เปิดแผนปฏิบัติการ 8 ขั้น ปราบขบวนการค้ามนุษย์

ในห้อง 'ข่าวทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย paang, 22 พฤศจิกายน 2005.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    [​IMG]

    ถ้อยแถลงนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล ที่ว่ายึดประชาชนเป็นศูนย์กลางเน้นการพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ เร่งสร้างหลักประกันความเสมอภาคและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ให้เด็กและสตรี ขจัดขบวนการค้ามนุษย์ และการละเมิดสิทธิเด็กและสตรีในทุกรูปแบบอย่างเด็ดขาดนั้น

    ไม่ควรเป็นเพียงแค่ลมปากลอยๆ

    พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะรับผิดชอบกำกับดูแลการบริหารราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงได้มอบยุทธศาสตร์ให้ตำรวจผลักดันและขับเคลื่อนการดำเนินการเพื่อสนองนโยบายรัฐดังกล่าว ให้บังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม

    เพราะตำรวจเป็นหน่วยงานหลักที่ทำงานใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด



    ด้วยเหตุผลดังกล่าวคณะอนุกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ ด้านการบริหารยุทธศาสตร์ พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ผบ.ตร. ได้จัดทำโครงการ "บูรณาการแก้ไขปัญหาและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เด็กและสตรีเพื่อรองรับยุทธศาสตร์ชาติ" เพื่อสนองนโยบายข้างต้นและบูรณาการแผนการปฏิบัติร่วมกับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ส่วนราชการ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรเอกชน และประชาชนในพื้นที่

    ทำงานเป็นเครือข่ายเพื่อให้ครอบคลุมทุกปัญหา

    โครงการบูรณาการแก้ไขปัญหาเด็กและสตรีฯ แบ่งขั้นตอนการทำงานออกเป็น 8 ขั้นด้วยกัน

    ขั้นแรกเริ่มจากการสื่อสารและสร้างความร่วมมือ เริ่มทำมาตั้งแต่วันที่ 1-13 พ.ย.ที่ผ่านมา ภารกิจคือการ X-Ray พื้นที่ชั้นในเพื่อทราบปัญหาบุคคล สถานที่เป้าหมายในพื้นที่ X-Ray รอบนอก เพื่อป้องกันมิให้มีการเคลื่อนย้ายปัญหาเข้ามาในพื้นที่ แล้วส่งผลการ X-Ray ให้ ปตส.เพื่อรวบรวมและจัดทำบัญชีบุคคล สถานที่เป้าหมาย

    มีหน่วยปฏิบัติงานในระดับ สน. สภ. รวม 1,446 แห่ง ด่าน ตม. 54 แห่ง, สทล. 37 แห่ง และกองร้อย ตชด. 133 แห่งทั่วประเทศ ทำงานประสานองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่

    กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ สถานบริการ โรงงาน เรือประมง แพปลา สถานประกอบการประเภทต่างๆ ที่เป็นแหล่งมั่วสุม เช่น ร้านเกมคอมพิวเตอร์



    ขั้นตอนที่ 2 เป็นขั้นระดมพลังและสัญญาประชาคม เริ่มทำวันที่ 14-25 พ.ย. ภารกิจเป็นการระดมความร่วมมือในการรณรงค์ต่อต้านการกระทำที่มิชอบต่อเด็กและสตรี รวมทั้งแสวงหาและคัดเลือกแนวร่วมยุทธศาสตร์จากกลุ่มเป้าหมายตามข้อ 1. และผู้นำชุมชนในระดับต่างๆ มาร่วมลงนามในสัญญาประชาคม และติดสติ๊กเกอร์เข้าร่วมโครงการ

    เน้นกลุ่มเป้าหมาย สถานบริการ โรงงาน เรือประมง แพปลา สถานประกอบการประเภทต่างๆ ที่เป็นแหล่งมั่วสุม เช่น ร้านเกม เป็นต้น

    ทั้งนี้ ได้กำหนดให้วันที่ 25 พ.ย. เวลา 11.00-12.00น. เป็นวันทำสัญญาประชาคม มีพล.ต.อ.ชิดชัยเป็นประธานในพิธี ที่ห้องประชุม 1 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และถ่ายทอดสดทางช่อง 11 พร้อมกับสถานีตำรวจ 1,446 สถานีทั่วประเทศ รวมทั้งพล.ตงอ.โกวิท วัฒนะ พล.ต.ท.ชาญวุฒิ วัชรพุกก์ ผู้ช่วยผบ.ตร. พล.ต.ต.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผบก.ปดส. พล.ต.ต.เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน รองผบช.ประจำตร. ร่วมด้วย

    ขั้นตอนที่ 3. เป็นขั้นผลักดันมาตรการทางกฎหมาย จะเริ่มทำตั้งแต่วันที่ 26 พ.ย.-4 ธ.ค. ภารกิจคือการ Re X-Ray เพื่อจับกุมบุคคล สถานที่เป้าหมายที่ฝ่าฝืนกระทำการอันมิชอบต่อเด็กและสตรี รวมทั้งในความช่วยเหลือ เยียวยา สภาพร่างกายและจิตใจแก่ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ ตลอดจนกดดันบุคคล สถานที่ที่ยังไม่ให้ความร่วมมือเพื่อป้องปรามมิให้ฝ่าฝืน <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=2><TBODY><TR bgColor=#ffffe8><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    มุ่งเน้นที่สถานบริการ โรงงาน เรือประมง แพปลา สถานประกอบการประเภทต่างๆ ที่เป็นแหล่งมั่วสุม เช่น ร้านเกมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น



    ขั้นตอนที่ 4. เป็นการรณรงค์แสดงพลังเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ทำในวันวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธ.ค. ภารกิจ คือการร่วมกันจัดกิจกรรมแสดงพลังต่อต้านการกระทำอันมิชอบต่อเด็กและสตรี ที่เหมาะสม เช่น เดินรณรงค์ และกล่าวคำสาบาน

    ขั้นตอนนี้มุ่งไปที่กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เจ้าของ ผู้ประกอบการโรงงาน สถานบริการ สถานประกอบการทุกประเภทที่เข้าร่วมโครงการ และแนวร่วมยุทธศาสตร์ในพื้นที่

    ขั้นตอนที่ 5. เป็นขั้นขยายผลการปฏิบัติ เริ่มลงมือทำตั้งแต่วันที่ 6 ธ.ค.-13 ม.ค. 2549 ภารกิจ คือการมอบภารกิจให้แนวร่วมยุทธศาสตร์ ขยายพื้นที่ X-Ray เข้าไปในโรงเรียน สถาบันการศึกษา ชุมชน หมู่บ้าน และบุคคลพ้นโทษที่เป็นเด็ก เพื่อคัดแยกเด็กที่มีพฤติกรรมเสี่ยง แล้วนำเข้าสู่กระบวนการละลายพฤติกรรมปลูกฝังจิตสำนึก และคัดเลือกเด็กที่มีพฤติกรรมเหมาะสมเพื่อนำเข้าสู่กระบวนการสร้างแกนนำ รวมทั้งดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กที่มีประวัติสามารถกลับเข้าสู่สังคมได้อย่างเหมาะสม

    เน้นกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ โรงเรียนสถานศึกษา ชุมชนหมู่บ้าน วัด สถานพินิจและคุ้มครองเด็ก และมูลนิธิเอกชนที่ดูแลเด็ก



    ขั้นตอนที่ 6. เป็นขั้นประกาศชัยชนะ ทำกันในวันเด็กแห่งชาติ วันที่ 14 ม.ค. 2549 มีวัตถุประสงค์เพื่อประกาศชัยชนะการแก้ไขปัญหาเด็ก เยาวชนและสตรี และจัดกิจกรรมตามความเหมาะสม เช่น การเดินรณรงค์ นิทรรศการ กีฬาสร้างสรรค์ บำเพ็ญสาธารณประโยชน์

    หวังผลกับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เจ้าของ ผู้ประกอบการ โรงงาน สถานบริการ สถานประกอบการทุกประเภทที่เข้าร่วมโครงการ และแนวร่วมยุทธศาสตร์ในพื้นที่

    ขั้นตอนที่ 7. เป็นขั้นสรุปและประเมินผลการปฏิบัติ จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 15-29 ม.ค. 2549 ภารกิจคือการรวบรวมและจัดทำรายงานสรุปผลงาน โครงการเสนอต่อสาธารณชน รายงานสำนักนายกรัฐมนตรี กรมประชาสัมพันธ์ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ให้รับทราบผลการทำงาน

    ส่วนขั้นตอนที่ 8. เป็นขั้นการรักษาความมั่นคงของพื้นที่ เริ่มทำในวันที่ 30 ม.ค.-13ก.พ. 2549 เป็นการ Re-X-Ray เพื่อตรวจสอบความยั่งยืน และการปรับปรุงแผน แผนงานโครงการ กิจกรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์และสภาพปัญหาที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละพื้นที่

    เพื่อให้โครงการบรรลุผลสำเร็จมากที่สุด



    ภารกิจที่กล่าวมา พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ผบ.ตร. ได้มอบหลักการและเหตุผลให้ข้าราชการตำรวจทั่วประเทศทำตามอย่างเคร่งครัด ประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วน โดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และภาคประชาชน ร่วมบูรณาการในการปฏิบัติอย่างจริงจัง

    ช่วงนี้อยู่ในขั้นที่ 2 ขั้นระดมพลังและสัญญาประชาคม ยังเหลืออีก 6 ขั้นที่ต้องทำกันต่อ

    ทำเพื่อลดปัญหาการกระทำต่อเด็กและสตรีที่เรื้อรังมาช้านาน

    ที่มา http://www.matichon.co.th/khaosod
     

แชร์หน้านี้

Loading...