พระพุทธเจ้า ...โหราศาสตร์...และ คนไทย

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย foleman, 21 มีนาคม 2012.

  1. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    ที่มา http://nonlaw.7forum.net
    โดย sunny

    อาณาจักรศรีสุวรภูมิ

    การเรียนรู้ศีกษาในสิ่งใด ๆ ก็ตาม การำระทำที่ถูกต้องที่สุดจะต้องรู้ที่มา แหล่กำเนิดสิ่งนั้น ๆ เสียก่อน เพื่อให้รู้อย่างลึกซึ้ง และเข้าใจอย่างกระจ่าง สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางค้นคว้าให้กว้างขวางได้ในอนาคต

    การศึกษาสาขาโหราศาสตร์ก็เช่นเดียวกัน จึงต้องรู้ว่ามีแหล่งกำเนิดจากที่ไหน ชนชาติใดเป็นจ้าของวิชานี้ ฉะนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่นักศึกษาทั้งหลายจะได้ทราบที่มาที่ไปของวิชาโหราศาสตร์ อันเป็นวิทยากรที่เก่าแก่ที่สุดในโลก อันเป็นภูมิปัญญาของบรรพกาลมีการสืบทอดยาวนานมากจนไม่อาจคำนวนได้ และยังเหลืออยู่ให้เรา ได้ศึกษาค้นคว้า และพิศวงมหัศจรรย์ในความก้าวหน้าทางวิทยาการของคนในยุคโบราณที่มีความก้าวหน้าทางวิทยากรได้ล้ำยุคเกินกว่าวิทยาการปัจจุบันจะก้าวไหถึงแม้ในขณะนี้ซึ่งนับเป็นยุคของเทคโนโลยีก็ตาม

    “วิชาโหราศาสตร์” ที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้นั้น ตามหลักฐานจากจารึกโบราณนั้นระบุไว้อย่างขุดเจนตรงกันว่า “ฤาษีโคตมะ” ซึ่งเป็นกษัตริย์แห่ง “อาณาจักรศรีสุวรภูมิ” อันเป็นต้นราชวงศ์โคตมะ” ซึ่งได้สละราชสมบัติผนวชเป็นฤาษีได้คิดค้นและรจนาขึ้นในครั้งบรรพกาล ดังนั้นเราจึงต้องเริ่มศึกษากันว่า “อาณาจักรศรีสุวรภูมิ” นั้นตั้งอยู่ตรงส่วนไหนของโลก เป็นชนชาติอะไร และชนชาตินั้นยังเหลือเผ่าพันธ์อยู่ในปัจจุบันหรือไม่[FONT=ms Sans Serif, Thonburi, DB ThaiTextFixed] [/FONT]

    การค้นคว้าประวัติศาสตร์โบราณ แหล่งความรู้ประวัติศาสตร์ ที่สมบูรณ์ที่สุดและถูกต้องที่สุดและเก่าแก่ที่สุดในโลกก็คือ “พระไตรปิฎก คัมภีร์ของพระพุทธศาสนา” ซึ่งจะรายละเอียดทุกชนิดของสังคมยุคโบราณนับเป็นแสนปีปรากฎอยู่ในชาดกต่าง ๆ ซึ่งอยู่ในพระสุตันปิฎก ซึ่งจะกล่าวถึงอาณาจักรและนครโบราณ ซึ่งบางแห่งก็สูญหายไปจากโลกแล้ว สำหรับ “อาณาจักรศรีสุวรภูมิ” และแคว้นนครมีปรากฎในพระไตรปิฎก เช่น

    ในสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิเทส

    “เมื่อแสวงหาโภคทรัพย์ ย่อมแล่นไปสูมหาสุมทรด้วยเรือ ….. ไปสุวรรณภูมิ…” (ปรโต สโมหิโต สมนฺนาคโต โภเค ปริเยสนฺโต นาวาย …สุวณฺณภูมึ คจฺฉติ)

    และในสุตตันตปิฎก ขุทกนิกาย พุทธวงศ์ ความว่า

    “ก็พระนครที่ประสูติของกกุสันธพุทธเจ้านั้นมีชื่อว่า “นครเขมรัฐ” (เชียงตุง) พระบิดามีพระนามว่าอัคคิทัต..”

    และในสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย ความว่า

    “…..ในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้านั้น ดินแดนสุวรภูมิ เป็นที่อุดมสมบูรณ์ และเป็นที่พระทับของพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ ได้เสด็จมาประทับแล้วในการนี้ พระกัสสปะได้เสด็จประทับแล้วในกาลนี้ พระโคดมพุทธเจ้าก็ได้เสด็จมาประทับอีก ๑”

    ดังตัวอย่างดังกล่าวนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่า “อาณาจักรศรีสุวรภูมิ” ซึ่งในพระไตรปิฎกเรียกว่า “สุวรภูมิ” และนครต่าง ๆ นั้น “มีอยู่จริง” และมีมานานแล้วก่อนสมัยพุทธกาล หากเทียบตามจำนวนปีของศาสนาของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ก็สามารถจะประมาณได้ถึงความเก่าแก่แห่งอาณาจักรศรีสุวรภูมิได้ ดังนี้

    ๑. ยุคศาสนาพระกกุสันธะพุทธเจ้ามีอายุ ๕๐๐,๐๐๐ ปี

    ๒. ยุคศาสนาพระโกนาคมนะพุทธเจ้ามีอายุ ๓๐,๐๐๐ ปี

    ๓. ยุคศาสนาพระกัสสปพุทธเจ้ามีอายุ ๒๐,๐๐๐ ปี

    ๔. ยุคศาสนาพระโคตมะพุทธเจ้าถึงปัจจุบัน ๒๕๔๖ ปี

    เมื่อนำเอาจำนวนปีของยุคศาสนาหมายเลข ๑ ถึง หมายเลข ๔ (ปีปัจจุบัน) รวมกันจะได้ =๕๒๒,๕๔๖ ปี (ห้าแสนห้าหมื่นสองพันห้าร้อยสี่สิบหกปี) นี่คือความเก่าแก่โดยประมาณของอาณาจักรศรีสุวรภูมิ หรือสุวรภูมิ ซึ่งปรากฎยืนยันอยู่ในคัมภีร์พระไตรปิฎก ซึ่งได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทุกตัวอักษรโดยการสังคายนา และรับรองโดยพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญาแล้วทั้งสิ้น จึงเชื่อมั่นได้ว่าเป็นข้อมูลที่ถูกต้องสมบูรณ์ที่สุด เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับหลักของมานุษยวิทยาปัจจุบันได้แบ่งยุคของมนุษย์ไว้ เป็น ๕ ยุคด้วยกันคือ

    ก. สมัยหินเก่า ระหว่าง ๕๐๐,๐๐๐ ถึง ๑๐,๐๐๐ ปี

    ข. สมัยกลาง ระหว่าง ๑๐,๐๐๐ ปี ถึง ๘,๓๕๐ ปี

    ค. สมัยใหม่ ระหว่าง ๘,๙๐๐ ถึง ๒,๐๐๐ ปี

    ง. ยุคโลหะ(ยุคก่อนประวัติศาสตร์) ระหว่างต้น ๒,๕๐๐๐ ปี ถึงปลาย ๒,๑๐๐ ปี

    จ. ยุคสมัยประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ ๒,๑๐๐ ปีลงมา

    ข้อมูลในพระไตรปิฎกดังกล่าวนั้นเป็นระยะก่อนประวัติศาสตร์มาก จึงจำเป็นต้องค้นหาต่อไปว่า ในยุคที่ใกล้เคียงกันนั้นมีกล่าวถึงหือเกี่ยวข้องเรื่องของสุวรภูมิไว้ที่ใดอีกบ้าง ปรากฎอยู่ในคัมภีร์ปฐมกัปป์ ผูกที่ ๑ มีว่า

    “…..กปฺปวินาสเก ขารุทกมหาเมโฆ วุฎฺฐาย โส อาทิโต สุขุมํ วสฺสนฺโต

    อนุกฺกเมน ตาลกฺขนฺธาทิปมานาหิ มหาธาราหิ โกฎิสตสหสฺสจกฺกวาฬานิ ปูเรนฺโต วสฺสติ ขารุทเกน ผุฎฺฐา ปถวิรุกฺขปพฺพตา…”

    เมื่อสมัยกาลน้ำท่วม โลกนั้นมิได้หมายความว่าได้ท่วมไปทั้งหมดทุกแห่งก็หาไม่ เหลือแคว้นเมืองใหญ่ อยู่เป็นบางแห่ง ภายหลังเมื่อน้ำแห้งจึงเกิดเป็นเขาพระสุเมรุราช (หิมาลัย) โลกก็แบ่งเป็น ๔ ทวีปนับ แต่เบื้องเขาพระสุเมรุราชไปเบื้องตะวันตกคือ อโคยานทวีป เบื้องใต้คือชมพูทวีป เบื้องเหนือคืออุตรกุรุทวีป เบื้องตะวันออก คือบุพพวิเทหทวีป…ชนรักษาศีลปฏิบัติธรรมตามถ้ำ เขาหลวง จึงเหลือรอดชีวิตจากมหาอุทกภัยอยู่ในบุพพวิเทหทวีปนี้พร้อม จัดประชุมกัน เห็นว่ามีเหลืออยู่มากมาย จึงกล่าวว่า เราเหลือรอดชีวิตมากขนาด เราจงเรียกขานเราว่า ลวทยฺย (อ่านว่าละวะไทยยะ แปลว่า มากมาย ) คำว่า “ไทยยะ” แปลว่า รอด อิสระ ซึ่งรวมคำทั้งสองคือ ลวไทยยะ จะได้ความหมายว่า “รอดมากมาย” ในกาลต่อไปเถิด แลชนทั้งหลายที่รอดพ้นจากน้ำท่วมก็พากันสร้างบ้านแหลเมืองอยู่ ณ กึ่งกลางบุพพวิเทหทวีปอันชนสบด้วยทะเลทั้งออกแลตก รุ่งเรืองสืบนามว่า สุวรรณภูมิ..”



    เมื่อเปรียบเทียบระยะเวลาทั้ง ๒ ชนิด คือทางพุทธศาสนา กับมานุษยวิทยา จะเห็นได้ว่าตรงกันในสมัยของพระกัสสปพุทธเจ้า จะครอบคลุมตั้งแต่ยุคหินเก่า มาจนถึงตอนปลายของยุคหินใหม่ จึงมีทางเป็นไปได้เพราะมีมนุษย์เกิดขึ้น และพัฒนาการเป็นขั้นตอนแล้ว จะเห็นว่ายุคศาสนาแต่ละศาสนามีอายุเวลาไม่สม่ำเสมอกัน ปัจจุบันนี้มนุษย์เราอยู่ในยุคที่ ๔ ซึ่งมีอายุ ๕,๐๐๐ ปีขณะนี้ล่วงเลยมาแล้ว ๒๕๔๖ ปี ถ้าคิดรวมเวลาที่พระพุทะเจ้าสมณโคดมมีพระชนม์ชีพอีก ๘๐ ปี จะเป้ฯเวลา ๒,๖๒๖ ปี เหนือขึ้นไปเป็นศาสนาพระกัสสปะพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นยุคที่ ๓ ซึ่งเป็นยุคที่มีเวลา ๓๐,๐๐๐ ปี คิดรวมถึงเวลานี้จะได้ ๓๒,๖๒๖ ปี ซึ่งมนุษย์จะต้องได้รับการพัฒนามาแลเป็นอย่างเป็นขั้นตอนแล้ว และหากคำนวณระยะเวลาช่วงระหว่างสิ้นยุคพระพุทธเจ้ากัสสปะ ถึงเริ่มสมัยพุทธกาลพระโคดมพุทธเจ้าจะได้ระยะเวลา ๔,๐๐๐ ปี

    เมื่อเปรียบเทียบระยะเวลาทั้ง ๒ ชนิด คือทางพุทธศาสนา กับมานุษยวิทยา จะเห็นได้ว่าตรงกันในสมัยของพระกัสสปพุทธเจ้า จะครอบคลุมตั้งแต่ยุคหินเก่า มาจนถึงตอนปลายของยุคหินใหม่ จึงมีทางเป็นไปได้เพราะมีมนุษย์เกิดขึ้น และพัฒนาการเป็นขั้นตอนแล้ว จะเห็นว่ายุคศาสนาแต่ละศาสนามีอายุเวลาไม่สม่ำเสมอกัน ปัจจุบันนี้มนุษย์เราอยู่ในยุคที่ ๔ ซึ่งมีอายุ ๕,๐๐๐ ปีขณะนี้ล่วงเลยมาแล้ว ๒๕๔๖ ปี ถ้าคิดรวมเวลาที่พระพุทะเจ้าสมณโคดมมีพระชนม์ชีพอีก ๘๐ ปี จะเป้ฯเวลา ๒,๖๒๖ ปี เหนือขึ้นไปเป็นศาสนาพระกัสสปะพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นยุคที่ ๓ ซึ่งเป็นยุคที่มีเวลา ๓๐,๐๐๐ ปี คิดรวมถึงเวลานี้จะได้ ๓๒,๖๒๖ ปี ซึ่งมนุษย์จะต้องได้รับการพัฒนามาแลเป็นอย่างเป็นขั้นตอนแล้ว และหากคำนวณระยะเวลาช่วงระหว่างสิ้นยุคพระพุทธเจ้ากัสสปะ ถึงเริ่มสมัยพุทธกาลพระโคดมพุทธเจ้าจะได้ระยะเวลา ๔,๐๐๐ ปี

    จากการสำรวจทางภูมิศาสตร์และธรณีวิทยา พบว่าบริเวณที่เป็นบุพพวิเทหทวีป ในยุคก่อนพุทธกาลหรือประมาณ ๖,๐๐๐ ปีมาแล้ว ทะเลด้านอ่าวไทยนั้นไม่ได้มีอาณาเขตเหมือนกับในปัจจุบัน แต่ท้องทะเลยุคนั้นได้กินเนื้อที่ลึกเข้ามาในผืนแผ่นดินปัจจุบันโดยสรุป ดังนี้ คือ

    ทิศเหนือ จดจังหวัดชัยนาท นครสวรรค์ เพชรบูรณ์

    ทิศตะวันออก จดจังหวัดนครราชสีมา กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี ชลบุรี

    ทิศตะวันตก จดจังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี เพชรบุรี นครปฐม

    ทิศใต้ ออกอ่าวไทยที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

    ในยุคสมัยดังกล่าวนี้ส่วนที่เป็นทิศเหนือและทิศตะวันออกนั้น เป็นทะเลที่เกือบจะแยกตัวออกจากอ่าวไทย เพราะจะต้องผ่านเข้าช่องแคบเข้าสู่ทะเลน้อยนั้น ก็ต้องผ่านเกาะใหญ่ที่ขวางทางเข้าสูทะเลน้อยอยู่คล้ายปราการ (คล้ายกับเกาะพระสุทรเจดีย์ ปากน้ำ สมุทรปราการ ปัจจุบัน) ซึ่งเป็นที่ตั้งของอยุทธยาในสมัยต่อมา จากนั้นจึงจะสามารถเดินเรือเข้าสู่ เมืองลวรัฐ (ลโวทยฺย) หรือจังหวัดลพบุรีในปัจจุบัน

    (มีต่อ)
    [FONT=ms Sans Serif, Thonburi, DB ThaiTextFixed]


    [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มีนาคม 2012
  2. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    ซึ่งเป็นเมืองใกล้ทะเลเหลือหลักฐานของทะเลเดิมไวคือ ทะเลชุบศรในปัจจุบันทะเลน้อยนี้จะกินพื้นที่เหนือขึ้นจดที่จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นที่รวมของแคว้นทั้ง ๔ คือปิง วัง ยม น่าน จะไหลออกสู่ทะเลที่ปากน้ำโผล่ หรือปากน้ำโพ ในปัจจุบัน ยังคงเหลือบึงบระเพ็ด ไว้เป็นหลักฐานของทะเลเดิมให้ได้เห็นอยู่ทางด้านตะวันออกจัดเป็นช่วงทะเลลึก (ก้นทะเลของทะเลน้อย ทำให้น้ำส่วนนี้เค็มจัด เมื่อผ่านยุคไประยะหนึ่งเมื่อแผ่นดินขยายตัว จึงได้มีมากรทำเหมือนงเกลือกัน อย่างเห็นล่ำเป็นสัน ปรากฎหลักฐานทางโบราณคดีว่าได้มีการทำเหมืองเกลือในพื้นที่ดังกล่าวนั้นตั้งแต่ยุคโบราณ

    โดยข้อมูลโบราณจากจดหมายเหตุแผนที่ภูมิศาสตร์ของปาโตเลมี (ptolemy ) ชาวกรีกมีข้อความตรงกันว่าทะเลด้านอ่าวไทยได้กินเนื้อที่ขึ้นมาถึงตอนเหนือดังที่กล่าวแล้วจากหลักฐานทางธรณีวิทยา พบว่า หลายจังหวัดภาคกลางจมอยู่ใต้ทะเล โดยเฉพาะภาคกลางตอนล่าง เช่น กรุงเทพฯ ปทุมธานี นี้จะจมอยู่ใต้ท้องทะเล ดังนั้น เราจะเห็นไว้จากการขุดพบหอยที่จังหวัดปทุมธานี (วัดเจดีย์หอย จ. ปทุมธานี) โดยเฉพาะพื้นที่ตั้งแต่ บ้านสระยายโสม อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี เลาะลงมา ทางใต้ถึง อ.กำแพงแสน จ. นครปฐม ซึ่งแต่เดิม มีลักษณะ เป็นชายทะเล แล้วมีมูลดินมูลทรายมาถมทับเกิดเป็นเกาะเป็นดอน และทำให้เกิดลำน้ำหลายสาย เช่น แม่น้ำกำแพงแสน ปัจจุบันเรียกว่าคลองบางยาง ด้วยกระบอกห้วยโปร่ง ลำน้ำพะเนียงแตกปัจจุบัน เรียกว่า แม่น้ำทัพหลวง ห้วยจระเข้ แม่น้ำบางปลาแก้ว ซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยการตรวจสอบข้อมูลของดาวเทียมทางภูมิศาสตร์ โดยสากล

    ฉะนั้น จุดกึ่งกลางของบุพพเวเทหิทวีปและระหว่างทะเลทั้งตะวันออกตะวันตก ที่กล่าวว่ามนุษย์ที่รอดจากน้ำท่วมโลกสร้างบ้านแปลงเมืองนั้น จุดกึ่งกลางจะอยู่ระหว่างตำแหน่ง ราดบุรี ลงมาถึงเพชรบุรี

    เมื่อจะกำหนดให้ชัดว่า “ชนชาติไทย ตั้งรกรากอยู่ตรงพื้นที่ดินแดนนี้มาตั้งแต่ยุคก่อนสมัยน้ำท่วมโลก “ ก็อาจมีผู้อ้างว่า เป้นความเชื่อทางศาสนาหรือนิทานปรัมปรา จึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องหาหลักฐานจากแหล่งอื่นโดยข้อมูล ที่เป็นสากล และเป็นวิทยาศาสตร์ สามารถยืนยันความมีอยู่ของชนชาติไทย นับว่าโชคดีที่หลักฐานนี้ถูกค้นพบโดย ศจ.นายแพทย์ สุด แสงวิเชียร ซึ่งร่วมทำการขุดค้นมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ในจังหวัดกาญจนบุรี กับ Dr.เอช.อาร์. แวน ฮีเกอร์ เรน (Dr.H.R.Van Heekeren) นักโบราณคดีชาวเดนมาร์ค โดยความร่วมมืออย่างเป็นทางการระหว่างประเทศของรัฐบาลเดนมาร์กกับรัฐบาลไทย ในพื้นที่เส้นรุ้งที่ ๑๔ เหนือ และส้นแวงที่ ๙๙ ตะวันออกในหุบเขาแพ่งน้อย หรือแม่น้ำแควน้อย เป็นระยะทาง ๘๖ กม. ได้พบเครื่องมือเครื่องใช้ ในยุคหินเก่า (Palaeolithic tools) จำนวนมาก และ”ขวานมีบ่า” รวมอยู่ด้วย และเครื่องมือที่ทำจากหินภูเขาไฟ (Silicified tulf) ของวัฒนธรรมแอนยาเชียนรุ่นต้น ๆ (Early Anyathaian Culture) รวมทั้งเครื่องมือลับตัด (Chopper Chopping tool Complex) ทั้งยังได้พบโครงกระดูกของมนุษย์สมัยหินกลางซึ่งเป็นโครงของโปรโตมาเลย์ (Proto-Malay) (Jacobfichien etal 1969) พร้อมเครื่องมือเครื่องใช้จำนวนประมาณ ๑,๕๐๐ ชิ้น สำคัญที่สุดก็คือได้พบโครงกระดูกมนุษย์สมัยหินใหม่ จำนวน ๓๙ โครง พร้อมเครื่องมือเครื่องใช้เครื่องปั้นดินเผาเป็นจำนวนมาก จากการพิสูจน์ทางกายวิภาคโดยวิชาการแพทย์เทียบเคียงกับโครงกระดูกของมนุษย์ที่เป็นคนไทย ซึ่งปัจจุบันได้รวบรวมไว้ ณ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ยืนยันทางกายวิภาคและมนุษยวิทยาได้ว่าโครงกระดูกที่ค้นพบนั้นเป็นโครงกระดูกของคนไทย และไม่พบโครงกระดูกในประเทศดินแดนใกล้เคียงเก่ากว่านี้อีก

    ดร.พรชัย สุจิตต์ แห่งภาควิชามานุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้พบร่องรอยของมนุษย์ไทยที่อยู่อาศัยในจังหวัดกาจนบุรี และในแผ่นดินแหลมทองนี้ปรากฎว่า มีอายุถึง ๒๕,๐๐ ปี ซึ่งเป็นยุคที่แผ่นดินอันเป็นประเทศไทยเชื่อมต่อเป็นแผ่นดินเดียวกับประเทศฟิลิปปินส์ และปรเทศอินโดนิเซียและเป็นสมัยเดียวกันกับที่ทวีปเอเชียและทวีปอเมริกายังต่อเชื่อมเป็นผืนเดียวกันตรงอลาสก้า ซึ่งเรียกว่า “ยุคโพสโตซิน”

    หลักฐานพิสูจน์สนับสนุนที่เป็นรูปธรรมซึ่งสร้างความมหัศจรรย์แก่วงการนักประวัติศาสตร์โบราณคดีก็คือ ได้มีการขุค้นทางโบราณคดี ณ บ้านโคกพลับ ต.โพธิหัก อ. บางแพ จ. ราชบุรี ได้พบโครงกระกูดคนไทยโบราณ ซึ่งในส่วนกระโหลกของดครงกระดูกดังกล่าวนั้น ได้ถูกหุ้มด้วยหินปูนจนถึงส่วนหน้าผาก ตามลักษณะทางธรณีวิทยาการที่จะเกิดการสะสมของหินปูนเคลือบทับโครงกระดูกเช่นนี้ได้นั้น จะต้องใช้ระยะเวลายาวนาน ถึง ๔ หมื่นปี แสดงได้เห็นว่า “ชนชาติไทย” ได้อยู่ในพื้นที่แถบนี้มาตั้งแต่ยุคสมัยหินเก่า นอกจากยืนยันส่วนความมีอยู่ของชนชาติไทยแล้วยังยืนยันถึงความถูกต้องของพระไตรปิฎกและจารึกอย่างไร้ขอปฏิเสธ

    “ชายลวทยฺย (ลวไทย)” ร่วมสร้างบ้านแปลงเมืองสืบมา ด้วยวิทยาการแต่ครั้งก่อนน้ำท่วมโลกมิได้สูญหาย ได้พัฒนาสั่งสมและสั่งสอนถ่ายทอดต่อเนื่องสร้างประโยชน์ให้แก่กลุ่มชนอื่น โดยเฉพาะวิชาการ ทำเครื่องโลหะสำริด ประกอบกับสินทรัพย์อันเป็นแร่ธาตุในพื้นที่ส่วนนี้มีอยู่อย่างมหาศาล จึงสามารถส่ง เป็นสินค้า ออกไปทุกอาณาจักร ด้วยความเชียวชาญในการผสมโลหะ ให้มีสีสรรประดุจทองจึงได้รับขนานนามเรียกขานจากว่า “สุวรภูมิ” ความเจริญมั่งคั่งได้เพิ่มพูนความสุขสมบูรณ์ให้แก่ประชากรในอาณาจักร ส้นค้าของอาณาจักร ล้วนเป็นที่ต้องการของทุกแดนและทุกทวีป จนเป็นที่ประจักษ์ว่า เป็นดินแดนในผันของนักแสวงโชค พื้นที่ซึ่งชาวลวทยฺยได้ตั้งนครนั้นประกอบด้วยดินอันมีสีแดงสดใส ดุจดังสีของพระอาทิตย์ยามรุ่งอรุณ จึงได้ชื่อเรียกขานว่า “ตัมพนคร” แปลว่า นครแห่งดินสีแดง อีกชื่อหนึ่ง จะได้กล่าวถึงข้างหน้า

    เมื่อยุคพระกัสสปพุทธเจ้าผ่านไปได้ ๑๗,๙๐๐ ปี พระราชาแห่งศรีสุวรภูมิผู้ทรงพระปรีชาได้เล็งเห็นว่า ภัยแห่งมหาสมุทรยิ่งใหญ่นัก การค้าพาณิชย์ทางทะเลมีความเสี่ยงต่อความเสียหาย อีกทั้งทวีปได้ทะเลก็ไม่อาจมาซื้อขายได้ทั่วถึงกัน จึงได้ส่งราชโอรส ๓ พระองค์พร้อมข้าราชบริพารไปตั้งเมืองอยู่ในดินแดงของ ๒ ทวีป เพื่อสะดวกในกาค้าขายคือ

    ราชโอรสองค์ที่ ๑ นำไพร่พลยังชมพูทวีปซึ่งอยู่ทางทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) ของอาณาจักรศรีสุวรภูมิ โดยมีนักรบขุนศึกและช่างก่อสร้าง ติดตามไปสร้างนครน้อยเพื่อเป็นที่พักสินค้าตามเส้นทางบกจากราชบุรี กาญจนบุรี และสิทิน พะโค ข้ามแม่น้ำสาละวิน ศรีเกษตร ข้ามแม่น้ำอิระวดี สู่แค้วนยะไข่ข้ามพรหมบุตร ทำให้เกิดนครย่อยตลอดเส้นทาง จากอาณาจักรศรีสุวรภูมิ ตลอดจนถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย ในสมัยก่อนพุทธกาล กลุ่มอาริยะ (อาริยะ แปลว่า ดวงอาทิตย์) ได้แบ่งออกเป็นสองตระกูลคือกลุ่มที่เดินทางกลางวันส่วนใหญ่เป็นผู้ชายและที่แข็งแรงมีความอดทนต่ออากาศหนาวและความลำบากได้ดี และมีจำนวนได้ข้ามฝั่งแม่น้ำคงคาลึกไปในอุตรประเทศใช้การนับวันโดยระบบการโคจรของดวงอาทิตย์เป็นหลัก กษัตริย์แห่งชนอริยะเหล่านี้เรียกชื่อราชวงศ์ว่า “อาทิตยวงศ์”

    ต่อมาภายหลังอริยกะ (ฝ่ายอาทิตยวงศ์) ต้องการขยายอาณาจักร แต่ผู้คนอีกส่วนหนึ่งไม่เห็นด้วย ต้องการอยู่แบบสงบ ได้พากันแยกตัวออกและย้ายกลับมาเส้นทางเดิม บางพวกก็ตั้งนครกระจายกันอยู่ในเขตลุ่มน้ำอิราวดี เขตลุ่มน้ำสาละวิน ตามเส้นทางบางส่วนกระจายตัวเป็นเล็กแยกเป็นอิสระเข้าสู่ภาคพายัพของไทยในปัจจุบัน ซึ่งถูกเรียกว่า อุมงเสลา ตามชื่อนคร บางทีก็เรียกว่า “พวกกรอม” ในตำนานสิงหนวัติ “ขอมดำ” ซึ่งนักมานุษยวิทยาเรียกว่า “พวกขวานหินมีบ่า”



    ราชโอรสองค์ที่ ๒ และองค์สุดท้าย นำไพร่พลขึ้นสู่ทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ ของอาณาจักรศรีสุวรภูมิ โดยมีนักรบขุนศึกและช่างก่อสร้างติดตามไปสร้างนครน้อยเพื่อเป็นที่พักสินค้าตามเส้นทางบกนับแต่ลวรัฐ ตลอดแนวทาง จนถึงจังหวัดเลย ข้ามแม่น้ำโขงที่เชียงคาน เมื่อข้ามฟากแม่น้ำโขงเห็นชัยภูมิแล้วเหมาะแก่การสร้างนครขึ้นชื่อว่า “สุวรรณโคมคำ” พลเมืองตั้งบ้านเรือนกระจายไปทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขง ทั้งนี้เพื่อใช้นครนี้เป็นที่พักสินค้า เพราะหนทางสะดวกทั้งทางบก ทางน้ำ โดยให้ราชโอรสองค์สุดท้อง อยู่ดูแลนครนั้น

    ราชโอรสผู้พี่พาข้าราชบริวารที่เหลือมุ่งสู่ทิศอุดร(เหนือ) ต่อไป ตามเส้นทางเมืองปากสาย หลวงพระบาง พงสาลี เมืองอูใต้ เมืองอูเหนือ ยูนาน ข้ามแม่น้ำชี ฉางชา และตั้งนครใหม่ที่ดอนฝั่งเหนือของแม่น้ำเหลือง

    ข้อมูลนี้ตรงกันกับหลักฐานสนับสนุนทางประวัติศาสตร์ในการขุดค้นทาง
    โบราณคดีโดยสาธารณรัฐ ประชาชนจีนในมณฑลเห้อเจียง หมู่บ้านเหอมู่ตู้ อำเภอหยีหยา พบหลักฐานซากบ้านของชนชาติไทยใต้ถุนบ้านสูง อายุกว่า ๖๐๐๐ ปี (๓๔๖๒ ปีก่อนพุทธศักราช จากภาพนี้ทำให้เราได้ข้อพิสูจน์เป็นอย่างดีว่า ชนชาติทยฺยได้เจริญก้าวหน้ามากกว่า ๔๐๐๐ ปี และบ้านสำริดนี้ไม่ใช่บ้านของชนชาติจีนหรือชนชาติอื่นใดนอกจากชนชาติทยฺย ทั้งนี้เพราะว่า

    ๑. มีชนชาติทยฺยเท่านั้นที่เลี้ยงควายใต้ถุนบ้าน(ดูที่ภาพจะเห็นควายโผล่หน้าชัด) ชนชาติจีนหรือชาติอื่นไม่มีโดยเด็ดขาด



    ๒. เด็กที่เล่นอยู่ที่ลานบ้าน ไว้ผมจุก ปรากฎว่าเด็กชนชาติจีนไม่ไว้ผมจุก มีชนชาติทยฺยเท่านั้นที่มีประเพณีและพิธีการโกนจุกให้กับเด็กสืบทอดกันมา จนถึงยุคกรุงรัตนโกสิน ชนชาติอื่นก็ไม่มี



    ๓. บ้านคนจีนปิดมิดชิดไม่มีนอกชาน ยกเว้นชนชาติทยฺย จากภาพบ้านสำริดนี้จะเห็นได้ว่ามีการประชุมสังสรรค์กันที่นอกชานบ้านซึ่งอยู่ด้านหน้าส่วนบนเหนือพื้น (ชาวจีนนิยมปลูกบ้านแบบติดพื้นไม่มีใต้ถุน เนื่องจากเป็นชาติเร่ร่อนนอนกระโจม ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งมั่นคงในยุคนั้น เหล่านี้คือตัวอย่างเล็กน้อยจากสิ่งพิสูจน์จากหลักฐานโบราณคดีที่นำมาแสดงนี้ในหลุมศพเมืองต้อปอหนำ อำเภอเสียงหยุนมลฑลยูนาน ได้พบหุ่นบ้านเรือนไทยจำลองทำด้วยทองสำริด และในเมืองเหมินโขว่ อำเภอเจี้ยนซวนมณฑลยูนานได้พบ โลงไม้หุ้มสำริด ของชนชาติไทย นอกจากนี้ในเมืองชีจ้ายซาน อำเภอเจิ้งซาน อำเภอจิ้งหมิง มลฑลยูนาน ได้พบหุ่นจำลอง บ้านเรือนไทยดินเผา โบราณวัตถุที่พบแสดงให้เห็นถึงความเจริญทางอารยธรรมของชนชาติไทย สามารถยืนยันข้อมูลนี้อย่างมั่นคง โดยจดหมายเหตุของสุมาเอี๋ยน (Su-Ma-Ch’len) ได้ระบุไว้ชัดว่า

    [FONT=ms Sans Serif, Thonburi, DB ThaiTextFixed]“….การทำโลหะสำริด หรือเครื่องสำริด จีนไม่สามารถผลิตได้ ไม่ใช่เป็นของชาวจีน แต่เป็นเอกลักษณ์ของ “ชนชาติไทย” โดยเฉพาะ…..”
    [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มีนาคม 2012
  3. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    ที่มาของคำว่าสุวรภูมิ

    คำว่า “สุวรภูมิ” เป็นคำเรียกขานอาณาจักรนี้มาแต่ยุดสมัยก่อนครั้งพุทธกาล ปรากฎเป็นหลักฐานในอรรถกถามหาชนกชาดก มโนรถปูรณี ภาค ๑ อันเป็นฉบับเดียวกับที่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อุดลยเดชมหาราช ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระปรีชานำมานิพนธ์ เรื่อง “พระมหาชนก” นั้น ได้กล่าวถึง “สุวรภูมิ” ในเรื่องพระพาหิยเถระ ต่อจากสมัยพระมหาชนกนั้นมาประมาณ ๔๐๐ ปี สุวรภูมิ ก็ได้ปรากฎในธัมมปทัฎฐกถา เรื่องสูกรโปติกา มีพุทธพจน์องพระพุทธเจ้า บรมศาสดาของพระพุทธศาสนาบันทึกไว้ว่า พระสุมนาเถรีเคยมาเกิด ใน “สุวรภูมิ” เนื้อหาว่า “ดินแดนสุวรภูมิ” เป็นเมืองในฝันของ นักแสวงโชค ตั้งแต่ครั้งพุทธกาล ในสุตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิเทส

    “เมื่อแสวงหาโภคทรัพย์ ย่อมแล่นไปสู่มหาสมุทรด้วยเรือ…… ไปสุวรภูมิ….”
    (ปเรโต สโมหิโต สมนฺนาคโต โภเค ปริเยสนฺโต นาวาย….สุวณฺณภูมึ คจฺฉติ..”) จากการสำรวจของนักโบราณคดีผู้ขุดค้นนครฮาราฮัปโป และเมืองโมเฮนโจดาโร อันเป็นเมืองโบราณซึ่งมีมาก่อนสมัยพุทธกาล ถึง ๒,๕๐๐ ปี หรือประมาณเกือบ ๖,๐๐๐ ปีมาแล้วอยู่ในประเทศอินเดียปัจจุบันนี้ ได้พบโบราณวัตถุเช่นเครื่องประดับ เครื่องใช้สอยและภาชนะต่าง ๆ เป็นจำนวนมากที่ผู้คนในสมัยเมื่อ ๖,๐๐๐ ปี ใช้กัน ส่วนใหญ่ทำด้วยสำริด (Bronze) ที่มีคุณภาพดี มีสีสรรเหมือนทองคำสุกปลั่ง ได้พบว่ามีการใช้สอย เครื่องประดับและภาชนะดังกล่าว แทบทุกครัว เรือน แต่เป็นที่น่าประหลาดใจของนักโบราณคดีเป็นอย่างยิ่งก็คือ ไม่พบแหล่งผลิตสำริดในเมืองทั้งสองแต่อย่างใด แสดงว่าภาชนะสำริดจำนวนมากเหล่านั้นได้ถูกนำมาจากแหล่าอื่นเป็นแน่แท้ และเมื่อตรวจสอบถึงวัตถุดิบ ในการผลิตสำริดกับประเทศรอบข้างนั้นทั้งหมดพบว่า ไม่ว่าประเทศอินเดีย กรีก อัสซีเรีย ฯลฯ ในแถบนั้นไม่มีแร่ดีบุก ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตสำริด จึงเป็นที่สงสัยของนักโบราณคดีว่า วัตถุโบราณสำริดดังกล่าวมีแหล่งกำเนิดที่ใด ชนชาติใดในยุคนั้นที่มีความก้าวหน้าเทคโนโลยีสูง สามารถผลิตสำริดชนิดนี้ได้

    จากการนำเอาวัตถุโบราณที่ทำด้วยสำริดจากเมืองฮาราฮัปโป และเมืองโมเฮนโจดาโร อันเป็นเมืองโบราณ ซึ่งอยู่ในประเทศอินเดียปัจจุบันนั้น มีมาก่อนสมัยพุทธกาลถึง ๒,๕๐๐ ปี หรือประมาณเกือบ ๖,๐๐๐ ปี มาแล้ว ไปพิสูจน์ทางเคมีพบว่า


    ๑. เป็นโลหะผสมของทองแดงและดีบุก มีเปอร์เซ็นต์ของแร่ดีบุกสูงประมาณ ๒๐-๒๘ เปอร์เซ็นต์


    ๒. ใช้วิธีการหล่อโดยใช้ขี้ผึ้งปั้นเป็นแม่พิมพ์ (Lost wax casting)


    ๓. มีระบบควบคุมความร้อนในการหลอมที่สมบูรณ์ที่สุด


    ๔. โดยกรรมวิธีดังกล่าวใน ๑-๓ ทำให้ได้สำริด ที่มีคุณภาพมีความบางเหมือนแก้วโดยมีความบางเพียง ๐.๓-๐.๕ มิลลิเมตรเท่านั้น และมีสีสรรและความสุกใสเหมือนทองคำ เมื่อล้างหรือขัดโดยผ้าธรรมดา


    ๕. กรรมวิธีดังกล่าวไม่สามารถหาสูตรเคมีในปัจจุบันมาทำเลียนแบบให้เหมือนได้จัดว่าเป็นวิทยการความก้าวหน้าทางเคมีที่สูงยิ่งของคนยุคโบราณก่อน ๕,๐๐๐ ปี


    ๖. ไม่ปรากฎในโลหะชนิดหรือสูตรเดียวกันในการพิสูจน์ จากแหล่งอื่นนอกเหนือจากนี้อีก ซึ่งหลักฐานยืนยันวิทยาการล้ำยุคนี้ปรากฎอยู่ในบันทึกของนายพลเนียร์ (Near Chus) ซึ่งเป็นนายทหารประจำตัวของพระเจ้าอเล็กชานเดอร์มหาราช ครั้งนำกองทัพเข้าไปในภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ของอินเดีย เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๑๗ ได้ระบุไว้ว่า “ชาวอินเดียสมัยนั้นใช้ภาชนะสำริดที่หล่อจากแม่พิมพ์ (Cast Bronze) ไม่ใช่ด้วยการตี (Not hamered) บางเบาดุจแก้ว ใช้ต้องระวังเมื่อตกจะแตกได้” สูตรโลหะ เป็นสูตรเฉพาะคือ “เมื่อขัดเงาแล้วจะมีความสุกปลั่งเหมือนกับทองคำ



    จากการขุดค้นโดยนักโบราณคดีชาวไทย ได้พบหลักฐานแหล่งผลิตเตาเผา เบ้าหลอม และชิ้นส่วนของเครื่องใช้เครื่องประดับสำริด ชนิดเดียวกันกับที่พบในนครโบราณฮาราฮัปโป และโมเฮนโจดาโร ที่โคกพลับ ต.โพธิหัก อ.บางแพ จ. ราชบุรี และบ้านดอนตาเพชร อ.พนมทวน จ. กาญจนบุรี และอีกหลายแห่ง ได้พบเตาเผา เบ้าหลอมสำริด พร้อมกับภาชนะชนิดเดียวกัน มีสูตรผสมทางเคมีแบบเดียวกัน สมัยเดียวกันกับที่ใช้ในเมืองโบราณทั้งสองเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ทราบแหล่งผลิตต้นกำเนิดของภาชนะสำริดที่มีสรรดุจทองคำในเมืองฮาราฮัปโป และเมืองโมแฮนโจดาโร นั้นผลิตและสิ่งเป็นสินค้าออกจากที่นี่ด้วยความสามารถในการผลิตโลหะให้มีสีสันความละม้ายคล้ายทองคำได้นี้เองทำให้ดินแดนนี้ถูกขนานนามว่า “สุวรรณภูมิ” ซึ่งแปลว่า “ดินแดนทอง” โดยข้อมูลนี้จึงสามารถสรุปได้ว่าเหตุใดดินแดนที่ผลิตสำริดที่มีสีสันดุจทองคำนี้จึงได้ชื่อว่า “สุวรรณภูมิ” นั้นเนื่องจากความหมายอันเป็นสากลของเครื่องสำริดดังกล่าว แต่ภาษาทางการนั้น คือ “ศรีสุวรภูมิ” คำว่า “ศรี” แปลว่า “ยิ่งใหญ่,มั่งคั่ง” ปรากฎหลักฐานชื่อดังกล่าวนี้จากดวงตราประทับที่ “จารึกเป็นภาษาไทย อ่านให้ชัดเจน”


    แม้ชาวจีนแต่ยุคโบราณซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชนชาติไทยล้วนเรียก “อาณาจักรศรีสุวรภูมิ” ว่า “กิมต๋ง,กิมจิว” ซึ่งแปลว่า “แผ่นดินทอง” ตรงกับความหมายคำว่า “สุวรภูมิ” มาโดยตลอดตามลักษณะของโลหะสำริดสีทองคำ อันเป็นสินค้าออกที่ขึ้นหน้าขึ้นตาของไทยมากแต่ก่อนพุทธกาล เพิ่งมาเปลี่ยนชื่อเรียกเป็นเสียมล้อ, เสียมหลอ,เสียนหลอ เสียน หลอฮู่ ในสมัยสุโขทัย

    ภาษาของชนชาติไทย

    โดยหลักฐานประวัติศาสตร์ดังกล่าวนี้ ทำให้เราทราบว่า อาณาจักรศรีสุวรภูมิ ได้ขยายการค้าสู่หลายอาณาจักร จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้ภาษาไทยได้รับการพัฒนาถึงขั้นสูงสุด เพื่อให้สะดวกในการออกเสียงสำเนียงให้ใกล้เคียงกับเจ้าของภาษของชนชาติที่เข้ามาติดต่อค้าขายด้วยนั้นเอง ทำให้ภาษาไทยมี ๕ เสียง คือเสียงสามัญ เสียง สูง เสียงกลาง เสียงต่ำ และเสียงดนตรี และมีพยัญชนะ สระมากที่สุดในโลกของภาษาที่ใช้ตัวสะกด (แตกต่างจากภาษาจีนซึ่งเป็นภาษาภาพ ไม่ใช่ภาษาตัวสะกด) ซึ่งไม่มีภาษาชองชนชาติใดจะสามารถจะพัฒนาเทียบเท่าได้ ได้ขุดพบอักษรไทยขนิดนี้ที่บ้านคูบัว จ. ราชบุรี เป็นลักษณะเดียวกันกับอักษรในนครฮาราฮัปโป และนครโมแฮน โจดาโร อันเป็นเมืองโบราณซึ่งมีมาก่อนสมัยพุทธกาลและสร้างเมืองต่าง ๆ ตามเส้นทางเริ่มต้นจากเมืองราด ไปยังชมพูทวีป

    ได้ปรากฎหลักฐานว่าการใช้ภาษาของชาวสุวรภูมิกับชาวอริยกะหรือศากยะใช้ภาษาเดียวกัน ดังปรากฎในพระบาลีเถรวาท ว่า

    “……สมัยหนึ่งชีวกโกมารภัจจ์เเพทย์ประจำพระองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้กราบทูลลาพระพุทธองค์ ไปอยู่ในราชสำนักของกษัตริย์ในอาณาจักรสุวรภูมินานถึง ๑๒ ปี เมื่อกลับไปยังกรุงราชคฤห์ประเทศมคธแล้ว ได้ไปเผ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลสนทนาด้วยภาษาชาวสุวรภูมิ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสด้วยได้อย่างไม่ติดขัด หมอชีวกโกมารภัจจ์หลากใจ จึงทูลถามพระพุทธองค์ทรงตรัสตอบว่า ภาษานี้เป็นภาษากำเนิดของพระองค์เอง เป็นภาษากำเนิดชนอริยกะ ชาวศากยะพูดกันด้วยภาษานี้ หมอชีวกจึงทูลชมว่าเป็นภาษาที่มีสำเนียงไพเราะ สละสลวย ฟังเข้าใจง่าย แต่ละคำมีความหมายตายตัว…..”

    เมื่อถึงจุดนี้จะทำให้หลายท่านแทบจะกล่าวหาว่า ข้อมูลที่ยกมานี้นั้นขัดแย้งกับที่ได้รับรู้รับเรียน (ส่วนใหญ่บาทหลวงหลวงฝรั่งนักล่าเมืองขึ้นเป็นผู้อ่านศิลาจารึกแล้วเขียนประวัติศาสตร์ให้คนไทยเรียน) แต่ต้องถามกันเสียก่อนตรงนี้ว่ามีบันทึกหรือจารึกฉบับไหนที่ระบุว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นชาวภารตะ (อินเดีย) คำตอบคือ ไม่มี ทุกฉบับตรงกันว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นชนชาติอริยกะ คำถามว่า ชนชาติอริยกะ อยู่ในชมพูทวีปมาก่อนหรือ คำตอบคือ ไม่ใช่ แต่เป็นชนชาติที่เจริญแล้วด้วยวัฒนธรรมและวิทยาการ อพยพเข้าสู่ชมพูทวีปทางด้านตะวันออก ในขณะที่ชนชาติภารตะยังไม่มีในชมพูทวีปคงมีพวกมิลักขะ (ด้อยพัฒนา) เท่านั้น

    หลายท่านอาจคิดว่า ภาษาจีนนั้นเกิดขึ้นก่อนภาษาไทย แต่ความเป็นจริงนั้นโดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์นั้นภาษาจีนเกิดขึ้นในภายหลัง ในระยะที่ชนชาติไทยตั้งอาณาจักรในแดนเหนือนั้นจีนยงไม่มีดินแดน ไม่มีประเทศยืนยันตามบันทึกของเล่าเซ้งมีว่า


    “…..ในสมัย “ซ้องเฉียว” นั้นทั้งแผ่นดินยังไม่มีอาณาจักรจีน เนื่องจากยังเป็นชนกลุ่มน้อย คนทั้งหลายเรียกชนเหล่านี้ว่า พวก “ตงง้วน” แม้กระทั่งก่อนที่จิ๋นซี (จิ๋นซีฮ่องเต้) ผู้รวบรวมแผ่นดินจีนก็ถูกเรียกว่า “ตงจิ๋น” (พ.ศ. ๒๓๕)…”


    สำหรับภาษาจีนนั้นเพิ่งคิดขึ้นในยุคหลังโดยในระยะดังกล่าวชนชาติจีนยังมิได้อพยพเข้าสู่พื้นที่อันเป็นประเทศจีนในปัจจุบัน นี้แต่อย่างใด (กฎหมายบังคับให้พูด เขียน ภาษาจีน เพิ่งมีบังคับเมื่อ พ.ศ. ๑๐๑๔ โดยจักพรรดิเวินตี้ (Wen Ti) ให้พูดภาษาของตนเองได้เฉพาะในบ้าน โดย Dr.Wolfam Edberhard ผู้เชียวชาญทางโบราณคดีและมานุษยวิทยา ซึ่งได้ทำการศึกษาค้นคว้าและสอนในมหาวิทยลียกรุงปักกิ่ง ประเทศจีนกว่า ๒๐ ปี ได้ระบุไว้ว่า

    “เมื่อประมาณกว่า ๕๐๐ ปี ขึ้นไปก่อนพุทธกาล ได้มีชนชาติอื่นอยู่ในแผ่นดินจีน และตั้งบ้านเมืองอย่าเป็นปึกแผ่นแล้ว ก่อนหน้าที่ชนชาติจีนจะอพพยเข้ามา ก่อนมีการตั้งราชวงศ์เจ้า (โจว) ในยุคก่อนหน้านั้น โดยมี “รัฐช้าง” เป็นศูนย์การปกครองอยู่ที่มณฑลโฮนาน เหนือแม่น้ำเหลือง ….เราเชื่อได้ว่าเป็นพวกวัฒนธรรมของชนชาติไทย มีตัวหนังสือที่ใช้มาก่อนหนงสือจีน….”

    ในพจนานุกรมโบราณฉบับแรกในประวัติศาสตร์จีน ปรากฎมีบันทึกข้อสงสัย ที่นักปราชญ์จีนโบราณไว้ว่า ชาวจีนไม่ทราบความหมายคำว่า จิ้งหรีด, ผีเสื้อ, หนอน, กุ้ง, คืออะไร? ที่เป็นดังนี้เพราะดินแดนที่จีนอยู่ในสมัยโบราณนั้น ด้วยสภาพของอากาศทำให้สัตว์เหล่านี้ไม่มีอยู่ในดินแดนของจีน จึงไม่มีคำศัพท์สำหรับใช้เรียกชื่อสัตว์เหล่านี้ แสดงให้เห็นว่าไม่ใช่ภาษาจีน และรากของภาษาคำเหล่านี้นั้นต้องมีมาก่อนภาษาจีน Dr.Edberhard ได้กล่าว ต่อไปว่า “ตั้งแต่แผ่นดินจีนตะวันออก ลงไปจดตอนใต้ในบริเวณเมืองนานกิง ไปจนถึงแถบตังเกี๋ยไปจนถึงยูนาน เป็นที่ตั้งของกลุ่มชนพวกนี้ ซึ่งมีความนิยมใช้ “ขวานมีบ่า” เป็นวัฒนธรรม จะเห็นได้ว่า “ขวานมีบ่า” เจ้าของผู้ที่ใช้จะเป็น “ชนชาติไทย” (ซึ่งขุดพบขวานดังกล่าวในกาญจนบุรี และสุพรรณบุรี) ชนชาติจีนและชนชาติอื่น ไม่ใช้ขวานมีบ่ายในยุคเดียวกัน

    ภาษาขอม - ภาษาไทย


    สิ่งหนึ่งซี่งเป็นข้อสงสัยและข้องใจกันมานานเกี่ยวกับ “ภาษาขอม” และ “ชนชาติขอม” ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร? ชนชาติไทยเป็นทาสของจริงหรือ ? หากไม่ใช่เหตุใดคนไทยสมัยโบราณจึงต้องเรียนรู้ภาษาของด้วย ? เหล่านี้คือคำถามหลัก ๆ ของคนทั่วไปและผู้สนใจในโบราณคดีที่ต้องการคำตอบ

    จะต้องมาศึกษากันอย่างถ่องแท้ ใช้ทั้งหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์ ใช้ทั้งหลักวิชาการในการวิเคราะห์ และเรื่องนี้เชื่อว่าจะเป็นสิ่งใหม่ในประวัติศาสตร์ของชนชาติไทย และเป็นประวัติศาสตร์ใหม่ในด้านพุทธประวัติที่ไม่เคยมีการเปิดที่ไหนมาก่อนอย่างแน่นอน เพราะเป็นเรื่องใหม่ที่หลายคนมีข้อสงสัยอยู่ในใจแต่หาคำตอบไม่ได้

    กระทู้นี้จะเป็นแนวทางในการคิด และการคิดนี้จะเป็นมิติใหม่ของประวัติศาสตร์ของชนชาติไทย พุทธประวัติ

    แม้แต่เรื่อง โหราศาสตร์ที่หลายคนคิดว่าเป็นเรื่องงมงาย เป็นเรื่องที่ต้องห้ามทางพระพุทธศาสนาก็ไม่ได้เป็นอย่างที่คิดนานมาแล้ว นับตั้งแต่ที่ไม่มีผู้รู้จริงได้ออกมาแสดงความคิดเห็นต่อต้านกลุ่มที่พยายามจะบิดเบือนประวัติศาสตร์ไทย บิดเบือนพุทธประวัติ รวมทั้งพยายามจะแยกโหราศาสตร์ออกจากชีวิตประจำวันของชาวไทยพุทธ ถ้าสามารถแยกสิ่งเหล่านี้และบิดเบือนจนเป็นสิ่งตรงข้ามไปได้อย่างสมบูรณ์แล้ว

    การทำลายชนเผ่าไท ก็กระทำได้โดยง่าย การทำลายพระพุทธศาสนาก็กระทำได้โดยง่าย การปล่อยกระแสของโหราศาสตร์ไทยว่าเป็นเรื่องงมงาย ขัดกับหลักพระพุทธศาสนา

    ในที่สุดการนำโหราศาสตร์มาใช้ก็กลายเป็นเรื่องที่ไกลจากหลักของศาสนา ห่างไกลจากหลักวิทยาการสมัยใหม่ที่คนยุคปัจจุบันนี้เชื่อถือกันอยู่ การนำเสนอเรื่องนี้จะนำไปสู่การคิดแบบใหม่ ถ้าคนไทยอุดมด้วยหลักการในพระพุทธศาสนาที่ถูกต้อง ประวัติศาสตร์ของชนชาติไทยอันนำมาสู่การมีชาตินิยมที่ถูกต้อง และศึกษาหลักการด้านโหราศาสตร์ไทยที่ถูกต้อง ในโลกนี้ไม่อาจที่จะมีใครต่อกรกับคนไทยได้

    (มีต่อ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มีนาคม 2012
  4. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    เมื่อกล่าวถึงคำว่า “ขอม” เราจะนึกถึงภาพปราสาทหิน ที่มีอยู่ทั่วไปในแทบทุกภูมิภาค โดยเฉพาะในดินแดนแถบภาคอีสานของไทยและปราสาทหินที่ขึ้นชื่อในภาคกลางเห็นจะได้แก่ปราสาทหินที่จังหวัดลพบุรี เราจะเริ่มกันที่ตรงนี่เพราะมีอยู่ใน

    พระบาลีเรียกว่า “ลวรัฐ” มาแต่สมัยก่อนพุทธกาล ในศิลาจารึกนั้นเรียกว่า “ลวทยฺยปุรํ” แปลความว่า เมืองไทยละโว้ หรือเมืองละโว้ หรือเมืองละโว้ จ. ลพบุรีในปัจจุบันนี้

    ตามสภาพทางภูมิศาสตร์ตั้งอยู่บนตะพัก ยื่นจากทิศตะวันออก มาจดแม่น้ำลพบุรี ข้างเหนือมีธารน้ำเรียกว่าทะเลชุบศร ซึ่งไหลมาจากเทือกเขาสามร้อยยอด ไปลงแม่น้ำลพบุรีที่ท้องพรหมมาต์หน้าป้อมโพธิ์ ซึ่งในสมัยโบราณตรงนี้เป็นท้องทะเล ทางใต้มีทางน้ำ เรียกว่า “ท่าเรือจอด” ซึ่งในสมัยโบราณเป็นท่าเทียบเรือสำเภา ซึ่งเป็นเรือสินค้าอันมาจากต่างแดน ทางน้ำนี้จะเลียบกำแพง เมือง ไปลงแม่น้ำลพบุรีเหมือนกัน

    นครละโว้นี้ตามจดหมายเหตุจีนเรียกว่า “ล่อฮกก๊ก” หรือ “หลอฮกก๊ก”

    ศิลาจารึกปราสาทพระขรรค์ซึ่งจารึกด้วยภาษามคธ ได้ยืนยันไว้ว่า ชาวละโว้เป็นชนชาวไทยปรากฎในโศลกที่ ๑๑๖ และ๑๑๗ ว่า “…..ลโวทยฺย สุวรฺณปุรํ….” แปลว่า “ชาวไทยละโว้เมืองสุวรภูมิ…” แต่เป็นที่
    น่าเสียดายที่นักประวัติศาสตร์ไทย ไม่ได้ให้ความสนใจ เพราะฝรั่งต่างชาติผู้แปลนั้นได้ตัดคำแปลของคำว่า “ทยฺย ซึ่งแปลว่า “ไทย” ออกไปเสียดื้อ ๆ ซึ่งอาจเป็นเจตนาเพื่อให้เข้ากันได้กับทฤษฎีล่าอาณานิคมหรือเปล่าไม่มีใคร ทราบได้ แต่ผลก็คือเาได้ทำลายหลักฐานทางประวัติศาสตร์อันสำคัญยิ่งของ”ชนชาติไทย” ที่อนุชนไทยรุ่นหลัง

    ควรได้เรียนรู้และรับรู้ในเรื่องที่สำคัญของชนชาติไทย ความสำคัญนี้ก็คือเมื่อนำข้อมูลที่กล่าวไว้ในบทที่ ๒ เรื่อง โตทยฺย อันเป็นตำแหน่งทูตการค้าระหว่างประเทศซึ่งปรากฎในพระไตรปิฎก เป็นภาษามคธเดียวกัน (อ้าง แล้วในชั้นต้น) ก็จะทราบได้โดยไม่ต้องอธิบายเมื่อพบคำว่า “ลโทยฺย” กรุงละโว้นี้ปกครองโดย “ชนชาติไทย” ซึงปรากฎเป็นฐานอันน่าภูมิใจ สำหรับชาวไทยรุ่นหลังเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่า ในมหาอาณาจักรศรีสุวรภูมินี้ ล้วนแล้วแต่เป็นชนชาติไทย

    มักมีความเชื่อว่า พระนางจามเทวี เป็นชนชาติขอม แต่ตามหลักฐานกลับพบว่า พระนางจามเทวีก็คือราชธิดาองค์สุดท้องของพระยาสักดำซึ่งเป็นชนชาติไทย เมื่อพระนางจามเทวีครองลพบุรีได้ระยะหนึ่ง ฤาษีวาสุเทพแห่งหริภุญชัย ได้ส่งพระราชสารพระยาสักดำพระราชบิดา ขอให้ขึ้นไปครองเมืองหริภุญชัย ซึ่งฤาษีวาสุเทพกับฤาษีอีก ๓ ตน ได้ร่วมกันสร้างเมืองขึ้นใหม่ พระนางจามวงศ์เทวีจึงพร้อมด้วยข้าราชบริพารของพระสวามีที่ส่งไปช่วยจากรัมนคร ขึ้นไปพร้อมด้วยกัน ซึ่งขณะพระนางจามเทวี ทรงขึ้นไปครองนครหริภุญชัยนั้น พระนางมีพระราชโอรสองค์น้อย ๒ พระองค์ ส่วนพระราชสวามีของพระนาง ทรงมีศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ได้ออกบวชเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดมหาเถระไหล่ลาย (มหาธาตุ) รัมนคร (บางแห่งเรียกว่า เมืองราม) เป็นเมืองเก่าเมืองที่มีมานับแต่สมัยรามบัณฑิตโพธิสัตว์ ปรากฎตามทศรถชาดก อังคุตรนิกาย ซึ่งต่อมาภายหลังพุทธกาลบุคคลชื่อ “ฮินดูวามิกิ” ได้ปลอมแปลงชาดก

    แล้วเขียนขึ้นใหม่ในชื่อว่า “รามเกียรติ์” รามนครนี้ได้ร้างมาตั้งแต่ครั้งพระกัสสปพุทธเจ้า ตั้งอยู่บนเกาะกลางทะเลซึ่งเป็นปากทางเข้าสู่ทะเลน้อย การที่ผู้คนอพยพจากเมืองตามพระนางจามเทวีไปนี้เอง เป็นสาเหตุให้รัมนครต้องไปอีกครั้งหนึ่ง ในกรณีทะเลน้อย ซึ่งเกือบจะแยกต่างหากออกจากทะเลใหญ่นี้นั้น ได้มีหลักฐานอันเป็นหนังสือการเดินเรือสู่อาณาจักรสุวรรณภูมิ โดยได้ระบุรายละเอียดของเมืองต่าง ๆ ของอาณาจักรสุวรรณภูมิว่า “เมืองวัชรบุรีตั้งอยู่ชายทะเลของอาณาจักรทางด้านทิศเหนือมี “ทะเลเล็ก” แยกไป แต่ก็สามารถเดินทางจากเชียงรุ้งได้….”

    หลักฐานการมีอยู่ของทะเลน้อยดังกล่าวนี้ได้ปรากฎทั้ง ในเอกสารประวัติโบราณและสมัยรัตนโกสินทร์สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ สมัยที่ทรงขยายความเจริญสู่ชนบทในการสร้างทางรถไฟ สมัยก่อนที่จะสร้างรถไฟสายเหนือนั้น ตำบลทุ่งยั้ง และตำบลท่าอิฐ จังหวัดเชียงราย ในปัจจุบันเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้าทางบกและ ทางเรือระหว่างหัวเมืองทางเหนือ ตั้งแต่ยูนานลงมา กับหัวเมืองทางใต้ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา แม้กระทั่งสมัยพระนางจามเทวี เสด็จขึ้นไปครองเมืองหริภุญชัย เมื่อ พ.ศ. ๑๒๐๔ ยังสามารถเดินเรือทั้งขบวนขึ้นไปตามลำน้ำปิงได้ตลอด ๗ เดือน ส่วนทางลำน้ำยม และลำน้ำน่าน ก็สามารถเดินเรือใหญ่ ๆ ได้ตลอดปีเช่นกัน และจากข้อมูลสนับสนุนหลักฐานโบราณคดีในการขุดค้น โบราณสถาน ได้พบว่าเมืองโบราณในยุคสุวรรณภูมินั้น ตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลน้อยนี้ทั้งสิ้นเช่น เมืองจันเสน เมืองศรีเทพ เมืองเสมา และเมืองศรีมหาโพธิ เมืองลโว เมืองสุพรรณ เมืองอู่ทองเก่า เมืองนครปฐม เมืองคูบัว เมืองเพชรบุรี ฯลฯ

    ในส่วนของนครหริภุญชัยนั้น ปรากฎที่เห็นได้ชัดก็คือการวางผังเมือง หริภุญชัยนั้นมีลักษณะเดียวกัน กับเมืองคูบัว จ. ราชบุรี เมืองซับจำปา ซึ่งเป็นลักษณะคล้ายหอยสังข์นั่นเอง และการก่อสร้างอาคารพุทธศาสนา สถาน ล้วนแล้วแต่ใช้แบบก่ออิฐ ไม่สอปูน พร้อมลายรูปปั้นประดับนั้น ล้วนเห็นศิลปของสถาปัตยกรรม เฉพาะขาวไทยอาณาจักรศรีสุวรภูมิเท่านั้น

    การที่นำเรื่องของพระนางจามเทวีมาบรรยายให้ทราบก็เพราะว่า “ขอม” ที่ถือกำเนิดในโลกนี้นั้น ล้วนแล้วแต่เนื่องจากพระราชโอรสและสายราชวงศ์ของพระนางทั้งสิ้นการก่อกำเนิดของนั้นมาจากเหตุแห่งศึก ๓ นคร ที่เกิดขึ้นระหว่างเมืองละโว้ (ลโวทยฺย) เมืองหริภุญชัย สิริธรรมนคร(นครศรีธรรมราช) ดังนี้

    พุทธศักราช ๑๒๔๖ นั้นกษัตริย์ที่ครองอาณาจักรสิริธรรม (นักประวัติศาสตร์ เรียกว่า ศรีวิชัย) ทรงมีพระนามเรียกขานตามตำนานต่าง ๆ แตกต่างกันไปเช่น พระยาชีวกราช พระยาสุรชิตราช พระยาวรราช นั้นล้วนแล้วแต่เป็นกษัตริยองค์เดียวกัน ซึ่งเป็นราชโอรสของพระนางจามเทวีองค์หนึ่ง เมื่อสามารถชิงเมืองละโว้ (ลโวทยฺย) จากอนุชา (น้องชาย) พระเจ้าอาทิตยราชซึ่งเป็นราชโอรสของพระนางจามเทวี เช่นกันได้แล้ว ได้ทรงจัด พิธีกตเวทิตา บูชาคุณพระมารดา คือ พระนางจามเทวี ซึ่งเป็นพระเพณีไทยเดิมที่สืบเนื่องกันมา คือการบูชาคุณพ่อแม่และบูชาครู (พิธีกรรมดังกล่าวนี้ ได้ติดไปกับชนชาติไทยทั้งปวง ซึ่งจะพบเห็นได้จากประวัติศาสตร์และหลักฐานทางโบราณคดี ที่พบในเมืองเก่า นครชัยศรี (นครปฐม) เมืองเก่า อำเภออู่ทอง (สุพรรณบุรี) แคว้นชวาภาคกลาง (อินโดเนียเซีย พระเจ้าชีวกราช ได้ทรงให้เปลี่ยนชื่อเมืองละโว้เสียใหม่เป็น “บูรพโกศลกัมโพชนคร” แปลว่า “ เมืองกัมโพชตะวันออก” นั่นย่อมแสดงให้เห็นว่าต้องมี “เมืองกัมโพชตะวันตก” ด้วย ในจารึกบางแห่งเรียก “บูรพโกศลกัมโพชนคร” ว่า “กัมโพชนคร” ในจามเทวีวงศ์ ซึ่งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงค์ราชานุภาพทรงแปล ก็เรียกว่า ชาวละโว้ ว่า ชาวกัมโพช) และแต่งตั้งราชบุตรชื่อ พระยาปะนะโกศลกัมโพชราช ปกครองต่อมา (ที่มาของคำว่า กัมโพชและกัมโพชตะวันตกให้อ่านในบทที่ ๔)

    คำว่า “กัมโพช” นี้เองที่ทำให้มีการบิดเบือนประวัติศาสตร์ไทย โดยเขียนขึ้นมาใหม่ว่า “ขอมปกครองกรุงละโว้ (ลโวทยฺย) เพราะคำว่า กรุงกัมโพช ทำให้ฝรั่งคิดเอาว่าคือ กรุงกัมพูชา ซึ่งเป็นของของจึงไม่ตรงตามหลักฐาน ข้อเท็จจริงของประวัติศาสตร์ ศิลาจารึกและตำนานยังระบุเรื่องราวต่อไปว่า กัมโพชนคร (ลโวทยฺย) ได้ปกครองต่อเนื่องกันมา จนถึงสมัยของพระเจ้าอาทิตยราช ซึ่งเป็นโอรสของกษัตริย์กัมโพชนครขึ้นไปครองกรุงหริภูญชัยเมื่อ พ.ศ.๑๕๕๖ ในปี พ.ศ. ๑๕๘๖ พระเจ้าจันทรโชติได้ขึ้นปกครองกัมโพชนคร มีพระนางปฏิมาสุดาดวงจันทร์เป็นพระมเหสี มีพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียว พระนามว่า พระนารายณ์ (ตรงนี้แหละที่นายอร์ช เซเดส์ โมเมเอาเองว่าคนลพบุรีถือศาสนาฮินดู ก็เพราะเชื่อพระนารายณ์ คำว่า นารายณ์ เป็นภาษาโบราณ มาจากคำว่า นาร แปลว่า น้ำ ภายหลังพุทธกาล ๑ พันกว่าปี ศังการจารย์ได้แยกพราหมณ์ออกมาตั้งเป็นฮินดู จึงเอาเป็น”นาร” เป็นเชื่อเทวดา ชื่อว่า พระนารายณ์ แสดงให้เห็นชัดว่าคน ๆ นี้ ไม่มีความรู้ทางประวัติศาสตร์ศาสนาจริง

    ต่อมาในปี พ.ศ. ๑๖๐๑ กรุงพุกาม (พม่า) มีความเข็มแข็งได้รวมกองทัพนำโดยพระเจ้าอโนรธามังช่อ หรือพระาเจ้าอนุรุธ (ที่ฝรั่งเขียนเอาเองว่าทรงเป็นผู้ตั้งจุลศักราช ซึ่งจะเห็นว่าระยะเวลาแตกต่างกันเกือบ ๕๐๐ ปี เพราะตั้งจุลศักราชปี พ.ศ. ๑๑๘๒ ) ได้ยกกองทัพมาล้อมกรุงกัมโพช (สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงลิขิตเรื่องนี้ไว้เช่นกัน) เมื่อปีจอ กองทัพของพระเจ้าอโนรธามังช่อ ได้ยกเข้าล้อมกรุงกัมโพช พระเจ้าจันทรโชติ จึงทำพระราชไมตรีกับพระเจ้าอโนรธามังช่อ โดยยกพระพี่นางซึ่งมีพระนามว่าแก้วประกาฬ ให้เป็นมเหสีของพระเจ้าอโนรธามังช่อเป็นสุวรรณปฐวีเดียวกัน (คือเปลี่ยนให้พระเจ้าอโนรธามังช่อจากศัตรูมาเป็นน้องเขย) ทำให้กรุงกัมโพชปลอดภัยศึกนับแต่ครั้งนั้น

    จากหลักฐานทางโบราณคดียืนยันได้ว่า ใน พ.ศ. ๑๒๔๖ ได้มีการเปลี่ยนชื่อจากเดิมว่า ลโวทยฺย (ลพบุรี) เป็น “กัมโพชนคร” โดยพระราชบุตรของพระนางจามเทวี ก่อนที่จะมีชนชาติขอม ปรากฎหลักฐานระบุไว้ว่า หลานของพระเจ้าชีวกราช ได้ไปตั้งนครใหม่ ทางทิศตะวันออกของลโวทยฺย ที่เมืองพลั่วริมน้ำโขม เรียกว่า “ขอม” ซึ่งจัดว่าเป็นชนชาติไทยชั้นเหลนของพระนางจามเทวี มีการติดต่อของประชาชนสองอาณาจักรมาโดยตลอด โดยถือว่าเป็นแผ่นดินเดียวกันเพราะไม่ได้ตั้งชื่อเมืองประชาชนทั้ง ๒ นครจึงเป็นประชาชนในอาณาจักรเดียวกัน โดย เรียกว่า “ชาวกัมโพช” เหมือนกัน พร้อมกับนำชื่อของ กรุงกัมโพชน์ (ลโวทยฺย) ไปตั้งเป็นชื่ออาณาจักรกัมโพชน์บนดินแดนเก่าของแคว้นอินทปัฐด้วยความเคารพต่อบรรพกษัตริย์ ต้นตระกูลของตนตามหลักประเพณีนิยมของชนชาติไทย

    อักษรขอม

    “ขอม” แปลเป็นคำสมัยปัจจุบันว่า “ขอบ, คลุม,โพก” เมื่อนำมาใช้กับบุคคลจะมีความหมายเท่ากับคำกริยา เช่น การเอาผ้าโพกหัว เรียกว่า ขอมหัว คลุมโปงทั้งตัว เรียกว่า ขอมตัว และเมื่อนำมาใช้กับพื้นที่ วัตถุ หรือบริเวณ ก็จะมีความหมายว่า ขอบ เช่น ขอมบ้าน เรียกว่าขอบรั้ว หรือเป็นชายแดน ก็เรียกว่า ขอมเมือง และด้วยลักษณะอาการคลุม, โพกดังกล่าวนี้เอง ได้ถูกนำมาเรียกตัวอักษร ไทยที่ถูกแปลงเป็นภาษาใหม่ ที่เรียกว่า ภาษาของ เพราะอักษรทั้งหมดนั้นคือภาษาไทยแต่เขียนโดยมีการคลุมหรือโพกพยัญชนะเสมอ ซึ่งเรียกว่า หนามเตย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ลายเกียรติของ สิ่งที่เห็นได้ชัดว่า เป็นภาษาไทยที่ถูกนำไปดัดแปลงใหม่ เช่น

    ตัว “ฒ” ขอมนำเอาตัว “ฒ” ของไทยไปแปลงใหม่เป็น………………..

    ตัว “พ” พาน ของนำเอา “พ”พานของไทยไปคว่ำลงเป็น………………

    ตัว “ภ” สำเภาขอม นำเอาตัว “ภ” ของไทยคลุมหัวเป็น ………………


    อักษรขอมทุกตัวอักษรนั้นจะต่างจากภาษาไทยตรงที่มีการคลุมหัว หรือคลุมทั้งตัว (ใส่ตีน) ทุกตัว ส่วนล่างที่เรียกว่า “ใส่ตีน” นั้นจะใช้สำหรับตัวสะกด เช่น …………… (ลัม) ไม่ต้องใช้พยัญชนะทั้งตัวอักษร แต่ในภาษาไทยเท่านั้น สะกดโดยใช้ตัวพยัญชนะทั้งตัวอักษร และสำคัญที่สุดก็คือขอมไม่มีไม้ม้วน “ใ” นี่คือการพัฒนาทางภาษจากไทยเป็น “ภาษาขอม” จึงพิสูจน์ได้ว่า “ขอม” เองไม่มีภาษามาแต่เดิม และเมื่อได้นับถือพุทธศาสนาก็ใช้ภาษามคธ ซึ่งเป็นภาษาทางศาสนาเข้ามาผสมกับอักษรไทยที่มีใช้อยู่แต่เดิมในตอนแรกยุคอาณาจักรจำเริญ (ฝรั่งเศสเรียก “เจนละ” ซึ่งจะเห็นว่าไม่มีหนามเตย (คลุม) หรือเพิ่มในตื้นเข้าไปในยุคหลัง จึงมีการใส่ตีนพร้อมทั้งเพิ่มการคลุมอักษรขึ้นอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามกยังใช้รากภาษา (Root) ของไทย อยู่เพื่อแสดงให้เห็นว่าราชวงศ์ของขอมได้สืบเชื้อสายไปจากพระนางจามเทวี อันเป็นชนชาติไทย จากหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าราชวงศ์ของขอมได้สืบเชื้อสายไปจากพระนางจามเทวี อันเป็นชนชาติไทย จากหลักฐานที่แสดงมาแต่ต้นนั้น ย่อมเป็นหลักฐานอย่างปราศจากข้อสงสัย และยืนยันกำเนิดของชนชาติขอม นั้นคือ ชนชาติไทย เป็นหนึ่งเดียวกับอาณาจักรศรีสุวรภูมิ พระมหากษัตริย์ราชวงศ์ของนั้นสืบราชวงศ์ไปจากสายของพระนางจามเทวี นางพญากษัตริย์ไทยอันเป็นพุทธมามกะ สร้างนครหริภุญชัยขึ้นในตอนเหนือนั่นเอง ดังนั้นการที่ชนชาติไทยเรียน เขียน อ่าน ภาษาขอม ก็คือการเรียนภาษาไทยโบราณนั่นเอง ไม่ใช่เรื่องผิดปกติหรือเป็นเมืองขึ้นของดั่งฝรั่งว่าไว้ทั้งสิ้น

    โดยหลักฐานทางนิรุกติศาสตร์ สามารถสรุปกำเนิดแห่งภาษขอมอินเดียในปัจจุบันได้เป็นอย่างสากลตรงกันว่า ภาษาทั้งหมดของอินเดียนั้นมีรากภาษา (Root) มาจากภาษาปรากิต” ซึ่งนำเข้ามาใช้โดยชนชาวอาริยกะ และภาษาปรากิต เป็นต้นกำเนิดของภาษาบาลี (มคธ) ซึ่งใช้สำหรับการศึกษาในสำนักตักสิลา ภาษาบาลีได้พัฒนาเป็น สันสกฤต และได้พัฒนาเป็นภาษาพรหมี ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชและได้พัฒนาเป็นภาษาเทวนาคลี ซี่งใช้อยู่ในปัจจุบัน สำหรับตอนใต้คือเกาะสิงหฬได้พัฒนาภาษาพรหมีกับภาษาสัปปาลวะ เป็นภาษาเฉพาะตนเรียกว่า “ภาษาสิงหฬ” สำหรับภาษาของชนชาติทยฺย จะสังเกตุได้จากการใส่ ไม้มลายและไม้ม้วนเป็นเอกลักษณ์ที่ภาษาเหล่านี้ไม่ได้นำไปใช้

    แคว้นทั้ง ๗ ของศรีสุวรภูมิ
    การปกครองของอาณาจักศรีสุวรภูมิดำเนินตาม “คัมภีร์มหาจักรพรรดิราช” คือมีศรีสุวรภูมิเป็นศูนย์กลางเปรียบดั่งดวงอาทิตย์ และมีแคว้นทั้ง ๗ ซึ่งเปรียบดั่งดวงดาวบริวารของดวงอาทิตย์นั้นเอง ซึ่งแคว้นทั้ง ๗ ภายในอาณาจักรศรีสุวภูมิมีดังนี้ คือ
    ๑.แถนหลวง
    ๒.กุรุน (เทพนคร, ศรีเทพ)
    ๓. สุวรรณโคมคำ
    ๔. อินทปัฐ
    ๕. สัปปาลวะ (สาเขต)
    ๖. ศรีโคตมะ
    ๗.มโนหาร

    ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะแคว้นสุวรรณโคมคำ เนื่องจากมีความสำคัญต่อเนื่องกับคัมภีร์โหราศาสตร์ที่จะต้องศึกษา

    แคว้นสุวรรณโคมคำเป็นแคว้นหนึ่งใน ๗ ของอาณาจักรศรีสุวรภูมิ (การตั้งนครได้กล่าวไว้ในบทที่ ๑ แล้ว) ตามคัมภีร์มหาจักรพรรดิราชจารึกไว้ว่า อาณาจักรของแคว้นเป็นดังนี้

    “…ประเทศหนบูรพานี้ล่องใต้มีห้วงน้ำใหญ่ห้วงหนึ่ง มีห้วงน้ำใหญ่อีกห้วงหนึ่ง มีปริมณฑลกว้างได้ ๕ โยชน์ แลฯ

    ถัดลงมาแต่นั้น ระยะทางคนเดิน ๒ เดือนครึ่ง มีห้วงน้ำใหญ่อีกห้วงหนึ่ง กว้างกึ่งโยชน์ยาวได้ ๓ โยชน์แลฯ

    มีนาค ๒ ตัวชื่อ “ศรีสัตตนาค” ตัวหนึ่งด้วยเหตุมีบริวาร ๗ โกฎิ และฯ อีกตัวหนึ่งมีนามว่า “นหัตตะนาค” เหตุเป็นใหญ่ในหนองกระแส ฯ นาคทั้ง ๒ เป็นสหายแก่กัน ได้พากันขุดควักช่องมาแต่ปัญจมหานทีที่ ๔ ชื่อแม่น้ำมหิ แล ฯ ให้น้ำไหลถั่งเปน กระแสมาลงห้วงน้ำใหญ่ที่ ๑ จึ่งได้ชื่อว่า “หนองกระแสหลวง” แลฯ อีกอื่นไหลลงห้วงน้ำที่ ๒ มีชื่อว่า “หนองกระแสน้อย” แลฯ

    น้ำในหนองกระแสหลวงนั้น แตกเป็นแม่น้ำใหญ่ ไหลไปหนอาคเนย์ ไปต่อมหาสมุทรหลวงแลฯ น้ำอันนี้ชื่อว่า “น้ำแม่ตกหลวง” แลฯ

    ส่วนน้ำในหนองกระแสน้อยนั้น ก็ไหลไปต่อน้ำแม่แตกหลวง จึงได้ชื่อว่า “น้ำแม่แตกน้อย” ฯ ภายหลังจึ่งได้ตั้งเปนนครเขตขึ้นเมื่อแรกขานว่า “จุฬนีนคร” ถวายนิมิตรถ้วยโคมอันล้วนถ้วยสุวรรณจึ่งขานนามว่า “สุวรรณโคมคำ” ดังว่านั้น แลฯ

    เขตต์ปลายตีน เถิงปากหนองกระแสหลวงฯ

    เขตต์หัวนอน เถิงฝ่ายนาค

    เขตต์บูรพา ถึงน้ำแตก

    เขตต์ปัจฉิม เถิงน้ำตู

    “จุฬานีนคร” อันเป็นเมืองหลวงแห่งแคว้นสุวรรณโคมคำ ได้ล่มลงสู่ลำน้ำโขงเมื่อครั้งพระยาโค ตระบอง อันหลบหนีจากนครไตรตรึงษ์ข้ามน้ำโขงไปยึดจุฬนีนครด้วยฤทธิ์ เสาะจะเอาคำภีร์มหาจักรพรรดิราช ทว่าครูบานักปราชญ์ผู้ทรงศีลได้นำหนีไปซ่อนเสียด้วยรู้เท่า พระยาโค ตระบองพิโรธหนัก จึงสังหารผู้ทรงศีลเสียสิ้น พวกที่อยู่ทางฟากตะวันตกก็พากันหลบหนีไปอาศัยนครไทยเทศบ้าง นครราชคฤห์บ้าง นครอุมงคเสลาบ้าง ไม่มีผู้ใดหาญต่อกรด้วยได้ต่างก็พ่ายแพ้ทั้งสิ้น ด้วยว่าพระยาโค ตระบองนั้นสำเร็จฤทธิ์ด้วยกินแก่ไม้ “งิ้วดำ” จึงได้อยู่ยงคงประพันธ์อาวุธ ไม่มีใครในปฐวีจักฆ่าให้ตายเลย
    ครั้งนั้น “ศรีสัตตนาค” ทนเห็นพระยาโค ตระบองก่อกรรมต่อไปมิได้ จึงพาบริวารขุดทำลาย ”จุฬนีนคร” เอาธรณีฝังพระยาโค ตระบองเสียแต่ในครั้งนั้น “จุฬนีนคร” จึงล่มลงโขงแคว้น สุวรรณโคมคำจึงละลายโขงไปแต่บัดนั้นมา

    กำเนิดศักราชและยุค

    ในสมัยของพระกัสสปพุทธเจ้า ก่อนพระพุทธศักราช ๖,๒๓๔ ปี พระเจ้าโค ตมะกษัตริย์ต้นตระกูล “โค ตมะโค ตร” แห่งอาณาจักรศรีสุวรภูมิ พร้อมด้วยพระสหายอีก ๖ ท่าน ซึ่งต่างก็เป็นกษัตริย์ในแคว้นทั้ง ๗ ของศรีสุวรภูมิ ได้ทรงพร้อมใจกันมอบราชสมบัติให้โอรส และออกผนวชเป็นฤาษีทั้ง ๗ องค์ ปรากฎในพระบาลีเรียกว่า “สปฺตรฺษี” หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปชาบดี ในคัมภีร์อภิธานปฺปทีปิกา ได้ระบุนามไว้ดังนี้ คือ
    โค ตมฤาษี ภรัทวาชฤาษี วิสวามิสฤาษี ชมทัคนีฤาษี วิสิษฐฤาษี กัศยปฤาษี อัตริฤาษี
    (หมายเหตุ ภายหลังพุทธกาลได้ปรากฎอยู่ในคัมาภีร์มหาภารตะ คัมภีร์ศตปฐพรามณ รจนา โดย “ศังการพราหม์” ผู้ปลอมเข้าไปบชในพระพุทธศาสนาเพื่อคัดลอกหลักพระธรรมคำสั่งสอนทั้งหมดแล้วได้หลบหนีไปยังแคว้นกลิงครัฐ (อาระกัน หรือ ยะไข่) ก่อตั้งศาสนาขึ้นใหม่ เรียกว่า “ฮินดู” แปลว่า “ผู้มาแต่สินธู” ได้เปลี่ยนนามของฤาษีทั้ง ๗ ให้แตกต่างออกไปจากคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา กลายเป็นชื่อใหม่ ดังนี้

    มรีจิฤาษี อตริฤาษี อังคีรสฤาษี ปุลหะฤาษี ภรตุฤาษี ปุลัสยะฤาษี วิสิษฐฤาษี

    พร้อมกันนั้นก็ได้ต่อเติมชื่อฤาษีเข้าไปใหม่อีก ๒ ตน คือฤาษีภฤคุ ปละทักษะฤาษี
    และประกาศให้ชนทั่วไปเข้าผิดไปว่า “วิชชาโหราศาสตร์นั้นเป็นของฮินดู” ซึ่งต่อมาในยุครัตนโกสินทร์ ๒๑๐ ปีได้มีกลุ่มเดียรถีย์ต่าง ๆ ที่พยายามทำลายพระพุทธศาสนาในประเทศไทยทุกวิถีทาง จึงตั้งบัญญัติขึ้นมาเองนอกพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าโดยอ้างว่า “เป็นเดียรัจฉานวิชาห้ามมิให้พระภิกษุสงฆ์ในพระพุทะศาสนาศึกษา” ทั้งนี้อาจเป็นเพราะไม่มีวุฒิปัญญาขั้นพื้นฐานในประวัติศาสตร์แห่งโหราศาสตร์นั้นเอง)

    ฤาษีโค ตมะเป็นผู้เชียวชาญทางโหราศาสตร์และดาราศาสตร์ ท่านได้กำหนดจำนวนวัน เดือน ปี ขึ้นไว้สำหรับใช้นับ “กาล” หรือ “เวลา” สำหรับชนทั่วไป เรียกว่า “สักราช” (อันมาจากคำว่า ปีแห่ง สักราชวงศ์ ภายหลังเปลี่ยนใช้ “ศ” เมื่อมีภาษาสันสกฤตจึงเป็น “ศักราช” ดังปัจจุบัน) โดยที่กำหนดนับเวลา หรือ “สักราช” นี้กำหนดขึ้นโดยฤาษีทั้ง ๗ ดังกล่าวแล้วนั้น ประชาชนทั่วไปจึงพร้อมใจกันขนานนามว่า “สัปตศักราช” อันแปลความว่า “ปีของฤาษีทั้ง ๗ แห่งศักราชวงศ์” นับแต่นั้นมา
    วิธีนับ “เวลา” ของสัปตศักราช ใช้การกำหนดนับตามระยะที่ดวงดาวทั้ง ๗ (ซึ่งเป็นบริวารของดวงอาทิตย์ และสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากโลก) โคจรไปตรงกับตำแหน่งของกลุ่มดาวฤกษ์ ๒๗ กลุ่ม การค้นพบกลุ่มดาวฤกษ์และนำมาใช้คำนวณเวลาทางดาราศาสตร์นั้น ได้มีมานับหมื่นปี ตามหักฐานอันปรากฎนี้ มิใช่กาลิเลโอ หรือนักดาราศาสตร์ฝรั่งคิดค้นพบขึ้นได้เองตามที่เราท่านได้ถูกหลอกใช้เชื่อกันมาโดยตลอดนั้น

    “ฤกษ” เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า “หมี” เดิมนั้นใช้เรียกลุ่มดาวหมีใหญ่อันมีทั้งหมด ๗ ดวงซึ่งเป็นเครื่องหมายของ ฤาษีทั้ง ๗ ตน ดังได้อธิบายมาแล้วนั้น ดาวหมีใหญ่นี้ทางไทยเราเรียกว่า “กลุ่มดาวจระเข้” ในทางดาราศาสตร์เรียกว่า Ursas Major ในทางภาษาลาตินเรียกว่า Great Bear แปลตรงกันว่า “หมีใหญ่” ซึ่งมีดวงดาวในกลุ่มนี้จำนวน ๗ ดวง เท่ากับจำนวนฤาษีทั้ง ๗ กลุ่มดาวหมีใหญ่ หรือดาวจระเข้ จะพาดผ่านตั้งแต่ ราศีเมษไปสิ้นสุดที่ราศีมิถุน อันถือว่าเป็น “จุดเริ่มต้นของฤกษ์ที่ ๑ และจุดสิ้นสุดของฤกษ์สุดท้ายคือฤกษ์สุดท้ายคือฤกษ์ที่ ๒๗” ดังนั้นดาวหมีใหญ่ หรือดาวจรเข้าจึงได้ถูกเรียกว่าเป็นสากลทั่วไปว่า “ฤกษ์” แปลตามตัวนั้นแปลว่า “หมี” ด้วยประการฉะนี้

    ดาวหมีใหญ่นี้ใช้เป็นเครื่องหมายกำหนดทิศทาง ของนักเดินเรือ และนักค้าขายในเส้นทางสายไหมมาแต่ในสมัยโบราณ ทั้งเป็นที่สังเกตการเคลื่อนโคจรของดาวต่าง ๆ โดยกำหนดที่จุดเริ่มต้นของดาวหมีใหญ่ หรือ “ฤกษ์” เป็นตัวแสดงในพระไตรปิฎกบาลีเรียกว่า คำว่า “ฤกษ์” ว่า “นักษัตร”

    นักษัตร วิเคราะห์รูปศัพท์ไว้ว่า “น กษรนติ สุวสฺถานานาตฺ จฺจุตานิ น ภวนฺตีติ นกษตฺราณิ” ดาวนักษัตรนั้น ไม่เคลื่อนที่ไปจากที่ตน คือ ประจำที่ต่างกับดาวพระเคราะห์ ซึ่งโคจรรอบดวงอาทิตย์

    น กษียนฺเต อิติ นกฺษตฺรา แสงรัศมีไม่รู้สิ้นไป คือมีแสงรัศมีคงที่นี้ก็ต่างจากดาวพระเคราะห์ เพราะดาวพระเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์ จึงมีแสงรัศมีไม่คงที่ขมุกขมัวบ้าง แจ่มสว่างบ้าง ตามระยะดาวนักษัตรนี้จำกัดว่ามี ๒๗ ดวง ซึ่งพระจันทร์ เมื่อหมุนรอบพิภพนี้ ย่อมผ่านคาวนักษัตรทั้งหลายนี้ด้วย

    “ฤกษ์ เป็นนิมิตรบอกเหตุแห่งลัคนาจันทร์ เมื่อสถิตย์หรือเสวยยังฤกษ์ใด ย่อมบ่งบอกถึงผลวิบากแห่งสัตว์โลกนั้นจักสำแดงให้ประจักด้วยอาการอย่านั้น ๆ แตกต่างกันไป แม้แต่ดาวเคราะห์ทั้งหลายอันเป็นนิมิตรหมายแห่งวิบากอื่นก็ดี ย่อมเปรียบประดุจเดียวกันกับลัคนา และจันทร์นั้นแลฯ

    หมายถึงว่า ไม่ว่าลัคนาหรือจันทร์หรือดาวดวงใดก็ตามที่โคจรไปตรงตำแหน่งของกลุ่มดาวนักษัตร หรือที่เรียกว่า “ฤกษ์” ใดฤกษ์หนึ่งใน ๒๗ ฤกษ์ แสดงถึงนิมิตรหมายให้รู้ถึงพฤติกรรม อาการสภาพของการแสดงผลแห่งวิบากกรรม ทั้งกุศลและอกุศลที่สัตว์โบกนั้น ๆ จะได้รับผลกรรมอันเป็นวิบากของตน ซึ่งได้กระทำมาแล้วในกาลก่อน อันเรียกว่า “ปุพเพกตปุญญตา” นั่นเอง ฉะนั้น เมื่อต้องการรู้ถึงว่าวิบากกรรมใดจะแสงผลเมื่อใด ก็สามารถทีจะพิจารณได้จากตำแหน่งแห่งกลุ่มดาวฤกษ์ทั้ง ๒ กลุ่มนี้ ว่าดวงดาวฤาจันทร์ ลัคนา ทำปฏิกริยาเช่นไร พึงพิจารณาไปตามลักษณะความหมายอันกำหนดนั้น “ฤกษ์” เป็นนิมิตรแทนลักษณะของ “มหัคคตจิต” คือการแสดงอาการของจิตมี ๒๗ คือ

    (มีต่อ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มีนาคม 2012
  5. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    อัศวิณีฤกษ์ที่ ๑ ภรณีฤกษ์ที่ ๒ กฤติกาฤกษ์ที่ ๓ โรหิณีฤกษ์ที่ ๔

    มิคสิระฤกษ์ที่ ๕ อารทราฤกษ์ที่ ๖ ปุนัพสุกฤษที่ ๗ ปุษยะฤกษ์ที่ ๘

    อสิเลสะฤกษ์ที่ ๙ มฆาฤกษ์ที่ ๑๐ ปุรพผลคุณีฤกษ์ที่ ๑๑ อุตรผลคุ

    ณีฤกษ์ที่ ๑๒ หัสสะฤกษ์ที่ ๑๓ จิตตราฤกษ์ที่ ๑๔ สวาตีฤกษ์ที่ ๑๕

    วิสาขะฤกษ์ที่ ๑๖ อนุราธฤกษ์ที่ ๑๗ เหษฐฤกษ์ที่ ๑๘

    มูละฤกษ์ที่ ๑๙ ปุรพษาตฤกษ์ที่ ๒๐ อุตราษาฒฤกษ์ที่ ๒๑

    ศรวณะฤกษ์ที่ ๒๒ ธนิษฐฤกษ์ที่ ๒๓ ศตภิษัชฤกษ์ที่ ๒๔

    ปุรภัทรฤกษ์ที่ ๒๕ อุตรภัทรบทฤกษ์ ๒๖ เรวตีฤกษ์ที่ ๒๗

    การนับจำนวนเวลาเป็นศักราชหนึ่ง ๆนั้นจะใช้การโคจรของดาวจันทร์ที่โคจรเข้าไปตรงกันกับกลุ่มดาวฤกษ์ทั้ง ๒๗ กลุ่ม โคจรตั้งเวลากลุ่มละ ๑๐๐ ปี เนื่องจากคนสมัยนั้นอายุยืนยาวมาก” เริ่มต้นจากลุ่มดาวอัศวิณีฤกษ์ (ดาวม้า) และสิ้นสุดที่กลุ่มดาวเรวดีฤกษ์ (ดาวปลาตะเพียน) เมื่อโคจรครบทั้ง ๒๗ กลุ่ม รวมระยะเวลา ๒๗๐๐ ปี วงโคจรนี้ใช้นับเวลาของโลก จึงเรียกว่า “โลกกาล” หรือ “สัปตศักราช” ใช้ จำนวน ๒๗๐๐ ปี เป็นหนึ่งศักราช (ซึ่งคนมักสับสนกับคำว่า “ศตวรรษ ซึ่งเป็นระยะเวลาเพียง ๑๐๐ ปี

    "สัปตศักราช" นี้ใช้ระบบของการนับตามการโคจรของดวงจันทร์เป็นหลักเรียกระบบนี้ว่า “จันทรคติ” นับตามขึ้นแรม โดยสภาพของดวงจันทร์ที่มีวงโคจรในระบบสุริยะ “สัปตศักราช” ตั้งขึ้นเมื่อโลกมีอายุกัลปได้ ๔,๐๓๒,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ ปี หรือก่อนพระพุทธศักราช ๖๒๓๔ ปี หากจะกล่าวอีกนัยหนึ่งก็ได้ว่า การนับ “เวลา” หรือ “กาล” ของมนุษย์โลกโดย “ระบบจันทรคติ” มีก่อนพระพุทธศักราช ๖๒๓๔ ปี โดยฤาษีโคตมะแห่งอาณาจักรศรีสุวรภูมิเป็นผู้บัญญัติขึ้น

    การค้นพบดังกล่าวนั้น จึงทำให้สำนักตักศิลาแห่งนครคันธาระ คิดระบบการกำหนดนับ “เวลา หรือ “กาล” และจัด “ยุค” ขึ้นใหม่ โดยใช้ระยะเริ่มการนับ ณ เวลาสงกรานต์ ซึ่งดวงอาทิตย์จะเล็งองศาตรงกัลองศาโลกอันทำให้ “เวลากลางวัน และเวลากลางคืนเท่ากัน” ซึ่งเหมาะสมกับสภาวะชีวิตมนุษย์อันดำรงอยู่และเป็นไปในอนาคต นักดาราศาสตร์แห่งตักศิลาได้ปรับปรุงสมภาร เพื่อแก้ไขความคลาดเคลื่อนในระยะ ๗๒๐๐ ปี ต่อองศานั้น โดยการแบ่งองศาท้องฟ้า (พื้นที่ของท้องฟ้าในภาคดาราศาสตร์) ขึ้นใหม่องศา (พื้นที่ของท้องฟ้าในภาคดาราศาสตร์) ที่ถูกแบ่งคือ องศาที่ ๙๐ ถึงองศาที่ ๓๖๐ เนื้อที่จำนวน ๒๗๐ นี้ได้ถูกแบ่งออกเป็น ๔ ส่วน แต่ละส่วนนี้เรียกว่า “ยุค” ซึ่งเป็นการแบ่งสมัยของมนุษยชาติไปพร้อมนั้นยุคละ ๕๐๐๐ ปี (การคิดพุทธศาสนายุกาลใช้การคิดจากวิธีนี้) รวม ๔ ยุค รวมเรียกว่า “มหายุค” ดังนี้

    จัตยายุค ๑

    ไตรดายุค ๑

    ทวาปยุค ๑

    กาลียุค ๑

    คณาจารย์แห่งตักศิลา ได้สมการหาระยะเวลาของ “ยุคทั้ง ๔ “ ไว้ดังนี้
    “ให้ตั้ง ๗๒๐๐ ปี ลง เอา ๖๐ คูณ ผลลัพธ์ เป็นอายุกาลียุค”

    จะหาอายุแห่งจัตยายุค เอา ๔ คูณ อายุกาลียุค เป็น อายุจัตยายุค

    จะหาอายุแห่งไตรดายุค เอา ๓ คูณอายุกาลียุค เป็นอายุไตรดายุค

    จะหาอายุแห่งทวาปยุค เอา ๒ คูณอายุกาลียุค เป็นอายุทวาปรายุค”

    การกำหนดระยะเวลาขึ้นใหม่นี้เรียกว่า “ศักราชกาลียุค” เริ่มใช้เมื่อก่อนพุทธศักราช ๒๕๕๙ ปี และแพร่หลายเข้าไปยังอียิปต์ แอสซิเรีย บาบิโลเนีย ผ่านทางนักศึกษาของสำนักตักศิลาชาตินั้น ๆ อันเป็นหลักในการคำนวนทางดาราศาสตร์ และการจัดทำปฏิทินซึ่งใช้การอยู่ทั่วโลกในปัจจุบัน

    “สัปตศักราช” ใช้สืบต่อเนื่องในราชสำนักของศากยวงศ์ และจันทรวงศ์ ปรากฎหลักฐานในจารึกราชตุรังคินี (พงศาวดารคันธาระ) กล่าวถึงการศึกษาดาราศาสตร์ของนึกศึกษามนสำนักตักสิลา โดยใช้การคำนวนด้วยระบบจันทรคติ ทั้งพลหลักฐานในจารึกของเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างแม่น้ำเชนาป กับแม่น้ำยมุนาฝั่งตะวันออก

    กำเนิดยุค

    หลังจากท่านฤาษีโคตมะตั้ง “สัปตศักราช” ไปแล้ว ๓๖๗๕ ปี อายุของมนุษย์ในสมัยนั้นเริ่มสั้นลงและการค้นคว้าทางด้านดาราศาสตร์ของสำนักตักศิลาได้ก้าวหน้าขึ้นและค้นพบว่าเกิดขึ้นจากจากผลของ “วงโคจรของโลกที่ได้เคลื่อนเข้าไปหาดวงอาทิตย์ ๑๒๐ ปี ต่อ ๑ ลิบดา และอีกใน ๗๒๐๐ ปีต่อ ๑ องศา” ทำให้ความร้อนทวีความรุนแรงมากขึ้น และส่งผลให้สิ่งมีชีวิตมีอายุสั้นลงไปเรื่อย ๆ

    การค้นพบดังกล่าวนั้น จึงทำให้สำนักตักศิลาแห่งนครคันธาระ คิดระบบการกำหนดนับ “เวลา หรือ “กาล” และจัด “ยุค” ขึ้นใหม่ โดยใช้ระยะเริ่มการนับ ณ เวลาสงกรานต์ ซึ่งดวงอาทิตย์จะเล็งองศาตรงกัลองศาโลกอันทำให้ “เวลากลางวัน และเวลากลางคืนเท่ากัน” ซึ่งเหมาะสมกับสภาวะชีวิตมนุษย์อันดำรงอยู่และเป็นไปในอนาคต นักดาราศาสตร์แห่งตักศิลาได้ปรับปรุงสมภาร เพื่อแก้ไขความคลาดเคลื่อนในระยะ ๗๒๐๐ ปี ต่อองศานั้น โดยการแบ่งองศาท้องฟ้า (พื้นที่ของท้องฟ้าในภาคดาราศาสตร์) ขึ้นใหม่องศา (พื้นที่ของท้องฟ้าในภาคดาราศาสตร์) ที่ถูกแบ่งคือ องศาที่ ๙๐ ถึงองศาที่ ๓๖๐ เนื้อที่จำนวน ๒๗๐ นี้ได้ถูกแบ่งออกเป็น ๔ ส่วน แต่ละส่วนนี้เรียกว่า “ยุค” ซึ่งเป็นการแบ่งสมัยของมนุษยชาติไปพร้อมนั้นยุคละ ๕๐๐๐ ปี (การคิดพุทธศาสนายุกาลใช้การคิดจากวิธีนี้) รวม ๔ ยุค รวมเรียกว่า “มหายุค” ดังนี้

    จัตยายุค ๑
    ไตรดายุค ๑
    ทวาปยุค ๑
    กาลียุค ๑

    คณาจารย์แห่งตักศิลา ได้สมการหาระยะเวลาของ “ยุคทั้ง ๔ “ ไว้ดังนี้
    “ให้ตั้ง ๗๒๐๐ ปี ลง เอา ๖๐ คูณ ผลลัพธ์ เป็นอายุกาลียุค”
    จะหาอายุแห่งจัตยายุค เอา ๔ คูณ อายุกาลียุค เป็น อายุจัตยายุค
    จะหาอายุแห่งไตรดายุค เอา ๓ คูณอายุกาลียุค เป็นอายุไตรดายุค
    จะหาอายุแห่งทวาปยุค เอา ๒ คูณอายุกาลียุค เป็นอายุทวาปรายุค”
    การกำหนดระยะเวลาขึ้นใหม่นี้เรียกว่า “ศักราชกาลียุค” เริ่มใช้เมื่อก่อนพุทธศักราช ๒๕๕๙ ปี และแพร่หลายเข้าไปยังอียิปต์ แอสซิเรีย บาบิโลเนีย ผ่านทางนักศึกษาของสำนักตักศิลาชาตินั้น ๆ อันเป็นหลักในการคำนวนทางดาราศาสตร์ และการจัดทำปฏิทินซึ่งใช้การอยู่ทั่วโลกในปัจจุบัน

    เนื่องจากการคำวนของระบบนี้ ยึดหลักการโคจรของ “โลกกับดวงอาทิตย์เป็นหลัก” จึมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ระบบสุริยาตร์” หรือระบบสุริยคติ” (เป็นการปรับปรุงระบบสุริยคติของเดิมซึ่งมีอยู่แล้ว แต่ใช้เฉพาะทางดาราศาสตร์เท่านั้น มาเป็นตัวกำหนดนับเวลาวัน เดือน ปี แทนระบบวันเดือนปี “ ระบบจันทรคติ” ที่ใช้ขึ้นแรม

    อัญชัญศักราช

    เมื่อใช้ศักราชใหม่หรือ “กาลีศักราช” ได้ ๒๔๑๑ ปี กษัตริย์กรุงกบิลพัสดุ์ คือ พระเจ้าสีหตราช ซึ่งเป็นปู่ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระเจ้าอัญชันซึ่งเป็นพระราชบิดาของพระนางประชาบดีโคตมี หรือเป็นตาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (ภายหลังออกบวชเป็นฤาษีชื่อ อสิตดาบส และได้เข้ามาทำนายพุทธลักษณะเจ้าชายสิทธัตถะหลังประสูติได้ ๕ วัน ) ซึ่งกษัตริย์ทั้งสองสำเร็จจากสำนักตักศิลามีความเชียวชาญทางด้านโหราศาสตร์ จึงได้ทำการบลบศักราชกาลียุคเสียด้วยชื่อไม่เป็นมงคล และตั้งศักราชขึ้นใหม่ชื่อว่า “อัญชันศักราช” ได้ใช้เรื่อยมาจนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพาน

    สิ่งที่น่าสังเกตและควรทราบก็คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าครั้งยังเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ (ยังไม่ได้ออกผนวช) ได้ทรงศึกษา “คัมภีร์มหาจักรพรรดิราช” จากพระเจ้าอัญชันผู้เป็นตาอย่างเชียวชาญ ในพุทธศาสนาจึงปรากฎเรื่องราวเกี่ยวกับโหราศาสตร์อยู่อย่างมากมาย เช่น การโคจรของดวงอาทิตย์ ระบบสุริยจักวาล ดวงดาวและฤกษ์ อันปรากฎอยู่ในพระบาลี คัมภีร์อัคคัญญสูตร ปละปฐมกัลป (ต่อมาหลังพุทธกาลสำนักตักศิลาได้นำไปทำเป็นหลักสูตรดาราศาสตร์ชื่อว่า “ โชติกยศาสตร์” แม้กระทั่งการใช้ตำแหน่งของดวงจันทร์เป็นตัวกำหนดให้เป็นวันธรรมสวนะ หรือวันอุโบสถ (ถือศีลนั้น ก็ต้องใช้วันที่จันทร์เพ็ญและจันทร์ดับ การกำหนดภิกขุปาฏิโมกข์ และแม้กระทั่งการใช้ฤกษ์เป็นตัดกำหนดนับเวลาระยะวันเข้าพรรษาและปวารณา อันถือว่าเป็นพุทธบัญญัติที่พระภิกษุต้องปฏิบัติ เรียก “อภิสมาจาริกาสิกขา” อยู่ในพระบาลีวินัยปิฎก หมวดขันธกะ ว่าด้วยสังฆกรรม อุปสมบท และส่วนมหาวรรค อาทิ อุโบสถขันธกะ ว่าด้วยอุโบสถ วัสสูปนายิกขันธกะ ว่าด้วยวันเข้าพรรษา ปวารณาขันธกะ ว่าด้วยการปวารณา เป็นต้น

    และหากพิจารณาข้อความในปฐมเทศนา ซึ่งทรงแสดงแก่อัญญาโกญทัญญะ จะพบการใช้ภาษาเฉพาะของโหราศาสตร์” เป็นไปได้ว่าเพราะอัญญาโกญฑัญญะมีความเชียวชาญในวิชาโหราศาสตร์ยิ่ง
    “……เตน ขเณน มุหุตฺเตน ยาว พรฺหมโลกา สทฺโท อพฺภุคฺคจฺฉิ” เสียงระบือเซ็งแซ่ขึ้นไป่จนถึงพรหมโลก โดยเวลาเพียง ๒๔ นาที (ขเณน = ขณะ =กษณะ =มหานาที)นั้น โดยระยะเวลาเพียงหนึ่งวัน (มุหุตฺเตน=มุหุรตะ=๑ โหราตตระ = ๑ วัน) ก็รู้ไปโดยถ้วนทั่ว …”

    ถ้วยพระปฐมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ทำให้โกญทัญญะ พราหมณ์ได้ดวงตาเห็นธรรมอันพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้นั้น ส่งผลให้พระพุทธองค์ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (สอนให้ผู้อื่นบรรลุตามได้) จึงทำให้พระพุทธองค์ทรงปีติที่พระองค์ทรงสั่งสอนให้โกญฑัญญะพราหมณ์เห็นสัจจธรรมที่พระองค์ตรัสรู้นั้น จึงมีอุทานว่า “อญฺญาสิ วตฺตพฺโพ โกญฺทญฺโญ โกญฑัญญะรู้แล้วหนอ” และด้วยพุทธอุทานนี้

    โกญทัญญะพราหมณ์จึงได้ชื่อว่า “อัญญาโกญฑัญญะ” นับแต่เวลานั้น

    โกญฑัญญะพราหมณ์จึงได้ขออุปสมบทเป้ฯพุทะสาวกองค์แรก จึงทำให้เกิดมี “พระรัตนตรัย” อย่างสมบูรณ์เป็นครั้งแรกในโลกคือ

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑

    พระธรรม ๑

    พระสงฆ์ ๑

    หมายเหตุ ความแตกต่างของพระปัจเจกพุทธเจ้า กับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือ
    พระปัจเจกพุทธเจ้า ตรัสรู้ธรรมอันยิ่งได้เพียงเฉพาะตนไม่สามารถสอนให้ผู้อื่นตรัสรู้ตามได้ ส่วนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้ธรรมอันยิ่งแล้ว สามารถสอนให้ผู้อื่นตรัสรู้ตามเช่นเดียวกับพระองค์ได้ด้วย
    ดังนั้น จึงพบในพระสูตรทั้งหลายว่า พระพุทธเจัามีมากมายยิ่งกว่าเมล็ดทรายในมหาสุทร แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในภัทรกัปนี้มีเพียง ๕ พระองค์เท่านั้น ซึ่งเรามักเรียกกันผิดเสมอ

    เราต้องไม่ลืมว่าที่โกญฑัญญพราหมณ์ออกบวชมากรับใช้เจ้าชายสิทธัตถะนั้น เพราะมีความเชื่อมั่นในวิชาโหราศาสตร์ที่ตนได้ร่ำเรียนมาว่า “เจ้าชายสิทธัตถะจะต้องออกบวชและสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแน่นอนไม่เป็นอื่นไปได้” ด้วยโกญฑัญญะพราหมณ์ได้เข้าไปพยากรณ์ พุทธลักษณะพร้อมกับพราหมณ์ทั้งหลายรวมทั้งอสิตดาบส ดังได้กล่าวข้างต้นแล้ว ซึ่งคำพยากรณ์สมจริงทุกประการ

    (มีต่อ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มีนาคม 2012
  6. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    พุทธศักราช

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประสูติเมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีอัญชันศักราชที่ ๖๘ วันที่พระองค์ทรงประสูตินั้นภายหลังที่ได้ทรงประกาศเผยแผ่พระธรรมแล้ว พุทธบริษัทจึงได้ถือเอาวันทีทรงประสูตินั้นเป็นวันแห่งพระบรมศาสดา “พุทธ” ชื่อวันว่า “วันพุทธ” จึงกำเนิดขึ้นในโลกแต่ครั้งนั้น (เดิมสมัยก่อนพุทธกาลได้นับวันขึ้น -แรม ไม่ใช่นับวันจันทร์ อังคารเช่นปัจจุบัน) ทรงเผยแพร่สัจจธรรมเป็นเวลา ๔๕ พรรษา เสด็จปรินิพพาน ณ กรุงกุสินารา เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีอัญชัญศักราชที่ ๑๔๘

    ในปีเดียวกันกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานนั้น พระเจ้าอชุตราช ซึ่งเป็นราชนัดดา (หลาน) ของพระเจ้าสิงหนวัติ ขึ้นครองราชในอาณาจักรโยนก สิงหนวัตินาคนคร ทรงเป้นพระญาติของพระเจ้าอชาตศัตรู กษัตริย์แคว้นมคธ ราชโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร โดยพระเจ้าสิงหนวัติผู้ตั้งอาณาจักรโยกนกปู่ของพระเจ้าอชุตราชเป็นน้องชายของพระเจ้าพิมพิสาร (อ่านเพิ่มเติมใน ๘ ) ครองราชย์เมื่อเดือนยี่ (ก่อนพุทธปรินิพพาน ๔ เดือน) ทรงเป็นพุทธมามกะ เมื่อได้ทราบข่าวพุทธปรินิพพาน จึงเดินทางไปเมืองกุสินารา เพื่อถวายสักการะพุทธสรีระ ของพระบรมศาสดา ในกาลนั้นเหล่ากษัตริย์ทั้งหลายในโค ตมะโค ตร จึงปรึกษากันจักกำหนดให้ตั้งศักราชขึ้นใหม่ โดยหมายเอานิมิตรแห่งการเสด็จปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอันเป็นกษัตริย์แห่งวงศ์โคตมะนั้น ราชวงศ์ทั้งหลายจึ่งมองหมายให้พระเจ้าอชุตราชอันเป็นผู้เชียวชาญคัมภีร์สุวรรณโคมคำส่วนโหราศาสตร์ และพระเจ้าอชาตเชียวชาญคัมภีร์สุวรรณโคมคำส่วนปราบไตรภพ วางศิลาฤกษ์ยามคำนวนตั้งศักราชขึ้น ณ เมืองกุสินารา นั้นจึงได้ทำพิธีลบอัญชันศักราชเสีย และใช้ศักราชใหม่เรียกว่า “พุทธศักราช” ประกาศต่อท้าวพระยาสามลราชอันมาประชุมรับแบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้ทราบแลให้ทุกแคว้นทุกนครในชมพูทวีปใช้ “พุทธศักราช” เป็นเครื่องหมายนับเวลา นับตั้งแต่ปีอัญชัญศักราชที่ ๑๔๘ เป็นต้นไป การเริ่มต้นแห่ง “พุทธศักราชที่ ๑” จึงมีขึ้นแต่บัดนี้มา

    มหาศักราช

    พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งสัจจธรรม ยึดถือหลัก “กฎแห่งกรรม” คือ “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” ปฏิเสธเรื่อง “เทพเจ้า” จัดเป็นศาสนาแบบ “อเทวนิยม” ซึ่งเป้ฯทางตรงกันข้ามกับลัทธิพราหมณ์ที่อาศัยการหลอกลวงประชาชน โดยอ้าง เทพเจ้าเป็นผู้บันดาล แม้จะทำชั่วอย่างไรก็ตาม หากขอเทพเจ้า แล้วก็จะไม่ต้องรับกรรม โดยจะมีมนุษย์ลวงโลกกลุ่มหนึ่ง ตั้งตัวเป็นบุรุษไปรษณีย์ รับส่งข้อมูลระหว่างเทพเจ้ากับมนุษย์ พวกนี้เรียกตัวเองว่า “พราหมณ์” เป็นผู้ทำวิธีส่งข้อมูลนั้น ทำให้บุคคลเหล่านี้ร่ำรวย และมีฐานะสูงทางสังคม เพราะคนทั้งหลายเชื่อว่า เขาคือตัวแทนของเทพเจ้าเป็นศาสนาแบบเทวนิยม

    เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นในโลก ได้ทรงเปิดเผยความจริงให้โลกได้รู้ถึงกลโกงของพราหมณ์เหล่านี้ ทำให้พวกพราหมณ์ขาดรายได้ บ้างก็ถูกขับออกไปจากเมืองกลายเป้ฯขอทาน ข้างก็ถูกประหารเพราะหลอกลวงประชาชน ด้วยเหตุดังนี้ “พราหมณ์ อันยังชีพอยู่ได้ด้วยการลวงโลก จึงประกาศตนเป็นศัตรูของพระพุทธศาสนา และหาวิธีการทำลายล้างทุกรูปแบบ โดยเฉพาะได้เขียนเป็นคัมภีร์สั่งสอนผู้คนว่า “เทพเจ้าให้การกำจัดพระพุทธศาสนาเสียให้สิ้น”

    พวกพราหมณ์เป็นผู้พิทักษ์ศาสนาแห่งการแบ่งชนชั้นวรรณะ ความประพฤติทางชาติตระกูลของพวกเขาได้ถูกท้าทายด้วยหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่ว่า “คนจะประเสริฐได้เพราะการกระทำ หาใช่เพราะชาติตระกูลไม่” และมีหลักคำสอนอื่น ๆ ทางพระพุทธศาสนาอีกมากที่คัดค้านคำสอนของพวกพราหมณ์ ด้วยเหตุนี้เอง พวกพราหมณ์จึงไม่พอใจชาวพุทธ และมองพระภิกษุในพระพุทธศาสนาด้วยความเหยียดหยาม เช่น ยาชญาวัลกยะ ซึ่งเป็นนักปราชญ์คนสำคัญคนหนึ่งของพราหมณ์ในยุคอุปนิษัท ได้ประกาศออกมาว่า
    “การเห็นพระในพระพุทธศาสนาทุกครั้งแม้แต่ในฝัน จัดเป็นอัปมงคลและควารหลีกเลี่ยงเสีย…”

    คัมภีร์พราหมณาราทิยะ อุราณะ ได้วางกฎไว้ว่า “จะเป็นบาปหนักสำหรับพวกพราหมณ์ที่จะเข้าไปในบ้านของชาวพุทธ ไม่ว่าในเวลาที่จนจะตายก็ตาม”

    คัมภีร์อัคนิ ราณะ ได้ประกาศเหยียดหยามพระพุทะองค์ไว้ว่า “โอรสพระเจ้าสุทโธทนะได้ใช้มายากลหลอกลวง พวกทยฺย (Taiyas) เพื่อให้เป็นชาวพุทธ” จะเห็นว่าชนชาติไทยมีมาแต่พุทธกาล)


    _________________

    ผู้แต่งคัมภีร์พราหมณ์ วายุปุราณะ ได้ประกาศว่า “เพียงด้วยมีฟันขาว สำรวมตา มีหัวโล้น และมีเครื่องนุ่งห่มสีแดง พวกศูทรจะทำหน้าที่ทางพระพุทธศาสนาได้ “ ข้อความเช่นนี้หมายถึงวรรณะศูทรที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา อันเป็นการดูหมิ่นพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา

    คัมภีร์วิษณุ ปุราณะ อันเป็นคัมภีร์ของฮินดูได้กล่าวหาพระพุทธเจ้าว่า เป็นนักหลอกลวงผู้ยิ่งใหญ่และเหยียดหยามกล่าวหาพระพุทธองค์ว่าเป็น “มหาโมหะ นักลวงคนให้หลงด้วยมายากล ผู้ซึ่งอุบัติมาในโลกก็เพื่อลงให้พวกมารให้หลง ได้สอนหลักอหิงสา และหลักพระนิพพานและชักนำประชาชนให้ละเว้นจากการปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนาของฝ่ายพระเวท (ของพราหมณ์) พวกสาวกทั้งหลายของมหาโมหะนั้นในที่สุดจะต้องถูกเทพเจ้าทั้งหลายทำลาย

    แม้แต่นักปรัชญาคนสำคัญ ๆ ที่สนับสนุนคำสอนของพราหมณ์ ก็ดูเหมือนว่าจะไม่พ้นจากการริษยาในเรื่องลัทธิศาสนาตัวอย่างเช่น การได้ตอบขัดแย้งคำสอนทางพระพุทธศาสนาของนักปรัชญาชื่ออุทโตกระ ไม่เพียงแต่เต็มไปด้วยเรื่องที่ ให้คนหลงเห็นจริงจัง และเป็นคำพูดที่ไร้สาระเท่านั้น แต่ยังได้กล่าวโจมตีด้วยแรงริษยาอันปวดร้าวอีกด้วย เขาได้เขียนผลงานชิ้นสำคัญของเขาด้วยทัศนะที่คัดค้านหลักความคิดทางตรรกวิทยาของพระพุทธศาสนาทุกสิ่งทุกอย่าง

    การโจมตีพระพุทธศาสนาของกุมาริล นับว่าเก่งฉกรรจ์มาก ซึ่งเป็นการวิพากษ์วิจารณ์พระพุทธศาสนาอย่างเผ็ดร้อนที่สุด กุมาริลตั้งตนเป็นผู้รู้ของพราหมณ์แต่จริงแล้วเขาเป็นเพียงสกุลที่มีปากร้ายแต่พูดถูกใจพวกพราหมณ์ที่ทำอะไรก็ได้เพื่อให้พระพุทธศาสนาสูญหายสิ้นไปเลย เขาได้แสดงการต่อต้านพระพุทธศาสนาอย่างหนัก ถ้าเราได้อ่านประวัติของกุมาริลและผลงานของขบวนการของเขาแล้ว เพราะจะได้ทราบว่าบุคคลผู้นี้ได้ทำร้ายทำลายพระพุทธศาสนาให้ย่อยยับมากเพียงใด เขาได้กล่าวโจมตีพระพุทธศาสนาว่า “คำสอนพระพุทธเจ้าได้ประโยชน์ต่อคนทั้งหลาย ไม่ผิดอะไรกับน้ำนมที่หกราดบนหลังหมา” เป็นข้อความที่แสดงให้เห็นความแค้นจากก้นบึ้งของสันดานอย่างเห็นได้ชัด

    คัมภีร์โศกวารติค ของกุมาริล ได้แสดงให้เห็นว่าเขาได้วิพากษ์วิจารณ์มุ่งร้ายต่อพระพุทธศาสนาและได้ปฏิญาณที่จะเป็นศัตรูต่อรพระพุทธศาสนา ประกาศจองล้างพระพุทธศาสนาตลอดชีวิต และด้วยชีวิต และเขาก็ได้ทำลายพระพุทธศาสนาอย่างจริงจังตลอดชีวิตของเขา ปรากฎหลักฐานทั้งฝ่ายอินเดียและฝ่ายธิเบตตรงกันว่า “กุมาริลได้ก่อตั้งขบวนการทำลายล้างพระพุทธศาสนา” เขาเป็นผู้ที่ยุยงส่งเสริมพระเจ้าสุทธธันวันแห่งอุชเชนีให้สังหารพระภิกษุสงฆ์จำนวนนับหมื่น อุบาสกอุบาสิกานับไม่ถ้วน ท่านสมณะเฮี้ยนจังได้บันทึกไว้ว่าพระเจ้าสุทธธันวันเป็นคนในวรรณะพราหมณ์ มีความชำนาญในการโต้คารมและไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา ขณะที่พระเจ้าสุทธธันวันครองราชอยู่ท่านสมณะเฮี้ยนจังได้เดินทางไปยังกรุงอุชเชนีด้วย

    ในคัมภีร์มฤจฉกฐิกะ ของพราหมณ์ทำให้เราได้ทราบว่า น้องเขยของพระเจ้าสุทธธันวันได้ทำลายวัดและฆ่าพระภิกษุสงฆ์ โดยเฉพาะพระอรหันต์ชื่อ พระสัมวาหะ อันเป็นที่นับถือของชาวพุทธในอุชเชนีเพื่อถวายแก่พระกฤษณะ เทพเจ้าของพราหมณ์ โดยเผาบูชายันต์ต่อหน้าปวงชน โดยก่อนที่เขาจะเผานั้นเขาได้ยืนประกาศต่อหน้าประชาชนว่า “อย่าปล่อยให้พวกสมณะเหล่านี้หลอกลวงพวกเจ้าเหมือนวัว เหมือนควาย ที่เขาจะสนตะพายเข้าที่จะจมูกแล้วเทียมแอกใช้ลากเกวียน

    จากหลักฐานถึง ๓ แห่ง ที่มีแหล่งที่มาต่าง ๆกัน คือจากคัมภีร์สังการทีกวิชัย คัมภีรมฤจกฐิกะ ของพราหมณ์ และจัดหมายเหตุสมณะเฮี้ยนจัง ได้อ้างถึงการเข่นฆ่ากวาดล้างชาวพุทธ และเผาพุทธสถานในแคว้นอุชเชนี ที่เกิดขึ้นอย่างโหดเหียมตรงกัน

    จึงไม่มีเหตุในอันควรที่จะเหลือเป็นข้อสงสัย ในความจริงที่ว่า กุมาริลเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการทำลายล้างพระพุทธศาสนา เป็นหัวหอกในการยุยงให้เกิดการเข่นฆ่าและทำลายชาวพุทธที่เกิดขึ้นโดยพราหมณ์ นักประวัติศาสตร์ของธิเบต ได้บรรยายถึงความโหดร้ายที่ขบวนการของกุมาริลไว้ อ่านรายละเอียดในเอกสารสำคัญชื่อ คัมภีร์เกราลาอุตปัตติ ซึ่งรจนาโดยพระภิกษุชาวธิเบต ซึ่งได้เดินทางมาศึกษาพระพุทธศาสนาอยู่ในแคว้นเกราล่าของอินเดีย ในคัมภีร์นี้ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ขณะที่กุมาริลได้ทำลายล้างชาวพุทธโดยการเผาทั้งเป็น เอาไม้เสียบทวารปิ้งประดุจดั่งปลา เอาหินถ่วงน้ำ การข่มขืนภิกษุณีถวายแก่เจ้าแม่กาลีเทพเจ้าฮินดู การจับทารกไร้เดียงสาบุตรธิดาชาวพุทธโยนเข้ากองไฟเผาทั้งเป็น ซึ่งเหตุการณ์นี้ได้เกิดขึ้นในแคว้นเกราลา ทำให้พระภิกษุชาวธิเบตต้องหลบซ่อนตัวหนีกลับไปยังประเทศของท่านและรจนาคัมภีร์นี้เพื่อเล่าเหตุการณ์ทั้งหลาย ตามความเห็นของนักประวัติศาสตร์สากลได้สรุปจากหลักฐานทั้งหมดแล้วตรงกันว่า “กุมาริลจัดว่าเป็นบุคคลหนึ่งซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญมากในการก่อให้เกิดการทำลายล้างพระพุทธศาสนาในอินเดีย”



    พราหมณ์ไม่ละอายแม้การที่ตนจะสร้างเทพเจ้าของตนขึ้นมาเฉพาะกิจเพื่อแข่งขันกับพระพุทธศาสนา เช่น พระพุทธศาสนามีพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พราหมณ์ก็สร้างเ ทพเจ้าขึ้น ๓ ตน ขึ้นมาบ้างเรียกว่า “ตรีมูรติ” คือ พระพรหม พระศิวะ และพระนารายณ์ เมื่อมีผู้ศรัทธาสร้างพุทธอารามตามนครน้อยใหญ่และชนบท เพื่อเป็นที่ให้พระสงฆ์จำพรรษาและสั่งสอนสัจจะธรรมแก่ประชาชน พราหมณ์ก็สร้างวัดเลียนแบบให้เหมือนกับสังฆาราม เหมือนกับพวกโรมันคาทอลิกทำอยู่ในปัจจุบันนี้ (พ.ศ. ๒๕๔๖) เมื่อพุทธบริษัทมีการแสวงบุญไปนมัสการ ตามพุทธสังเวชนียสถาน ฝ่ายพราหมณ์ก็จัดให้มีการจาริกแสวงบุญตามเทวาลัยขึ้นมาบ้าง สรุปว่า พราหมณ์ปฏิบัติการ “บ่อนทำลายพุทธศาสนาทุกรูปแบบทุกวิธีการ โดยถือว่าเป็นภาระศักสิทธิ์ เป็นคำสั่งของพระเจ้าก่อนจะตายต้องทำลายพุทธให้ได้

    สถานการณ์ทำลายพระพุทธศาสนาที่เกิดขึ้นนี้ทำให้พระอรหันต์นามว่า “นาคารชุน” ซึ่งสำเร็จอภิญญาสมาบัติ ได้ค้นคิดวิธีที่จะต่อต้านกระแสการทำลายพระพุทธศาสนาให้สิ้นไป ท่านจึงปฏิรูปวิธีการเผยแพร่หลักธรรมคำสอนที่ยืดหยุ่นง่ายในการปฏิบัติ เพื่อต้านกระแสการทำลายล้าง พระพุทธศาสนาของพราหมณ์ และรักษาสถาบันพระพุทธศาสนาไว้ให้อยู่รอด ขึ้น ๒ แนวทาง คือ

    แนวทางที่ ๑ ปฏิรูปตามแนวบุคลาธิษฐาน โดยเพ่งเล็งถึงการปลูกศรัทธาปสาทะของสามัญชนส่วนใหญ่เป็นสำคัญ โดยอนุโลมความต้องการของสามัญชนทั่วไป

    แนวทางที่ ๒ ปฏิรูปตามแนวธรรมาธิษฐาน เมื่อบัญญัติลัทธิทางบุคลาธิษฐาน ก็ต้องให้มีปัญญากับหรือเลื่อนภูมิสู่ขั้นปัญญา

    เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ “พระนาครชุน” (บางแห่งเรียกว่า “คุรุนาคารขุน” ) พระสูตรได้รับการแก้ไขดัดแปลงหรือขยายความเป็นอรรถคาถา แต่ยังคงรักษาหลักธรรมที่สำคัญ ๆ ไว้ เช่น พระอภิธรรม คือให้มีความหมายคงเดิมเปลี่ยนเฉพาะตัวอักษรที่จำเป็นสำหรับการเผยแพร่ให้สามัญชนทั่วไปเข้าใจง่าย โดยปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ทำให้เกิดคณะสงฆ์ใหม่ขึ้นเรียกว่า “มหายาน” นับแต่นั้นมา

    พระนาคารชุน” หรือ “คุรุนาคารชุน” ได้เผยแพร่แนวปฏิรูปใหม่หรือ มหายาน เริ่มขึ้นที่ “แคว้นอาฬวี” หรือ “เชียงรุ้ง” (จีนเรียกว่า “ซิงหลิน”) ซึ่งเป็นที่อยู่ของชนชาติไทย และรวมทั้งเขตตะวันตกของแคว้นอาฬวีอันติดกับคันธาระได้แก่ “เมืองปา” เมืองหลวงของแค้วนกุษาน ซึ่งเป็นที่อยู่ของชนชาติไทยเช่นกัน การเผยแพร่ของพระนาคารชุน ได้รับความสำเร็จอย่างดียิ่ง


    _________________

    ยังมีต่อนะครับยาวมากๆ

    ความสงสัยเป็นบันไดแห่งการค้นหา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มีนาคม 2012
  7. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    กษัตริย์ไทยสายราชวงศ์พระเจ้าไทยดี ทรงพระนามว่า “พระกนิษกะที่ ๒” ได้ขึ้นครองราชย์ในอาณาจักรกุษาน (ติดแคว้นคันธาระ) ในปี พ.ศ. ๖๕๓ ทรงมีพระราชศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาและพระนาคารชุนยิ่ง ได้ทรงเป็นพุทธศาสานูปถัมภกต่อพระภิกษุสงฆ์มหายานนี้มาก ด้วยพระองค์เป็นพระญาติแห่งพระเจ้าอโศกมหาราช

    ทำให้ได้รับการถ่ายทอดความเชียวชาญ จากคัมภีร์มหาจักรพรรดิราช สงผลให้ทรงมีพระบรมเดชานุภาพแผ่พระราชอำนาจเข้าไปตลอดเขตอิหร่าน เตอรกีสถาน และข้ามเทือกเขาฮินดูกูฎ การาโครัม เช้าไปยังแคว้นซินเกียง ทั้งยังทรงครอบครองอาณาจักรซอกเตียน อาเรีย โขตาน ส่วนทางอินเดียนั้น ทรงแผ่อานุภาพปกคลุมแคว้นคันธาระ กัษมิระ ปัญจาป ตลอดลงมาถึงฝั่งแม่น้ำคงคา และในที่สุดได้ทรงตั้งเมืองใหญ่ (เมืองหลงงที่สองด้านใต้) ไว้ที่ปุรุษปุระ (แคว้นปชวารในปัจจุบัน) ทรงเป็นมหาราชแห่งชนชาติไทยที่เป็นพุทธมามกะที่ยิ่งใหญ่ ทรงสร้างพระพุทธรูปไว้ในอาณาจักรของพระองค์มากมายปรากฎอยู่ในประเทศอาฟกานิสถานปัจจุบัน)

    พระองค์ทรงศรัทธาต่อแนวพระพุทธศาสนาแบบมหายาน ทำให้พระภิกษุสงฆ์ที่หลบหนีการเข่นฆ่าของพราหมณ์เข้าไปอยู่ในอาณาจักรของพระองค์นับล้านองค์ และเป็นยุคที่พราหมณ์ในดินแดนของพระองค์ อพยพหนีลงไปยึดดินแดนทางใต้คือแคว้นกาลิงครัฐ (ยะไข่) ติดทะเลอาระกัน ในขณะเดียวกัน ความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาก็กลับคืนมาในอาณาจักรนี้มีอีกครั้งหนึ่ง และพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานก็เผยแพร่เข้าสู่ดินแดนธิเบต และซินเกียง ผ่านข้ามทะเลทรายไปยัง “ตุ้งฮ้วง” เข้าสู่ลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงแต่เวลานั้น

    ตามจดหมายเหตุของพระภิกษุเฮี้ยนจัง (ถังซัมจั๋ง) กล่าวว่า ราชสำนักของพระเจ้ากนิษกะมหาราชเปลี่ยนแปลงและโยกย้ายไปตามฤดูกาล ในฤดูหนาวราชสำนักของพระองค์จะอยู่ทางด้านใต้ คือในแคว้นต่าง ๆ ของอินเดียแถบริมแม่น้ำคงคา เมื่อถึงฤดูร้อนก็จะทรงย้ายไปอยู่ยังแคว้นกปิศะ (ทางใต้ของหิมาลัย เมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง ก็จะทรงย้ายไปอยู่ที่แคว้นคันธารราษฎร์ (ประเทศอาฟกานิสถานปัจจุบัน)

    แต่ละแห่งที่ระองค์เสด็จไปประทับนั้น ได้ทรงสถาปนาพุทธวิหารไว้สำหรับเป็นที่พึ่งของประชาชน ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเจริญรอยตามพระเจ้าอโศกมหาราชในฐานะที่พระองค์เป็นราชวงศ์เดียวกัน คือโปรดให้สร้างพระสถูปเจดีย์และสังฆาราม ตลอดพสุธาเขตที่พระบารมีของพระองค์จะแผ่ไปถึง


    สิ่งที่สำคัญยิ่งในสมัยของพระองค์ คือ “การสังคายนาพระไตรปิฎก” โดยในการสังคายนาครั้งนี้ได้อาราธนาพระอรหัตตฺถุง ๒๐,๐๐๐ (สองหมื่นรูป) มากกว่าเมื่อสมัยปฐมสังคายนาและครั้งพระเจ้าอโศกมหาราชได้กระทำไว้ (ในสมัยพระเจ้ากนิษกะเป็นสมัยที่มีระอรหันต์มากที่สุด จะเห็นได้จากจำนวนถ้ำสำหรับปฏิบัติสมาธินับล้านถ้ำบนเทือกเขาในประเทศอาฟกานิสถาน แต่ปัจจุบันนี้ได้ถูกประเทศสหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ทำลายทิ้งเสียเกือบหมดแล้ว พระเจ้ากนิษกะมหาราชได้ทรงจัดให้คณะสงฆ์สังคายนาพระไตรปิฎกขึ้นที่กุณฑลวันวิหาร ( ) เมื่อเสร็จสิ้นการสังคายนาแล้ว พระอรหันต์ทั้งหลายได้ร่วมกันร้อยกรองอรรถคาถา อธิบายพระไตรปิฎกขึ้นอีก ๓ คัมภีร์ คือพระสุตตันตปิฎก ภาคอุปเทศศาสตร์ มีความยาวแสนโศลก ร้อยกรองอรรถคาถา อธิบายพระวินัยปิฎก ภาควิภาษาศาสตร์ มีความยาวแสนโศลก ร้อยกรองอรรถคาถาอธิบายพระอภิธรรมปิฎก ภาควิภาษาศาสตร์ มีความยาแสนโศลก ทั้งหมดได้จัดจารจารึกเป็นภาษาสันสกฤต เมื่อทำการสังคายนาร้อยกรองแล้ว พระเจ้ากนิษกะมหาราชมีพระประสงค์ที่จะไม่ให้ข้อธรรมทั้งหลายที่รวบรวมนี้ผันแปร หรือถูกแก้ไข ได้รับอันตรายสูญหายหรือถูกทำลายจากพวกพราหมณ์เดียรถีย์ได้ จึงโปรดให้จารึกอรรถคาถาพระธรรมทั้งหลายสามแสนโศลกนั้นลงบนแผ่นทองแดง แล้วบรรจุรวมกับคัมภีร์มหาจักรพรรดิราชเข้าไว้ด้วยกันในหีบศิลาอีกชั้นหนึ่งเก็บไว้ในสถูปซึ่งสร้างอยู่ในถ้ำกลางเทือกเขาอันลับยากเข้าถึงและทำลายได้ เพื่อรักษาพุทธพจน์และสัจจธรรมของพระพุทธองค์ให้บริสุทธิ์คงถ้วนพุทธศาสนายุกาล ๕๐๐๐ ปี



    ทันทีที่เสร็จการทำสังคายนาอันเป็นมหากุศลครั้งใหญ่ของพระเจ้ากนิษกะมหาราชนี้ พระองค์จึงทรงลบศักราชกาลียุคเสียแล้ว ให้คำนวณศักราชใหม่ ถือวันแห่งการสังคายนานี้เป็นวันเริ่มแห่งสักราช เรียกว่า “มหายานศักราช” ต่อมาเหลือเพียงคำว่า “มหาศักราช” ซึ่งเป็นศักราชแห่งการสังคายนาพระไตรปิฎกแห่งมหายานโดยเริ่มใช้เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม พุทธศักราช ๖๒๑




    นับแต่นั้นมา พระพุทธศาสนาก็พื้นศรัทธาประชาชนได้อีกครั้งหนึ่ง “มหายาน” นี้เข้าถึงประชาชนง่ายจึงจำให้แพร่หลายได้รวดเร็ว โดยเฉพาะในแคว้นอาฬวี (เชียงรุ้ง) อันจะต้องกล่าวไว้ในเหตุการณ์สำคัญ เพราะว่าภายหลังจากการสังคายนาแล้ว ๑๒ ปี เจ้าหญิงไทยาราชธิดาแห่งแคว้นอาฬวี มีนามว่า “แม่สาน” (จีน เรียกว่า “เมี่ยวซ่าน” ได้มีความศรัทธาเข้าปวารณาตนเป็นพุทธมามกะ ทรงปฏิบัติจนสำเร็จมรรคผลขั้นอนาคามีและได้ออกช่วยเหลือประชาชนทุกชั้นด้วยความเมตตา จนเป็นที่รักเคารพแก่ประชาชนทั่วไปยกย่องให้เห็น “พระอรหันต์แห่งความเมตตา” มาจนตราบเท่าปัจจุบัน ซึ่งทั่วสกลทิศ ทั้งหลายเรียกนามท่านว่า “เจ้าแม่กวนอิม เทพเจ้าแห่งความเมตตา” นั้นเอง




    สิ่งที่เราเคยมีข้อมูลติดตัวมาเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ
    ที่ดู ๆ แล้วไม่น่าจะมีความเกี่ยวข้องกัน แต่มีความ
    สังหรณ์ใจหรือคล้าย ๆ กับว่าน่าจะมีความเกี่ยวพัน
    กันอยู่บ้าง ในการนำเสนอในครั้งนี้จะทำให้เห็นถึง
    ความเกี่ยวพันกันที่ชัดเจนพร้อมกับหลักฐานประ
    กอบ เช่น เรื่องราวของ
    - พระเจ้ากนิษกะ




    - โบราณสถานของพุทธศาสนาในอัฟกานิสถานและ
    บริเวณโดยรอบ......เราไม่เคยได้ศึกษากันว่า
    โบราณสถานเหล่านั้นเกี่ยวกับความรุ่งเรืองของ
    พระพุทธศาสนาในสมัยใด เพราะไม่มีประวัติ
    ศาสตร์ให้เราศึกษาเลย นอกจากนั้นแล้ว
    โบราณสถานดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความเจริญ
    รุ่งเรืองอย่างสูงมาก ๆ แล้วจู่ ๆ พระพุทธศาสนา
    หายไปดื้อ ๆ ด้วยสาเหตุอะไร



    - พระถังซัมจั๋ง ในเรื่องไซอิ๋ว ที่เราอ่านเรื่องและ
    ดูหนังดูละครกันเกี่ยวข้องอะไรกับพระพุทธศาสนา
    บ้าง ซึ่งน่าที่จะมีนัยสำคัญมากกว่าที่เป็นหนัง
    เป็นนิยายอันมหัศจรรย์



    - พระโพธิสัตว์กวนอิม อันเป็นที่นับถืออย่างมาก
    ของคนจีนโบราณมีความเป็นมาอย่างไรเกี่ยวข้อง
    กับพระพุทธศาสนาตอนไหนยุคไหนเราเองไม่ค่อย
    จะมีข้อมูลในเรื่องนี้กัน


    - ศาสนาพุทธนิกายมหายาน ที่เจริญรุ่งเรืองในจีน
    ทั้งประเทศในอดีตเป็นอย่างไร มีความเป็นมาอย่าง
    ไร อยู่ในยุคสมัยใด แล้วหายไปได้อย่างไร

    (มีต่อ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มีนาคม 2012
  8. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    พระพุทธเจ้า...โหราศาสตร์ ....คนไทย (๓) วันชาติไทย

    จุลศักราช-วันชาติไทย

    ประชาชนคนไทยที่เกิดและมีลมหายใจอยู่ขณะนี้เกือบร้อยล้านคน แม้ที่ตายไปแล้วมากต่อมาก สิ่งที่เขาประหลาดใจตั้งแต่เกิดจนตายก็คือ “เรามีแต่ธงชาติไทย แต่ทำไมไม่มีวันชาติ” แม้ขณะนี้ที่ท่านอ่านถึงบรรทัดนี้ท่านก็คงถามตัวเองเหมือนกันว่า “วันชาติของไทยเป็นวันที่เท่าไร ? ทุกประเทศในโลกเขามี “วันชาติ” กันหมด แต่ยกเว้นประเทศไทยไม่มี มันน่าน้อยใจที่เราจัดฉลองงานวันชาติของชาติอื่น แต่เราไม่เคยมีงาน ฉลองวันชาติ แต่เมื่อถามผู้รู้ท่านก็พูดปลอบใจว่า ก็ไทยแปลว่า อิสระ เราไม่เคยเป็นเมืองขึ้นใคร เราก็เลยไม่ต้องมีวันชาติ แต่ไม่มีท่านผู้ใดบอกว่าวันที่เรารวมชนชาติไทยให้เป็นหนึ่งเดียวกันนั้นเป็นวันไหน ? เพราะ

    ประเทศไทย ไม่ใช่โอปาติกะ (เกิดแบบโผล่ขึ้นมาเฉย ไม่มีพ่อไม่มีแม่ ไม่มีบรรพบุรุษ) นี่คือสิ่งที่นักประวัติศาสตร์มีคำถามมาตลอด และค้นคว้าจนเหนื่อยตายทั้งคนถามและคนหาคำตอบมาแล้วนับร้อยคนในอดีตและข้อความต่อไปนี้อีกเช่นเดียวกันมันจะไร้ความหมายไม่ผิดอะไรในอดีตที่ไม่มีวันชาติ นั่นคือการไม่ยอมรับรู้ และไม่ยอมรับความจริง แต่ข้อความต่อไปนี้คือความจริง ที่เกิดขึ้นจริง แต่ก็ขึ้นอยู่กับคำถามว่า ขณะที่ท่านอ่านอยู่นี้ประเทศ เป็นของไทยจริงหรือเปล่าเท่านั้น ซึ่งก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ถึงแม้ท่านจะรู้ว่าวันชาติเป็นวันใด

    ก็ไม่มีโอกาสจะจัดฉลอง “วันชาติไทย” หรอก หากจะให้ฉลองเขาคงอนุญาตให้จัดงานฉลอง “วันทาสไทย” เท่านั้น ถึงอย่างไรก็ตามโปรดเตรียม ใจรับ ทราบความจริงที่บรรพกษัตริย์และต้นตระกูลของชนชาติไทยได้สร้างแผ่นดินไว้ให้สำหรับลูกหลานเหลนโหลนได้อยู่อาศัยในชั้นหลัง ในส่วนนี้ว่าเป็นเช่นไรความแท้จริงและพิสูจน์ได้นั้นมีอยู่ว่า



    พระยากาวัณดิศราช หรืออนุธรรมิกราช (คำว่า “อนุรุธ” เป็นตำแหน่งของพระมหากษัตริย์ เช่น มหาราช พระเจ้า สมเด็จ ฯลฯ ซึ่งใช้นำหน้าพระนามพระมหากษัตริย์ในสมัยก่อน ทั้งนี้จะได้รับการถวายหลังจากได้แสดงพระปรีชาญาณทางใดทางหนึ่ง เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ ตั้งขึ้นเองไม่ได้) พระยากาวัณดิราช เป็นราชโอรสองค์รองของพระเจ้าสักรดำ ซึ่งชอบทำตนสามัญ เที่ยวคบหาเพื่อนฝูงพี่น้องและเสด็จเยี่ยมพระประยูรญาติ ญาติผู้ใหญ่ทั้งอาณาจักรศรีสุวรภูมิภาคเหนือทั้งสิ้น จนรู้จักทั่วกันทุกเมือง มีฝีมือต่อสู้เหียมหาญ ทรงเดินทางไปทั่วทุกแดน ตามเส้นทางเก่าแต่ครั้งบรรพกษัตริย์ทั้งทิศพายัพและทิศอิสานตลอดตั้งแต่ทรงพระเยาว์เป็นที่เกรงขามและเป็นผู้นำ ทรงผูกมิตรแก่ทุกนครในอาณาจักรศรีสุวรภูมิ ขึ้นครองอริมัทนบุรี(นครชัยศรี) ในปี พ.ศ. ๑๑๙๒ จึงทรงมีพระบรมเดชานุภาพ และมีพระปรีชาสามารถและมีมิตรทั่วทั้งอาณาจักร จะเป็นได้จากในปีแรกที่พระองค์ ขึ้นครองราชย์นั้นราชาผู้ครองนครทั้งหมดในอาณาจักรศรีสุวรภูมิได้ขอให้พระองค์ทรงเป็นผู้นำมอบดินแดนของตนให้เพื่อรวมเป็นหนึ่งเดียว ด้วยนิมิตรหมายอันเป็นมงคลอันหมายถึงความสามัคคีชนชาติไทย ทรงให้ถือเอาวาร อันเป็นมหามงคลนี้เป็นวัน และปีของการรวมเป็นหนึ่งเดียวของ ชนชาติไทย ที่มั่นคงดุจดั่งสายน้ำโขงที่ไม่มีอาวุธใดตัดขาด ดังนั้นพระองค์จึงได้ทรงเปลี่ยนนับศักราชชนชาติไทยใหม่เพื่อให้ปรากฏแก่ลูกหลานไทย และประกาศแ ก่เทพยดาว่านี่คือ วันชาติไทย พร้อมสร้างนครเวียงเหรัญนครเงินยางเชียงแสนไว้เป็นสักขี จึงเริ่มนับจุลศักราช (ตำนานสิงหนวัติ เรียกว่าตติยศักราช) ที่พระเจ้าสักรดำ พระราชบิดาได้ตั้งไว้แต่เมื่อปี พ.ศ. ๑๑๘๒ นั้นมีพระราชาทั่วทุกนครในอาณาจักรศรีสุวรภูมิ มาประชุมสาบานรวมใจโดยพร้อมเพรียงกัน มีปรากฎเป็นหลักฐานอยู่ในตำนานสิงหนวัติกุมาร จารึกไว้ว่า



    “พระพุทธเจ้าล่วงไปได้ ๑๑๘๓ พรรษาวันนั้นยังมีมหานครหนึ่งมีราชวงศ์กับราชธานีทั้งปวงมีพันเมืองมีขัตยกษัตริย์ …มีเมืองโยนกเชียงแสนเป็นประธาน อาฬวี ๑ จุฬณี ๑ อเส ๑ จันทรบุรี ๑ โกสัมพี ๑ หงสาวดี ๑ กลิงคราช ๑ สังกตา ๑ สัตตนาหะ ๑ ทวารบุรี ๑ เท่านี้เป็นประธานแล แต่นั้นยังมีพระยาตนหนึ่ง ชื่ออนุรุธรรมิกราช ผู้เป็นใหญ่ในเมืองมลราช และเป็นใหญ่ในเมืองทั้งหลาย สมัยนั้นเมืองใหญ่ในชมพูทวีปมี ๘,๔๐๐ เมือง มีท้าวพระยามหากษัตริย์ทั้งนั้น ที่มีท้าวพระยามหากษัตริย์นั้น ก็พร้อมกัน ณ ที่พระยาธรรมตนนั้นสิ้นทุกเมือง

    (ท้าวพระยาเหล่านั้น )ท่านก็รับเอาคำพระยาอินทร์ แลพระยาอนุรุธธรรมาและก็ป่าวร้องท้ายพระยาทั้งหลาย มี ๙๙๙ เมือง มีแต่เมืองหริภุญชัยกับสุโขไทยมิได้มา (สองเมืองนี้ขณะนั้นยังไม่ได้สร้างตำนานนี้เขียนขึ้นภายหลัง) เหลือนอกนั้นมาพร้อมกันกับด้วยตัวพระยาลวเข้าสิ้นแล




    ท่านก็ “ตัดศักราช” อันพระยาตรีจักษุตั้งไว้ได้ ๕๖๐ ตัวนั้นเสียในวันคือเดือนห้า ออกคำหนึ่ง วันอาทิตย์ ยามใกล้จักรุ่งแจ้ง แล้วตั้งศักราชใหม่ไว้ตัวหนึ่ง ยามรุ่งแจ้ง แล้วเป็นตติยศักราช (จุลศักราชใหม่ ปีใหม่ปีกัดได้นั้นแล…(ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๑ )

    จากนั้นทรงให้จัดงานทำบุญเลี้ยงพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย สมโภชน์ ๗ วัน ๗ คืน และให้ชาวไทยอาณาจักรศรีสุวรภูมิ ยืดถือสมโภชน์วันชาติไทยสืบมา กลายเป้ฯประเพณีไทย เรียกกันว่าประเพณีวันสงกรานต์ แต่นั้นมา


    พระยากาวัณดิศราช หรืออนุรุธธรรมิกราช ทรงเชียวชาญในวิชาดาราศาสตร์และโหราศาสตร์สาเหตุที่ทรงตัดศักราชกาลียุคมาเป็นจุลศักราช ก็เพราะว่า


    ๑. พระองค์ต้องการสร้าง “เวลามาตรฐาน” สำหรับนับวันเดือนปี ที่ถูกต้องเรียกง่าย ๆ คือ “ปฏิทิน” ทั้งนี้เพราะศักราชกาลียุคที่ใช้กำหนดนับเวลา ที่ใช้อยู่เดิมนั้นไม่ตรงกับเวลาแก่งหรโคจรของระบบสุริยจักรวาล เพราะการคำนวณทำ “ปฏิทิน” ทั้งทางสุริยคติจะต้องกระจายศักราชออกเป็นหรคุณวัน และกัมชพลก่อนจึงจะทำมัฐยมสมผุสได้ ที่เป็นเช่นนี้เพราะ “เวลา (วัน) ทางจันทรคตินั้นหย่อนองศากว่าอาทิตย์ซึ่งเป็น “เวลา” (วัน) ทางสุริยคติ คืออวมานในทางจันทร์วันละ ๘๐๐ แต่กัมมัชพลในทางอาทิตย์เป็นองศาละ ๘๑๑ มีเศษ
    เพราะฉะนี้การกระจายเลขจำนวนปีของศักราชกาลียุคลงเป็นกัมมัชพล คือเอา ๘๑๑ คูณด้วยองศา ๓๖๐ แล้วบอกด้วยเศษ ๒๔๗ จะเป็นจำนวนรวมของกัมมัชพลปีละ ๒๙๒๒๐๗ จากนั้นก็เอาเลขที่ได้นี้คูณศักราชกาลียุค แล้วบอกด้วย ๓๗๓
    พระองค์ทรงเห็นว่าตัวเลขผลลัพธ์ที่ออมามากนัก หากไม่ตัดศักราชในปีเบื้องหลังออกเสียบ้างแล้วการคำนวนก็จะฟั่นเฟือ จึงตัดศักราชเสียให้เหลือตัวเลขน้อยลง แลตรงกันทั้งสุริยคติ-จันทรคติ


    ๒. ด้วยเหตุแห่งการตัดศักราชนี้ จึงทางประกาศให้ท้าวพระยาสามลราชทั้งหลายในศรีสุวรภูมิถือศักราชใหม่ เป็นศักราชแห่งชนชาติไทย และถือเอาเป็นวันเริ่มศักราชไทย (วันสงกรานต์) สืบไป

    ดังนั้น ในจารึกโบราณทั้งหลายเราจึงพบคำว่า “จุลศักราช” ทั้งหมด และใช้ต่อมาจนถึงสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ สมัยรัตนโกสินทร์ แต่หลังจากนั้นบาดหลวงและฝรั่งนักล่าเมืองขึ้นได้ปลอมแปลงประวัติศาสตร์ไทย โดยเขียนข้อมูลใหม่ว่า “ที่ไทยต้องใช้จุลศักราชเพราะเป็นเมืองขึ้นเป็นขี้ข้ามอญ,พม่า จึงต้องใช้ตามในฐานะทาสทำให้เลิกใช้ “จุลศักราช” ในทางราชการไปสิ้นเชิง เพราะคลั่งไคล้ฝรั่ง และจนบัดนี้งยังไม่แก้ไขให้ถูกต้องตามความจริง ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางคนที่ตัวเป็นไทยแต่หัวใจทาสได้ช่วยกันเผยแพร่ข้อความว่า พระเจ้าอโนรธามังฉ้อ กษัตริย์พม่า , มอญ เป็นผู้คิดค้นจุลศักราช ซึ่งเป็นข้อมูลเท็จ

    เพราะตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทุกประเทศได้ความตรงกันว่า พระเจ้าอโนรธามังฉ้อ ครองกรุงพุกามระหว่าง พ.ศ. ๑๕๘๙ ถึง พ.ศ. ๑๖๒๐ แต่จุลศักราชเริ่มครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๑๑๘๒ ก่อนพระเจ้าอโนรธามังฉ้อเกิดถึง ๔๐๗ปี ดังนี้ ที่ฝรั่งนักล่าเมืองขึ้นเขียนประวัติศาสตร์ว่า พม่า,มอญตั้งจุลศักราชขึ้นมานั้น จึงเป็นความเท็จทั้งสิ้น ชนชาติไทยจะทนอายชาวโลกไปนานขนาดไหนที่ไม่มีวันชาติ เพราะเชื่อฝรั่ง

    สิ่งที่ผมอยากชี้ให้เห็นประเด็นสำคัญคือ การบิด
    เบือนประวัติศาสตร์กระทำกันอย่างเป็นกระบวนการ
    มีความต่อเนื่องยาวนาน โดยกลุ่มคนหรือกลุ่มอิทธิพล
    และผลประโยชน์เพียงบางกลุ่มที่ประสงค์ต่อผล
    การบิดเบือนมีอยู่ ๓ เรื่องในที่นี้คือ


    ๑. การบิดเบือนทางศาสนา การบิดเบือนเรื่องนี้
    เป็นการทำลายล้างความเชื่อเก่าของชนชาติ ความ
    เชื่อนี้เป็นวิถีชีวิต เป็นวัฒนธรรมและเป็นหลัก
    พื้นฐานของชีวิตในชนชาติ รวมไปถึงการที่จะดำรง
    คงอยู่ได้หรือไม่ของชนชาติ ถ้าศาสนาถูกเปลี่ยน
    ไปจากศาสนาเดิมไปสู่ศาสนาใหม่

    นั่นหมายถึง การเข้าไปสู่แหล่งความเชื่อใหม่ ที่แหล่งความเชื่อ
    นั้นจะดีหรือไม่ดี มีใครเป็นผู้บงการอยู่ในนั้นไม่รู้
    ซึ่งดังที่เราทราบกันดีว่าศาสนาอื่น ๆ มีที่มาและมีที่
    ไปเป็นอย่างไร

    หลักการทางศาสนาเป็นอย่างไร
    อยู่ระดับไหน ตามเอกสารที่ได้นำเสนอไปแล้ว
    เรื่องนี้ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมมาตั้งแต่สมัย
    หรือยุคล่าอาณานิคม ขณะนี้ยังมีส่วนที่เชื่อมโยงของ
    เก่าอยู่ เรื่องนี้ยังได้รับการเสนอในที่ประชุม
    ของกลุ่มล่าอาณานิคมใหม่อยู่เสมอ


    ๒. ด้านโหราศาสตร์ ทำให้คนทั้งโลกดูแคลน
    โหราศาสตร์ว่าเป็นเรื่องงมงาย หรือเป็นเรื่องน่า
    รังเกียจของสังคมยุคใหม่ไป และเป็นเรื่องที่ห่างไกล
    จากศาสนาพุทธ

    การนำเสนอในที่นี้จะชี้ให้เห็นว่า โหราศาสตร์ที่แท้คือโหราศาสตร์ไทยได้ถือกำเนิด
    มาจากต้นกำเนิดโดยคนชาติไทยที่อยู่ในพระพุทธ
    ศาสนา มีความผูกพันและสัมพันธ์กับพระพุทธ
    ศาสนาอย่างใกล้ชิด ห่างกันไม่ได้ ในสมัยพุทธกาล
    พระพุทธเจ้าทรงยกย่องและมีพุทธานุญาตให้มีการ
    ศึกษาโหราศาสตร์ในหมู่พระสงฆ์สาวกของพุทธองค์
    พุทธศาสนิกชนได้ศึกษาและนำมาใช้ทั้งในด้าน
    ของการเป็นตำราพิชัยสงคราม แบบแผนของการ
    ปกครองบ้านเมือง ทำให้บ้านเมืองมีความเจริญ
    รุ่งเรือง กองทัพเข้มแข็ง ศาสนามีความมั่นคง
    แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงและบิดเบือนประวัติศาสตร์
    แล้วกลับกลายเป็นว่าโหราศาสตร์เป็นเรื่องน่ารัง
    เกียจ การนำเสนอในที่นี้จะชี้ให้เห็นต่อไปว่า
    สิ่งที่กำลังมีความเชื่อกันอยู่ในขณะนี้เป็นเรื่องที่ผิด



    ๓. บิดเบือนเรื่องชนชาติไทย การเขียนประวัติ
    ศาสตร์โดยนักล่าอาณานิคม และต่อเติมด้วยนัก
    ประวัติศาสตร์ที่ถูกชี้นำแกมบังคับด้วยนักล่าอาณา
    นิคมทำให้เห็นว่าชนชาติไทยไม่มีอะไรดีให้เห็น
    และไม่สมควรแก่การยกย่องหรือภาคภูมิใจ ทำให้
    คนไทยที่อ่านประวัติศาสตร์ของตนเองแล้วเกิด
    ความท้อแท้และรังเกียจชนเผ่าของตน ไม่มีความรัก
    ไม่มีความนิยมในชนชาติของตน

    ซึ่งก็เป็นไปตาม เจตนารมณ์ของผู้ที่บิดเบือนประวัติศาสตร์นั้น
    แต่การนำเสนอในที่นี้จะเปิดเผยให้รู้ว่าสิ่งที่เราได้
    ศึกษาที่ผ่านมาล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ไม่ได้ตั้งอยู่
    บนพื้นฐานของความเป็นจริง

    ความจริงคือสิ่งที่เรา จะนำเสนอต่อไป เมื่อคนไทยได้อ่านประวัติศาสตร์
    ของตนใหม่แล้วจะมีความรู้สึกขึ้นในทันทีว่ามีความ
    ภาคภูมิใจในชนชาติของตนเอง เมื่อคนไทยมี
    ความภาคภูมิใจในชนชาติของตนเองจะทำอะไรก็
    ไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าคนมีชาตินิยมจะทำอะไรก็ได้
    สิ่งนี้แหละครับเป็นสิ่งที่ชนชาติอื่นกลัวกันเหลือเกิน
    จึงพยายามอย่างยิ่งยวดที่จะทำลายความภาคภูมิใจ
    อันนี้ของคนไทยลงไปด้วยการบิดเบือนทุกสิ่งทุกอย่าง
    และอย่างน้อยที่จะชี้ให้เห็นในที่นี้คือ การบิดเบือน
    ๓ เรื่องหลัก ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคนไทย


    ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่าขบวนการที่ทำงานเชื่อม
    ต่อหรือสืบทอดเจตนารมณ์ในเรื่องการบิดเบือน
    ประวัติศาสตร์ ศาสนาและโหราศาสตร์ของชน
    ชาติไทยนั้นยังต่อเนื่องมาถึงปัจจุบันนี้

    ดังเช่น ที่ นิติภูมิ ได้เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์
    ไทยรัฐในวันที่ ๖ ,๗ ส.ค.๕๐ ที่ผ่านมา ที่กล่าวถึง
    การทำลายพุทธของศาสนาอื่นในเกาหลีใต้ที่มุ่ง
    ยึดครองประเทศอย่างเบ็ดเสร็จด้วยการเปลี่ยน
    แปลงศาสนาของชาวเกาหลีใต้

    การให้การสนับสนุน ด้านเศรษฐกิจแก่นักธุรกิจ ถ้าใครเปลี่ยนศาสนา
    จากพุทธเป็นคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ก็จะให้
    การสนับสนุนด้านเงินทุนเพื่อสร้างสายป่านให้
    ยาวในการทำธุรกิจ คนโลภที่ไม่ได้คำนึ่งถึงความ
    สำคัญของศาสนาว่าเป็นรากเหง้าของวิถีชีวิต ซึ่งกำลัง
    ถูกทำลายอย่างย่อยยับก็รับกันไป ในที่สุดก็เห็น
    ชาวเกาหลีใต้ค่อย ๆ กลายเป็นคริสต์คนแล้วคนเล่า
    โดยการที่แลกกับการทุ่มเงินเข้าไปในประเทศสร้าง
    ธุรกิจและวัฒนธรรมของชาวเกาหลีใต้ให้บูม
    เดี่ยวนี้วัฒนธรรมของเกาหลีไม่ว่าจะเป็นหนัง
    เป็นละคร เป็นนักร้องล้วนแล้วแต่เป็นเกาหลีใต้
    ธุรกิจก็เป็นของเกาหลีใต้ อย่าคิดว่าเรื่องนี้จะเกิด
    ขึ้นได้ฟรี ๆ อยู่ดี ๆ เศรษฐกิจถูกตีกระหน่ำเมื่อ
    ปี ๒๕๔๐ พร้อม ๆ กับประเทศไทยอีกไม่นานกลาย
    เป็นประเทศยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจเกือบอันดับ
    ๑๐ ของโลกในเวลานี้ เรื่องนี้ย่อมไม่ใช่เรื่องธรรม
    ดา เหมือนอะไรครับ เหมือนการที่ญี่ปุ่นบูมในช่วง
    สงครามเย็น ไต้หวันบูม เกาหลีใต้ ฮ่องกง
    เรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ใช่ว่ามีมนุษย์ต่างดาวเอา
    ทรัพย์สินลงมาหย่อนลงในประเทศนั้น ๆ หรือมี
    พระเจ้าเกิดนึกสนุกอยากให้คนในพื้นที่นั้น ๆ หรือ
    ประเทศนั้น ๆ เกิดมีความชาตินิยม หรือมีความ
    เก่งขึ้นมาในบัดดล แต่มีแรงกระตุ้นที่ภาษาวิชาการ
    เรียกว่า Big Push จำนวนมหาศาลเข้าไปใน
    ประเทศนั้น และต้องดูเป้าหมายต่อไปว่าผู้ทำ
    ทำเพื่ออะไร ก็เพื่อที่จะเป็นแนวปิดล้อมจีน รัสเซีย
    ในยุคนั้นนั่นเอง แล้วในยุคนี้หละ เมื่อมี big push
    เข้าไปในเกาหลีใต้ เป้าหมายที่ต้องการ
    น่าจะเป็นเรื่องอะไร ก็น่าที่จะพอเดากันออก

    เรื่องศาสนาเป็นเรื่องที่เป็นข้อต่อรองกับผลประโยชน์
    ทางด้านธุรกิจหรือความรุ่งเรืองของธุรกิจและความ
    รุ่งเรืองของประเทศ แต่เมื่อเกาหลีใต้หมดความ
    หมายสำหรับเป้าหมายแล้วก็จะถูกทอดทิ้งไปในที่สุด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มีนาคม 2012
  9. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    พระพุทธเจ้า ....โหราศาสตร์ ....คนไทย ( ๔) ( คัมภีร์มหาจักรพรรดิราช)

    คัมภีร์มหาจักรพรรดิราช

    การปกครองของอาณาจักรศรีสุวรภูมินั้น ใช้ระบบการปกครองจากคัมภีร์มหาจักรพรรดิ์ราช อันรจนาโดยฤาษีโคตมะ ต้นตระกูลโคตมโค ตร ซึ่งใช้เป็นหลักในการปกครองอาณาจักรชนเผ่าไทยอันกว้างใหญ่ไพศาลถึง ๔ คาบสมุทร หลักฐานของการใช้ “คัมภีร์มหาจักพรรดิ์ราช” ในการปกครองด้วยระบบของกลุ่มดาวนักษัตร และดวงจันทร์นั้น ปรากฎตามพระไตรปิฎกบาลี ซึ่งกล่าวถึงการแบ่งอาณาจักรตาม “กลุ่มดาวนักษัตรทั้ง ๑๒ “ การปกครองระบบ ๑๒ นักษัตรนี้มี มาก่อนพุทธกาลนับพัน ๆ ปี ดังมีปรากฎอยู่ในพระบาลีพุทธพจน์ว่า

    ปญฺญา หิ เสฎฺฐา กุสลา วทนฺติ
    นกฺขตฺตราชาริว ตารกานํ

    ปัญญาประเสริฐสุดดุจพระจันทร์ ผู้เป็นราชาแห่งนักษัตร ย่อมประเสริฐกว่าดาราทั้งหลาย

    พระพุทธองค์ทรงยกพระจันทร์ที่เป็นราชาแห่งนครนักษัตรดังกล่าวนั้น ได้บ่งชี้ให้ทราบว่าในยุคก่อนพุทธกาลนั้นได้มีการปกครองแบบ “นคร ๑๒ นักษัตร” เมื่อตรวจสอบหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของชมพูทวีปทุกคัมภีร์ไม่ปรากฎว่ามีการปกครองแบบ ๑๒ นค แต่เมืท่อตรวจหลัฐานทางโบราณคดีของศรีสุวรภูมิ จึงไได้พบว่า “อาณาจักรศรีวิชัย” หรือชื่อในยุคโบราณ คือ “แคว้นสิริธรรม” ได้ปกครองาณจักรโดย “ระบบนคร ๑๒ นักษัตร” แห่งเดียวเท่านั้นในโลก ซึ่งหลักฐานนั้นระบุไว้ ดังนี้

    ๑. เมืองสายบุรี ใช้ดาวปีชวด ให้ตราเมืองเป็นรูปหนู

    ๒. เมืองปัตตานี ใช้ดาวปีฉลู ใช้ตรเมืองเป็นรูปวัว

    ๓. เมืองสายบุรี ใช้ดาวปีขาล ใช้ตราเมืองเป็นรูปเสือ

    ๔. เมืองกะลันตัน ใช้ดาวปีเถาะ ใช้ตราเมืองเป็นรูปกระต่าย

    ๕. เมืองปะหัง ใช้ดาวปีมะโรง ใช้ตราเมืองเป็นรูปนาค

    ๖. เมืองไทรบุรี ใช้ดาวมะเส็ง ใช้ตราเมืองเป็นรูปงู

    ๗. เมืองพัทลุง ใช้ดาวปีมะเมีย ใช้ตราเมืองเป็นรูปม้า

    ๘. เมืองตรัง ใช้ดาวปีมะแม ใช้ตราเมืองเป็นรูปแพะ

    ๙. เมืองชุมพร ใช้ดาวปีวอก ใช้ตราเมืองเป็นรูปลิง

    ๑๐. เมืองบันทายสมอ ใช้ดาวปีระกา ใช้ตราเมืองเป็นรูปไก่

    ๑๑. เมืองสงขลา (สะอุเลา) ใช้ดาวปีจอ ใช้ตราเมืองเป็นรูปหมา

    ๑๒. เมืองกระ (บุรี) ใช้ดาวปีกุน ใช้ตราเมืองเป็นรูปหมู

    หมายเหตุ ใช้ชื่อเมืองตามปัจจุบันเพื่อให้เข้าใจง่าย หลังพุทธกาลการปกครองระบบ ๑๒ นักษัตรได้ถูกนำมาใช่โดยกษัตริย์ไทย ราชวงศ์เจ้า (จีนออกเสียงเป็นโจว) คือยุคสมัยพระเจ้าไทยดี ได้แบ่งการปกครองออกเป็น ๑๒ ส่วน เรียกว่า “สิบสองเจ้าไท” ต่อมาเพี้ยนเป็น “สิบสองจุไท” ทั้งหมดล้วนมากจาก “คัมภีร์มหาจักพรรดิราช” ทั้งสิ้น

    แคว้นสิริธรรม หรือสิริธรรมนคร นี้มีมานับแต่สมัยพระโสภิตพุทธเจ้า ดังปรากฎในพระบาลีสุตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ และคัมภีร์มธุรัตถวิลาสินี ว่า

    “พระโสภิตพุทธเจ้าทรงประสูติที่เมืองสิริธรรมนคร”

    ทั้งยักเป็นหารยืนยันโดยหลักฐานอย่างชัดเจนว่า “ชนชาติไทยนั้นได้มีมาแล้วแต่ก่อนคร้งพุทธกาล”

    เมื่ออัญชัญราช และพระเจ้าสีหตนุราช (พระราชบิดาของพระเจ้าสุทโธทนะ ) และกาลเทวิลดาบส อนุชาของพระเจ้าอัญชัน (ผู้พยากรณ์พระพุทธเจ้า) ทั้ง ๓ พระองค์นี้ได้ร่วมกันลบศักราชกาลียุคเสียแล้ว ตั้งศักราชขึ้นใหม่เรียกว่า อัญชันศักราช (ก่อนพุทธกาล ๑๔๘ ปี) จากนั้นจึงได้แบ่งกันปกครองของชมพูทวีปออกเป็น ๑๖ แคว้น ตามหลักแหล่งคัมภีร์มหาจักรพรรดิราช (สุวรรณโคมคำ) โดยใช้หลักโหราศาสตร์ว่าด้วยการแบ่งส่วนแห่งดาวจันทร์ คำว่า “โสฬส” ซึ่งแปลว่า “๑๖ ส่วน” นั้น คือส่วนของดาวจันทร์ที่ถูกแบ่งโดยวิชชาโหราศาสตร์ อันเป็นพระบาลีว่า “กลา โสฬสโม ภาโค…..กลํ นาคฺฆติ โสฬสึ” ๑ ใน ๑๖ ส่วน ของจันทร์อันเรียกว่าโสฬส และนอกจากนั้นยังแสดงให้เห็นว่า โหราศาสตร์ได้ถูกใช้ในการปกครอง โดยเฉพาะการแบ่งส่วนของแคว้น ภายหลังแบ่งเป้น ๑๖ แคว้น ตามหลักแห่งการแบ่งส่วนดาวจันทร์ ปรากฎพระพุทธเทศนาเรื่องแคว้นทั้ง ๑๖ ได้ดังนี้

    “…….เสยฺยถาปิ วิสาเข โย อิเมสํ โสฬานํ มหาชนปทานํ
    ปูตสตฺตรตนานํ อิสฺสราธิปจฺจํ รชฺชํ กาเรยฺย เสยฺยถีทํ องฺคานํ มคธานํ กาสีนํ โกสลานํ วชฺชีนํ มลฺลานํ เจตีนํ วํสานํ กุรูนํ ปญฺจาลานํ มจฺฉานํ สุรเสนานํ อสฺสกานํ อวนฺตีนํ คนฺธารานํ กมฺโพชานํ อฎฺฐคสมนฺนาคตสฺส อุโปสถสฺส เอตํ กล๊ นาคฺฆติ โสฬสึ….”

    ดูก่อนวิสาขา ผู้ใดหากจะพึงครอบครองราชาธิไชย ๑๖ มหาชนบท คือ อังคะ มคธ กาสี โกศล วัชชี มัลละ เจตี วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ อัสสกะ อวันตี คันธาระ และกัมโพชะ อันมีรัตนทั้ง ๗ มากมาย ราชันนั้นก็มีราคาค่างวดไม่ถึงส่วนหรือเสี้ยวที่ ๑๖ แห่ง( ผล ของอุโบสถ ศีล ทั้ง ๘…..

    สิ่งที่เห็นได้อย่างเด่นชัด คือพระสัมมาสัมมาพุทธเจ้าได้ทรงใช้ภาษาในสูตรคำนวณเวลาโหราศาสตร์ ในการเทศนา เพราะคำว่า “ ๑๖ ส่วน “ นั้น คือส่วนของดาวจันทร์ที่ถูกแบ่งโดยวิชาโหราศาสตร์ อันเป็นพระบาลีว่า “กลา โสฬสโม ภาดค ….กลํ นาคฺฆติ โสฬสึ” ๑ ใน ๑๖ ส่วนของจันทร์อันเรียกว่า โสฬส และนอกจากนั้นยังแสดงให้เห็นว่า โหราศาสตร์ ได้ถูกใช้ในการปกครอง โดยเฉพาะการแบ่งส่วนของแคว้นมาแต่ก่อนพุทธกาล.
    6

    การนำคัมภีร์สุวรรณโคมคำ หรือมหาจักรพรรดิราช มาใช้ในการตั้งชื่อแคว้น และนามของราชวงศ์กษัตริย์ เช่น “แค้วนกัมโพช” คำว่า “กัมโพช” มาจากการสนธิคำสองคำ คือ “กัม” คำหนึ่ง และ “โพช” คำหนึ่ง ทั้งสองคำนี้มาจากชื่อของดวงดาวและราศีที่กำหนดไว้ในคัมภีร์มหาจักพรรรดิราช ว่า “กัม” ได้แก่นามของดาวเสาร์ ซึ่งมีชื่อว่า “กัมพลนาค” ส่วนว่า “โพช” คือคำใช้เรียก “ราศีพฤษภ” อันมีเครื่องหมายคือ “วัว” ได้แก่ “ราชวงศ์โคตมะโค ตร” และตามคัมภีร์ สุวรรณโคมคำ ดาวเสาร์ จะมีอำนาจที่สุดในราศีพฤษภ ดังนั้นการตั้งแคว้นกัมโพชะ ขึ้นนี้โดยความหมายเพื่อให้เกิดอำนาจแก่ “ราชวงศ์โคตมะโค ตร” ด้วย พร้อมกันนั้น ได้จัดสร้างเหรียญเงินที่ใช้ภายในแคว้นกัมโพชเป็นรูปวัว พร้อมกับประกาศความเป็นโคตมะโค ตรทั้งฝ่าย “จันทร์วงศ์และอาทิตย์วงศ์” ว่ามีกำเนิดจากโค ตรเดียวกัน ปรากฎเป็นหลักฐานทางโบราณคดีที่ขุดพบ ในดินแดนของแคว้นกัมโพชนั้นด้วย



    เหรียญเงินของแคว้นกัมโพช
    จาก “จากรึกกัมโพช” ได้ระบุรายนามของกษัตริย์ไว้ปรากฎว่าล้วนแล้วแต่เป็นชนชาติไทยทั้งสิ้น ดังนี้

    เจ้ากัมโพชะรัฎฐะมหาวงศ์ปวรสุธรรมราชา เจ้าเมืองนาย

    เจ้ากัมโพชะรัฎฐะมหาวงศ์ศรีสุธรรมราชา เจ้าเมืองไลคำ

    เจ้ากัมโพชะรัฎฐะมหาวงศ์ศรีธรรมราชา เจ้าเมืองปั่น

    เจ้ากัมโพชะรัฎฐะมหาวงศ์ศรีราชา เจ้ามืองปุ

    เจ้ากัมโพชะรัฎฐะมหาวงศ์ เจ้าเมืองหมอกใหม่

    เจ้ากัมโพชะรัฎฐะมหาวงศ์ เจ้าเมืองยอง

    เจ้ากัมโพชะรัฎฐะมหาวงศ์ เจ้าเมืองซีเป๊าะ

    และเมืองแสนหวีนั้นเดิมชื่อว่า “นครศิริวิลาสมหากัมโพช” และดินแดนแถบนี้ก็คือ “กัมโพชะตะวันตก” ซึ่งตั้งนามเมือง นามกษัตริย์ตาม “คัมภีร์สุวรรณโคมคำ หรือมหาจักรพรรดิราช” นั้น


    สิ่งที่จะสังเกตได้อย่างหนึ่งของความเชื่อมโยงอย่างลึกซึ้งของ “คัมภีร์สุวรรณโคมคำ” หรือมหาจักรพรรดิรราช” กับพระพุทธศาสนา คือการใช้อัตรา “ ๑๖ ส่วน ของดวงจันทร์” กับการปฏิบัติทางสมาธิจิต และระดับญาณด้วยรวมทั้งการกำหนดวันอุโบสถ สังฆกรรม ฯลฯ ล้วนเกี่ยวข้องกับการโคจรของดวงจันทร์และกลุ่มดาวฤกษ์ ๒๗ กลุ่ม อย่างชัดเจน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มีนาคม 2012
  10. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    พระพุทธศาสนา....โหราศาสตร์...คนไทย (๕) ศรีสุวรภูมิกับโคตมะโค ตร

    ศรีสุวรภูมิ กับ โคตมะโค ตร


    ในพระไตรปิฎก อรรถคาถานิกเขปกัณฑ์ เรียก เมืองราดว่า ตัมพภูมิ หรือ ตัมพนคร ซึ่งแปลว่า “ แผ่นดินสีแดง” เพราะทุกอย่าล้วนก่อสร้างด้วยอิฐดินเผาสีแดงทั้งสิ้น

    ๑ . นครแห่งอิฐสีแดง เมืองราด หมายถึงเมืองที่มีแต่ดินสีอรุณรุ่งสีแดง (ตัมพนคร - บางแห่งก็เรียกว่า ตัมพรลิงค์ คืออาณาจักรศรีวิชัย ตัมพ เป็นภาษาบาลีแปลว่า แดง) ซึ่งภาษาไทยในยุคโบราณจะเรียกสีแดงว่า “ชาด” และได้เพี้ยนมาเป็นเมืองราด ประชาชนที่นี่เผาอิฐและทำภาชนะดินเผาเป็นหลัก ดังนั้น ในที่สุด สีแดง จึงกลายเป็นชื่อสัญลักษณ์ของเมืองนี้

    ๒ . อิฐ ดินเผาซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการก่อสร้าง จึงเป็นสินค้าออกที่สำคัญสิ่งหนึ่งในหลายสิ่ง ที่สร้างความมั่งคั่ง ความเจริญให้กับเมืองราดอย่างรวดเร็ว

    ๓. และขยายเป็นมหาอาณาจักรในที่สุด ทำให้สีแดงนี้ ได้รับการยอมรับจากทุกอาณาจักรว่า เป็นสีของความเจริญรุ่งเรือง และความมีอำนาจ




    ตามปฐมสมโพธิกถาและพระบาลีว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระบรมศาสดาของพระพุทธศาสนา ทรงตรัสรู้อริสัจ ๔ คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เป็นศาสดาเอกของโลก ก่อนศาสดาใดอุบัติในช่วง ๕๐๐๐ ปีมานี้ เดิมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อนทรงผนวชนั้น ชื่อว่าเจ้าชายสิทธัตถะ พระราชบิดาชื่อว่าพระเจ้าสุทโธทนะ และพระนางสิริมหามายาพระราชมารดาเป็นชนอริยกะ สายศากยะวงศ์ แห่งชนชาติอริยกะ ขยายอาณาจักรมาจากถิ่นอื่นเข้าสู่ตอนเหนือ และตอนกลางชนพูทวีปแต่บรรพกาล


    ในภาษาจีน เซี๊ยะโทว หรือซิถู แปลว่า แผ่นดินสีแดง ได้ปรากฎในจดหมายเหตุภาษาจีนของ จางซุ่น ขุนนางจีน ซึ่งเดินทางสู่ศรีสุวรภูมิในช่วง พ.ศ. ๑๐๔๕ ก่อนที่จะย้ายราชธานีจากเมืองราดไปอยู่ที่อริมันทนบุรีในปี ๑๑๘๕ (สมัยพระยากาวัณดิศราชหรือ อนุรุธธรรมิกราช) ๑๔๐ ปีต่อมา อันเป็นระยะที่ทะเลได้ถดถอย จากผืนแผ่นดินใหญ่ใกล้กับสภาพทางภูมิศาสตร์ปัจจุบันแล้ว ข้อความในจดหมายเหตุจีนนั้นบรรยายไว้ว่า

    “…..กษัตริย์ซิถู หรือเซี๊ยโท้ว เป็นโค ตรเดียวกับพระพุทธเจ้า (ฮุดโจ้ว) พื้นดินและสิ่งก่อสร้างในนครหลวงนี้ล้วนเป็นสีแดงประเทศนี้จึงได้ชื่อว่า เซี๊ยะโท้ว(ซิถู) ชื่อวงศ์ของพระเจ้าแผ่นดิน คือ โคตม (อ่านว่า โคตะมะ อันเป็นต้นวงศ์ของวงศ์ใหญ่ทั้ง ๒ คือ อาทิตย์วงศ์ และจันทรวงศ์) พระเจ้าแผ่นดินทรงพระนามว่า ลีฟู โตเส พระองค์ครองราชย์ มา ๑๔ ปีแล้ว พระราชบิดาของพระองค์มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ออกทรงผนวชเป็นพระสงฆ์ตลอดชีพ ทรงมีพระมเหสีสามองค์ ล้วนเป็นราชธิดาของกษัตริย์ข้างเคียง พระราชวังของกรุงเซี๊ยะโท้วมีประตู ถึง ๓ ชั้น ชั้นหนึ่งห่างกันร้อยก้าว แต่ละประตูมีภาพเขียนเป็นเทวดาเหาะ ภาพพระโพธิสัตร์ และเทพยดาอื่น ๆ ตามประตูแขวนดอกไม้ทองและระฆังใบเล็ก ๆ มีผู้หญิงหลายสิบคนประโคมดนตรี ถือดอกไม้ทองคำ เครื่องประดับประดาอื่น ๆ มีผู้ชายแต่งกายเป็นทวารบาล (ซิง-กัง) ยืนเฝ้าประตูพระราชวัง พวกเฝ้านอกประตูวังถืออาวุธสำหรับรบชนิดต่าง ๆ พวกเฝ้าข้างในประตูถือผ้าขาวยืนอยู่ตรมทางเดิน มีกลีบดอกไม้หอมอยู่ในถูงสีขาว อาคารต่าง ๆ ในพระราชวังประกอบด้วยพระที่นั่งติดต่อกันออกไป สร้างกันมาแต่ครั้งโบราณนานมาก่อนพุทธเจ้า (ฮุดโจ้ว)และมีประตูอยู่แต่ทางทิศเหนือ….. “


    ข้อความว่า “กษัตริย์เซี๊ยะโท้วมีโค ตรตระกูลเดียวกับพระพุทธเจ้า” นั้นได้ปรากฎจดหมายเหตุราชวงศ์สุย บันทึกยืนยันเป็นหลักฐานไว้ตรงกันว่า

    “กษัตริย์แคว้นเซี๊ยะโท้ว (รักตมฤติกา) มีแซ่เดียวกันกับตระกูลของพระสมณโคดมพุทธเจ้า”
    ข้อความตามบันทึกของจางซุ่น ในส่วนที่ว่า

    “พระราชวังเมืองราดนี้ ได้สร้างกันมาก่อนพระพุทธเจ้า (ฮุดโจว้)”
    ตรงกันกับข้อความในพระไตรปิฎก ที่ระบุไว้ชัดว่า “สุวรภูมิ มีความเจริญมากว่า ๓๐๐๐ ปีก่อนสมัย
    พุทธกาล ปรากฎอยู่ในพระสุตันตปิฎก มัชฌิมานิกายว่า

    “…ในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้านั้น ดินแดนสุวรภูมิ เป็นแดนที่อุดมสมบูรณ์และเป็นที่ประทับ ของพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ ได้เสด็จมาประทับแล้วในการนี้ พระกัสสปได้เสด็จมาประทับแล้วในกาลนี้ พระโคดมพุทธเจ้าก็ได้เสด็จมาประทับอีก ๑ พระองค์..”

    ตามจดหมายเหตุข้อที่ว่ากษัตริย์ซิถู หรือเซี๊ยะโท้ว เป็นโค ตรเดียวกับพระพุทธเจ้า (ฮุดโจ้ว) นั้นตรงกับข้อมูลของการขยายอาณาจักรสู่ชมพูทวีในครั้งบรรพกาลของชนชาติไทย และตั้งรกรากอยู่ฝั่งแม่น้ำพรหมบุตร และลึกขึ้นสู่ตอนเหนือของชมพูทวีป อันได้แก่เนปาลและอาฟกานิสถานปัจจุบัน ซึ่งได้อ้างไปแต่ต้น พร้อมนั้นได้ ปรากฎหลักฐานยืนยันความมีอยู่จริงของอาณาจักร ซิถู หรือเซี๊ยะโท้ว นี้ ปรากฎในจดหมายเหตุทางราชการเวียดนาม ชื่อ ต้าหนานฉือลู่ เล่มที่ ๑ บทที่ ๔ หมวดประวัติศาสตร์ของต้าหนาน ว่า

    เสียนหลอ ในสมัยโบราณเรียกว่า อาณาจักร ซิถู (เซี๊ยะโท้ว) แยกออกเป็นสองประเทศ ประเทศหนึ่ง เรียกว่า เสียน ประเทศที่สองเรียกว่า หลอกฮู่ ในประเทศเสียน ที่ดินไม่สมบูรณ์ จึงไม่เหมาะที่จะปลูกพืช ส่วนหลอฮู่ มีที่ราบอุดมสมบูรณ์ ประเทศเสียนต้องอาศัยหลอฮู่ในด้านอาหารเสมอ ในสมัยราชวงศ์สุย ได้ส่งทูตไปที่เสียน และหลอฮู่ หลอฮู่มีพระเจ้าแผ่นดินแซ่ฉีถัง ถึงสมัยต้นราชวงศ์หยวน หลอฮู่ได้ส่งทูตและเครื่องบรรณาการไปบ่อย ๆ ภายหลังหลอฮู่เข็มแข็งขึ้นมาจึงได้ปกครองเสียนด้วย สองประเทศรวมเข้าด้วยกันเรียกว่า “เสียนหลอฮู่ ถึงต้น ราชวงศ์หมิงก็ได้ส่งบรรณาการไปถวายราชวงศ์หมิงได้ให้ตรากที่มีคำจารึกว่า เสียนหลอกั๊วะอ๋อง (กษัตริย์แห่งเสียมหลอป ตั้งแต่นั้นทั้งสองประเทศที่รวมกันก็เรียกในชื่อว่า เสียนหลอ…” (ผู้แปลจากต้นภาษาจีนกลางคือเจ็ง ซิม แซ่เอี้ย ต้นฉบับที่ใช้แปลคือ ฉบับยพิมพ์ของสถาบันภาษาศาสตร์ เคโอะ ประเทศญี่ปุ่น)

    ดังนั้นจึงไม่เป็นปริศนาอีกต่อไปว่าไฉน สถาบันพระมหากษัตริย์แห่งชนชาติไทยจึงต้องเป็นพุทธมามกะ เท่านั้น แม้ปัจจุบัน พ.ศ. ๒๕๕๐ จะเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ก็ยังระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ ว่า “พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ นั้นด้วยสืบสายพระโลหิตในโค ตรวงศ์เดียวกันแต่ครั้งพุทธกาล ดังหลักฐานอันได้แสดงมา ฉะนั้นทำให้พระพุทธศาสนาได้กระจายทั่วในดินแดนสุวรภูมิ จึงเรียกว่า เป็น “ไทยแดนพุทธ” ตลอดมา

    หลักฐานชิ้นสำคัญที่ขุนนางจางซุ่น ได้ยืนยันความเป็นโคตมะโค ตรของพระมหากษัตริย์ไทย อันเป็นวงศ์เดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือ ข้อความระบุชุดถึงเครื่องหมายโค ตรของกษัตริย์

    “….มีแท่นบูชาทำด้วยไม้บุทองคำ บุเงิน และประกอบขึ้นด้วยไม้ที่มีกลิ่นหอมถึง ๕ ชนิดต่าง ๆ กัน ด้านหลังของแท่นบูชานี้มีโคมไฟทองคำแขวนอยู่ สองข้างเก้าอี้มีกระจกเงาข้างละบาน หน้ากระจกเงาวางหม้อน้ำลงไป ข้างหน้าหม้อน้ำ แต่ละหม้อมีที่เผาของหอม (กระถางธูป) บูชาวัวทองคำเครื่องหมายแห่งโค ตรวงศ์โคตมะของกษัตริย์เซี๊ยะโท้วนอนอยู่ ข้างหน้าวัวทองคำ แขวนผ้าปักด้วยเพชรพลอย มีพัดอย่างสวยงามอยู่ซ้ายขวาสองข้าง…..”


    ลวรัฐ ลวทยฺย ดินแดนของนักแสวงโชค
    ยังมีส่วนที่น่าสนใจกล่าวถึงนครในอาณาจักรศรีสุวรภูมิ ชื่อ ลวรัฐ หรือลวทยฺย (ไทยเมืองลว) ปรากฎในพระไตรปิฎก สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิเทส อันได้กล่าวถึงเหตุการณ์ในสมัยก่อนพุทธกาล (สมัยพระมหาชนก)ว่า

    “เมื่อแสวงหาโภคทรัพย์ ย่อมแล่นไปสูมหาสมุทรด้วยเรือ….ไปลวรัฐ”

    (ปเรโต สโมหิโต สมนฺนาคโต โภเค ปริยสนฺโต นาวาย…..ลวํ คจฺฉติ..”)


    จึงทำการค้นคว้าต่อไปว่า “เหตุใด ลวรัฐจึงเป็นที่แสวงโชคหาโภคทรัพย์ของชนยุคโบราณ และต้องขอขอบพระคุณนักโบราณคดีชาวไทยที่ขุดค้นจนได้หลักฐานว่ามีการทำเหมืองทองแดงในบริเวณหุบเขาวงพระจันทร์ อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี และพบร่องรอยการขุดแร่จากบริเวณเขาพระบาทน้อย เขาทับควาย เขาพุคา

    (ในพื้นที่ของศูนย์กลางทหารปืนใหญ่ ลพบุรี ปัจจุบัน ส่วนโรงงานที่ใช้แยกแร่ แหล่งที่มีการถลุงแร่ทองแดงใหญ่ที่สุดคือ โนนป่าหวาย บ้านห้วยโป่ง อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี นอกนั้นจะกระจัดกระจายอยู่ทั่วทั้งจังหวัดลพบุรี เท่าที่สำรวจพบมาจนถึงขณะนี้ (ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ) โรงถลุงแร่ทองแดงย่อยที่พบคือ บ้านห้วยใหญ่ เนินหมากลา อ่างเก็บน้ำนิลกำแหง บ้านพรหมทิน บ้านท่าแค บ้านทุ่งสิงโต เหตุใดจึงได้นำเรื่องของเหมืองทองแดงของเมืองลพบุรีมากล่าว ทั้งนี้ก็เพราะว่า ทองแดง คือ เป็นวัตถุดิบ ของส่วนผสมสำคัญในการผลิตสำริด

    เรียกว่า เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดคำเรียกขานดินแดนแถบนี้ว่า “สุวรภูมิ” โดยเฉพาะแหล่งโบราณคดีนิลกำแหง โนนหมากลา บ้านท่าแค ยังได้พบอาวุธที่ทำด้วยสำริด เช่น ขวานมีบ้อง (Socketed Celt) พร้อมกับ “ขวานมีบ่า” แบบแม่พิมพ์ดินเผาชนิดแยกประกบกัน (๒ ชิ้น แยกกัน) และแม่พิมพ์ชนิดต่าง ๆ ซึ่งได้พบในพื้นที่หลายแห่งทั่วจังหวัดลพบุรี แสดงให้เห็นถึงความเจริญด้านวิทยาการ และความสมบูรณ์ทางเศรษฐกิจของลพบุรีว่ามีมาแต่โบราณ ดังนั้นจึงเป็นการดึงดูดให้ชนทุกชาติหลั่งไหลกัน มาสู่ลพบุรี เพื่อแสวงหาโชค หรือการทำการค้าตามที่ปรากฎในพระไตรปิฎกนั้น


    ในส่วนของตโกละ หรือตโกลา เป็นเมืองท่าที่ที่เจริญทำเหมืองดีบุก ซึ่งเป็นวัตถุดิบส่วนผสมสำคัญใช้สำหรับทำสำริด คำว่า ตักโกละ ปรากฎในจารึกที่ ๒๖ เป็นภาษาไทยสุวรภูมิ ยุคร่วมสมัยพุทธกาล (ความสมบูรณ์ในแร่ดีบุกของไทย ในส่วนนี้ จึงเป็นส้นค้าออกมาทุกสมัย)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มีนาคม 2012
  11. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    พระพุทธศาสนา....โหราศาสตร์...คนไทย (๖) ชนชาติไทยในพระไตรปิฎก

    ต่อไปนี้คงไม่ต้องสงสัยกันอีกต่อไปว่า ทำไมคนไทยจำนวนมากจึงมีความผูกพันกับพระพุทธศาสนา ทำไมคนไทยจึงเป็นคนเก่งเฉพาะตัว มีความเป็นอัจฉริยะ บางคนถึงกับได้รับการยกย่องในเชิงประณามว่าเป็นศรีธนนชัย เพราะฉลาดแกมโกง ความเก่งกาจสามารถไม่ได้ผุดขึ้นมาอย่างบัดดล ย่อมมีที่มาที่ไป ความฉลาดหรืออัจฉริยภาพเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ได้รับการสั่งสมมาตามสายพันธุ์ ถ่ายทอดมาทางพันธุกรรม

    แต่มีคนบางกลุ่มบางเผ่าพันธุ์ที่พยายามทำให้การเชื่อมต่อของเผ่าพันธุ์ขาดหายไปด้วยการเขียนประวัติศาสตร์ขึ้นมาใหม่จนกระทั่งคนไทยไม่รู้ที่มาที่ไปของตัวเอง ทำให้ไม่เห็นความสำคัญของความเป็นอัจฉริยภาพที่มีอยู่ในตัวเอง อยู่ในเผ่าพันธุ์ของตัวเอง ไปหลงใหลได้ปลื้มกับสิ่งจอมปลอมอื่น ๆ และเหยียดหยามเหยียบย่ำชนเผ่าตัวเอง

    รวมทั้งบางกลุ่มคนพยายามที่จะทำลายวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมของตัวเองโดยไปคบคิดกับชนชาติอื่นศาสนาอื่นดังเช่นที่ได้ดำเนินการมาและได้ผลมาโดยตลอดย่างยาวนาน........................................................

    ชนชาติไทยในพระไตรปิฎก

    ณ หมู่บ้านหนึ่งชื่อว่า อิจฉานังคละ ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่พักตระกูลโค ตรต่าง ๆ อาศัยอยู่ เช่น พราหมณ์ตระกูล จักกี ตารุกขะ โปกขรสาติ ชานุโสณี และที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือ พระไตรปิฎก ได้ระบุว่า ทูตการค้าของชนชาติไทย (โตไทย) ได้อยู่ในหมู่บ้านพราหมณ์มหาเศรษฐีนี้ด้วย ซึ่งก็ได้เฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในกาลนี้เช่นกัน หลายท่านอาจคิดว่าจะเป็นความบังเอิญหรือไม่ หรือว่าชื่อนามจะคล้องจองกันกับคำว่า “ไทย” กระมัง ซึ่งหากมีชนชาติไทยจริง ก็จะต้องมีปรากฎอยู่ในเมืองอื่น หรือสถานที่อื่น ๆด้วย ซึ่งพระไตรปิฎกจะต้องบันทึกไว้อย่างแน่นอนถ้ามี เมื่อค้นต่อไปจึงพบจารึกไว้ระบุมีโตไทยอยู่ในหมู่บ้านอื่น นอกจากหมู่บ้านที่กล่าวแล้วด้วย ในอรรถกถาโตเทยยมาณวกปัญหานิเทส โตเทยยสูตร ว่า
    “ พระตถาคตเจ้าทรงมีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ออกจากกรุงสาวัตถี จะเสด็จไปยังกรุงพาราณสีผ่านเทวสถานใกล้ “โตไทยคาม” (หมู่บ้านโตไทย) ตรัสสั่งให้พระอานนท์ ไปเรียกพราหมณ์ผู้หนึ่งซึ่งเป็นชาวไทย


    และในสุตันตปิฏก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส ได้ระบุไว้ ดังนี้ว่า

    “โตเทยฺยาติ ภควา”

    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพรามหณ์นั้นโดยเรียกว่า “โตไทย” ดังนี้ ฯ
    และยังมีปรากฏใสพระสูตรอื่นอีกมากแต่เรียกต่างกันไปเช่นใน ฆฏิการสูตรว่า

    “ตสฺส อธิปติตฺตา โตเทยโยติ สงฺขํ คโต”

    ตามภาษามคธหรือสันสกฤต ว่า “โตทยฺย” ตามภาษาบาลีว่า “โตเทยฺย”
    จากข้อมูลดังกล่าวนี้ทำให้เราได้ทราบว่า มีชนเผ่าไทยเข้าไปตั้งอหมู่บ้านอยู่ ณ กรุงสาวัตถีในชมพูทวีป (ประเทศอินเดีย) ตั้งแต่ครั้งพุทธกาล นอกจากนั้นในพระไตรปำฏนี้ยังระบุถึงชื่อหมู่บ้านของชนชาติไทยในกรุงสาวัตถี ว่า ชื่อหมู่บ้านเวภิฬ (เวภิฬฺคาม) และหมู่บ้านไทย (ทยฺยคาม) และอธิบายฐานะทางเศรษฐกิจของชนชาติไทยว่า อยู่ในขั้นมหาเศรษฐี มีความั่งคั่งร่ำรวย โดยเฉพาะ “โตไทย” มีทรัพย์มากถึง ๔๙ โกฏิ และเดินทางมาจากเมืองสุวรภูมิ


    ผู้ถูกเรียกขานว่าเป็นชาว“โตไทย” มีประเทศเดิมอยู่ในดินแดนใด มีคนไทยไปอยู่ในกรุงสาวัตถี ดังที่กล่าว ถึงในพระไตรปิฏกระบุว่ามีหมู่บ้านชนชาติไทยอยู่นั้นจริงหรือไม่ ปรากฎหลักฐานว่าผู้ที่เป็นชนชาติไทย ได้เดินทางจากปราณบุรี (อ.ปราณบุรี จ.ประจวบ ในปัจจุบัน )ไปค้าขายที่เมืองสาวัตถี และพักอยู่ ณ หมู่บ้านไทย ซึ่งสมัยนั้นปราณบุรี เรียกว่า สุนาปรันตกา ในครั้งนั้น ชาวไทยยังได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ปฏิบัติจนบรรลุเป็นพระอรหันต์ มีนามว่า “พระปุณณะอรหันตเถระ”


    ปรากฎในพระบาลีว่า
    “…..จณฺฑา โข ปุณฺณ สุนาปรนฺตกา” ได้ยินว่า สุนาปรันตรัฐ มีพี่น้องชาย ๒ คน ได้นำสินค้าขายถึงกรุงสาวัตถี มีที่พักไม่ไกลจากเชตวันวิหาร อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทับ ณ ที่นั้น ก็สมัยนั้น ชาวเมืองสาวัตถี บริโภคอาหารเช้าแล้ว อธิษฐานองค์อุโบสถศีลมีผ้าห่มขาว มีมือถือของหอม และดอกไม้เป็นต้น เพื่อไปกราบนมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อเขาเห็นคนเหล่านั้นจึงถามและได้ทราบว่า บัดนี้ได้มีพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธะบังเกิดขึ้นในโลกแล้ว จึงติดตามไปเผ้าพระพุทธองค์ พี่ชายเมื่อได้ฟังธรรมก็มีศรัทธา ประสงค์จะบวชในพระพุทธศาสนาจีงมอบสมบัติทั้งสิ้นให้น้องชายและบรรพชาโดยมีพระบาลีมหาเถระ เป็นผู้ให้สรณคมณ์ พระอานนท์เป็นอุปัชฌาย์ โดยพระพุทธองค์มีพระดำรัสว่า “ เอหิ ภิกขุ อุปสัมปทา” หลังจากได้ปฏิบัติจนได้งบรรบลุอรหันต์แล้ว จึงเดินทางกลับมายังสุนาปรัตตรัฐ ท่านได้เทศนาสั่งสอนเผยแผ่แก่ชนชาวไทย มีผู้ศรัทธาอุปสมบท และปฏิบัติได้บรรลุอรหัตต์ถึง ๕๐๐ รูป และท่านปุณณะอรหันตเถระ ได้อาศัยอยู่ ณ ถ้ำเมืองราด เรียกว่า ถ้ำฤษี (ปัจจุบัน เรียกว่า ถ้ำเขางู) ในยุคหลังได้มีการสร้างพระพุทธรูปพร้อมจารึกนามของท่านไว้เป็นหลักฐานปรากฎตราบเท่าทุกวันนี้
    คำจารึกถ้ำเขางู อ่านว่า “ชื่อ ปุณ วรฤษี งู คิร สมาธิ คุปฺต”


    ท่านปุณณะอรหันต์เถระ และได้เทศนาว้หลายแห่งปรากฎในพระไตรปิฎกเกี่ยวกับเทศนาของท่าน เช่น นิธิกัณฑสูตร เป็นต้น สุนาปรันตรัฐ และเรียกขานอีกชื่อหนึ่งว่าสุนาปารรัฐ อันเป็นชื่อเดียวกัน เนื่องจากชื่อเมืองสนาปรนต เป็นภาษบาลี อ้นเป็นคำมาจากว่า สวนปราน ซึ่งเป็นภาไทย ทำได้โดยวิธีแห่งหลักบาลีไวยากรณ์ ดังนี้

    ๑. ผัน “ว” เป็นสระอุ

    ๒. ทำ “น” ให้ยาว

    ๓.เอาสระ “า” ที่ ปราน เป็น “อ” ๔. เติม “ต” ตามหลักบาลี


    เมื่อทำครบตามสูตรแห่งหลักบาลีไวยากรณ์จากภาษไทยคำว่าว่า ไสวนปราน” ก็สำรวจภาบาลบี เป็นคำว่า “สุนาปรันต” ตามที่ปรากฎในพระไตรปิฎกได้ตรงกันทั้งสิ้น จึงเป็นที่สรุปได้ในขั้นต้นนี้ว่า หมู่บ้านชาวไทย หรือชาวไทย ไปทำการค้าและพักอยู่นั้นล้วนแต่เป็นชนชาติไทยในครั้งพุทธกาล และเดินทางไปจากดินแดนแหลมทอง

    ฉะนั้น จึงไม่เป้ฯที่สงสัยว่า เหตุใด “โตไทย” (โตไทย เป็นตำแหน่งทูตการค้าของสุวรภูมิในสมัยโบราณ) มีความร่ำรวยระดับมหาเศรษฐีมีเงินถึง ๔๙ โกฎิ ก็ย่อมได้มาจากการค้าขายเครื่องประดับและภาชนะ สำริด ระหว่างประเทศนั่นเอง ปรากฎหลักฐานว่า การค้าขายระหว่างดินแดนทั้งสอบ จากการทำการค้าของพระปุณณะ ซึ่งเป็นชนชาติไทยดินทางจากปราณบุรีอันเป็นดินแดนอาณาจักรสุวรภูมิ ไปค้าชายยังกรุงสาวัตถี ที่มีความเจริญรุ่งเรืองในครั้งพุทธกาล

    สรุปว่า พระพุทธศาสนาได้เริมเผยแพร่เข้าสู่อาณาจักสุวรภูมิเป้นครั้งแรกในยุคนี้ ทั้งยังพบหลักฐานข้เอมูลว่า พระสัมมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงเสด็จเยี่ยมพระปุณณะอรหันตเถระ ในสุวรภูมิปรากฎตามพระไตรปิฎก ในอรรถคาถา ปัญจสูทนี ว่า

    “… พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศาสดาของพุทธศาสนา พร้อมอรรถมหาสาวกอันมีพระอานนท์ พระโมคคัลลานะ และพระสารีบุตร พร้อมพระอรหันต์ ๕๐๐ รูปได้เสด็จจากชมพูทวีปมาโปรดพระปุณณะอรหันตเถร และสาวก…”

    พระมหากษัตริย์ไทย แห่งอาณาจักรสุวรภูมิได้ อาราธนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงประทับรอยพระพุทธบาทไว้เป็นที่สักการะซึ่งทรงประทับไว้ตามคำอาราธนาเป้นเครื่องยืนยันทางประวัติศาสตร์ ที่เขาลูกช้าง ณวัชบุรี สุนาปรันตรัฐ

    พระมหากษัตริย์ไทยได้ทรงปวารนาตนเป็นพุทธมามกะ นับถืออุโบสถศีลพร้อมถวายแผ่นดินทั้งมหาอาณาจักรศรีสุวรภูมิ เป็นพุทธบูชาและประกาศให้กษัตริย์ทั้งหลายแลผู้ที่อยู่ในอาณาจักร เป็นพุทธมามกะนับถือศรัทธาพระพุทธศาสนานับตั้งแต่นั้นมา เมืองที่พระพุทธเจ้าประทับรอยพระบาทนั้น พระมหากษัตริย์แห่งศรีสุวรรภูมิ ทรงเปลี่ยนชื่อเดิมจากเมือง วัชรปุระ เป็นชื่อว่า พุทธพลี ถวายแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    (“พลี” แปลว่า “ถวาย” ) ให้เรียกสำหรับภายในอาณาจักร ต่อมาได้เพี้ยนมาเป็นเมือง “พริบพรี” และกลับไปใช้เป็น “เมืองเพชรบุรี” ตามความหมายเดิมคือคำว่า “วชร” ซึ่งแปลว่า เพชร เช่นเดิมในยุคต่อมา สำหรับภายนอกหรือแดนอื่นที่ติดต่อค้าขายกับอาณาจักรศรีสุวรภูมิ นั่นยังคงเรียกันว่า “วชรปุระ” หรือศรีชยวชฺรปุร” ตามเครื่องหมายดวงตราอาณาจักรที่ใช้มาแต่เดิม (ดูภาพเหรียญ)


    หลักฐานเกี่ยวกับรอยพระพุทธบาทที่กล่าวถึงนี้มีหลักฐานจดหมายเหตุจีนของสามเณรงี่เจ็ง บันทึกไว้ในปี พ.ศ. ๑๒๓ เล่าเรื่องการเดินทางของสมณะทูตจากจีนไปยังอินเดีย และได้ผ่านอาณาจักรศรีสุวรภูมิเพื่อนมัสการรอยพระบาทซึ่งสามเณรงี่เจ็งใช้คำว่า “พ่อบ๊าก” ซึ่งหมายถึง “พระพุทธบาท” ณ วัชรปุระ แห่งนี้ซึ่งอยู่ติดชายทะเล และสามเณรงี่เจ็งไม่ได้เข้าไปถึงพระพุทธบาทที่เมืองสระบุรีซึ่งอยู่ลึกเข้าไป สำหรับ

    สถานที่พระพุทธเจ้าประทับรอยพระบาทเรียกว่า “เขาลูกช้าง” นี้เป็นเขาเตี้ย ๆ สูงประมาณ ๓๐ เมตร ผิดกับเขาทั่วไปในประเทศไทย เพราะมิใช่เป็นภูเขาหินธรรมดา แต่ประกอบด้วยหินก้อนใหญ่ ๆ เท่าตึก ๑๐ ชั้น วางเรียงซ้อนกันขึ้นไป หากมองในเวลากลางคืนจะเป็นเงาคล้ายลูกช้าง จึงมีชื่อเรียกขานกันว่า “เขาลูกช้าง” ตามสภาพที่เห็นเขาลูกช้าง ตั้งอยู่ที่บ้านท่าลาว ต. ไม้รวก อ.ท่ายาง (เมืองบางยาง) จ.เพชรบุรี


    ในปัจจุบัน รอยประทับดังกล่าวเป็นรูป รอยเท้าคนจริง ๆ ฝังลงไปในเนื้อหินบนยอดเขาด้านทิศตะวันออก ขนาดยาว ๕ ฟุต กว้าง ๒.๑ ฟุต ด้านปลายพระบาท (ปลายนิ้วเท้า) ลึก ๙ นิ้วฟุต ลักษณะคล้ายกับรอยเท้าที่เหยียบลงบนโคลน ทำให้มีรอยชัดเจนมาก ปรากฎบันทึกเรื่องรอยพระบาทเขาช้างนี้ จากประวัติศาสตร์ สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระปิยมหาราช รัชกาลที่ ๕ มีว่า
    “พรานผู้หาของป่าชื่อนายปา สมัยเมื่ออายุได้ ๑๕ ปี ได้ออกล่าสัตว์ในละแวกนั้น เกิดกระหายน้ำได้ปืนต้นรังขึ้นไปบนเขาลูกช้างเพื่อมองหาลำธารน้ำ จึงได้พบรอยพระพุทธบาท จึงได้นำความมาเล่าให้ชาวบ้าน ได้รับทราบและขึ้นไปทำการสักการะบูชา ต่อเมื่อนายปาอายุได้ ๖๐ ปีเศษ จึงได้นำเรื่องนี้เเจ้งไปยังเจ้าเมืองเพชรบุรี ท่านจึงสั่งให้เกณฑ์คนลาว (โซ่ง) ที่บ้านท่าลาวให้ไปคอยดูแลรักษารอยพระพุทธบาทไว้



    จากนั้นจึงได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลไปยัง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบและพอพระทัย จึงเสด็จพระราชดำเนินมาเพื่อทอดพระเนตร โดยใช้พาหนะช้าง ๗ เชือกเสด็จผ่านวัดท่าคอย เมืองเพชรบุรีได้ตั้งพลับพลา ณ หาดทรายวัดท่าคอย แต่พระองค์มิได้ทรงหยุดประทับได้เสด็จต่อไปโดยมีนายนาค พวงจันทร์ ส่วนฝางเป็นผู้ชำนาญป่านำทางเสด็จ ทรงเสด็จประทับ ณ เชิงเขาลูกช้างผู้ตามเสด็จป่วยเป็นโรคห่าในขณะนั้นตายลงหลายคน จึงเสด็จพระราชดำเนินกลับ ….” สถานที่ตั้งพลับพลาประทับนั้น ต่อมาเรียกว่า ท่าพลับพลา จวบจนปัจจุบัน

    (มีต่อ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มีนาคม 2012
  12. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    พระพุทธศาสนา....โหราศาสตร์...คนไทย (๗) อาฬวีรัฐ เชียงรุ้ง ชิงหลิน กิมหลิน

    ดังได้กล่าวถึงความสัมพันธ์โดยโค ตรวงศ์ของพระมหากษัตรยิ์ไทย กับพระบรมศาสดาในส่วนของอาณาจักรศรีสุวรภูมิตอนใต้ไปแล้ว จึงขอกล่าวถึงความสัมพันธ์ของพระพุทธศาสนากับสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย ในอาณาจักรศรีสุวรภูมิตอนเหนือบ้าง โดยขอเท้าความกับไปเล็กน้อยเพื่อความเข้าใจกระจ่างและใช้ในการอ้างอิงประวัติศาสตร์ในอนาคต


    หลังจากที่ราชโอรสองค์ที่สองแห่งราชอาณาจักรศรีสุวรภูมิตั้งนครของชาวลวไทยในดินแดนอุตรกุรุทวีปได้ ๕๔ ปี ก็สวรรคตราชบุตรได้ปกครองต่อมา (ก่อน พ.ศ. ๒๑๕๔ ปี) ซึ่งเป็นกษัตริย์ไทยที่โด่งดังที่สุด พระองค์หนึ่ง มีพระนามว่า “พระเจ้าอึ่ง (สำเนียงจีนเรียกว่า อึง หรืออึ้งตี่) ซึ่งเป็นสมัยเมื่อเกือบ ๖,๐๐๐ ปีมาแล้ว อยู่ในประเทศอินเดียปัจจุบันนี้ ตรงกับประวัติศาสตร์จีนที่บันทึกไว้ว่า พระเจ้าอึงได้ครองราชย์อยู่ในสมัย ๒๑๕๘ - ๒๐๐๐ ปีก่อนพุทธกาลทรงนำวิทยาการต่าง ๆ เข้าสู่ประเทศจีน เช่นการแพทย์สมุนไพร เครื่องดนตรี เข็มทิศ ดาราศาสตร์ โหราศาสตร์ การทอผ้าฝ้าย การเคี่ยวน้ำตาล การทำกระดาษ การทำสำริด ฯลฯ (อึ่งเป็นสัตว์คล้ายกบ จะส่งเสียงร้องเมื่อจะมีฝนตก เป็นเครื่องหมายของความอุดมสมบูรณ์ ชนโบราณถือว่า เมื่อได้ยินเสียอึ่งร้อง หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์จะเกิดขึ้น) ภายหลังประชาชนได้ถวายพระนามว่า “จักรพรรดิเหลือง”


    พระเจ้าอึ่ง (อึ้งตี่) ต่อมาได้ย้ายเมืองใหม่ โดยให้สร้างเมืองเชียงเจ้งเป็นศูนย์กลาง แผ่นดินของพระองค์กว้างขวางมากกินอาณาเขตไปถึงกวางตุ้ง กวางสี และลงมาถึงเชียงขุนในยูนาน กว้างใหญ่จนต้องแบ่งออกเป็น ๑๒ แคว้น โดยให้ราชบุตรแต่ละองค์ลงมาปกครอง (ต้นแบบของการตั้งอาณาจักร ๑๒ เจ้าไทยในภายหลัง) ทรงครองอยู่ ๑๐๐ ปี มีกษัตริย์ปกครองต่อมาอีก ๑ พระองค์เป็นระยะเวลา ๘๓ ปี (ขุดพบเครื่องหมาย ราชวงศ์เป็นรูปอึ่งทำด้วยสำริดในยุคนี้)

    พระเจ้าช้าง (จีนเรียก ซาง) ท่านได้สร้างกลองสำริด ปัจจุบันเรียกว่า “มโหรทึก” เพื่อใช้ประกอบพิธีเพื่อความสมบูรณ์ เป็นต้นวัฒนธรรมประเพณีขอฝน (โดยบนกลองมโหรทึกได้ทำเป็นตัวอึ่ง ซึ่งหมายถึงพระเจ้าอึ่ง) ซึ่งแพร่หลายไปในจีนตอนใต้และเวียดนามในราชวงศ์ช้างนั้น

    Dr.Wolfran Edberhard ผู้เชียวชาญทางโบราณคดีและมานุษยวิทยา ซึ่งได้ทำการศึกษาค้นคว้าและสอนในมหาวิทยาลัยกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน กว่า ๒๐ ปี ได้ระบุไว้ว่า “เมื่อประมาณกว่า ๕๐๐ ปี ขึ้นไปก่อนพุทธกาล

    …มีรัฐช้างเป็นศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่มณฑลโฮนานเหนือแม่น้ำเหลือง มีเมืองหลวง หลายเมืองในยุคต่างกัน เมืองหลวงสุดท้ายชื่อยินชู (Yin-Chu) เป็นเมืองเดียวซึ่งขณะนี้มีการ ขุดค้นทางโบราณคดีขึ้นมาศึกษา….เราเชื่อได้ว่าเป็นพวกวัฒนธรรมของชนชาติไทย มีตัวหนังสือที่ใช้มาก่อนหนังสือจีนมีคำที่ใช้อยู่กว่า ๓,๐๐๐ คำในปัจจุบันนี้สามารถอ่านออกเพียง ๑,๐๐๐ คำเท่านั้น”


    พระเจ้าทวนหยก (จวนหยก) ครองราชย์เมื่อ ๑๙๗๑ ก่อน พ.ศ. ได้ทรงให้กำหนดแบบแผน ตำแหน่งขั้นสูงของราชวงศ์และข้าราชการและกำหนดระเบียบการปกครอง โดยทรงปรับให้ตรงกันกับอาณาจักรศรีสุวรภูมิตอนใต้ (เมืองราด) ชาวจีนใช้เป็นรากฐานปฏิบัติการหลายสมัย ดังนี้

    ๑. ตำแหน่งไทยไทย คือตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ ซึ่งสืบไปทางตระกูล (ต่อมาภายหลังได้เปลี่ยนใหม่ ไม่สืบโดยสกุล) ทำหน้าที่แทนในนคร ในขณะพระมหากษัตริย์ขณะไม่อยู่ในนครหลวง ผู้ได้รับแต่งตั้งจะเป็นบุคคลในพระราชวงศ์เท่านั้น (จีนเรียกไถ้ไถ่ หมายถึง พระพันปี)


    ๒. ตำแหน่งจงไทย (จีนเรียก ไทจง) คือตำแหน่งสมเด็จเจ้าฟ้าเป็นตำแหน่งที่มีอำนาจบังคับบัญชาสูงสุด สำหรับราชวงศ์ฝ่ายในทั้งปวง ผู้ได้รับแต่งตั้งจะเป็นบุคคลในพระราชวงศ์เท่านั้น


    ๓. ตำแหน่งเจ้าไทย คือตำแหน่งมหาอุปราช เป็นหนึ่งที่มีอำนาจบังคับบัญชาสูงสุด สำหรับราวงศ์ฝ่ายนอกทั้งปวงและจะปกครองนครที่เป็นศูนย์กลางของมณฑลนั้น ๆ ผู้ได้รับการแต่งตั้งจะเป็นบุคคลในพระราชวงศ์เท่านั้น


    ๔ . ตำแหน่งตุงไทย คือตำแหน่งราชปุโรหิต หรือเสนาบดีมีอำนาจควบคุมข้าราชการและกองทัพทั้งปวงในแผ่นดิน (คำว่า “ตุง” เป็นภาษาไทยลานนา แปลว่า ธง ขณะนี้ยังใช้อยู่ในภาคเหนือของไทย ซึ่งหากแปลเป็นคำไทยปัจจุบันและแปลได้ความว่า ตำแหน่งธงไทย)


    ๕. ตำแหน่งฟูไทย (คำว่า ฟู แปลว่า บูรณะหรือขยายตรงกับคำว่า เร่งรัดพัฒนาชนบท รพช.ในยุคปัจจุบัน) คือตำแหน่งผู้ว่าการมณฑล มีอำนาจควบคุมข้าราชการและกำลังรบในมณฑลที่ขึ้นอยู่กับนครใหญ่


    ๖. ตำแหน่งงิดไทย (งิด แปลว่า ปัญหา) คือผู้พิพากษามณฑลมีอำนาจหน้าที่ควบคุมผู้พิพากษาและข้าราชการตุลาการในมณฑลทั้งปวง ทำหน้าที่แก้ปัญหาข้อพิพาทของประชาชน


    ๗. ตำแหน่งพวนไทย คือผู้ว่ากรรคลังมณฑล มีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลผลประโยชน์และรายได้ที่จะส่งเข้าไปยังนครหลวง (ทำหน้าที่เก็บภาษี เหมือนกรมสรรพากรในปัจจุบัน)


    ๘. ตำแหน่งเตาไทย คือผู้ว่าราชการจังหวัด มีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลข้าราชการและผลประโยชน์ในจังหวัดของตน


    ๙. ตำแหน่งโตไทย คือทูตการค้า ผู้ดูแลด้านการค้า มีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูและด้านการค้าทั้งในและนอกอาณาจักร (ตำแหน่งนี้ได้ปรากฎในพระไตรปิฎก เรืยกโตทยฺย อ้างแล้ว)


    ในรัชกาลของพระเจ้าทวนหยก (จีนเรียกว่า “จวนหยก” เป็นช่วงของการเริ่มสั่งสมกำลังกองทัพ จึงเริ่มมีการสร้างอาวุธที่มีคม ๒ ด้านขึ้นเรียกว่า “ทวน” เป็นอาวุธประจำพระองค์ (ปรากฎตามหนังสือ The Genius of China )

    ซึ่งกลายเป็นธรรมเนียมของพระมหากษัตริย์ให้ยึดถือกันตลอดมาในการที่ต้องมีพระแสงที่มีคมสองด้าน อันเรียกว่า พระขรรค์ ซึ่งหากใส่ด้ามให้ยาวก็จะเรียกว่า “ทวน” เช่นคำตั้งเดิม และยังคงใช้คำนี้เรียกอาวุธดังกล่าว กันมาตราบถึงกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยของพระเจ้าทวนหยกนี้คือยุคก่อนพุทธกาลถึง ๑๙๗๑ ปี


    ชนชาติลวทยฺยศรีสุวรภูมิที่ขึ้นไปสร้างบ้านแปลงเมืองในอุตตรกุรุทวีปมีจำนวนเพิ่มขึ้น ตามกาลเวลาแยกกันตั้งบ้านเมืองนับได้เป็นร้อย ๆ นคร มีชื่อต่างกันไปตามชื่อของนครที่ตั้งนั้นดังตัวอย่างเช่น ชาวลวไทยภู่ก็ถูกเรียกว่า ชาวภู่ไทย จีนเรียกว่า ชาวภู่ (ภู่ แปลว่า ผู้มียศ ) สมัยโบราณ ภู่จะห้อยเอวติดไปกับหยกซึ่งเป็นครื่องประดับบอกยศชั้นต่าง ๆ ราชการจีนได้ใช้ตามในสมัยต่อมา จนถึงราชวงศ์เช็ง)


    ในจารึกประวัติศาสตร์ “จูซู” และ”ซั้งจู” ฉบับโบราณของจีน ได้กล่าวถึงชาวภู่ไทยว่า

    “….ชาวภู่ นี้เรียกว่า ภู่ร้อยกลุ่ม เพราะอยู่เป็นกลุ่ม นับร้อย ๆ มีถิ่นฐานครองอยู่ที่เมืองเจียนหนิง (ในยูนาน…) จากนั้นประวัติศาสตร์ก็ขาดตอนไปเพราะอยู่ในยุคสงครามเลียดก๊ก ตลอดสมัยราชวงศ์ซ้าง (ซาง) ซึ่งสงครามระหว่างนครมีต่อเนื่องตลอดมา จากนั้นอีก ๑๐ ชั่วอายุคนนับแต่สมัยเลียดก๊ก สมัยชุนชิว ชาวศรีสุวรภูมิตอนเหนือได้กระจายไปตั้งนครของตนทั่วแผ่นดินจีน (กลายเป็นชนผู้ไทย ๑๐๐ กลุ่ม ตามที่จีนเรียก) แต่กลุ่มใหญ่สุดจากกว้างตุ้งและกวางสีสมัยราชวงศ์เจ้า (โจว) และสมัยต่อจากนั้น เจ้านายหนุ่มผู้มีตำแหน่งเป็นเจ้าไทย เชื้อสายราชวงศ์ซ้าง ซึ่งมี ๑๒ คน พี่น้องท้องเดียวกัน (ข้อมูลนี้ยืนยันตรงกับรายงานการขุดค้นทางโบราณคดีของจีนใน พ.ศ. ๒๕๑๙


    “… ในเมืองโบราณของราชวงศ์เจ้าพบซากบ้านโบราณใต้ถุนสูงรวมเป็นกลุ่ม ๑๒ กลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มมีร่องรอยศาลหรือตราประจำตระกูลและร่องรอยของสุสาน ขนาดที่ใหญ่กว่าสุสานของจิ๋นซีอ๋อง ซึ่งได้พบมาแล้วก่อนหน้านี้…”)


    โอรสทั้ง ๑๒ คนพี่น้องได้ร่วมกันตั้ง อาณาจักรล้านช้างตามชื่อราชวงศ์ มีนครแถน (จีนเรียก เทียน) เป็นศูนย์กลางซึ่งสุมาเอี๋ยนได้กล่าวถึงลักษณะความเป้นของชนชาติไทยศรีสุวรภูมิในอาณาจักล้านช้างตอนนี้ว่า

    “…..คนเมือง (คำเรียกชาวนครแถน จีนบางฉบับก็ว่า ไทยเมือง และใช้ต่อมาจนปัจจุบัน) ล้วนเจาะหูจนใบหูห้อยลงมาถึงไหล่เพื่อใส่เครื่องประดับ ส่วนเจ้านายห้อยลงมาถึงพ้นหัวไหล่ ๑ นิ้ว

    (ในกรณีนี้นักโบราณคดีสามารถที่จะพิจารณาได้จากปฏิมากรรมบ้านคูบัว และศิลปะสุวรภูมิ จะเห็นได้ว่าการเจาะหูเป็นเช่นนั้น โดยเฉพาะพระพุทธรูป จะเห็นได้ชัด และคงจะเป็นแนวทางในการตอบปัญหา เรื่องการแต่งกายของขอมในสภาพปฏิมากรรมหินทราย ตามปราสาทหินต่าง ๆ ได้ว่า ใครเป็นเจ้านายหรือใครเป็นบ่าว โดยดูจากใบหูเป็นหลักก็ได้)

    พื้นดินอุดมสมบูรณ์มีการทำไร่ไถนา เลี้ยงตัวไหมตัวหม่อน (ตอนนั้นจีนยังทำผ้าไหมไม่เป็น) รู้จักย้อมผ้าทำลวดลายมีผ้าต่าง ๆ รวมทั้งผ้าเนื้อละเอียด ทั้งแพรด่วน มีต้นวูถง (ฝ้าย) ที่ในเมืองเราไม่มี(แสดงให้เห็นว่าจีนไม่รู้จักการทอผ้า) เขาใช้ปุ๋ยดอกของมัน ถักทอเป็นผ้ากว้าง ๕ ฟุต ขาวสะอาด ชายหญิงไว้ผมมวย นุ่งห่มผ้าฝ้าย…”

    มีต่อ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มีนาคม 2012
  13. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    พระพุทธศาสนา....โหราศาสตร์...คนไทย (๗) อาฬวีรัฐ เชียงรุ้ง ชิงหลิน กิมหลิน

    ๑๒. กษัตริย์ราชวงศ์ช้าง ตั้งนครแถนเป็นศูนย์กลางโดยได้แบ่งอาณาจักรออกไปเป็น ๑๒ แคว้นตามแบบแผน “คัมภีร์มหาจักรพรรดิราช” ซึ่งใช้ในสมัยพระเจ้าช้างต้นราชวงศ์ มาใช้ปกครองอาณาจักรใหม่ซึ่งเรียกว่า “อาณาจักรล้านช้าง” ที่เรารู้จักกันในนามของสิบสองเจ้าไทย (เจ้าไทย) เป็นตำแหน่ง) ภายหลังเพี้ยนมาเป็นสิบสองจุไทย ตำแหน่งเจ้าไทยผู้ครองแคว้นนั้นล้วนเป็นพระประยูรญาติกันทั้งสิ้น มีการฟื้นฟูพิธีมงคลและชัยชนะซึ่งใช้ในสมัยพระเจ้าอึ่งตี่ อันเป็นบรรพกษัตริย์โดยใช้กลองมโหรทึกเป็นเครื่องมือในการประกอบพิธี ซึ่งถ่ายทอดวัฒนธรรมไปยังนครต่างในอาณาจักร ดังนั้น กลองมโหรทึกจึงได้รับความนิยม และถูกใช้ร่วมกับพิธีมงคลด้านอื่น ๆ ทางศาสนาด้วย ทำให้มีการสั่งกลองมโหรทึกมาจากอาณาจักรศรีสุวรภูมิภาคใต้ ซึ่งเป็นแหล่งผลิต ด้านการปกครองเป็น ๑๒ แคว้นของอาณาจักรแถนนั้น สุมาเอี๋ยน ได้กล่าวไว้ว่า


    “…..The King of Tien possessed a force of twenty of thirty thusand man, While to the northeast of him lived the tribes of Lao-chin and Mino with whare ruled by members of same chan as himself and were in a position to look after him…… Thair are “DOZENS” of chiefs rulling among the sounthwesturn barba-rians, but most important is the ruler of Yeh-Lang. To the west of Yeh-Lang lives the chief of Mimo if which the most important is the Tien. Noth of Tein live numerous other chiefs, the important being the ruled of Chiung-Tu. All the tribes ruled by threse chiefs ware their hair in the mallet-shaped fasihon, live in settelment…..”


    เดิมอาณาจักรแถน (ล้านช้าง) นี้มีชื่อว่า “ตุงลาน” แปลว่า “ลานธง” (เหมือนการสวนสนามของทหารทั้งสามเหล่าทัพ ที่จะนำธงชัยเฉลิมพลของแต่ละเหล่าทัพมาถวายความเคารพ ต่อมาจีนได้เปลี่ยนชื่อเป็น “จางโก๊ะ” ความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรล้านช้าง หรืออาณาจักแถน มีบันทึกไว้มากมาย และเชื้อสายของกษัตริย์อาณาจักรนี้

    ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์จีนอย่างมหาศาล ชื่อทางไทยเรียกว่า เจ้าไทยดี ตามบันทึก จีนมีว่า “พระองค์คือพระราชโอรสพระเจ้าอโศกมหาราช ชื่อทางจีนเรียกว่า อายู้ ได้มาเป็นพระราชบุตรเขยของกษัตริย์ไทย เมืองชู โดยอภิเษกกับเจ้าหญิงยี่เจียว (ชื่อทางจีน) ต่อมาเจ้าไทยดีได้ครองเมืองชู แคว้นตาลี ชื่อว่าเจ้าไทยดี (จีนเรียกว่า เจ้าดี Duke De)…” ทรงเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่โดยทรงตั้งราชวงศ์ชู (คำว่า ชู แปลว่า ยกย่อง เป็นคำไทยโบราณซึ่งเป็นคำโดด ต่อมาใช้ประกอบคำอื่น เช่น เชิดชู ชูขึ้น แต่ทั้งหมดนี้จะมีความหมายว่า การยกย่องสูงกว่าเดิมทั้งสิ้น) และเปลี่ยนชื่อแคว้นเป็นตาลีชู (จีน เรียก ตาลีฟู)

    ทำให้พระอรหันต์ในสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช ได้พุทธศาสนาเข้าสู่ชนชาติไทยในอาณาจักรล้านช้าง ราชบุตรของเจ้าไทยดีทั้ง ๙ พระองค์ได้ให้กำเนิดตระกูลและราชวงศ์ใหม่อันมีชื่อบันทึกในประวัติศาสตร์โลกดังนี้ คือ


    องค์ที่ ๑ ครองเมืองชูฟูหล้า เป็นต้นตระกูลของชาวอยีขาวตะวันตกเฉียงใต้ ครอง ๑๖ แคว้นในยูนาน

    องค์ที่ ๒ ครองเมืองชูเตียน เป็นต้นตระกูลชาวไท้ (ไทย) หรือนาชิ (Nashi) ในธิเบต

    องค์ที่ ๓ ครองเมืองชูนา เป็นต้นตระกูลชาวหาญ (จีนเรียกว่า ฮั่น เป็นคนละเผ่ากับที่บุกไปยังเอเชียไมเนอร์)

    องค์ที่ ๔ ครองเมืองชูชวน เป็นต้นตระกูลชาวเมือง (มานเสือ) ฝ่ายตะวันออก คือกุยจิว (ไกวเจา) กวางไส (กวางสี) กวางตุง

    องค์ที่ ๕ ครองเมืองชูดก มีบุตร ๑๒ พระองค์ สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ๗ องค์ เป็นปราชญ์ ๕ คน เป็นต้นตระกูลมุสือในยูนาน

    องค์ที่ ๖ ครองเมืองชูโก เป็นต้นตระกูลพนม ตั้งอาณาจักรฟูนัน หรือพันพัน

    องค์ที่ ๗ ครองเมืองชูดิน เป็นต้นตระกูลเวียดนาม (บรรพบุรุษเจ้าไทยขุนเจิน) ตังเกี๋ย (เกียวจี้)

    องค์ที่ ๘ ครองเมืองชูสู่ เป็นต้นตระกูลอยีขาว ยูนานตอนใต้ติดกับลาว (เรียกว่าพวกไทยโท้)

    องค์ที่ ๙ ครองเมืองชูส่ง ราชโอรสองค์นี้เป็นพระราชบิดาของพระเจ้าเทวกาล หรือขุนเมือง (ขุนเมือง ซึ่งเป็นผู้ทรงรจนาตำนานล้านช้าง นครแถน) เมื่อรวมกันทั้งหมด จึงมี ๙ พระองค์ หรือ ๙ ราชวงศ์ ในยุคนี้จึงให้เงินตราสัญลักษณ์ ๙ ราชวงศ์ (ดังภาพ) ( มีภาพภายหลัง..................)



    พระเจ้าเทวกาลหรือขุนเมือง เป็นหลานของเจ้าไทยดี ขุนเมือง ท่านได้ไปศึกษาในตักกศิลาชมพูทวีป จึงทรงมีความเชียวชาญด้านภาษาสูงมาก และเป็นผู้แต่งตำนานนครแถน (จึงทำให้ใช้ชื่อในตำนานนครแถนว่า ราชคฤห์ เป็นเมืองหลวงของนครไทยเทศ หรือไทยทศ และมณฑลยูนาน ว่า มิถิลา ด้วยสาเหตุนี้) การรวมกันระหว่างพระเจ้าอโศกมหาราชราชวงศ์โมริยะกับพระเจ้าไทยดี ต้นวงศ์ของพระเจ้าเทวกาล
    (ขุนเมือง) จึงมีบรมราชโองการประกาศให้พระมหากษัตริย์ในดินแดนสุวรภูมิ (ตอนบน) ทั้งสิ้น ซึ่งเคยนับถือผีฟ้าเปลี่ยนเป็นพุทธมามกะ กษัตริย์ในอาณาจักรศรีสุวรภูมิตอนบนทุกพระองค์ จึงทรงมีหน้าที่เป็นพุทธศาสนูปถัมภกพระพุทธศาสนา อย่างต่อเนื่องสืบมา โดยถือเป็นศาสนาของโค ตรส.โคตมเดียวกันในทางหนึ่งและโดยหลักธรรม คำสอนอันลึกซึ้งสามารถปริวัฒน์ใช้ในการปกครองได้เป็นอย่างดี อีกทางหนึ่ง

    พระพุทธศาสนาในสุวรภูมิตอนบน จึงเป็น “นิกายเถรวาท” มิใช่ “มหายาน” (หมายเหตุ: 1 มหายานเกิดขึ้นประมาณ พ.ศ. ๖๐๐ ปีโดยคุรุนาคารชุน เรียกว่า “ศูนยตวาท” หรือ “ศูนยตวาทิน” ชมพูทวีป มีหลักปรัชญาว่า “ทุกสรรพสิ่งมีสภาพ เป็นอนัตตา เป็นสูญ และนิพพานเป็นอนัตตา เป็นสูญ เข้าสู่ประเทศจีนใน พ.ศ. ๗๐๐ โดยพระเจ้าแม่งแต้ แห่งราชวงศ์ฮั่น ซึ่งพระองค์ได้ส่งพระจีนฝ่ายเถรวาทไปอาราธนาพระอรหันต์มาจากชมพูทวีป (อินเดีย)

    แต่พระสงฆ์จีนเหล่านั้นไปไม่ถึงพระสงฆ์จีนเหล่านั้น ท่านเดินทางไปแค่อาณาจักรบรากเตีย ซึ่งนิกายมหายานกำลังเผยแพร่อยู่ จึงนำปรมาจารย์มหายานเป็นพระอินเดีย ๒ รูป คือพระกาศยปมาตังคะ (เกียเฮยะม่อเท้ง) พระธรรมรักษ์ (เต็ก ฮวบลั้ง) มายังนครลกเอี้ยง พระเจ้าเม่งเต้ทรงศรัทธาสร้างอาราม พระราชทานชื่อว่า วัดม้าขาว (แปะเบ๊ยี่)หรือ วัดจตุทิศาราม และพระพุทธศาสนามหายานได้เจริญขึ้นโดยกษัตริย์ราชวงศ์ฮั่นซึ่งเป็นพุทธมามกะทรงอุปถัมภ์ ทำให้พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทอันสืบมานับแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราชสมัยพระเจ้าไทยดี ขาดการอุปถัมภ์ เท่าที่ควรจึงเสื่อมไป พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานยุคแรก เผยแพร่แต่เฉพาะในราชสำนัก ต่อมาก็เผยแพร่ในดินแดนตอนบนเหนือแม่น้ำเหลือง และลกเอี๋ยงเท่านั้น

    มิได้เผยแพร่เข้าสู่เมืองยูนาน และตาลีฟู ซึ่งยังคงเป็นพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทเช่นเดิม แต่จะอย่างไรก็ตามกษัตริย์ของราชวงศ์ฮั่นก็คือเชื้อสายของพระเจ้าไทยดี เป็นพุทธมามกะ และเป็นชนชาติไทย ได้สิ้นสูญราชวงศ์ฮั่นในสมัยของอำมาตย์ “ตั๋งโต๊ะ” เริ่มต้นประวัติศาสตร์ ยุค “สามก๊ก”)


    พระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับชาวอาฬวี
    มาราติเรกมภิยุชฺฌิตสพฺพรตฺตึ
    โฆรมฺปนาฬวกมกฺถทฺธยกฺขํ
    ขนตีสุทนฺตวิธินา ชิตฺวา มุนินฺโท
    ตนฺเตชสา ภวตุ ชยมงฺคลานิ ฯ
    (อาฬวกสูตร ขุททกนิกาย สุตฺตนิบาต)


    ท่านที่เป็นพุทธบริษัทเมื่อได้เห็นพระพุทธมนต์บทนี้ ก็ต้องร้องอ๋อทุกท่านทุกรายไป เพราะนี่คือบทถวายพรพระ หรือที่เราเรียกจนติดปากว่า “บทพาหุง” ความเกี่ยวข้องของชนชาติไทยได้ถูกบรรยายไว้ในพระสูตรบทนี้อย่างครบถ้วน

    เนื่องจากว่าอาณาจักรในอาฬวสูตรนี้ ขอกล่าวโดยสรุปว่า เหตุการณ์ได้เกิดขึ้นที่เมืองอาฬวี และกษัตริย์ผู้ครองเมืองอาฬวีรวมทั้งประชาชนถูกยักษ์ซึ่งมีอิทธิฤทธ์ข่มขู่ให้นำทารกในเมืองมาให้กินเป็นอาหารตลอดมา พระพุทธองค์ได้ทรงทราบถึงเสด็จไปเพียงพระองค์เดียวเพื่อโปรดยักษ์นั่นให้เห็นบุญบาปโทษแห่งการทำชั่ว โดยทรงเสด็จออกจากเมืองสาวัตถีไปยังเมืองอาฬวีสิ้นทาง ๓๐๐ โยชน์ อาฬวกยักษ์ได้ใช้อิทธิฤทธิ์ทำร้ายพระบรมศาสดา

    (โปรดศึกษารายละเอียดในพระสูตร) แต่ไม่สามารถจะทำร้ายพระพุทธองค์ได้จึงสำนึกคลายมานะรับฟังธรรมจากพุทธองค์เลิกเป็นพาลสมาทานศีลนับแต่ครั้งนั้น

    พระพุทธองค์ได้ทรงจำพรรษาที่เมืองอาฬวี ๑ พรรษา ได้ทรงเผยแพร่พระธรรมคำสอนแก่ชาวอาฬวีมีผู้อุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทามากมาย ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์นับพัน ในจารึกของอาฬวี เรียกพระพุทธศาสนาสมัยนั้นว่า “โพธิ” จีนออกเสียงเป็น “โฟชิ” พระพุทธศาสนาจึงได้เริ่มตั้งมั่นที่อาณาจักอาฬวีนับแต่นั้นมา


    หากผู้ที่ไม่ลึกซึ้งในประวัติศาสตร์ก็จะข้ามคำว่า “อาฬวี” ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับชนชาติไทย นั่นก็เพราะว่า “อาฬวี” นี้ภายหลังได้กลายเป็นมหาอำนาจมีดินแดนกว้างใหญ่ไพศาล และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นอาณาจักรของชนชาติไทย

    ซึ่งตามพระไตรปิฎกนี้จึงสามารถยืนยันได้ว่าชนชาติไทยได้เจริญมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล เหตุใดจึงกล่าวเช่นนั้นก็เพราะว่า “อาฬวี” นี้ก็คือ “อาณาจักรเชียงรุ้ง” ของชนชาติไทยในหน้าประวัติศาสตร์และโบราณคดี



    ปรากฎหลักฐานว่าปีอัญชันศักราชที่ ๑๑๙ ในพุทธวัสสาที่ ๑๖ นั้นเป็นปีที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาปราบอาฬวยักษ์ เมื่อเสร็จพุทธกิจแล้วนั้น พระพุทธองค์ได้ทรงจำพรรษาได้ทรงจำพรรษที่เมืองอาฬวี ๑ พรรษา จึงได้มีการก่อสร้างวิหารสูงขึ้นเป็นที่ประทับ เป็นอารามขึ้น การก่อสร้างอารามต่าง ๆ ดังว่านั้น ปรากฎยืนยันอยู่ในพระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค ตติยปราชิกกัณฑ์ วินีตวัตถุ ดังนี้

    (๒๑๑)…..ก็โดยสมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันสร้างวิหารที่อยู่ ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างล่างยกศิลาส่งขึ้นไป ศิลาที่ภิกษุผู้อยู่ข้างบนรับไว้ไม่มั่น ได้ตกทับกระหม่อมภิกษุผู้อยู่ข้างล่างถึงมรณภาพแล้ว เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า “ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร .


    ภิกษุ “ข้าพระพุทธเจ้ามิได้จงใจ พระพุทธเจ้าข้า”
    พระผู้มีพระภาคเจ้า “ดูก่อนภิกษุ ภิกษุไม่จงใจ ไม่ต้องอาบัติ”

    เนื่องจากลักษณะบ้านหรืออาคารของชนชาติไทยนั้นยกพื้นสูง หลังคาสูงมีหลายขั้น ซึ่งแตกต่างกับชาวชมพูทวีปแถบแม่น้ำพรมบุตรจะทำเตี้ยและไม่ยกใต้ถุนสูงเหมือนบ้านคนไทยในเมืองอาฬวี หลักฐานแห่งลักษณะอาคารบ้านเรือนทรงไทยนั้น ปรากฎอยู่ในพระวินัยปิฏก มหาวิภังค์ ปฐมภาค ตติยปราชิกกัณฑ์ วินีตวัตถุ เช่นกันว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มีนาคม 2012
  14. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    พระพุทธศาสนา....โหราศาสตร์...คนไทย (๗) อาฬวีรัฐ เชียงรุ้ง ชิงหลิน กิมหลิน

    ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีช่วยกันสร้างวิหารที่อยู่ ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างบน มีความประสงค์จะให้ตาย จึงปล่อยศิลาลงบนกระหม่อม ภิกษุผู้อยู่ข้างล่าง ภิกษุผู้อยู่ข้างล่างนี้ถึงมรณภาพแล้ว เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนี้แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า “ดูก่อนภิกษุเธอคิดอย่างไร”
    ภิกษุ “พระพุทธเจ้าข้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า”
    พระผู้มีพระภาคเจ้า “ ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปราชิกแล้ว”


    ……โดยสมัยนั้นแล พวกชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันสร้างวิหารที่อยู่ ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างล่าง ยกศิลาส่งขึ้นไป ภิกษุผู้อย่างข้างบนมีความประสงค์จะให้ตาย จึงปล่อยศิลาลงบนกระหม่อมภุกษุผู้อยู่ข้างล่าง แต่ภิกษุผู้อยู่ข้างล่างไม่ถึงมรณภาพ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องปราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่าถามว่า “ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร”
    ภิกษุ “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า”
    พระผู้มีพระภาคเจ้า “เธอไม่ต้องปราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย”


    ……..ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันก่อฝาผนังวิหาร ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างล่างส่งอิฐขึ้นไป อิฐที่ภิกษุผู้อยู่ข้างบนรับไว้ไม่มั่น ได้หล่นทับกระหม่อมภิกษุผู้อยู่ข้างล่างถึงมรณภาพแล้ว เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ “เธอคิดอย่างไร”
    ภิกษุ “ข้าพระพุทธเจ้า มิได้จงใจ พระพุทธเจ้าข้า”
    พระผู้มีพระภาคเจ้า “ ดูก่อนภิกษุ ภิกษุไม่จงใจ ไม่ต้องอาบัติ”



    ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันทำนวกรมภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างล่างส่งมีดขึ้นไป มีดที่ภิกษุผู้อยู่ข้างบนรับไว้ไม่มั่น ได้ตกลงบนกระหม่อมภิกษุผู้อยู่ข้างล่างถึงมรณภาพ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปราชิกเสียแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสถามว่า “ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร”
    ภิกษุ “ข้าพระพุทธเจ้า มิได้จงใจ พระพุทธเจ้าข้า”
    พระผู้มีพระภาคเจ้า “ดูก่อนภิกษุ ภิกษุไม่จงใจ ไม่ต้องอาบัติ”


    ……..ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันทำนวกรรมภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างล่างส่งมีดขึ้นไป ภิกษุผู้อยู่ข้างบนมีความประสงค์จะให้ตายจึงปล่อยมีดลงบนกระหม่อมภิกษุผู้อยู่ข้างล่างถึงมรณภาพ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ “เธอคิดอย่างไร”
    ภิกษุ “ ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า”
    พระผู้มีพระภาคเจ้า “ ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปราชิกแล้ว”


    ……..ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันทำนวกรรม ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างล่างส่งมีดขึ้นไป ภิกษุผู้อยู่ข้างบนมีความประสงค์จะให้ตาย จึงปล่อยมีดลงบนกระหม่อมภิกษุผู้อยู่ข้างล่าง แต่ภิกษุผู้อยู่ข้างล่างไม่ถึงมรณภาพ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ “เธอคิดอย่างไร”
    ภิกษุ “ ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า”
    พระผู้มีพระภาคเจ้า “ ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปราชิกแล้ว แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย”



    ……..ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันทำนวกรรม ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างล่างยกไม้กลอนส่งขึ้นไป ไม้กลอนที่ภิกษุผู้อยู่ข้างบนจับไว้ไม่มั่น ได้พลัดตกลงบนกระหม่อมลงบนกระหม่อมภิกษุผู้อยู่ข้างล่างนั้นถึงแก่มรณภาพ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ “เธอคิดอย่างไร”
    ภิกษุ “ ข้าพระพุทธเจ้า มิได้จงใจพระพุทธเจ้าข้า”
    พระผู้มีพระภาคเจ้า “ ดูก่อนภิกษุ เธอไม่จงใจ ไม่ต้องอาบัติ”



    ……..ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วกันทำนวกรรม ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างล่างยกไม้กลอนส่งขึ้นไป ภิกษุผู้อยู่ข้างบนมีความประสงค์จะให้ตาย จึงปล่อยไม้กลอนลงบนกระหม่อมภิกษุผู้อยู่ข้างล่างนั้นถึงแก่มรณภาพ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ “เธอคิดอย่างไร”
    ภิกษุ “ ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า”
    พระผู้มีพระภาคเจ้า “ ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปราชิกแล้ว”



    ……..ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วกันทำนวกรรม ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างล่างยกไม้กลอนส่งขึ้นไป ภิกษุผู้อยู่ข้างบนมีความประสงค์จะให้ตาย จึงปล่อยไม้กลอนลงบนกระหม่อมภิกษุผู้อยู่ข้างล่าง แต่ภิกษุผู้อยู่ด้านล่างนั้นไม่ถึงแก่มรณภาพ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ “เธอคิดอย่างไร”
    ภิกษุ “ ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า”
    พระผู้มีพระภาคเจ้า “ ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย”

    ชาวอาฬวีเป็นผู้ที่ชอบก่อสร้าง เนื่องจากสมบูรณ์ด้วยป่าไม้สัก ดังนั้นการก่อสร้างจึงสร้างสูงใหญ่ และใช้เครื่องบนที่ทำด้วยไม้ การก่อสร้างวิหารที่สูงนี้จะต้องทำร่างร้านขึ้นไป ปรากฎหลักฐานการก่อสร้างของพระภิกษุชลาวอาฬวี ซึ่งก่อสร้างวิหารที่สูงใหญ่ในสมัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเสด็จไปจำพรรษาที่เมืองอาฬวีไว้ในพระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค ตติยปราชิกัณฑ์ วินีตวัตถุ ว่า

    …….ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ผูกร่างร้านทำนวกรรม ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกะภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า อาวุโส ท่านจงยืนผูกที่ตรงนี้ ภิกษุนั้นยืนผูกอยู่ ณ ที่นั้น ได้พลัดตกลงถึงมรณภาพ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า “ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร”
    ภิกษุ “ข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า”
    พระผู้มีพระภาคเจ้า “ดูก่อนภิกษุ ภิกษุไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่ต้องอาบัติ”
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มีนาคม 2012
  15. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    พระพุทธศาสนา....โหราศาสตร์...คนไทย (๗) อาฬวีรัฐ เชียงรุ้ง ชิงหลิน กิมหลิน

    ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีช่วยกันสร้างวิหารที่อยู่ ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างบน มีความประสงค์จะให้ตาย จึงปล่อยศิลาลงบนกระหม่อม ภิกษุผู้อยู่ข้างล่าง ภิกษุผู้อยู่ข้างล่างนี้ถึงมรณภาพแล้ว เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนี้แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า “ดูก่อนภิกษุเธอคิดอย่างไร”
    ภิกษุ “พระพุทธเจ้าข้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า”
    พระผู้มีพระภาคเจ้า “ ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปราชิกแล้ว”


    ……โดยสมัยนั้นแล พวกชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันสร้างวิหารที่อยู่ ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างล่าง ยกศิลาส่งขึ้นไป ภิกษุผู้อย่างข้างบนมีความประสงค์จะให้ตาย จึงปล่อยศิลาลงบนกระหม่อมภุกษุผู้อยู่ข้างล่าง แต่ภิกษุผู้อยู่ข้างล่างไม่ถึงมรณภาพ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องปราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่าถามว่า “ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร”
    ภิกษุ “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า”
    พระผู้มีพระภาคเจ้า “เธอไม่ต้องปราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย”


    ……..ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันก่อฝาผนังวิหาร ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างล่างส่งอิฐขึ้นไป อิฐที่ภิกษุผู้อยู่ข้างบนรับไว้ไม่มั่น ได้หล่นทับกระหม่อมภิกษุผู้อยู่ข้างล่างถึงมรณภาพแล้ว เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ “เธอคิดอย่างไร”
    ภิกษุ “ข้าพระพุทธเจ้า มิได้จงใจ พระพุทธเจ้าข้า”
    พระผู้มีพระภาคเจ้า “ ดูก่อนภิกษุ ภิกษุไม่จงใจ ไม่ต้องอาบัติ”



    ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันทำนวกรมภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างล่างส่งมีดขึ้นไป มีดที่ภิกษุผู้อยู่ข้างบนรับไว้ไม่มั่น ได้ตกลงบนกระหม่อมภิกษุผู้อยู่ข้างล่างถึงมรณภาพ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปราชิกเสียแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสถามว่า “ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร”
    ภิกษุ “ข้าพระพุทธเจ้า มิได้จงใจ พระพุทธเจ้าข้า”
    พระผู้มีพระภาคเจ้า “ดูก่อนภิกษุ ภิกษุไม่จงใจ ไม่ต้องอาบัติ”


    ……..ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันทำนวกรรมภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างล่างส่งมีดขึ้นไป ภิกษุผู้อยู่ข้างบนมีความประสงค์จะให้ตายจึงปล่อยมีดลงบนกระหม่อมภิกษุผู้อยู่ข้างล่างถึงมรณภาพ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ “เธอคิดอย่างไร”
    ภิกษุ “ ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า”
    พระผู้มีพระภาคเจ้า “ ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปราชิกแล้ว”


    ……..ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันทำนวกรรม ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างล่างส่งมีดขึ้นไป ภิกษุผู้อยู่ข้างบนมีความประสงค์จะให้ตาย จึงปล่อยมีดลงบนกระหม่อมภิกษุผู้อยู่ข้างล่าง แต่ภิกษุผู้อยู่ข้างล่างไม่ถึงมรณภาพ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ “เธอคิดอย่างไร”
    ภิกษุ “ ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า”
    พระผู้มีพระภาคเจ้า “ ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปราชิกแล้ว แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย”



    ……..ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันทำนวกรรม ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างล่างยกไม้กลอนส่งขึ้นไป ไม้กลอนที่ภิกษุผู้อยู่ข้างบนจับไว้ไม่มั่น ได้พลัดตกลงบนกระหม่อมลงบนกระหม่อมภิกษุผู้อยู่ข้างล่างนั้นถึงแก่มรณภาพ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ “เธอคิดอย่างไร”
    ภิกษุ “ ข้าพระพุทธเจ้า มิได้จงใจพระพุทธเจ้าข้า”
    พระผู้มีพระภาคเจ้า “ ดูก่อนภิกษุ เธอไม่จงใจ ไม่ต้องอาบัติ”



    ……..ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วกันทำนวกรรม ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างล่างยกไม้กลอนส่งขึ้นไป ภิกษุผู้อยู่ข้างบนมีความประสงค์จะให้ตาย จึงปล่อยไม้กลอนลงบนกระหม่อมภิกษุผู้อยู่ข้างล่างนั้นถึงแก่มรณภาพ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ “เธอคิดอย่างไร”
    ภิกษุ “ ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า”
    พระผู้มีพระภาคเจ้า “ ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปราชิกแล้ว”



    ……..ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วกันทำนวกรรม ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างล่างยกไม้กลอนส่งขึ้นไป ภิกษุผู้อยู่ข้างบนมีความประสงค์จะให้ตาย จึงปล่อยไม้กลอนลงบนกระหม่อมภิกษุผู้อยู่ข้างล่าง แต่ภิกษุผู้อยู่ด้านล่างนั้นไม่ถึงแก่มรณภาพ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ “เธอคิดอย่างไร”
    ภิกษุ “ ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า”
    พระผู้มีพระภาคเจ้า “ ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย”

    ชาวอาฬวีเป็นผู้ที่ชอบก่อสร้าง เนื่องจากสมบูรณ์ด้วยป่าไม้สัก ดังนั้นการก่อสร้างจึงสร้างสูงใหญ่ และใช้เครื่องบนที่ทำด้วยไม้ การก่อสร้างวิหารที่สูงนี้จะต้องทำร่างร้านขึ้นไป ปรากฎหลักฐานการก่อสร้างของพระภิกษุชลาวอาฬวี ซึ่งก่อสร้างวิหารที่สูงใหญ่ในสมัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเสด็จไปจำพรรษาที่เมืองอาฬวีไว้ในพระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค ตติยปราชิกัณฑ์ วินีตวัตถุ ว่า

    …….ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ผูกร่างร้านทำนวกรรม ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกะภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า อาวุโส ท่านจงยืนผูกที่ตรงนี้ ภิกษุนั้นยืนผูกอยู่ ณ ที่นั้น ได้พลัดตกลงถึงมรณภาพ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า “ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร”
    ภิกษุ “ข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า”
    พระผู้มีพระภาคเจ้า “ดูก่อนภิกษุ ภิกษุไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่ต้องอาบัติ”
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มีนาคม 2012
  16. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    พระพุทธศาสนา....โหราศาสตร์...คนไทย (๘) สาม ศาม ศยัม ศยาม สยาม

    ที่มาของคำว่า “สยาม”

    สิ่งที่น่าสนใจและควรนำไปค้นคว้าต่อสำหรับที่มาแห่งคำว่า “สยาม” คือเรื่องเมืองโกสัมพี หรือโกสามพี ซึ่งท่านทั้งหลายอาจจะเข้าใจว่าเป็นของแขกอินเดีย อันที่จริงแล้วชาวอินเดียนั้นเป็นชนชาติภารตะ อยู่ทางตอนล่าง(ใต้) ของประเทศอินเดียปัจจุบัน ส่วนตอนเหนือนั้นเป็นดินแดนของชาวอริย หรืออริยกะ ซึ่งมีสองสาย คือ จันทรวงศ์” ผู้นับเวลาด้วยระบบจันทรคติ และ สุริยวงศ์ ผู้นับเวลาด้วยระบบสุริยคติ ดังนั้น จึงควรทราบให้ถูกต้องตามประวัติศาสตร์ และโบราณคดี สำหรับเมืองโกสามพี (Kosambi) คือเมืองหลวงของแคว้นวังสะอยู่ตอนเหนือ เป็นเมืองที่สำคัญมากในสมัยพุทธกาล ทั้งนี้เพราะเมืองโกสามพีตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าทางบก เป็นสถานที่พักสินค้าและนายวานิช

    ปรากฎเรื่องราวของเมืองโกสัมพีอยู่ในพระบาลีสุตตนิบาตว่าด้วยเรื่องเส้นทางการขายโบราณนั้น จะผ่านเมือง มหิสสติ อุชเชนี โคนันทธะ เวทิสา วนสัพยหะ โกสามพี สาเกต สาวัตถี เสตัพยา กบิลพัสดุ์ กุสินารา ปาวา โภคนคร เวสาลี และราชคฤห์ นอกจากนั้นยังสามารถเดินทางน้ำจากเมืองโกสามพีสู่ประเทศต่าง ๆ เพราะเส้นทางค้าขายนี้เป็นตัวช่วยอย่างหนึ่ง ดังนั้นจึงปรากฎเรื่องราวของเมืองโกสามพีอยู่ในพระไตรปิฎกมากมายหลายแห่ง พระพุทธองค์บรมศาสดา ได้เสด็จมายังกรุงโกสามพีหลายครั้งหลายหน และประทับอยู่ ณ วัดใดวัดหนึ่งในบรรดาวัดทั้งสามคือ กุกกุฏาราม โฆษิตาราม และปาวาริกัมพวัน ซึ่งชาวเมืองโกสามพีซึ่งมีชื่อตามวัดดังกล่าวนั้นได้สร้างถวายเป็นพุทธบูชา และเมืองโกสามพีนี้เองเป็นที่กำเนิดของพระพุทธรูปปางป่าเลไลย์ อันมีต้นเหตุจากมีการทะเลาะวิวาทกันระหว่างภิกษุฝ่ายวินัยธร กับฝ่ายธรรมธร ของวัดโฆษิตาราม และเป็นผลให้สงฆ์แตกกันเป็นสองฝ่าย พระพุทธองค์ทรงห้ามไม่ฟัง พระองค์จึงทรงเสด็จเข้าสู่ป่าเลไลย์ มีพญาช้าง และจ่าฝูงลิงคอยอุปปัฎฐาก (จึงนำมาสร้างเป็นพระพุทธรูปใช้บูชาเมื่อเป็นความขึ้นโรงขึ้นศาล) และด้วยเหตุที่พระพุทธองค์เสด็จเข้าสู่ป่าเลไลยกะ ทำให้สงฆ์ทั้งสองฝ่ายที่วิวาทกัน สำนึกผิดและคืนดีกันได้

    แม้ภายหลังพุทธกาลเมื่อปฐมสังคายนาแล้ว พระมหากัจจายนได้มาอาศัยอยู่พร้อมด้วยศิษย์ที่ป่าเมืองโกสามพีนี้ ในคัมภีร์มหาวงศ์ได้กล่าวถึงรัชสมัยของพระเจ้าทุฎฐคามินีแห่งเกาะสิงหฬ ได้อาราธนาพระอุรุธัมมรักขิตอรหันต์เถระ พร้อมด้วยพระอรหันต์สามหมื่นรูปเดินทางไปยังเกาะสิงหล

    ที่กล่าวถึงเมืองโกสามพีมานี้ก็เพื่อจะแสดงให้เห็นความสำคัญทางด้านการเศรษฐกิจและการศาสนา แต่ที่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ “กำเนิดแห่งเมืองโกสามพี” ตาม “พงศาวดารวังสะ” กล่าวไว้ว่า ชื่อของเมืองโกสามพีนั้นมาจาก “เมืองนี้เป็นที่กำเนิดของกษัตริย์ชาวสามเก้าพระองค์” จึงได้ชื่อว่า “เก้าสามพญา” สมัยโบราณเรียกกษัตริย์ว่า พญา เช่น พญารามคำแหง พญาบาลเมือง ) ต่อมาเมื่อสมัยพุทธกาลจึงเรียกออกสำเนียงว่า “โกสามพี” (รายละเอียดเรื่องกษัตริย์ ๙ พระองค์ขอให้อ่านในบทที่ ๘) ในที่นี้จะกล่าวถึงคำว่า “ชาวสาม” คือชนชาติอะไร ? เท่านั้น


    ตามจารึกภาษาคูนิพอร์มของชาวบาบิโลนเนีย มีความว่า “ทิศตะวันตกเฉียงเหนือถึงแถบหิมาลัย มีชนเผ่าหนึ่งนับถือดวงอาทิตย์เป็นเจ้าแห่งตน ชนพวกนี้เรียกตัวเองว่า “สามะ” (Sama) ตรงกับบันทึกประวัติศาสตร์ของเปอร์เซียโบราณ เรียกว่า “สามะ” (นักประวัติศาสตร์อังกฤษ เรียก Samatian)



    บันทึกประวัติศาสตร์ของหอสมุดอาเล็กชานเดรียในกระดาษปาปิรุสมีว่า “ชนเผ่าสามะ (Sama) ได้ขยายตัวลงมายังเอเซียไมเนอร์แผ่อิทธิพลเหนือแถบแม่น้ำไทกีส - ยูเฟรติส และแม่น้ำไนล์ตอนบน มีเมืองหลวงของตนอยู่บนเนินที่อุดมสมบูรณ์ชื่อว่า “กรุงเทยฺย” บาดหลวงผรั่งเศสเมื่อครั้งมาสำรวจอีจีปต์พร้อมจักรพรรดินโปเลียน ได้คัดลอกบันทึกเป็นภาษาฝรั่งเศส ออกเสียงเป็น “กรุงทรอย”


    จากพงศาวดารคันธาระระบุว่า “ชนชาติสามะ นั้นเป็นคำที่มาจากภาษาปรากิต เมื่อเรียกตามสำเนียงภาษาบาลีจะเป็น “สาม” และเมื่อออกเสียงเป็นสันสกฤตจะเป็น “ศยัม” หรือ “ศยาม” และไม่ว่าจะออกเสียงอย่างไร ความหมายของคำ ๆ นี้จะตรงกัน คือ “สักดำ” หรือ “ชนผู้มีรอยสักสีดำ” และตรงกันกับความหมายของภาษาเปอร์เซียโบราณที่เรียกชาวสามว่า Sama ซึ่งแปลว่า “ชนเผ่าที่มีสัญลักษณ์สักตัวด้วยสีดำ”


    ในบันทึกเก่าแก่ของเมืองฉิน (๕๗๙) ปีก่อนพุทธกาล ได้บันทึกเรียกดินแดนของชนเหล่านี้ว่า “สาน” โดยบอกลักษณะเฉพาะไว้ว่า “ดินแดนของพวกเขาไปทางตะวันตก เลยเทียนชาน เลยโกลาโคลัม ผู้ชายของชนเหล่านี้ทั้งหมด กินหมาก สักหมึกเป็นตัวรูปช้าง รูปมังกร นุ่งผ้ามีชายกระเบนห้อยข้างหลัง พวกเขามีเชื้อสายแยกเป็น ๙ ตระกูล”

    ในจารึกนครจำปาระบุถึง “กษัตริย์ศรีสุวรภูมิ มหาราชแห่งชาวสาน ผู้ลบศักราชนามว่า “ศรีสิทธิชัยพรหมเทพ” ได้ส่งราชโอรสไปครองเมืองโกสามพี”


    จากข้อมูลทั้งหมดนี้ ไม่ปรากฎเรื่องการทำสงครามเพื่อแย่งชิงเมืองโกสามพี นั่นย่อมแสดงว่าเมืองโกสามพีเป็นเมือง ๆ หนึ่งของอาณาจักรศรีสุวรภูมิ และชนในศรีสุวรภูมิคือชน “ชาวสาน” จึงทำการค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างต่อเนื่องได้ผลว่า ช่วงสมัยหลังพุทธกาลประมาณ พ.ศ. ๑๑๑๑ กษัตริย์แห่งนครโมหัน แคว้นมโนหาร (ต่อมาเรียกว่า เมืองมหานคร ซึ่งมีดินแดนติดกับยโสธร ปัจจุบันเหลือเนื้อที่เล็กน้อยเรียกว่า เกาะดอนแก้ว อยู่กลาง หนองหานน้อย กุมภวาปี ยังมีโบราณสถาน สถาปัตยกรรมศรีสุวรภูมิดังเดิมเหลืออยู่ โดยเฉพาะใบเสมารุ่นแรก ซึ่งสูงใหญ่กว่า ๑๐ วา) อันเป็นนครลูกหลวงของอาณาจักรศรีสุวรภูมิ เมื่อครองนคร แล้ว ๑๕ ปี จึงเดินพล พร้อมบรรณาการมายังนครหลวง เยี่ยมพระประยูรญาติที่เมืองราด (ราชบุรี) ไหว้พระปฐมซึ่งพระโสณะอรหันต์เจ้า ได้สร้างไว้นั้นในวิสาขวารปีรุ่ง ได้พักไพร่พลบนที่ดอนเดิมเป็นเกาะซึ่งดินได้งอกเชื่อมต่อกันกับแผ่นดิน เป็นผืนกว้างใหญ่ใกล้ทะเลมีชัยภูมิเหมาะ ต่อการสร้างเมือง จึงหมายตาปักไม้ไว้กลับถึงนครโมหัน หลังดำรินั้น ๒ ปี จึงให้ราชโอรสชื่อ ศรีสิทธิชัย (พระยาสักรดำ) ซึ่งดูแลเทพนคร (เทนนครเป็นเมืองกัลปนา คือเมืองที่ถวายเป็นไทยทานแก่พระอรหันต์ คือเมืองศรีเทพ ในเพชรบุรีปัจจุบัน ทรงมอบข้าทาสบริวารของพระองค์ส่วนหนึ่ง ให้ไปสร้างเมืองใหม่ยังดอนตำแหน่งที่หมายตาไว้นั้น เมื่อสร้างเมืองได้ ๗ ปี จึงเสร็จ ในจดหมายเหตุของปาโตเลมี เรียกชื่อเกาะตามลักษณะที่มีชนชาว สาม อพยพมาอยู่ว่า “สามรัฐ” (Sam Rade) จดหมายเหตุของหลวงจีนอี่จิง เรียกว่า “หลั่ง-ยะ-สิว หรือหลั่ง-ยะ-ซู ซึ่งในที่สุดนานา (จารึกคำว่า “ศามภู ที่ฐานพระพุทธรูปพบที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อ.เมืองลพบุรี โดยกรมศิลปากร ) ประเทศก็ยอมรับตามกันเรียกว่า “ศาม” ปรากฎหลักฐานที่ฐานพระพุทธรูป ยืนเมืองลพบุรี (พ.ศ. ๑๕๒๑) ว่า “ศามฺภู” ในจารึกแสดงให้เห็นการเป็นพุทธมามกะของพระมหากษัตริย์ไทย และความมีอยู่จริงของอาณาจักรสยาม (จีนเรียกว่า “เสียน” ภายหลังรุ่งเรืองชาวเมืองราดจึงย้ายเข้ามาอยู่มาก จึงกลายเป็นเมืองแม่ไปในในที่สุด ทั้งปรากฎคำว่า “ศาม” ในคาถาที่ ๑๖ ของจารึกปราสาทพระขรรค์ว่า “ศามภู” (พ.ศ. ๑๗๓๔ ) ตรงกัน จึงเป็นอันพบข้อสรุปที่สามารถตอบได้ว่า “ชนชาวสาม” นั้นคือ ชนชาติใด


    ที่มาของคำว่า ศยัม, ศยาม, สยาม กลายเป็น “เสียม” นั้นเกิดจากการออกสำเนียงและใช้ตัวอักษรขอมซึ่งเป็นอักษรประเภท “โฆษะ” (ออกเสียงจากลำคอขึ้นจมูก ในภาษาอังกฤษ เรียก อักษรประเภทนี้ว่า “Aspirated”) อักษรโฆษะนั้น สระอา ของขอมจะออกเสียงเป็น “เอีย” ส่วน “เอีย” จะออกเสียงเป็น “อา” ดังนั้น คำว่า “ยาม” จึงกลายเป็น “เยียม” ทำให้ “สาม” กลายเป็น “เสียม” จีนจึงออกเสียงตามนั้น จากกรณีที่จีนติดต่อกับหลายประเทศทำให้คำว่า “เสียม” ของจีนกระจายทั่วไป

    (มีต่อ )
     
  17. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    พระพุทธศาสนา....โหราศาสตร์...คนไทย (๘) สาม ศาม ศยัม ศยาม สยาม

    พระยาสักรคำ เมื่อทรงครองราชย์แล้วได้เถลิงพระนามพระองค์ใหม่ว่า “ศรีสิทธิชัยพรหมเทพ ในประวัติศาสตร์โบราณคดี เรียกว่า “พระกาวัณดิศราช” ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองและพระศาสนาเป็นอันมาก ทรงสร้างอนุสาวรีย์แห่งความสำนึกในความเป็นชนชาติไทยที่ไม่มีชนชาติใดในโลกจะสามารถทำได้ โดยใช้ศักราชของชนชาติตนยั่งยืนนับพันปีได้นอกจาก “ชนชาติไทย” นับเป็นพระอัจฉะริยะของพระมหากษัตริย์ไทย ที่สร้างความภูมิใจให้แก่อนุชนรุ่นหลังสืบต่อกันมานับพันปี นั่นคือการสร้าง “ศักราชของชนชาติไทย อันเป็นศักราชชนชาติ มิใช่ศักราชศาสนา และเป็นประเทศเดียวในโลกจัดว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ อันมีความสำคัญมากกว่ามหาปีรามิดกีซ่า เพราะนี่คือศักราชของชนชาติไทย โดยพระมหากษัตริย์ไทย เพื่อประชาชนไทยโดยแท้

    (กรณีนี้ได้มีนักล่าเมืองขึ้นในคราบนักวิชาการ บิดเบือนประวัติศาสตร์โดยเจตนา เพื่อให้เกิดข้อขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ โดยได้ข้อมูลว่าพม่าคิดขึ้นและไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยืนยันอีกด้วย แม้ขณะนี้ก็ยังไม่มีการแก้ไข)

    เมื่อพระยากาวัณดิศราช (พระยาสักรดำ) ทรงครองราชย์มาได้ ๗๑ ปี ทรงเห็นว่าชนชาติไทยควรมีปีของตนอันหมายถึงชาติควบคู่ไปกับพระพุทธศาสนา ชาติไทยจักได้วัฒนาการ ไม่สิ้น ชาติยั่งยืนตราบเท่ากับอายุของพระพุทธศาสนา ๕,๐๐๐ ปี จึงถึงวันพฤหัสบดี แรม ๑ ค่ำ เดือน ๕ ปี พ.ศ. ๑๑๘๒ ทรงให้ตั้งศักราชสำหรับชนชาติไทยใช้คู่กันกับพระพุทธศักราช ปรากฎในพงศาวดารเหนือว่า “…..ให้ตั้งศักราชสำหรับกรุงกษัตริย์สืบไปเมื่อหน้า จึงให้ทรงตั้ง ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๕ แรม ๑ ค่ำ จุลศักราช ปีชวดเป็นเอกศก เป็นมหาสงกรานต์ไปแล้ว จึงให้ยกขึ้นเป็น จุลศักราชวันเดือนใหม่ ถ้าแลมหาสงกรานต์ ยังมิไป ด้วยดิถีเดือนนั้นยังไม่ครบ ๓๖๐ วัน นับเวลาที่ครองราชย์ในนครอริมัทนบุรี (นครชัยศรี) ที่ทรงสร้างขึ้นนี้ ๗๑ ปี ศักราชที่พระองค์ทรงคำนวณขึ้นใหม่ให้ตรงกับระบบสุริยะจักรวาลนั้น เรียกว่า “จุลศักราช” แปลว่า “ศักราชเล็ก” เพราะพระเจ้ากนิษกะมหาราชบรรพกษัตริย์ไทยได้ทรงตั้ง “มหาศักราช” ไว้ก่อนหน้านั้น พระองค์จึงทรงขนานนามศักราชใหม่นี้ด้วยความเคารพ และความยิ่งใหญ่ของชนชาติไทย หรือ สาม หรือ สยัม สยาม ดังกล่าวนี้ได้ปรากฎหลักฐานภาพงานฉลองปราสาทนครวัด ซึ่งจะเห็นกองทัพ สาม หรือ สยัม สยาม ที่เดินพลไปร่วมฉลองอย่างสง่างาม

    โดย Special Force

    [​IMG]
    …….ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ผูกร่างร้านทำนวกรรม ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะให้ตาย จึงได้กล่าวกะภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า “อาวุโส ท่านจงยืนผูกที่ตรงนี้” ภิกษุนั้นยืนผูกอยู่ ณ ที่นั้น ได้พลัดตกลงถึงมรณภาพ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า “ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร”
    ภิกษุ “ข้าพระพุทธเจ้า มิได้มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า”
    พระผู้มีพระภาคเจ้า “ดูก่อนภิกษุ เธอเต้องอาบัติปราชิกแล้ว”



    …….ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ผูกร่างร้านทำนวกรรม ภิกษุรูปหนึ่งมีความประสงค์จะให้ตาย จึงได้กล่าวกะภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า “อาวุโส ท่านจงยืนผูกที่ตรงนี้” ภิกษุนั้นยืนผูกอยู่ ณ ที่นั้น ได้พลัดตกลงมา แต่ไม่ถึงมรณภาพ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า “ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร”
    ภิกษุ “ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า”
    พระผู้มีพระภาคเจ้า “ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย”



    ศิลาจารึกโหราศาสตร์สุวรรณโคมคำ สมัยบาบิโลน ก่อนพุทธศักราช 3000 ปี


    อาฬวีกับวันชาติไทย
    อาฬวีในยุคโบราณนั้นฐานะเป็นรัฐที่ใหญ่มากรัฐหนึ่งของชนชาติไทย จัดเป็นแคว้นหนึ่งใน ๑๖ แคว้นของชมพูทวีป จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยืนยันอย่างได้ข้อสรุปว่า ครั้งหนึ่งกษัตริย์แห่งอาณาจักรศรีสุวรภูมิมีพระบรมเดชานุภาพแผ่ไปจนถึงอ่าวอาระกัน อันเป็นที่ตั้งของกลิครัฐ ดังปรากฎอยู่ในตำนานสิงหนวัติกุมาร จารึกไว้ว่า
    “พระพุทธเจ้าล่วงไปได้ ๑๑๘๓ พรรษาวันนั้นยังมีมหานครหนึ่งมีราชวงศ์กับราชธานีทั้งปวงมีพันเมืองมีขจัติยกษัตริย์ มีเมืองโยนกเชียงแสนเป็นประธาน อาฬวี ๑ จุฬานี ๑ จันทบุรี ๑ โกสัมพี ๑ หงสาวดี ๑ กลิงคราช๑ สังกตา ๑ สัตตนาหะ ๑ ทวารบุรี ๑ เท่านี้เป็นประธานแล แต่นั้นยังมีพระยาตนหนึ่ง ชื่อ อนุรุธธรรมิกราช เป็นผู้ใหญ่ในเมืองมลราช และเป็นใหญ่ในเมืองทั้งหลาย สมัยนั้นเมืองใหญ่ในชมพูทวีปมี ๘๔,๐๐๐ เมือง มีท้าวพระยามหากษัตริย์ทั้งนั้น ที่มีท้าวพระยามหากษัตริย์นั้น ก็พร้อมกัน ณ ที่พระยาธรรมตนนั้นสิ้นทุกเมือง….




    ครั้งนั้น ท้าวพระยามหากษัตริย์ทั้งหลาย ก็ไปพร้อมกันนบไหว้พระยาธรรมิกราช ว่า เมืองไทยถ้วนทั้งหลายมีพันเมือง เขาหาเจ้าที่จะครองเมืองมิได้ เขาก็ได้มาพร้องกันในที่นี้ ครั้งนั้นพระยาอนุรุธ ก็เจรจากับด้วยเทวบุตรตนนั้น ว่า ขอเทวบุตรเจ้าจงหาท้าวพระยาคนมีบุญสมภารควรเป็นขัตติยวงศ์นั้นให้แก่เขาด้วยเทอญ…..
    กาลนั้นลวะจังกราชเทวบุตรตนนั้น ก็พร้อมด้วยบริวารมีเทวดาและเทวบุตรทั้งหลายพันตน ก่ายเกยถือมาแต่จอมเขายุคนธร มาสู่ต้นไม้หมากต้นหนึ่งแล้ว…. ชาวเวียงปรึกษาทั้งมวลก็พร้อมกันอาราธนาขึ้นขี่ราชรถ อัญเชิญมาสู่เวียงแห่งเขาแล้ว ก็อุสาราชภิเษกให้เป็นเจ้าแก่เขาทั้งหลายในกาลนั้นแล

    (ท้าวพระยาเหล่านั้น) ท่านก็รับเอาคำพระยาอินทร์และพระยาอนุรุธธรรมิกราชมาแล้วก็ป่าวร้องท้าพระยาทั้งหลาย ๙๙๙ เมือง มีแต่เมืองหริภุญชัยกับสุโขทัยมิได้มา (สองเมืองนี้ ขณะนั้นยังไม่ได้สร้าง ตำนานนี้เขียนขึ้นภายหลัง) เหลือนอกนั้นก็มาพร้อมกันกับด้วยตัวพระยาลวเข้าสิ้นแล
    ท่านก็ “ตัดศักราช” อันพระยาตรีจักษุตั้งไว้ได้ ๕๖๐ ตัวนั้นเสียในวันคืน เดือนห้า ออกค่ำหนึ่ง วันอาทิตย์ ยามใกล้รุ่งแจ้ง แล้วตั้งศักราชใหม่ไว้ตัวหนึ่ง ยามรุ่งแจ้งแล้วเป็นตติยศักราช (จุลศักราชใหม่) ปีใหม่ ปีกัดไจ๊นั้นแล….



    กาลนั้นพระยาท่านก็พร้อมกันด้วยเสนาอำมาตย์ทั้งหลาย สร้างเวียงขุดคู…ก็เรียก ชื่อว่าเวียงหริเงินยางเชียงแสน ว่าดังนั้นแล นามวิเศษก็ปรากฎชื่อพระยาลวะจักราชว่าดังนั้น ครั้งนั้นท้าวพระยา ๙๙๘ เมืองนั้น ก็รับเอาพระราชอาชญาพระยาแจ้งแล้ว ก็สั่งอำลาพระยาลวะจักราช แล้วก็หนีมื้อสู่บ้านเมือง ที่อยู่ของทุกคนแล…(ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๑ ) เหตุการณ์นี้คือการแต่งตั้งให้พระยาลวะจักราช (บางตำรา เรียกว่า ปู่เจ้าลาวจก) เป็นกษัตริย์โดยสร้างเมืองใหม่คือนครหริเงินยางเชียงแสน(อยู่ที่ อ.เชียงแสน จ. เชียงราย) เป็นราชธานีของอาณาจักรโยนก แทนนาคนคร (โยนกนาคนคร) ซึ่งมีพระยาวันเชื้อสายทองของพระเจ้าสิงหนวัติซึ่งชราภาพมากแล้วครองอยู่ ซึ่งเป็นญาติกับลวจักราช ปู่จ้าวลวจักราช เป็นที่นับถือของไทยภาคเหนือตลอดมา ตระกูลลวะจก คือกลุ่มไทยอาณาจักรล้านช้าง ลวทยฺย ไม่ใช่ชาวเผ่าลั้วะ แต่เป็นเจ้าเมืองจก ซึ่งเป็นอาณาจักรของชนเผ่าไทย แม่แต่ “ขงเบ้ง” ในสามก๊ก ก็เป็นชาวเมืองจก ไม่ใช่ชาวจีนอย่างที่เราเข้าใจ (ปัจจุบันเมืองจกอยู่ในมลฑลยูนาน ประเทศจีน) รายละเอียดเรื่องจุลศักราชได้กล่าวไปในบทก่อนแล้ว จึงไม่ขอกล่าวซ้ำอีก
    หลังพุทธกาลในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชนั้น รายนาม ๑๖ แคว้นของชมพู

    หลังพุทธกาลในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชนั้น รายนาม ๑๖ แคว้นของชมพูทวีปนั้นได้ปรากฎนามของ “แคว้นอาฬวี” หรือ “แคว้นเชียงรุ้ง อยู่ในหนึ่งของ ๑๖ แคว้นใหญ่ของชมพูทวีปนั้นด้วย ทั้งนี้ก็เพราะว่า พระราชโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราชพระองค์หนึ่ง ชื่อว่าพระเจ้าไทดี (Duke De) เป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรสุวรภูมิตอนเหนือครอบคลุมตลอดลุ่มแม่น้ำเหลือง ถึงทะเลจีนให้ทั้งหมด อีกทั้งราชโอรสทั้ง ๙ พระองค์ของพระเจ้าไทดี ล้วนเป็นต้นราชวงศ์ใหญ่ในประวัติศาสตร์ทั้งสิ้น เช่น เป็นต้นราชวงศ์ “หาญ” (จีนเรียกว่า ฮั่น) เป็นราชวงศ์ที่ปกครองจีนนานที่สุดจนถึงยุคสามก๊ก และในฝ่ายชมพูทวีป เห็นจะได้แก่ ราชวงศ์ “กุษาน” เช่น พระเจ้ากนิษกะมหาราช เป็นต้นราชวงศ์ในสายของพระเจ้าไทดีล้วนทุ่มเทชีวิต จิตใจ อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาแผ่นดินร่มเย็นสงบปราศจากใจรผู้ร้าย ประชาชนล้วนถือศีลประพฤติธรรมอย่างมั่นคง ทั้งนี้เพราะว่า “ชนชาติไทยมิใช่นับถือพระพุทธศาสนาด้วยความศรัทธาในสัจจธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น พระพุทธศาสนายังเป็นมรดกแห่งบรรพบุรุษของชนชาติไทย เพราะต้นโค ตรวงศ์แห่งโคตมะนั้นคือชนชาติไทย ดังนั้น เมื่อพูดถึงคนไทย ณ ส่วนใดของโลก ชนต่างชาติจะต้องรู้โดยสัญชาตญาณว่า คนไทยต้องนับถือพระพุทธศาสนา แต่เมื่อใดที่เขาพบคนไทยที่นับถือศาสนาอื่น ก็จะเห็นว่าเป็นเรื่องประหลาด เพราะนั่นหมายถึงการเนรคุณบรรพชน สมเด็จพระมหาวชิราวุธ รัชกาลที่ ๖ ทรงตรัสไว้ในเทศนาเสือป่าว่า “คนไทยที่เปลี่ยนศาสนาจากพุทธไปนับถือศาสนาอื่นเลวยิ่งกว่าการขายชาติ เนรคุณได้แม้แต่บรรพชนเขาจะซื่อสัตย์กตัญญูต่อใครนั้นเป็นอันไม่หวังได้ ต่ำทรามกว่าสัตว์เดรัจฉาน ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่โดยความเป็นไทยที่จะต้องรักษาป้องกันพระพุทธศาสนาไว้ด้วยชีวิตของเรา


    สมเด็จพระมหาวชิราวุธ รัชกาลที่ ๖ ทรงตรัสไว้ในเทศนาเสือป่าว่า “คนไทยที่เปลี่ยนศาสนาจากพุทธไปนับถือศาสนาอื่นเลวยิ่งกว่าการขายชาติ เนรคุณได้แม้แต่บรรพชนเขาจะซื่อสัตย์กตัญญูต่อใครนั้นเป็นอันไม่หวังได้ ต่ำทรามกว่าสัตว์เดรัจฉาน ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่โดยความเป็นไทยที่จะต้องรักษาป้องกันพระพุทธศาสนาไว้ด้วยชีวิตของเรา


    ความคิดเห็นของท่าน Ghost Bat

    ขออนุญาตท่าน Special Force เพิ่มเติมเพื่อความสมบูรณ์แห่งเนื้อหา และความเข้าใจอันถูกต้องของนักโบราณคดียุคปัจจุบัน ในส่วนของ อาณาจักรอาฬวี(อ่านว่า อา - ละ - วี ) มีความหมายและเกี่ยวข้องกับชนชาติไทยอย่างไร


    จากเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด และเชื่อถือได้ที่สุด(เพราะตรวจทานโดยพระอรหันต์ตลอดมา) คือ พระไตรปิฏกบาลี ได้กล่าวถึงอาณาจักรโบราณ ที่เรียกชื่อแตกต่างกันไปกับสมัยปัจจุบัน หรือ ต่างกับความฝันกลางแดด(นึกภาพเอาเอง) ของนักโบราณคดีตะวันตก ที่ไม่เคยรู้ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรม ประเพณี และศาสนาของชาวบูรพทิศ เอาความคิดของตนมาเสกสรรปั้นแต่ง แล้วบังคับใส่ในสมองคนทั่วไปในโลก จนความเท็จกลายเป็นความจริง แม้ในประเทศไทยก็ไม่ยกเว้น ( ความนี้กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็ได้เขียนสารภาพไว้ก่อนสิ้นพระชนม์ ถึงความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ที่นับถือและเชื่อภารโรงชาวฝรั่งเศสที่ชื่อ ยอร์ดเซ เด... ไว้จะเล่าให้ฟังทีหลังว่า ยอร์ช เซเด เป็นไงมาไง...ละกันนะ ..ติดไว้ก่อน! ) ทำให้ท่านต้องเขียนประวัติศาสตร์ชนชาติไทยผิดเพี้ยนไป เพราะเจตนาของฝรั่งเศสตอนนั้นต้องการล่าเมืองขึ้น ก็เลยเปลี่ยนประวัติศาสตร์ไทยใหม่ โดยเขียนขึ้นใหม่ให้ไทยเป็นทาสมอญ ไม่มีภาษาเขียนใช้ เป็นพวกตระกูลทาส เป็นประเทศราชเมืองขึ้นเขามาแต่ปู่ย่าตาทวด แล้วทำไมจะเป็นเมืองขึ้นฝรั่งเศสไม่ได้ มันเป็นเงี้ยะ ท่านเสียพระทัย แม้จะสารภาพไว้ในจดหมายของท่าน แต่ที่ท่านได้เขียนเรื่องราวประวัติศาสตร์ไว้ก่อนหน้านั้นก็ไม่ได้แก้ไข คงเรียนกันต่อ ๆ มา เหมือนคนตาดีขาด้วน ขี่หลังคนตาบอดแล้วพากันเดิน ประเทศไทยก็เลยไม่มีวันชาติ ไม่มีประวัติศาสตร์อันไหนที่เชื่อได้สักเล่ม เพราะเปลี่ยนกันแทบทุกเม็ด ในยุคต้นรัตนโกสินทร์ มาจนถึงกรมพระยาดำรงฯ ท่านเขียนเล่าสารภาพไว้ อ่านแล้วน่าเศร้า ....
    เอาละ เข้าเรื่องที่ต้องการเสริมซะดีกว่า ไม่งั้นคงไหลไปจนถึงปากน้ำสมุทรปราการแน่....
    จากข้อมูลในพระไตรปิฏกบาลี ที่มีความถูกต้องแท้จริงได้กล่าวถึงอาณาจักอาฬวี ไว้ดังนี้

    ..... อาฬวี ได้ชื่อมาจากเหตุเป็นที่อยู่พำนักอาศัยของชนชาติทยฺย ที่ร่างกายโตใหญ่ มีประเพณีกรีดเลือดสาบานกันเป็นพี่น้อง หรือรับรองคำมั่นสัญญา จึงถูกเรียกว่าพวก " ยักษ์" (เพราะตัวใหญ่ จึงมีคำพังเพยโบราณ ที่พูดกันติดปากว่า ไทยเล็ก.. เจ๊กดำ..ไม่มี ความหมายคือ คนไทยต้องตัวโตสูงใหญ่ที่เรียกว่าคนแปดศอกนั่นแหละ) กฏหมายที่ใช้ในการลงโทษ หรือสังหารศัตรูด้วยการตัดคอให้เลือดขึ้นฟ้าเพื่อบูชาพญาแถน หรือ ลงโทษด้วยการเฉือนเนื้อทีละชิ้นแล้วเอาเกลือทาอย่างเหียมโหด จึงเป็นที่หวาดกลัวของอริราชศัตรู ประชาชน และอาณาจักทั้งหลาย

    .... เมืองอาฬวี มีเพชรพลอยหินมีค่าและทองคำ อันใช้เป็นเครื่องประดับ ชนอาฬวีใช้ทองคำเป็นเงินตราแลกเปลี่ยนสินค้าและการซื้อขาย ทั้งเพชรพลอย ทองคำ และหินมีค่ามีมากมายเกลื่อนไปในธารน้ำและภูเขา ประชาชนอาฬวีจึงนำมาใช้ประดับกันโดยทั่วไป ดังมีพระบาลีว่า " ... อลํ วิภูสนเมตฺถาติ = อาฬวี , ชื่อว่า อาฬวี เพราะมีเครื่องประดับมาก

    คนในอาณาจักรอาฬวี เรียกตนเองว่า " อลํ ( อ่านว่า อะ ลัง) อันเป็นคำย่อย่อของภาษาไทว่า " อ้ายลาว" เมื่อขียนตามหลักบาลีไวยากรณ์ คำว่า " อลํ " จะแปลง ล (ล.ลิง) เป็น ฬ ( ฬ.จุฬา) แล้ว ทีฆะ(ทำเสียงให้ยาว) จาก สระอะ เป็น สระอา จึงสำเร็จเป็นคำว่า อาฬ..(อาละ..หรืออ้ายลาว) คำว่า วี แปลว่าแคว้น รวมสำเร็จเป็นคำว่า " อาฬวี" (ภายหลังพุทธกาลเปลี่ยนเป็น เชียงรุ้ง ...เชียงแปลว่า เมือง รุ้งเป็นความหมายของอัญญมณี, สิ่งมีค่า, เจริญรุ่งเรือง) จีนเรียกว่า กิมหลิน(เมืองทอง) ปรากฏอยู่ในบันทึกจีน พ.ศ.๖๐๘

    ....เรื่องของชาวอาฬวี มีปรากฏอยู่ในพุทธมนต์บท "พาหุง" อันกล่าวถึง " อาฬวกยักษ์"(คราวนี้คงจะรวมความหมายแปลชื่อนี้ได้แล้วนะ) ในส่วน ของพระวินัยปิฏก ได้ระบุไว้ชัดเจนว่า ...พระพุทธองค์เป็นพระญาติ กับกษัตริย์แคว้นอาฬวีนี้ พระองค์ได้ทรงเสด็จไปกำหราบปราบยักษ์และทรงจำพรรษาอยู่ในแคว้นอาฬวีถึง ๒ พรรษา

    ..... การก่อสร้างปราสาท วัด วิหาร นิยมทำเป็นหอสูงสองชั้นโดยสร้างจากไม้ (ปรากฏดังพระวินัย ที่ท่านSpecial Force นำมาให้ดูตอนต้นนั้นแหละ) ลักษณะหอสูง หรือเรียกว่าปราสาท ยังปรากฏอยู่ในปัจจุบันเช่นเนปาล ภูฐาน บังคลาเทศ(เดิมเรียกว่า แคว้นอัสสัม หรือ ไทอัสสัม) ในส่วนที่เห็นชัดไปอีกก็คือวัดพม่า ซึ่งนักประวัติศาสตร์อังกฤษ(ที่เพิ่งจะรู้จักพม่าตอนล่าเมืองขึ้น เขียนเป็นตุเป็นตะว่าศิลปะพม่า นักโบราณคดีไทยก็เชื่อตามนั้น ...ไหงสมองเต้าหู้ขนาดนั้น....กรรม) ที่จริงแล้วเรียกว่า ศิลปอาฬวี เรียกให้ทันสมัยลงมาหน่อยก็คือศิลปเชียงรุ้ง แล้วพัฒนาเป็นศิลปล้านนา

    นักโบราณคดีไทยใจฝรั่งก็ไปเขียนตำรามาหลอกคนไทยด้วยกันว่า ที่ล้านนาใช้ศิลปเช่น "ซุ้มโขง" น่ะ เพราะไทยเป็นเมืองขึ้นพม่า มอญ ว่าไปโน่น ..... น่าสมเพชจริง ๆ

    หวังว่าคงจะขยายความกระจ่างได้ไม่มากก็น้อย สำหรับคำว่า "อาฬวี

    (มีต่อ)
     
  18. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    พระพุทธศาสนา....โหราศาสตร์...คนไทย (๙) กำเนิดสิงหนวัติโยนกนาคนคร

    [​IMG]


    กำเนิดสิงหนวัติโยนกนาคนคร

    ในกาลกาลียุคล่วงได้ ๒๔๑๑ เป็นสมัยเมื่อท้าวสีหตนุราชจะได้เป็นบรมกษัตริย์แห่งกรุงกบิลพัสดุ์มหานคร และพระเจ้าอัญชันทรงเป็นบรมกษัตริย์แห่งเทวทหะนคร ครั้งนั้นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงราชคฤห์ (นครไทยเทศ) ทรงเสด็จประพาสยังนครธานีแห่งมเหสีของพระองค์ ก็ในกาลนั้นพระมเหสีก็ได้ประสูติเป็นพระโอรสฝาแผด ๙ พระองค์ ยังความปรีดาเป็นอย่างยิ่งจึงทรงขนานนามนครนั้นเสียใหม่ว่า เมือง “เก้าสามพญา” (ต่อมาเรียกเป็น “โกสามพี” )


    เมื่อราชกุมารทั้ง ๙ ร่ำเรียนศิลปศาสตร์ทั้งหลายจนเจนจบ จึงทรงอภิเษกสมรสให้และให้แยกย้ายกันไปครองดินแดนในอาณาจักรแต่ละทิศถ้วนทั้ง ๘ ทิศ ด้วยเว้นไว้แต่ราชโอรสองค์โตอันมีนามว่า “เจ้าชายภาทิยะ (พระชนกของพระเจ้าพิมพิสาร) ทรงให้เถลิงอุปราชาภิเษกดำรงตำแหน่งมหาอุปราชแห่งกรุงราชคฤห์ เพื่อให้สืบสันติวงศ์ดำรงตำแหน่งราชสมบัติในพระนครราชคฤห์ต่อจากพระองค์

    ฝ่ายว่าราชกุมารทั้ง ๘ ซึ่งพระบิดามีพระบรมราชโองการให้ไปครองนครทั้ง ๘ ทิศนั้น ต่างก็พาชายามารับพรและถวายบังคมลา พาราชบริพารทั้งหลายแยกย้ายกันไปทั้ง ๘ ทิศ

    ราชโอรสองค์สุดท้องนั้นนามว่า “สิงหนวัติกุมาร” เหตุด้วยมีกำลังมากดุจดั่งราชสีห์ พระราชบิดาทรงรักใคร่ยิ่งกว่าพระองค์ใดจึงได้พร่ำสอน “คัมภีร์มหาจักรพรรดิราช” ให้จดจำตั้งแต่พระชนมายุน้อย สิงหนวัติกุมาร จึงเชียวชาญชาญทั้งฤกษ์ยาม กลศึก และเวทย์วิทยาในคัมภีร์มหาจักรพรรดิราชถ้วนทุกประการ ลุ วันขึ้น ๒ ค่ำ เดือนอาสาฬมาส สิงหนวัติกุมาร จึงพร้อมด้วยครัวแสนหนึ่งเดินทางออกจากกรุงราชคฤห์ เดินสวนตะวัน (มุ่งหน้าสู่ทิศตะวันออก) ข้ามแม่น้ำสินธุ เพื่อแสวงหาที่ตั้งพระนครให้ต้องตามคัมภีร์มหาจักรพรรดิราช เมื่อพาครัวทั้งแสนนั้นรอนแรมทางบกมาได้สี่เดือน ลุ วันขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ห้า ก็ปะแม่น้ำขละ ฤาน้ำของ (โขง) อันเป็นแว่นแคว้นแห่งสุวรรณโคมคำ อันล่มร้างมาแต่ครั้งพระกัสสปพุทธเจ้าโพ้น เมื่อสิงนหนวัติกุมารพาครัวแสนมาถึงประเทศนี้แล้ว ก็ให้หยุดอยู่ริมฝั่งแม่น้ำไกลจากน้ำของ(โขง) ๗๐๐ วา
    ในคืนวันขึ้นหกค่ำ หนึ่งปีล่วงเป้า (ฉลู) อัฐศก ศักราชขึ้นใหม่เป็นปีที่ ๑๗ นั้นได้ทรงพระสุบิน (ฝัน) ว่า มีพญานาคตนหนึ่งนามว่า “พันธุนาคราช” ได้มาเฝ้า และพาไปยังที่อันอนุญาตให้ตั้งนครได้อยู่ห่างจากที่ประทับไปทางใต้ ๑๐๐๐ วา ยามเช้าขึ้น สิงหนวัติกุมารเสด็จไปยังสถานที่นั้นอันทรงเห็นในสุบิน ทรงพิจารณาล้วนต้องตามคัมภีร์มหาจักรพรรดิราชถ้วน แต่จนพระทัยด้วยผู้คนที่ตามเสด็จตามมานั้นเป็นชายฉกรรจ์อันจะมีเรี่ยวแรงก่อสร้างนั้นน้อยนัก ได้แต่ตรึกพระทัยนั่งชมที่นั้นจนตะวันตกลับแล้วจึงเสด็จกลับ


    ราตรีนั้น “พันธุนาคราช” อันปรากฎในพระสุบินแห่งสิงหนวัติกุมาร ก็สำแดงฤทธิ์ขวิดควักพสุธาดลเป็นคูขอบรอบจังหวัดที่อันจะให้สร้างปรากการเมือง กว้างด้านละ ๓๐๐๐ วาทั้ง ๔ ทิศ เสร็จแล้วพญานาคนั้นก็กลับไปยังสถานแห่งตน


    ครั้นรุ่งสิงหนวัติกุมารทราบเหตุทรงมีความปราโมทย์ ให้ครัวทั้งแสนนั้นตั้งบ้านสร้างเวียง แลทรงขนานนามว่า “นาคพันธุสิงหนวัตินคร” ด้วยว่านครนี้สำเร็จด้วยฤทธิ์แห่งนาคนั้นแลฯ แดนเขต “นาคพันธุ์สิงหนวัตินคร” ใหญ่กว้างนัก จำกัดเป็นทิศได้ดั่งนี้
    เบื้องบูรพา เถิงปากน้ำแท้แม่ม่วง
    เบื้องปัจจิม เถิงดอยช้าง แลฟากตะวันตกแห่งน้ำคง
    เบื้องปลายตีน มีปากทางหนองแสหลวงเปนแดน
    เบื้องหัวนอน มีปากน้ำแม่ระมิงต่อแดนลวทยฺยเปนแดน
    บ้านเมืองที่นั้น ก็อยู่เป็นสุขดี บ้านหาโจรมารบ บ่ได้สักอัน แลฯ


    ครั้นรุ่งสิงหนวัติกุมารทราบเหตุทรงมีความปราโมทย์ ให้ครัวทั้งแสนนั้นตั้งบ้านสร้างเวียง แลทรงขนานนามว่า “นาคพันธุสิงหนวัตินคร” ด้วยว่านครนี้สำเร็จด้วยฤทธิ์แห่งนาคนั้นแลฯ แดนเขต “นาคพันธุ์สิงหนวัตินคร” ใหญ่กว้างนัก จำกัดเป็นทิศได้ดั่งนี้

    เบื้องบูรพา เถิงปากน้ำแท้แม่ม่วง

    เบื้องปัจจิม เถิงดอยช้าง แลฟากตะวันตกแห่งน้ำคง

    เบื้องปลายตีน มีปากทางหนองแสหลวงเปนแดน

    เบื้องหัวนอน มีปากน้ำแม่ระมิงต่อแดนลวทยฺยเปนแดน
    บ้านเมืองที่นั้น ก็อยู่เป็นสุขดี บ้านหาโจรมารบ บ่ได้สักอัน แลฯ


    สิงหนวัติเจ้าเชียวชาญชำนาญฤกษ์ยาม ทรงให้ชนทั่วไปใช้นับวัน ศก ศักราช ด้วย “จันทรคติ” และทรงให้นับรอบปีตามแบบคัมภีร์มหาจักรพรรดิราช ทั้งทรงรจนาคัมภีร์ตรวจฤกษ์นักษัตรขึ้นให้ใช้ถ้วนถูกกันทุกนคร เป็นแบบแก่โยนกมาแต่ตรงนั้น ด้วยผลแห่งการคำนวณทางโหราศาสตร์ของท่าน จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับนักประวัติศาสตร์ในการตรวจสอบศักราชจากจารึกหรือเอกสารได้อย่างถูกต้องแน่นอน จึงได้นำมาเรียบเรียงเป็นตารางให้สะดวกแก่การใช้สำหรับยุคปัจจุบันดังนี้

    เมื่อพระเจ้าสิหนวัติครองราชได้ ๕๒ ปี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประสูติ ณ ลิมพินีวัน กรุงเทวทหะ ในการสถาปนาพระนามเจ้าชายสิทธัตถะ ที่กรุงกบิลพัสดิ์ พระเจ้าสุทโธทนะได้เชิญพระเจ้าสิงหนวัติเสด็จไปในพิธีขนานพระนามครั้งนี้ด้วย เนื่องจากเป็นเชื้อสายแห่งราชวงศ์โคตมะเช่นกัน

    ครั้นเจ้าชายสิทธัตถะทรงสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้ทรงเสด็จไปโปรดพุทธบิดา ณ กรุงกบิลพัสดุ์ พระเจ้าสิงหนวัติได้เข้าเฝ้าและฟังพระธรรมเทศนาจากพระโอษฐ์ จึงได้ปวารณาตนถึงซึ่งพระรัตนตรัย เป็นอุบาสกพร้อมกับพระเจ้าสุทโธทนะในครั้งนั้น และได้สนทนาธรรมกับพระเจ้าพิมพิสารซึ่งเป็นพระเชษฐาจนรุ่งสาง

    เมื่อพระองค์เสด็จกลับสู่นาคพันธุ์สิงหนวัตินคร ได้นิมนต์พระอรหันต์ ๕ รูปมายังอาณาจักรของพระองค์พร้อมนั้นด้วย นับได้ว่าพระพุทธศาสนาได้เข้าสู่ดินแดนล้านนาและเจริญสถาพรมาโดยตลอด ประกอบกับพระเจ้าสิงหนวัติทรงเข้มแข็งในการพระศาสนาทรงอุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสงฆ์มากมายสุดจะประมาณ นำความเจริญและศีลธรรมมาสู่ประชาชน จนกลายเป็นสายเลือดของชาวล้านนาที่มีความอ่อนโยนเมตตาปราณี มีศีลธรรมตราบเท่าทุกวันนี้ พระองค์มีพระชนมายุยืนยาวมากถึง ๑๒๐ ปี ทรงคอรงราชย์อยู่ ๑๐๒ ปีจึงสิ้นพระชนม์

    เมื่อพระเจ้าสิงหนวัติสิ้นพระชนม์แล้ว พระเจ้าคันธกุมารราชโอรสได้ขึ้นครองราชย์แทน และในปีอัญชันศักราชที่ ๑๒๓ อันเป็นปีที่ ๔ ของการครองราชย์นั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเสด็จเยือนพระเจ้าคันธกุมารที่นาคพันธุ์สิงหนวัตินคร อันเป็นพรรษาที่ ๑๖ หลังจากที่ทรงเทศนาโปรดท้าวพระยามหากษัตริย์ทั้งหลายจบความแล้ว พระเจ้าคันธกุมาร จึงขออาราธนาให้พระพุทธองค์ประทับรอยพระบาทไว้เพื่อเป็นที่สักการะบูชาของพุทธศาสนิกชน ณ ใจกลางนคร แต่พระพุทธองค์ไม่ทรงประทับรอยพระบาทไว้ที่นั่น แต่ได้ทรงดำเนินไปยังหน้าผาหนึ่งอันมีรูปร่างคล้ายเรือ และประทับรอยพระพุทธบาทไว้ ณ ยอดผาแห่งนี้ (ปัจจุบันนี้เรียกว่า ผาเรือ) หลังจากนั้นพระพุทธองค์และพระพุทธสาวกจึงเสด็จดำเนินไปยังกรุงราชคฤห์

    ในปีอัญชัญศักราชที่ ๑๔๘ พระเจ้าอชุตราชอันเป็นราชโอรสของพระเจ้าคันธกุมารขึ้นครองราชย์ได้ทรงร่วมกับพระเจ้าอชาตศัตรูลบอัญชัญศักราชที่ ๔๖๗ ปีเถาะ พุทธศักราช ๑๐๐๑ วันเสาร์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ มีราษฏรพวกหนึ่งไปหาปลาในกุนที (แม่น้ำกก) ได้ปลาไหลเผือกตัวหนึ่งใหญ่เท่าลำตาลยาว ๗ วา ก็พากกันทุบจนตาย แล้วผูกเชือกลากมาตามลำห้วย (ภายหลังมีนามว่า ห้วยแม่ลาก) แล้วนำมาถวายพระองค์มหาไชยผู้เป็นเจ้านคร ๆ ไม่ไต่สวนความนึกอยากกินเนื้อปลาไหลด้วย จึงสั่งให้แล่เนื้อกินให้ทั่วเมือง

    ครั้นล่วงเวลาราตรีวันนั้นเข้าปฐมยาม แผ่นดินนาคพันธุ์สิงหนวัตินครก็สะท้านสะเทือนครั้งหนึ่ง ครั้งล่วงเข้ามัชฌิมยามก็ดังสนั่นเลื่อนลั่นอีกครั้งหนึ่ง พอล่วงเข้าปัจฉิมยามก็เลื่อนลั่นเป็นคำรบสาม นาคพันธุ์สิงหนวัตินครก็จมลงทั้งหมดกลายเป็นหนองน้ำใหญ่ พระองค์มหาไชยผู้เป็นเจ้านครแลขัตติยวงศ์พงษา ข้าราชบริพารอำมาตย์ พานิชทั้งหลาย ก็ตายถ้วนแต่กาลนั้น ด้วยอกตัญญูมิรู้คุณแก่พญานาคผู้นครให้แต่ต้นกลับฆ่ากินเสียละโมบ จึงเป็นเหตุให้ล่มสลายสิ้นทั้งวงศ์นั้นแล ฯ

    ขอบคุณครับท่าน Ghost Bat ที่ช่วยกรุณาเพิ่ม
    เติมรูปภาพที่แสนจะหายาก ให้เกิดความสมบูรณ์
    ของข้อความ ภาพแผนที่สังเขปที่ท่านให้มามีส่วน
    สำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายและ
    ที่สำคัญคือสามารถยืนยันว่า สิ่งที่กล่าวไปแล้วทั้ง
    หลายไม่ได้คิดขึ้นเอง แต่มีหลักฐานยืนยันแน่
    นอนชัดเจน เราคนไทยจะได้รู้เทือกเถาเหล่ากอ
    ของตัวเองสักที และจะได้มีความภาคภูมิใจใน
    ชนชาติของตนเองได้


    ประวัติศาสตร์ขาติพันธฺของเราคนไทย หรือ สยาม หรือ ลวไทยยนั้นมีความเป็นมายาวนานด้วยวิชาโหราศาสตร์ไทยนั้นสามรถคำนวนฝนฟ้าได้ล่วงหน้าถึง ๑ ปีได้อย่างแม่นยำ หากชาวไทยได้ล่วงรู้ก็จะทำกสิกรรมได้อย่างสอดคล้องกับสภาพฝนฟ้าที่ดวงดาวนำพามาให้เกิดฝน วิชาโหราศาสตร์นี้เท้านั้นที่จะทำให้เมืองไทย เมืองกสิกรรมเจริญเติบโตตามเนวทางเศรษฐกิจพอเพียง มั่นคงเพิ่มขี้นทีละเล็กที่ละน้อย จนสามารถมีพลังทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งขี้นได้ในอนาคต

    (มีต่อ)

    แนวคิดหรือทฤษฎีของฝรั่งนี้จริงๆแล้วก็เหมาะกับเฉพาะฝรั่งเท่านั้นล่ะครับ

    ชนชาติที่ใช้ชีวิตอยู่แต่กับทะเลหิมะเขตอบอุ่น....จะมาเข้าใจวิถีชีวิตประเพณีของชนชาติที่อยู่แต่กับทะเลทราย,ป่าดิบเขาได้อย่างลึกซึ้งได้อย่างไร???....ทุกท่านว่าจริงไหมครับ!
     
  19. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    พระพุทธศาสนา....โหราศาสตร์...คนไทย (๑๐) พระมหาเถรศรีสัทธาจุฬามุนีรัตนลงกาทีป

    พระมหาเถรศรีสัทธาจุฬามุนีลงกาทีป พระนามเดิมชื่อ เจ้าศรีสัทธาทรงเป็นราชโอรสของกุมารเดงอัญผาเมือง พระราชมารดานั้นไม่ปรากฏพระนาม ทรงประสูติ ณ เมืองสรวง (สองแคว) เมื่อทรงเจริญพรรษาได้ทรงศึกษาศิลปวิทยาการ และวิชาการรบจากคัมภีร์มหาจักรพรรดิราชจึงทรงเชียวชาญในวิชาโหราศาสตร์ทั้ง ๑๖ ประการ คือ

    ๑. ลคฺนา ว่าด้วย สภาพชีวิต ความเป็นอยู่ รูปร่าง บุคลิก

    ๒. โหรา ว่าด้วย ความเจริญ ความเสื่อม ฐานะ

    ๓. ตรียางฺค ว่าด้วยความสุข ทุกข์ทั้งหลาย

    ๔. จตุรทฺสํส ว่าด้วย ความรุ่งโรจน์สูงสุด

    ๕. ตมสํส ว่าด้วย อนาคตอันใกล้ (แบ่งออกเป็น ๗ ปกรณ์

    ๖. นวางฺค ว่าด้วย อุบัติกาลคู่

    ๗. ทสมสํส ว่าด้วย ตำแหน่ง อำนาจ อิทธิพล บารมี (แบ่งออกเป็น ๑๐ ปกรณ์)

    ๘. ทวาทสํส ว่าด้วย ผู้อุปถัมภ์ บุพพการี วงศ์สกุล (แบ่งออกเป็น ๒๐ ปกรณ์)

    ๙. โสทสํส ว่าด้วย ทรัพย์อันเป็นมรดก ดินแดน การยึดครอง

    ๑๐ วิมสํส ว่าด้วย กรรมเก่า ( แบ่งออกเป็น ๒๐ ปกรณ์)

    ๑๑. จตุรวมสํส ว่าด้วยความสำเร็จในการศึกษาวิทยาการ (แบ่งออกเป็น ๒๐ ปกรณ์)

    ๑๒. ภงฺส ว่าด้วยธาตุ ปราณ แลสมนุไพร (แบ่งออกเป็น ๒๗ ปกรณ์)

    ๑๓. ตริมสํส ว่าด้วยข้าศึก ศัตรู อุบาทว์ และอุปสรรค (แบ่งออเป็น ๓๐ ประกรณ์)

    ๑๔. อคฺคเวทสํส ว่าด้วยพฤติแห่งอาชีวะ (แบ่งออกเป็น ๑๕ ปกรณ์)

    ๑๕. ขวทสํส ว่าด้วยการห้ามฤกษ์ และวางฤกษ์ตามกลุ่มนักษัตร

    ๑๖. ฉฎฺฐองฺส ว่าด้วยอรรถย่อยทั้งหลาย

    ทั้ง ๑๖ นี้รวมเรียกว่า ?โสฬส? เป็นการแบ่งวิชาเท่ากับจำนวนส่วนทั้ง ๑๖ ของดวงจันทร์ตามคัมภีร์สุวรรณโคมคำนั้นเองผู้เรียนเจนจบทั้งหมดนี้เรียกว่า ?สำเร็จโสฬส? เจ้าศรีสัทธาเจนจบและเชียวชาญชำนาญยิ่งแต่ยังทรงพระเยาว์ นอกจากนี้ ยังทรงเชียวชาญในวิชาคชศาสตร์ และอัศวศาสตร์ เมื่อทรงมีพระชนมายุ ๒๙ (ตอนยังไม่อุปสมบท) ทรงนำทัพออกทำศึก และได้ทรงทำยุทธหัตถีกับขุนจัง ทรงได้รับชัยชนะ ทรงมีพระธิดา ๒ พระองค์

    เมื่อเจ้าศรีสัทธาทรงมีพระชนม์มายุได้ ๒๙-๓๐ พรรษา ทรงเห็นภัยในคฤหัสถ์เพศ ได้ทรงคำนึงถึงพระโพธิสมภาร ปรารถนาที่จะทรงผนวช

    เมื่อเจ้าศรีสัทธาทรงมีพระชนม์ได้ ๓๑ พรรษา ทรงบริจาคทานวัตถุโปรดให้นำเครื่องศาตรวุธต่าง ๆ ออกมาทำลายเสียสิ้น แล้วทรงดำเนินรอยตามพระโพธิสัตว์เวสสันดร โดยทรงยกพระราชธิดาทั้งสองให้แก่ราชบุตรเมืองพระเยา ยกพระราชชายาให้แก่เจ้าเมืองเสรียง แล้วพระองค์หลั่งทักษิโนทกตั้งจิตปรารถนาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และทรงออกผนวชที่เมืองสรวง (สองแคว)


    เมื่อเจ้าศรีสัทธาทรงผนวชแล้ว ทรงจำศีลภาวนาอยู่ตามป่าเขา ตามดงบาน ลางครั้งทรงฉันแต่ใบไม้และผลไม้ ทรงถือวัตรเคร่งครัดแบบพระมหาเถระในครั้งพุทธกาล ทรงเดินทางออกธุดงค์ไปยังประเทศสิงหลโดยวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ

    ๑. เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาและนำเอาพระไตรปิฎกและพระอภิธรรมรวมทั้งหลักธรรมคำสอนที่สามบูรณ์จากพระอรหันต์ซึ่งยังคงมีอยู่ ณ ดินแดนนั้นโดยตรงกับมาเผยแผ่ให้รับประชาชน

    ๒. เพื่อจะได้ทรงศึกษาหลักปฏิบัติทางสมถวิปัสนากัมมัฏฐานจากพระอรหันต์โดยตรง เ พื่อดำเนินตามแนวทางปฏิบัติอันถูกต้อง

    ๓. เพื่อปฏิสังขรพุทธศาสนสถาน และพระพุทธปฏิมาในที่ต่าง ๆ ตามเส้นทางที่เสด็จออกธุดงค์นั้น ให้คืนสภาพดีดั่งเดิม เพื่อเป็นที่สักการะของพุทธศาสนิกชนสืบไป




    .......เพิ่มเติมเพื่อความสมบูรณ์

    พระราชประวัติ ของสมเด็จพระมหาเถรศรีสัทธา ฯ สามารถ ค้นคว้าได้จากศิลาจารึกสุโขทัยหลายสิบหลัก เช่น ศิลาจารึกนครชุม , ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง ฯลฯ

    ......ท่านที่สนใจ จะค้นคว้าจากศิลาจารึกวัดฤาษีชุม (ศรีชุม) สุโขทัย ที่ URL ข้างล่างนี้
    http://www.komcome.net/index_.html

    หวังว่าคงช่วยให้เกิดความกระจ่างในชั้นต้นได้บ้าง


    เส้นทางที่เจ้าศรีสัทธาทรงเดินธุดงค์นั้น ทรงใช้เส้นทางบกซึ่งเป็นเส้นทางที่พ่อค้าวานิช แห่งอาณาจักรศรีสุวรภูมเดินทางสู่ชมพูทวีปมานับแต่ครั้งบรรพกาล โดยเริ่มต้นที่เมืองสรวง สองแคว สู่สุโขทัย เมือเสรียง หริภุญไชย ฉอด ไตรตรึงษ์ กำพไล เวียงเหล็ก กุดานคร นครพกวิส พระธรรม เข้าสู่เมืองราด อันเป็นเมืองแห่งบรรพกษัตริย์ผ่ายพระราชบิดาคือ กมรเตงอัญผาเมือง (พ่อขุนผาเมือง) ดงโปรสข้าง สารเขตอันเป็นเมืองหลวงของแคว้นสัปปลวะของแคว้นสัปปาละวะของศรีสุวรภูมิแต่โบราณ เส้นทางนี้เป็นเส้นทางซึ่งพระปุณณะอรหันตเถระเจ้า ได้ใช้เดินทางไปยังกรุงสาวัตถีพร้อมพี่ชายและได้พบกับพระพุทธองค์จึงอุปสมบทและสำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้กลับมาโปรดชาวชาวศรีสุวรภูมิที่เมืองวัชรปุรีดังกล่าวแล้ว


    เจ้าเถรศรีสัทธาเมื่อธุดงค์ไปถึงที่ใดก็เทศนาสั่งสอนพุทธบริษัทและชักชวนให้ช่วยกันซ่อมแซมรักษาพุทธศาสนสถานตลอดเส้นทาง ดังศิลาจารึกที่ ๒ วัดศรีชุม ได้จารึกไว้ว่า ????.ลางแห่งที่ชุมนุมพระมหาธาตุเปนเจ้าอันใหญ่ทั้งหลาย ตรธานเปนป่าเปนดง สมเด็จพระมหาถรศรีสัทธาจุฬามุนีเปนเจ้าเอาตนไปเลก ไปก่อไปทำพระธาตุหลวงจึ่งคืน พระธาตุหลวงด้วยสูงเก้าสิบห้าวาไม้ เหนือพระธาตุหลวงไซร้สองอ้อมสามอ้อม พระมหาเถรศรีสัทธาให้แผ้วแล้วจึ่งก่ออิฐขึ้นเจ็ดวาทางปูน แล้วบริบวรณ์ พระธาตุหลวงก่อใหม่เก่าด้วยสูงได้ร้อยสองวา ของเรียกพระธม นั้นแล ๐ สถิตย์ครึ่งกลางนครพระกริส เมืองไตรตรีงส์ ๐ เมื่อจักสทายปูนในกลางดงกลางป่านั้นหาปูนยากหนักหนา หาปูนมิได้ พระมหาเถรศรีสัทธาเปนเจ้าจึ่งพิธายว่าดั่งนี้?..กูแลยังจักได้ตรัสแก่สรรพญุตญาณเปนพระพุทธเจ้าจริงดั่งว่าไซร้ ขอให้พบปูนครั้นพิธานแล้วตายกลายพบโป่งปูนมานัก ๐ ก่อทั้งมหาพิหารใหญ่ด้วยแลง ด้วยอิธเสร็จบวรแล้ว จึงไปสืบค้นพระพุทธรูปหินแก่เก่าแต่บูราณ ด้วยไกลหลายชั่วสองคืนสามคืน มาประดิษฐานไว้ในมหาพิหาร ลางแห่งได้คอได้ตน ลางแห่งได้ผมได้แขนได้อก ลางแห่งได้หัวตกไกลแลสี่คนหาม จึ่งเอาได้ ๐ ลางแห่งได้แข้งได้ขา ลางแห่งได้มือได้ตีน ย่อมพระหินอันใหญ่ ชักมาด้วยเกวียน เข็นเข้ามาในมหาพิหาร เอามาต่อติดประกิตชิดชนเป็นพุทธิรูป อันใหญ่ อันถ่าวอันราม งามหนักหนา เอาไว้เติมในมหาพิหารเวียงรายหลายถ่อง ช่องงามหนักหนาแก่กม??.?



    พระมหาเถรศรีสัทธาได้เดินธุดงค์ ไปใช้เส้นทางบก ผ่านไหว้สักการะสังเวชนียสถานที่พระพุทธองค์ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน อันเป็นบ้านเมืองนครเก่าแห่งบูรพกษัตริย์เชื้อสายของท่านนั้นตั้งแต่ตักศิลาเข้าสู่มคธ และปาตลีบุตร ตามเส้นทางรอยบาทพระบรมศาสดาที่ทรงดำเนินประกาศสัจธรรมตลอดแนวทางได้ทรงศึกษาสรรพวิชชาและหลักธรรมจากพระอรหันต์ในชมพูทวีป แต่ก็ไม่ได้พบคัมภีร์พระอภิธรรม ได้ทราบว่ามีอยู่ที่เกาะสิงหฬ ท่านจึงเดินทางเรื่อยลงใต้สู่แคว้นกลิงครัฐและข้ามเข้าสู่เกาะสิงหฬ ในเกาะสิงหฬนี้ท่านได้เป็นซ่อมพระธาตุในเกาะสิงหฬอันหักร้างให้ฟื้นคืนขึ้นใหม่ (จึงเหลืออยู่ในปัจจุบัน) ปรากฎในศิลาจารึกว่า

    ???.. ตรุกลล้างเอาทองตรธานแต่สงหฬ เอาฝูง ?..แบกอิฐขึ้นไปกระทำพระเก้าท่านคืนบริบวรณ ด้วยศรัทธา ยังเอาพระศรีรัตนมหาธาตุสองลูก?.ใกล้ฝั่งน้ำมาวลิกคงคา ที่พระพุทธเปนเจ้าปูจรำมขัน ประดิษฐานพระเกศธาตุ พระธานุปริโภคธาตุ พระศรีรัตนมหาธาตุ ชื่อมหิยัคณะ มหาเจดีย์แล ๐ พระธาตุพุทธเจ้าเสดจปาฏิหารอัศจรรแก่กม ๐ บัลลก์ พระมหาธาตุพังฝ่ายบูรพทิศสิบสามวา กูมีศรัทธาพยายมขัน อิธประกิดเข้าจทายปูนมีถ่องถ้วน ๐ เมื่อทาปูนแก่ยอดกม เถิงตืน สูงใหญ่ขาวงามดั่งเขาไกรลาศ คงต่อตืน ต่อมือ ต่อตน พระพุทธิรูปดั่งก่อนแล้ว เปนหินงามแก่กม ๐???



    พระมหาเถรศรีสัทธาได้ศึกษาอภิธรรมตามคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ของพระพุฬโฆษาจารย์อันรจนาไว้ ได้ทรงคัดพระไตรปิฎก พระอภิธรรม คัมภีร์ทั้งปวงเพื่อนำกลับมายังเมืองสรวงด้วย



    จากคัมภีร์ที่พระมหาเถรศรีศรัทธาได้คัดมาจากบังกานั้น ทำให้ได้ทราบว่า ?พระภิกษุสงฆ์ในสมัยพุทธกาลต้องศึกษาภาษาทยฺย? แม้ในเกาะสิงหฬขณะนั้นด้วย นั่นย่อมเป็นข้อยืนยันได้ว่า ?ภาษาทยฺย? ศิลาจารึกของพระมหาเถรศรีสัทธา เป็นภาษาหลักในการศึกษา การพูด การจารึกของพระพุทธศาสนามาแต่ครั้งพุทธกาล ที่เป็นสิ่งมหัศจรรย์ก็คือ ?ภาษาทยฺยเป็นหลักสำคัญของไวยากรณ์ภาษาบาลีด้วย?



    ท่านสมาชิกที่เคารพทุกท่านครับ สิ่งนี้จะเป็นสิ่ง
    ที่สามารถยืนยันได้อีกเป็นหลักฐานเพิ่มเติมอีก
    ชิ้นหนึ่งที่ยืนยันว่า ภาษาไทย หรือ ทฺยย นั้น มิ
    ได้เพิ่งมีมาในช่วงของพ่อขุนรามคำแหงตามศิลา
    จารึกที่เราศึกษากันตั้งแต่ สมัยเด็ก ๆ อย่างแน่
    นอน นอกจากนั้นยังมีหลักฐานอีกจำนวนมาก
    ที่ยืนยันตรงกันว่า ภาษาไทย หรือ ทฺยย ดังที่กล่าว
    นั้นมีมานานแสนนาน.......ต้องติดตามกันต่อไปครับ



    คัมภีร์หลักภาษาทยฺย นั้นมีชื่อว่า ?คัมภีร์วุตฺโตทัย? ได้มีการแก้ไขปรับปรุงครั้งสุดท้ายโดยพระสังฆรักขิต มหาสวามีเถระ ชาวสิงหฬ เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗ (ก่อนตั้งสุโขทัยเล็กน้อย) เนื้อหาภายใน?คัมภีร์วุตโตทัย? นั้น แบ่งเป็นรูปฉันทลักษณ์ ๒๖ ประเภท มีตั้งแต่ฉันท์ ๑ พยางค์ ถึงฉันท์ ๒๖ พยางค์ เนื้อหาในคัมภีร์นี้เป็นทั้งสูตรและอุทาหรณ์ในคาถาเดียวกันมี ๑๓๗ คาถา แบ่งออกเป็น ๖ ปริเฉท ด้วยกันดังนี้ คือ


    ๑. สญฺญาปริภาสานิเทศ ๑๖ คาถา
    ๒. มตฺตาวุตฺตินิเทศ ๒๙ คาถา
    ๓. สมวุตฺตินิเทศ ๖๑ คาถา
    ๔. อทฺธสมวุตฺตินิเทศ ๑๑ คาถา
    ๕. วิสมวุตตินิเทศ ๑๑ คาถา
    ๖. ฉปฺปจฺจยวิภาค ๙ คาถา


    ?คัมภีร์วุตโตทยฺย? จัดเป็นรากฐานอันสำคัญของผู้ที่จะศึกษา ?ภาษาบาลี? ให้แตกฉานและสามารถเข้าใจความหมายที่ลึกซึ้งในพระธรรมทั้งสิ้น พระมหาเถรศรีสัทธาได้ทรงคัด ?คัมภีร์วุตโตทยฺย? กลับมาพร้อมนั้นด้วย (ทำให้การศึกษาด้านปริยัติของพระพุทธศาสนาก้าวหน้าขึ้น

    เป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของชนชาติไทย ?

    [​IMG]

    โดย สุมาอี้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • images.jpg
      images.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.8 KB
      เปิดดู:
      342

แชร์หน้านี้

Loading...