ถอดชีวิตเป็นบทเรียน ภายนอกมองต่ำ : ภายในมองสูง

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย guawn, 3 กุมภาพันธ์ 2007.

  1. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    ถอดชีวิตเป็นบทเรียน ภายนอกมองต่ำ : ภายในมองสูง

    คอลัมน์ ลายแทงความสุข

    โดย ชลธิดา ภู่ระหงษ์ chontida_pla@yahoo.com



    [​IMG]"คนเราถ้าไม่รู้จักความทุกข์ ไม่เรียนรู้ ไม่นำมาใช้ ชีวิต...ก็ไม่มีความสุข"

    ย้อนไปเมื่อเกือบ 10 ปีก่อน หลายคนได้รู้จัก "อี้" เอกชัย บูรณผานิต ในฐานะนักแสดงหนุ่มอนาคตไกล จากการรับบทดาวร้ายในละครเรื่อง "ทอฝันกับมาวิน" ฝีมือการแสดงของเขาขณะนั้นทำเอาชาวบ้าน ร้านค้า ตลาดสด ที่เป็นแฟนละครเกลียดเข้าไส้

    แต่จู่ๆ หนุ่มหน้ามนคนนี้ก็หายหน้าไปจากวงการบันเทิงพักใหญ่!

    มาวันนี้ "อี้" เปลี่ยนชื่อ-นามสกุลใหม่ เป็น "แทนคุณ จิตอิสระ" และกลับคืนสู่เส้นทางบันเทิงอีกครั้ง ด้วยมาด "พิธีกร" รายการธรรมะและกิจกรรมเพื่อสังคมประเภท "ลด" "ละ" "เลิก" อบายมุข หลายรายการ และล่าสุดเขายังรับหน้าที่เป็นพิธีกรรายการ "อัจฉริยะข้ามคืน" อีกด้วย

    ปัจจุบัน "อี้" อายุ 27 ปี ยึดอาชีพ "พิธีกร" เป็นงานหลัก

    หลายคนคงสงสัยว่า อะไรทำให้ชีวิตของอี้เปลี่ยนแปลงไปได้มากมายขนาดนี้

    "ตอนนั้นพ่อผมเสียชีวิตอย่างกะทันหัน คุณพ่อเป็นเสาหลักของบ้าน เป้าหมายในชีวิตตอนนั้นคือ การทำงานเก็บเงินให้พ่อแม่ หวังว่าครอบครัวจะได้สบายในช่วงบั้นปลายชีวิต แต่คุณพ่อกลับมาเสียชีวิตเสียก่อน บ้านที่เคยเป็นสถานที่ที่มีความสุข จึงเปลี่ยนไป ทุกคนในบ้านจมอยู่กับความเศร้า เพราะความสูญเสีย"

    การจากไปอย่างกะทันหันของผู้นำครอบครัว ทำให้ "ความคิด" และ "มุมมอง" ในการใช้ชีวิตของอี้เปลี่ยน

    "ผมเองก็สับสนทั้งเศร้า ทั้งทุกข์ เพราะต้องกลายเป็นผู้นำครอบครัวแทนคุณพ่อ ผมเป็นลูกชายคนเดียวของครอบครัว ต้องดูแลคุณแม่ พี่สาว และน้องสาว ต้องรับภารกิจการผลิตเส้นบะหมี่ฮกเกี้ยนที่คุณพ่อสร้างมา ผมยอมรับว่า ตอนนั้น "งง" และ "สับสน" ไม่รู้จะจัดการชีวิตอย่างไร มีคนแนะนำให้ทำหลายอย่าง ทั้งออกไปเที่ยวเพื่อให้ชีวิตสนุกสนานขึ้นมาบ้าง แต่ก็ช่วยอะไรไม่ได้ ทำอย่างไรก็ไม่ได้รู้สึกมีความสุข ตอนนั้น "กลัว" และเอาแต่ "โทษตัวเอง" ว่า เป็นเพราะเราไม่มีเวลาให้ครอบครัว มัวแต่ทำงาน จึงไม่อยากรับงานในวงการบันเทิงอีก ปฏิเสธหมดเพราะกลัวไม่มีเวลาให้ครอบครัว ผมไม่สามารถจัดการกับ "ภาวะ" ความเป็น "ผู้นำ" ในช่วงข้ามคืนได้ และไม่มีสติมากพอ ไม่ว่าจะไปเที่ยว หรือทำอะไรก็ไม่สามารถหาความสุขได้"
    <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=1><TBODY><TR bgColor=#ffe9ff><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    จุดเปลี่ยนที่ทำให้อี้สามารถปรับตัวจากการจมอยู่กับความทุกข์ เริ่มจากการที่เพื่อนแนะนำให้อ่านหนังสือธรรมะ เริ่มจากหนังสือ "คู่มือมนุษย์" "จิตว่าง" หรือแม้แต่หนังสือง่ายๆ มีภาพประกอบที่เด็กอ่านได้อย่าง "พุทธประวัติสำหรับเยาวชน"

    "ผมไม่เคยศึกษาเรื่องราวเหล่านี้เลย แต่เมื่อเริ่มอ่านมากขึ้น ผมมีโอกาสเข้าไปบวชเรียนศึกษาธรรมะอย่างจริงจังอยู่พักหนึ่ง ทำให้เริ่มคิดที่จะเปลี่ยนตัวเอง ผมเริ่มรู้ว่า "ความสุข" มันไม่ได้อยู่ที่ไหนเลย...มันอยู่ข้างใน แต่เราไม่สามารถดึงมันออกมาได้ในตอนนั้น ผมอยากกลับมาดูแลครอบครัวให้มีความสุขอีกครั้ง"

    อี้บอกว่าสิ่งที่ได้จากการศึกษา "ธรรมะ" ทำให้ได้รู้ว่า เราไม่ใช่คนแรกที่ "พบ" กับ "ความทุกข์" และไม่ใช่คนแรกที่ "ต้องการ" มี "ความสุข" แต่เป็นแค่คนหนึ่งที่ต้องการ "เปลี่ยน" จากความทุกข์ให้กลายเป็นความสุข

    "สิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างความทุกข์กับความสุขคือ "ความรู้" ความรู้ที่ว่าอะไรคือ "ความจริง" ของชีวิต อะไรคือ "ความถูกต้อง" ที่ต้องเดินทางไป อะไรคือ "ชีวิตที่มีความหมาย" อะไรคือ "ชีวิตที่มีประโยชน์" และอะไรคือ "ชีวิตที่ดีงาม" เมื่อมีธรรมะเป็นเครื่องนำทาง ทำให้ผมยอมรับความจริงที่เกิดขึ้น"

    อี้ได้เรียนรู้ว่า เหตุการณ์ที่ผ่านมา การที่เขารับงานแสดงครั้งละ 5-6 เรื่องนั้น ส่วนหนึ่งก็มาจากการ "ติดยึด" ชื่อเสียง "อยากได้" เงินทอง ทำให้เข้าใจว่า การมีเงินมากองไว้ตรงหน้าไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง

    "คนเรามีเป้าหมาย 2 อย่าง 1.เป้าหมายปลายทาง คือ การประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ทำงานให้สำเร็จ หาเงินได้ 2.เป้าหมายระหว่างทาง คือ ระหว่างที่เราทำงาน ควรมีเวลาให้กับคนในครอบครัวกันบ้าง ทุกวันที่เราอยู่ด้วยกัน ใช้เวลาอยู่ร่วมกันเพื่อบอกคำว่า "รัก" แต่ตอนนั้นผมคิดแต่เพียงเป้าหมายคือ การหาเงินทอง เพราะไม่รู้จักเป้าหมายระหว่างทาง จึงทำให้เกิดความทุกข์ขึ้นมากมาย" <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=2><TBODY><TR bgColor=#ffffe8><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    "ธรรมะ" ที่อี้ซึมซับได้ครั้งนั้น ทำให้เขาเลิกโทษตัวเอง จากที่คิดว่าตัวเองเอาแต่หาเงิน ไม่ได้เรื่อง ไม่เอาไหน เขาเริ่มมองโลกในความจริงมากขึ้น และเริ่มให้กำลังใจตัวเอง

    "ผมคิดได้ว่า ไม่มีใครอยากให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น เราไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนเมื่อวานได้ แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็ต้องสร้างความรู้ที่ได้รับจากประสบการณ์ จากบทเรียนที่เจ็บปวด จากนั้นก็ต้องเริ่มออกเดินทางใหม่ แต่มีข้อแม้ว่า ต้องรู้ก่อนว่าความทุกข์นั้นเกิดจากอะไร แล้วจัดการความทุกข์เสียก่อน ในช่วง 20 ปี ผมผ่านโลกแบบสุดขั้ว ทุกข์ สุข เงินทอง ชื่อเสียง ผมเคยได้ทั้งหมด ผมเพิ่งได้รู้ "สัจธรรม" ซึ่งเป็นความจริงของชีวิตว่า "ทุกคนต้องตาย" และสิ่งที่ต้องมีให้ได้คือ ใช้ชีวิตให้สมดุล ไม่สุขมาก ไม่ทุกข์มาก ไม่ดิ้นรนว่าจะต้องมีความสุขทุกวัน"

    การที่อี้เปลี่ยนรูปแบบการทำงานจากงานบันเทิง เป็นงานเพื่อสังคม เพียงเพราะความอยาก " ทำบุญ" หวังที่จะให้หลุดพ้นจากความทุกข์ในอดีต สิ่งที่เขาได้กลับคืนอย่างไม่รู้ตัวคือ การที่อี้ได้รู้จักกับ "คุณค่า" ในตัวเอง ซึ่งมาจากการทำประโยชน์เพื่อสังคมของเขานั่นเอง

    นอกจากธุรกิจในครอบครัว และงานพิธีกรแล้ว อี้ยังรับสอนภาษาจีนให้กับโครงการทูบีนัมเบอร์วัน ทำให้มีโอกาสได้ใกล้ชิดเยาวชน ได้ถ่ายทอดเรื่องราวจากประสบการณ์ชีวิตของตัวเอง และถอดเป็นบทเรียนให้กับผู้อื่น

    "ผมไม่อยากให้คนอื่นๆ ต้องตกอยู่ในสภาพอย่างผมเมื่อก่อนหน้านี้ ผมจึงพยายามสอนเยาวชนทุกครั้งที่มีโอกาส บอกเขาว่า หากไม่ทำสิ่งดีๆ ไม่สื่อสารความรักระหว่างกัน ไม่กตัญญูต่อพ่อแม่ วันหนึ่ง...เมื่อคนที่รักจากไป เขาจะต้องเสียใจและรู้สึกถึงความผิดพลาด"

    "โครงการหนึ่งครอบครัว หนึ่งลูกกตัญญู" จึงเป็นอีก 1 งานอาสาสมัครของอี้ ที่เกิดมาจากประสบการณ์ของเขาเอง โดยเน้นหัวใจสำคัญ 5 ข้อ คือ 1.การไหว้ 2.การประหยัด 3.การแสดงความรัก 4.พูดจาไพเราะ ไม่โกหก และ 5.ช่วยพ่อแม่เลิกอบายมุข

    วันนี้...อี้มีโอกาสเข้าไปทำงานในคณะอนุกรรมการกิจการเด็กและเยาวชน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีโอกาสได้ร่วมผลักดันร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) พัฒนาเด็กและเยาวชน เพื่อให้สังคมเห็นความสำคัญของเยาวชน ช่วยกันทำสื่อสร้างสรรค์เพื่อเยาวชน สื่อสารการสร้างครอบครัวอบอุ่น เพราะอย่างน้อยก็จะช่วยทำให้เด็กเข้าใจถึงความหมายของชีวิตได้มากขึ้น

    "ผมไม่ใช่คนดีร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่อยากเป็นคนดี พยายามทำความดี และคอยเตือนตัวเองเสมอว่าจะจากไปวันไหนก็ไม่รู้ จึงอยากทำแต่สิ่งดี เพื่อให้อย่างน้อยตัวเราเองก็ยิ้มได้ว่าได้ทำดีแล้ว และภูมิใจกับตัวเองได้ การทำงานอาสาสมัคร ทำให้ได้เรียนรู้คำว่า "แข่ง" กับ "แบ่ง" แม้จะเขียนคล้ายๆ กัน แต่คำว่า "แบ่ง" กว้างและใหญ่กว่า ท่านพุทธทาสมีคำสอนว่า ภายนอกให้มองต่ำ คือ "ร่างกาย" สิ่งของเครื่องใช้ ไม่จำเป็นต้องโก้หรู แต่ภายในให้มองสูง คือ "จิตใจ" ที่ต้องทำให้ตัวเองอยู่สูงมากที่สุด โดยพยายามมองคนที่สูงกว่าแล้วเดินตามในความดี"

    การมองโลกอย่าง "เข้าใจ" และ "ให้อภัย" เป็นพื้นฐานความคิดที่อี้ได้มาจากการ "สูญเสีย" คุณพ่ออันเป็นที่รัก วันนี้ "ประสบการณ์" ได้ "เปลี่ยน" ชีวิตของอี้ให้มี "ความสุข" ในรูปแบบของเขา คุณเองก็ทำได้ โดยไม่ต้องรอให้คนที่คุณรักจากไป

    ref.http://www.matichon.co.th/matichon/...g=01lif06030250&day=2007/02/03&sectionid=0132
     

แชร์หน้านี้

Loading...