เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๔

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย iamfu, 28 พฤษภาคม 2021.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,698
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,555
    ค่าพลัง:
    +26,395
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๔


     
  2. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,698
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,555
    ค่าพลัง:
    +26,395
    วันนี้เป็นวันศุกร์ที่ ๒๘ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๔ วันนี้ผมไปเป็นกรรมการสอบพระกรรมวาจานุสาวนาจารย์มา ในเรื่องของคณะสงฆ์ของเรา มีแค่ไม่กี่ตำแหน่งหลัก ๆ ที่จะช่วยให้พระพุทธศาสนาของเรามั่นคงยั่งยืนได้

    ตำแหน่งแรกเลยก็คือพระอุปัชฌาย์อาจารย์ ก็คือพระอุปัชฌาย์และอาจารย์คู่สวด เพราะว่าถ้าพระอุปัชฌาย์เข้มงวด เราก็จะได้บุคคลที่มีคุณภาพ หรือว่ามีความตั้งใจบวชอย่างแท้จริงเข้ามา อีกตำแหน่งหนึ่งก็คือเจ้าอาวาส ถ้าหากว่าเจ้าอาวาสมีความเข้มงวดกวดขัน ทำหน้าที่ของตนโดยเคร่งครัด ไม่เห็นแก่หน้าใคร พระภิกษุสามเณรก็จะอยู่ในกรอบของระเบียบวินัยเป็นอย่างดี


    วันนี้นอกจากมีการสอบพระกรรมวาจานุสาวนาจารย์แล้ว ยังมีการมอบตราตั้งเจ้าคณะตำบล เจ้าอาวาส และพระฐานานุกรมด้วย ดังนั้น..สองเรื่องสองตำแหน่งที่สำคัญ ก็เลยกลายเป็นงานเดียวกัน

    การสอบพระกรรมวาจานุสาวนาจารย์นั้น ปกติแล้วคณะสงฆ์จังหวัดกาญจนบุรีจะสอบพร้อมกับการอบรมพระอุปัชฌาย์ระดับจังหวัด มาปีนี้พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระเทพปริยัติโสภณ เจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี เพิ่มกฎกติกาเข้ามาว่า บุคคลที่จะสอบพระกรรมวาจานุสาวนาจารย์นั้น จะต้องผ่านหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่ง ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นระดับปริญญาหรือว่าระดับประกาศนียบัตรก็ตาม จึงได้แยกการสอบพระอุปัชฌาย์และพระกรรมวาจานุสาวนาจารย์ออกจากกัน เพื่อเปิดโอกาสให้บรรดาท่านที่ยังไม่ได้ผ่านหลักสูตร ได้สมัครเรียนกับทางมหาวิทยาลัยเสียก่อน

    กฎเกณฑ์กติกาข้อนี้เป็นเฉพาะของคณะสงฆ์จังหวัดกาญจนบุรี แบบเดียวกับที่กฎเกณฑ์การเป็นพระอุปัชฌาย์ของเจ้าคณะใหญ่หนกลางแต่เดิมก็คือ ผู้ที่จะสอบพระอุปัชฌาย์ได้ต้องมีพรรษาพ้น ๒๐ ถ้าว่ากันตามพระธรรมวินัยแล้ว ให้มีพรรษาพ้น ๑๐ มีความรู้ในเรื่องของพระธรรมวินัยอย่างสมบูรณ์ สามารถที่จะอบรมสั่งสอนกุลบุตรให้รู้ตามได้ ส่วนเจ้าคณะใหญ่หนอื่น ๆ ก็มีกฎเกณฑ์กติกาของแต่ละหน อย่างเช่นว่านับพรรษาที่ ๑๕ บ้าง
     
  3. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,698
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,555
    ค่าพลัง:
    +26,395
    กระผม/อาตมภาพได้กราบเรียนถามพระเดชพระคุณท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม ซึ่งตอนนั้นท่านเป็นเจ้าคณะใหญ่หนกลางว่า ทำไมหนกลางถึงได้กำหนดกฎเกณฑ์เรื่องพรรษาที่มากกว่าหนอื่น ๆ ? ก็คือผู้ที่จะสอบพระอุปัชฌาย์ต้องมีพรรษาพ้น ๒๐ ท่านให้คำตอบว่า ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์คือพ่อ พระกรรมวาจานุสาวนาจารย์หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า พระคู่สวดคือพี่เลี้ยง คนเป็นพ่อควรจะมีอายุที่ห่างจากลูกในระดับที่ยอมรับกันได้ ก็คืออย่างน้อย ๒๐ ปี

    ฟังดูก็มีเหตุมีผลดี แล้วอีกอย่างหนึ่งก็คือ ถ้าหากว่าบวชตั้งแต่อายุครบ ๒๐ ปี พระอุปัชฌาย์ที่มีอายุ ๔๐ ปี บางทีวุฒิภาวะก็ยังไม่เพียงพอ ในเมื่อเป็นเช่นนั้น เจ้าคณะใหญ่หนกลางแต่เดิมถึงได้กำหนดเอาไว้ที่พ้น ๒๐ พรรษาไปแล้ว

    ส่วนพระกรรมวาจานุสาวนาจารย์ หรือที่เราเรียกง่าย ๆ ว่าพระคู่สวดนั้น ถ้าว่ากันตามพระวินัยก็คือพรรษาพ้น ๕ เรียกว่าพ้นจากนวกภูมิ คือพ้นความเป็นพระใหม่ มีนิสัยมุตตกะ คือศึกษาเรียนรู้จนมีความเข้าใจแล้ว พ้นจากการสั่งสอนของพระอุปัชฌาย์อาจารย์ได้ แต่คณะสงฆ์จังหวัดกาญจนบุรีกำหนดไว้ที่พรรษา ๗ พูดง่าย ๆ ก็คือ ให้มีความมั่นคงมากขึ้น ให้มีการเตรียมตัวที่มากขึ้น จะได้มีความคล่องตัวในการทำหน้าที่ของตน

    ในเรื่องของพระคู่สวดนั้น ของบ้านเรามาเพิ่มเติมขึ้นทีหลัง ปกติแล้วมีแต่พระกรรมวาจารย์รูปเดียว เป็นผู้สวดประกาศถามในท่ามกลางสงฆ์ คือตั้งญัตติ ๑ ครั้ง สวดอนุสาวนา ๓ ครั้ง ถ้าคณะสงฆ์ไม่คัดค้าน ถึงได้ประกาศว่าบุคคลนั้นได้รับการยกขึ้นเป็นอุปสัมบัน คือผู้ที่มีศีลเสมอกับพระภิกษุทั่วไปแล้ว แต่คณะสงฆ์ไทยของเราเพิ่มอนุสาวนาจารย์เข้ามา เพื่อให้ช่วยทวนว่าการสวดนั้นมีการผิดพลาดเป็นอักขระวิบัติหรือไม่ เพราะถ้าหากว่ามีวิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ถือว่าการบวชนั้นไม่สมบูรณ์ บุคคลที่เข้าบวชไม่ได้เป็นพระภิกษุอย่างที่ตั้งใจเอาไว้

    ผมเองไปพม่าอยู่หลายปี ยังมีโอกาสได้เห็นการสวดกรรมวาจารย์โดยอาจารย์รูปเดียว ทั้งในวัดที่ไปพักและทั้งที่ตัวกระผม/อาตมาภาพเองเป็นเจ้าภาพบวชให้ เพียงแต่ว่าพระกรรมวาจารย์ของทางพม่านั้น ไม่ว่าจะกี่สิบพรรษาแล้วก็ตาม เมื่อเข้าสวดกรรมวาจาจะถือคัมภีร์เข้าไปด้วยเสมอ เพื่อป้องกันการผิดพลาดอย่างแน่นอน ก็คือเปิดตำราสวด..!

    ไม่เหมือนกับทางบ้านเราที่ไม่ให้ใช้ตำรา แต่ว่าให้สองท่านสวดทวนพร้อมกัน ถ้ามีท่านใดท่านหนึ่งผิด ก็จะได้รู้ว่าผิดพลาดตรงไหน โดยมีพระอุปัชฌาย์คอยดูแลอยู่ ถ้าผิดพร้อมกันทั้งคู่ พระอุปัชฌาย์ก็ต้องตักเตือนเพื่อให้แก้ไขใหม่ จะได้ไม่เป็นอักขระวิบัติหรือกรรมวาจาวิบัติ

    ในเมื่อค่านิยมเป็นแบบนี้ บ้านเราก็เลยมีพระกรรมวาจาสวด ๑ รูป พระอนุสาวนาคอยทวน ๑ รูป จึงกลายเป็นคู่สวด ก็คือสวดคู่กันไป
     
  4. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,698
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,555
    ค่าพลัง:
    +26,395
    การสอบของปีนี้ก็ค่อนข้างจะเข้มข้นขึ้น จากแต่เดิมที่กระผม/อาตมภาพได้เป็นกรรมการสอบ การสอบนั้นให้สอบคู่กัน ก็คือจับคู่กันแล้วก็สวด กรรมการก็คอยพิจารณาว่าต้องแก้ไขตรงไหนบ้าง มีที่ไหนผิดพลาดบ้าง กลายเป็นภาระหนักของกรรมการ เพราะว่าเท่าที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ผมก็เจออยู่ที่ ๓ หรือ ๔ คู่ ก็คือ ๖ ถึง ๘ รูป..!

    แต่มาปีนี้พระเดชพระคุณพระเทพปริยัติโสภณ เจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี ตั้งคณะกรรมการเท่าจำนวนผู้ขอสอบพระกรรมวาจานุสาวนาจารย์ ก็คือ ๒๐ ต่อ ๒๐ กลายเป็นดวลเดี่ยวกัน ๑ ต่อ ๑ จึงจบเร็ว แล้วก็ตายง่าย คำว่า ตายง่าย ก็คือไม่มีใครช่วย ถ้าตัวเองผิดพลาดแก้ไขไม่ได้ ก็เป็นอันว่าปีหน้าค่อยมายื่นขอสอบใหม่ ปีนี้ยื่นสอบ ๒๐ ราย ก็ผ่านแค่ ๑๘ รายเท่านั้น

    ในส่วนนี้ก็ขอชื่นชมคณะสงฆ์จังหวัดกาญจนบุรีว่า มีความเข้มงวดและกวดขันมากขึ้น เพราะว่าพระภิกษุสามเณรของเราโดนปล่อยปละละเลยมามาก จนกระทั่งขาดความรู้ความเข้าใจในพระธรรมวินัยและกำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของทางคณะสงฆ์ มีการทำผิดทำพลาดเป็นปกติ

    ในเมื่อเข้มงวดตั้งแต่หัว ต่อให้ไม่ได้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์เต็ม ขอสัก ๕๐ เปอร์เซ็นต์ก็ยังดี เราก็ยังมีพระอุปัชฌาย์อาจารย์ที่ไปเข้มงวดกับลูกศิษย์ อย่างน้อย ๆ ผู้ที่บวชผ่านออกมาได้ ก็คงจะไม่ขี้เหร่เกินไปนัก แล้วยิ่งถ้าหากว่าผู้บวชมีจิตใจที่ใฝ่ในความดีงาม ตั้งใจบวชเพื่อขัดเกลากิเลสจริง ๆ มีการศึกษาเพิ่มเติมด้วยตัวเอง ทั้งจากพระเถระรูปอื่นหรือว่าจากพระไตรปิฎก ก็จะยิ่งช่วยให้วงการสงฆ์ของเรา มีพระภิกษุสามเณรที่สามารถไหว้ได้เต็มมือมากขึ้น ก็จะช่วยพยุงคณะสงฆ์ไทยของเรา ให้มั่นคงแข็งแรงได้มากขึ้น

    ดังนั้น...ในส่วนของกิจกรรมวันนี้ จะว่าไปแล้วเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ส่วนในเรื่องของการมอบตราตั้งเจ้าอาวาสนั้น ก็มีเจ้าอาวาสใหม่ ๗ รูป ซึ่งเป็นเรื่องที่เหลือเชื่อว่า ในคณะสงฆ์หนกลาง ๖ ภาค ๒๓ จังหวัด ในแต่ละปีต้องเปลี่ยนเจ้าอาวาสใหม่ ๓๐๐ กว่า ๔๐๐ รูปเสมอ มีทั้งมรณภาพ ทุพพลภาพ สึกหาลาเพศไป หรือว่าต้องคดีโดนจับสึก เมื่อเปลี่ยนตัวเจ้าอาวาสใหม่ วัดวานั้นก็จะมีปัญหาทันที
     
  5. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,698
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,555
    ค่าพลัง:
    +26,395
    ตรงจุดนี้ผมเคยกล่าวไว้ว่าเป็น "วงจรอุบาทว์" ของการเป็นเจ้าอาวาส เกิดจากการยึดติดของทั้งพระภิกษุสามเณรในวัดนั้นและญาติโยม เมื่อเจ้าอาวาสใหม่มาก็ไม่ค่อยยอมรับ เพราะว่ายังยึดมั่นถือมั่นในตัวเจ้าอาวาสเก่าอยู่

    ถ้าเจ้าอาวาสใหม่ความรู้ความสามารถสู้เจ้าอาวาสเก่าไม่ได้ วัดจะโทรมทันตาเลย เพราะว่าไม่ได้รับความร่วมมือจากคณะสงฆ์ในวัดและญาติโยมที่อุปถัมภ์ค้ำจุนวัด ต่อให้มีความสามารถเท่า หรือมากกว่าเจ้าอาวาสเก่า เขาก็คิดถึงแต่รูปเก่า เพราะว่าอยู่ด้วยกันมานาน กว่าที่เจ้าอาวาสใหม่จะได้รับการยอมรับ ก็มักจะเป็นช่วงท้าย ๆ ของชีวิต อยู่มาไม่กี่ปี มรณภาพอีกแล้ว เจ้าอาวาสใหม่มาก็ตกอยู่ในสภาพเดิม ผมถึงได้เรียกว่า "วงจรอุบาทว์"

    ดังนั้น...ในส่วนนี้ถ้าเป็นที่อื่นก็แล้วแต่เขา แต่ในวัดของเรา ควรที่พวกเราทั้งหลายจะเว้นจากความยึดมั่นถือมั่นตรงจุดนี้ แต่ให้ถือหลักธรรมเป็นใหญ่ก็คือ ใครจะมาทำหน้าที่ก็ดีแล้ว รับภาระไปเถอะ ตัวเราเองก็ปฏิบัติใน ศีล สมาธิ ปัญญา ของเราให้เต็มที่ต่อไป มีกิจการงานอะไรก็ช่วยเหลือกันอย่างเต็มที่


    ถ้าเป็นอย่างนั้น ต่อให้เจ้าอาวาสใหม่ไม่มีความรู้ความสามารถเลย วัดวาอารามก็สามารถที่จะไปได้ จึงเป็นเรื่องที่พวกเราทั้งหลายจำเป็นที่จะต้องลดกิเลสในใจของเราลง คือความยึดมั่นถือมั่น ความอคติ ความมีตัวกูของกู ถ้าหากว่าสามารถทำดังนี้ได้ วัดเราก็จะมีอนาคตที่สดใสขึ้น แต่ถ้าหากว่าทำตรงนี้ไม่ได้ ขาดเจ้าอาวาสเดิมไปเมื่อไร เจ้าอาวาสใหม่ก็เดือดร้อนอีกตามเคย

    ก็ขอเรียนถวายทุกท่านและเจริญพรให้แก่ญาติโยมได้ทราบแต่เพียงเท่านี้

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
    วันศุกร์ที่ ๒๘ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๔
    (ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...