คำทำนายอุปนิสัย ของเพื่อน ๆ (ของเราด้วย)

ในห้อง 'ดูดวง และ ทำนายฝัน' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 7 มีนาคม 2006.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,025
    บังเอิญว่า ได้ไปอ่านข้อความนี้มาจากพระไตรปิฎก

    ถ้าอ่านแล้วแทงใจดำของใครก็ดีใจด้วย ที่ได้เห็นตัวเองแล้ว


    มองลงไปในจิตใต้สำนึกของพวกเรา เราเจออะไรบ้าง


    พระอภิธรรมปิฎก
    ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติปกรณ์
    ทุกนิทเทส


    [๕๘] บุคคลผู้มักโกรธ เป็นไฉน

    ความโกรธ ในข้อนั้นเป็นไฉน ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ โทสะ ความประทุษร้าย ภาวะที่ประทุษร้าย ความพยาบาท กิริยาที่พยาบาท ภาวะที่พยาบาท ความพิโรธ ความพิโรธตอบ ความดุร้าย ความเกรี้ยวกราด ภาวะที่จิตไม่ยินดีอันใด นี้เรียกว่าความโกรธ ความโกรธนี้อันบุคคลใดละไม่ได้ บุคคลนั้นเรียกว่า ผู้มักโกรธ

    บุคคลผู้ผูกโกรธ เป็นไฉน

    ความผูกโกรธ ในข้อนั้นเป็นไฉน ความโกรธมีในเบื้องต้น ความผูกโกรธมีในภายหลัง ความผูกโกรธ กิริยาที่ผูกโกรธ ภาวะที่ผูกโกรธ การไม่หยุดโกรธ การตั้งความโกรธไว้ การดำรงความโกรธไว้ การไหลไปตามความโกรธ การตามผูกพันธ์ความโกรธไว้ การทำความโกรธให้มั่นเข้าไว้อันใดเห็นปานนี้ นี้เรียกว่าความผูกโกรธ ความผูกโกรธนี้ อันบุคคลใดละไม่ได้บุคคลนั้นเรียกว่า ผู้ผูกโกรธ



    [๕๙] บุคคลผู้มักลบหลู่บุญคุณของผู้อื่น เป็นไฉน

    ความลบหลู่ ในข้อนั้นเป็นไฉน ความลบหลู่ กิริยาที่ลบหลู่ ภาวะที่ลบหลู่ ความไม่เห็นคุณของผู้อื่น การกระทำที่ไม่เห็นคุณของผู้อื่น นี้เรียกว่าความลบหลู่ ความลบหลู่นี้ อันบุคคลใดละไม่ได้แล้ว บุคคลนี้เรียกว่าผู้มักลบหลู่บุญคุณของผู้อื่น

    บุคคลผู้ตีเสมอ เป็นไฉน

    การตีเสมอ ในข้อนั้นเป็นไฉน การตีเสมอ กิริยาที่ตีเสมอ ภาวะที่ตีเสมอ ธรรมที่เป็นอาหารแห่งการตีเสมอ ฐานะแห่งวิวาท การถือเป็นคู่ว่าเท่าเทียมกัน การไม่สละคืนอันใด นี้เรียกว่าการตีเสมอ การตีเสมอนี้อันบุคคลใดละไม่ได้แล้ว บุคคลนี้เรียกว่าผู้ตีเสมอ



    [๖๐] บุคคลผู้มีความริษยา เป็นไฉน

    ความริษยา ในข้อนั้นเป็นไฉน ความริษยา กิริยาที่ริษยา ภาวะที่ริษยา ความไม่ยินดีด้วย กิริยาที่ไม่ยินดีด้วย ภาวะที่ไม่ยินดีด้วยในลาภสักการะ การเคารพ ความนับถือ การไหว้ การบูชาของผู้อื่น อันใด นี้เรียกว่าความริษยา ก็ความริษยานี้ อันบุคคลใดละไม่ได้แล้ว บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีความริษยา

    บุคคลผู้มีความตระหนี่ เป็นไฉน

    ความตระหนี่ ในข้อนั้นเป็นไฉน ความตระหนี่มี ๕ อย่าง คือตระหนี่ที่อยู่ ตระหนี่ตระกูล ตระหนี่ลาภ ตระหนี่วรรณะ ตระหนี่ธรรมความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ภาวะที่ตระหนี่ (ความหวง) ความอยากไปต่างๆ ความเหนียวแน่นความตระหนี่ถี่เหนียว ความที่จิตไม่เผื่อแผ่ อันใดเห็นปานนี้ นี้เรียกว่าความตระหนี่ ความตระหนี่นี้ อันบุคคลใดละไม่ได้แล้ว บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีความตระหนี่



    [๖๑] บุคคลผู้โอ้อวด เป็นไฉน

    ความโอ้อวด ในข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้อวด ความโอ้อวด ภาวะที่โอ้อวด กิริยาที่โอ้อวด ภาวะที่แข็งกระด้าง กิริยาที่แข็งกระด้าง ความพูดยกตน กิริยาที่พูดยกตน อันใด ในข้อนั้น นี้เรียกว่าความโอ้อวด ความโอ้อวดนี้ อันบุคคลใดละไม่ได้แล้ว บุคคลนี้เรียกว่า ผู้โอ้อวด

    บุคคลผู้มีมารยา เป็นไฉน

    มารยา ในข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ประพฤติทุจริตด้วยกาย ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ประพฤติทุจริตด้วยใจแล้ว เพราะเหตุจะปกปิดทุจริตนั้น จึงตั้งความปรารถนาอันลามก ปรารถนาว่าใครๆ อย่ารู้เรา ดำริว่าใครๆ อย่ารู้เรา พูดว่าใครๆ อย่ารู้เรา พยายามด้วยกายว่าใครๆ อย่ารู้เรามายา ภาวะที่มายา ความวางท่า ความหลอกลวง ความตลบแตลง ความมีเลห์เหลี่ยม ความทำให้ลุ่มหลง ความซ่อน ความอำพราง ความผิด ความปกปิด การไม่ทำให้เข้าใจง่าย การไม่ทำให้จะแจ้ง การปิดบังกิริยาลามกเห็นปานนี้ อันใด นี้เรียกว่า มายา มายานี้ อันบุคคลใดละไม่ได้แล้ว บุคคลนี้เรียกว่า มีมายา



    [๖๒] บุคคลผู้ไม่มีหิริ เป็นไฉน

    ความไม่มีหิริ ในข้อนั้นเป็นไฉน ธรรมชาติใดไม่ละอายสิ่งที่ควรละอาย ไม่ละอายการถึงพร้อมแห่งธรรมอันเป็นบาปอกุศล นี้เรียกว่า ความไม่มีหิริ บุคคลประกอบแล้วด้วยความไม่มีหิรินี้ เรียกว่าผู้ไม่มีหิริ

    บุคคลผู้ไม่มีโอตตัปปะ เป็นไฉน

    ความไม่มีโอตตัปปะ ในข้อนั้นเป็นไฉน ธรรมชาติใดไม่กลัวสิ่งที่ควรกลัว ไม่กลัวการถึงพร้อมแห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศล นี้เรียกว่าความไม่มีโอตตัปปะ บุคคลประกอบแล้วด้วยความไม่มีโอตตัปปะนี้ชื่อว่า ผู้ไม่มีโอตตัปปะ



    [๖๓] บุคคลผู้ว่ายาก เป็นไฉน

    ความเป็นผู้ว่ายาก ในข้อนั้นเป็นไฉน ความเป็นผู้ว่ายาก กิริยาที่เป็นผู้ว่ายาก ภาวะที่เป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้ถือเอาโดยปฏิกูล ความเป็นผู้ยินดีโดยความเป็นข้าศึก ความไม่เอื้อเฟื้อ ภาวะที่ไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เคารพความไม่เชื่อฟัง ในเมื่อสหธรรมิกว่ากล่าวอยู่ นี้เรียกว่า ความเป็นผู้ว่ายาก บุคคลประกอบแล้วด้วยความเป็นผู้ว่ายากนี้ ชื่อว่าผู้ว่ายาก

    บุคคลผู้มีมิตรชั่ว เป็นไฉน

    ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ในข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลเหล่านั้นใด เป็นผู้ไม่มีศรัทธา เป็นผู้ทุศีล มีสุตะน้อย เป็นผู้ตระหนี่ มีปัญญาทราม การเสวนะการเข้าไปเสวนะ การซ่องเสพ การคบ การคบหา การภักดี การภักดีด้วยความเป็นผู้คบหาสมาคมกับบุคคลเหล่านั้น อันใด นี้เรียกว่า ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว บุคคลประกอบด้วยความเป็นผู้มีมิตรชั่วนี้ เรียกว่าผู้มีมิตรชั่ว




    อ่านต่ออีกนิด ยังไม่จบนะ (ผู้ฟังด้วยดีย่อมได้ปัญญา - ถ้าเหนื่อยก็พักสายตากันก่อน)


    บุคคลผู้มีสัมปชัญญะ เป็นไฉน

    สัมปชัญญะ ในข้อนั้น เป็นไฉน ความรอบรู้ ความรู้ชัดความเลือกเฟ้น ความเลือกสรร ความสอดส่องธรรม ความกำหนดหมายความเข้าไปกำหนดรู้ ความเข้าไปกำหนดรู้เฉพาะ ความเป็นผู้รู้ ความฉลาดความรู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความคิดนึก ความใคร่ครวญ ความรู้กว้างขวางความรู้เฉียบขาด ความรู้นำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ทั่วพร้อม ปัญญาเพียงดังปะฏัก ปัญญินทรีย์ กำลังคือปัญญา รัศมีคือปัญญา ประทีปคือปัญญารัตนคือปัญญา ความสอดส่องธรรม คืออโมหะ สัมมาทิฐิ นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ

    บุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยสัมปชัญญะนี้ ชื่อว่าผู้มีสัมปชัญญะ

    [๗๗] บุคคลหาได้ยากในโลก ๒ จำพวก เป็นไฉน
    บุพพการีบุคคล ๑ กตัญญูกตเวทีบุคคล ๑

    บุคคล ๒ จำพวกนี้ หาได้ยากในโลกนี้


    [๘๓] บุคคลผู้อิ่มแล้ว เป็นไฉน
    พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกทั้งหลายของพระตถาคตเจ้า ผู้เป็นพระอรหันต์ ชื่อว่าผู้อิ่มแล้ว

    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าผู้อิ่มแล้วด้วย ยังผู้อื่นให้อิ่มแล้วด้วย


    http://84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=36&A=2940&Z=3224&pagebreak=0 <!--detail--><!-- /keepstat.php?post_id=205544 -->
    โดย : fin_finny
     

แชร์หน้านี้

Loading...