@ขอบเลี่อย-ขอบกระบอก-ขอบปั้มตัด-ฐานกลึง@

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย stoes, 22 กรกฎาคม 2011.

  1. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    เห็นถามกันบ่อย ๆ ผมจึงตั้งกระทู้นี้และพยายามจะรวบรวม ทั้งจากความรู้ที่มีอยู่และจากเว็บต่าง ๆ
    ที่เขาได้นำเสนอไว้ เป็นประโยชน์แก่สาธารณะชน ไม่ได้คิดเงิน
    ต้องขออนุญาตไว้นะที่นี้ด้วย ถ้าประสงค์จะให้ลบ ก็เข้ามาแสดงความคิดเห็นเลยนะครับ กระทู้นี้นำเสมอเรื่อง
    รอยตัดขอบเหรียญที่มีประโยชน์เท่านั้น เพื่อน ๆ มีข้อมูลก็สามารถนำมาร่วมกันได้นะครับ เฉพาะเนื้อโลหะครับ

    ปั้มตัดขอบแบบเครื่องทันสมัยครับ คือคม ที่ลงให้อ่านผมยังไม่ได้ตรวจทานอีกทีครับ
    แต่ก็คงใกล้เคียง การที่จะเก่งได้ต้องรู้จักศึกษาและวิเคราะห์ อย่างเชื่อใครง่ายจะได้ไม่โดนหลอก


    ผู้ชำนาญการทางด้านเหรียญพระคณาจารย์ต่างๆ จึงได้จำแนก พระเครื่อง พระเหรียญจากการปั๊มตัดข้างเหรียญไว้เป็น 3 ยุค


    1. พระเครื่องเหรียญ ยุคประมาณ พ.ศ. 2440-พ.ศ. 2485
    2. พระเครื่องเหรียญ ยุคประมาณ พ.ศ. 2485-พ.ศ. 2500
    3. พระเครื่องเหรียญ ยุคประมาณ พ.ศ. 2500-ปัจจุบัน


    เหรียญช่วงปี พ.ศ. 2440-2485 นิยมสร้าง พระเหรียญ ที่มีลักษณะเป็นรูปทรงกลม รูปไข่ รูปทรงอาร์ม และทรงเสมา รูปทรงเหรียญทั้งสี่แบบนี้สามารถแยกกรรมวิธีการสร้างได้เป็น 2 ชนิดคือ เหรียญปั๊มชนิดข้างเลื่อยและเหรียญปั๊มชนิดข้างกระบอก ซึ่งเหรียญที่มีกรรมวิธีการสร้างทั้ง 2 ชนิดนี้มีรายละเอียดดังนี้ เหรียญข้างเลื่อยก็คือการนำเหรียญที่ปั๊มเรียบร้อยแล้วมาตัดส่วนที่เกินออก ด้วยการใช้เลื่อยตัดออกทีละเหรียญ ส่วนเหรียญข้างกระบอกนั้น เขาจะทำบล็อกรูปทรงของเหรียญนั้นๆ แล้วตัดแผ่นโลหะที่จะทำเหรียญมาใส่ลงไปแล้วจึงทำการปั๊มขึ้นรูปเหรียญ จึงทำให้สะดวกไม่มีส่วนเกินที่ข้างเหรียญ เหรียญในยุคนี้เช่นเหรียญหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง (ข้างเลื่อย) เหรียญหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติฯ (ข้างกระบอก) เป็นต้น


    2. เหรียญปั๊มข้างตัด (ปั๊มตัดแบบยุคเก่า) การสร้างเหรียญชนิดนี้จะอยู่ในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2485-2500 เนื่องจากการสร้างชนิดแบบเก่าที่มีการเข้ากระบอก และแบบเลื่อยขอบ มีความยุ่งยากและเสียเวลา อีกทั้งในช่วงนี้เริ่มมีวิวัฒนาการในการสร้างเหรียญปั๊มขึ้นมาตลอด เครื่องจักรก็เริ่มมีความทันสมัยขึ้น ทางโรงงานได้มีการทำตัวตัดขึ้นเพื่อความสะดวกในการตัดเหรียญให้ขาดโดยไม่ ต้องมาเลื่อยให้เสียเวลาอีก แต่การปั๊มเหรียญและตัดในยุคนี้นั้นจะแตกต่างกับเหรียญในปัจจุบันคือ ด้านข้างของเหรียญจะมนๆ ไม่ค่อยมีริ้วรอยมากนัก อีกทั้งเหรียญช่วง พ.ศ.นี้ ลักษณะของเหรียญด้านหน้าจะนูนเล็กน้อย แต่ด้านหลังจะเป็นแอ่งกระทะ ซึ่งเกิดจากการปั๊มและตัดเหรียญนั่นเอง ตัวอย่างของ พระเหรียญ ที่สร้างขึ้นในยุคนี้คือพระเหรียญเกจิ เหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง บล็อกยันต์วรรค ปี 2486 และเหรียญหลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน เป็นต้น



    3. เหรียญปั๊มตัดยุค พ.ศ. 2500-ปัจจุบัน ในยุคนี้ได้มีการพัฒนาตัวตัดด้านข้างเหรียญที่ทันสมัย เพื่อความสะดวกในการตัดเหรียญในจำนวนมากๆ การพัฒนาตัวตัดยุคนี้จึงค่อนข้างคมชัด บางครั้งในเหรียญหลวงพ่อเดียวกันมีตัวตัด 2 ตัว เนื่องจากการสร้างเหรียญในแต่ละครั้งมีจำนวนมากขึ้น เช่น เหรียญหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ รุ่นแรก ปี พ.ศ. 2500 ด้วยเหตุนี้ตัวตัดในยุคนี้จึงค่อนข้างคมเพื่อสะดวกในการตัดเหรียญจำนวนมากๆ
    และผมจะค่อย ๆ นำภาพตัวอย่างการตัดจากขอบเหรียญมาให้ชมครับ<!-- google_ad_section_end -->​
     
  2. akkhawee

    akkhawee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    1,908
    ค่าพลัง:
    +5,260
    ขอบคุณครับ..................
     
  3. มันตรัย

    มันตรัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    8,346
    ค่าพลัง:
    +8,190
    กระทู้ความรู้ครับ ขอบคุณพี่สโตร์มากครับ
     
  4. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    เหรียญช่วงปี พ.ศ. 2440-2485 นิยมสร้าง พระเหรียญ ที่มีลักษณะเป็นรูปทรงกลม รูปไข่ รูปทรงอาร์ม และทรงเสมา รูปทรงเหรียญทั้งสี่แบบนี้สามารถแยกกรรมวิธีการสร้างได้เป็น 2 ชนิดคือ เหรียญปั๊มชนิดข้างเลื่อยและเหรียญปั๊มชนิดข้างกระบอก ซึ่งเหรียญที่มีกรรมวิธีการสร้างทั้ง 2 ชนิดนี้มีรายละเอียดดังนี้ เหรียญข้างเลื่อยก็คือการนำเหรียญที่ปั๊มเรียบร้อยแล้วมาตัดส่วนที่เกินออก ด้วยการใช้เลื่อยตัดออกทีละเหรียญ ส่วนเหรียญข้างกระบอกนั้น เขาจะทำบล็อกรูปทรงของเหรียญนั้นๆ แล้วตัดแผ่นโลหะที่จะทำเหรียญมาใส่ลงไปแล้วจึงทำการปั๊มขึ้นรูปเหรียญ จึงทำให้สะดวกไม่มีส่วนเกินที่ข้างเหรียญ เหรียญในยุคนี้เช่น
    เหรียญหลวงพ่อโสธร 2460
    การนำเสนอในครั้งนี้ไม่มีวัตถุประสงค์ชี้นำว่าเก๊หรือแท้..
    เป็นการชี้ให้ดูว่าควรสังเกตุ อะไรได้บ้าง เพื่อเป็นแนวทางการดูเหรียญโบราณ ​

    อย่างเหรียญอาร์มหลวงพ่อโสธร เราต้องทราบก่อนว่า เป็นเหรียญ ปั้ม
    แล้วนำเหรียญมาใช้เลื่อยตัดปีกเหรียญส่วนนอกพื้นที่เหรียญออกไป
    ดังตัวอย่างภาพภาพบนส่วนภาพล่างขอบเหรียญหลวงพ่อโสธร 2460 ครับ
    รอยเลื่อยขอบเหรียญ
    1)ระนาบตรง..
    2)แนวระนาบจะไม่ตั้งฉากกับหน้าหรือหลังเหรียญเพราะ เลื่อยด้วยมือมักจะเอียง...และจะเอียงด้านล่างเข้าด้านในเหรียญเป็นส่วนใหญ่
    3)เส้นรอยเลื่อยไม่ตั้งฉาก..อาจจะเอียง โย้ไปด้านหน้า หรือถอยหลัง แล้วแต่ ธรรมชาติของคนเลื่อย..
    4)ตามมุมเหรียญเช่นซอกหูเหรียญ ต้องมีรอยหยุดประคองเลื่อยเพื่อเปลี่ยนแนวเลื่อย..


    [​IMG]
    <img style="-webkit-user-select: none" src="http://palungjit.org/attachment.php?attachmentid=1580653&amp;stc=1&amp;d=1311299073">

    [​IMG]
    <img style="-webkit-user-select: none" src="http://palungjit.org/attachment.php?attachmentid=1580693&amp;stc=1&amp;d=1399104042">

    สำหรับท่านที่สนใจรอยเลื่อยจริงๆ..มีแนวทางศึกษาแบบนี้ครับ
    1)หาพลาสติกที่หนาพอควร มาวาดรูปอาร์มหลวงพ่อนี่ละครับมาตราส่วน หนึ่งต่อหนึ่ง..แล้วใช้เลื่อยฉลุเลื่อยดูเลยละครับ
    2)หาซื้อเหรียญขอบเลื่อยเก่าแท้ ที่ราคาเบาๆ มาเป็นตัวอย่าง..มาเป็นครู..ต้องเห็นของจริงครับ จึงจะใส..
    3)หมั่นขอดูเหรียญแท้ จากเซียนใหญ่ หรือจากเพื่อนๆที่มี..แต่คงยากดูภาพในเว็บที่ผมนำเสนอไปก่อน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤษภาคม 2014
  5. ควายเผือก

    ควายเผือก Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    344
    ค่าพลัง:
    +48
    ขอบคุณครับ ที่สละเวลามาดูแลน้องๆ เสมอมา ครับ (||)(||)(||)
     
  6. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,593
    ค่าพลัง:
    +53,107
    ขอบคุณครับ จะได้ศึกษาการดูขอบเหรียญให้ละเอียดเสียที ครับ งง มานาน :cool:
     
  7. พศวีร์

    พศวีร์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    144
    ค่าพลัง:
    +29
    ต้องขอบคุณท่าน(stoes)มากครับ ที่ช่วยนำประสพการณ์ทั้งส่วนตัวและจากในเวปมาเผยแพร่ กล้าบอกได้เลยครับความรู้ทั้งนั้นและเป็นเทคนิคเฉพาะทางในการวิเคราะห์เหรียญว่าใช่หรือไม่ใช่ ในส่วนตัวที่เจอมาผมเพิ่มเติมให้อีกส่วนหนึ่งครับแต่เรียกตัวตัดไม่ถูก ตั้งแต่ช่วงปี4 ต้นๆจนถึงปัจจุบัน จะเริ่มมีการเปลี่นนตัวตัดเป็นอีกแบบหนึ่งสังเกตุง่ายๆจากเหรียญจตุคามและพระเกจิในยุคปัจุบันได้ครับ ด้วยความเคารพ
     
  8. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    เหรียญขอบกระบอก 2440-2485

    เหรียญที่มีขอบข้างกระบอกไม่ได้มีเพียง
    รูปทรงกลมและรูปไข่เท่านั้น รูปทรงเสมา และรูปอาร์มก็มีเช่นกัน
    แต่น้อยเพราะเป็นกรรมวิธีที่ยาก เท่าที่พบในการสร้างเหรียญ
    ปั้มขอบข้างกระบอกรูปทรงอาร์มก็มีและรูปทรงเสมาก็มี ในปี 2440 -2485
    ก็มีเหรียญหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ พิมพ์ขอเบ็ด เหรียญหลวงพ่อจง
    วัดหน้าต่างนอก พิมพ์หน้าใหญ่เป็นต้น การปั้มแบบขอบข้างกระบอก
    คือการนำแผ่นโลหะมาเลื่อยตามรูปทรงของเหรียญที่จะทำการปั้ม
    เพื่อเข้ากระบอก และทำการปั้มรูปเหรียญนั้น ๆ แผ่นโลหะที่ถูกแรงกระแทก
    จากการปั้มขึ้นรูปนั้น ขอบด้านข้างจะปลิ้นไปเบียดกับขอบกระบอกที่เป็นตัวบังคับ
    ดังนั้นด้านข้างของเหรียญปั้มชนิดนี้จึงเรียบเนียน เนื่องจากการปั้ม
    เข้ากระบอก โดยมีตัวกระบอกเป็นตัวบังคับ แต่หากพบรอยเส้นทิวบาง ๆ
    ในขอบข้างของเหรียญชนิดนี้ ก็อย่าตกใจ เพราะสาเหตุที่เป็นเช่นนั้น
    เนื่องจากการที่ช่างทำการแต่งตัวบล็อกกระบอกที่จะทำการปั้มเหรียญ
    ไม่เรียบ เวลาปั้มออกมาจึงมีลักษณะไม่ค่อยเรียบตามตัวบล็อกครับ
    ความรู้จากหนังสือของ บอย ท่าพระจันทร์

    ตัวอย่างเหรียญขอบกระบอก เป็นเหรียญอาร์ม
    หลวงพ่อธรรมจักร วัดธรรมมูล สร้างปี 2461
    มีการตกแต่งด้วยปรากฏรอยตะไบให้เห็นด้วยเล็กน้อย
    เหรียญที่ 2 เป็นบล็อคขอบกระบอก คือเหรียญกรมหลวงชุมพร
    เขตอุดมศักดิ์ สร้างปี 2466 กทมเนื้อเงินกระไหล่ทอง
    สำหรับตัวอย่างเหรียญที่ 3 คือเหรียญที่สร้าง 2440
    เหรียญนี้จะเก่ากว่า 2 เหรียญที่กล่าวมา
    เป็นเหรียญอะไร...ท่านที่ชอบศึกษาเรื่องเหรียญขอบกระบอก
    ก็จะทราบดี เมื่อเป็นเหรียญเกากว่า ขอบข้างกระบอก
    ของเหรียญจึงดูไม่ค่อยเนียนเรียบ และแน่นเท่ากับสองเหรียญแรก
    แต่จะมีความเก่ากว่าอย่างเห็นได้จัด ขอเพิ่มเติมข้อมูลเมื่อ 4/5/57
    ขอบคุณหนังสือ ของบอย ท่าพระจันทร์
    ส่วนข้อมูลตัวอย่างเหรียญขอบเลื่อยปลอมด้านล่าง
    ผมจำไม่ได้ว่าใส่เหรียญตัวอย่างอะไรไว้ ถ้าท่านใด ได้เซพภาพข้อมูล
    ก็รบกวนนำมาเสนอได้ จะเป็นพระคุณอย่างสูง
    <img style="-webkit-user-select: none; cursor: -webkit-zoom-in;" src="http://palungjit.org/attachments/a.2989856/" width="281" height="244"><img style="-webkit-user-select: none; cursor: -webkit-zoom-in;" src="http://palungjit.org/attachments/a.2989857/" width="205" height="248"><img style="-webkit-user-select: none; cursor: -webkit-zoom-in;" src="http://palungjit.org/attachments/a.2989858/" width="232" height="240">

    ต่อเนื่องจากด้านบนเรื่องเหรียญขอบเลื่อย
    แต่ตัวอย่างภาพเหรียญหายไปเพราะเว็บพลังจิตได้เป็นจาก.comเป็น.org
    จึงทำให้ภาพในระบบได้หายไปบางส่วนครับ
    เมื่อมีขอบเลื่อยจริง แล้วก็มีตัวอย่างที่เป็นขอบเลื่อยไม่จริงมานำเสนอให้เช่นกัน

    เพราะว่าเหรียญย่อมมีสองด้านเสมอ แล้วความรู้ก็ควรที่จะมีสองด้านเช่นกัน

    ดั่งเช่นเหรียญที่เขาทำปลอมกัน ขอบเหรียญตัดเป็นอย่างไร ตอบได้ว่าหน้าหลังตำหนิครบ
    แต่ด้านขอบรอยตัด เขาจะตัดด้วยเครื่องจึงมีความคม และอีกภาพเขาใช้ตะไบ
    และจะตะไบเหรียญทีละเหรียญ และผมได้นำความรู้จากเว็บอื่นมานำเสนอด้วย
    ภาพแรกที่ผมเคยเปรียบไว้

    [​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG]

    ขอบข้างเหรียญตะไบ...ในเมื่อเป็นเหรียญขอบเลื่อย ด้านข้างก็ต้องเป็นขอบเลื่อย..
    เหรียญนี้เป็นรอยตะใบ ดูจากการมุมตะไบที่ไม่สามารถทำให้เป็นระนาบเดียวได้ จะเห็นเป็นสันโค้ง สอง-สามจังหวะ..



    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2014
  9. Dek_watpa

    Dek_watpa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    2,608
    ค่าพลัง:
    +4,517
    สุดยอดกระทู้ความรู้ครับ ขอบคุณมากๆครับ แล้วเหรียญของหลวงปู่กลั่นวัดพระญาติ พิมพ์ขอเบ็ด ก็ต้องเป็นขอบเลื่อยหรือขอบกระบอกครับ ขอความรู้ด้วยครับ
     
  10. Phaake

    Phaake เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,818
    ค่าพลัง:
    +319
    เลอค่าปัญภูมิอ่าน..........ขยายข่ายองค์ปัญญา
     
  11. Bigzys

    Bigzys Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    1,123
    ค่าพลัง:
    +34
    ถ้าจำไม่ผิดน่าจะกระบอกนะครับ
     
  12. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    2. เหรียญปั๊มข้างตัด (ปั๊มตัดแบบยุคเก่า) การสร้างเหรียญชนิดนี้จะอยู่ในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2485-2500 เนื่องจากการสร้างชนิดแบบเก่าที่มีการเข้ากระบอก และแบบเลื่อยขอบ มีความยุ่งยากและเสียเวลา อีกทั้งในช่วงนี้เริ่มมีวิวัฒนาการในการสร้างเหรียญปั๊มขึ้นมาตลอด เครื่องจักรก็เริ่มมีความทันสมัยขึ้น ทางโรงงานได้มีการทำตัวตัดขึ้นเพื่อความสะดวกในการตัดเหรียญให้ขาดโดยไม่ ต้องมาเลื่อยให้เสียเวลาอีก แต่การปั๊มเหรียญและตัดในยุคนี้นั้นจะแตกต่างกับเหรียญในปัจจุบันคือ ด้านข้างของเหรียญจะมนๆ ไม่ค่อยมีริ้วรอยมากนัก อีกทั้งเหรียญช่วง พ.ศ.นี้ ลักษณะของเหรียญด้านหน้าจะนูนเล็กน้อย แต่ด้านหลังจะเป็นแอ่งกระทะ ซึ่งเกิดจากการปั๊มและตัดเหรียญนั่นเอง ตัวอย่างของ พระเหรียญ ที่สร้างขึ้นในยุคนี้คือพระเหรียญเกจิ เหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง บล็อกยันต์วรรค ปี 2486 พ่อทอง วัดดอนสะท้อน เป็นต้น
    เหรียญตีปลอกหรือขอบกระบอก เป็นเทคนิคสมัยก่อน ตัดโลหะให้ใกล้เคียงกับบล๊อคแล้วปั๊ม ขอบจึงเรียบ บางเหรียญก็จะมีขอบคม ๆ ปลิ้นมาด้านหลัง เช่นเหรียญมงคลบพิตรปี ๒๔๖๐ เหรียญยอดนิยมอย่างเหรียญขอเบ็ด ก็มีตำหนิธรรมชาติจากการปั๊มตีปลอก คือผิวเหรียญยุบตรงไหนนูนตรงไหน หน้าหลังถ้าเข้าใจก็จะหลงทางยากครับ

    ผมขอยกตัวอย่างผมขอเป็นเหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดท่าฉลองจากหนังสือ
    เหรียญยอดนิยม อมตะแดนสยาม
    และเหรียญหลวงพ่อคง วัดบางกระพ้อม
    ค่อย ๆ อ่านทำความเข้าใจ
    [​IMG]
    เหรียญหลวงพ่อคงว้ดบางกระพร้อมปี 2484

    ต้องขออนุญาติเจ้าของหนังสือคุณบอย ท่าพระจ้นทร์ ถ้าท่านมาพบเจอ
    ประสงค์ให้ลบก็บอกเลยครับ (ป้องกันไว้ก่อนเดี๋ยวถูกฟ้อง)
    ในภาพจะเห็นรอยตัดแบบขอบบังคับในภาพแรกและอาจมองเห็นอีกชั้นเพราะไม่มีการแต่ง
    และอีกเหรียญจะมองเห็นเป็นขอบคล้ายเลื่อย ซึ่งบางคนเข้าใจว่าเลื่อยออก และเข้าใจว่า
    <img style="-webkit-user-select: none" src="http://palungjit.org/attachments/a.1581096/"><img style="-webkit-user-select: none; cursor: -webkit-zoom-out;" src="http://palungjit.org/attachment.php?attachmentid=3144313&amp;stc=1&amp;d=1399107866" width="751" height="733"><img style="-webkit-user-select: none; cursor: -webkit-zoom-out;" src="http://palungjit.org/attachment.php?attachmentid=3144314&amp;stc=1&amp;d=1399107866" width="754" height="713">
    เหรียญรุ่นนี้มีขอบ 2 ชนิด คือขอบกระบอกและขอบสตางค์
    ความจริงมีชนิดเดียว แต่ภาพที่สองบรรยายว่าคล้ายรอยเลื่อย
    ในมุนของผม.....ขอบสตางค์ที่เห็นเกิดจากบล็อกขอบกระบอกเป็นล่องไม่เรียบ
    จึงเกิดขอบสตางค์ขึ้นมาเหมือนเหรียญห้า เหรียญบาท ที่เราใช้อยู่เป็นประจำ
    ซึ่งบางเว็บก็ยกตัวอย่างบรรยายไว้ว่าเป็นขอบเลื่อย ซึ่งทำให้คนเข้าใจไขว้เขวได้
    แต่ถ้าจะให้แน่นอนขอบสตางค์ที่เกิดจากบล็อคต้องมีเหรียญที่สองซึ่งมีขอบสตางค์ตรงกัน
    แต่หาตัวอย่างยากเพราะเหรึยญขอบสตางค์ในของแท้หายากกว่า
    การจะรู้จริงในเรื่องพวกนี้เราต้องเข้าถึงขบวนการผลิต process แต่ผมก็ไม่ได้ไปถึงขนาดนั้น
    ก็ขอแนะน้อง ๆ ที่ต้องการความเข้าใจในเรื่องนี้ถ้ามีโอกาสก็ลองหาทางไปดูโรงงานที่เขาผลิต<!-- google_ad_section_end -->

    <FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG]
    </FIELDSET>

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤษภาคม 2014
  13. บุพนิมิต

    บุพนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,690
    ค่าพลัง:
    +7,034
    แอบมา่อ่านเพลินเลยครับ....ฮ่าๆๆๆๆๆ
    สาธุ สาธุ สาธุ...อนุโมทนาครับท่าน stoes....
     
  14. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    เหรียญหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ พิมพ์ขอเบ็ด เนื้อทองแดง และเนื้อเงินปั้มข้างขอบกระบอก


    เหรียญหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ เนื้อเงินหน้าทองคำ ปั้มข้างขอบเลี่อยทีละองค์

    เหรียญหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ เนื้อทองแดง ด้านหน้าเป็นขึ้กลาก
    ใช้บล็อกหน้าของเก่ามาปั้มใหม่ ส่วนด้านหลังแกะบล็อคขึ้นมาใหม่
    เรียกว่าบล็อกหลังเรียบ เป็นเหรียญปั้มข้างขอบเลี่อยทุกเหรียญ


    เหรียญหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ เนื้อทองแดงด้านหน้าเป็นขึ้กลาก
    ใช้บล็อกหน้าของเก่ามาปั้มใหม่ ส่วนด้านหลังแกะบล็อคขึ้นมาใหม่
    เรียกว่าบล็อกหลังเรียบ แยกออกได้อีกบล็อกเรียกว่า บล็อกหลังเสี้ยนตอง
    เป็นเหรียญปั้มข้างขอบตัดโบราณแบบเดียวกับเหรียญหลวงพ่อแช่ม



    มีคำถามในใจแล้วใช่ไหมครับ......?
     
  15. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    ขอบพระคุณครับ พี่บุพนิมิต ..............
     
  16. Dek_watpa

    Dek_watpa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    2,608
    ค่าพลัง:
    +4,517
    yes...

    ครับ งง งง งง สับสน สับสน และตามอ่านต่อครับว่าจะจบที่กี่บล็อคและแต่ละบล็อคเป็นขอบอะไรครับ
     
  17. takon

    takon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    1,703
    ค่าพลัง:
    +3,231
    มีดีมาให้น้องๆอีกแล้ว จะเก็บเกี่ยวไว้ให้มากๆครับ เพื่อไม่ให้พี่ stoes เสียแรงเปล่า
     
  18. บุพนิมิต

    บุพนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,690
    ค่าพลัง:
    +7,034
    ฮ่าๆๆๆ....
    เขยอยุธยาถาม...ชาวอยุธยาตอบ...
    ดีครับ...ท่าน stoes ท่านมีข้อมูลเรื่องเหรียญเพี้ยบเลย...แถมภาพประกอบอีกต่างหาก....

    มาช่วยดันกระทู้ให้ละเอียดเข้มข้นมากขึ้นครับ....
    สาธุ สาธุ สาธุ...โมทนาในทุกคำตอบแลคำถามครับ...
     
  19. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    บล็อคหลังมี 1 บล็อคหลัก 2 บล็อครอง
    บล็อค 1 ขอเบ็ด 2 เรียบ 3 เสี้ยนตอง

    บล็อคหน้ามีบล็อคเดียว ขึ้กลาก กับไม่ขี้กลาก
    ส่วนขี้กลากที่จะให้ถามว่าสร้าง พ.ศ.ใด เฉลย 2480 เท่านั้นเอง
     
  20. คนปั้นพระ

    คนปั้นพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2010
    โพสต์:
    2,481
    ค่าพลัง:
    +2,427
    ขอบคุณสำหรับความรู้ครับพี่สโตร์ พระเหรียญนี่ผมโดนประจำเลย
     

แชร์หน้านี้

Loading...