เวลาที่หายไป

ในห้อง 'เรื่องผี' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 17 มกราคม 2006.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,174
    บุษบา วาปี เล่าเรื่องขนหัวลุกจาก อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี

    มนุษย์ทุกชาติทุกภาษาล้วนแต่มีความเชื่อถือตรงกันว่า เมื่อมีใครเสียชีวิตลง ไม่ว่าจะเกิดจากอุบัติเหตุก็ดี เพราะเจ็บไข้ได้ป่วยก็ดี รวมทั้งแก่ชราร่วงโรยไปเหมือนใบไม้ที่เหี่ยวแห้งคาต้น ไม่ช้าก็ต้องร่วงหล่นไปตามกาลเวลา

    ญาติมิตรจะต้องจัดงานศพตามประเพณี ไม่ว่าจะยากดีมีจนอย่างไรก็จัดการไปตามฐานะ เพื่อให้วิญญาณผู้ตายไปสู่สุคติในภพหน้า

    ถ้าศพผู้ใดถูกปล่อยปละละเลย ไม่จัดการให้ถูกต้องตามประเพณี(แล้วแต่ความเชื่อถือ หรือประเพณีของศาสนานั้นๆ) วิญญาณผู้ตายก็จะไม่สงบสุข หรือไม่ก็ได้รับแต่ความทุกข์ทรมานตลอดไป..ไม่ได้ไปผุดไปเกิด ว่าอย่างนั้นนะคะ!

    แม้แต่ผู้ยากไร้อนาถา หรือเป็นศพไม่มีญาติ ก็ยังมีมูลนิธิช่วยสงเคราะห์ในเรื่องฝังศพ ขุดศพนับจำนวนเป็นร้อยเป็นพันขึ้นมาบำเพ็ญกุศล เผาจี่ให้เป็นที่เรียบร้อยดังที่เราๆ ท่านๆ ทราบกันดี

    ที่อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี บ้านเกิดของดิฉันก็เช่นกันค่ะ

    เรามีวัฒนธรรมประเพณีต่างๆ มากมายเป็นที่น่าภาคภูมิใจ แต่นับวันก็นับแต่จะสูญหายไปทีละอย่างสองอย่าง เมื่อความเจริญมาถึง วิถีชีวิตของผู้คนก็เปลี่ยนไป จากการพอมีพอกินก็กลายเป็นทุนนิยม ชื่นชมวัตถุ เร่งรัดตัวเองให้รีบเร่งทำมาหากิน(หรือหาเงิน) มาบำรุงบำเรอตนเองและครอบครัวคล้ายๆ กันไปแทบทั้งนั้น

    เชื่อว่าที่อื่นๆ ก็คงจะมีปัญหาแบบเดียวกัน!

    สมัยก่อน จะมีการพบปะของชุมชนในยามว่าง ถ้าเป็นเขตสุขาภิบาลก็จะอาศัยศาลาวัดศรีนาคบ้าง ศาลเจ้าปู่บ้าง รวมทั้งสวนธรรมชาติบ้างเป็นที่พบปะกัน เล่าสารทุกข์สุขดิบสู่กันฟัง แลกเปลี่ยนความคิดกันในเรื่องทำประโยชน์ให้คนหมู่มาก ช่วยแก้ปัญหาให้ผู้เดือดร้อน ฯลฯ

    แต่มาเดี๋ยวนี้แทบไม่มีแล้ว ยุควัตถุนิยมบังคับให้รีบทำงาน รีบหาเงิน การมาพบปะสังสรรค์กันเหมือนเมื่อก่อน กลายเป็นสิ่งฟุ่มเฟือย เปลืองเวลาไปเสียแล้วค่ะ

    เมื่อประมาณ 25 ปีก่อน ความเจริญหลั่งไหลเข้ามาเต็มรูปแบบ ราคาอ้อยสูงขึ้น ชาวบ้านก็มีรายได้มากขึ้น โดยเฉพาะการไปทำงานต่างประเทศ ส่งเงินกลับมาให้ทางบ้านชนิดเป็นกอบเป็นกำ

    มีการซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้ากันแทบทุกบ้าน ไม่ว่าวิทยุ ทีวี ตู้เย็น ส่วนมากเพื่อแสดงฐานะและความเป็นอยู่ ยกระดับหน้าตาของตัวเองว่าเหนือกว่าคนอื่นๆ หรือไม่น้อยหน้าใคร ทั้งๆ ที่หลายบ้านมีตู้เย็นแต่ไม่ได้เสียบปลั๊กด้วยซ้ำไป

    การแต่งกายก็ทันยุคทันสมัย ผู้หญิงเคยนุ่งผ้าถุงก็มานุ่งกางเกงตัดอ้อย พวกผู้ชายเคยนุ่งโสร่งหรือผ้าขาวม้า อย่างดีก็กางเกงหูรูดอยู่บ้าน ก็หันมานุ่งกางเกงวอร์มเสื้อยืดหรือเสื้อกล้ามไปตามๆ กัน

    น่ายินดีอยู่บ้างค่ะที่ประเพณีเก่าๆ หลายอย่างยังคงดำรงอยู่ เช่นการสรงน้ำพระมหาธาตุเจดีย์ดอนแก้วยามสงกรานต์ ประเพณีบั้งไฟเดือนหก และประเพณีแข่งเรือยาวออกพรรษา ล้วนแต่เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของชาวอำเภอกุมภวาปีมาถึงทุกวันนี้

    ส่วนประเพณีอื่นๆ ก็ยังคงยึดประเพณี "ฮีตสิบสองเดือน" หรือ "จารีตสิบสองประการ" ของชาวอีสาน ดังนี้ค่ะ

    1. เดือนอ้าย(เดือนเจียง) ทำบุญเข้ากรรม(เข้าปริวาส)

    2. เดือนยี่ทำบุญคูณข้าว(ทำบุญคุ้มข้าวอยู่กับลาน)

    3. เดือนสาม ทำบุญข้าวจี่ บุญมาฆบูชา วันเพ็ญเดือนสาม

    4. ทำบุญมหาชาติ(บุญพระเวส) ชาวบ้านเรียกกันว่า "บุญผะเหวด" เป็นการฟังเทศน์มหาชาตินั่นเอง

    5. เดือนห้าทำบุญขึ้นปีใหม่ หรือตรุษสงกรานต์ สรงน้ำพระ รดน้ำผู้ใหญ่

    6. เดือนหกทำบุญวิสาขบูชาและทำบุญบั้งไฟ(บุญสัจจะ) เพื่อถวายพระพุทธรูปเป็นพุทธบูชา และขอฝนด้วย

    7. เดือนเจ็ดทำบุญบูชาเทวดาอารักษ์หลักเมือง

    8. เดือนแปดทำบุญเข้าพรรษา และถวายเทียนพรรษา

    9. ทำบุญข้าวประดับดินในวันแรมสิบสี่ค่ำ

    10. เดือนสิบทำบุญข้าวสารท หรือข้าวกระยาสารท หรือข้าวสลากภัต

    11. เดือนสิบเอ็ดทำบุญออกพรรษา

    12. เดือนสิบสองทำบุญกฐิน

    ส่วนวัฒนธรรมประเพณีที่กำลังจะเลือนหายไปจากวิถีชีวิตของชาวบ้าน คือ การทำบุญเบิกบ้าน การนวดข้าวด้วยมือ การนำข้าวขึ้นลาน การทาลานสำหรับรองข้าวเปลือก การเข็นฝ้ายด้วยไน การดีดฝ้ายด้วยคันธนู รวมทั้งการปั่นฝ้ายด้วยกง

    สิ่งหายสูญไปคือ การทำบุญคุ้มข้าว การหุงข้าวเหนียวด้วยหม้อดิน วัวเทียมเกวียน ควายเทียมล้อ การสีข้าวด้วยเครื่องไม้ไผ่ ฯลฯ รวมทั้งการละเล่นต่างๆ เช่น ม้าก้านกล้วย ตี่จับ หมากเก็บ งูกินหางและมวยคาดเชือก เป็นต้น

    ประเพณีงานศพที่เอ่ยไว้แต่ต้นก็รวบรัดเหลือเกินค่ะ

    งานศพที่เรียกกันว่า "เฮือนดี" สมัยก่อนนั้นจะตั้งไว้สวด 3 คืน 7 คืนจึงจะนำมาทำพิธีเผา แต่ในยามเร่งรีบทำงานหาเงินทุกวันนี้ ไม่มีการเก็บไว้..สวดแล้วเผาเลย!

    ลูกหลานและญาติมิตรต้องรีบไปทำงาน รีบไปหาเงิน และรีบไปเที่ยว มักไม่ค่อยมีเวลาสนใจไยดีผู้ล่วงลับไปแล้ว จึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้เฒ่าผู้แก่บอกว่าตอนดึกๆ ได้ยินเสียงร้องไห้จากป่าช้า หรือเสียงสะอึกสะอื้นคร่ำครวญมาตามสายลมน่าขนหัวลุก

    พวกลูกๆ หลานๆ ที่อ้างว่าไม่มีเวลาบำเพ็ญกุศลให้พ่อแม่หรือญาติสนิทเพราะจะรีบไปเที่ยวกันไม่ว่าปีใหม่หรือสงกรานต์ กลายเป็นศพไม่มีญาตินอนเลือดท่วมอยู่ริมถนนมากมายมาหลายปีแล้วค่ะ!
     
  2. Mrs.DeWalt

    Mrs.DeWalt เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2006
    โพสต์:
    89
    ค่าพลัง:
    +412
    ป้าจำได้ว่าเมื่อตอนเป็นเด็ก ได้ตามคุณแม่ไปเยี่ยมคุณพ่อรับราชการเป็นตำรวจที่กุมภวาปี ต้องนังเรือด้วย และนั่งรถ ชนิด start รถด้านหน้ารถยนต์....ชวนให้นึกถึง"กุมภวาปี"สมัยก่อนคะ
     
  3. kay bateman

    kay bateman สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2006
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +0

    hi
    i am kay now live usa. i come from kupawapee too[b-wai]
     
  4. khordsanth

    khordsanth Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    102
    ค่าพลัง:
    +98
    อยู่อำเภอเดียวกับผมเลยอ้ะ แต่ผมไม่ค่อยรู้ว่าการมีการเรียกชื่อการทำบุญมากขนาดนี้ รู้แต่ว่า ตอนเด็ก ๆ พอมีงานบุญก็จะไปทำบุญที่วัดทุกครั้ง ทั้งอยากไปเองบ้าง และก็โดนย่าบังคับให้ไป แต่ตอนนี้ย่าเสียแล้ว ก็ขอให้บุญกุศลที่ได้เคยทำมาทั้งหมด ขออุทิศให้ย่าและบรรพบุรุษ รวมทั้งบุพการีและสัตว์โลกทุกผู้ทุกนาม ขอให้มีความสุขในภพภูมิของตน ผู้ใดมีทุกข์ขอให้พ้นจากทุกข์นั้น ผู้ใดมีสุขอยู่แล้วก็ขอให้มีสุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...