เรื่องเด่น หลวงปู่โต๊ะสอนกรรมฐาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 16 สิงหาคม 2020.

  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,394
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,469
    YRCO-MxT8jYtCg7HVpIajRuH-9lT6v4tnWEch75qETyl&_nc_ohc=aSGu_eC2oggAX9lPLxM&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg


    หลวงปู่โต๊ะสอนกรรมฐาน

    ครั้งหนึ่งหลวงปู่ว่างจากภารกิจของท่านและได้เดินทางไปพักผ่อนที่ถ้ำสิงโตทอง อ.จอมบึง จ.ราชบุรี มีลูกศิษย์หลายคนได้ติดตามไปปรนนิบัติท่าน และขอให้หลวงปู่แนะแนวทางในการปฏิบัติสมถกรรมฐานเพื่อจะเก็บไปบันทึกรักษาไว้ให้ลูกหลานหรือผู้ที่สนใจฟังกัน เป็นการเพิ่มพลังให้กับสติปัญญาและได้พิสูจน์คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงธรรมอันวิเศษซึ่งสามารถทำให้เกิดขึ้นได้จริงในเรื่องมรรคผลและนิพพาน

    หลวงปู่เริ่มเล่าว่า... “การปฏิบัติในขั้นต้น สมถกรรมฐานยังงั้นไปก่อน

    ถามท่าน... สมถกรรมฐานนั้น จะต้องทำกันถึง 40 ประการหรือไม่ ขอรับ

    ท่านตอบ... ไม่ต้อง แล้วแต่ความพอใจ จะภาวนาในพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ อะไรก็ได้ แต่การภาวนาเช่นนั้นน่ะ มันมีหลักอยู่ ต้องมีสติออกไปควบคุมจิต เมื่อสติเข้าไปควบคุมจิตแล้ว ให้รู้ว่าจิตน่ะมันไปอยู่ที่ไหน มันอยู่ข้างใน มันอยู่กับอะไร เมื่อออกไปข้างนอก มันไปอยู่กับอะไร เมื่ออยู่ข้างในมันเป็นยังไง สมาธิมันก็เกิดขึ้นเพราะจิตหยุดอยู่ที่จุด คือสติ

    ถามท่าน... เมื่อจิตหยุดอยู่เช่นนั้น แล้วจะทำอะไรต่อไป

    ท่านตอบ... ไม่ต้อง เมื่อนิมิตเกิดขึ้นให้รู้ไว้ว่า มันมีสีสัน วรรณะ หรือมีภาพอะไร แล้วก็ปล่อยมันไป อย่าไปยึดถือสิ่งอันนั้นไว้

    ถามท่าน... เมื่อจิตหยุดอยู่เช่นนั้นมันได้ผลอะไร

    ท่านตอบ... สมาธิมันจะสูงขึ้นเป็นลำดับๆ

    ถามท่าน... เมื่อสมาธิมันสูงขึ้นเป็นลำดับๆ แล้วใจคอมันเป็นยังไง ขอรับ

    ท่านตอบ... อ้า...แข็งแกร่ง แข็งแกร่งขึ้นผิดปกติ

    ถามท่าน... ไปแข็งแกร่งกับใครขอรับ

    ท่านตอบ... อ้าว...ก็ไปแข็งแกร่งกับกิเลสน่ะซี เมื่อกิเลสมันเกิดขึ้น ความโลภก็ดี ความโกรธก็ดี ความหลงก็ดีเหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว เราจะไม่เป็นไปตามอำนาจของมัน

    ถามท่าน... เมื่อมันไม่เป็นไปตามอำนาจของมันแล้ว มันเป็นอะไร

    ท่านตอบ... อ้าว...เมื่อจิตมันสูงแล้ว ก็เมื่อจิตมันสูงกว่ากิเลสนั้นๆ เพราะฉะนั้นกิเลสนั้นๆ มันก็ทำอะไรเราไม่ได้

    ถามท่าน... เราจะสังเกตว่ายังไงขอรับ กิเลสที่ว่าสูงนั่นน่ะ เราจะสังเกตได้ยังไง

    ท่านตอบ... ก็ยั้งได้ยังไงเล่า ความโลภเคยโลภมาก โลภน้อยลง ความโกรธเคยโกรธมาก โกรธน้อยลง และความหลงเคยหลงมาก น้อยลง น้อยลง เป็นลำดับๆ ไป

    ถามท่าน... แล้วจุดของความจบมันอยู่ที่ไหน ขอรับ

    ท่านตอบ... มันก็เฉยๆ จะได้อะไรมามันก็แค่นั้น หรือไม่ได้อะไรมา มันก็แค่นั้น มันไม่มีโทมนัส และโสมนัสในสิ่งอันใด มันเฉยๆ มันเห็นเป็นของธรรมดาเท่านั้นเอง โลภ โกรธ หลง นี่แหละมันก็เบาบางลงเรื่อยไป

    ถามท่าน... ได้ความโลภ กับความโกรธนี่นะ มันมีผลยังไง

    ท่านตอบ... เออ...ความโลภยังดียังได้อยู่บ้าง ความโกรธไม่มีประโยชน์เลย เกิดขึ้นในที่ใดเผาที่นั้นให้ย่อยยับลงไปทุกที ความโกรธนี่ไม่ได้ ไม่ได้อะไรเลย ตัวของตนก็เดือดร้อน แล้วยังทำให้บุคคลอื่นได้เดือดร้อนขึ้นมาด้วย เพราะฉะนั้น ความโกรธควรยับยั้งให้มากกว่าความโลภ ความโลภเมื่อรู้ทันแล้วเขาก็ไม่ทำอะไรเรา

    ถามท่าน... ความหลงล่ะขอรับ

    ท่านตอบ... ก็ทำให้เกิดวิชชาขึ้นซิ ทำให้วิชชาเกิดขึ้นก็ความหลงนี่มันอะไรก็ความมัวเมาไปด้วยประการต่างๆ มืดมนอนธการไปหมด เราก็กำหนดให้มันมีวิชชาเกิดขึ้น เมื่อมันมีวิชชาความรู้เกิดขึ้นแล้วมันก็ถึง “บางอ้อ” ว่าอ้อ...เรามาหลงอยู่เป็นนานสองนานเพราะเราไม่ชำนาญในเรื่องวิชชาความรู้นี่เอง เราจึงเป็นคนหลงอยู่ยังงี้

    ถามท่าน... วิชชาหรือขอรับ

    ท่านตอบ... เออ...นั้นแหละ ทำให้มากขึ้นแล้ว ปัญญาจะตามมา ปัญญาจะตามมา

    ถามท่าน... ปัญญาแปลว่าอะไรขอรับ

    ท่านตอบ... อ้าว...ก็ความรู้ความเข้าใจในสิ่งอะไรๆ รู้เท่าทันไปหมด แล้วเห็นโทษด้วย

    ถามท่าน... เห็นโทษอะไรขอรับ

    ท่านตอบ... ก็เช่น รูปเป็นไง มันก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาไปตามหน้าที่ของมันยังงั้นซิ เมื่อมันทรุดโทรมหรือทำลายไป เราก็ไม่เสียอกเสียใจอะไร เพราะเรามี “ความรู้” อยู่แล้ว อะไรมันก็เกิดขึ้นล่อลวงเราไม่ได้

    ถามท่าน... ทีนี้เราอบรมจิตใจให้มันมีวิชชาเกิดขึ้นมากๆ แล้วมันจะเป็นยังไงขอรับ หยุดเพียงแค่นี้หรือจะต้องทำอะไรต่อไปอีก

    ท่านตอบ... เอ้า...ยังหยุดไม่ได้ หยุดยังไม่ได้ มันยังดับไม่สนิท

    ถามท่าน... เป็นเพราะอะไรจึงยังดับไม่สนิท

    ท่านตอบ... ก็เรามันยังเป็นปุถุชนอยู่นี่

    ถามท่าน... ผู้ปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ปุถุชนหรือขอรับ

    ท่านตอบ... เออ...ไม่ใช่ เอา! เลื่อนแล้ว เลื่อนแล้ว เป็นกัลยาณชน อบรมกัลยาณชนให้มันแข็งแกร่ง เห็นว่ากัลยาณชนนี้มันยังไม่พ้นทุกข์ ก็ขยับขึ้นไปอีกให้เป็นอริยชน ทานก็ให้เป็นอริยทาน ศีลก็ให้เป็นอริยศีล สมาธิก็ให้เป็นอริยสมาธิ ปัญญาก็ให้เป็นอริยปัญญา

    ถามท่าน... เท่านี้ หรือขอรับ

    ท่านตอบ... ยัง...ยังกลับได้ มันยังกลับมาได้ มันยังวนเวียนกลับมาได้

    ถามท่าน... แล้วจะต้องทำยังไงต่อไป อริยะมันมีกี่ขั้น ขอรับ

    ท่านตอบ... ก็มี 4 ซิ บุคคล 8 นับเป็นคู่ได้ 4 คู่

    ถามท่าน... มีอะไรบ้างขอรับ

    ท่านตอบ... ก็ตามปริยัติก็มีหลักอยู่แล้ว ศีล 5 มั่นคงเด็ดขาดได้แล้วเป็นได้ ไม่กลับอีกต่อไป

    ถามท่าน... ศีล 5 นี่หรือขอรับ

    น้ำป่าไหลท่วมอำเภอจอมบึงเร่งอพยพผู้ป่วยติดเตียง
    พายุฤดูร้อนถล่มอ.จอมบึง2ตำบลพังเสียหายกว่า150หลัง
    ท่านตอบ... เออ...ศีล 5 นี่แหละ ทำให้มั่นคงทีเดียว

    ถามท่าน... เมื่อทำให้มั่นคงเช่นนี้ได้แล้ว เขาเรียกว่าศีลอะไรขอรับ

    ท่านตอบ... นี่ล่ะ เขาเรียกว่าอริยศีลล่ะ

    ถามท่าน... อริยศีลมันมีผลกับผู้ปฏิบัติได้ยังไงขอรับ

    ท่านตอบ... ปิดอบายภูมิได้ซิ ปิดนรกได้ ไม่ตกนรก เป็นศีลของพระอริยะ แล้วก็สักกายทิฏฐิ คนที่ถึงแล้วในศีล 5 ไม่มีทิฏฐิในเรื่องถือเขา ถือเรา หรือความเห็นอะไรต่างๆ ไม่เฉไฉไปในทางอื่น เห็นแต่ในทางปฏิบัติตามพระพุทธเจ้า ไม่ถือมงคลตื่นข่าวทั้งหมด เห็นว่ามนุษย์เรามีสภาพเหมือนกัน เกิด แก่ เจ็บ ตาย พลัดพรากจากของรักของชอบใจอะไรๆ นั่น

    ถามท่าน... แล้วมันลดได้หรือขอรับ

    ท่านตอบ... อือ...ทำให้มากเข้าซิ แล้วมันก็ลดได้ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุขนี่แหละ เขาปรารถนากันนัก แต่มาถึงเราเข้า เรารู้ทัน เมื่อเราได้ลาภ ก็ให้เป็นสักแต่ว่าได้ลาภ ได้ยศก็สักแต่ว่าได้ยศ ได้สรรเสริญก็สักแต่ว่าสรรเสริญ ได้สุขก็สักแต่ว่าสุขเท่านั้นแหละ มันไม่มีอะไร มันเป็นของอาศัยหรือแสดงเหตุปัจจัยให้เราเห็น ว่า เราได้ยังงั้นๆ มันก็เป็นการยกย่องของโลกเขายังนั้น เราก็อย่าเป็นไปตามโลกเข้าก็แล้วกัน เมื่อจิตของเรามันไม่เป็นไปตามโลกเขา มันก็เป็นสักแต่ว่าเมื่อมันเกิดขึ้นแล้วมันก็ดับไป มันอยู่ยังงี้ล่ะ ทีนี้วิจิกิจฉา ความสงสัยไม่มี ในทานก็ไม่สงสัย ในศีลก็ไม่สงสัย ในสมาธิก็ไม่สงสัย ในปัญญาก็ไม่สงสัย ในวิมุตติก็ไม่สงสัยอะไรทั้งนั้น เชื่อ เชื่อคำของพระพุทธเจ้า เรียกว่า ตถาคตโพธิสัทธา คือ เชื่อในความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เชื่อแน่นอนว่า พระพุทธเจ้าไม่หลอกบุคคลใดๆ พระองค์ทรงตรัสรู้อย่างไร ก็มาเทศนาสั่งสอนพวกเราให้กระทำตามดูบ้าง บางทีจะมีนิสัยปัจจัยที่เคยก่อสร้างมาแล้ว ก็จะเห็นถ่องแท้แน่ใจเกิดขึ้นโดยไม่ได้อาศัยอะไร มันเกิดขึ้นของมันเองแน่นแฟ้น เพราะเราได้ประสบการณ์ของเราเอง ดีอก ดีใจ มากกว่าไปอาศัยประสบการณ์ของบุคคลอื่น ใครอยากเดินตามตถาคตก็ให้ทดลองดูบ้าง เมื่อท่านทดลองเมื่อไหร่ ท่านได้บุญเมื่อนั้น เพราะพระธรรมให้ผลไม่จำกัดกาลเวลา ทำเวลาไหนได้ผลเวลานั้นเมื่อกระทำนั้นเอง และสีลัพพตปรามาสไม่ลูบคลำสิ่งที่นอกจากคำสอนของพระพุทธเจ้าไม่เล่นด้วย

    ถามท่าน... ไม่เล่นด้วยเพราะอะไร ขอรับ

    ท่านตอบ... ก็เราไปเล่นด้วย มันก็วุ่นไปนะซี มันวุ่นไปเอาทางโน้นมั่ง เอาทางนี้มั่ง ลงท้ายที่สุด ไม่ได้อะไรเลย

    ถามท่าน... ที่ไม่ได้อะไรเลยน่ะ เรียกว่ายังไง ขอรับ

    ท่านตอบ... อ้าว...มันเป็นไปด้วยกามสุขัลลิกานุโยค เป็นไปด้วยอัตตกิลมถานุโยค เราเป็นผู้ปฏิบัติในพระพุทธศาสนาต้องเลี่ยงทางสองประการนี้ ให้พ้นไปจากจิตใจ

    ถามท่าน... ถ้ามันลอกแลกไปล่ะ ขอรับ

    ท่านตอบ... เออ...มันลอกแลกไป เอายังไงเอาเสียอย่าง เมื่อเราจะเอาทางกาม ก็เอากาม มันก็เอาตัวรอดไปได้เหมือนกัน แต่ความมุ่งหมายของเราน่ะ จะเอายังไง ที่เราเข้ามาบวชมาเรียน มาศึกษาธรรมนี้น่ะ เราต้องการอะไร

    ตอบท่าน... ต้องการพ้นทุกข์ซิขอรับ

    ท่านตอบ... เอานั่นซิ มันต้องเดินทางนั้น จะเดินทางโน้นทางนี้ มันก็จะไม่ได้อะไร เพื่อการพ้นทุกข์ ก็แกรู้จักไหมเล่า อริยสัจ 4 น่ะ อะไรเล่าที่มาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์

    ตอบท่าน... ก็กามสิขอรับ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ทำให้เกิดทุกข์

    ท่านถาม... แล้วเราจะทำอย่างไรเล่า จึงจะสกัดกั้นเจ้าตัณหาเหล่านั้นไว้ได้ มันจะไม่เกิดขึ้น ตำราก็มีอยู่แล้ว แกอ่านหรือเปล่าเล่า อะไรเล่า

    ตอบท่าน... มรรคขอรับ มรรค 8

    ท่านถาม... มีอะไร

    ตอบท่าน... สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

    ท่านบอก... มากไป มากไป ย่อมันลงไปให้มันสั้นๆ เข้าหน่อยเป็นยังไง ก็ศีล สมาธิ ปัญญานี่เอง อบรมศีล สมาธิ ปัญญา ให้แก่กล้าขึ้น

    ถามท่าน... เมื่อมีปัญญาแล้ว จะตัดได้ยังไง

    ท่านบอก... อ้าว! นิโรธยังไงล่ะ นิโรธมันดับ ดับความใคร่ ความปรารถนานั่นแหละ ดับลงไป ดับลงไป อะไรๆ ก็ดับไปด้วย เขาก็รู้ๆ กันหมด พูดที่ไหน ใครๆ เขาก็รู้กันหมดว่าดับยังงี้ๆ ดับลงไป ดับลงไป ถ้าดับไม่ได้ ให้ค้นลงไป ค้นลงไป

    ถามท่าน... ค้นลงไปที่ไหนขอรับ

    ท่านตอบ... ค้นที่จิตใจซิ ค้นที่จิตใจ เวลานี้จิตใจเป็นอย่างไร ราคํ วา จิตฺตํ วีตราคํ วา จิตฺตํ เมื่อเรานั่งอยู่นี่ราคะมีไหม เมื่อมี ก็ให้รู้ว่ามี เมื่อเรานั่งอยู่นี่ ราคะมีไหม เมื่อมันไม่มี ก็ให้รู้ว่า มันไม่มี ราคะมี กับราคะไม่มี มันต่างกันยังไง

    ถามท่าน... นั่นซีขอรับ มันต่างกันยังไง

    ท่านตอบ... ต้องใช้ปัญญา ต้องใช้ปัญญา เข้าไปพิจารณาว่ามีราคะกับไม่มีราคะน่ะ มันต่างกันยังไง เออ! มันต่างกันมาก มันมีความสุข มันมีความสุข

    ถามท่าน... ความสุขนั้นมันเป็นยังไงขอรับ

    ท่านตอบ... เออ จิตใจผ่องใส จิตผ่องใสบริสุทธิ์ ปัญญาเกิดขึ้น เมื่อปัญญาเกิดขึ้น พ้นจากตัวปัญญาไปแล้วเขาเรียกว่า วิมุตติ วิมุตติ วิมุตติ

    ถามท่าน... วิมุตติ มันมีอยู่เท่าไหร่ขอรับ

    ท่านตอบ... มีอยู่ 3 ตทังควิมุตติ วิกขัมภนวิมุตติ สมุจเฉทวิมุตติ

    ถามท่าน... เราผู้ปฏิบัติ จะทำให้เกิดวิมุตติ‌ไหนขอรับ

    ท่านตอบ... ต้องขั้นต้นไปก่อน

    ท่านบอก... ตทังควิมุตติ มันหลุดไปได้กี่ชั่วโมง ความหลุดพ้นจากกิเลสนี่น่ะ มันหลุดไปได้กี่ชั่วโมง สมุจเฉทวิมุตติ มันหลุดไปได้กี่‌ชั่วโมง ให้ค่อยๆ สังเกตดู ทีนี้ปัญญาจะเกิดขึ้น‌เพราะหลุดพ้นจากวิมุตติแล้วจากโลภก็ดี โกรธก็ดี หลงก็ดี สมุจเฉทวิมุตติมันจะหลุดพ้นจาก‌กิเลสนั้นได้ชั่วครั้งชั่วคราว ให้สังเกตให้ดี เราก็‌รักษาใจให้มันเรื่อยๆ ไปแต่เมื่อเรายังเป็นปุถุชนอยู่ เมื่อออกจากการทำจิตทำใจมันก็อาจกลับมาได้อีก เพราะสติของเรายังไม่มีกำลังพอไม่เหมือน‌พระอรหันต์ท่าน ท่านมีสติวินัยอยู่เสมอ พวกเรา‌ยังไม่มีสติวินัย มันจึงถลำถลาออกไปอยู่เสมอ

    ถามท่าน... แล้วงั้นเราก็ไม่ได้ซิขอรับ เราไม่‌มีสติวินัย เราก็ทำไม่ได้ซิขอรับ

    ท่านบอก... อื้อ! ได้ซิ ทำมันเรื่อยๆ ไป แล้ว‌มันเกิดขึ้นเอง มันเกิดขึ้นเอง ทำให้จิตใจมัน‌ผ่องใส ปัญญาเกิดขึ้น พอสงบจิตสงบใจ มันก็‌ค่อยๆ ผ่องใสขึ้นมา สมาธิมันก็จะแก่กล้าขึ้น มัน‌ก็ค่อยๆ หลุดไปทีละน้อยมันก็เป็นสมุจเฉทได้‌เหมือนกัน บางทีเราไม่รู้สึกของความหลุดก็มี เมื่อ‌เราไปกระทบอะไรสิ่งที่ไม่พอใจ แต่ก่อนนี้เราฉุน‌พอได้ยินอารมณ์เหล่านี้ เราฉุน อิฏฐารมณ์ อนิฏ‌ฐารมณ์ ฉุนทั้งนั้น ไม่พอใจ เจออารมณ์ที่เป็นอิฏ‌ฐารมณ์ ชอบ อนิฏฐารมณ์ ไม่ชอบ รู้ไว้ ยัง ยัง‌ไม่หลุด ยังยินดียินร้ายอยู่แล้วทีนี้จะทำยังไง ต้อง‌เพิกเฉยได้ อารมณ์ที่ดี มันก็เฉย อารมณ์ไม่ดี มัน‌ก็เฉย ไม่รู้สึกว่ามันเป็นอะไร

    ถามท่าน... เมื่อไม่รู้สึกว่ามันเป็นอะไร เขา‌เรียกว่าอะไรขอรับ

    ท่านบอก... ความมั่นคงน่ะซี ความมั่นคง‌ของเราที่ได้อบรมสมาธินี่ ทำให้เราไม่สะทก‌สะท้านในอารมณ์ที่ดีและไม่ดีทั้งหลาย เห็น-รู้-‌ได้ ถ้าเราได้ขั้นนี้เรียกว่าได้โสดา ในระหว่าง‌ปฏิบัตินี้เขาเรียกว่าโสดาปัตติมรรค เมื่อเรา‌เด็ดขาดไปได้ในธรรมทั้ง 3 สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา‌สีลัพพตปรามาส คือศีล 5 มั่นคงเสวยผลล่ะ

    ถามท่าน... โสดาน่ะ แค่ไหนขอรับ ชาวบ้าน‌เรานี่เป็นโสดาได้ไหม

    ท่านตอบ... ได้ครองบ้านครองเมือง ปกครอง‌สมบัติพัสถานมีลูกมีเมียได้ทั้งหมด แต่เขาก็‌มั่นคงในเรื่องการทำมาหากินและเป็นไปเมื่อ‌เกิดสัมมาทิฏฐิ สัมมาอาชีวะ อะไรนั่นเขามั่นคง‌เขาไม่ล่วงในศีล 5 ข้อใดข้อหนึ่ง เขาไม่ล่วง ทั้ง‌นี้ก็มีตัวเปรียบให้เห็นได้ ก็นางวิสาขานั่นไง นั่น‌ก็ได้โสดา ย่างก้าวเข้าสู่อริยชนขั้นต้นแล้วสกิทาคามี เราก็ทำให้น้อยลงไปอีก ความโลภที่ยังมี ทำให้น้อยลง โกรธหลง น้อยลง อนาคา‌ก็ทำให้อวิชชา ตัณหา อุปาทานน้อยลง น้อยลง‌ไปอีกจนหมด ก็เป็นพระอรหันต์ เรียกว่า อยู่จบ‌พรหมจรรย์ แล้วตอนนั้นจะเรียกอะไรก็ได้

    นิพพานัง ปรมัง สุขัง

    นิพพานัง ปรมัง สุญญัง

    แต่การที่ทำนี้ ต้องทำให้เราต้องได้ ต้องเห็น‌ต้องรู้

    ได้จริงๆ พูดกันสั้นๆ ให้เข้าใจได้ว่าโลกธรรมทั้ง 8 ไม่รังแกเราได้เลย แม้แต่เพียงนิดหน่อย...




    ********************************************


     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,394
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,469
    มรดกชิ้นสุดท้ายของ..หลวงปู่โต๊ะ (สอนภาวนา)
    จากเว็บธรรมจักร โพสต์โดย คุณหลับอยู่

    การนั่งวิปัสสนากรรมฐานตามแนวทางของหลวงปู่โต๊ะ แห่งวัดประดู่ฉิมพลี : ก่อนที่พระเดชพระคุณหลวงปู่โต๊ะท่านจะสอนวิธีนั่งเจริญกรรมฐาน วิปัสสนาให้แก่ศิษย์ ท่านจะได้ศิษย์แต่ละคนที่มีความประสงค์จะถวายตัวเป็นศิษย์ทางนั่งเจริญกรรมฐานวิปัสสนา เพื่อแสวงหาความสงบทางใจ จัดหาดอกไม้ธูป เทียน มาสักการะท่านเป็นการขึ้นครูหรือเรียกว่าขอขันธ์ ๕ จากท่านก่อน และท่านจะนัดให้มาในวันพฤหัส โดยแต่ละคนต้องนำ
    ๑. ธูป ๕ ดอก
    ๒. เทียนขาว ๕ เล่ม
    ๓. ดอกไม้ ๕ กระทง
    ๔. ข้าวตอก ๕ กระทง

    30_02_08_16_8_44_33.jpg


    เมื่อมากันพร้อมแล้ว ท่านจะนำเข้าสู่พระอุโบสถและเริ่มสอนวิธีนั่งปฎิบัติเจริญกรรมฐานวิปัสสนาต่อไปนี้

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

    ปาณาติปาตาเวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    อะทินนาทานาเวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

    อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ นิจจะสีละวะเสนะสาธุกัง อัปปมาเทนะ รกฺขิตัพพานิ สีเลนะสุคคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสสะมา สีลัง วิโสธะเย

    30_02_08_16_8_44_53.jpg

    (จุดธูปเทียนได้)
    อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ(กราบ)
    สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ(กราบ)
    สุปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ(กราบ)
    พุทธัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ

    อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวามะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ(กราบ)
    ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฎฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ(กราบ)
    สังฆัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ สุปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฎฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ(กราบ)

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

    อุกาสะ ข้าพเจ้าจะขออาราธนา พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และพระสงฆ์เจ้า คุณบิดามารดา ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ ข้าพเจ้าจะขออย่างพระลักษณะปิติทั้ง๕ จงมาบังเกิดใน จักขุทวาร โสตะทวาร ฆานะทวาร ชิวหาทวาร กายะทวาร มโนทวาร แห่งข้าพเจ้า ในกาลบัดนี้เถิด นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ(กราบ)



    เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ตั้งตัวให้ตรง แล้วมองดูพระประธาน
    ผิวพรรณวรรณ สัณฐาน ท่านเป็นอย่างไร.?
    หลับตาบ้าง ลืมตาบ้าง ลืมตาเห็นผิวพรรณ สัณฐานเป็นอย่างไร.?
    แม้หลับตาก็เห็นผิวพรรณวรรณท่านเหมือนอย่างกับลืมตา ทำอย่างนั้นไป

    น้อมพระที่เราจำได้ มาตั้งไว้บนไหล่ขวา น้อมพระที่เราจำได้ มาตั้งไว้บนไหล่ขวา(ให้เวลาเพิ่อปฎิบัติ)
    น้อมพระจากไหล่ขวามาตั้งไว้บนไหล่ซ้าย น้อมพระจากไหล่ขวามาตั้งไว้บนไหล่ซ้าย(ให้เวลาเพิ่งปฎิบัติ)
    น้อมพระจากไหล่ซ้ายมาตั้งไว้บนกระหม่อม น้อมพระจากไหล่ซ้ายมาตั้งไว้บนกระหม่อม(ให้เวลาเพิ่งปฎิบัติ)
    น้อมพระจากกระหม่อมมาตั้งไว้ที่ทรวงอก น้อมพระจากกระหม่อมมาตั้งไว้ที่ทรวงอก(ให้เวลาเพิ่งปฎิบัติ)
    น้อมพระจากทรวงอกมาตั้งไว้ที่ศูนย์จุดสะดือ น้อมพระจากทรวงอกมาตั้งไว้ที่ศูนย์จุดสะดือ(ให้เวลาเพิ่งปฎิบัติ)

    ยกพระพ้นศูนย์ ๒ นิ้ว ยกพระพ้นศูนย์ ๒ นิ้ว ยกพระพ้นศูนย์ ๒ นิ้ว
    ภาวนาว่า ”พุทโธ” ร้อยครั้ง พันครั้ง หมื่นครั้ง แสนครั้ง…
    ภาวนาว่า ”พุทโธ” ร้อยครั้ง พันครั้ง หมื่นครั้ง แสนครั้ง…


    (ให้เวลาปฎิบัติพอสมควรแล้ว หลวงปู่จะสอนและแนะแนวทางปฎิบัติ)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,394
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,469
    ?temp_hash=f4fcd4851ce148875148d4256c470fd4.jpg






    - กรรมฐานแบ่งเป็น ๒ สมถะกรรมฐานประการหนึ่ง วิปัสสนากรมมฐานประการหนึ่ง
    - สมถะเรียกว่า ความสงบ วิปัสสนา ปัญญาเห็นแจ้ง

    - สมถะ สงบจากอะไร “นิวรณ์ ๕” มีอะไรบ้าง กามฉันทะ ความใคร่ในกาม กามคืออะไร รูป เสียง กลิ่น รส ดผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์ นี่กามเรียกว่า กามคุณ ๕ เราพึงสังเกตุดูว่า จิตของเรามันตกอยู่ในกามตัวใดบ้าง เมื่อเรารู้ว่า อ้อ มันติดอยู่ที่ความพอใจ ในรูปก็ดี ในเสียงก็ดี ในกลิ่นก็ดี ในสัมผัสก็ดี ในรสก็ดี เมื่อสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นตัวใดตัวหนึ่งก็ตาม ความสงบหาเกิดขึ้นกับเราไม่ เพราะเหตุใด เพราะจิตมันเข้าไปอยู่ในกาม ความสงบไม่มี เมื่อความสงบไม่มีเรียกว่าอะไร ไม่ใช่สมถะไม่ใช่สมถะ แล้วเรียกว่าอะไร จิตฟุ้งซ่าน ไปในรูปบ้าง ไปในเสียงบ้าง ไปในกลิ่นบ้าง ไปในรสบ้าง ไปในสัมผัสบ้าง จิตตกอยู่ในกาม ความสงบหาเกิดขึ้นได้ไม่ สมถะกรรมฐาน ถ้าความสงบไม่มีเรียกว่าสมถะไม่ได้ จิตมันตกอยู่ในอำนาจของกามคุณแล้ว

    - เรามีวิธีอะไรที่จะพึงแก้ ไม่ให้จิตมันตกไปในกามคุณทั้ง ๕ นั้นได้...มีทางแก้ พิจารณา กายะคะตานุสติ ก็ได้ หรืออสุภะกรรมฐานก็ได้ เพื่อแก้ไม่ให้จิตมันตกไปในกามคุณทั้ง ๕ ไอ้ที่จิตมันตกไปในกามคุณ เพราะเราเห็นผิดว่าเป็นไปตามจริตของจิตที่มันพอใจ มันชอบรูป เออ!รูปดี มันชอบเสียง เออ!เสียงเพราะดี ชอบกลิ่น เออ!หอมดี ชอบรส รสอย่างนั้น รสอย่างนี้ ชอบสัมผัส การถูกต้องนิ่มนวลอะไรๆเหล่านี้ ธรรมารมณ์อารมณ์พอใจ ไม่พอใจเพิ่มขึ้น





    - แก้ด้วย อสุภะกรรมฐาน รูปก็ดี เสียงก็ดี กลิ่นก็ดี รสก็ดี สัมผัสก็ดี ธรรมารมณ์ก็ดี ไม่แน่นอน มันมีแต่ทุกข์ ทุกข์มันมาได้อย่างไร อะไรเป็นตัวทุกข์ชาติ ชาติเป็นตัวทุกข์ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ นี่เป็นตัวทุกข์ ไหนบ่นกันอยู่เรื่อยๆว่า เป็นทุกข์จริง ฉันนี่เป็นทุกข์จริง แล้วเราก็เข้าไปหาทุกข์ ไม่ใช่ตัวเรานะ เราไม่ต้องการความทุกข์ เราต้องการความสุข แต่ทำไมจิตมันตกไปเองในเรื่องทุกข์อย่างนั้น ทุกข์อย่างนี้ ทุกข์อย่างโน้น ทุกข์ร้อยแปดพันเก้า กิเลส กิเลสกรรมวิบาก กิเลสความใคร่ ใคร่ไปในเรื่องต่างๆ

    - กรรม แปลว่า กระทำ กิเลสกรรม กระทำดี กระทำชั่ว วิบาก เราทำดี ได้รับผลดี เราทำชั่ว ได้รับหลชั่ว พวกนี้เอง ทำให้เราเห็นไปในทางที่ผิดทำนองคลองธรรม มันก็เพลินในเรื่องความเห็นผิด มันเพลินไป ความเพลินที่เราเพลินเลยเผลอ เผลอไป เผลอไป เผลอไปเลยหลง หลงว่าอย่างนี้ดี หลงไปหมด คนที่หลงนั่นเป็นเพราะอะไร ปราศจากสติ คนปราศจากสติ ปราศจากสติ เขาเรียกว่าอะไร คนประมาท อ้อ.! เรานี่เป็นคนประมาทนะ ทำเป็นคนไม่ประมาทเสียบ้างซี เอ้อ.! ทำไง.?

    - ทำสมถะกรรมฐานนี่ละ เพื่อความไม่ประมาท เพื่อความสงบจากกาม แล้วรู้ เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าเรามีความสงบ รู้ได้ มีสติเข้าไปคุมจิต เมื่อเรามีสติเข้าไปคุมจิต เราจะรู้ว่า จิตมีอะไรเป็นอารมณ์ มีดีกับชั่ว อะไรดี กุศลจิต นี่ดี เป็นคนฉลาดเกิดขึ้นในจิตของตนเอง รู้เหตุผล นี่ควร นี่ไม่ควร เกิดปัญญาขี้นในจิต อกุศลจิต นี่จิตโง่ จิตไม่ฉลาด เรียกว่าอกุศลจิต เกิดขึ้นรู้ไม่เท่าทัน อะไรเป็นอารมณ์ของจิต กุศลจิต อกุศลจิต

    - พุทโธ นี่เรียกว่า กุศลจิต มีประโยชน์อะไร ภาวนาพุทโธ มีประโยชน์อะไร แล้วทำไมมีตั้งหลายอย่างหนัก เดี๋ยวก็ให้ตั้ง เดี๋ยวก็ไม่ให้ตั้ง ตั้งอย่างนั้น ตั้งอย่างนี้ ก็เพื่อทดลอง สติกับจิต ให้รู้ว่า ตั้งที่ตรงนั้นน่ะ จิตใจมันเป็นอย่างไรไม่ทราบ มันยังส่ายออกออกไปนอกพุทโธ หรือว่าอยู่ในพุทโธ
    _________________________
    เมื่อมันส่ายออกออกไปนอกพุทโธ จิตมันเป็นอย่างไร สติคุมไว้ เมื่อมันอยู่ในพุทโธ จิตมันเป็นอย่างไร ความสุขอยู่นอกพุทโธ ได้ผลอย่างไรบ้าง ในเรื่องการปฎิบัติ จิตมันอยู่ในพุทโธมันได้ผลอะไรบ้าง ในการปฎิบัติของแต่ละท่าน ละท่าน มันเป็นอย่างงั้น พุทโธนี่เป็นอารมณ์ของจิต สติ จิต แล้วก็อารมณ์ จะต้องมีสติคุมจิตเสมอ คุมอะไร เดี๋ยวเลื่อนไปตั้งที่โน้น เดี๋ยวเลื่อนไปตั้งที่นี่ เพราะจริตของคน แต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนชอบโยกย้าย ดี โยกย้าย ได้เห็นสิ่งอะไรผิดแปลก แปลก ของที่เราไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้ยิน เราก็เห็น ก็ได้ยิน ถิ่นที่เราไม่เคยไป เอ้อ! ไปได้ ไปได้ดูของแปลกๆ เมื่อไปดูของแปลกๆน่ะ มันมีประโยชน์อะไรสำหรับรู้ สำหรับเห็น มันเป็นประโยชน์ทางโลกหรือว่าประโยชน์ทางธรรม หรือเอาทางโลกมาเปรียบเทียบกับทางธรรม หรือเอาทางธรรมมาเปรียบเทียบกับทางโลก บางคนชอบอย่างนั้น

    บางคนไม่ไปอยู่เฉยๆ อยู่ที่เดียวดีกว่า มันไม่ยุ่ง อยู่ที่เดียวอย่างงั้นก็มี ไม่อยากเที่ยวไปโน้น ไม่อยากเที่ยวไปนี่ อยู่ที่ไหนก็อยากอยู่ที่นั่นมันสบาย มีศีล มีจิตที่ตั้ง เราก็ตั้งดู มันสบายที่ไหน อยู่ที่นั่นก็ได้ เห็นว่ามันไม่สบายก็ย้ายไปอีก ย้ายไปหาความสุขเกิดจากจิตใจของเรา ทำไป

    ขั้นสมถะกรรมฐาน ก็ต้องมีอย่างนี้ มีพระปริยัติ ปฎิบัติ ปฎิเวธ ปริยัติเป็นข้อที่ดี ว่าพุทโธเป็นอย่างนี้ แล้วเราก็นำเอาพุทโธมาปฎิบัติ เรียกว่า ธรรม


    เราภาวนา พุทโธ พุทโธ ให้สังเกตอยู่ที่ใจ ใจมันเลื่อมใสในพุทโธ บางคราวมันไม่เลื่อมใสในเครื่องพุทโธ เมื่อภาวนาพุทโธเมื่อไหร่มันไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย เมื่อไม่เห็นด้วย เราจะต้องทำ ต้องแก้ ไม่แก้ก็ไม่ได้ ปล่อยไปใหญ่ ต้องแก้ ต้องอ้อนวอน ชวนให้ทำงาน ชวนจิตให้มาทำงานว่า ไอ้งานที่ทำๆกันน่ะ ฉันเคยทำเหมือนกันน่ะ ไอ้งานเหล่านั้นน่ะ แต่มันได้ประโยชน์น้อย งานที่ฉันได้ใหม่ได้ประโยชน์มาก เชิญมาลองทำดู ดูฉันเป็นตัวอย่าง เดี๋ยวนี้ฉันทำงานอีกอย่างหนึ่งแล้ว รู้สึกสบาย

    ท่านผู้ใหญ่ก็ชอบว่า ทำงานดี ผู้น้อยก็ชอบว่า ดี ท่านอัธยาศัยใจคอ วางตนเป็นกลางๆ ไม่เข้าไม่ออก ท่านถือเป็นกันเอง เออ! งานดีแล้วท่านเสนองานการของเราที่ทำ เสนอผู้หลักผู้ใหญ่ว่า นาย ก. เขาทำยังงั้นๆได้รับความชมเชย หรือขึ้นเงินดาวเงินเดือนอะไรให้นี่ล่ะ ฉันทำอย่างงี้ได้เพราะกิจการที่ทำขึ้นใหม่ เราก็ชวนเขา เอ้า!ไปวัดประดู่ ไปทำงานที่วัดประดู่ หลวงปู่โต๊ะ ท่านสอนให้ฉันทำงานขึ้นใหม่ ไปซี เราก็ไป เราก็มาขึ้นทำกันนี่ละ

    บางคราวก็เห็นด้วยที่นั่งภาวนา บางคราวไม่เห็นด้วย เพราะอะไร เพราะงานมันบีบคั้น นั่งไปนานๆหน่อย เมื่อย ปวดที่นั่น เจ็บที่นี่ ยุงกัดที่โน่น ยุงกัดที่นี่ ง่วงเหงาหาวนอนไป จิตใจไม่สงบ นั่งอยู่ที่นี่ คิดไปที่โน่น ต่อไปถึงที่นั่น อะไรอีก จะถามว่า นั่นแกคิดเรื่องอะไรอยู่บ้างไหม ที่ไปนั่งภาวนานับไม่ถ้วน อะไรต่ออะไร มันเข้ามาวุ่นวายกันใหญ่ ไม่เห็นจะมีท่ามีทาง อย่า อย่า อย่าเพิ่งใจร้อน อย่าเพิ่งใจร้อนต้องอ้อนวอนนิดหน่อย เพราะงานเขายังไม่เคยทำ เขาไม่เคยทำงานชิ้นนี้ ต้องอ้อนวอนหน่อย ให้รู้ว่า ดีนะ

    งานนี้น่ะดี ทำไปเหอะ ค่อยๆทำไป ไม่ต้องรีบร้อนอะไร ถึงศรัทธาเวลาไหน ก็เวลานั้นได้ จะถามว่าทำยังไง ยืนก็ทำได้ นอนก็ทำได้ นั่งก็ทำได้ เดินก็ทำได้ มันอยู่ที่การกระทำ เออลองดูซี นั่งก็ทำ ไม่ต้องมาก ๕ มินิส ๑๐ มินิส หรือจะมีศรัทธายิ่งไปกว่านั้นก็ได้


    นั่งกำหนดจิตว่า เดี๋ยวนี้จิตมันเป็นอย่างไร.? จิตมันเป็นอย่างไร ทีนี้จิตมันก็เชื่องช้า คุ้นกับงานการเข้า ทีหลังเราไม่ต้องเตือน มันเดินไปตามงานมราเรากะให้ทำ ไม่ต้องไปทำกันบ่อยๆ จำได้ก็เข้ามา อารมณ์อื่นๆก็เบาไป เบาไปแล้วเราก็รู้สึกแช่มชื่น จิตใจมันสมคบดี มันรู้เท่าทัน กิเลส ตัญหา อุปาทาน รู้เท่าทันเขา เย็นเข้า เย็นเข้า ไอ้พวกนั้นดับ ดับด้วยอะไร ดับด้วยศีล ดับด้วยสมาธิ ดับด้วยปัญญา เรียกง่ายๆเขาว่า”วิมุติ” หลุดไปเป็นครั้งเป็นคราว เป็นขณะ เป็นสมัย เป็นกาล หลุดไปได้

    เราเคยโกรธคนมากๆ ต่อไปโกรธน้อยลง เรามารู้ตัวว่า เอ๊ะ!ไอ้โกรธนี่ มันต้องเราก่อนซิ เราก่อน มันเผาเราก่อน แล้วมันจึงไปเผาคนอื่น แล้วก็เดือดร้อน ด้วยประการต่างๆ ลดลงเพราะเห็นโทษ ได้ที่โกรธหรือราคะอะไรนี่ เพราะความหลงของเรา เข้าใจว่ามันเป็นยังงั้นๆยังงั้นๆ

    ทีนี้ก็แก้ความหลง เขาเรียกว่า อวิชชา เราก็ทำ อวิชชานั่นน่ะ เป็นวิชชาขึ้น เมื่อมันเป็นวิชชา ความรู้มันก็ดีขึ้น ความโง่หมดไป ความเขลาหมดไป ความฉลาดก็เกิดขึ้นฉันใด การที่เรามาอบรมใจก็ฉันนั้น ต้องปลอบ ช่วยเหลือตัวของตัวเอง เพราะฉะนั้น การที่จะมาทำจิต ขั้นสมถะกรรมฐาน ก็ตั้งสติคุมจิต จิตก็มีอารมณ์ คือ พุทโธ ทำจิตตัวเอง จะนั่งได้นานเท่าไหร่ก็ตาม ที่ได้อธิบายมานี้ก็เห็นสมควรแก่เวลา ด้วยประการฉะนี้..
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • _2_992.jpg
      _2_992.jpg
      ขนาดไฟล์:
      124.4 KB
      เปิดดู:
      178
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,394
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,469
    ?temp_hash=9c86af3ebd302ec625ab04046ac761e2.jpg

    ?temp_hash=9c86af3ebd302ec625ab04046ac761e2.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,394
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,121
    ค่าพลัง:
    +70,469
     

แชร์หน้านี้

Loading...