หลงใหลลูกปัดหินโบราณ ความเชื่อและความชอบ

ในห้อง 'ดูดวง และ ทำนายฝัน' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 8 สิงหาคม 2007.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,174
    เครื่องรางของขลัง พระเครื่องต่างๆ หรือวัตถุมงคลโบราณต่างๆ ล้วนแต่เป็นของเก่าที่ผู้ที่นิยมชมชอบเสาะหาตามที่ต่างๆ นานนับปี จนกลายเป็นของรักของหวง ของสะสม

    <DD>แม้จะราคาสูงแค่ไหน ขอให้ได้มีไว้ในครอบครอง ก็เป็นความสุขอย่างหนึ่งแล้ว บางคนสะสมด้วยความรักมีไว้เพื่อชื่นชมยามว่าง แต่บางคนสะสมด้วยความรัก และเพื่อเก็งราคาสูงก็มี ซึ่งมักคุ้นกับนักสะสมที่เป็นสุภาพบุรุษส่วนใหญ่ น้อยนักที่จะเห็นเป็นสุภาพสตรี
    <DD>ลูกปัดหินโบราณ ครั้งหนึ่งเป็นที่นิยมของบรรดาเซียนนักสะสม ไม่ว่าจะเป็นลูกปัดหินโบราณยุคอู่ทอง ยุคทวาราวดี หรือยุคใดก็ตาม ราคานั้นสูงพอๆ กับราคาเพชรทองก็มี เพราะความที่ลูกปัดหินโบราณเป็นเครื่องประดับที่มีสีสันสวยงาม จึงทำให้สุภาพสตรีคนหนึ่งหลงใหลในความงามในลูกปัดหินโบราณดังกล่าว ทำให้เธอต้องดั้นด้นเสาะหามานานหลายปี จนปัจจุบันสะสมลูกปัดหินได้มากกว่าหมื่นชิ้นแล้ว จากการที่นิยมชมชอบในลูกปัดหินโบราณอยู่คนเดียวมานาน จึงตัดสินใจเปิดร้านในตลาดพระดอทคอม เพื่อต้องการแลกเปลี่ยนกับบุคคลอื่นที่หลงใหลเช่นเดียวกับตนเอง
    <DD>คุณเจี๊ยบ เจ้าของร้านเอเจ ลาซูรี่ สตรีผู้หลงใหลในความงามของหินได้บอกถึงความรู้สึกที่อิ่มตัวกับการสะสมว่า ลูกปัดหินโบราณกว่าหมื่นชิ้นที่สะสมมา ตอนนี้มีลูกปัดทุกประเภทแทบทุกอย่างแล้ว จนไม่อยากที่จะเสาะแสวงหาอีก ส่วนใหญ่เป็นลูกปัดหินโบราณยุคทวาราวดี อย่างเช่น ลูกยอตาทิพย์ และหินลูกตาโบราณ
    <DD>คุณเจี๊ยบย้อนให้ฟังอีกว่า ช่วงปี 2533 ซึ่งตอนนั้นทำธุรกิจที่จังหวัดชุมพร และเริ่มเสาะหาลูกปัด ส่วนใหญ่ก็จากคนแนะนำที่เชื่อถือได้ ถึงกับขายทองเพื่อมาซื้อลูกปัด "หลายคนไม่รู้ว่าจังหวัดสุราษฎร์ธานียุคทวาราวดีเป็นเมืองท่า ดังนั้นลูกปัดที่ใช้เปรียบเสมือนเงินที่ใช้แลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างประเทศ อย่างเช่น อิยิปต์ จีน โปรตุเกส"
    <DD>นักสะสมเม็ดหินโบราณท่านนี้บอกอีกว่า "ปี 2543 เกิดภาวะทางธุรกิจ เลยตัดสินใจย้ายกลับมาบ้านที่สุพรรณบุรี ก็เอาลูกปัดที่สะสมไว้ออกมาใช้แต่งเองเป็นเครื่องประดับ หัดร้อยลูกปัดเอง แรกๆ ใส่เอง คนแถวบ้านยังรับไม่ได้ คิดว่าเราเพี้ยน"
    <DD>ถึงแม้เป็นชาวสุพรรณบุรี แต่ก็ไม่มีลูกปัดหินโบราณยุคอู่ทองเลย ซึ่งคุณเจี๊ยบให้เหตุผลว่า
    <DD>เพราะว่าลูกปัดหินโบราณยุคอู่ทองหมดไปแล้ว และปัจจุบันหาไม่ได้ แม้แต่พิพิธภัณฑ์ยังไม่มีเลย
    <DD>ต่อข้อซักถามถึงกระแสวัตถุมงคลจตุคามรามเทพนั้น คุณเจี๊ยบบอกว่า ตอนนี้ไม่ว่าอะไร หรือแม้กระทั่งลูกปัดหินโบราณเอง ก็ถูกกลบไปแล้ว เรียกได้ว่าเป็นช่วงขาลงก็ว่าได้ แต่ก็มีกลุ่ม
    <DD>คนที่ยังยืนหยัดนิยมชมชอบกับลูกปัดอยู่ ไม่ใช่เพราะความมีสีสันสวยงามและความโบราณเพียงแค่นั้น คนพวกนี้ยังมีความเชื่อในพลังของเม็ดหินโบราณ
    <DD>คุณเจี๊ยบบอกถึงความรู้สึกที่ได้รับพลังจากลูกปัดด้วยว่า "พลังที่มาจากลูกปัดหินนั้น ตั้งแต่คลุกคลีมานานหลายปี ยังไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นกับตนเอง นอกจากเชื่อในพลังตรงนี้ ยังประกอบศีล 5 ด้วย และสวดมนต์ทุกวัน คนที่ใส่ลูกปัดมีทั้งความชอบและความเชื่อ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ส่วนใหญ่ก็จะเชื่อในเรื่องสิ่งที่ดี เรื่องงาน เรื่องให้พ้นจากอุบัติเหตุ เหมือนกับว่าเป็นเครื่องประดับที่มีพระคุ้มครอง"
    <DD>ขนาดของลูกปัดหินโบราณทั้งขนาดเล็กใหญ่ไม่ใช่ราคาต่างกันอย่างเดียว ความเชื่อก็ต่างกัน ถ้าเป็นเม็ดขนาดใหญ่นั้นเชื่อว่า เป็นของคนมีฐานันดรสูงศักดิ์ และผ่านกระบวนการการ
    <DD>ปลุกเสกมาแล้ว แต่ถ้าเป็นเม็ดเล็กๆ เชื่อว่าเป็นของชาวบ้านธรรมดา
    <DD>บรรยากาศภายในบ้านริมน้ำที่อำเภอสองพี่น้อง ได้จัดมุมหนึ่งไว้เป็นที่โชว์ลูกปัดหินโบราณ
    <DD>จำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นสร้อยคอ กำไล แหวน หรือแยกเป็นหมวดหมู่แต่ละเม็ดหินไว้สำหรับ
    <DD>ผู้ที่หลงใหลในเม็ดหินเหล่านี้ ซึ่งคุณเจี๊ยบให้เหตุผลว่า "ตอนนี้อิ่มตัวกับการเก็บ และคิดว่าน่าจะเอาบางชิ้นกลับออกมาเป็นเงิน หลังจากที่ลงทุนลงแรงมานาน แต่ก็ไม่ได้ขายเพื่อแสวงหากำไรอย่างเดียว เพราะต้องการพบปะพูดคุยกับคนที่ชอบเหมือนกัน เท่าที่โชว์เป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น และชิ้นไหนที่สวมใส่แล้ว จะไม่นำออกมาขาย" ลูกค้าที่เข้ามา ก่อนหน้านี้ใส่สร้อยเพชรสร้อยทอง แต่เพราะเค้าก็มีความเชื่อในลูกปัด เลยหันมานิยมสวมลูกปัดแทน เป็นลูกค้าที่เข้ามาซื้อในเว็บไซต์มากกว่า
    <DD>ไม่ว่าจะเป็นวัตถุมงคลใดๆ ก็ตาม หากแต่ผู้ชื่นชอบไม่ตั้งมั่นในธรรมะควบคู่ไปกับสิ่งนั้น
    <DD>เพียงแค่หวังให้ได้มาซึ่งเงินทองอย่างเดียว ก็ไม่สามารถดำรงอยู่ได้นาน อาจมีอันต้องล้ม
    <DD>เลิกไปเอง.
    <DD>http://www.thaipost.net/index.asp?bk=xcite&post_date=8/Aug/2550&news_id=146335&cat_id=200100
    </DD>
     

แชร์หน้านี้

Loading...