เปิดอนุสาวรีย์ตำรวจ อนุสรณ์ผู้กล้า"ล้านนา" ตัวตาย-ชื่อยังอยู่!??

ในห้อง 'ข่าวทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย paang, 27 กันยายน 2005.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    [​IMG]

    ด้วยภารกิจหน้าที่ของตำรวจคืองานที่ต้องบำบัดทุกข์บำรุงสุขประชาชน ปราบปรามการกระทำความผิด ดังนั้นงานตำรวจจึงขึ้นชื่อว่าเป็นงานที่มีความเสี่ยงสูง

    ที่ผ่านมามีผู้สละชีวิตในหน้าที่หลายราย

    สำนักงานตำรวจภูธรภาค 5 เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่มีหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน การปฏิบัติงานตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่ตำรวจเสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่จำนวนมาก

    เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติและรำลึกถึงคุณงามความดีของพวกเขาหล่านั้น สำนักงานตำรวจภูธรภาค 5 จึงเห็นสมควรให้มีการก่อสร้างอนุสรณ์สถานขึ้น เพื่อใช้เป็นที่เคารพและรำลึกถึงวีรกรรมของข้าราชการตำรวจที่เสียสละและอุทิศตนตามหน้าที่ สมควรเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับตำรวจรุ่นหลัง

    จึงจัดทำ "อนุสรณ์สถานตำรวจผู้กล้าแห่งล้านนา" ขึ้น เพื่อเชิดชูเกียรติและเป็นพิพิธภัณฑ์ตำรวจภูธรภาค 5 อีกทั้งยังใช้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและทัศนศึกษาดูงานแก่ข้าราชการตำรวจและประชาชนทั่วไป

    ได้เห็นความสำคัญของบุคคลที่จากไป

    อนุสรณ์สถานตำรวจผู้กล้าแห่งล้านนา ตั้งตระหง่านอยู่หน้าสำนักงานตำรวจภูธรภาค 5 กลางเมืองเชียงใหม่ รูปแบบคล้ายอนุสาวรีย์เชิดชูเกียรติทั่วไป แต่แฝงไปด้วยความหมายที่เป็นเอกภาพ ความโดดเด่นสง่างาม และความขลัง

    ทั้งสามสิ่งหล่อหลอมเป็นหนึ่งเดียวกัน

    การออกแบบแบ่งเป็น 2 แนว คือ แนวคิดของการออกแบบและความหมายของสิ่งที่ออกแบบ แนวคิดของการออกแบบ ได้อาศัยข้อมูลต่างๆของหน่วยงานนำมาสร้างรูปแบบของงาน ผนังทั้ง 9 ด้านที่จะจารึกชื่อของตำรวจผู้เสียชีวิต มาจากกองบังคับการอำนวยการทั้ง 9 กอง นำมาออกแบบเป็นรูปฐานล่าง 9 เหลี่ยม ตำรวจภูธรภาค 5 นำมาออกแบบเป็นแท่งสูง 5 เหลี่ยมตรงกลาง

    ส่วนความหมายที่แฝงอยู่ในสิ่งก่อสร้างต่างๆ ประกอบด้วย ทางเดินผู้พิทักษ์สันติราษฎร์จากพื้นดิน พื้นหญ้า ผ่านขั้นบันไดขึ้นมาจนถึงลานประกอบพิธี เปรียบเสมือนชีวิตของมนุษย์ที่เกิดมาแล้วต้องสร้างความดี ทำตามความฝันของชีวิต บ้างก็ก้าวหน้า บ้างก็ถอยหลังหรือหยุดอยู่กับที่

    แผ่นจารึกนามผู้กล้า จากลานประกอบพิธีมาสู่แท่นจารึกนาม เปรียบเสมือนการปฏิบัติหน้าที่ ตามที่ได้ปฏิญาณเอาไว้ "ยอมสละชีพเพื่อความสุขของประชาชน" ความเสียสละของท่านผู้กล้าเหล่านี้ จะถูกจารึกนามเอาไว้บนแผ่นหินทั้งเก้าด้าน แต่ละด้านหมายถึงหน่วยงานที่ท่านผู้กล้าเหล่านี้สังกัดอยู่

    แท่งศิลาแห่งการเดินทาง จากแท่นจารึกนามผ่านแท่งศิลาห้าเหลี่ยมพุ่งขึ้นไปสู่รูปดาวแปดแฉกด้านบน เปรียบเสมือนธาตุทั้งสี่ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ที่ได้แตกสลายกลายเป็นดวงวิญญาณอันบริสุทธิ์ของเหล่าผู้กล้า แห่งกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 จะได้เดินทางขึ้นสู่สวรรค์ สถิตอยู่ตามดาวแต่ละดวงในห้วงจักรวาลแห่งนี้

    การเสียชีวิตของข้าราชการตำรวจผู้กล้าแห่งล้านนา ที่ถูกจารึกชื่อและวีรกรรมไว้ ณ อนุสรณ์สถานแห่งนี้ ถือเป็นเกียรติประวัติที่ผู้เสียชีวิตได้สร้างวีรกรรมไว้ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับข้าราชการตำรวจรุ่นหลัง

    แม้จะเสียชีวิตไปแล้วแต่คุณงามความดีจะยังถูกจารึกไว้ไปอีกนานแสนนาน

    อนุสรณ์สถานตำรวจผู้กล้าหาญแห่งล้านนา ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 8 ก.ย. ที่ผ่านมา มีพล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ผบ.ตร. เดินทางมาเป็นประธานในพิธี มีพล.ต.ท.ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา ผบช.ภาค 5 คอยให้การต้อนรับ

    พิธีกรรมเริ่มขึ้นโดยการอัญเชิญดวงวิญญาณตำรวจผู้กล้าเข้ามาอยู่ในอนุสรณ์สถาน วางพวงมาลาสักการะดวงวิญญาณ ก่อนที่จะแจกทุนการศึกษาแก่ทายาทตำรวจผู้จากไปทั้งหมด

    พล.ต.ท.ภาณุพงศ์ เปิดเผยว่า นับตั้งแต่มารับตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2547 เป็นต้นมา นอกเหนือจากหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมให้ลุล่วงไปแล้ว ภาระหน้าที่ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การสร้างขวัญ กำลังใจให้พี่น้องตำรวจในสังกัด การสร้างขวัญกำลังใจให้ข้าราชการตำรวจนั้น มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากข้าราชการตำรวจเป็นอาชีพที่ต้องปกป้องสุจริตชน การปฏิบัติหน้าที่จำต้องเสี่ยงชีวิตในการต่อสู้กับคนร้าย ดังนั้นโอกาสที่จะได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจึงมีได้ตลอดเวลา อีกทั้งพื้นที่ในเขตรับผิดชอบของตำรวจภูธรภาค 5 นั้น มีปัญหาด้านยาเสพติด ดังนั้นการจับกุมปราบปรามจึงมีความเสี่ยงมาก ซึ่งแน่นอนว่าหากข้าราชการตำรวจได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตย่อมเกิดปัญหาต่อสภาพครอบครัวที่จะต้องตกอยู่สภาพยากลำบากในการดำรงชีวิต

    ในอดีตที่ผ่านมา ข้าราชการตำรวจภูธรภาค 5 ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความทุ่มเทอุตสาหะและสละชีวิตมาไม่น้อย จากการรวบรวมตรวจสอบมีถึงเกือบ 100 คน สมควรอย่างยิ่งที่เราควรเรียกตำรวจเหล่านี้ว่า "ตำรวจผู้กล้าหาญแห่งล้านนา" แม้พวกเขาจะได้รับการตอบแทนจากทางราชการตามระเบียบแล้ว แต่การยกย่องเชิดชูเกียรติแก่ผู้เสียชีวิตเหล่านี้มักจะถูกละเลย และเมื่อระยะเวลานานเข้า ก็ทำให้คนรุ่นหลังหลงลืมกันไป จึงสมควรอย่างยิ่งที่ต้องสร้างอนุสรณ์สถานเพื่อจารึกชื่อสกุลของข้าราชการตำรวจเหล่านี้ไว้ เป็นการเชิดชูเกียรติทั้งต่อผู้เสียชีวิตเองและครอบครัว อีกทั้งสร้างพิพิธภัณฑ์ตำรวจภูธรภาค 5 ไว้อีกส่วนหนึ่งด้วย

    "ต้องขอขอบคุณพี่ๆ น้องๆ ข้าราชการตำรวจภูธรภาค 5 รวมทั้งพี่น้องประชาชนล้านนาทุกท่าน ที่ได้ช่วยเหลือสนับสนุนจนการก่อสร้างอนุสรณ์สถานในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงตามความมุ่งหวังด้วยดี โดยมิได้ใช้เงินงบประมาณของทางราชการเลย ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความสามัคคี ความร่วมมือในครั้งนี้ จะส่งผลเป็นบุญกุศลให้ทุกท่านที่ร่วมทำงานประสบความสำเร็จทั้งในชีวิตส่วนตัวและครอบครัว" ผบช.ภาค5 กล่าว

    สำหรับหลักเกณฑ์ของตำรวจผู้กล้าที่จะมีโอกาสจารึกชื่อไว้ในอนุสรณ์สถานฯ ต้องมีคุณสมบัติประกอบด้วย

    1. เป็นข้าราชการตำรวจภูธรในจังหวัดภาคเหนือตอนบน หรือในสังกัดกองบัญชาการตำรวจภูธร 3 เดิม หรือสังกัดกองบังคับการอำนวยการ หน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อตำรวจภูธรภาค 5 และตำรวจภูธรจังหวัดในสังกัดตำรวจภูธรภาค 5 2 .ต้องเป็นข้าราชการตำรวจที่เสียชีวิต อันเกิดจากความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว มีวีรกรรมที่ควรยกย่องสรรเสริญ 3. การเสียชีวิตตามข้อ 2 ต้องเป็นผู้ที่เสียชีวิตโดยได้เสี่ยงภยันตราย ด้วยความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว จากการปฏิบัติหน้าที่จนทางราชการมีคำสั่งปูนบำเหน็จความชอบให้เป็นกรณีพิเศษ 4. ข้าราชการตำรวจที่เสียชีวิตระหว่างปฏิบัติหน้าที่โดยปกติทั่วไป เช่น ได้รับอุบัติเหตุระหว่างเดินทางไปราชการหรือเกิดหัวใจล้มเหลวระหว่างปฏิบัติหน้าที่ ถือว่าเป็นการเสียชีวิตระหว่างการปฏิบัติหน้าที่

    ทั้งหมดเข้าข่ายถูกจารึกชื่อไว้ใน "อนุสรณ์สถานตำรวจผู้กล้าหาญแห่งล้านนา"

    ตัวตาย-ชื่อยังอยู่!??

    ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
    เนื้อหาข่าวโดย http://www.matichon.co.th/khaosod/
     

แชร์หน้านี้

Loading...