ตามรอยพระพุทธะ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 29 กันยายน 2008.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    สู่ป่าลำอีซู

    เมื่ออยู่ธุดงคสถาน ๒ วันพวกเราก็ออกเดินทางธุดงค์ต่อไปยังป่าลำอีซู จุดหมายนั้นผมยังไม่รู้แน่ชัดว่าเป็นที่ไหน และหนทางที่จะไปยังจุดหมายนั้นก็ไม่รู้ว่าไปอย่างไร การเดินทางครั้งนี้มีการแบ่งกลุ่มกันเดินไปเป็นกลุ่ม โดยมีพระพี่เลี้ยงเดินนำ พวกเราเดินออกจากธุดงคสถานซึ่งเป็นพื้นที่ที่ดูจะอุดมสมบูรณ์กว่าพื้นที่รอบๆ มาก ผ่านไร่มันสำปะหลัง ไร่อ้อย เดินไปตามทางผ่านภูเขาลูกเล็กลูกน้อย พอสุดทางรถก็เป็นลำธาร ที่ไหลมาจากยอดเขา น้ำในลำธารเย็น ใสสะอาดมาก และบางแห่งเป็นแอ่งน้ำเล็กๆ มีต้นมอส เฟิร์น ขึ้นเต็มไปหมด ดูเขียวสดใส

    กลุ่มของพวกผมประมาณสิบกว่าคนเดินทางออกเป็นกลุ่มแรก โดยมีหลวงพี่สนธ์นำ พวกเราคิดว่าเดินกันแบบสบายๆยังไงก็ถึง อีกทั้งหลวงพี่ก็บอกว่าเคยไปยังน้ำตกที่หลวงปู่ให้พวกเราไปนี้ แต่ว่าการเดินทางแต่ละครั้งไม่ได้จดจำหนทางว่าไปทางไหน ดูตามแต่สถานการณ์ไป ที่นี้พวกเราชักไม่แน่ใจแล้วว่าหลวงพี่สนธ์จะเล่นมุขไหนอีก เพราะช่วงที่อยู่วัดอ้อน้อย ท่านเคยเล่าเรื่องประสบการณ์การธุดงค์ของท่านไว้ว่า สมัยก่อนหลวงปู่เคยให้พระในวัดอ้อน้อยมาธุดงค์แถวนี้โดยแบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม กลุ่มหนึ่งไป "หุบเขามรณะ" อีกกลุ่มคือกลุ่มหลวงพี่สนธ์ไปที่มะม่วง ๓ ต้น ซึ่งหลวงพี่ก็ตามหากันจนไปหลงในป่าเสียตั้งนาน อีกทั้งเป็นเวลากลางคืนด้วย

    แล้วในวันนี้หลวงพี่สนธ์ก็สร้างชื่ออีกครั้งด้วยการพาพวกเราเดินไปผิดทางจากทางแยกที่ต้องไปทางซ้าย แต่กลับเดินไปทางขวา ยิ่งเดินไปยิ่งรู้สึกว่ามันไกลมาก อีกทั้งของที่นำมาด้วยก็รู้สึกหนักมากขึ้นทุกที พอดีมีชาวบ้านผ่านมาแถวนั้น เราจึงถามว่าทางที่เราเดินนี้ไปถึงไหน เขาก็บอกว่าไปสู่เหมือง และถ้าเดินผ่านเหมืองเข้าไปข้างในอีก จะถึงสถานที่ที่เรียกว่า "หุบเขามรณะ"

    (รายละเอียด ความลึกลับ อาถรรพ์เกี่ยวกับ "หุบเขามรณะ" หากมีรายละเอียดมากกว่านี้คงจะได้นำมาเสนอในโอกาสต่อไป)

    เมื่อพวกเราชักไม่แน่ใจในหนทางที่จะไปแล้ว จึงปรึกษากัน แล้วตัดสินใจย้อนกลับมาทางเดิม มาเริ่มต้นใหม่ที่ลำธารอีกครั้ง คราวนี้เดินทางสะดวกมากขึ้น เพราะอาศัยแกะรอยเก่าของภิกษุกลุ่มอื่นที่เดินล้ำหน้าเรา สุดท้ายเราก็เดินเข้าป่าใหญ่ ที่มีต้นไม้ใหญ่มากมาย พอเข้าสู่ป่าไผ่ ก็ได้ยินเสียงน้ำ จึงรู้แน่ว่าเรามาถูกทางแล้ว พอมาถึงเราจึงเดินขึ้นไปยังจุดที่แบ่งกันพักอาศัย กลุ่มของพวกผมขึ้นไปอยู่ข้างบนสุดของน้ำตก รองลงมาจากหลวงปู่ จากนั้นพวกเราก็แยกย้ายกันหาสถานที่ปักกลด

    ทุ่งนามอญ

    ตอนค่ำของวันแรกที่มาปักกลดที่น้ำตก หลวงปู่บอกให้พวกเรามารวมกันที่ลานหินกว้างริมน้ำตก ใกล้ๆ กับกลดของท่าน ท่านถามพวกเราด้วยความเป็นห่วง ในเรื่องความเป็นอยู่ต่างๆ ท่านบอกว่า ที่ในป่านี้คงไม่สะดวกเหมือนอยู่ที่ธุดงคสถาน แล้วท่านก็เล่าเรื่องในอดีตให้ฟังว่า สมัยก่อนที่ท่านมาอยู่ ตรงมะม่วง ๓ ต้น (บริเวณที่ท่านปักกลดอยู่) ท่านไปเดินบิณฑบาตที่หมู่บ้านข้างล่าง ออกจากป่าประมาณตีสี่ครึ่ง ถึงหมู่บ้านข้างล่างประมาณหกโมงครึ่ง กลับมาพอดีฉัน เก้าโมงกว่า สิบโมง

    ท่านได้พูดถึงความหมายของการมาธุดงค์ที่แห่งนี้ว่า ไม่ได้มาเพื่อพักผ่อน แต่มาซึมซับบรรยากาศรอบข้าง ความสงบแห่งป่า ความเปลี่ยนแปลงของอากาศรอบตัวเรา และความเย็นของน้ำ ซึ่งจะมีส่วนทำให้จิตใจของเราปล่อยวาง ให้ละโลภ โกรธ หลง ลงไปได้บ้าง หากเรารู้จักที่จะซึมซับ ดูดดื่ม ต่อสิ่งที่อยู่รอบกายเรา ที่เป็นธรรมชาติ ซึ่งมันเป็นยารักษาโรคได้ชนิดหนึ่ง โรคที่ท่านพูดถึงคือ โรคโกรธ โลภ หลง ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาภายในกายของมนุษย์ ซึ่งมันแก้ไขด้วยธรรมชาติบำบัด โดยเราจะเห็นได้ว่าคนที่เป็นโรคเครียด สมองมึนตึงตลอดเวลา ถ้ามาอยู่ในสภาพอย่างนี้ จิตใจก็จะคล้อยตามกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้มันจะทำให้เราปล่อยวางอะไรต่างๆ ได้เยอะ

    จากนั้นท่านจึงบอกให้พวกเราได้ทราบว่า บริเวณที่เราอยู่ตรงต้นน้ำตกนี้ ถ้าข้ามเขาลูกที่เราอยู่ไปสักประมาณ ๘-๙ ลูก ก็จะถึง "ทุ่งนามอญ" ซึ่งอยู่ห่างประมาณ ๙๐ กิโลเมตร (ป่า) ทุ่งนามอญนี้เป็นที่อยู่ของพวกมอญเก่า สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยถูกต้อนเข้ามาในสมัยนั้น และเป็นที่อยู่ของชาวมอญหมู่บ้านใหญ่ แต่ตอนหลังเกิดโรคระบาด ทำให้คนในหมู่บ้านล้มตายกันหมด พอตายแล้วก็ถูกหมอผีกักขังดวงวิญญาณเอาไว้ในทุ่ง ซึ่งครั้งหนึ่งท่านได้เคยเดินทางไปช่วยปลดปล่อยดวงวิญญาณให้กับชาวมอญเหล่านั้นเมื่อในอดีต (มีการเขียนกล่าวถึงไว้ในหนังสือ ประสบการณ์ทางจิตวิญญาณแห่งศิษย์พุทธะ) บริเวณนั้นมีลานเจดีย์ของช้าง พื้นที่ประมาณ ๕-๖ ไร่ โดยช้างมาก่อเจดีย์เป็นภูเขาลูกย่อมๆ สูงศอกกว่าๆ ทุกวันพระ ๑๕ ค่ำช้างจะออกมาจากป่า เอางวงมาจัดหินกองเป็นเจดีย์ บูชาพระโพธิสัตว์ หลวงปู่บอกว่าถ้าพวกเราเดินทางไปกันทั้งหมดตอนนี้คงลำบาก เพราะที่นั่นจะกันดาร เนื่องด้วยแหล่งน้ำมีอยู่ที่เดียวคือในทุ่งและต้องขุดหลุมลึกลงไปสัก ๒ ศอก ถึงจะนำมาใช้ได้ ดังนั้นท่านจึงยังไม่พาพวกเราเข้าไปในป่าลึกกว่านี้อีก ให้อยู่ฝึกสติ ที่บริเวณป่าต้นน้ำของน้ำตกลำอีซูแห่งนี้

    วิญญาณแห่งธรรมชาติ

    หลวงปู่ได้ให้พวกเราสำรวจดูอารมณ์จิตตัวเอง ในมหาสติปัฏฐานสูตร ซึ่งมีข้อที่ว่าด้วยกาย เวทนา จิต และธรรม การสำรวจดูอารมณ์จิตตัวเองนี้จัดอยู่ในข้อที่ว่าด้วยจิต ว่ามีสภาพอะไรที่เกิดขึ้นในจิตเราบ้างในขณะที่เรากำลังมาอยู่ในอ้อมกอดของธรรมชาติ และกลิ่นอายของน้ำตก ภูเขา ป่าไม้ ท่านบอกให้พวกเรารับรู้ถึงสภาพ สภาวะที่เกิดขึ้นในจิต ว่ามีอารมณ์ใดปรากฏบ้าง มีความสงบตั้งมั่น ไม่โยกโคน ทะยานอยาก ไม่สั่นคลอน เมื่อกายมาอยู่ในป่า ใจก็ต้องอยู่ที่เดียวกับกาย หากไม่เป็นเช่นนี้ แสดงว่า ไม่ใช่นักบวช ไม่ใช่สมณะ พวกเรากำลังจะโดนกักขัง วิญญาณกำลังจะโดนจองจำ เมื่อกายอยู่ที่ป่าเขา อยู่ในอ้อมกอดของธรรมชาติ ใจต้องอยู่ในป่าด้วย แล้วก็รับรู้สภาพ สภาวะรอบๆ ตัว ด้วยความดูดดื่ม ดื่มด่ำ ด้วยความรู้สึกซึมซาบ แล้วจะสัมผัสได้ถึงวิญญาณแห่งธรรมชาติ

    ท่านบอกว่าเมื่อใดเรามีจิตสงบเท่ากับที่ป่ามีอยู่แล้ว เราก็จะรู้จักวิญญาณของธรรมชาติ วิญญาณของผีโป่ง วิญญาณของผีป่า วิญญาณของเจ้าภูเขา วิญญาณของเจ้าที่เจ้าทาง วิญญาณของสัตว์ที่ตายทับถมกัน ศพแล้วศพเล่า ที่อยู่รอบๆที่เราอยู่อาศัย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นวิญญาณของธรรมชาติ ถ้ามีจิตสงบพร้อมและพอ ก็จะรับรู้ความเป็นไป และความโยกโคนสั่นไหวของวิญญาณเหล่านั้นได้ ว่ามันเป็นเพื่อนเรา เป็นเพื่อนบอกเป็นเพื่อนคุย เป็นเพื่อนเตือนภัย และก็เป็นมหามิตรอันยิ่งใหญ่ แต่ขณะเดียวกันก็จะกลายเป็นศัตรูที่น่ากลัวที่สุดต่อเรา ถ้าเราทรยศ เป็นกบฎต่ออุดมการณ์ของชีวิตสมณะ นักบวช พระ และทำชีวิตให้ไม่ชอบมาพากล

    ความหมายของการรับรู้ถึงวิญญาณแห่งธรรมชาตินั้น ท่านบอกว่าเป็นหนึ่งในวิชาของ มหาสติปัฏฐาน ข้อที่ว่าพิจารณา "จิตในจิต" คือ การสำรวจดูความรู้สึกที่อยู่ในจิตเรา ว่าจิตมีความสันติ สงบ หรือไม่ เพราะการที่มาอยู่ในป่า ไม่ต้องคิดอะไรเลย เพราะธรรมชาติรอบกายไม่ได้ปรุงแต่งให้เรามีอะไร เมื่อไม่มีอะไรน่าปรุงแต่ง จิตก็จะสงบไปเอง เพราะไม่มีแสง เสียง สี อะไรมากมาย จะมีก็เพียงกลิ่นอายของธรรมชาติ ดอกไม้ ใบหญ้า กล้วยไม้ป่า เสียงสายลม น้ำไหล ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ปรุงให้จิตกำเริบ ไม่ได้ทำให้เกิดกิเลส ตัณหา และ อุปาทานใดๆ และถ้าเราอยู่อย่างนี้ กระแสของธรรมชาติ และไออุ่นของธรรมชาติ มันจะไหลซึมซับ เข้ามาในจิตวิญญาณได้ตลอดเวลา เราจะเป็นคนที่มีสุขภาพจิตดี สามารถยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคง สง่างาม ได้ทุกกาล ทุกสมัย

    เวลาที่หลวงปู่เหนื่อยๆ เพลียๆ ท่านบอกว่ามักจะหลบมาอยู่บริเวณป่านี้ หรือไม่ก็ไปหาที่อยู่ที่พวกเราไม่เคยไป ซึ่งมันจะทำให้ท่านหายเหนื่อย หายเพลีย ได้อย่างพริบตา ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นจิตวิญญาณธรรมชาติ เป็นกระแสของความรักความอบอุ่น ความเมตตา จากธรรมชาติที่ให้เรา สิ่งสำคัญคือ เราต้องสามารถทำใจให้รับรู้ รับสัมผัส พิสูจน์ทราบ ถึงกลิ่นอายและวิญญาณของธรรมชาติเหล่านั้นให้ได้ วิญญาณธรรมชาติเหล่านี้รวมไปถึงเหล่า ผีห่า ซาตาน มารและยักษ์ร้ายที่คอยจ้องกัดกินเรา ถ้าเราทำตัวเหลวไหล เลวร้าย และยังรวมไปถึง "พระโพธิสัตว์" ผู้ยิ่งใหญ่ที่คอยโอบอุ้ม และให้ความเมตตาดูแลความสุข ทุกข์แก่เรา ให้ความช่วยเหลือ เกื้อกูลแก่เรา

    ดังนั้นหลวงปู่จึงเน้นย้ำให้พวกเรา พยายามทำจิตให้สงบ ให้สติตั้งมั่นอยู่เฉพาะหน้า อย่าฟุ้งซ่าน อย่าหงุดหงิด รำคาญ ไม่ต้องกังวลอะไร เพราะว่าความเมตตาในวิญญาณแห่งธรรมชาติ พร้อมที่จะสัมผัส สัมพันธภาพกับเรา และกับทุกคนที่เข้ามาอยู่ในป่าด้วยความอารีและเมตตา ที่สำคัญคือ เราจะรับรู้สัมผัส สัมพันธภาพ กับสิ่งเหล่านี้ได้แค่ไหน

    การสังเกตหนทาง

    หลวงปู่เตือนพวกเราไว้ว่า ทางป่า ทางเมือง ทางถนน ทางน้ำ มันคนละทางกัน อยู่ในป่าต้องใช้มหาสติอย่างยิ่ง ท่านได้บอกวิธีสังเกตหนทางไว้ว่า อันดับแรกต้องสังเกต "กลิ่น" ต้นไม้แต่ละต้นจะมีกลิ่นเฉพาะตัวไม่เหมือนกัน เราอยู่ใกล้ต้นไม้ไหนจงรู้จักที่จะสูดดมต้นไม้รอบๆ กาย อันดับต่อมาคือสังเกต "ทิศ" เราปักกลดอยู่ในทิศไหน แล้วเดินออกมาจากทิศไหน จะเดินตรงไปสู่ทิศไหนต้องรู้จักสังเกตทิศให้ดี อันดับต่อมาต้องรู้จัก "ก้อนหินและแผ่นดิน" หินมีรูปร่างไม่เหมือนกัน มันหินเหมือนกัน แต่รูปร่างลักษณะไม่เหมือนกัน เวลากลางคืนตอนเดินกลับไปกลดต้องมองรอบๆ ตัวว่า กำลังอยู่ในทำเล ตำแหน่ง และสภาพแวดล้อมเช่นไร ถ้ามีมหาสติ ก็จะรู้ว่า เดินผิดหรือเดินถูก เข้ากลดผิดหรือถูก เพราะว่าดินมันมีกลิ่นไม่เหมือนกัน ดินที่โดนแดด กับดินที่ไม่โดนแดด ดินที่อยู่ใกล้ความชื้น หรือดินที่อยู่ไกลความชื้น นอกจากนั้นยังมีกลิ่นดอกไม้ ทิศทางลม สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องเตือนให้เรารู้ว่า เรากำลังเดินหลงทาง หรือถูกทาง

    นั่นคือการที่จะรู้สิ่งเหล่านี้ละเอียดอ่อนได้ดีมากน้อยแค่ไหน ก็อยู่ที่ว่ามี "สติ" มากน้อยแค่ไหน เวลาเดิน เวลาอยู่ ต้องรู้จักสังเกตสิ่งแวดล้อมเอาไว้ ต้องสัมผัสอากาศรอบกายให้รู้ โดยสังเกตได้ว่าเวลาเข้าไปสู่ป่าลึก ป่าทึบ มันจะเย็นฉ่ำ เวลาออกมาสู่ป่าโปร่ง อากาศจะเย็นแต่ไม่ฉ่ำ ออกมาสู่ป่าพุ่มเตี้ย ป่าที่มันสูญสภาพแล้ว จะกลายเป็นร้อนอบอ้าวแต่ก็ยังมีลม สภาพอากาศรอบตัวเรานั้น ต่างที่ก็จะไม่เหมือนกัน

    ท่านเคยเขียนหนังสือเรื่องหนึ่งเอาไว้คือ "การบรรลุในทวารทั้ง ๖" นั่นคือ การใช้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สัมผัสรับทราบ ถึงสิ่งแวดล้อม รอบๆ ตัวเราได้อย่างละเอียดหมดจด และถ้าฝึกได้ถึงขั้น เราก็จะเดินป่าโดยไม่ต้องอาศัยไฟฉาย (อย่างเช่นหลวงปู่) เพราะเราจะคุ้นเคยกับป่าเหมือนกับบ้านเรา และคืนนั้นก่อนที่พวกเราจะกลับไปพักผ่อน ฝึกสติกันที่กลด อากาศเริ่มหนาวเย็นขึ้นเรื่อยๆ หนาวมากกว่าที่ธุดงคสถานเสียอีก หลวงปู่เตือนว่าพยายามอย่ากลัวหนาวเวลาจะอาบน้ำในลำธาร ถ้ากลัวหนาวจะเป็นไข้ อยู่ที่กำลังใจ เมื่อใจดี "ปราณ" จะสร้างพลังต่อต้านและไฟในกายจะลุกขึ้นมาต่อสู้กับความหนาวเหน็บ แต่ถ้าใจไม่ดี เอานิ้วแหย่แล้วสะดุ้ง ก็อย่าไปอาบเพราะมันจะเป็นไข้ จะหนาวเหน็บไปถึงทรวงอก สิ่งสำคัญจึงอยู่ที่กำลังใจ อยู่ที่หัวใจ คือ ต้องมีสติ ระลึกรู้มัน เห็นแต่กระดูก แล้วไม่มีเนื้อหนังติดในตัว ก็จะไม่หนาว

    ท่านยังกำชับด้วยว่าอย่าลืมภาวนาในใจก่อนนอนว่า "ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นสุข" แล้วให้นึกถึงโครงกระดูกอย่างเดียวพอ ไม่ต้องสนใจอย่างอื่น ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น เราเจริญสติ สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นมาร ทำลายสติ หรือทำลายเราให้พ้นจากสติที่กำลังเจริญอยู่ แม้ฟ้าจะผ่า น้ำจะท่วม ฝนจะตก ไฟจะไหม้ ผู้เจริญสติ ต้องตั้งมั่น ไม่สั่นคลอน ไม่โยกโคน สั่นไหว สะดุ้ง ผวา


    <TABLE border=0 width=350 background=../pics/banner350.gif align=center height=70><TBODY><TR><TD>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    <TABLE border=0 cellPadding=5 width=290 bgColor=#ffffff align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE border=0 cellSpacing=1 width=280 bgColor=#dddddd align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff vAlign=top><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#cccccc align=center height=22><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff vAlign=center background=../pics/_top3.gif>
    บทเพลงแผ่เมตตา
    </TD></TR></TBODY></TABLE><EMBED language=-1 height=69 type=audio/x-ms-wma width=280 src=http://www.dhammathai.org/radio/sound/Illimitable.wma bgcolor="CCCCCC" autoplay="true" cache="true" enablejavascript="true" controller="true" filename="" showcontrols="true" showstatusbar="true" rate="1" balance="0" currentposition="0" playcount="1" currentmarker="0" invokeurls="true" volume="0" mute="0" enabled="true" enablecontextmenu="0" audiostream="true" autosize="0" animationatstart="true" allowscan="true" allowchangedisplaysize="true" autorewind="1" baseurl="" bufferingtime="5" clicktoplay="false" cursortype="0" displaybackcolor="50" displayforecolor="16777215" displaymode="0" displaysize="4" enablepositioncontrols="-1" enablefullscreencontrols="0" enabletracker="-1" selectionstart="-1" selectionend="-1" sendopenstatechangeevents="-1" sendwarningevents="-1" senderrorevents="-1" sendplaystatechangeevents="-1" showaudiocontrols="-1" showpositioncontrols="-1" showtracker="-1" autostart="true" border="0"> </EMBED></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กันยายน 2008
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    รู้อย่างไรในมหาสติ

    หลวงปู่บอกต่อไปว่า สิ่งที่เราต้องทำคือเจริญสติให้ตั้งมั่น ทำให้สติปรากฏชัดเฉพาะหน้า รู้ทุกอณูของอากาศสิ่งแวดล้อม กายนี้ เลือดเนื้อและชีวิตอินทรีย์ เมื่อสติปรากฏชัดมันก็จะทำหน้าที่รู้ทุกอย่างในกายตน สติเกิด สมาธิปรากฏ ปัญญาก็จะตามมา สำคัญคือหน้าที่ของเราทำอย่างไรจะให้สติมันเกิด แล้วเกิดได้ทุกขณะจิต ทุกเวลาทุกลมหายใจเข้าออก นั่นคืองานที่เราต้องทำ

    และในขณะที่กำลังทำงานสำคัญนี้ ไม่ว่าฝนจะตก น้ำท่วม ไฟไหม้ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า หรือเกิดเหตุการณ์ใดๆ ที่ปรากฏขึ้นเฉพาะหน้า ในขณะที่กำลังเจริญสติ ต้องไม่ให้ความสำคัญต่อมัน ต้องไม่ใส่ใจมัน แล้วต้องไม่วอกแวก ไม่เสียสติ ไม่พลาด ไม่ขาดจากการรับรู้สภาวธรรม รักษาความเป็นเอกัคคัตตา คือความเป็นหนึ่งในการรู้เฉพาะหน้า ในกรรมฐานกองใดกองหนึ่ง ไม่ให้มีอารมณ์อื่นเข้ามาวุ่นวาย ไม่ให้มีเวทนา นิมิต หรืออุปาทานใดๆ เข้ามาปรากฏ ไม่ให้มีแม้กระทั่งปีติใดๆ ที่เกิดขึ้น เพราะมันจะฉุดกระชากลากถูเราให้ล่าช้า เนิ่นช้าและไม่ให้ก้าวหน้าไป

    ให้มีแต่การรับรู้ยิ่งขึ้นๆ รู้จนถึงขนาดรอบข้างเรามันมีสภาพ สภาวะใดๆ ปรากฏ รู้ถึงขนาดการเกิดของเซลล์แต่ละชนิด แต่ละตัวที่เกิดขึ้น และใช้เวลาอุบัติขึ้น ดำรงอยู่ เจริญเติบโต เปลี่ยนแปลง เสื่อมทราม และตายลง ใช้เวลากี่นาที เซลล์หนึ่งตัวอาจใช้เวลาเพียงเสี้ยววินาทีแล้วก็ตายลง และเกิดเซลล์ชนิดใหม่ขึ้น รู้อย่างนี้เรียกว่ารู้อย่างคนเจริญสติ ไม่ใช่รู้เพียงแค่มีกระดูก ไม่ใช่รู้เพียงแค่มีโครงสร้าง มีเลือดมีเนื้อ มีลมหายใจ หรือรู้เพียงแค่มีธาตุสี่ ดินน้ำลมไฟ แล้วก็บอกว่ารู้ อย่างนั้นยังไม่ใช่ผู้รู้

    การที่หลวงปู่กล่าวคำว่า "มีแค่นี้เองหรือ" ตอนอยู่ที่ธุดงคสถานนั้น ท่านได้อธิบายเพิ่มเติมว่า มันหมายถึงการที่ท่านรู้ละเอียดรู้ลึกไปถึงกระบวนการของการเกิดเซลล์แห่งกระดูกทั้งปวง ท่านป่นกระดูกจนละเอียดเป็นผุยผง ดูกระดูกเหล่านั้นว่าเกิดจากเซลล์ชนิดใด แล้วมันดับลงไปด้วยกระบวนการใด เหตุปัจจัยไม่ปรุง เซลล์เหล่านั้นก็ตายลง อย่างนี้จึงเรียกว่ารู้อย่างมหาสติ ต้องไม่เพียงแค่รู้แต่ดินน้ำลมไฟ หรือรู้ลมหายใจเฉยๆ นั่นยังไม่ถือว่าเป็นผู้รู้ในระดับมหาสติ

    ท่านจึงเตือนสติพวกเราว่า อย่าไปคิดว่าทุกวันนี้เรารู้มหาสติปัฏฐาน คนรู้จริงน่ะเป็นเรื่องที่ไม่ต้องจำ ทำได้ มีประโยชน์ รู้ไม่จริงจำให้ตายทำไม่ได้ก็มีแต่โทษ ซึ่งวันนั้นท่านได้นำพวกเราปฏิบัติธรรม และได้บอกว่าขอให้รู้เบื้องต้นในหลักมหาสติปัฏฐานไม่ต้องพูดถึงเรื่องอื่น เพราะอย่างวิชาลมเจ็ดฐานยังต้องประกอบไปด้วยอำนาจของสติ สมาธิ และปราณ ทั้งสามอย่างนี้ต้องรวมเป็นหนึ่ง ต้องผสมผสานสอดคล้องกลมกลืน แล้วการให้ทำงานร่วมกัน ยิ่งยากใหญ่ ท่านจึงให้พวกเราเพียงแค่เจริญสติให้ได้ ทำให้มันตั้งมั่นให้ได้

    มนุษย์เรามีหูขอเพียงได้ฟังเสียงลมหายใจตัวเองได้ รู้ว่าลมหายใจเข้าฟังออก หายใจออกฟังชัด มีตาขอเพียงได้เห็นลมที่เข้าและออกในจมูกของตน มีใจรู้สภาวธรรมที่เกิดดับในลมนั้น มีกายสัมผัสรู้ได้ถึงความเย็น อบอุ่น เคลื่อนไหวของลมที่เข้าและออก ศักยภาพอย่างนี้เป็นความสุดวิเศษของตา หู กายและใจ แต่ที่ผ่านมาเราเอาหูไปฟังเสียงอื่นซะมาก เอาตาไปดูเรื่องอื่นซะมาก เอาใจไปวิเคราะห์รับรู้สภาวธรรมอื่นๆ ซะเยอะ เอากายไปสัมผัสสิ่งอื่นซะมาก เลยไม่รู้ว่าภายในกายเรา ภายในชีวิตเรา มีอะไรน่าสัมผัสสัมพันธ์บ้าง เมื่อเราหลงลืมการสัมพันธ์สัมผัสภายในกายเรา เราก็เลยไม่รู้ว่า กายนี้เป็นอยู่ด้วยอะไร ต้องการอะไร แล้วก็จะดับไปด้วยวิธีการใด

    ท่านจึงคอยเตือนพวกเราเสมอว่า อย่าปล่อยชีวิตให้มันหมดไปกับสิ่งเหล่านั้น จนกลายเป็นว่าเราเป็นคนหลงลืมละเมอเพ้อพก และถลาไปกับกระบวนการที่ไร้สาระ แต่ถ้ารู้ตัวก็ต้องรีบหยุดมันให้ได้ ไม่ว่าจะด้วยกรรมวิธีใดๆ ไม่ว่าจะด้วยกระบวนการใดๆ เมื่อใดที่เราหยุดมันได้ เราเป็นผู้ชนะ แต่เมื่อใดที่เราหยุดมันไม่ได้ เราจะพ่ายแพ้ไม่รู้จักจบสิ้น ขอเพียงมีสักครั้งหนึ่งที่เราเคยหยุดมัน และหยุดมันได้ อีกหลายครั้งย่อมตามมา แต่ถ้าไม่มีแม้แต่หนึ่งครั้งที่จะหยุดความเหลาะแหละรวนเรฟุ้งซ่านและลื่นไหล มันจะไม่มีแม้แต่หนึ่งครั้งที่จะตามมาในการที่จะหยุดและชนะ

    วิธีแก้ง่วงหงุดหงิดรำคาญ ฟุ้งซ่าน วิธีหยุด ต่างๆนั้น ท่านแนะว่า ให้สูดลมหายใจเข้าลึกๆ แล้วกลั้นลมทิ้งไว้ จนกระทั่งมันใกล้จะขาดใจตาย ทรมานมัน ห้ามมัน บอกมัน สอนมัน ถ้ามันไม่ฟังก็ต้องลงโทษด้วยวิธีอย่างที่กล่าวมานี้ เห็นท่าไม่ไหวจริงๆ ก็ต้องทารุณมันซะบ้าง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องใช้กำลังใจอย่างเด็ดเดี่ยว เด็ดขาดและมั่นคง ต้องเป็นผู้กล้าพอที่จะเอาชนะมันด้วยกรรมวิธีต่างๆ พระพุทธเจ้าเรียกกรรมวิธีเหล่านี้ว่า กุศโลบาย คืออุบายที่ทำด้วยความชาญฉลาดในการที่จะกำราบจิตนี้ ความฉลาดมีอยู่กับคนทุกคน สำคัญอยู่ว่าเราจะฝึกมันให้เกิดขึ้นหรือเปล่า ถ้ารู้ตัวว่ามันลื่นไหลถลาไป ก็ต้องเตือนมัน ต้องบอก อย่าให้มันหยุดอยู่กับที่ บางทีก็ต้องทรมานมันอย่างแรงๆ และรวดเร็วฉับพลัน อย่างชนิดรู้เท่าทันต่อมัน อย่าปล่อยให้ตัวเองอ่อนแอ ล้าหลังและล่าช้ามากไปนัก ใช้กำลังใจที่เด็ดเดี่ยวและมั่นคง

    ซึ่งสิ่งเหล่านี้มันต้องได้มาจากความศรัทธาความเชื่อมั่น ความศรัทธาความเชื่อมั่นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเราต้องมีความเพียรความหมั่นศึกษา ความเพียรความหมั่นศึกษาจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยความรัก รักที่จะทำมันบ่อยๆ มีความพอใจ เมื่อเรามีความพอใจ มีความรัก มันก็จะมีความศรัทธา ความเชื่อมั่นที่จะเอาชนะตนเอง

    กายกับจิต

    ตอนเย็นของวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓ หลวงปู่มาสอบอารมณ์ว่าวันนี้ไปไหนมาบ้าง ท่านถามแบบนักปฏิบัติธรรมว่ามีใคร(หมายถึงจิต)ออกจากป่าจากเขาไปบ้าง หลวงปู่ได้อธิบายว่า ธรรมชาติของจิต มันไวยิ่งกว่าปรมาณู ไวยิ่งกว่าเสียงและแสง กายอยู่นี่ แต่ใจไปได้รอบทิศ มหาสติปัฏฐาน มีเรื่องที่ต้องคิดคือ กาย กับจิต ถ้าพ้นจากกายกับจิต ไม่ใช่มหาสติปัฏฐาน เรื่องที่ท่านให้พวกเราต้องฝึก ต้องดู ต้องรู้ ต้องเห็น ต้องเข้าใจ และทำให้เป็นอย่างมากๆ ก็คือ การรู้แต่กายกับจิตเท่านั้น ถ้าไม่รู้ภายในกายกับจิตนี้ ไม่ใช่มหาสติปัฏฐาน ความหมายของมหาสติปัฏฐาน คือการฝึกดูกาย แล้วฝึกดูจิต ในขณะที่ฝึกดู มันย่อมเกิดการเบื่อ เหนื่อย หน่าย เมื่อย เซ็ง เพราะเราไม่รู้ว่าการดูนั้นคืออะไร

    สิ่งที่เราตั้งอกตั้งใจ จะเฝ้าดูอารมณ์ความเป็นไปของกายนี้ นี่คือการดูกาย กับดูจิต หรือไม่เราก็ดูลมหายใจ ที่เข้าและออกอย่างนี้ เรียกว่า การดูกาย และก็เป็นการฝึกสติ เป็นการเอาสติ ใช้สติดูกาย ใช้สติดูจิต การทำให้เกิดสตินั้นคือการฝึก วิธีการฝึกนั้นคือระลึกลมหายใจก็ได้ (อานาปานบรรพ) ดูโครงกระดูกของตัวเอง (วิชากระดูก) ก็ได้ หรือทำอย่างไรก็ได้ ให้อารมณ์ทั้งปวงรวมเป็นหนึ่ง ให้สติมันจับอยู่ในอารมณ์ใด อารมณ์หนึ่ง หรือในอิริยาบถใด อิริยาบถหนึ่ง (อิริยาบถ และสัมปชัญญบรรพ) ขณะที่นั่ง ยืน นอน ทำ พูด หรือคิด ต้องไม่ปรากฏอารมณ์ใดๆ แสดงว่าเรากำลังจะมีสติ

    ขณะที่เรารู้ลมหายใจเข้าออก หรือรู้โครงกระดูก รู้ความเคลื่อนไหวของกายนี้ หลวงปู่บอกว่า อาจจะไม่รู้สึกอะไรเลย เบาๆ อึมครึม คลุมเครือ ก็อย่าเพิ่งหยุดมัน ถ้าเรายังไม่รู้จักหน้าตาแท้ๆ ของสติ ท่านบอกให้พวกเราทำต่อไป จนกว่าจะเกิดความรู้สึกว่า รู้ชัดว่า รู้แจ้งว่า เมื่อใดที่ไม่ปรากฏอารมณ์ใดๆ ความคิดไม่แตกแยก ขบวนการความคิดไม่เกิด มีแต่ความรู้เฉพาะหน้าเกิดขึ้นเท่านั้น เมื่อนั้น คือ เราสามารถจับกระบวนการของสติ ให้รวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนได้

    ระหว่างที่ฟังคำสั่งสอนจากหลวงปู่ ท่านดูสภาวธรรมของพวกเราออกว่า พวกเราปฏิเสธจิตวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของธรรมชาติ แล้วเข้าไปหาวิญญาณของเมือง ผีห่า ซาตาน และสังคม และเราก็ไม่รู้จักหน้าตาแท้ๆ ของวิญญาณธรรมชาติ ไม่เห็นค่าของวิญญาณธรรมชาติรอบกายเรา การที่มาอยู่ท่ามกลางอ้อมกอดของขุนเขา แมกไม้ ใบหญ้า ลำธาร น้ำตก ถือว่าเรากำลังอยู่ในความดูแลของธรรมชาติ อยู่ในอ้อมกอดและไออุ่นของธรรมชาติ

    ขอเพียงให้เราดื่มด่ำ ลิ้มรส ไออุ่น กลิ่นอาย ของธรรมชาติรอบกายอย่างจริงๆ จังๆ ทำทุกอย่างทุกวิธี ที่จะไม่ให้จิตเราออกไปจากขุนเขา ไม่ให้ออกไปจากป่า ท่านจึงสอนพวกเราว่า ระวังอย่าให้จิตมันหลุดออกไปนอกขุนเขา ท่านบอกว่า เฝ้าสังเกตพวกเราตลอดเวลา และเกิดความรู้สึกว่า เมื่อไรภูมิธรรมและบารมีธรรมของพวกเราจะแกร่งกล้าขึ้นสักที เพื่อที่จะต่อสู้และยืนหยัดด้วยตัวเองได้ ฝึกสอนตัวเอง อบรมตัวเอง และก็บอกตัวเองได้ ว่าขณะนี้เรากำลังจะทำอะไรอยู่ ซึ่งสำหรับตัวท่านแล้วจะไม่สนใจวัน เวลา นาที จะรู้แต่ว่าปัจจุบันนี้กำลังทำอะไรอยู่เท่านั้น
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> จิต ๕ ลักษณะ

    เมื่อคืนตอนตีสาม หลวงปู่ท่านลุกขึ้นมาเจริญสติ แล้วได้บทโศลก ๒ บทที่นำมาฝากพวกเรา ดังนี้

    ลูกรัก....
    ขณะที่พ่อเจริญสติอยู่นั้น ได้เกิดคำถามขึ้นในจิตพ่อว่า
    เมื่อจิตเกิดดับ มีธรรมชาติรู้อยู่ในตัวแล้ว
    เช่นนี้ ตัณหา โลภะ โมหะ และอุปาทาน เกิดขึ้นมาจากไหน
    แล้วก็เกิดคำตอบขึ้นมาฉับพลัน ว่า
    เพราะความไม่รู้ชัด ไม่รู้แจ้ง จึงเกิดความปรุง ในอารมณ์ที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
    จนทำให้เป็นเหตุแห่งกรรมและชาติภพ
    ถ้าจะดับ ก็ต้องดับความไม่รู้แจ้ง ไม่รู้ชัด แล้วสรรพสิ่งก็จะไม่เกิด
    อีกบทหนึ่งที่หลวงปู่บอกว่าตรงกับปัจจุบันธรรมของพวกเราก็คือ

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> "ธรรมชาติของจิตนี้ มหัศจรรย์ยิ่งนัก เหตุเพราะมีลักษณะที่หยาบ ปานกลาง ละเอียด สุขุม ประณีต ในที่นี้จะเทียบวัดว่าใครมีจิตอันหยาบ ใครมีจิตปานกลาง ใครมีจิตละเอียด ใครมีจิตสุขุม และใครมีจิตประณีต แต่ละลักษณะก็มีเครื่องห่อหุ้ม ทำให้การรับรู้ต่างกัน เพราะฉะนั้น กัมมัฏฐานแต่ละกอง จึงเป็นเครื่องฟอกจิต จัดจิตได้ต่างๆ กัน อยู่ที่ว่าจิตในขณะนั้นหยาบ ปานกลาง ละเอียด ประณีต สุขุมปานใด เพราะจิตแต่ละลักษณะจะซึมซับหรือเกิดวิชา อวิชชาได้แตกต่างกัน การเจริญสติเพื่อให้เกิดวิชา ปัญญาสุดยอด จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

    จิตทั้ง ๕ ลักษณะ จึงมีอุปมาดั่ง สาวน้อยที่งดงาม สะคราญตา แต่งตัวนุ่งห่ม อาภรณ์เต็มสูตร แล้วเดินนวยนาด อยู่เฉพาะหน้าบุรุษผู้ฉลาด บุรุษผู้มีความฉลาดอุปมาดั่งวิชา ปัญญารู้แจ้ง บุรุษนั้นค่อยๆ เปลื้องอาภรณ์ชั้นนอกของสาวน้อยนั้นออกด้วยความพินิจ พิเคราะห์ เพื่อจะหาความงดงามของสาวน้อยนั้นให้พบ เปรียบได้ดั่งจิตหยาบที่มีตัวรู้ที่หยาบ

    บุรุษผู้ฉลาดนั้นหลังจากเปลื้องอาภรณ์ชั้นนอกของสาวน้อยนั้นออกแล้ว ก็เปลื้องอาภรณ์ชั้นในของสาวน้อยนั้นออก ด้วยความพิจารณาในปัญญารู้แจ้ง เปรียบได้ดั่งจิตที่ปานกลาง

    บุรุษผู้ฉลาดนั้นหลังจากเปลื้องชั้นในของสาวน้อยนั้นแล้ว ก็ใช้กำลังที่มีถลก หนัง และเนื้อของสาวน้อยนั้นออก เพื่อจะค้นหาความงามอันแท้จริงๆ ของสาวน้อยนั้น เปรียบได้ดังจิตผู้มีตัวรู้ที่ละเอียดขึ้น

    บุรุษที่ฉลาดมีปัญญา เมื่อถลกหนังและเนื้อของสาวน้อยออกแล้ว เหลือแต่กระดูก ก็ทุบกระดูกจนป่น เพื่อค้นหาความงามแท้จริงของสาวน้อนนั้น เปรียบได้ดั่งจิตที่สุขุม

    เมื่อกระดูกนั้นป่นจนละเอียดยิบแล้ว บุรุษผู้ฉลาดก็ทำการค้นหาความงามอันบริสุทธิ์ อันแท้จริง ของสาวน้อยในกองกระดูกที่ป่นนั้น จนกระทั่งพบว่า ความงามที่สูงสุดยอดของสาวน้อย ไม่มีจริงๆ เปรียบได้ดั่งจิตที่ประณีตและบรรจง สุขุมคัมภีรภาพ..."

    ความหมายของจิตแต่ละดวงที่เกิดดับ อวิชาครอบงำ สภาวธรรมที่ปรากฏ เราไม่สามารถจะรู้ชัด การที่มนุษย์ดูรูปสวยเพียงแค่รูปและเสื้อผ้า ถือว่ามนุษย์ผู้นั้นมีจิตระดับหยาบ ผู้มีปัญญาต้องมองทะลุเนื้อหนังมังสา มองทะลุผ้าผ่อน ท่อนสะไบ จนกระทั่งเข้าไปถึงไขของกระดูก

    หลวงปู่เป็นห่วงพวกเรา ท่านจึงเขียนบทโศลกบทนี้ขึ้นมาตอนตีสามกว่า และบอกว่า ให้ลองขังจิตตัวเองเอาไว้ในขุนเขา แมกไม้ และอ้อมอก กลิ่นอายของธรรมชาติ สักหลายวันหน่อย อย่าปล่อยให้มันลื่นไหล ถลา กระโดดเข้าบ้าน เข้าเมืองแล้วจิตมันจะฟุ้ง มันจะฟู มันจะสับสนวุ่นวาย แล้วกุศลแห่งการเกิด กุศลแห่งการบวช บุญแห่งการเจริญสมณธรรม ก็จะไม่ปรากฏ นั่นจึงเรียกว่าเป็นบาป เพราะการที่เป็นสมณะ แต่มีจิตฟุ้งซ่าน รำคาญ ถึงจะไม่เป็นโทษอะไร แต่เป็นบาปติดตัวเราไป พวกอสูรกาย เปรต สัมภเวสี ที่ล่องลอยอยู่ในนภากาศ ที่มีถ่านไฟแดงๆ คุกรุ่นเผาไหม้ เผาตัวอยู่ตลอด ก็เพราะว่าไม่สำนึกในสถานภาพของความเป็นสมณะ ในขณะที่บวชก็ทะเยอทะยานอยาก จนสุดท้ายเมื่อตายไป ไฟกรดจึงเผาไหม้ร่างกายเขาภายหลังที่พ้นจาก อเวจีมหานรกแล้ว

    แม้เราไม่ทำบาปโดยกายแต่ก็ทำบาปโดยใจ ท่านจึงบอกว่า เป็นการผิดสถานภาพของความเป็นนักบวช คือ สงบกาย สงบวาจา สงบใจไม่ได้ เพราะว่าแค่รักษาศีล ไม่ถือว่าเป็นปกติศีล ยังเป็นสังวรศีล คือศีลที่ต้องระวัง รักษาอยู่ไม่รู้จบ ถ้าถึงขั้นปกติศีล และอริยกันตศีล คือศีลที่บริสุทธิ์ หมดจด ไม่มีใครทำร้าย ทำลายศีลให้ด่างพร้อยได้ ในขณะที่ยังเป็นสังวรศีลแล้วจิตยังสับสน ทะเยอทะยานอยาก ไม่รู้จบอีก ไหนเลยศีลข้อไหนจะรักษาได้ ศีลก็ขาด จิตก็ไม่สงบ และสมณธรรมจะอุบัติขึ้นได้อย่างไร บุญจะเกิดจากไหน กุศลคือความฉลาด และปัญญาญาณ หยั่งรู้จะมาจากที่ใด

    ท่านจึงบอกให้พวกเราอย่าปล่อยให้ตัวเองถูกกระชากลากถู ด้วยมาร ซาตาน ผีห่า มากไปนัก พยายามขังตัวเองเอาไว้อยู่ในป่านี้ เพราะถ้าเมื่อใดที่เราหลุดออกไปจากป่า อกุศลทั้งมวลจะพรั่งพรูเข้ามาสู่กาย เราจะอยู่ไม่เป็นสุข มันสับสน ร้อนรุ่ม ทุรนทุราย เศร้าหมองขุ่นมัว

    การบวชแต่ละครั้งนั้น หลวงปู่บอกว่า เป็นการให้โอกาสที่ได้เกิดมาเป็นชาย ถ้ารักษาพรหมจรรย์อยู่ไม่ได้ ชาติหน้าก็จะไปเป็นบัณเฑาะก์ (กะเทย) เป็นผู้หญิง จะไม่มีโอกาสได้บวช ดังนั้นเมื่อมีโอกาสเป็นชายชาตรี ก็ต้องทำหน้าที่ให้ตรง และถูกต้อง ตามสถานภาพที่เป็นอยู่ เพราะเรากำลังจะบำเพ็ญสมณธรรม อย่าให้อกุศลทั้งปวงเกิดขึ้น แล้วพรั่งพรูมาฉุดกระชากลากถูเราให้ตกเป็นทาสไม่จบสิ้น ฝึกเมื่อเรารู้สึกว่าเราผิด ความรู้ตัวนั้นเป็นสติชนิดหนึ่ง การเจริญสติไม่ใช่ว่าไม่คิดเรื่องอะไร แต่คิดเรื่องที่เราคอนโทรลมันได้ เป็นนายมันถูก ควบคุมมันสนิท

    เพราะว่าไม่มีครูบาอาจารย์ในแผ่นดินที่ไหน เขาสอนอย่างนี้ ไม่มีครูคนไหนมาจ้ำจี้จ้ำไช เพราะคนอื่นเขาได้แต่บอกๆ ทำไม่ได้ก็เรื่องของเรา แล้วแต่วาสนา บารมี ไม่เคี่ยวเข็ญ ไม่ฉุดกระชากลากถู ถือว่ากรรมใครกรรมมัน ท่านจึงบอกพวกเราว่าอย่าให้ความหวังดีของท่านกลายเป็นหมัน ด้วยความที่เราไม่รู้จักเตือนตัวเอง

    เมื่อกลางวันท่านตะโกนบอกว่า ถ้าง่วงก็กระโดดลงน้ำ ลงน้ำแล้วยังไม่หายง่วงก็ปีนขึ้นเขาดับไฟ อย่าปล่อยให้ตัวเองหลับใหล วิธีฝึกมีสารพัดวิธี หากเรารู้ว่าจิตมันหยาบอยู่ ก็หาสรรพวิธีทั้งหลาย มาฝึกมันให้ละเอียดลง แล้วต้องรู้ว่าตอนนี้เราอยู่ในขั้นไหนแล้ว ทั้ง ๕ ขั้นเป็นคุณสมบัติของผู้ฝึกจิต ต้องรู้สภาวะของตัวเอง

    เมื่อเรารู้ว่าวิถีทางของจิตนั้นต้องสุขุมลง ประณีตลง เราก็จะรู้ว่า เมื่อเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป สุดท้ายก็จบ ชาติก็สิ้น ชราก็ไม่พบ ตัณหา อุปาทานทั้งปวงเราก็ครอบงำมันได้ ชีวิตเราก็มีเสรีภาพ อิสระ และเป็นไท

    การฝึกจิต

    จิตนี้มหัศจรรย์ยิ่งนัก หลวงปู่เล่าให้ฟังว่าเมื่อไม่นานมานี้ ท่านไปแสดงธรรมที่สถานีวิทยุแห่งหนึ่ง เผอิญมีหมาหลุดมา จะวิ่งมากัด ท่านจึงยืนอยู่เฉยๆ แล้วมองหน้ามัน สบตามัน แผ่เมตตาให้ แต่มันก็ไม่หยุด ท่านเลยคิดถึง พญาเสือโคร่งขึ้นมา ดังนั้นท่านจึงทำสายตาเป็นเสือ เพื่อทำให้สายตามีอำนาจขึ้น เป็นเรื่องมหัศจรรย์มากที่หมามันหยุดเห่า หางตก หัวหด วิ่งหนีไป เหมือนกลัวอะไรสักอย่าง นี่เป็นธรรมชาติของจิตชนิดหนึ่ง หรือขณะที่เดินจงกรม ท่านก็เดินไปตามก้อนหินที่ลื่น ท่านบอกว่าให้ทำตัวเป็นหอยทากที่ไหลลื่นไปตามก้อนหิน ต้องตั้งตัวให้ตรง

    จิตนี้จึงเป็นสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นเรื่องที่มหัศจรรย์ มีอยู่ครั้งหนึ่งที่น้ำตก ท่านเล่าให้ฟังว่า มีแมลงวันดูดเลือดมาเกาะที่ขา ตอนแรกท่านบอกมันว่า "กูอโหสิให้มึง" แมลงวันมันก็ดูดเลือด แล้วบินไป สักพักมันบินมาอีกท่านจึงบอกไปว่า "กูอโหสิให้แล้วนะ หากมากินกูอีกเดี๋ยว.."เหมือนกับมันฟังรู้เรื่อง มันเลยบินหนีไปเฉยๆ

    ความมหัศจรรย์ทางจิตนี้ อาจสร้างทำอะไรได้หลายอย่าง เช่น รักษาโรคภัย คุ้มกันอันตราย สร้างเดชอำนาจ ชักจูงหรือสะกดจิตผู้อื่น ความมหัศจรรย์ทางจิต อาจจะเป็นสิ่งแปลกประหลาดเหนือความคิดทั่วไป พิสูจน์ให้เห็นด้วยตา หรืออธิบายให้เข้าใจกันง่ายๆ ไม่ได้ แต่มีปรากฏการณ์บางอย่าง ที่แสดงออกมาซึ่งเราไม่สามารถจะปฏิเสธ

    เรื่องการใช้พลังรักษาโรคนี้ ผมได้ประสบมามากตามชนบทของบ้านเรา โดยคนไข้ที่ป่วยเป็นโรคต่างๆ จะไปหาหมอที่รักษาทางเวทมนต์ หมอจะให้คนไข้นั่งนิ่งๆสงบจิตใจ แล้วหมอจะทำปากขมุบขมิบ ท่องมนต์คาถา ท่องไปเป่าไปที่แผลหรือที่ตัวคนไข้ เจ็บแขนก็เป่าแขน เจ็บหัวเป่าหัว การรักษาอย่างนี้ทำให้คนไข้อาการดีขึ้นจนหายได้

    แม้แต่การใช้สัญลักษณ์แห่งพลังอำนาจของฟ้าและดิน หรือเครื่องหมายพลังของชาวยิวที่เรียกว่า สตาร์เดวิด (รูป) ซึ่งเป็นวิธีโบราณตามแบบชาวอียิปต์ ผมเคยอ่านในหนังสือว่ามีแพทย์ชาวฝรั่ง ที่ไปอยู่ใน อียิปต์ เกิดอาการปวดหัวอย่างรุนแรง จึงไปหาหมออียิปต์ให้รักษาแบบโบราณ หมออียิปต์ได้ใช้แผ่นไม้ขนาดกว้างราวหนึ่งฟุตสี่เหลี่ยม ทาสีขาว เอาไม้แผ่นนั้นมาลากเส้นรูปสามเหลี่ยมสองรูปซ้อนกันแต่วางกลับหัวกลับหางกันในช่องกลางและช่องมุมทั้ง ๖ นั้น ได้เขียนอักษรใส่ลงไป เสร็จแล้ว จึงเอาไม้แผ่นนั้นวางพิงเข้าที่ข้างฝา แล้วให้แพทย์ซึ่งกำลังปวดหัวอย่างรุนแรงเพ่งดูแผ่นไม้นั้น เขาเพ่งด้วยความตั้งอกตั้งใจ ช่วงเวลาเพียงไม่กี่นาที

    นัยน์ตาเขาก็มองเห็นตัวหนังสือภายในขีดวงกลมนั้นวิ่งวุ่นไปมา จนกระทั่งกลายเป็นจุดกลมดำ ขั้นแรกเป็นจุดเล็กๆ แล้วโตขึ้นเรื่อยๆ เปลี่ยนรูปไปได้ต่างๆ ไม่อยู่กับที่ เต้นไปเต้นมา แล้วเปลี่ยนกลายเป็นสีเทา และค่อยมัวลงจนกลายเป็นหมอกไป อาการปวดหัวอย่างรุนแรงจึงค่อยบรรเทาหาย เขารู้สึกเหมือนง่วงนอนแล้วก็หายเป็นปลิดทิ้ง!!

    หรือแม้กระทั่งการนับถือมนต์ เช่นมนต์คาถา "โพชฌงคปริต" เป็นมนต์ที่ทำให้หายโรคภัยไข้เจ็บได้ ข้อความของมนต์นี้มีว่า องค์แห่งการตรัสรู้นั้นมีอยู่ ๗ อย่างคือ ๑. สติ ๒. ธรรมวิจัย คือการคิดค้นข้อธรรม ๓. วิริยะ คือความเพียร ๔. ปีติ ความอิ่มใจ ๕. ปัสสัทธิ ความตั้งใจแน่วแน่ ๖. สมาธิ ๗. อุเบกขา

    ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้า เคยทรงแสดงโพชฌงคปริต แก่พระกัสสปะ และพระมหาโมคคัลลานะ และตอนที่พระองค์ประชวรหนักที่เวฬุวันมหาวิหาร ก็มีรับสั่งให้พระสาวกชื่อ พระจุนทะ มาสวดโพชฌงคปริตให้ทรงสดับ ก็หายประชวร

    ถ้าอธิบายอย่างเป็นวิทยาการว่าที่สามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้นั้น คงเป็นเรื่องของการปลุกเครื่องต่อสู้ (พลัง) ในร่างกายให้มีชีวิต มีกำลังอำนาจมากขึ้น วิธีการหนึ่งที่คนโบราณใช้เพื่อให้มีกำลังต่อสู้ในร่างกายให้มี สมรรถภาพยิ่งขึ้น ก็คือ การถ่ายปราณเข้าไปช่วย คำว่า "ปราณ" มาจากคำบาลีว่า "ปาณะ" แปลว่าชีวิต เป็นการถ่าย (พลัง) ชีวิต เข้าไปช่วยในร่างกายอีกคนหนึ่ง

    ในเรื่องวิธีการถ่ายปราณนั้นมีด้วยกัน ๓ ทางคือ

    ๑. ด้วยการแตะต้อง ซึ่งปกติจะใช้มือ โดยถือกันว่า ปราณอาจจะถ่ายออกได้ทางปลายนิ้ว
    ๒. ด้วยการเป่าลมออกทางปาก ให้ไปถูกตัวคนป่วย เป็นการส่งปราณเข้าไปให้อีกอย่างหนึ่งที่เรียกว่า ลมปราณ (ลม+ปราณ)
    ๓. ถ่ายปราณลงไว้ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วเอาสิ่งนั้นไปแตะต้องคนไข้ หมายถึงการใช้ มีเดียม (Medium) หรือสื่อ (น้ำเป็นมิเดียม หรือเครื่องรับถ่ายปราณดีที่สุด) ดังนั้นเราจึงเห็นเขาเป่าลมปราณลงในน้ำ แล้วเอาน้ำพรมไปที่ตัวคนไข้ วิธีการรดน้ำมนต์ก็ได้กำเนิดมาจากความคิดนี้

    มนต์ทุกบทล้วนช่วยทำให้ดวงใจของเราผ่องใส บริสุทธิ์ ปราศจากความคิดร้าย หรือให้โทษภัยแก่ผู้อื่น ในอดีตครูบาอาจารย์ อาจจะไม่มีการแปล ไม่สนับสนุน คงใช้แต่บาลี โดยไม่รู้ความหมาย อาจจะเกรงว่าเมื่อรู้ข้อความแปลแล้ว จะไม่เลื่อมใส ไม่ขลัง แต่หากเราได้ลองค้นคว้ามนต์บางบท เช่น บทกรณียเมตตสูตร ว่าที่มาเป็นอย่างไร และรู้ความหมาย ทำความเข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง เราจะยิ่งเลื่อมใสยิ่งขึ้น มีใจหนักแน่นมากขึ้น

    กระบวนการของจิตที่ฝึก ถ้าเราไปเคร่งเครียดกับมัน บางครั้งก็ไม่ได้อะไร แต่ถ้าผ่อนคลายเบาๆ สบาย มันจะมีสติขึ้นมาโดยฉับพลันทันที เพราะตอนที่เราเคร่งเครียดมันไม่ได้เป็นสัมมาสติ มันเป็นมิจฉาสติ เป็นสติที่โดนกดทับบังคับให้อยู่ แต่สัมมาสติจะไม่มีกระบวนการปรุงจิต ไม่มีความอยาก อยู่ในสตินั้นๆ แต่จิตที่อยู่ในความเคร่งเครียดจะประกอบไปด้วยความอยากมี อยากดี อยากได้ เพราะฉะนั้นการฝึกจิตนี้ต้องมีความฉลาด รู้เท่าทันสภาวะและอารมณ์ของมัน อย่าฝึกแบบคนโง่ เพราะความเคร่งเครียด จดจ่อ จับจ้อง จริงจังมากไป จะกลายเป็นมิจฉาสติ พระพุทธเจ้าจึงให้เราอยู่ในป่าช้า ไม่ให้อยู่ในหมู่คณะ ในสังคม ถ้าอยู่กับธรรมชาติ ป่าเขา เรือนว่าง ป่าช้า ป่าชัฏ ถ้ำ คูหา เมื่อเราผ่อนคลายอิริยาบถ "จิต" จับอยู่กับป่าเขา ลำเนาไพร แมกไม้ ธรรมชาติ ความปล่อยวางของจิตก็จะปรากฏ

    ต้องหาทางทำให้จิตมีงานทำ ในส่วนที่เป็นสัมมาสติ เป็นส่วนกุศล หลวงปู่บอกว่าตอนกลางวันท่านจะลงไปแช่ในน้ำ ให้มันนวดตัว ผ่อนคลาย แช่แค่คอ อยู่ในน้ำที่ไหลแรงๆ และขณะที่พยุงตัวในน้ำ เพื่อไม่ให้น้ำพัดพาไปนั้น เป็นการฝึกสติอย่างดียิ่ง วิธีฝึกสติ จึงมีสารพัดรูปแบบ ไม่จำเป็นต้องนั่ง มหาสติต้องมีทุกอิริยาบถ ครูบาอาจารย์ที่ดีต้องไม่สอนศิษย์ให้อยู่ในอิริยาบถใดอิริยาบถหนึ่ง เพราะเป็นการคิดว่าอิริยาบถกำกับสติ แต่จริงๆ แล้วหลวงปู่ท่านสอนว่า สติต้องเป็นผู้กำกับอิริยาบถ มหาสติต้องมีอยู่ในทุกอิริยาบถ การฝึกสติเปรียบดั่งเรากำมือ หากมันเครียด ก็ผ่อนคลายมันบ้าง สำคัญต้องรู้ว่าเรากำลังจะผ่อนคลาย แล้วพร้อมกำมันเข้ามาใหม่

    เย็นวันนั้น หลวงปู่เล่าชาดกให้ฟังเกี่ยวกับ พระเทวทัต ที่อาฆาตแค้นกับพระพุทธเจ้าเป็นชาติแรก สมัยเป็นพ่อค้าวาณิช และตั้งจิตว่า ข้าจะขอจองเวรกับท่านไปทุกชาติ แค่จิตเดียวที่ละโมบ ตะกละ เห็นแก่ตัว อยากได้ มันก็ติดตามพระเทวทัตไปไม่รู้กี่ชาติ หลวงปู่จึงย้ำให้พวกเรารู้ว่าการเจริญปฏิบัติธรรมต้องระวังเรื่องการผิดศีลด้วยใจ เพราะมันสร้างสม สะสม ทำให้เกิดขบวนการต่อเนื่องไม่จบสิ้น พระพุทธเจ้าจึงสอนให้เราระวังรักษาใจ จิตนี้จึงมหัศจรรย์นัก หากเริ่มต้นจากสิ่งที่เป็นมลภาวะ ก็จะกลายเป็นมลภาวะตลอดไป ถ้าเริ่มต้นด้วยกุศล ก็จะเกิดกุศลเรื่อยไป

    เรื่องของจิตนี้หลวงปู่ได้อธิบายไว้ว่า ในจิตเรานี้ มีจิตซ้อนจิตอยู่ ประกอบกันอยู่เป็นอกุศลจิต กุศลจิต โลภมูลจิต อโลภมูลจิต เป็นพยาบาทจิต อพยาบาทจิตฯ มันสัมพันธ์ ซับซ้อน ซ่อนเงื่อน มากมายมหาศาล ที่มีทั้งหยาบ ปานกลาง ละเอียด สุขุม ประณีต ขบวนการของจิตมีอานุภาพมหาศาล ถ้ารู้จักฝึกให้ดี จะยังความสุขมาให้แก่สังคมและตัวเอง

    การเรียนรู้ "มหาสติปัฏฐาน" เป็นหัวใจของพระศาสนา สูตรใดๆ ก็ไม่เทียบเท่าสูตรแห่งมหาสติปัฏฐาน แม้แต่ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ก็ไม่มีอานุภาพเทียบเท่า พระศาสดาจึงเรียกว่า เอกายนมรรคโค (ทางอันเอก คือ ข้อปฏิบัติอันประเสริฐที่จะนำผู้ปฏิบัติไปสู่ความบริสุทธิ์หมดจด หมดความทุกข์ และบรรลุนิพพาน ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ ) เป็นหนทางแห่งบุคคลผู้เดียว เป็นทางเดียว ที่เข้าสู่เป้าหมายของชีวิตสูงสุด และในมหาสติปัฏฐานก็มาจากขบวนการของสัมมาสติ อย่างน้อยช่วยคนอื่นไม่ได้ ก็ช่วยตัวเองได้

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>กำเนิดพระศากยบุตร

    ในระหว่างนั้น หลวงพ่อพิศิษฐ์ (พระดอกเตอร์) ก็ถามหลวงปู่ว่า ความรู้ที่พวกเรามีก็แบบกระท่อนกระแท่น แล้วจะไปช่วยคนอื่นได้อย่างไร หลวงปู่จึงบอกว่าให้เริ่มต้นจากตัวเอง ต้องมีสติก่อน ในขณะที่มีเหตุการณ์ใดๆ บีบคั้น ต้องตั้งมั่น ยืนหยัด อย่างไม่หวั่นไหว อย่างเช่น ตอนที่ท่านอบรมพระวิปัสสนาจารย์ จะเห็นว่ามีแต่คนจ้องจับผิด แต่ท่านไม่ได้สะดุ้ง ผวา หวั่นไหว และยังทำให้ใครๆ ยอมรับในสิ่งที่ท่านชี้นำ แสดง อบรมสั่งสอนได้

    ถ้าทุกคนมีสติตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ไม่สั่นคลอน ดังขุนเขาที่ยืนตระหง่าน ต้านแรงลม พายุร้าย ได้อย่างไม่โยกโคน มีหรือใครจะไม่ยอมทำตาม มีหรือใครจะไม่ยอมรับ สำคัญอยู่ว่าเราเป็นผู้นำที่ดี ซื่อตรง ไม่โยกโคน โอนเอนไปตามขบวนการฉุดกระชากลากถูทั้งหลายนั้น ต้องเริ่มต้นจากตัวเองก่อน

    ถ้าตัวเองทำได้ ถึงที่สุดก็จะรู้ว่า เราเป็นผู้ชนะ เราจะภาคภูมิในสิ่งที่เราทำ เริ่มต้นจากตัวเอง สังคมรอบข้าง ขยายวงกว้างออกไปสู่สังคมอื่น แค่นี้ก็สามารถจะช่วยเหลือโลกและสังคมได้แล้ว ขอเพียงโลกและสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีสติ ไม่เบียดเบียน เบียดบัง เอารัดเอาเปรียบ ไม่เห็นแก่ตัวมากเกินไป ก็จะเกิดสันติสุข ร่มเย็นขึ้นมาเอง

    พระโพธิสัตว์

    หลวงปู่ได้อธิบายความหมายของพระโพธิสัตว์ กับพระโสดาบัน ว่า พระโพธิสัตว์เจ้าหรือพระมหาโพธิสัตว์นั้นต้องประกอบด้วยปณิธาน คือ ความตั้งใจอย่างมั่นคง ๔ ประการ อย่างนี้

    ๑. เราจะละกิเลสทั้งหลายให้หมด
    ๒. เราจะต้องตั้งใจศึกษาพระธรรมทั้งหลายให้เจนจบ (ไม่กล่าวถึงศีล หรือวินัย)
    ๓. เราจะไปโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลายให้สิ้น
    ๔. เราจะบำเพ็ญตนให้บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ (แสดงว่ายังไม่ตรัสรู้อริยสัจ อันเป็นเหตุ เป็นเครื่องช่วยให้พ้นทุกข์)

    คุณสมบัติของพระโพธิสัตว์

    ๑. มหาปัญญา มีปัญญาอันยิ่งใหญ่
    ๒. มหากรุณา มีกรุณาไม่มีขอบเขตจำกัด พร้อมที่จะเสียสละตนเองทนทุกข์แทนผู้อื่น
    ๓. มหาอุบาย มีความฉลาดในการหาวิธีสั่งสอนสัตว์ทั้งหลายให้เข้าถึงสัจธรรม

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> ทศภูมิของพระโพธิสัตว์

    ทศภูมิของพระโพธิสัตว์ คือ ภูมิจิตของพระโพธิสัตว์ มี ๑๐ ภูมิ ดังนี้

    ๑. มุทิตาภูมิ พระโพธิสัตว์มีความยินดีในความไร้ทุกข์ของสัตว์(ภูมินี้บำเพ็ญหนักในทานบารมี)
    ๒. วิมลาภูมิ (ปราศจากมลทิน) พระโพธิสัตว์ละมิจฉาจริยาได้เด็ดขาด ปฏิบัติแต่ในสัมมาจริยา (ภูมินี้มีศีลบารมีเป็นใหญ่)
    ๓. ประภาการีภูมิ (มีความสว่าง) พระโพธิสัตว์ทำลายอวิชชาได้เด็ดขาด มีความอดทนทุกประการ (ภูมินี้มีขันติบารมีเป็นใหญ่)
    ๔. อรรถจีสมดีภูมิ (รุ่งเรือง) พระโพธิสัตว์มีความเพียรในการบำเพ็ญธรรม (ภูมินี้มีวิริยะบารมีเป็นใหญ่)
    ๕. ทุรชยาภูมิ (ผู้อื่นชนะยาก) พระโพธิสัตว์ละสภาวะแห่งสาวกยาน กับปัจเจกโพธิญาณ ซึ่งเป็นธรรมเครื่องกั้นพุทธภูมิ (ภูมินี้มีฌานบารมีเป็นใหญ่)
    ๖. อภิมุขีภูมิ (มุ่งหน้าต่อทางนิพพาน) พระโพธิสัตว์บำเพ็ญยิ่งในปัญญาบารมี เพื่อรู้แจ้งเห็นชัดในปฏิจจสมุปบาท (ภูมินี้มีปัญญาบารมีเป็นใหญ่)
    ๗. ทูรังคมาภูมิ (ไปไกล) พระโพธิสัตว์มีอุบายอันฉลาดแม้บำเพ็ญกุศลน้อย แต่ได้ผลแก่สรรพสัตว์มาก (ภูมินี้มีอุบายบารมีเป็นใหญ่)
    ๘. อจลาภูมิ (ไม่คลอนแคลน มั่นคง) พระโพธิสัตว์บำเพ็ญหนักในปณิธานบารมี
    ๙. สาธุบดีภูมิ พระโพธิสัตว์แตกฉานในอภิญญา และปฏิสัมภิทาญาณ(ภูมินี้บำเพ็ญหนักในพลบารมี)
    ๑๐. ธรรมเมฆภูมิ พระโพธิสัตว์บำเพ็ญหนักในญาณบารมี มีจิตอิสระ ไม่ติดในรูปธรรม นามธรรม (บำเพ็ญหนักญาณบารมี)
    เมื่อพระโพธิสัตว์บำเพ็ญทศภูมิเต็มบริบูรณ์แล้ว ย่อมมีพระคุณเทียบเท่าพระพุทธเจ้า เหลืออีกชาติเดียวก็จักตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เช่นเดียวกับพระศรีอริยเมตไตรยโพธิสัตว์

    จริยธรรมของพระโพธิสัตว์

    จริยธรรมของพระโพธิสัตว์ ๑๐ ประการ

    ๑. พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาเลยว่า ร่างกายจะไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ
    ๒. พระโพธิสัตว์ ครองชีวิต โดยไม่ปรารถนาเลยว่า จะไม่มีภยันตราย
    ๓. พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาเลยว่า จะไม่มีอุปสรรคในการชำระจิตให้บริสุทธิ์
    ๔. พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาเลยว่า จะไม่มีมารมาขัดขวางการปฏิบัติภารกิจ
    ๕. พระโพธิสัตว์ คิดว่า จะทำงานให้นานที่สุด โดยไม่ปรารถนาจะให้สำเร็จผลเร็ว
    ๖. พระโพธิสัตว์ จะคบเพื่อน โดยไม่ปรารถนาจะได้รับผล
    ๗. พระโพธิสัตว์ จะไม่ปรารถนาว่า จะให้คนอื่นต้องตามใจตนเองเสมอทุกอย่าง
    ๘. พระโพธิสัตว์ จะทำความดีกับคนอื่น โดยไม่ปรารถนาสิ่งตอบแทน
    ๙. พระโพธิสัตว์ เห็นลาภแล้ว ไม่ปรารถนาจะมีหุ้นส่วนด้วย
    ๑๐. พระโพธิสัตว์ เมื่อถูกใส่ร้ายป้ายสี ติเตียน นินทาแล้ว ไม่ปรารถนาจะโต้ตอบ หรือฟ้องร้อง

    พระโพธิสัตว์จะไม่นำเอาวิถีชีวิตของตนไปสู่เป้าหมาย คือ นิพพาน ก่อนที่จะโปรดสัตว์ให้พ้นทุกข์ เพราะเมื่อใดถ้าอยู่ในวิถีทางของนิพพานแล้ว ไม่สามารถจะเป็นพระโพธิสัตว์ได้ เพราะจะหมดสิทธิ์ในการที่จะเกิดเป็นพระพุทธเจ้า จึงต้องอยู่ในดุลพินิจ ความสามารถในการเรียนรู้ทุกอย่างที่พระพุทธเจ้ารู้ และปฏิบัติให้ได้ เป็นครู(ครุ)สอนคนอื่นได้ และต้องรู้จริง รู้แจ้ง ไม่ใช่รู้จำ ไม่ทำตัวเองให้หมดจากอาสวกิเลส เพราะจะต้องกลับมาเกิด โปรดสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ภัย เพียงแค่พระโพธิสัตว์เดินเข้าไปสู่เป้าหมายวิถีแห่งนิพพานขั้นพระโสดาบัน ก็หมดสิทธิ์จะมาเป็นพระโพธิสัตว์แล้ว

    ส่วนพระโสดาบันนั้นเข้าสู่กระแสของพระนิพพาน เกิดอีก ๗ ชาติ ก็จะบรรลุอรหันต์แล้ว แต่ผู้ที่เป็นพระโพธิสัตว์จะไม่เข้าสู่กระแสของพระนิพพาน คือเข้าสู่พระอริยบุคคลเบื้องต้น เพราะพระโพธิสัตว์ไม่ได้เกิดเพียงแค่ ๗ ชาติ แต่เกิดมาเพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ไม่รู้จบ และความหมายของพระอริยโพธิสัตว์ ก็คือพระโพธิสัตว์ที่อยู่เหนือกว่าพระโพธิสัตว์ธรรมดา มีที่อยู่ที่เหนือจากสามัญชน คนธรรมดา ส่วนพระมหาโพธิสัตว์ คือผู้ที่จะได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล

    สิ่งสำคัญหรือคุณสมบัติของพระโพธิสัตว์คือ การเรียนรู้ให้มาก และรู้ด้วยตนเอง โดยไม่อาศัยผู้อื่น พยายามศึกษาหาความรู้ ครูสอนมาหนึ่ง ต้องหาให้ได้สิบ มีคุณสมบัติของความเป็นผู้นำ พระโพธิสัตว์ต้องเป็นผู้นำคนอื่น พระโพธิสัตว์ต้องมีวิปัสสนา ถ้าไม่มีวิปัสสนา ก็รักษาศีลไม่ได้ พระโพธิสัตว์ต้องมีคุณสมบัติรักษาศีล ต้องรักษาให้ได้ ต้องมีสมาธิจิตอันเลิศ เรียกว่ามี ฌานสมาบัติ เพื่อจะใช้เป็นเครื่องปลดปล่อยสรรพสัตว์

    ความหมายของคำว่า "พระโพธิสัตว์"

    เกี่ยวกับความหมายของคำว่า "พระโพธิสัตว์" ผมได้ศึกษาค้นคว้ามาว่า คำว่า โพธิสัตว์ หรืออาจจะเขียนได้ว่า โพธิสัตต์ มาจากคำว่า โพธิ+สัตต คำว่า"โพธิ" แปลว่า ความตรัสรู้หรือความรู้แจ้ง คำว่า"สัตต" ตามบาลีมิได้หมายถึงสิ่งมีชีวิต(สัตวะ) หรือมนุษย์เพียงอย่างเดียว แต่เป็นการใช้ความหมายคล้ายคลึงกับ "สัตวัน" (Sattavan) ในคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์ ซึ่งหมายถึง ผู้ทรงพลัง ผู้นำ นักรบ ดังนั้นคำว่า "สัตต" ในคำว่า "โพธิสัตต์" จึงหมายถึง ผู้นำ หรือผู้มีใจเด็ดเดี่ยว กล้าหาญ องอาจ เยี่ยงนักรบ ซึ่งให้ความหมายเดียวกับคำว่า โพธิสัตต์ ในภาษาธิเบต คือ byan chub sems-dpah โดยคำว่า byan chub หมายถึง โพธิ (bodhi), sems หมายถึง จิต (mind) และ dpah หมายถึง วีรบุรุษ ผู้กล้า หรือผู้เข้มแข็ง ดังนั้นคำว่า โพธิสัตต์ จึงควรจะแปลว่า ผู้มีใจยึดมั่นในสัมมาสัมโพธิญาณอย่างเด็ดเดี่ยว

    จุดเริ่มต้นของอุดมการณ์โพธิสัตว์

    ยาน (yanas) หรือเส้นทางซึ่งนำไปสู่การบรรลุโพธิ แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ

    ๑. สาวกยาน คือ ยานของพระสาวกที่มุ่งเพียงอรหันตภูมิ ซึ่งรู้แจ้งในอริยสัจ ๔ ด้วยการสดับจากพระพุทธเจ้า
    ๒. ปัจเจกยาน คือ ยานของพระปัจเจกพุทธเจ้า ได้แก่ผู้รู้แจ้งในปฏิจจสมุปบาทด้วยตนเอง แต่ไม่สามารถแสดงธรรมสั่งสอนสัตว์ให้บรรลุมรรคผลได้
    ๓. โพธิสัตวยาน คือ ยานของพระโพธิสัตว์ ซึ่งได้แก่ผู้มีจิตใจเมตตา ใจคอกว้างขวาง ประกอบด้วยมหากรุณาในสรรพสัตว์ ไม่ต้องการอรหันตภูมิ ปัจเจกภูมิ แต่ปรารถนาพุทธภูมิ เพื่อโปรดสัตว์ได้กว้างขวาง และเป็นผู้รู้แจ้งในสุญญตธรรม ซึ่งทางมหายานถือว่าบุคคลใดจะบรรลุพุทธภูมิได้ ต้องผ่านการบำเพ็ญจริยธรรมแห่งพระโพธิสัตว์ก่อน จึงกล่าวได้ว่าโพธิสัตว์ภูมิเป็นเหตุ พุทธภูมิเป็นผล

    ทั้งนี้อรรถของมหายานที่ว่าด้วยการขนสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นวัฏสงสาร สืบเนื่องมาจากพุทธสาวกในระยะแรก และสามศตวรรษหลังจากพุทธปรินิพพาน ยึดมั่นในความเป็นอรหันต์ (Arahat) ซึ่งหมายถึงการขจัดเสียซึ่งอาสวกิเลส (asravas) เพื่อมิต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก และเมื่อได้เป็นอรหันตสาวกก็จะออกสั่งสอนธรรมแก่ชนทั่วไปตามพุทธประสงค์ ด้วยความมีเมตตากรุณา เพื่อช่วยสรรพสัตว์ก้าวสู่ความหลุดพ้น

    แต่ต่อมาหลังจากนั้น สงฆ์สาวกเริ่มละเลยหน้าที่นี้ และมุ่งปฏิบัติเพื่อผลประโยชน์ของตนเป็นสำคัญ ใส่ใจเฉพาะความหลุดพ้นของตนเองเป็นใหญ่ ดังนั้นอุดมการณ์โพธิสัตว์จึงเริ่มขึ้นจากสงฆ์อีกกลุ่มหนึ่ง เพื่อเป็นการคัดค้านการกระทำที่มุ่งประโยชน์ส่วนตัว โดยย้ำในหลักการช่วยเหลือเกื้อกูลสรรพสัตว์ มิได้มุ่งอรหันตผลหรือความเป็นปัจเจกพุทธเจ้า แต่มุ่งหวังใน "อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ" อันหมายถึงการตรัสรู้ในขั้นสมบูรณ์ที่สุด อันเป็นคำสอนดั้งเดิมครั้งปฐมเทศนา ที่พระพุทธองค์ได้บรรลุโพธิ และบรรดาสาวกก็ควรจะได้ถือเป็นเยี่ยงอย่างปฏิบัติตาม แทนที่จะมุ่งสู่นิพพานแล้ววางเฉยต่อสรรพสัตว์อื่นๆ ดังนั้นอุดมการณ์โพธิสัตว์จึงถือได้ว่าเกิดขึ้นเพื่อคัดค้านอุดมการณ์อรหันต์ ซึ่งมีข้อบกพร่องตรงที่ไม่แสวงหาสัมมาสัมโพธิญาณ และมุ่งสู่นิพพาน (nirvana) โดยไม่สนใจให้ความช่วยเหลือสรรพสัตว์ ดังในมหาปรัชญาปารมิตา อรรถกถา ที่คุรุนาคารชุนได้อธิบายไว้ว่า

    "พระพุทธธรรมมีเอกรสเดียว คือ รสแห่งวิมุติ ความรอดพ้นจากปวงทุกข์ แต่ชนิดของรสมี ๒ ชนิด คือ ชนิดแรกเพื่อตัวเอง ชนิดที่สองเพื่อตัวเองและสรรพสัตว์ด้วย"

    นั่นคืออุดมการณ์โพธิสัตว์ จึงเกิดขึ้นด้วยความเมตตา โดยคำนึงถึงหน้าที่หลัก ๒ ประการ คือ

    ๑. โพธิสัตว์นอกจากจะมุ่งช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์แล้ว ยังมุ่งในความสุขและความเป็นอยู่ที่ดีในโลกนี้
    ๒. โพธิสัตว์ปรารถนาให้สรรพสัตว์ได้บรรลุนิพพาน โดยตนเองปฏิเสธการเข้าถึงนิพพานของตน เพื่อที่จะได้ยังมีโอกาสรับใช้ช่วยเหลือผู้อื่น แม้ว่าจะต้องยังอยู่ในที่แห่งความทุกข์ยาก เพื่อสร้างคุณความดีช่วยเหลือสรรพสัตว์ ซึ่งนับว่าเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ โดยตั้งปณิธานสำคัญว่า

    "ข้าฯจะไม่เข้าสู่ปรินิพพานจนกว่าสรรพสัตว์ทั้งหลายจะพ้นทุกข์ ข้าฯจะยังคงอยู่ที่นี่ตราบจนวัฏสงสารจะสิ้นสุดลง แม้ว่าข้าฯยังจะต้องอยู่ที่นี่อีก แม้เพียงชีวิตใดชีวิตเดียว"
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> ประเภทของพระโพธิสัตว์

    ในทางพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน แบ่งพระโพธิสัตว์ออกเป็น ๒ ประเภท คือ

    ๑. พระฌานิโพธิสัตว์ เป็นพระโพธิสัตว์ซึ่งกำหนดไม่ได้ว่ามาเกิดในโลกมนุษย์เมื่อใด แต่เกิดขึ้นก่อนกาลแห่งพระศากยมุนีพุทธเจ้า ซึ่งพระโพธิสัตว์เหล่านี้ ท่านได้บรรลุพุทธภูมิแล้ว แต่ทรงมีความกรุณาในหมู่สัตว์ ทรงตั้งพระทัยไม่เข้าสู่พุทธภูมิ ประทับอยู่เพื่อโปรดสัตว์ในโลกนี้ต่อไป ดังเช่น

    - พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ เป็นพระโพธิสัตว์แห่งปัญญา ในหัตถ์ขวาทรงถือพระขันธ์เป็นสัญลักษณ์ในการทำลายล้างกิเลสตัณหาและอวิชาทั้งปวง และในหัตถ์ซ้ายถือคัมภีร์บนดอกบัว
    - พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ เป็นพระโพธิสัตว์ที่ทรงไว้ด้วยความกรุณา และได้ทรงตั้งปณิธานว่าจะช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นจากกิเลสความผูกพันทั้งปวง หน้าที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการรื้อสัตว์ ขนสัตว์จากนรก
    - พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ เป็นพระโพธิสัตว์แห่งความเมตตา จะลงมาจุติในโลกมนุษย์เป็นครั้งคราว เพื่อช่วยเหลือมนุษย์ให้พ้นภัย ความเมตตาของพระองค์แผ่ไปไกลและลึกแม้กระทั่งในดินแดนนรก ในประเทศจีนพระอวโลกิเตศวรเป็นที่รู้จักกันในปางสตรีคือ "เจ้าแม่กวนอิม" และชาวธิเบตเชื่อว่าองค์ประมุขทไลลามะ เป็นอวตารของพระโพธิสัตว์พระองค์นี้
    - พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ ทรงปัญญาเป็นเยี่ยม และทรงใช้ปัญญานี้เป็นเครื่อง บั่นทอนอวิชา
    - พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ ทรงตั้งปณิธานที่จะช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ยาก และเจาะจงช่วยโดยเฉพาะแก่เด็กและมิจฉาชน
    - พระเมตไตรยโพธิสัตว์ (พระศรีอริยเมตไตรย มหาโพธิสัตว์) เชื่อว่าเป็นองค์อนาคตพุทธเจ้า และจะลงมาตรัสรู้ในกาลข้างหน้า เป็นผู้เปี่ยมด้วยความเมตตา

    ๒. มนุษิโพธิสัตว์ คือ ผู้ปฏิบัติตนเพื่อบรรลุเป็นพระโพธิสัตว์ ปฏิบัติตนอยู่ในความบริสุทธิ์ ประกอบการบุญ เจริญศีล ทาน ภาวนา ทำประโยชน์แก่มวลมนุษย์ ช่วยชีวิตคนและสัตว์โลกให้พ้นจากกองทุกข์ กระทำกัลยาณวัตร และบำเพ็ญกุศลเพื่อบารมีแต่ละชาติไป โดยมุ่งหวังบรรลุพระโพธิญาณในขั้นสุดท้าย เช่น อดีตชาติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้นโพธิสัตว์ จึงเป็นอุดมการณ์ของชาวพุทธมหายาน ที่พยายามดำเนินรอยตามแนวทางพระยุคลบาทสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อครั้งทรงเป็นมนุษิโพธิสัตว์ เพื่อให้ได้ถึงพุทธภูมิในที่สุด

    และอุดมการณ์โพธิสัตว์นี้ยังมีสมบัติเป็นตัวเชื่อมทำให้ไม่มีช่องว่างมากนักระหว่างบรรพชิตกับฆราวาส เนื่องจากผู้ที่จะเป็นโพธิสัตว์ ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นบรรพชิต แม้ฆราวาสเองก็เป็นโพธิสัตว์ได้ (ไม่ใช่ด้วยความอยากจะเป็น) เช่นกัน โดยหัวใจของการเป็นโพธิสัตว์นั้นขั้นแรกต้องมี โพธิจิต คือจิตตั้งมั่น ยึดพุทธภูมิเป็นจุดมุ่งหมายของชีวิต มีศรัทธาในโพธิ หรือความรู้แจ้งว่าเป็นอุดมการณ์สูงสุด และมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าในการที่จะช่วยเหลือสรรพสัตว์

    นอกจากนั้นโพธิสัตว์จะต้องมีจรรยา ๔ คือ

    ๑. โพธิปักขิยจรรยา คือ ปฏิบัติเพื่อความรู้แจ้ง อันประกอบด้วยคุณธรรม ๓๗ ประการ คือ

    ๑.๑ สติปัฏฐาน ๔ ได้แก่ กาย เวทนา จิต ธรรม
    ๑.๒ สัมมัปปธาน ๔ คือ ความเพียรอันบุคคลตั้งไว้ชอบ ได้แก่ สังวรปธาน(เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน), ปหาปธาน(เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว), ภาวนาปธาน(เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน) และอนุรักขนาปธาน(เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม)
    ๑.๓ อิทธิบาท ๔ ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
    ๑.๔ อินทรีย์ ๕
    ๑.๕ พละ ๕ ได้แก่ สัทธา, วิริยะ, สติ, สมาธิ และปัญญา
    ๑.๖ โพชฌงค์ ๗ ได้แก่ สติ(ความระลึกได้), ธัมมวิจยะ(ความเฟ้นหาธรรม), วิริยะ(ความเพียร), ปีติ(ความอิ่มใจ), ปัสสัทธิ(ความสงบใจ), สมาธิ(ความมีใจตั้งมั่น), อุเบกขา(ความมีใจเป็นกลางเพราะเห็นตามความเป็นจริง)
    ๑.๗ มรรค ๘ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ, สัมมาสังกัปปะ, สัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ, สัมมาอาชีวะ, สัมมาวายามะ, สัมมาสติ, สัมมาสมาธิ

    ๒. อภิญญาจรรยา คือ การปฏิบัติความรู้ทั้งมวล

    ๓. ปารมิจาจรรยา คือ ปฏิบัติเพื่อการสร้างสมบารมี ซึ่งในทางเถรวาทจะกล่าวถึงทศบารมี ๑๐ ประการ แต่ฝ่ายมหายานจะกล่าวถึงบารมีหรือปารมิตาที่สำคัญ ๖ ประการ ได้แก่ ทาน ศีล ขันติ วิริยะ ฌาน ปัญญา โดยสาระที่แท้จริงแล้วก็คือการพัฒนาหลัก ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นเอง ส่วนเนกขัมบารมี ซึ่งแม้จะไม่ได้ระบุไว้ในบารมีของฝ่ายมหายาน แต่เมื่อพิจารณาในรายละเอียด จะพบว่า ในการบำเพ็ญฌานบารมีนั้น เมื่อปฏิบัติในขั้นสูง ผู้ปฏิบัติจะรักษาพรหมจรรย์ ซึ่งใกล้เคียงกับการออกบวชในประเด็นที่เป็นผู้ออกจากกามเช่นกัน ๔. สัตตวปริปาจรรยา คือ การอบรมสั่งสอนสรรพสัตว์

    ความกรุณาของพระโพธิสัตว์

    มีเรื่องเล่าไว้ว่าครั้งหนึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสเล่าชาดกอันเป็นเรื่องราวสมัยทรงเป็นพระโพธิสัตว์ ก่อนจะตรัสรู้เป็นพุทธเจ้า เรื่องมีอยู่ว่า จักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่ง มีโอรสสามองค์ พระองค์เป็นพระโอรสองค์สุดท้อง มีพระนามว่าพระมหาสัตว์ พระมหาสัตว์เป็นเด็กน้อยที่มีนิสัยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และมีใจกรุณา ทั้งปฏิบัติต่อสรรพชีวิตเหมือนบุตรของพระองค์

    วันหนึ่งพระจักรพรรดิและข้าราชบริพารได้เสด็จประพาสอุทยาน ส่วนพระโอรสทั้งสามไปเล่นในป่า ไม่นานก็พบเสือแม่ลูกอ่อน เสือตัวนั้นไม่มีเรี่ยวแรงเพราะหิวโซ จนกระทั่งคิดจะกินลูกของตน พระมหาสัตว์จึงตรัสถามพระเชษฐาว่า

    "เสด็จพี่ เสือต้องกินอะไรถึงจะมีแรง"

    "เนื้อสด หรือไม่ก็เลือด" พระเชษฐาทั้งสองตรัสตอบ

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> "ใครจะให้เนื้อและเลือดของตนแก่แม่เสือ เพื่อให้แม่เสือและลูกๆมีชีวิตรอดบ้าง?" พระมหาสัตว์ตรัสถาม

    "ก็ใครล่ะ?" พระเชษฐาตรัสตอบ

    พระมหาสัตว์สงสารแม่เสือและลูกน้อยมาก จึงคิดขึ้นว่า "เป็นเวลาช้านานแล้วที่เราท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏอย่างไร้ประโยชน์ ความโกรธ โลภ หลง ของเราชาติแล้วชาติเล่า ช่วยเหลือสรรพสัตว์อื่นได้น้อยมาก ในที่สุดโอกาสสำคัญก็มาถึงแล้ว"

    ขณะที่พระโอรสองค์อื่นกำลังจะกลับไปหาพระบิดา พระมหาสัตว์ตรัสขึ้นว่า "เสด็จพี่ทั้งสองจงเสด็จกลับก่อน หม่อมฉันจะตามไปทีหลัง" แล้วพระองค์ก็คลานกลับไปหาแม่เสืออย่างเงียบเชียบ จากนั้นจึงนอนกับพื้นต่อหน้าแม่เสือเพื่อเป็นอาหารให้มัน แม่เสือมองมาที่พระมหาสัตว์ แต่อ่อนระโหยจนไม่สามารถเปิดปากได้ ดังนั้นพระองค์จึงหาไม้แหลมมาแทงร่างกายให้เลือดไหล แม่เสือจึงได้เลียกิน และมีเรี่ยวแรงพอที่จะเปิดปากและกินพระมหาสัตว์

    พระมหาสัตว์ได้มอบร่างให้แม่เสือเพื่อช่วยลูกน้อย ด้วยอานิสงส์แห่งเมตตาอันยิ่งใหญ่นี้เอง พระองค์จึงได้เกิดใหม่ในภพที่สูงขึ้น และเข้าใกล้การตรัสรู้มากขึ้นเป็นลำดับ จนได้เสวยพระชาติเป็นพระพุทธเจ้าในที่สุด พระกรุณาของพระองค์แรงกล้ากระทั่งได้ทำให้ทั้งหมดนี้มีกรรมผูกพันต่อเนื่องไปอีกหลายชาติ ซึ่งแม่เสือและลูกน้อยที่ได้กินร่างของพระมหาสัตว์เป็นอาหาร ได้เกิดใหม่เป็นพระปัญจวัคคีย์ อันเป็นสาวก กลุ่มแรกที่ได้ฟังธรรมจากพระองค์หลังจากตรัสรู้ เรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่าอานิสงส์ของกรุณานั้นช่างยิ่งใหญ่และลึกล้ำยิ่งนัก

    กลียุค

    มีช่วงหนึ่งที่หลวงปู่ได้พูดถึงวิกฤตการณ์ต่างๆที่อาจทำให้เกิดความสับสน แก่โลกและสังคมได้ในอนาคตว่า

    "...พวกเรามีปัญญาญาณ พอที่จะรับรู้สิ่งต่างๆที่จะอบรมสั่งสอน หรือถ่ายทอดจากครูบาอาจารย์ได้เยอะแยะ กาลข้างหน้า สังคมและโลก กำลังจะสับสน มันจะเกิด"กลียุค" ถ้าพวกเราเรียนรู้อย่างจริงๆจังๆ มหาสติปัฏฐานที่เรามี หรือกำลังฝึกอยู่นี้ มันสามารถช่วยโลกได้"

    "ถ่ายทอดเข้าไปสู่สังคมข้างนอก ให้มีสติยั้งคิด จะทำ พูด คิด ก็ต้องไม่ผิดพลาด ความรัก โลภ โกรธ หลง ทั้งหลายที่กำลังเร่าร้อนอยู่ในสังคม มันจะลดน้อย ถดถอยลงไป ความยื้อแย่ง อวดดี อวดฉลาด แก่งแย่งชิงดี เอารัดเอาเปรียบ แล้วโหดร้าย อาฆาตพยาบาท ฆ่าหั่นกัน มันก็จะลดน้อยลงไป การฝึกมหาสติเป็นสูตรที่ยิ่งใหญ่ ที่สามารถจะช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ภัยได้ ถ้าเราฝึกมันอย่างจริงๆจังๆ..."

    "...ช่วงชีวิตของพวกเรานี้ เราจะเห็นกลียุคของโลก ถ้าวันนี้เราไม่รู้จักเตรียมตัว ฝึกความมีสติ ถึงวันกลียุคของโลกแล้ว เราจะช่วยตัวเองไม่ได้ และก็เป็นภาระแก่สังคม ต้องรู้จักฝึกเพื่อไปช่วยโลกและสังคมได้บ้าง ลำพังหลวงปู่คนเดียว คงทำอะไรไม่ได้มากเท่าไหร่ ทุกคนที่นั่งอยู่นี่ มีส่วนช่วยโลกและจักรวาล และปลูกฝังลูกหลาน ญาติผู้ใกล้ชิด หลวงปู่ไม่อยากเห็นกลียุคของโลกและสังคมเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า..."

    "นักปกครองของโลกคิดว่า วิธีนี้รักษาความตั้งมั่นของจักรวรรดิ วิธีนั้นรักษาความยิ่งใหญ่ของประเทศตน แต่จริงๆแล้วหารู้ไม่ว่าที่ผ่านมา จักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่และตั้งมั่นของประเทศที่เขาล่มสลาย มันมีดีกว่าปัจจุบันเยอะแยะ วิวัฒนาการของคนยุคสมัยก่อน ถึงขนาดไม่ต้องมีภาษาพูด ใช้จิตคุยกัน มันก็มีเยอะแยะ แต่ก็ล่มลงไปในจักรวรรดินั้น แล้วเราก็ไม่ใช้ตัวอย่างอย่างนี้สำหรับการศึกษา ค้นคว้า เพื่อเป็นครูสอนเรา เรากำลังจะเดินอยู่กับที่ซ้ำแล้วซ้ำเล่าในความผิดพลาด เสียหาย โดยมีความอยาก ความมีกิเลส และตัณหาอุปาทาน มาเป็นเครื่องชี้นำความเจริญของวัตถุและบุคคล รวมทั้งจักรวรรดิของตน สุดท้ายก็มีความล่มสลายในที่สุด"

    "ที่ผ่านมาเราก็ทำอย่างนี้มาตลอด จักรวรรดิแต่อดีตที่ล่มสลายไปแล้ว ก็มีความเจริญถึงขีดสุด ถึงขนาดเขาสร้างพระอาทิตย์ขึ้นใช้ได้ ลองไปค้นดูก็ได้ว่ามีไหม โดยสร้างใช้ถึง ๗ ดวงได้ ภายในจักรวรรดิของตน (ข้อมูลเพิ่มเติมจะนำเสนอในโอกาสต่อไป : ผู้เขียน) ใช้พลังงานที่มีอยู่ในดวงอาทิตย์ที่สร้างขึ้นนั้น มาแปรสภาพเป็นพลังงานทุกอย่างที่ตัวเองจะใช้ และสุดท้าย ก็โดนเผาไหม้เพราะดวงอาทิตย์ และล่มสลายตามอายุขัยและความอยากของตน ขนาดจักรวรรดิที่เจริญสูงสุดยังล่มสลายมาแล้ว แล้วโลกกับสังคมก็กำลังจะเดินเข้าไปสู่ตรงนั้นอีก"

    "วิธีเดียวที่จะช่วยโลกได้ คือ ความร่มเย็นเป็นสุข จากจิตวิญญาณที่ใสสะอาดและสงบ หลวงปู่ไม่ได้มุ่งหวังให้ไปสู่ยุคทอง ยุคทองของพระศรีอริยเมตไตรย ที่มีแต่ความสุขสมบูรณ์"

    "พวกเรามีโอกาส ก็เร่งปฏิบัติ อย่างน้อยก็ช่วยตัวเองให้พ้นจากทุกข์ภัยและสัตว์ อย่างน้อยก็ภัยที่เกิดจากอารมณ์เลวร้ายที่มาฉุดกระชากลากถู ไปทำชั่ว ไม่ดี ไม่งาม ทั้งหลาย โลกและสังคมก็จะร่มเย็น กลียุคก็จะไม่ปรากฏ..."

    ถ้าเราศึกษาพระไตรปิฎก ไตรภูมิพระร่วง และพระเจ้าห้าร้อยชาติ ก็จะรู้ว่า พระสาวกทุกพระองค์ทำบุญร่วมกับพระพุทธเจ้า ทำบุญร่วมชาติกันมา หลวงปู่บอกไว้ในวันอบรมพระวิปัสสนาจารย์ว่า "พวกท่านต้องเกิดร่วมกับผม เกลียดอย่างไรก็ต้องเกิดกับผม รักผมอย่างไรก็ต้องเกิดร่วมกับผม เพราะท่านอยู่กับผม ฟังธรรมที่ผมสอน ถึงจะเกลียด จะรัก ก็ต้องเกิดร่วมกัน เพราะมันเป็นกรรม กรรมที่ผูกพันกันมา พยายามขยันทำดีหน่อย พยายามฝึกให้เป็นส่วนที่ดี สุดท้ายจะรู้ว่า ชีวิตนี้เป็นเรื่องที่หวังได้ ความสุขของชีวิตสามารถที่จะสร้างสรรค์ขึ้นมาได้"

    จะทำดีก็ตาม ทำชั่วก็ตาม ถ้าได้มีโอกาสฟังธรรมของกันและกัน มีโอกาสสร้างสัมพันธไมตรีต่อกัน หรือสร้างความโกรธแค้นต่อกัน ต้องได้มีโอกาสกลับมาเกิด เจอกัน ส่วนจะเจอในสถานภาพของความสุขหรือทุกข์นั้น หลวงปู่บอกว่า สุดแท้แต่กรรมใครกรรมมัน แต่อย่างไรก็หนีกันไม่พ้น สุดแต่ว่าจิตเราตั้งความปรารถนาไว้ตรงไหน

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    เจริญสติ

    จากนั้นหลวงปู่ก็ให้พวกเราลุกขึ้นยืนเจริญสติ ท่านได้นำว่า

    "...ให้เกิดความรู้สึกว่า กายนี้เป็นเหมือนนคร จิตกับสติเหมือนกับแขกหรือเจ้านคร ส่งความรู้สึกทั้งปวงเข้าไปในกายนี้ อย่าให้ออกไปนอกกายนี้ โยกตัว ยกส้นเท้าซ้ายถ่ายน้ำหนักมาที่ขาขวา ยกส้นเท้าขวาถ่ายน้ำหนักมาที่ขาซ้าย รับรู้น้ำหนักและไออุ่นที่ปรากฏ สลับไปมา ซ้าย ขวา ถ้ามันจะหลุดออกไปจากกาย ก็ให้ยืนอยู่กับที่ แล้วภาวนาอยู่ในใจว่า กระดูกท่อนหนึ่งกำลังยืนอยู่ มีอะไรที่ออกไปจากกระดูกหรือ ถ้าหลับตาแล้วเซก็ให้ลืมตา แล้วส่งความรู้สึกเข้ามาภายใน ถ้าแล่นออกไปข้างนอก ก็ให้สูดลมหายใจเข้าลึกๆกักทิ้งไว้ แล้วถามตัวเองว่า กระดูกท่อนหนึ่ง กำลังเสียสมดุลหรือ แล้วค่อยผ่อนลมหายใจออก เมื่อความรู้สึกตัวมันกลับมา เราก็เริ่มใช้ให้มันทำงานต่อ

    พระพุทธเจ้าใช้คำว่า "ฝึกสติ" แสดงว่ามีสติอยู่แล้ว แต่มันไม่แข็งแรง มันไม่รอบรู้ มันไม่เชี่ยวชาญ มันไม่มีศักยภาพ ไม่มีความสามารถ เราจึงจำเป็นต้องฝึก คอนโทรลมัน หัดที่จะเป็นนายมัน จนกระทั่งมันแกร่งและกล้าแข็งขึ้น จนกลายเป็นสมาธิ เมื่อสมาธิปรากฏ ปัญญาก็เกิด จิตก็จะใสสะอาด ปราณ จิต ปัญญา สมาธิ สติ ก็จะรวมกันเป็นหนึ่ง อำนาจและพลังของเราจะเหนือฟ้าและดิน..."

    นิมิตสอนศิษย์

    เมื่อหลวงปู่พาทุกคนเจริญสติแล้ว ก็แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ ท่านได้เล่าประสบการณ์ทางวิญญาณให้ฟังว่า

    เมื่อ ๒๐ ปีที่แล้ว ท่านไปธุดงค์แถวทุ่งคำสะอี ทางภาคอีสาน ตอนนั้นผ่านหมู่บ้านหนึ่ง มีเด็กคนหนึ่งกำพร้าพ่อ อายุประมาณสัก ๑๐ กว่าขวบ หลวงตาแก่ๆเอามาฝากท่านไว้ เพราะเห็นว่าท่านมีความรู้ที่จะให้เด็กได้เรียนรู้บ้าง จึงบวชเณรให้เด็กแล้วให้มาอยู่กับท่านชื่อ เณรจิ๋ว หลวงปู่ก็สอนมหาสติปัฏฐาน อย่างที่สอนพวกผม เณรจิ๋วจึงเป็นศิษย์คนแรกของหลวงปู่

    สมัยนั้นท่านจะเคร่งครัดในการอบรม ถ่ายทอด สั่งสอน แต่ท่านก็ไม่ได้ดูอายุขัยของเณรว่า จะตายเร็วหรือตายช้า ท่านพาเณรไปอยู่ถ้ำแสงเพชร ท่านบอกว่าตลอดเวลาที่อยู่ในถ้ำให้เจริญสติ อย่าให้ขาดสติ แล้วสั่งว่าตอนกลางคืนเวลามีใครมาเรียกก็อย่าลุก เณรจิ๋วก็เจริญสติได้พอสมควร

    มีอยู่คืนหนึ่งหลวงปู่ทดลองทำนิมิตให้ปรากฏเป็นแม่ของเณรจิ๋วมาเรียก ด้วยความคิดถึงแม่ เณรจิ๋วจึงขาดสติ เดินออกมาจากเขตอาคมที่หลวงปู่จัดเอาไว้ เมื่อออกเดินตามแม่มา เณรจิ๋วก็พบกับภาพอันสยดสยอง คือ จากแม่ตัวเองกลายเป็นเสือสมิง ไล่กัดเณรจิ๋ว จนหนีไป ๒-๓ ลูกเขา เช้าขึ้นมาหลวงปู่ต้องออกไปตาม ไปเจอเณรจิ๋วหนีตายไปอยู่บนยอดไม้ ยอดไม้ที่ขึ้นไปคือต้นงิ้ว ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ท่านจึงปฏิญาณว่า จะไม่ใช้วิธีนี้ในการสอนศิษย์ โดยการจับความรู้สึกทุกขณะจิต เพราะคิดว่ามันเป็นเรื่องโหดเกินไป จึงไม่ค่อยได้สอน เพราะมีความคิดว่ามันอยู่ที่บุญ บารมี ของแต่ละคนในการเรียนรู้

    ท่านบอกว่าอาจจะเป็นเพราะช่วงนั้น ท่านต้องการให้เณรจิ๋วมีความรู้ พร้อมที่จะไปช่วยสรรพสัตว์ ต่อมาท่านจึงดูอายุขัยของเณรจิ๋ว พบว่ามีอายุได้ไม่เกิน ๑๖ ปีก็ตาย ท่านเลยไม่ได้สอนมหาสติปัฏฐานแก่ใครอีกเลย แม้แต่พระที่อยู่ในวัดอ้อน้อย ก็ไม่ได้สอน เพราะคิดว่าเมื่อสอนไปแล้ว อาจต้องไปตาย และอีกอย่างการปฏิบัติก็ลำบากด้วย มันจะทำให้ท่านเสียความรู้สึกที่ต้องมาทุ่มเท คือ สอนแล้วทำไม่ได้

    การขจัดความกลัว

    การขจัดความหวาดกลัวนั้น ตามแบบของการฝึกฝนในธิเบต มีวิธีการฝึกที่เคร่งครัด รุนแรง เฉียบขาดมาก เพราะผู้ที่ฝึกสำเร็จแม้เพียงขั้นต้นจะเป็นผู้ที่ไม่กลัวอะไรอีกต่อไป โดยอาศัยความเชื่อเรื่องภูติผีปีศาจ หรือดวงวิญญาณ ถ้าเป็นลามะก็สอนให้มีจิตใจเมตตากรุณา ให้แผ่เมตตาจิตแก่ดวงวิญญาณ เป็นการทำให้ความเห็นแก่ตัวน้อยลง เห็นว่าตัวเองไม่มีความสำคัญอะไร เพราะในจักรวาลนี้เต็มไปด้วยวิญญาณเร่ร่อนมากมายทุกหนทุกแห่ง และลงท้ายตัวเองก็จะต้องเป็นอย่างนั้น ทำให้เกิดความคิดเรื่องความไม่เที่ยง อันเป็นหลักสำคัญอย่างหนึ่งในทางพระพุทธศาสนา

    ในขั้นต้นของการฝึกฝน ต้องถูกฝึกหัดอย่างร้ายแรง เฉียบขาด ในสิ่งที่จะไม่ให้กลัว วิธีการฝึกนั้นอาจจะดูว่าเป็นวิธีป่าเถื่อนหรือโหดเหี้ยม เช่น จับมัดแล้วเอาไปไว้ในที่ซึ่งร่ำลือว่าดุ แล้วทิ้งไว้ตลอดคืน จะกลัว จะร้องอะไรก็ไม่มีประโยชน์ เพราะจะไม่มีใครไปช่วยก่อนที่พระอาทิตย์จะขึ้น บางทีมัดไว้ตลอด ๓ วัน ๓ คืน โดยไม่ให้น้ำ ไม่ให้อาหาร และซ้ำไม่ให้นอนหลับอีกด้วย พอตกกลางคืนอาจารย์ก็ไปแกล้งหลอกหลอน คนที่ประสาทไม่แข็งพอ ก็เจ็บไข้ได้ป่วยล้มตายไปเป็นอันมาก

    หรือบางครั้งใช้วิธีเอาเชือกผูกคอเหมือนแขวนคอ แล้วผูกโยงไว้กับกิ่งไม้ วิธีการอย่างนี้ทำให้ต้องยืนอยู่ตลอดคืน ไม่สามารถจะนั่งได้ เพราะถ้าทิ้งตัวให้น้ำหนักตัวถ่วงลงไป เชือกก็จะรัดคอถึงแก่ความตาย

    เรื่องราวความเชื่อ คำสอน หลักปฏิบัติของทางธิเบตที่ผมนำมาเล่าให้ฟังนี้ เพราะเห็นว่าอิทธิพลของธิเบตได้เข้าถึงดินแดนล้านนา ชาวสยาม มากพอสมควร ในด้านความเชื่อ ประเพณีเก่าแก่โบราณ โดยที่เราไม่รู้ตัว เพราะว่าวัฒนธรรมทั้งจีน ธิเบต หลั่งไหลเข้ามาทางพม่า ซึ่งพรมแดนไทย พม่า ลาว ต่อเชื่อมกัน คงจะได้มีการเผยแพร่ความเชื่อมาต่อๆกัน และพม่า(บางเผ่า)ก็สืบเชื้อสายมาจากธิเบตแท้ ความเชื่อ คำสอน หลักทางศาสนาจึงยังคงเผยแพร่ผสมผสานเข้ามาถึงดินแดนสยามเรา

    วิธีการฝึกฝนการขจัดความกลัวของธิเบตพอแบ่งออกได้เป็น

    การฝึกขั้นที่ ๑

    การฝึกเพื่อให้หมดความกลัวนั้นต้องทำกันอย่างมาก ถึงที่สุด และเป็นธรรมดาของผู้ที่เป็นศิษย์ เมื่ออยู่ในที่เปลี่ยวและยิ่งถูกมัด โดยไม่มีทางหนี ก็ย่อมมีความรู้สึกมองเห็นไปต่างๆนานา ภาพที่หลอกตาตนเอง ย่อมจะมีขึ้นได้เป็นอันมาก การฝึกใจไม่ให้กลัวก็เป็นวิธีการฝึกอย่างดีวิเศษอย่างหนึ่ง เพราะถ้าไม่กลัวในสถานการณ์ ในกรณีอย่างนั้นแล้ว จะทำให้ใจกล้ามากขึ้น มีกำลังใจที่เข้มแข็ง แต่ข้อที่ควรระวังคือ เนื่องจากไม่มีวิธีฝึกหัดแบบค่อยเป็นค่อยไป เริ่มต้นก็ใช้วิธีหักโหมเช่นนี้ ถ้าเป็นคนประสาทอ่อน ก็อาจเจ็บป่วย พ่ายแพ้ หวาดกลัวมากขึ้นก็ได้

    การฝึกขั้นที่ ๒

    เมื่อได้ฝึกหัดขจัดความกลัวอยู่นาน จนเป็นที่พอใจของครูบาอาจารย์แล้ว ขั้นที่สองนี้จะฝึกฝนในลักษณะที่คล้ายกับการเลี้ยงวิญญาณ อาศัยหลักปรัชญาเข้ามาปะปนแอบแฝงอยู่ โดยมีวิธีการคือ อาจารย์ให้มนต์ไปท่อง เมื่อท่องได้ จำได้เรียบร้อยแล้ว อาจารย์ก็อธิบายความหมายให้ฟัง แล้วสั่งให้น้อมจิตคิดนึกให้เป็นไปตามความหมายของมนต์นั้น ซึ่งวิธีการของชาวธิเบตนี้เขาจะชี้แจงความหมายให้เข้าใจโดยตลอด และสอนให้ทำใจนึกไปตามความหมายนั้นด้วย ไม่ใช่ท่องอย่างเป็นของศักดิ์สิทธิ์ แต่ท่องด้วยการทำใจคิดไปตามถ้อยคำของมนต์ทุกประการ

    แล้วจึงใช้มนต์นั้นไปนั่งภาวนาสร้างมโนภาพอย่างแจ่มใส โดยอาจารย์จะสั่งให้ไปหาที่ริมแอ่งน้ำ ป่าช้า ที่ฝังศพ เผาศพ ที่ทิ้งศพให้สัตว์กิน ป่าเปลี่ยว เมื่อเลือกที่ได้เหมาะสมแล้วก็ให้นั่งอย่างสงบ และให้เป่า ปี่ที่ทำด้วยกระดูกแข้งของมนุษย์ การเป่าปี่เป็นการเรียกภูตผี จิตวิญญาณ เมื่อเป่าปี่แล้วจึงให้นั่งเข้าฌาน

    การเข้าฌานนั้น ให้สร้างมโนภาพเป็นเทพธิดา ภาพของเทพธิดาจะต้องสร้างให้ถือดาบคมไว้ในมือ จะต้องเห็นภาพเทพธิดาใช้ดาบนั้นตัดศีรษะผู้ฝึกหัด เมื่อตัดศีรษะแล้วก็ผ่าออก แหวะท้อง มีปีศาจมารุมแทะ ฉีก ทึ้ง แล้วก็ว่าคาถามีข้อความอธิบายความหมายได้ คือ "ข้าเกิดมาแล้วหลายครั้ง หลายหน จากเลือด จากเนื้อของคนอื่น ข้าเป็นหนี้เลือดเนื้อของคนทั้งหลาย ได้อาหาร เสื้อผ้า ความผาสุก จากการเลี้ยงดู จากแรงของคนอื่น ในวันนี้ข้าขอใช้หนี้เอาตัวของตัวเองออกทำลาย ร่างกายที่ข้าพเจ้ารักขอสละให้เป็นอาหารของภูติผีปีศาจทั้งหลาย ข้าจะให้เนื้อแก่ผู้ที่หิว ให้เลือดแก่ผู้ที่กระหาย ให้หนังปกป้องความหนาวเป็นผ้านุ่งห่ม ให้กระดูกสำหรับจุดไฟทำฟืน ให้ความอบอุ่น ข้าให้ความสุขแก่คนที่ทุกข์ ให้ลมหายใจของข้าแก่คนที่ตายไป ให้กลับฟื้นคืนมา"

    เรื่องที่เล่ามาข้างต้นนี้ แสดงให้เห็นว่า การฝึกหัดตามลัทธินิกายของธิเบตนั้น เป็นการฝึกอย่างจริงจัง เพื่อขจัดความหวาดกลัว แต่ถ้าเรามีสติซึ่งเกิดจากการเรียนรู้ในมหาสติปัฏฐาน เราก็จะเป็นผู้ที่ไม่หวาดกลัว สะดุ้งผวา ต่อสิ่งใด สถานการณ์ใดๆ

    หลวงปู่จะเจริญสติทุกครั้ง จะสังเกตเห็นว่า ท่านจะเดินทุกวัน โดยเฉพาะช่วงฉันใหม่ๆ จะเดินดูพระใหม่ นอกจากเดินแล้วยังตะโกนอีก คืนนี้ก็ให้พระลุกขึ้นมาทำสติ กลับไปเจริญสติ แล้วนอน กำหนดจิตเอาไว้ว่า เราจะตื่นกี่โมง เมื่อถึงเวลานอนอิ่ม จะตื่นขึ้นมาเอง ไม่ง่วงด้วย จิตมันจะอิ่ม ความอิ่มมันปรากฏ

    จะมีปีติสุข ขนพอง ขนลุกซู่ซ่า ไม่เมื่อย ไม่เหนื่อย ไม่เพลีย อาการเหล่านี้มันเฉียดองค์ฌานแล้ว อยู่ระหว่าง อุปจารสมาธิ กับ ปฐมฌาน กำลังขนาดนี้ เจริญวิปัสสนาญาณเพื่อบรรลุ มรรคผล นิพพานได้ ถ้ามีขั้นตอนองค์ฌานที่มั่นคง หรืออุปจารสมาธิที่ตั้งมั่น ก็พิจารณาไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เริ่มต้นจากโครงกระดูก แล้วแปรเปลี่ยนสภาพไป จนกลายเป็นความว่าง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เมื่อเจริญวิปัสสนาจนกระทั่งรู้ชัด เห็นแจ้งตามความเป็นจริง ก็จะบรรลุมรรคผล มีดวงตาปัญญาญาณเห็นธรรม เข้าขั้นพระโสดาบันได้

    ความสงบ สันตินั้น เกิดขึ้นแม้ขณะอ่านหนังสือ สิ่งที่หลวงปู่เตือนไว้ก็คือ อย่าไปหยุดอยู่ในปีติสุข เพราะถ้าหยุดในปีติสุขแล้ว ทุกครั้งเวลาเจริญสติก็จะไปหยุดอยู่ตรงนั้น ซึ่งยังไม่พอ ต้องเพิกถอนปีติซะ ไม่ใส่ใจในปีตินั้น แล้วเดินเข้าไปสู่องค์คุณของสมาธิจิตเบื้องสูง เพื่อจะนำเอาพลังสมาธิจิตเบื้องสูงนั้นไปใช้พิจารณาหลักไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    คุณสมบัติของมหาสติปัฏฐานนั้นจึงยิ่งใหญ่ มีอำนาจเหนือฟ้า ถ้าเรารู้จักจะศึกษามันอย่างถ่องแท้ด้วยตัวของเราเอง สำคัญว่าอย่าทิ้งความเพียร บางครั้งหลวงปู่มีน้ำตาไหลออกมา ท่านบอกว่า มีด้วยความรู้สึกว่า คุณของพระพุทธเจ้าช่างยิ่งใหญ่ คุณของพระธรรมช่างกว้างขวาง แผ่ไพศาลไปไกล คุณของพระสงฆ์น่าซึ้งใจ เคารพบูชาไว้ในใจ การฝึกจิตมันเป็นความมหัศจรรย์ที่ยิ่งใหญ่ ที่เราต้องเพียรพยายามทำมันอยู่ตลอดไม่ว่าจะเป็นคฤหัสถ์ หรือเป็นพระ
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>ตามรอยพระพุทธะ ตอนที่ 5 (ภาค 3 ภาคธุดงค์ (ต่อ))</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>19 พฤศจิกายน 2544 14:22 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD><TD vAlign=center align=right><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD class=PageTab vAlign=center align=middle>1 | 2 </TD><TD width=3>[​IMG]</TD><TD vAlign=center align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD height=17 width=7>[​IMG]</TD><TD height=17 background=/images/b_bg.gif align=middle>หน้าถัดไป</TD><TD height=17 width=8>[​IMG]</TD><TD height=17 width=11>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=166><TBODY><TR><TD vAlign=top width=166 align=middle>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ตามรอยพระพุทธะ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=5 vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ธรรมชาติของจิต

    พระกับธรรมชาตินั้นเป็นของคู่กัน หลวงปู่บอกไว้ว่า เมื่อใดที่พระปฏิเสธธรรมชาติ ไปอยู่ตึกรามบ้านช่องเสียหมด ก็จะห่างไกลออกจากความดื่มด่ำแห่งความบริสุทธิ์ ความสันติสุขร่มเย็น ธรรมชาติมันทำให้เราเย็นกาย ธรรมะทำให้เราเย็นใจ ธรรมชาติเย็นแบบมีชีวิตวิญญาณ เย็นใจคือเย็นธรรมะ มีธรรมะสำหรับทำให้ใจเย็น การปฏิบัติธรรมจึงอย่าท้อแท้ อย่าท้อถอย เราต้องรู้จักสภาพธรรมชาติของจิต โดยธรรมชาติของจิตมีทั้งส่วนที่เป็นกุศลและอกุศล ในขณะที่มันเกิดในส่วนที่เป็นกุศล มันก็ทำให้เราชาญฉลาด รู้เท่าทันสภาวะอารมณ์ แล้วเราก็จะกำราบสิ่งที่เป็นอกุศลได้ แต่ถ้าเกิดจิตส่วนที่เป็นอกุศล แล้วเราจะไปกำราบ คิดจะเอาชนะ จึงต้องใช้กำลังมาก ใช้ความเพียร ใช้ขันติบารมีอย่างยิ่ง ใช้บารมีธรรมอย่างมากกับการกำราบจิตที่เป็นอกุศล ซึ่งบางครั้งจิตที่เป็นอกุศล ก็แฝงมาในรูปของมิตร ที่เราไม่คิดว่ามันเป็นศัตรู หลวงปู่ท่านจึงเขียนโศลกสอนลูกหลานไว้บทหนึ่งว่า

    "ลูกรัก...
    ขอเพียงชั่วชีวิตเจ้า รู้จักแยกมิตรกับศัตรูให้ออกภายในตัวเจ้า พ่อว่าเจ้าคือพระพุทธะองค์ประเสริฐองค์หนึ่ง สำคัญว่าเราแยกไม่ออกระหว่างมิตรกับศัตรูในตัวเรา"

    ฉะนั้นกระบวนการของจิตจึงมหัศจรรย์ พิสดาร เราจะสังเกตได้ว่า บางวันเราก็จะรู้สึกชาญฉลาด สงบ สันติ บางวันไม่ต้องทำอะไร แค่หลับตาก็เป็นสติแล้ว มีสมาธิปรากฏ บางวันนั่งหลับตา พยายามยืน เดิน นั่ง นอน ก็แล้ว มันยังไม่สงบ มันต้องหาวิธีเรื่อยไป ขอเพียงเรามีความเพียร มันก็จะข่มจิตที่เป็นอกุศลได้ แต่ถ้าไม่มีความเพียร แล้วเราเลิกไปเลย สุดท้ายเราจะพ่ายแพ้มัน อกุศลก็จะเกิดต่อๆไป ที่หลวงปู่บอกไว้ว่า มันจะทำให้อายุขัยของจิตที่เป็นอกุศลมันยาวต่อไปอีก

    ดังนั้น กระบวนการของจิตจึงยากต่อการที่จะไปรับรู้และตามทันมันได้ เมื่อใดที่อกุศลเกิด หากขาดความเพียร ขาดขันติ เราก็ไม่มีสิทธิ์จะเอาชนะมัน และมันจะต้องอายุยาว เกิดไปๆๆๆ จนกว่ามันจะหมด อายุขัยของอกุศล ที่เรียกว่าอกุศลกรรมแต่อดีตชาติ ที่มันอาจจะตามมา หรืออกุศลกรรมในปัจจุบัน ที่หลวงปู่บอกว่าเกิดจากเราที่ ตาเห็น หูฟัง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส กายสัมผัส แล้วไปปรุงมัน จึงกลายเป็นอกุศลเข้ามา

    ส่วนจิตที่เป็นกุศล ทั้งที่เป็นกุศลที่มีมาแต่อดีตชาติ หรือเป็นกุศลที่เกิดในปัจจุบันชาติ เมื่อเกิดกระบวนการของจิตมันจะทำให้เราฉลาด ทำให้เรารอบรู้เท่าทัน เราจะอ่านมันออก บอกมันได้ เข้าใจมันถูก ซึ่งบางครั้งเราจะเป็นคนฉลาด บางครั้งเราก็โง่ เหตุเพราะสภาพของจิตแต่ละดวงที่มันเกิดดับไม่เหมือนกัน พระพุทธเจ้าจึงสอนให้เราฝึกจิตเพื่อให้เป็นกุศลอยู่ตลอดเวลา หลวงปู่จึงสอนว่า หากเรามีจิตกุศลสั่งสมไว้ เกิดต่อไปจะกลายเป็นคนฉลาด ส่วนปัจจุบันก็ยิ่งทำให้มันฉลาดขึ้นโดยการฝึกปรือ เมื่อเรามาด้วยความฉลาด เราก็ควรจะทำให้ความฉลาดนั้นเจริญเติบโตอีกยาวนานสืบต่อไป วิธีทำให้เกิดจิตกุศลบ่อยๆคือ พยายามเจริญสติ

    ธรรมชาติของจิต จะมีสภาพรับรู้ คือ การรับรู้อารมณ์ ในขณะที่มีการรับรู้นั้น ท่านบอกว่าจะมีสัญญา(การกำหนดหมาย, ความจำได้หมายรู้ คือ หมายรู้ไว้ซึ่ง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และอารมณ์ที่เกิดกับใจ) ในการเก็บข้อมูลของการรับรู้นั้น ซึ่งสองสิ่งนี้จะเกิดพร้อมกันระหว่างสัญญากับจิต ส่วนสติเป็นสิ่งที่เกิดทีหลัง สติเป็นเรื่องที่เกิดจากกระบวนการของจิตที่เกิดขึ้นด้วยความฉลาด คนฉลาดจะมีสติ คนที่โง่มากๆจึงไม่มีสติ กระบวนการของสติจึงต้องฝึกให้เกิดขึ้นทุกขณะจิต มันจึงจะไปกำราบส่วนที่เป็นอกุศลได้

    ระหว่างที่ฝึกนั้นหลวงปู่จะให้กำลังใจ กระตุ้นพวกเราเสมอว่า การที่จะเอาชนะอารมณ์ความยุ่งฟุ้งซ่านหงุดหงิดรำคาญนั้น บางครั้งก็มีความเครียด ต้องรู้จักหาวิธีมาแก้ไข ถึงแม้คนอื่นเขาจะขนพอง ขนลุก เกิดปีติ แต่เราไม่เกิดอะไรท่านก็บอกว่าอย่าไปหยุดมัน เพราะขณะที่กำลังพยายามทำความเพียร อกุศลจิตอาจจะเกิดขึ้น แต่ให้พยายามต่อไป เพราะถือว่าทำดีแล้ว ดีกว่าไม่ได้ทำความเพียร แล้วไปสร้างเรื่องเลวร้ายเสียหาย เรื่องของบุญเรื่องของกุศล มันเป็นนามธรรม มันไม่ใช่เป็นเงินเป็นทอง เป็นรูปเป็นร่าง การทำบุญกุศลในพระพุทธศาสนา ต้องค่อยเป็นค่อยไป อย่าไปหักโหม

    การเจริญสติเป็นเรื่องเป็นราวของการมีชีวิตที่ถูกตรง และวิถีทางของมันก็คือ เราอย่าไปเครียด คร่ำเคร่ง ท่านได้บอกพวกเราว่า ขณะที่เรากำลังรู้ลมหายใจแล้วเกิดความรู้สึกว่า กระดูกเราก็อยากเห็น ลมหายใจเราก็อยากรู้ หากเกิดอารมณ์อย่างนี้ต้องเลือกเอาสักอย่างหนึ่ง คือ เมื่อกำลังเจริญกรรมฐานกองใด เช่น กำลังดูกระดูก ก็ต้องรู้สภาพสภาวธรรมของจิตว่า เมื่อดูกระดูกแล้วจิตมันตั้งมั่นได้ดี เราก็คิดว่าอยากจะทำให้จิตมันละเอียดขึ้น โดยการเจริญอานาปานสติ ก็พิจารณาว่ากระดูกกำลังจะระลึกรู้ลมหายใจ เปลี่ยนจากกระดูกมาระลึกรู้ลมหายใจ

    ถ้าเกิดเวทนาก็พิจารณาเวทนาในเวทนานั้นว่า เวทนามีอะไรปรากฏ นี้เรียกว่าจากกายเข้าไปสู่เวทนา ในขณะที่ดูกระดูกแล้วปรากฏว่าเวทนามันปรากฏ มันเกิดปวดตรงนั้น เจ็บตรงนี้ กระดูกชักพร่ามัว จับไม่ชัด เกิดเวทนาขึ้น ก็ไปพิจารณาเวทนาทันที "กระดูกนี้กำลังเป็นเวทนา" กระบวนการทางมายาแห่งจิต มันจึงคอยฉุดเราออกไปจากการเจริญสติ ซึ่งมันมักจะสร้างเครื่องล่อให้เราเสมอ ทั้งของชอบและของชัง

    เมื่อสามารถพิจารณาได้ที่เรียกว่า กุศลจิต รู้เท่าทันสภาวธรรมแห่งจิตที่ปรากฏขึ้นเฉพาะหน้า เป็นปัจจุบันธรรม เมื่อทำได้ก็ถือว่าเราสามารถจะครองสติให้อยู่ได้ในขณะนั้น โลภะ โทสะ โมหะ จะไม่อุบัติขึ้น เมื่อไม่อุบัติ เราหยุดชาติได้ตอนนั้น หยุดชราได้ตอนนั้น หยุดมรณะได้ตอนนั้น แล้วถ้าทำต่อไปเรื่อยๆมันก็จะหยุด ที่เหลือก็เป็นอายุขัยของเรา การสืบต่อในอนาคตจะไม่มี เผ่าพันธุ์ก็จะไม่สร้างสรรค์ขึ้น จะไม่มีการเกิดในโอกาสต่อไป แต่ถ้าเจริญแบบสมถะนั้นหลวงปู่แนะนำว่า ให้มีสมถะ เจริญสมถะ เข้าองค์ฌาน จนกระทั่งถึงสมาบัติแปด แล้วก็ถอยกลับจากสมาบัติแปดลงมาสู่ฌานที่สี่ สาม สอง หนึ่ง

    การสร้างความเพียรจึงเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับชีวิตมนุษย์ ถ้าตราบใดที่เรามีเวียนเกิดเวียนตายเวียนผูกพันกันอยู่ ไม่มีสิ้นสุด เพียงแค่เราเปลี่ยนร่างอยู่เท่านั้น เหตุผลก็เพราะความอยาก อวิชาความไม่รู้ แล้วทำให้เราเกิดความอยาก เกิดความอยากแล้วเกิดความปรุง เกิดความปรุงก็เกิดอุปาทานยึดถือ เมื่อยึดถือเราก็ตะกายเปลี่ยน ย้ายไปอยู่ตรงนี้ ย้ายไปอยู่ตรงนั้น ดังนั้น ขอเพียงมีสติรับรู้มัน ตามทันมัน มีปัญญาเข้าใจมันอย่างละเอียดถี่ถ้วน

    โพธิจิต

    พูดถึงเรื่องโพธิจิต หลวงปู่บอกว่า การที่มนุษย์เราจะรู้ตัวว่าเป็นพระโพธิสัตว์หรือมีโพธิจิตนั้น ไม่ใช่เป็นเพราะเราอยาก เห็นเขาเป็นแล้วเราต้องการเป็น เราต้องมีอตีตังสญาณว่าอดีตชาติเราสะสมโพธิญาณ โพธิจิตมาขนาดไหน แต่เราก็สามารถรับรู้ได้ เช่น ขณะที่เห็นสัตว์กำลังตกทุกข์ได้ยาก เรามีจิตใจที่เอื้อ อาทรแก่สัตว์เหล่านั้น โพธิจิตก็เกิดกับเราแล้ว แต่มันต้องมีปรากฏอยู่ทุกขณะจิต ทุกลมหายใจ เลือดเนื้อ วิญญาณ

    มีอยู่ครั้งหนึ่งมีภิกษุถามหลวงปู่ว่า คนทั่วไปมีสิทธิ์จะนิพพานได้มั้ย ถ้าไม่บวชเป็นพระ ท่านบอกว่า ถ้าไม่บวชเป็นพระมีสิทธิ์นิพพานได้ แต่อยู่ได้ไม่เกิน ๗ วัน เพราะศัพท์คำว่านิพพานนี่ไม่ใช่ว่า หมายถึงคนไม่มีกิเลส สภาพของคนที่ไม่มีกิเลสมันจะอยู่ในโลกไม่ได้ มันไม่มีกิจกรรมอะไรที่จะทำ เพราะอย่างพระเมื่อบวชเข้ามาแล้ว เมื่อถึงคำว่านิพพาน มันก็มีงานที่จะทำ คือปลดปล่อยช่วยเหลือสรรพสัตว์ ถ่ายทอดความรู้ สั่งสอนธรรมะ แต่มนุษย์ที่เป็นคฤหัสถ์ถ้านิพพาน ก็มีที่พักอันคับแคบ มีที่อยู่อันคับแคบ มีสังคมอันคับแคบ จะไปเดินไปสอนก็ไม่มีใครยอมรับ เพราะฉะนั้นสภาพที่เป็นที่อยู่ เมื่อเราถึงขั้นสูงสุด เบญจขันธ์ก็ต้องทำลายลง นั่นคือสภาพที่ว่า สอุปาทิเสสนิพพาน ฆราวาสเวลาทำถึงคำว่านิพพาน ส่วนใหญ่แล้วอยู่ได้ไม่เกิน ๗ วัน เพราะกิจกรรมที่ทำอยู่ข้างนอกสังคมไม่ยอมรับ สุดท้ายก็ทำลายขันธ์ตัวเอง เพราะคนที่ถึงนิพพานสามารถคุมธาตุขันธ์ได้ (นิพพาน - ภาวะแห่งนิพพาน; นิพพาน หรือนิพพานธาตุ ๒ คือ สอุปาทิเสส นิพพาน ดับกิเลสมีเบญจขันธ์เหลือ ๑ อนุปาทิเสสนิพพาน ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ ๑)
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ธรรมชาติของหลวงปู่

    ตอนเช้าๆของทุกวันที่อยู่น้ำตกลำอีซู พวกผมจะแอบไปดูหลวงปู่ เพราะว่ากลดของผมอยู่ไม่ไกลจากกุฏิท่านเท่าไหร่ โดยมีโขดหินใหญ่บังไว้เท่านั้นเอง ท่านจะออกกำลังกายโดยการรำมวยจีนที่ลานหินหน้ากุฏิ ซึ่งเท่าที่ผมดูกันนั้น ลักษณะคล้าย"มวยฝ่ามือแปดทิศ" และ "มวยไท้เก๊ก" ซึ่งหลักของวิชามวยแปดทิศนั้นเป็นการก้าวย่างไปตามทิศตำแหน่งแปดทิศ เดี๋ยวหน้า เดี๋ยวหลัง เดี๋ยววนซ้าย วนขวา ศัตรูจะถูกก่อกวนจนตาพร่าลาย ต้องหมุนตัวตามจนต้านรับไม่อยู่ นับว่าเป็นมวยที่พิสดารและร้ายกาจ ส่วนหลักของไท้เก๊กนั้นจะช้า เบา ต่อเนื่องเป็นวงจร ไหลต่อเนื่องไปดังสายน้ำ แฝงไปด้วยพลัง

    การที่ท่านเดินตามแบบมวยแปดทิศนี้ ผมเข้าใจว่าเป็นการฝึกการเดิน การใช้เท้า ซึ่งคล้ายกับการเดินจงกรม หรือวิชาการเดินรับรู้น้ำหนัก ที่ท่านสอนให้แก่พระวิปัสสนาจารย์ ซึ่งต้องมีมหาสติอันยิ่งในการรับรู้การเดิน และที่สำคัญเป็นการฝึกตามแบบมวยภายใน(มวยไท้เก๊ก และมวยฝ่ามือแปดทิศ) ซึ่งเป็นการฝึกเกี่ยวกับการเดินลมปราณไปในตัวด้วย การฝึกนี้มีส่วนสัมพันธ์และมีส่วนช่วยในการฝึกพื้นฐานของลมเจ็ดฐาน หรือการฝึกอานาปานสติ

    การที่กลุ่มของพวกผมประมาณ ๔-๕ คน แอบดูอยู่นั้น ท่านก็คงรู้ หลายวันเข้าพวกเราหามุมกันคนละมุม ยืนบ้าง นั่งบ้าง เพื่อดูกันแบบชัดๆ แต่ก็อยู่ห่างจากท่านพอสมควร เพราะว่ามีโขดหินใหญ่บังช่วงเท้าอยู่ จึงไม่เห็นเทคนิคเคล็ดลับวิธีการเดินที่ท่านฝึกประจำ พวกเราหลายคนคิดจะไปขออนุญาตให้ท่านสอนแต่ไม่กล้า ได้แต่แอบๆดู ถึงแม้เป็นการเห็นในท่วงท่ารำเพียงบางท่า ไม่ครบทั้งหมด ก็นับว่าเป็นวาสนาอย่างมากแล้ว ที่ท่านถ่ายทอดวิชาโดยทางอ้อมให้พวกเรา ท่ารำของหลวงปู่ดูอ่อนช้า เบา ไหลต่อเนื่อง สวยงามมาก ตามแบบของการรำมวย แม้เป็นการรำมวยเพียงไม่กี่ท่า ซึ่งหากใครที่พอได้ฝึกมวยมาบ้างจะรู้ได้ทันทีว่า ท่านผู้นี้เชี่ยวชาญระดับปรมาจารย์ทีเดียว ซึ่งเท่าที่ผมเคยเห็นคนรำมวยมานั้น ยังไม่เห็นใครรำได้สมบูรณ์แบบ ที่เขาใช้คำว่าเพอร์เฟก(Perfect) เท่ากับหลวงปู่เลย จึงนับว่าท่านเป็นสุดยอดในด้านนี้ทีเดียว

    ภายหลังจากที่ท่านอบอุ่นร่างกายและรำมวยเสร็จ ท่านจะกระโดด กระโจน ทะยานดั่งราชสีห์ ไปตามโขดหินน้อยใหญ่ แม้หินนั้นจะอยู่ไกลหรือลื่นถลาอย่างไร ท่านก็อาศัยจังหวะการสปริงตัว คล้ายกับคนที่มีวิชาตัวเบา ผมเห็นท่านฝึกกระโดด กระโจนไปมาหลายๆรอบตามโขดหินต่างๆ ดูท่านจะมีความสุขกับการกระโดด ความเป็นธรรมชาติของท่าน ณ เวลานี้ ดูแตกต่างจากที่เราเคยเห็นที่วัด หรือที่ไหน ดูท่านมีความสุขกับการกระโดดไปมา ผมจึงเข้าใจว่าทำไมท่านจึงพูดเสมอว่า ชอบที่จะอยู่คนเดียวในป่า เพราะว่าป่า ธรรมชาติ สิ่งรอบกายเหล่านี้มันให้ความสุขของชีวิตแก่ท่านได้อย่างนี้นี่เอง

    ในระหว่างอยู่ที่น้ำตก หลายๆวันนี้จะเห็นหลวงปู่เดินไปตามลำธารน้ำตก จากข้างล่างน้ำตกที่พระอยู่กัน จนมาถึงกุฏิท่าน เพื่อคอยดูแล คอยเตือนสติ คอยกระตุ้นด้วยความเอื้ออาทรสุดชีวิตให้พวกเราฝึกสติ โดยท่านจะตะโกน และมีพระอีกรูปหนึ่งเดินตามหลังคอยตีฝาบาตรดังๆ ว่า "ระวัง! อย่าหนีเที่ยว" หรือบางวันก็จะตะโกนว่า "ระวัง! ไฟจะไหม้ตัว" หรือ "ไฟสามกองกำลังไหม้เราอยู่"

    ซึ่งท่านได้อธิบายให้พวกเราฟังตอนหลังว่า ไฟสามกองที่กำลังไหม้เราอยู่นั้นก็คือ ไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ มันกำลังเผารนเราอยู่ ขืนไปนอนแช่ไฟอยู่ ไม่มีสิทธิ์จะโผล่พ้นจากหลุมไฟ จงตื่นขึ้นมาดับเสีย เป็นคำที่ท่านเมตตาสั่งสอน เตือนสติ พวกเราอยู่เสมอ

    ตามรอยหลวงปู่

    วันสุดท้ายของการอยู่ที่น้ำตก หลวงปู่บอกว่าจะเดินทางกลับไปที่ธุดงคสถาน ภายหลังจากฉันเพลเสร็จแล้ว ให้เก็บข้าวของให้เรียบร้อย ระหว่างที่ทุกคนเก็บกลดและเตรียมของเดินทางกลับนั้น มีเรื่องเล่าว่าท่านคุยกับนกกางเขนดงอยู่เป็นเวลานาน ซึ่งเรื่องนี้เพื่อนภิกษุที่อยู่ใกล้ๆผมได้มาเล่าให้ผมฟังอีกทีว่าเห็นท่านยืนคุยอยู่ตั้งนานสองนาน ตอนแรกก็ไม่รู้ว่าท่านคุยกับใคร เห็นแต่ท่านกับเจ้านกที่อยู่ใกล้ๆเท่านั้น ซึ่งเจ้านกตัวนี้เวลาที่พวกเราไปเล่นน้ำตกที่ลำธารหน้ากุฏิหลวงปู่ หรือเวลาที่ท่านมาอบรมสั่งสอนตอนหัวค่ำนั้น จะเห็นมันบินวนเวียนอยู่แถวนั้นประจำ

    ตอนบ่ายของวันที่ ๘ พวกเราเตรียมเดินทางกลับ เมื่อทุกคนพร้อมแล้วหลวงปู่ก็เดินนำออกจากน้ำตก โดยมีกลุ่มของพวกผมเดินเป็นกลุ่มแรก และผมก็ได้เดินนำหน้ากลุ่มตามหลังหลวงปู่ นับเป็นความโชคดี เป็นวาสนาอันแท้ที่ได้เดินธุดงค์กับครูบาอาจารย์ ผมสังเกตเห็นท่านเดินไปด้วย ดูต้นไม้รอบๆข้างไปด้วย ท่านมีผ้าเช็ดหน้าสีแดงชุบน้ำมาด้วยผืนหนึ่งเท่านั้น แล้วท่านก็ชี้ให้ผมดูว่า นี่เป็นผลงานของมนุษย์ที่ไม่รักป่า เพราะต้นไม้เล็กๆก็ยังตัดเหลือแต่ตอ พอท่านเห็นต้นไม้ใหญ่ๆก็ชี้บอกว่ามันชื่ออะไร ลักษณะเป็นอย่างไร ท่านยังเปรยๆออกมาว่า พวกแก(ต้นไม้) มันโชคร้ายที่ดันออกลำต้นมาตรง สวยมาก คนเห็นก็ชอบ นี่ละหนาความสวยงามมันเป็นภัยอย่างนี้ละ พวกเจ้าน่าที่จะออกลำต้นให้มันคดๆงอๆบ้าง คนเห็นจะได้ไม่ชอบ ไม่ตัด แต่ว่าในอนาคตก็ไม่แน่เหมือนกันนะ

    ในระหว่างที่พวกเราเดินออกมาจากป่าน้ำตกที่ชุ่มเย็นสบาย ผ่านป่าไผ่ ป่ารกทึบ เข้าสู่ป่าโปร่ง ที่เริ่มจะมีทางรถเข้ามาถึงได้บ้าง ก็เห็นรถกระบะมีคน ๔-๕ คน พอรถเห็นขบวนพระก็หยุดและรีบล่าถอยออกไป หลวงปู่บอกว่า "ไอ้พวกกินป่า" พอผ่านป่าโปร่งเข้าสู่ป่าที่มีต้นไม้เล็ก ต้นไม้น้อย ก็ถึงลำธาร ท่านหันมาถามผมว่า ตอนมามาทางนี้หรือเปล่า ผมบอกว่าไม่ได้มาทางนี้ครับ ท่านเลยพาพวกเราลัดเลาะไปตามลำธาร เรื่อยๆลงไป เหนื่อยก็พักบ้าง แล้วเดินต่อไปจนพบไฟป่า ซึ่งแถบนั้นจะมีไฟป่ามาก แต่คงจะไม่ได้เกิดจากไฟธรรมชาติหรอก คงเกิดจากน้ำมือคนนี่เอง แม้ขณะตอนปักกลดที่น้ำตก พระบางรูปที่พักอยู่ริมเขา กลางคืนวันหนึ่งเห็นมีเสียงตะโกนร้องเรียกให้ไปช่วยกันดับไฟ เพราะกำลังไหม้เข้ามาใกล้กลดทุกที และบริเวณที่ข้างลำธารนี้ก็เช่นกัน เห็นมีไม้ตัดไว้เป็นกอง และคงมีการจุดไฟเผาป่าแถบนั้น เพราะเวลามีสัตว์ป่าลงมากินน้ำจะได้แอบดักยิงได้ง่ายขึ้น

    หลวงปู่เห็นไฟป่ากำลังลุกไหม้ข้างลำธาร ท่านจึงสั่งให้พวกเราช่วยกัน โดยท่านเป็นผู้นำสั่งการ บอกวิธีการให้หักกิ่งใบไม้ดิบ ตีไฟให้ดับ ประกอบกับที่ข้างลำธารมีทรายมาก พวกเราจึงช่วยกันตะกุยทรายสาดใส่ต้นไม้ที่กำลังไหม้ให้ดับไป ท่านบอกว่าเป็นการช่วยสรรพสัตว์เพื่อความร่มเย็น สงบสุข ของโลกและธรรมชาติ พวกเราจึงช่วยกันลุยจนไฟดับ

    เมื่อดับไฟป่าเสร็จแล้ว จึงเดินทางกันต่อข้ามลำธารมาอีกฝั่ง มาถึงกระท่อมร้างและหยุดพักใต้ร่มมะขามใหญ่ จากนั้นเดินทางต่อมาทางไร่อ้อย ตอนแรกหลวงปู่ก็เดินอย่างช้าๆไปเรื่อยๆ แล้วท่านก็เดินเร็วขึ้นๆ เดินนำลิ่วจนกระทั่งพระที่อยู่ด้านหลังเดินตามไม่ทัน ต้องวิ่งกันบ้าง เดินเร็วๆกันบ้างอย่างเต็มที่ ผมก็ไม่ท้อ ถึงของจะหนักก็ยังเดินตามไปติดๆ ท่านบอกว่าให้รีบเดิน ที่นี่เป็นที่โล่งอากาศร้อน เราไปแวะพักป่าข้างหน้าดีกว่า และทางก็เป็นดินทรายเดินได้ยากมาก ท่านถอดรองเท้าเดิน ผมรับรองเท้าจากท่านมาถือไว้ ท่านก็เดิน กระโดด กระโจน ไปตามแอ่งดิน สูงๆต่ำๆอย่างเร็วมาก คล้ายกับที่ฝึกกระโดดที่น้ำตก และรอยเท้าของท่านที่เหยียบบนพื้นดินทรายนั้น ทำให้เห็นลักษณะการเหยียบย่ำอย่างชัดเจนมาก!(วิชาเดินถ่ายเทน้ำหนักภาคปฏิบัติของแท้)

    จะเห็นว่าท่านมีการถ่ายเทน้ำหนักที่ดีมากและก้าวยาว โดยสังเกตจากรอยเท้า(พระพุทธะอิสระ)ที่ปลายเท้าชี้ไปข้างหน้าเสมอ น้ำหนักที่เหยียบบนพื้นเสมอกัน ไม่เอียงข้างใดข้างหนึ่ง ลักษณะของการถ่ายเทจากส้นเท้าถึงปลายเท้าบ่งบอกได้ว่า มีการใช้ส้นเท้าเหยียบลงก่อน แล้วเดินไปข้างหน้าด้วยการสปริงที่ปลายเท้า โดยเป็นการยกส้นเท้าก่อนที่จะก้าวเดิน ซึ่งเป็นไปตามที่หลวงปู่เคยสอนที่วัดวังตะกู ตอนอบรมพระวิปัสสนาจารย์เรื่องการเดินโยกโคนน้ำหนัก แต่ผมเพิ่งจะเห็นประสิทธิภาพ วิธีการใช้ และผลจากการใช้ก็วันที่เดินตามท่านวันนี้นี่แหละ โดยผมพยายามจะเดินตามรอยเท้าของท่าน และสังเกตการก้าวเดินจากท่านอีกที แต่ก็เดินตามไม่ทันสักที

    เพราะว่ายิ่งเดินหลวงปู่ก็ยิ่งเดินเร็วขึ้น เหมือนดังใช้เท้าแตะพื้นนิดเดียว และลักษณะการหายใจของท่านก็เป็นจังหวะ เหงื่อไม่มีไหลออกมาเลย แต่พวกผมถึงแม้จะเป็นพระหนุ่มๆ ยังเดินตามท่านไม่ทัน บางครั้งถึงกับต้องวิ่งจึงจะตามทัน และบางพื้นที่ที่เป็นเนินสูงๆต่ำๆ ท่านก็เดินแบบปลายเท้าเฉียง ถ้าเป็นที่ทราบที่พื้นเสมอกันท่านจะเดินเท้าขนานกันไป บางครั้งก็เป็นแนวเดียวกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับพื้นที่นั้นๆ

    เมื่อเดินทางมาถึงป่าข้างหน้าก็หยุดพัก พวกเราเหงื่อโทรมกายกันหมด ท่านถามพระที่อ้วนๆองค์หนึ่งว่าเป็นไงบ้าง พระอ้วนก็ตอบทั้งที่หอบอยู่ว่า สบายครับ ทีนี้ละท่านดินเร็วกว่าเดิมอีก จนพวกเราก้าวตามไม่ทัน ถึงกับต้องวิ่ง ถึงจะตามทัน พอถึงที่ป่าข้างหน้าท่านก็ถามพระอ้วนว่าเป็นไงบ้าง พระอ้วนก็ตอบทั้งๆที่หอบแฮกๆว่าสบายครับอีก คราวนี้ท่านเดินเร็วกว่าเดิมมาก พวกเราต้องวิ่งถึงจะตามท่านทัน ตอนหลังท่านถามพระอ้วนว่าเป็นไง พระอ้วนก็บอกว่าไม่ไหวแล้วครับ หลวงปู่ท่านจะเดินเร็ว ก้าวยาว โดยไม่เหนื่อย แล้วก็ไม่มีเหงื่อ เวลาหยุดพักจะเห็นท่านดื่มน้ำเพียงนิดเดียว เมื่อพวกเราเดินทางจากป่าโล่ง ก็มาสู่ธุดงคสถาน โดยใช้เวลาเพียงครึ่งเดียวของวันที่เราเดินทางไป แล้วพวกเราก็แยกย้ายกันปักกลดพักผ่อน

    ประโยชน์จากการเดินเร็ว

    ตอนเย็นเมื่อมาอยู่ที่ธุดงคสถาน หลวงปู่ได้บอกให้พวกเรารู้ว่าที่ท่านพาเดินอย่างรวดเร็วมากนั้น เพื่อให้พวกเราได้ปรับตัวเข้ากับบรรยากาศข้างล่าง ข้างบน(ในป่าเขา น้ำตก)มันเย็นกว่าข้างล่าง(ธุดงคสถาน) ทำตัวให้ร้อนเสียก่อนจะถึงร้อนจริงๆ ซึ่งเรื่องนี้หลวงปู่เคยสอนเชื้อเจ้าองค์หนึ่งทางเหนือ ซึ่งเป็นโรคเส้นเลือดในหัวใจตีบ หลวงปู่ก็เลยให้เขาเดินตามท่าน แรกๆท่านก็เดินดูนก ดูไม้ ก้มเก็บหิน เงยหน้าดูกล้วยไม้ในป่า จากนั้นจึงเริ่มเดินเร็วเข้าๆ แค่เดินธรรมดาเขาก็เดินไม่ทันท่านแล้ว ดังนั้น ท่านจึงหยุดแล้วบอกว่า เดินตามให้ทัน ปรากฏว่าความร้อนที่มันเผาไหม้ในกาย ซึ่งเกิดขึ้นในขณะที่เดินเร็วนั้น มันไปทำลายก้อนเลือด ก้อนไขมันที่อยู่ตามหลอดเลือด ทำอย่างนี้อยู่หลายวันจนเขาหายจากอาการป่วยของหัวใจ

    การเดินเร็วๆจะช่วยการสูบฉีดของเลือดและหัวใจ แต่พวกเราเดินเร็วยิ่งเหนื่อย เหงื่อไหลเต็มไปหมด ท่านบอกว่าพวกเราเดินแบบไม่ผ่อนลมหายใจ เพราะฉะนั้นเวลาเดินต้องรู้จักกำหนดสติ ผ่อนลมหายใจ อย่าไปอั้นลมปราณเอาไว้ เพราะมันจะกลายเป็นพลังงานเผาข้างในจนร้อน เผาร้อนจนเหงื่อมันหลุดออกมา ท่านจึงบอกให้พวกเราฝึกไปเรื่อยๆ แล้วจะรู้วิธีกำหนดลม ในขณะที่ย่างก้าว ขาก็สามารถที่จะพลิกแพลง ซ้าย ขวา หน้า หลัง ได้อย่างไม่ต้องเมื่อย ไม่ต้องเหนื่อย ไม่ต้องเพลีย

    ก่อนจะกลับ ขณะที่หลวงปู่ออกจากุฏิ คนอื่นขนของกันไปหมดแล้ว ท่านเดินมาได้สักกอไผ่หนึ่ง นกกางเขนดงก็มาร้องทักเหมือนกับว่าพูดเป็นภาษาคน ท่านเลยหันไปคุยกับนกกางเขนดงเป็นเวลานาน ซึ่งมีภิกษุที่อยู่ใกล้ๆกลดผมเห็น
     
  9. wara43

    wara43 ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2006
    โพสต์:
    9,108
    ค่าพลัง:
    +16,130
    [​IMG] ขอกราบโมทนาสาธุครับ สาธุ...[​IMG]
     
  10. ทรัพย์พระฤาษี

    ทรัพย์พระฤาษี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +175
    โมทนาด้วยครับ


    <TABLE class=webtitle2 height=76 width="53%" align=center border=0><TBODY><TR><TD height=10>พระนิพพาน ไม่ใช่ภาษาพูด


    </TD></TR><TR><TD height=10>ไม่ใช่ภาษาเขียน แต่เป็นภาษาปฏิบัติ


    </TD></TR><TR><TD height=10>( คำสอนของ พระองค์ที่ 10 )


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​



    [​IMG]




    [​IMG][​IMG][​IMG]ผมมีบทความดีๆเกี่ยวกับในหลวง อยากให้ลองอ่านกันครับ[​IMG][​IMG][​IMG]
    คลิกนี้
    http://palungjit.org//showthread.php?t=150879
     
  11. ท้องฟ้าและแผ่นดิน

    ท้องฟ้าและแผ่นดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +127
    [​IMG]

    ศิษย์ขอกราบองค์คุรุผู้ประเสริฐ
     

แชร์หน้านี้

Loading...