดช้าง กำแพงเพชร 9. หลวงพ่อหนู วัดป่าพุทธมงคล กาฬสินธุ์
    10. หลวงพ่อยอด วัดศรีบุญเรือง มุกดาหาร 11. หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
    12. หลวงปู่ศรีจันทร์ วัดศรีสุทธาวาส เลย 13. หลวงพ่อคำพันธ์ วัดพระธาตุมหาชัย นครพรม
    14. หลวงพ่อนอง วัดทรายขาว ปัตตานี 15. หลวงพ่อสำรอง วัดอโศการาม สมุทรปราการ
    16. หลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง สระบุรี 17. หลวงพ่อเครื่อง วัดสระกำแพงใหญ่ ศรีสะเกษ
    18. หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า ระยอง 19. หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ นครปฐม
    20. หลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆสิตา สมุทรสงคราม 21. หลวงพ่อโต๊ะ วัดโพธิ์ภาวนาราม ชัยนาท
    22. หลวงพ่อสุทธิ์ วัดอินทบูรพา บุรีรัมย์ 23. ครูบาวงศ์ วัดพระบาทห้วยต้ม ลำพูน
    24. หลวงพ่อศรี วัดประชาคมวนาราม ร้อยเอ็ด 25. หลวงพ่อดี วัดพระรูป สุพรรณบุรี
    26. หลวงพ่อลมัย วัดอรัญญิก พิษณุโลก 27. หลวงพ่อเติม วัดหมอนไม้ อุตรดิตถ์
    28. หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ อยุธยา 29. หลวงปู่หล้า วัดป่าตึง เชียงใหม่
    30. หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา 31. หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่
    32. หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ นครราชสีมา 33. หลวงปู่ธีร์ วัดจุมพล ของแก่น
    34. หลวงพ่อต่วน วัดศรีอุบลรัตนาราม อุบลฯ 35. หลวงพ่อแฮม วัดศรีวาบริบูรณ์ สุรินทร์
    36. หลวงพ่อทูล วัดบ้านค้อกุดเม็ก อุดรธานี เป็นต้น

    สำหรับแผ่นยันต์และชนวนอีกจำนวนมากนั้นได้ทำการรวบรวม พร้อมทำพิธีเททอง ”พระกริ่งดำรงราชานุภาพ” ณ บริเวณหน้าอนุสาวรีย์กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ด้านหน้ากระทรวงมหาดไทย พร้อมพระคณาจารย์จากวัดบวรนิเวศวิหารมาเจริญพุทธมนต์และพระประยูรญาติในราชสกุล ดิศกุล พร้อมด้วยข้าราชการกระทรวงมหาดไทย เมื่อเวลา 09.19 น. วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2532 การเททองดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย
    พระกริ่งที่เททองนี้มีสภาพสมบูรณ์ดีทุกประการ สำหรับเม็ดกริ่งนั้น ได้ใช้ชนวนโลหะล้วนๆในวันเททอง ทำเป็นเม็ดกริ่ง ก่อนบรรจุท่านผู้ว่าฯ ณัฏฐ์ ศรีวิหค ได้นำไปให้หลวงปู่เทศน์ วัดหินหมากเป้งอธิษฐานจิตอีกครั้งหนึ่ง

    ซึ่งในวันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน 2533 ได้ทำพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร โดยสมเด็จพระ ญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ทรงเป็นองค์ประธานจุดเทียนชัยและนั่งบริกรรมภาวนาแผ่เมตตาอธิษฐานจิต
    และพระเถระคณาจารย์ร่วมในพิธีนั่งบริกรรมภาวนาฯ ดังนี้
    1. พระอุดมสังวรเถร (หลวงพ่ออุตตมะ) วัดวังก์วิเวการาม อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
    2. พระครูกาญจนโนปมคุณ (หลวงพ่อลำใย) วัดลาดหญ้า จังหวัดกาญจนบุรี
    3. พระครูฐาปนกิจสุนทร (หลวงพ่อเปิ่น) วัดบางพระ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
    4. พระครูเกษมธรรมนันท์ (หลวงพ่อแช่ม) วัดดอนยายหอม จังหวัดนครปฐม
    5. พระครูสาธุกิจวิมล (หลวงพ่อเล็ก) วัดหนองดินแดง จังหวัดนครปฐม
    6. พระครูเกษมนวกิจ (หลวงพ่อเต้า) วัดเกาะวังไทร อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
    7. พระราชสิงหคณาจารย์ (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง จังหวัดสิงห์บุรี
    8. พระครูวิชาญชัยคุณ (หลวงพ่อสำราญ) เจ้าคณะอำเภอวัดสิงห์ วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท
    9. พระครูสุตพลวิจิตร (หลวงพ่อคร่ำ) วัดวังหว้า อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
    10. หลวงพ่อสมชาย วัดเขาสุกิม จังหวัดจันทบุรี
    11. พระอาจารย์ศรีเงิน อาภาธโร (หลวงพ่อศรีเงิน) วัดดอนศาลา อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
    12. พระครูสันติวรญาณ (หลวงพ่อสิม พุทธาจาโร) สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง จังหวัดเชียงใหม่
    13. พระภาวนาพิศาลเถร (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา
    14. หลวงพ่อคุณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ จังหวัดนครราชสีมา
    15. พระครูไพจิตร สารานียากร วัดนพวงศ์สาราม อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
    16. พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร (หลวงปู่ศรี) วัดประชาคมวนาราม จังหวัดร้อยเอ็ด
    17. พระครูปลัดพรหม ติสสเทโว (หลวงพ่อพรหม) วัดขนอมเหนือ อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    18. พระครูสิริปุญญาทร (หลวงพ่อวิชัย) วัดตูม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    19. พระครูสุนทรสุวรรณกิจ (หลวงพ่อดี) วัดพระรูป จังหวัดสุพรรณบุรี
    20. พระครูศรีฉฬังคสังวร (หลวงพ่อเริ่ม ปรโม) วัดจุกกะเฌอ จังหวัดชลบุรี
    21. พระอธิการคล้อย (หลวงพ่อคล้อย) วัดถ้ำขันเงิน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
    22. หลวงปู่คำพันธ์ โฆปัญโญ (พระครูสุนทรธรรมโฆษิต) วัดพระธาตุมหาชัย อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม
    23. หลวงปู่เครื่อง สุภทฺโท วัดสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ
    24. พระโพธิสังวรเถร (หลวงพ่อไพฑูรย์) วัดโพธิ์นิมิตร กรุงเทพฯ
    25. พระครูวิมลญาณอุดม (พระอาจารย์ชินเทพ) วัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ
    26. พระญาณโพธิ (หลวงพ่อเข็ม) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเพทฯ
    27. พระคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร พุทธบริษัทจีนเนตา (เย็นเต็ก) วัดโพธิ์แมนคุณาราม กรุงเทพฯ
    28. พระอาจารย์จีนธรรมคณาธิการไพศาลสมณกิจ (เย็นเชี้ยว) วัดมังกรกมลาวาส (เล่งเน่ยยี่) กรุงเทพฯ
    29. ครูบาแสงหล้าธรรมสิริ เจ้าคณะตำบลท่าขี้เหล็ก และรองเจ้าคณะภาควัดพระธาตุสายเมือง
    30. ครูบาบุญชุ่ม ญาณสังวโร วัดพระธาตุดอนเรือง


    พระกริ่งดำรงราชานุภาพรุ่นแรกนี้ ประกอบด้วยเนื้อ ทองคำ,เนื้อเงิน,เนื้อนวโลหะและเนื้อสัมฤทธิ์
    ปัจจุบันพระกริ่งดำรงราชานุภาพค่อนข้างหายากเพราะผู้ที่ครอบครองไว้ต่างหวงแหนอย่างมาก เนื่องจากพุทธคุณตลอด 17 ปีที่ผ่านมา ผู้ที่บูชาต่างมีประสบการณ์ต่าง ๆ ทั้งทางแคล้วคลาด เมตตามหานิยม โชคลาภมากมาย โดยเฉพาะบรรดานักปกครอง ปลัดอำเภอ นายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด ต่างประจักษ์ในความศักดิ์สิทธิ์ของพระกริ่งดำรงราชานุภาพนี้เป็นอย่างมากตลอดมา เนื่องจากเจริญก้าวหน้าในหน้าที่ราชการเป็นที่สุด


    สภาพสวยผิวรุ้งผิวปรอทเดิมๆ พุทธคุณครอบครบทุกด้าน พระกริ่งราคาไปไกลเกินเอื้อมแล้วใช้เหรียญแทนก็ได้ครับพิธีเดียวกัน แบ่งให้บูชา 432 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)




    (คุณshaj จองแล้วครับ)




    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com

    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     

แชร์หน้านี้

Loading...