เรื่องเด่น อารมณ์ฌาน ( หลวงพ่อปาน )

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 30 มิถุนายน 2021.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,427
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,473
    ZeYY1sT2EPjhULtx6C1RZHt_kl4w1U_x1wWWmWgo4jbp&_nc_ohc=J6aV69KTgrwAX-v-Pb9&_nc_ht=scontent.fbkk2-4.jpg

    อารมณ์ฌาน


    เมื่อเข้าบวชได้ ๓ วันนับตั้งแต่วันออกบวช หลวงพ่อปานท่านสั่งให้รักษาอารมณ์ ลมหายใจเข้าออก ท่านถือเป็นหลักใหญ่ ก่อนภาวนาท่านให้ปลงขันธฺ ๕ ว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ต้องอธบายนะ และสอนให้ใคร่ครวญอารมณ์ชั่วที่ใจให้ระงับเสียชั่วคราว คือ นิวรณ์๕ ได้แก่ การพอใจในรูปสวย เสียงเพราะหรือเสียงประจบใจ กลิ่นที่ชอบใจ รสอร่อยจากรสอาหารหรือรสสัมผัส และให้ตั้งอารมณ์เมตตาไม่เป็นศัตรูกับใคร เราจะเป็นมิตรับคนและสัตว์ทั้งโลก ตัดความสงสัย ตัดอารมณ์นอกรีต นอกรอยที่คิดเกินครูสอน ระงับความง่วงเมื่อมันเข้ามาขัดจังหวะ แต่ไม่ให้ทนง่วงจนเกินพอดี ท่านบอกว่าจะเกิดโรคประสาท เขาจะหาว่าทำกรรมฐานบ้า ความจริงทำกรรมฐานให้รักษาอารมณ์ให้เป็นปกติเป็นเป็นการปฎิบัติตัดอารณ์บ้า แต่ถ้าใครทำจนบ้า คนนั้นเป็นคนทำเกินพอดี เกินคำสั่งของพระพุทธเจ้า เรียกว่าศิษย์ไม่เชื่อครู เรื่องการพยายามเกินพอดีท่านกำชับมาก ห้ามทำเด็ดขาด ถ้าทราบจะถูกประณามในที่ประชุม ท่านสอนการใคร่ครวญท่านให้ทำให้มาก เมื่อมีอารมณ์ระงับความชั่วได้แล้วและพอมองเห็นจริงกับไตรลัษณ์บ้างแล้ว จึงให้ภาวนา วิธีสอนของท่านมีผล ๒ ทาง คือ

    อารมณ์คิดหรือไคร่ครวญเป็นการปล่อยให้เรือไหลไปตามระแสน้ำ คือไม่เอาเรือขวางเมื่อน้ำเชี่ยว ทั้งนี้เพราะจิตมีความสัมพันธ์กับความคิดที่ไม่มีขอบเขตมาแล้วหลายแสนกัป คิดเป็นชาติ เกิดก็หลายล้านชาติ ทุกชาติที่เกิดมันคิดตามอารมณ์ของมัน ไม่มีใครห้ามปรามมัน มันมีอิสระในความคิด ตอนนี้เราจะเกิดมาห้ามมันคิด เอะอะก็ห้ามมันเลย มันจะไหวเหรอ ท่านให้คิดก่อน แต่หาเรื่องให้คิดมุมกลับ คือ คิดตัด คิดระงับ แต่ไม่ตัดไม่ระงับทันทีทันใด เช่น คิดถึงรูป มันต้องมองความสวยกันก่อน เมื่อจะระงับอารมณ์ที่ติดในความสวย คราวนี้ต้องกแก้ผ้าคนสวยกัน เมื่อแก้ผ้าแล้วยังเห็นว่าสวย ต้องผ่าท้อง กันเอาตับไตใส้ปอดออมาดู คราวนี้จะมีอะไรสวย มันก็หมดเรื่องกัน

    เมื่อหาเรื่องให้คิด จิตพอมีอารมณ์สบาย แม้ไม่มีโอกาสเที่ยวใกลนักแต่ยังมีโอกาสเที่ยว อารมณ์กลุ้ม บรรเทา อันนี้ เป็นวิธีบรรเทาอารมณ์กลุ้มของจิต

    อันดับ ๒ เมื่อใคร่ครวญตามนั้นก็เกิดอารมณ์เบื่อใน รูป เสียง กลิ่น รส และ สัมผัส หมดความสงสัยเพราะเห็นจริงกับความจริงที่มองเห็น เกิดอารมณ์ยับยั้งใจไม่ดิ้นมีอารมณ์เบื่อ หมดสงสัยใจก็เป็นสมาธิง่าย

    ถ้าพิจารณาไม่เห็นตอนความเปลี่ยวไม่ลด ท่านห้ามภาวนา เมื่อทำตามท่านรู้สึกว่ามันง่ายจริงๆ ใคร่ครวญพอสมเหตุผลแล้วเริ่มจำความเคลื่อนใหวของลมหายใจ จับภาพพระโดยเฉพาะหลวงพ่อองค์ยิ้มง่ายมากและแจ่มใสชัดเจน ทรงอยู่ได้นานเป็นชั่วโมง

    คืนที่ ๒ ลองตั้งอารมณ์อย่างนั้น ๕ ชั่วโมง เห็นทรงได้สบาย จะทรงอารมณ์เมื่อไหร่ก็ได้ พอย่างวันที่ ๓ ยิ่งมีความคล่อง ทรงอารมณ์ได้ฉับพลัน นานเท่าไหร่ก็ได้ พอเช้าวันที่ ๔ เวลาฉันข้าวเช้า หลวงพ่อท่านฉันอิ่ม ท่านวางมือ มองไป มองมา ท่านหัวเราะและพูดว่า เอ่อเจ้ากระทิงเปลี่ยว ๔ ตัว มันเก่งวะ มันทรงฌาน ๔ ทั้ง ๔ องค์ น่ารักนะ เขามา ๓ วัน เขาทรงฌาน ๔ ได้ พวกที่บวชพร่ะก่อนเขาได้อะไรกันบ้าง เรื่องของฌานที่ท่านบอกฉัน ฉันไม่เห็นมีอะไร มีอารมณ์สบายและตั้งมั่นเท่านั้น ไม่เห็นมีรูปร่าง คิดว่าหนังสือที่เขาเขียน เขียนมากไป ถ้าเราทรงฌานจริง ไม่มีอะไร นอกจากใจไม่กังวล รักษาอารมณ์ให้ทรงตัวเท่านั้น ไม่เห็นเป็นเรื่องอัศจรรย์อะไรเลย


    https://web.facebook.com/สมบัติพ่อให้-111445619506462
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,427
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,473
    ย้อนไป 145 ปีที่ผ่านมาแล้ว วันนี้เป็นวันเกิดของหลวงปู่ปาน วัดบางนมโค ท่านถือเป็นพระโพธิสัตว์ที่ยิ่งใหญ่อีกพระองค์
    ท่านเกิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2418 ในชาตินี้ของท่านเป็นชาติสุดท้ายของการบำเพ็ญบารมี พระโพธิสัตว์อีกองค์หนึ่งที่ได้เกิดมาเพื่อบำเพ็ญบารมีเป็นชาติสุดท้าย ก่อนจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ 3 นับจากพระศรีอาริย์
    หลวงปู่ปานท่านเป็นพระโพธิสัตว์ที่ปรารถนาบำเพ็ญบารมีเป็นพระพุทธเจ้าแบบศรัทธาธิกะ ซึ่งใช้เวลาบำเพ็ญบารมียาวนานถึง 8 อสงไขยบวกกำไรแสนกัปถือว่ายาวนานมาก มากกว่าองค์ปัจจุบันถึงเท่าตัว
    หลวงปู่ปานท่านยังเป็นบูรพาจารย์ของหลวงพระราชพรหมยาน (ฤาษีลิงดำ)วัดท่าซุง ท่านได้อบรมสั่งสอนหลวงพ่อแบบครบถ้วนและสมบูรณ์ อย่างหาครูบาอาจารย์ที่ไหนได้ยาก ถือว่าท่านเป็นครูบาอาจารย์ของครูบาอาจารย์ของพวกเราทุกคน วันนี้ทางคณะและญาติธรรมกราบ
    ขอน้อมระลึกถึงและบูชาพระคุณหลวงปู่ปานเป็นอย่างสูงหาที่สิ้นสุดไม่ได้
    ประวัติหลวงพ่อปาน (วัดบางนมโค) ย่อ
    หลวงพ่อปาน เกิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2418 ในสมัยรัชกาลที่ 5 โยมบิดาชื่อ อาจ โยมมารดาชื่อ อิ่ม นามสกุล สุทธาวงศ์ ที่ย่านบางนมโค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยอาชีพทางครอบครัว คือ ทำนา ครอบครัวของท่านนับได้ว่าเป็นครอบครัวที่ค่อนข้างมีฐานะ สมัยนั้นเขายังมีทาสกันอยู่ ที่บ้านท่านก็มีทาส เมื่อตอนท่านเกิดมา มีปานแดงอยู่ที่นิ้วก้อยมือซ้ายตั้งแต่โคนนิ้วถึงปลายนิ้วคล้ายปลอกนิ้ว โยมบิดาจึงตั้งชื่อท่านว่า "ปาน"
    หลวงพ่อปานศึกษาร่ำเรียนวิทยาการกับ "หลวงพ่อสุ่น" ทั้งด้านกรรมฐานและพุทธาคมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการรักษาโรคภัยไขัเจ็บ ตลอดจนผู้ที่ถูกคุณไสยจนแตกฉาน
    จากนั้นจึงออกธุดงค์ ในระหว่างนั้นท่านได้ศึกษาวิชาความรู้กับพระเกจิอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงหลายๆ รูป อาทิ
    • หลวงพ่อเนียม วัดน้อย อ.ปางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
    • หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน (วัดใหม่อัมพวา) อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี ศิษย์รุ่นพี่สำนักหลวงพ่อเนียม
    • อาจารย์จีน วัดเจ้าเจ็ด ด้านพระปริยัติธรรมและภาษาบาลี
    • พระอาจารย์เจิ่น สำนักวัดสระเกศ กรุงเทพฯ ด้านคันถะธุระและวิปัสสนาธุระ จนจบพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์
    นอกจากยังได้ศึกษาวิชาการแพทย์แผนโบราณที่ "วัดสังเวช" จนเชี่ยวชาญ หลังจากที่ท่านใช้เวลาในช่วงการศึกษาร่ำเรียนนานพอสมควรแก่เวลา
    หลวงพ่อปานจึงเดินทางกลับบ้านเกิดมาจำพรรษาที่ "วัดบางนมโค" ตั้งสำนักสอนภาษาบาลีและนักธรรม ริเริ่มการก่อสร้างศาสนวัตถุต่างๆ และพัฒนาวัดบางนมโค จนเจริญรุ่งเรืองจนกระทั่งถึงทุกวันนี้
    จากนั้นหลวงพ่อปานก็ได้ไปบูรณะปฏิสังขรณ์และก่อสร้างวัดทั้งหมดถึง ๔๒ วัด มีการก่อสร้างโบสถ์ และศาสนวัตถุอื่นอีกมากมายหลายแห่ง เช่น วัดเขาวงพระจันทร์, วัดเขาสะพานนาค อ.โคกสำโรง เป็นต้น
    นับว่าท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีบารมีสูงมาก จึงสามารถสร้างถาวรวัตถุเพื่อสืบทอดพระศาสนาได้มากถึงเพียงนี้ สมภาคภูมิกับการปรารถนา "พุทธภูมิ" ของท่านจริงๆ
    นอกเหนือจากการเป็นพระนักพัฒนาแล้ว หลวงพ่อปานยังเป็นนักเทศน์ฝีปากเอก เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของบรรดาญาติโยมที่มารับฟังเทศน์ฟังธรรมยิ่งนัก โดยเฉพาะเสียงของท่านเพราะมาก บุคคลิกรูปร่างหน้าตาของท่านก็น่าเลื่อมใส นับเป็นคุณสมบัติของผู้เป็น "พระโพธสัตว์" อย่างแท้จริง
    ทางด้านการแพทย์ท่านก็สงเคราะห์รักษาผู้เจ็บไข้ได้ป่วย หรือถูกคุณไสยต่างๆ ตามวิชาการแพทย์แผนโบราณที่ได้ร่ำเรียนมา ทั้งรักษาด้วยน้ำมนต์และรักษาด้วยสมุนไพร คือ ใบมะกากับหญ้าแพรก หรือใบมะกากับข่า โดยมีการกำกับด้วยคาถาอาคมพลังจิตเพื่อให้เข้มขลัง
    หลวงพ่อปานได้มีโอกาสร่ำเรียนวิชาจากชีปะขาว เมื่อราวปี พ.ศ. ๒๔๔๖ ระหว่างที่ท่านฝึกกรรมฐานเพิ่มเติมที่ศาลาไว้ศพ ที่วัดบางนมโค ด้วยวิธีพิจารณา “อสุภกรรมฐาน” คือการพิจารณาศพคนตายเพื่อปลงสังขาร
    ชีปะขาวเดินเข้ามาหา และบอกกล่าวให้ท่านสร้างพระพิมพ์รูปพระพุทธเจ้านั่งสมาธิ มีรูปสัตว์ ๖ ชนิดอยู่ใต้ที่ประทับคือ ไก่, ครุฑ, หนุมาน, ปลา, เม่น, และ นก
    โดยนิมิตเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ดังกล่าว พร้อมทั้งมีคาถากำกับในแต่ละชนิดมาด้วย นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นรูปแบบการสร้างพระพิมพ์ของหลวงพ่อปาน
    ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน "ท่านอาจารย์แจง" ซึ่งเป็นฆราวาสได้เดินทางมาจากสวรรคโลก เพื่อกราบนมัสการหลวงพ่อปาน ด้วยความเลื่อมใสในกิตติคุณ มีการถ่ายทอดวิชาซึ่งกันและกัน
    หลวงพ่อปานได้ศึกษาวิชาที่ว่า ด้วยการปลุกเสกพระเครื่องและสร้างพระ ตามตำรา “พระร่วงเจ้า” ที่ได้รับสืบทอดมา ที่เรียกว่า "ตำรามหาพิชัยสงคราม"
    ซึ่งเป็นต้นแบบการสร้างพระของหลวงพ่อปานที่สำคัญที่สุดคือ “ยันต์เกราะเพชร” ยอดของ "ธงมหาพิชัยสงคราม" ก็ได้รับการถ่ายทอดมาในคราวนี้เช่นกัน และท่านนำมาใช้ช่วยเหลือสงเคราะห์ชาวบ้านได้อย่างมากมาย
    ต่อมา หลวงพ่อปานได้รับสมณศักดิ์ ที่ "พระครูวิหารกิจจานุการ" ในวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๔๗๔ โดยมีข้าราชการและคณะศิษย์ของท่าน เช่น
    พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ, พระวรวงศ์เธอ กรมพระนครสวรรค์ศักดิ์พินิจ, หม่อมเจ้าโฆษิต, หม่อมเจ้านภากาศ, ท้าววรจันทร์ เป็นต้น
    ต่างก็ได้อัญเชิญพัดยศพระราชทานมาให้ท่านถึงที่วัด โดยนำไปมอบถวายให้ท่านในพระอุโบสถ ตามพระบรมราชโองการท่ามกลางคณะสงฆ์ และชาวบ้านต่างอนุโมทนาสาธุการกันถ้วนหน้า
    หลวงพ่อปานมรณภาพ
    .....เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฏาคม ๒๔๘๑ ตรงกับวันแรม ๑๔ คำ เดือน ๘ สิริรวมอายุ ๖๓ ปี พรรษที่ ๔๒

    #ขอน้อมระลึกถึงและบูชาพระคุณหลวงปู่ปานเป็นอย่างสูง

    เพจ:คณะลูกพ่อสัมพเกษี
    ที่มา:เว็บwatthasung

    H210U9DTO-i3lOLwStbWLBdQiHnrvNEWAE7hoKrDgYAs&_nc_ohc=WcRbrPWvp8kAX9ij654&_nc_ht=scontent.fbkk2-4.jpg
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,427
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,473
    ๑๖ กรกฎาคม วันคล้ายวันเกิดหลวงปู่ปาน วัดบางนมโค

    พระบรมโพธิสัตว์บารมีเต็มสำเร็จกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง

    5eypklpa0KP8pY-jXsTP5JYm2qTrzajCqrtVoJQIeRgW&_nc_ohc=Ai2OmTWE3dkAX8_FeHX&_nc_ht=scontent.fbkk2-8.jpg
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...