ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,784
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    ปรากฎการณ์แปลกๆในท้องฟ้าของบราซิล

     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,784
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    ผลกระทบที่ญี่ปุ่นเริ่มแรกจาก พายุ Krosa # 15 สิงหาคม


     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,784
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    Supercell ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเยอรมนี #14 สค.


     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,784
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    #Taiwan หอยทากที่เป็นอันตรายติดเชื้อปรสิตและเปลี่ยนเป็นซอมบี้ที่เปลี่ยนสี


     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,784
    ค่าพลัง:
    +97,150
    John Traczyk

    ฟาร์มของเราเฉลี่ย เป็นหนี้ $ 1.3 ล้านและตอนนี้วิกฤตการทำฟาร์มที่แย่ที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่อยู่ที่เรา





    เผยแพร่ในวันที่ 15 ส. ค. 2019


    เมื่อนำมาจนถึงปีนี้รายได้ของฟาร์ม มีแนวโน้มลดลงในช่วงเกือบทศวรรษที่ผ่านมา และในขณะเดียวกันระดับหนี้ของฟาร์มก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก ดังนั้นเกษตรกรในสหรัฐอเมริกาจึงหมดหวังในปีที่ดีจริงๆ แต่ในปี 2562 แทนที่จะเป็นภัยพิบัติทั้งหมด อย่างที่ฉันได้รับการบันทึกไว้อย่างดีเนื่องจากฝนตกชุกและน้ำท่วมที่ท่วมท้นหลายล้านเอเคอร์ของพื้นที่เพาะปลูก ที่สำคัญไม่ได้เพาะ ปลูกเลยในปีนี้และคาดว่าผลผลิตจากพื้นที่อื่น ๆ อีกหลายสิบล้านเอเคอร์จะต่ำกว่าปกติ เป็นผลให้เรากำลังเผชิญกับวิกฤติการทำฟาร์มที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกันสมัยใหม่และในเวลานี้เมื่อฟาร์มของสหรัฐอเมริกาจมอยู่กับหนี้สินมากกว่าที่เคยเป็นมา ในความเป็นจริงตัวเลขล่าสุดที่เราแสดงให้เห็นว่าฟาร์มในสหรัฐฯโดยเฉลี่ยเป็นหนี้อยู่ที่ 1.3 ล้านดอลลาร์ ...


     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,784
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สรุป SET Index วันที่ 15 ส.ค. 62 ปิดที่ 1,604 จุด ลบต่ออีก 15 จุด >> แนวโน้มก็ยังเป็นขาลงแรง ทั้งระยะสั้นและระยะกลาง

    อ่านคำแนะนำฉบับเต็มก่อนเลย >> bit.ly/ทีไอเอฟ_สิบห้าสิงหาหกสอง

    โดยระยะกลาง สัญญาณแนะนำเป็นขาลงมาตั้งแต่ 3 สัปดาห์ก่อน (ณ ดัชนีประมาณ 1,68x จุด) ส่วนระยะสั้น ก็แนะนำเป็นขาลงมาตั้งแต่ต้นเดือน ก.ค. 62 (ณ ดัชนีประมาณ 1,72x จุด) .. โดยแนวโน้มระยะสั้นและกลาง ดูได้ตามแถบสี .. เขียว = ขาขึ้น แดง = ขาลง ซึ่งสามารถย้อนดูทางด้านซ้ายของกราฟได้ ว่าคำแนะนำกับระดับดัชนีมีความสัมพันธ์กันอย่างไร // ด้านตลาดหุ้นต่างประเทศ ฟื้นตัวได้บ้าง Dow Jones Futures บวกนำมาร้อยกว่าจุด // พันธบัตรต่างประเทศทรงตัว หลังจาก Yield ดิ่งลงแรงช่วงสัปดาห์ก่อน (ราคาเพิ่มขึ้น)

    • รู้จัก TIF >> bit.ly/About_TIF

    <ผู้สนับสนุน>

    • รับพอร์ตประกันชีวิตที่คุ้มครองกำลังดี >> bit.ly/TIF_Dailo
    • รับพอร์ตกองทุนรวมที่ลงตัว >> bit.ly/TIF_Treasurist

     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,784
    ค่าพลัง:
    +97,150
    อุทกภัยครั้งใหญ่ในอินเดีย พบยอดผู้เสียชีวิตพุ่งทะลุ 200 ราย

     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,784
    ค่าพลัง:
    +97,150
    นักวิจัยพบอนุภาคพลาสติกปนเปื้อนในหิมะอาร์กติก
    โดย กัญญาณัฐ์ เตโชติอัศนีย์ 15.08.2019
    %B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81.jpg

    งานวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร Science Advance เปิดเผยว่า คณะนักวิจัยเยอรมนีและสวิตเซอร์แลนด์ พบอนุภาคพลาสติกขนาดเล็กตกลงสู่พื้นดินพร้อมกับหิมะในคาบสมุทรอาร์กติก ซึ่งหมายความว่ามนุษย์มีโอกาสสูดไมโครพลาสติกเข้าไปในร่างกาย ถึงแม้ยังไม่มีข้อมูลบ่งชัดว่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพเพียงใด

    ดร.เมลานี เบิร์กแมน นักนิเวศวิทยาจากสถาบัน Alfred Wegener วัดปริมาณไมโครพลาสติกในหิมะตัวอย่างที่เพิ่งตกจากท้องฟ้า ในหมู่เกาะสวาลบาร์ด ตั้งแต่ปี 2015-2017 ด้วยวิธีการง่ายๆ อย่างการใช้ช้อนซุปหรือขวดแก้วทดลองทางวิทยาศาสตร์เก็บตัวอย่างหิมะ และไม่ใช้ถุงมือพลาสติก เพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อน

    ผลการทดลองพบว่า มีสารปนเปื้อนในหิมะ ประกอบไปด้วยวัสดุธรรมชาติ ที่สามารถย่อยสลายได้ เช่น ขนสัตว์หรือเซลลูโลสจากพืช นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังพบเศษยางรถยนต์ สารขัดเงา และเส้นใยสังเคราะห์ด้วย โดยในหิมะ 1 ลิตรจะมีไมโครพลาสติก ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า 5 มม. ปนเปื้อนกว่า 10,000 ชิ้น

    นักวิจัยคาดว่าไมโครพลาสติกเหล่านี้อาจจะถูกลมพัดพามา เนื่องจากมีงานวิจัยในอดีตจากนักวิทยาศาสตร์ในฝรั่งเศส อิหร่าน และจีน เคยพบอนุภาคพลาสติกในอากาศใกล้เมือง รวมถึงงานวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ก็พบอนุภาคพลาสติกตกลงจากท้องฟ้าในเทือกเขาพิรินีเช่นกัน

    เบิร์กแมนให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว BBC ว่า เธอคาดว่าจะพบสารเจือปนในหิมะบ้าง แต่การพบอนุภาคพลาสติกจำนวนมากเช่นนี้ เป็นเรื่องที่น่าตกใจ

    ทั้งนี้งานวิจัยพบขยะพลาสติกในมหาสมุทรอาร์กติกมากกว่ามหาสมุทรอื่นๆ ด้วยปริมาณเศษขยะประมาณ 3 แสนล้านชิ้น ขณะที่ทีมของเบิร์กแมนพบไมโครพลาสติกจากตะกอนแห้งที่เก็บจากร่องลึกก้นสมุทรประมาณ 6,000 ชิ้นต่อตัวอย่าง 1 กิโลกรัม

    พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

    อ้างอิง:

    https://thestandard.co/a-worrisome-...pRJsSf4El-00LWtB8imm7FmAlFk4kvSAmFfC5hOYvSweQ
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,784
    ค่าพลัง:
    +97,150
    รายงานระบุ มนุษย์ใช้ทรัพยากรโลกเกินจุดสมดุลของปี 2019 แล้วเมื่อ 29 ก.ค. ที่ผ่านมา โดย THE STANDARD TEAM 31.07.2019

    Earth-Overshoot-Day.jpg
    รายงานจากโกลบอล ฟุตพรินต์ เน็ตเวิร์ค (GFN) หรือ ‘เครือข่ายรอยเท้านิเวศโลก’ กลุ่มวิจัยนานาชาติด้านความยั่งยืนระบุว่า ‘วันหนี้นิเวศ’ (Earth Overshoot Day) มาถึงเร็วขึ้นในปี 2019 โดยตรงกับวันที่ 29 ก.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งหมายความว่ามนุษย์เราได้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ระบบนิเวศของโลกจะสามารถผลิตขึ้นมาใหม่ได้ในปี 2019 หมดแล้วภายในเวลาเพียงครึ่งปี

    เครือข่ายฯ ระบุว่า ด้วยอัตราการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่รวดเร็วเช่นนี้ จำเป็นต้องมีโลก 1.75 ใบจึงจะเพียงพอต่อความต้องการของมนุษย์

    “เรามีโลกเพียงใบเดียว และนั่นเป็นสิ่งสำคัญที่กำหนดการดำรงอยู่ของมนุษยชาติ” แมทิส แวกเคอร์เนเกล ผู้ก่อตั้งจีเอฟเอ็นกล่าว “และเราไม่สามารถใช้ทรัพยากรของโลก 1.75 ใบได้โดยไม่มีผลกระทบร้ายแรงตามมา”

    เครือข่ายฯ จึงกำหนด ‘วันหนี้นิเวศ’ ขึ้น ซึ่งเป็นวันที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรของปีนั้นๆ จนเกินจุดสมดุล เพื่อแสดงให้เห็นถึงปริมาณการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของมนุษย์ที่สูงขึ้นต่อเนื่องจนน่าตกใจ

    ทั้งนี้ เครือข่ายฯ ได้เริ่มบันทึกสถิติวันหนี้นิเวศตั้งแต่ปี 1986 และวันดังกล่าวก็มาถึงเร็วขึ้นทุกๆ ปี โดยในปี 1993 ตรงกับวันที่ 21 ต.ค. จากนั้นปี 2003 ขยับมาเป็นวันที่ 22 ก.ย. และปี 2017 ตรงกับวันที่ 2 ส.ค. จนกระทั่งในปีนี้ เมื่อวันที่ 29 ก.ค. ที่ผ่านมา

    พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

    https://thestandard.co/earth-overshoot-day/
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,784
    ค่าพลัง:
    +97,150
    งานวิจัยฮาร์วาร์ดพบ ปัญหาโลกร้อน-การทำประมงเกินขนาด อาจทำให้สารปรอทสะสมในปลาเพิ่มขึ้น โดย กัญญาณัฐ์ เตโชติอัศนีย์ 10.08.2019

    %B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5.jpg

    งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดพบว่าอุณหภูมิที่สูงขึ้นในมหาสมุทรและการทำประมงเกินขนาดอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปริมาณสารปรอทพิษในสัตว์ทะเลเพิ่มขึ้น เช่น ปลาคอด ปลาทูน่า ปลาแซลมอน

    ทีมนักวิจัยศึกษาข้อมูลระบบนิเวศในอ่าวเมน (Gulf of Maine) ซึ่งอยู่นอกชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกาในช่วงปี 1970-2000 พบว่าในรอบ 30 ปีนั้นมีสารปรอทสะสมในปลาคอดและปลาฉลามหลังหนามเพิ่มขึ้น

    เนื่องจากในบริเวณนั้นมีการทำประมงมากเกินขนาด ส่งผลให้ปลาทั้งสองชนิดต้องปรับเปลี่ยนวิถีการหาอาหารใหม่ โดยปลาคอดเปลี่ยนไปหาล็อบสเตอร์และปลาเล็กๆ เป็นอาหาร ส่วนปลาฉลามหลังหนามเปลี่ยนไปกินสัตว์ตระกูลหมึกที่มีสารปรอทสะสมสูงกว่า

    คณะนักวิจัยพยายามใช้แบบจำลองนี้กับปลาทูน่าครีบน้ำเงินในมหาสมุทรแอตแลนติก โดยหวังหาคำอธิบายว่าเพราะเหตุใดปลาทูน่าครีบน้ำเงินจึงมีสารปรอทสะสมมากขึ้น ทั้งที่พวกมันไม่ได้ปรับเปลี่ยนชนิดของเหยื่อที่กิน ขณะที่สารปรอทในมหาสมุทรดังกล่าวก็มีปริมาณลดลงด้วย

    ดร.อมินา ชาร์ตอัพ หนึ่งในทีมนักวิจัย ได้สัมภาษณ์ ไมเคิล เฟลป์ส นักกีฬาว่ายน้ำเจ้าของเหรียญทองโอลิมปิก ซึ่งเฟลป์สเผยว่าเขาบริโภคอาหารในแต่ละวันคิดเป็นพลังงานแคลอรีมากกว่าคนทั่วไปถึง 6 เท่า ซึ่งทำให้ชาร์ตอัพตั้งสมมติฐานว่าอาจมีบางสิ่งที่คล้ายคลึงกันระหว่างเฟลป์สกับปลาทูน่า ซึ่งนำไปสู่คำอธิบายว่าทำไมปลาทูน่าจึงมีสารปรอทสะสมอยู่มาก

    เมื่ออุณหภูมิในมหาสมุทรสูงขึ้นจะทำให้ปลาต้องกระฉับกระเฉงมากขึ้น ดังนั้นพวกมันจึงต้องการพลังงานมากขึ้นในการว่ายน้ำหรือเคลื่อนไหว ซึ่งผลคือปลาทูน่าก็จะต้องกินอาหารเพิ่มขึ้น นั่นจึงสามารถไขคำตอบได้ว่าเหตุใดปลาทูน่าจึงมีสารปรอทสะสมมากขึ้น

    โดยในช่วงปี 2012-2017 พบว่าปลาทูน่าครีบน้ำเงินในอ่าวเมนมีระดับสารเมทิลเมอร์คิวรีหรือสารปรอทพิษเพิ่มขึ้น 3.5% ต่อปี ทั้งที่การปล่อยสารปรอทสู่ธรรมชาติลดลง

    ทั้งนี้งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดระบุว่าการเผาไหม้ถ่านหินในสหรัฐอเมริกาคือแหล่งปล่อยสารปรอทอันดับต้นๆ เพราะการเผาจะปล่อยสารปรอทสู่อากาศ ก่อนจะตกลงมาสู่พื้นดินและผิวน้ำ

    รายงานขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติระบุว่าปัจจุบันมนุษย์บริโภคปลาเฉลี่ยอยู่ที่ 20.2 กิโลกรัมต่อคน เพิ่มขึ้นจากทศวรรษที่ 1960 ถึง 2 เท่า และ 1 ใน 3 ของพื้นที่มหาสมุทรบนโลกกำลังประสบปัญหาการจับปลามากเกินไป นอกจากนี้องค์การอนามัยโลกยังรายงานว่าเด็ก 17 คนต่อ 1,000 คนจากชุมชนประมงในบราซิล แคนาดา จีน กรีนแลนด์ และโคลอมเบีย มีอาการบกพร่องทางจิตใจจากการบริโภคอาหารทะเลที่มีสารปรอทเจือปน

    พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

    อ้างอิง:


    https://thestandard.co/climate-change-and-overfishing-making-seafood-more-toxic/
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,784
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Video - World Economic Forum


    2019 กรกฎาคมเป็นเดือนที่ 12 ติดต่อกันด้วยอุณหภูมิที่สูงกว่าปกติ

    อ่านเพิ่มเติม: https://wef.ch/2KxEy3Y

    July 2019 was the 12th month in a row with higher-than-normal temperatures.

    Read more: https://wef.ch/2KxEy3Y

     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,784
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ภัยแล้งภาคอีสานวิกฤติ นาข้าวเสียหายเกือบ 100% ภูมิภาค 15 ส.ค. 2019 19:46:38

    ขอนแก่น 15 ส.ค. - จ.ขอนแก่น ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยแล้งครอบคลุมทั้ง 26 อำเภอ โดย อ.แวงน้อย เป็นหนึ่งในอำเภอที่เข้าขั้นวิกฤติ โดยเฉพาะพื้นที่นาข้าวเสียหายเกือบ 100% หากไม่มีฝนตกลงมาเติมภายใน 1 เดือน ปัญหาจะลุกลามไปถึงน้ำอุปโภคบริโภค

    1565876351011.png

    ฝนที่ตกโปรยปรายในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา สร้างความชุ่มฉ่ำให้หลายพื้นที่ แต่เพราะฝนตกไม่ทั่วฟ้า ชาวแวงน้อยเกือบทั้งอำเภอของ จ.ขอนแก่น จึงยังไม่พ้นวิกฤติภัยแล้ง

    1565876446782.png



    ผืนนากว่า 3,000 ไร่ บ้านกุดรู ต.แวงน้อย เหลืองอร่ามด้วยข้าวที่ยืนต้นตายสุดลูกหูลูกตา ทั้งที่เป็นที่ลุ่ม จุดรวมน้ำของ อ.แวงน้อย เมื่อพื้นที่อู่ข้าวอู่น้ำเผชิญกับการขาดแคลนน้ำเช่นนี้ ปัญหาภัยแล้งจึงครอบคลุมทั้ง 6 ตำบล 74 หมู่บ้าน นาข้าวเสียหายกว่า 100,000 ไร่ ปีที่ชาวบ้านกุดรูประสบปัญหาภัยแล้งใกล้เคียงที่สุด คือ ปี 2524 หรือ 38 ปีที่แล้ว

    1565876756804.png

    ไม่มีใครบอกได้ชัดเจนว่า พื้นที่หมู่บ้านแห่งนี้แล้งที่สุดในรอบกี่ปี แต่ข้อมูลจากปากชาวบ้านบอกว่า ตั้งแต่ก่อตั้งหมู่บ้านกุดรูมา 130 ปี ลำห้วยนา คลองสายหลักของหมู่บ้าน ไม่เคยแห้งจนไม่เหลือน้ำสักหยดแบบนี้มาก่อน

    1565876721531.png

    เฉพาะเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีการขึ้นบินทำฝนหลวงกว่า 60 ครั้ง แต่เมฆไม่ก่อตัว สภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย จึงไม่ได้ผลอย่างที่หวัง

    1565876793205.png

    ขณะที่ทางอำเภอแวงน้อย ใช้วิธีรวมน้ำจุดเล็กจุดน้อยมาอยู่จุดเดียว เพื่อเป็นแหล่งน้ำดิบสำหรับผลิตน้ำประปา ซึ่งเกือบทั้งหมดตกอยู่ในสภาพเดียวกัน คือ มีน้ำเหลือใช้ราว 1 เดือนเท่านั้น หากไม่มีฝนตกลงมาเติม วิกฤติการขาดแคลนน้ำก็จะลุกลามเข้าสู่ครัวเรือน

    1565876943692.png

    สำหรับภาพรวมในพื้นที่ จ.ขอนแก่น มีการประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยแล้งครอบคลุมทั้ง 26 อำเภอ พื้นที่การเกษตรเสียหายเกือบ 2 ล้านไร่ มูลค่าเกือบ 2,000 ล้านบาท. - สำนักข่าวไทย



    https://tna.mcot.net/view/5d55542ee...EE4JHWAM3ZhyBOjsWRduftYU-MDNslhiEVu5q_ACZSGV4
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,784
    ค่าพลัง:
    +97,150
    พลังแห่งสันติสุข

    หนึ่งในคำสาบาน (ซุมเปาะ) ห้ามเปิดเผยความลับให้ จนท.รู้ เพราะจะเป็นบาป จริงหรือ?

    RKK ทุกคนต้องผ่านการซุมเปาะสาบานตนต่อหน้าคำภีร์ก่อนจึงจะเป็น RKK ได้เต็มตัว หนึ่งในนั้นก็คือการห้ามเปิดเผยความลับของขบวนการ หากถูก จนท.จับได้ ถ้าบอกจะเป็นบาปติดตัว ไม่ได้ไปพบพระเจ้า

    นอกจากกลุ่มขบวนการจะสร้างความรุนแรงต่อชาวบ้านแล้ว ยังแอบอ้างศาสนา แอบอ้างพระเจ้า เพื่อมาเป็นเครื่องมือในการปลุกระดมเยาวชนมุสลิมในพื้นที่อีกด้วย

    เจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาลบางรัก ควบคุมตัว นายวิลดัน มาหะ อายุ 29 ปี ผู้ต้องหาลอบวางระเบิดหน้าป้ายสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไปฝากขังที่ศาลอาญา รัชดา ผลัดแรกเป็นเวลา 12 วัน เดินทางไปพร้อมกับ นายลูไอ แซแง อายุ 22 ปี ผู้ต้องหาที่ร่วมก่อเหตุ ซึ่งอยู่บนรถตู้ถูกควบคุมตัวมาจาก สน.ปทุมวันพนักงานสอบสวนแจ้ง 4 ข้อกล่าวหา คือ1.อั้งยี่ซ่องโจร 2.มีวัตถุระเบิดไว้ในความครอบครอง 2.พยายามฆ่าผู้อื่น และ 4.พกพาอาวุธ (ระเบิด) ไปในเมือง หมู่บ้าน หรือ ทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร
    ..........................................................

    การต่อสู้ของขบวนการกู้ชาติในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ว่าจะเป็นในอินโดนีเซีย มาเลเซีย อาเจะห์ และกลุ่มปลดแอกรัฐปัตตานี ต่างก็ใช้ลัทธิชาตินิยมเป็นแรงขับเคลื่อนของขบวนการ แม้ในภายหลังจะมีความคิดแบบนิยมอิสลามเข้ามาเกี่ยวข้องแต่สถานะของอิสลามก็ ยังเป็นเรื่องที่รองลงมาจากชาติพันธุ์ มิหนำซ้ำ อิสลามยังถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่กลุ่มขบวนการ ทั้ง ๆ ที่อิสลามเป็นเป้าหมายสูงสุด การแอบอ้างอิสลามเพื่อหวังผลความสำเร็จหรือแสวงหาแนวร่วมของขบวนการเหล่านี้ จึงถือเป็นการสบประมาทและบิดเบือนอิสลามโดยสิ้นเชิง” (“อัลหัลลุ้ลอิสลามีย์ ฟะรีฎ่อตุน ว่า ฎ่อรูร่อตุน” ; ดร.ยูซุฟ อัลกอรฎอวีย์ (1974) หน้า 116)

    การเรียกร้องเชิญชวนระหว่างชาวมุสลิมด้วยกันสู่ความนิยมคลั่งไคล้ต่อภูมิภาค (เขตแดน) หรือสู่ความนิยมคลั่งไคล้ต่อชาติพันธุ์ นั่นคือการเรียกร้องเชิญชวนที่มืดบอด (دعوة جا هلية) ซึ่งศาสนาอิสลาม ศาสนทูต และคัมภีร์แห่งศาสนาอิสลามบริสุทธิ์และไม่เกี่ยวข้องด้วยแต่อย่างใด! (อัลฮะลาล อัลฮะรอม , ดร.ยูซุฟ อัลกอรฎอวีย์ ; หน้า 237-238)

    ท่านอิมามชาฟีอีได้กล่าวว่า “ผู้หนึ่งผู้ไดที่แสดงออกถึงความเป็นชาตินิยมหรือกล่าวคำชักจูงไปในทางศาสนาและเรียกร้องไปสู่มัน, ดังนั้นเขาได้ตกศาสนาจากที่เคยปฏิญานตนแล้ว(กล่าวชาฮาดะห์)”

     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,784
    ค่าพลัง:
    +97,150
    มารา กล้วยตานี

    บันเทิง!! ตอนคิดจะเปลี่ยนในพื้นที่ ไม่คิดว่าคนร้ายจะยัดระเบิดเข้าไปได้หรอ?? ต้องมาระวังเสาหลักนำทาง ต่อไปไม่ต้องขุดหลุมใต้ถนนแล้ว ขับรถอยู่ดีๆ ถูกระเบิด
    #ขอให้ทบทวนนโยบายเปลี่ยนหลักนำทาง

    กรมการทางเปลี่ยนเสาหลักนำทางหรือหลักลายแบบใหม่!!
    ตามนโยบายของกรมการเปลี่ยนหลักนำทางทดแทนของเดิมที่ทำมาจากคอนกรีตเสริมเหล็กเป็นพลาสติกผสมยางพาราส่งเสริมเกษตรกรสวนยางพารา ตัวหลักนำทางแบบใหม่สามารถเปิดหัวหลักนำทางได้ เริ่มเปลี่ยนจากหัวสะพานหน้าประมง ถึง สะพานฆอแย อำเภอธารโต จังหวัดยะลา

     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,784
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ข่าวฮ่องกง

    ต.ม. จีนเริ่มตรวจมือถือชาวฮ่องกง

    ชาวฮ่องกงที่พยายามจะข้ามไปจีนแผ่นดินใหญ่เผยว่า เขาถูกเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของจีนขอตรวจโทรศัพท์มือถือ เพื่อตรวจสอบรูปภาพหรือวิดีโอที่มีความเกี่ยวข้องกับการประท้วงการส่งผู้ร้ายข้ามแดนในฮ่องกง

    นักท่องเที่ยวชาวฮ่องกง 10 รายได้เปิดเผยประสบการณ์ โดย 5 รายบอกว่าเจ้าหน้าที่จีนยังได้ตรวจสอบข้อความส่วนตัวที่บริเวณพื้นที่ควบคุมของฮ่องกงและเซินเจิ้น

    Ben Crox ผู้ให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีและประชาสัมพันธ์ วัย 38 ปี เล่าว่า ที่สถานีรถไฟความเร็วสูง West Kowloon โทรศัพท์มือถือของเขาได้ถูกตรวจสอบ

    ในทีแรกเขาปฏิเสธและแจ้งว่าต้องการติดต่อทนาย แต่ทางเจ้าหน้าที่จีนตอบกลับว่าเขาสามารถติดต่อได้เพียงคนในจีนแผ่นดินใหญ่เท่านั้น และเมื่อเขาขอออกจากพื้นที่และกลับฮ่องกง เจ้าหน้าที่ก็ปฏิเสธคำขอ

    หลังจากที่เขายอมให้เจ้าหน้าที่ตรวจโทรศัพท์มือถือ เจ้าหน้าที่ได้ตรวจดูภาพถ่ายและวิดีโอช่วงเดือนมิถุนายนและกรกฎาคมของปีนี้ นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ยังถามด้วยว่าเขาได้ร่วมในการประท้วงหรือไม่

    Source : https://www.facebook.com/355665009819/posts/10157449940409820?s=647694571&sfns=mo

    #ข่าวฮ่องกง #khaohongkong

     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,784
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ข่าวฮ่องกง

    สนามบินฮ่องกงออกมาตรการคุมเข้ม

    เมื่อเวลา 19.30 น. วันนี้ (14 สิงหาคม 2019) การท่าอากาศยานแห่งฮ่องกงได้ออกประกาศมาตรการ เพิ่มจุดตรวจสอบความปลอดภัยเพิ่มเติมในส่วนผู้โดยสารขาเข้า-ออก อย่างไม่มีกำหนด

    โดยจะอนุญาตให้เฉพาะผู้โดยสารขาออกที่มีบัตรโดยสารหรือ boarding pass ในช่วง 24 ชั่วโมงข้างหน้าเข้าไปในอาคารผู้โดยสารได้เท่านั้น

    นอกจากนี้ยังได้แนะนำให้ผู้โดยสารไปถึงสนามบินล่วงหน้าอย่างน้อย 3 ชั่วโมงก่อนเวลาเครื่องออก

    สำหรับประชาชนทั่วไป รวมทั้งผู้ที่ต้องไปรับ-ส่งผู้โดยสารเดินทาง ไม่แนะนำให้เดินทางไปที่สนามบินโดยไม่มีความจำเป็น

    Source : RTHK, HKG airport

    #ข่าวฮ่องกง #khaohongkong

     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,784
    ค่าพลัง:
    +97,150
    มารา กล้วยตานี

    เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2562 พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รอง โฆษก ตร. เปิดเผยถึงความคืบหน้าการสืบสวนสอบสวนและการดำเนินคดีกับผู้ร่วมก่อเหตุ ลอบวางระเบิดในพื้นที่ กทม. และพื้นที่เกี่ยวข้อง ในห้วงที่ผ่านมาว่า ได้รับรายงานจากคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนเพิ่มเติมว่า วันนี้ (14 ส.ค.) ศาลอาญาได้อนุมัติหมายจับ ผู้ต้องหาเพิ่มเติม 4 ราย ในข้อหา "เป็นอั้งยี่, ร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์, กระทำให้เกิดระเบิดจนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่นหรือทรัพย์ของผู้อื่น, ทำ ใช้ มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้ พกพาอาวุธ (ระเบิด) ไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันควร และทำให้เสียทรัพย์” ซึ่งเป็นความผิดที่มีอายุความ 20 ปี และมีอัตราโทษสูง

    โดยศาลอาญาได้อนุมัติหมายจับผู้ต้องหาแล้วทั้งหมด 6 ราย เป็นชาย 6 ราย จากผู้ร่วมก่อเหตุหลายรายในแต่ละพื้นที่เกิดเหตุ ได้แก่ นายลูไอ แซแง และ นายวิลดัน มาหะ (ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 2 ส.ค.62) และ ออกหมายจับเพิ่มเติม นายอัสมี อาบูวะ, นายอุสมาน เปาะลอ, นายอัมรี มะมิง,นายฮาเเซ แบเล๊าะ ซึ่งจะมีการสืบสวนขยายผลออกหมายจับ ผู้ที่ร่วมก่อเหตุและผู้ที่เกี่ยวข้องตามขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมต่อไป

    "ทั้งนี้ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. ได้ขับเคลื่อนตามนโยบาย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งได้มีข้อสั่งการให้คณะพนักงานสืบสวนสอบสวนในเรื่องนี้ ที่ต้องทำงานแข่งกับเวลา ยึดระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนหลักสิทธิมนุษยชน เป็นสำคัญ โดยจะต้องไม่มีการจับแพะอย่างเด็ดขาด" พ.ต.อ.กฤษณะ กล่าว

     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,784
    ค่าพลัง:
    +97,150
    แก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่งทะเลไทย ... ยิ่งแก้-ยิ่งพัง?
    สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง | TCIJ School รุ่นที่ 6 | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ | 16 ส.ค. 2562



    b8cff763041303a8677e0a67d95256cb.jpg

    ประเทศไทยมี ‘โครงสร้างเพื่อป้องกันไม่ให้ชายฝั่งทะเลถูกกัดเซาะ’ แต่น่าแปลกไหมที่โครงสร้างเหล่านั้นกลับเป็นต้นเหตุของการกัดเซาะชายฝั่งเสียเอง พบบางแห่งกลับมีโครงสร้างป้องกันทับซ้อนกันในพื้นที่เดียวกัน บางแห่งป้องกันได้เฉพาะพื้นที่แต่ไปสร้างปัญหาการกัดเซาะในพื้นที่ใกล้เคียงถัดไป พบในต่างประเทศนอกเหนือจากใช้โครงสร้างป้องกันแล้ว หลายประเทศหันมาให้ความสนใจกับมาตรการที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ

    ไทยเผชิญภัยจากการกัดเซาะชายฝั่งกว่า 705 กิโลเมตร

    ชายฝั่งทะเลประเทศไทยใน 23 จังหวัด กำลังเผชิญกับภัยจากการกัดเซาะประมาณ 705 กิโลเมตร หรือคิดเป็น 22% ของชายฝั่งทะเลรวมกันทั้งหมดประมาณ 3,151 กิโลเมตร [1] โดยมีสาเหตุทั้งจากธรรมชาติและจากกิจกรรมของมนุษย์ ยิ่งมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานริมชายฝั่งทะเลมากเท่าไหร่ ยิ่งส่งผลให้การเข้าถึงชายฝั่งทะเลนั้นยิ่งง่าย ส่งเสริมให้เกิดการตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ริมชายฝั่งทะเลเพิ่มมากยิ่งขึ้น

    ด้วยลักษณะเฉพาะของชายฝั่งทะเลที่เป็นรอยต่อระหว่างผืนน้ำทะเล ผืนดิน และอากาศ จึงเป็นแหล่งทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ทั้งบนบกและในน้ำ มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงซึ่งแตกต่างกันไปตามลักษณะของตะกอนบนชายหาดทั้งหาดหิน หาดโคลน และหาดทราย ทำให้เกิดแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและแหล่งอาหารที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาล สำหรับประเทศไทยมีใช้ผลประโยชน์ทางทะเลและชายฝั่งรวมมูลค่าถึง 7.5 ล้านล้านบาทต่อปี จากชายฝั่งทะเลกว่า 3,151 กิโลเมตร และพื้นที่ทางทะเลกว่า 323,490 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็น 60% ของพื้นที่ทางบก [2]ผลกระทบจากชายฝั่งทะเลถูกกัดเซาะจึงเป็นปัญหาทั้งเชิงกายภาพที่ก่อให้เกิดการสูญเสียที่ดิน ตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้นในเชิงเศรษฐกิจและสังคม

    ปัจจัยที่ทำให้ชายฝั่งทะเลเกิดการกัดเซาะนั้นมีสองปัจจัยหลัก ได้แก่ กระบวนการทางธรรมชาติ เช่น มรสุม พายุ สึนามิ การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การทรุดตัวของแผ่นดิน และ กิจกรรมของมนุษย์ เช่น การสร้างสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำชายฝั่ง การขุดทรายชายฝั่ง การสร้างเขื่อนดักตะกอนในลำน้ำ

    48095716158_20af467c09_o_d.png
    รูปที่ 1 ความเสียหายจากการกัดเซาะชายฝั่ง

    พื้นที่ริมชายฝั่งทะเลส่วนหนึ่งจำเป็นต้องสงวนรักษาไว้ให้กระบวนการชายฝั่งทะเลตามธรรมชาติได้มีการปรับตัว เป็นต้นว่า ในช่วงฤดูมรสุม ชายหาดอาจถูกกัดเซาะหดหายไปบ้าง แต่คลื่นขนาดเล็กในช่วงปลอดมรสุมก็จะนำพาชายหาดเดิมกลับมาตราบเท่าที่กระบวนการทางธรรมชาตินี้ไม่ถูกแทรกแซง แต่ในความเป็นจริงก็คือ พื้นที่ส่วนนี้โดยมากมักถูกพัฒนาเป็นพื้นที่ที่มนุษย์สามารถเข้าใช้ประโยชน์ได้ ดังนั้น เมื่อเกิดการทวงคืนของกระบวนการทางธรรมชาติ คลื่นขนาดใหญ่ช่วงมรสุมที่เคยกัดเซาะชายหาดให้หายไปเพียงชั่วคราวในพื้นที่ที่สงวนไว้ให้ชายหาดได้ปรับตัว แต่เมื่อมีการใช้ประโยชน์บนพื้นที่ดังกล่าวไปแล้ว การกัดเซาะชายฝั่งจึงส่งผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์ของมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก และหากปล่อยให้กระบวนการนี้เป็นไปตามธรรมชาติ จะยิ่งส่งผลกระทบต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สินทั้งของรัฐและเอกชน (ดูตัวอย่างรูปที่ 1 ความเสียหายจากการกัดเซาะชายฝั่ง)

    ดังนั้นหน่วยงานที่รับผิดชอบจึงจำเป็นต้องเร่งหามาตรการเพื่อการแก้ไขปัญหา โดยทั่วไปแล้วมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหามีสองประเภทใหญ่ๆคือ ‘การใช้โครงสร้างทางวิศวกรรม’ ตัวอย่างเช่น เขื่อนกันคลื่น รอดักทราย กำแพงกันคลื่น และ ‘ไม่ใช้โครงสร้างทางวิศวกรรม’ เช่น การเสริมความมั่นคงของสันทรายชายหาดโดยการปลูกป่า มาตรการทางกฎหมาย การกำหนดระยะถอยร่น การเวนคืนที่ดิน เป็นต้น

    ‘โครงสร้างป้องกันทางวิศวกรรม’ ยารักษาครอบจักรวาลของรัฐไทย

    จากการตรวจสอบพบว่าภาครัฐนิยมใช้โครงสร้างทางวิศวกรรมหลากหลายรูปแบบเพื่อแก้ไขปัญหานี้ (ดูรูปที่ 2 ตัวอย่างโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง) เนื่องจากเป็นมาตรการที่จับต้องได้และมีความซับซ้อนน้อยกว่ามาตรการอื่นๆ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถเข้าใจได้ไม่ยากนักว่ารัฐกำลังพยายามดำเนินโครงการเพื่อป้องกันชายฝั่งทะเล เพราะเห็นโครงสร้างป้องกันเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ในขณะที่มาตรการอื่นอาจใช้ระยะเวลานานกว่าจะเห็นผลลัพธ์ บางครั้งต้องใช้มาตรการทางสังคมและกฎหมายเข้าร่วมด้วยถึงจะประสบความสำเร็จ เช่น การใช้มาตรการถอยร่นของแนวชายฝั่ง การเวนคืนที่ดิน ทั้งที่ส่วนใหญ่แล้ว มาตรการที่ไม่ใช้โครงสร้างจะแก้ปัญหาการกัดเซาะในระยะยาวได้อย่างยั่งยืนมากกว่า และอาจใช้งบประมาณน้อยกว่า แต่ภาครัฐส่วนมากยังคงนิยมมาตรการใช้โครงสร้างป้องกันอย่างต่อเนื่อง

    48095771537_83d3cea243_o_d.png
    รูปที่ 2 ตัวอย่างโครงสร้างป้องกันชายฝั่งทะเลในปัจจุบัน

    หน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในประเทศไทยนั้นมี 3 หน่วยงานหลัก แต่ละหน่วยงานมีอำนาจหน้าที่ กฎหมาย และพื้นที่ขอบเขตอำนาจเป็นของตนเอง โดยหน่วยงานที่มีมุมมองแก้ไขปัญหากัดเซาะชายฝั่งที่เน้น ความมั่นคงของที่อยู่อาศัย โครงสร้างพื้นฐานและการใช้ประโยชน์ของประชาชน ได้แก่ กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม และกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ส่วนอีกหน่วยงานหนึ่งที่มีมุมมองแก้ไขปัญหาโดยเน้นถึงความสมบูรณ์ของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเป็นหลักคือ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นยังมีหน่วยงานส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นที่สามารถเข้ามาแก้ไขปัญหาได้ในขอบเขตอำนาจของตนเองอีกด้วย

    ทับซ้อนหลายหน่วยงาน – งบประมาณมหาศาล

    จากการมีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พบว่าในบางแห่งมีการใช้โครงสร้างเพื่อป้องกันชายฝั่งทะเลทับซ้อนกันในพื้นที่เดียวกัน (ดูรูปที่ 3 การทับซ้อนกันของโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง) แสดงให้เห็นถึงความขาดเอกภาพในแก้ไขปัญหา ส่งผลให้เกิดการสูญเสียงบประมาณเพื่อการป้องกันชายฝั่งเป็นจำนวนมาก โดยที่โครงสร้างบางประเภทอาจลดทอนประสิทธิภาพของโครงสร้างอีกประเภทบริเวณใกล้เคียงกัน หรือไม่ก็ส่งผลให้โครงสร้างนั้นหมดประสิทธิภาพ

    48095668951_ac14201bce_o_d.png
    รูปที่ 3 การทับซ้อนกันของโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง

    จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่ากรมเจ้าท่าใช้งบประมาณเพื่อการป้องกันชายฝั่งทะเล 584 ล้านบาท ในช่วงงบประมาณประจำปี 2561 และมีแผนใช้ 478 ล้านบาท ในงบประมาณประจำปี 2562 โดยมีดัชนีชี้วัดความสำเร็จจากจำนวนโครงสร้างป้องกันที่สร้างแล้วเสร็จในแต่ละปี ส่วนกรมโยธาธิการและผังเมือง ที่เน้นการสร้างกำแพงกันคลื่นที่ประชิดชายฝั่งเป็นหลัก (ตัวอย่างแสดงดังรูปที่ 2 หาดปราณบุรี) พบการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นริมชายฝั่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น [3] (รวมทั้งจากประกาศการจัดซื้อจัดจ้างของกรมโยธาธิการและผังเมือง ในเว็บไซต์ของกรมฯ) ดังสถิติที่แสดงในรูปที่ 4 พบว่าช่วงเกือบ 10 ปีหลัง การสร้างกำแพงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยต้องใช้งบประมาณต่อ 1 กิโลเมตร สูงถึง 117 ล้านบาท

    48095715893_2af173a1e5_o_d.png
    รูปที่ 4 ข้อมูลโครงสร้างกำแพงกันคลื่นชายฝั่งทะเล

    ป้องกันการกัดเซาะได้เพียงพื้นที่เป้าหมาย แต่ส่งผลกระทบต่อชายหาดข้างเคียง

    อย่างไรก็ตาม แม้การใช้โครงสร้างทางวิศวกรรมจะสามารถบรรเทาปัญหาดังกล่าวได้ แต่สามารถป้องกันการกัดเซาะได้เพียงพื้นที่เป้าหมายเท่านั้น ซ้ำร้ายพบว่าโครงสร้างป้องกันดังกล่าวกลับส่งผลกระทบให้กับชายหาดข้างเคียงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่เป็นแบบนี้เนื่องมาจากโครงสร้างทางวิศวกรรมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันชายฝั่งไม่ให้ถูกกัดเซาะ มีหลักการคือไปเปลี่ยนแปลงกระบวนการทางชายฝั่งทะเลบางอย่าง เป็นต้นว่า ลดทอนความสูงคลื่น เปลี่ยนแปลงทิศทางของกระแสน้ำชายฝั่ง ดักมวลทรายที่ไหลเลียบมาตามชายฝั่ง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อพื้นที่เป้าหมายที่โครงสร้างนั้นต้องการป้องกัน แต่ในขณะเดียวกัน ด้วยการที่ตัวโครงสร้างได้แทรกแซงกระบวนการธรรมชาติ ส่งผลให้กระบวนการชายฝั่งเดิมเสียสมดุลไป ก่อให้เกิดผลกระทบชิ่งไปถึงพื้นที่ข้างเคียง ‘ด้านท้ายน้ำ’ (Downdrift) ที่ไม่มีโครงสร้างป้องกัน จึงมักพบว่าแม้โครงสร้างจะสามารถป้องกันพื้นที่เป้าหมายบางส่วนไม่ให้เสียหายได้ แต่มักทำให้พื้นที่ข้างเคียงด้านท้ายน้ำ เกิดการกัดเซาะเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้แล้วยังก่อให้เกิดการสูญเสียทัศนียภาพตลอดจนการใช้ประโยชน์พื้นที่ชายฝั่งและการเข้าถึงทรัพยากรชายฝั่งทะเลถูกปรับเปลี่ยนไป

    นอกจากนี้ยังพบว่า งานป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งโดยใช้โครงสร้างที่ผ่านมานั้น โดยมากเป็นการดำเนินงานเฉพาะพื้นที่ ทั้งที่จริงแล้วชายฝั่งทะเลเป็นเขตติดต่อที่ยาวต่อเนื่องกัน การดำเนินการในพื้นที่ใดย่อมส่งผลกระทบต่ออีกพื้นที่หนึ่งบริเวณใกล้เคียง พบว่าปัญหาการกัดเซาะที่เกิดขึ้นตลอดแนวชายฝั่งทะเลประเทศไทยส่วนใหญ่ต้นเหตุแห่งปัญหามาจากโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง ซึ่งแท้จริงแล้วมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการกัดเซาะ แต่กลับกลายเป็นต้นเหตุแห่งปัญหาเสียเอง (ดูรูปที่ 5 ผลกระทบจากโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง) หากแก้โดยใช้โครงสร้างป้องกันต่อไป ก็จะเกิดปัญหากัดเซาะต่อเนื่องในแบบเดียวกันโดยไม่มีที่สิ้นสุด ตราบเท่าที่โครงสร้างตัวสุดท้ายด้านท้ายน้ำไม่ไปบรรจบกันลักษณะภูมิประเทศที่เป็น ‘หัวหาด’ (Head land) และชายหาดยังไม่เข้าสู่สภาวะสมดุล

    48095771272_4baba06305_o_d.png
    รูปที่ 5 ผลกระทบจากโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง

    สิทธิของประชาชนกับพื้นที่ชายฝั่งทะเล

    หากพิจารณาในแง่สิทธิของประชาชนกับพื้นที่ชายฝั่งทะเล ในประเด็นนี้ ผศ.ดร.จันทจิรา เอี่ยมมยุรา อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุว่าการใช้โครงสร้างป้องกันมิได้เป็นมาตรการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสิทธิในการได้และใช้ประโยชน์จากพื้นที่ชายฝั่งทะเลของประชาชนอย่างแท้จริง เพราะแม้ตัวโครงสร้างจะช่วยป้องกันปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลไว้ได้ แต่ก็เป็นไปเฉพาะที่เฉพาะส่วน ซึ่งเท่ากับเป็นการรักษาไว้ซึ่งชีวิตทรัพย์สินและสิทธิในการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ชายฝั่งทะเลของบุคคลเฉพาะกลุ่มในบริเวณที่มีการสร้างโครงสร้างป้องกันอยู่เท่านั้น ซ้ำร้ายโครงสร้างเหล่านี้ได้ทำให้เกิดปัญหาการกัดเซาะในพื้นที่ใกล้เคียงถัดไป และส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตทรัพย์สิน ก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิและทรัพย์สินของชุมชนชายฝั่งและของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากพื้นที่ชายฝั่ง นอกจากนี้ ประเทศมิได้มีงบประมาณมากพอที่จะซ่อมสร้างโครงสร้างป้องกันชายฝั่งตลอดแนวชายฝั่งของประเทศไทยกว่า 3,000 กิโลเมตร

    ส่วน ดร.อารยา สุขสม คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา ได้ให้ความเห็นว่าหากพิจารณาถึงการก่อสร้างโครงสร้างป้องกันชายฝั่งในมิติทางเศรษฐกิจและสังคม จะพบว่าโครงสร้างดังกล่าวมีประโยชน์ต่อการป้องกันการกัดเซาะและคุ้มครองประโยชน์ในชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลในบางพื้นที่เท่านั้น ในทางกลับกันโครงสร้างนั้นเองจะส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของบุคคลที่อาศัยในพื้นที่ใกล้เคียง เป็นต้นว่า การขาดพื้นที่รองรับทำการประมงพื้นบ้าน การทำกิจกรรมร่วมกันของผู้คนในชุมชน การขาดพื้นที่อันเป็นแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติชายฝั่งนอกห้องเรียนของพลเมืองเยาวชนที่สนใจ ทั้งยังกระทบต่อการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ในพื้นที่ชายฝั่งเพื่อการท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจของบุคคลทั่วไปอีกด้วย จึงเห็นได้ว่า การก่อสร้างโครงสร้างป้องกันชายฝั่งเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการสร้างความมั่นคงในพื้นที่บางส่วน แต่ในขณะเดียวกันกลับส่งผลกระทบทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคมเป็นวงกว้าง

    นอกจากนี้ ชาวบ้านชุมชนริมชายฝั่งทะเลแห่งหนึ่งใน จ.สงขลา ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการป้องกันชายฝั่ง ได้เล่าให้ฟังว่าในอดีตเคยเห็นด้วยกับการสร้างโครงสร้างป้องกันเพราะไม่มีความรู้ความเข้าใจ จึงคิดว่าส่งผลดีต่อพื้นที่ชายฝั่งทะเล แต่พบในภายหลังว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบมิได้บอกถึงผลกระทบทั้งหมดอย่างกระจ่าง อีกทั้งเมื่อได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในเครือข่ายของชุมชนชาวประมงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อื่น จึงได้พบว่า การเกิดขึ้นของโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง อาจส่งผลให้พื้นที่ข้างเคียงที่ไม่มีโครงสร้างเกิดการกัดเซาะอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐจะเข้ามาสร้างโครงสร้างต่อไปเรื่อยๆ และเมื่อสิ้นสุดโครงสร้างตัวสุดท้าย ชายหาดก็จะกัดเซาะแบบเดียวกับที่เคยเกิดขึ้น แล้วเกิดแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ คิดว่าเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ นอกจากนี้ การที่หาดถูกกัดเซาะจะส่งผลให้เรือประมงที่เคยลากขึ้นมาจอดบนชายหาดไม่สามารถทำได้อีกต่อไป ต้องนำเรือประมงไปจอดที่หาดอื่น ทำให้ชาวประมงมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากเดิม ส่งผลกระทบกับสภาพเศรษฐกิจในครัวเรือน

    ดร.อารยา ขยายความต่อในเชิงกฎหมายว่า นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 เป็นต้นมา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้ให้ความคุ้มครองสิทธิของบุคคลและชุมชนร่วมกับรัฐเพื่อจัดการ บำรุงรักษาและใช้ประโยชน์จากพื้นที่ชายฝั่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคุ้มครองสิทธิในเชิงป้องกันจากการดำเนินโครงการที่อาจส่งผลกระทบคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือที่เรียกว่า ‘หลักระวังไว้ก่อน’ (Precautionary Principle) ซึ่งได้รับการรับรองชัดเจนมาตั้งแต่ในรัฐธรรมนูญฉบับปีพ.ศ. 2540 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน หลักการดังกล่าวได้เรียกร้องให้การดำเนินโครงการดังกล่าวจะต้องผ่านระบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม กระบวนนี้เองจะเป็นตัวคัดกรองว่าโครงการที่รัฐต้องการดำเนินการนั้นมีความเหมาะสมหรือไม่ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิทธิของประชาชนที่มีส่วนได้เสียมากน้อยเพียงใด ซึ่งถือเป็นการคุ้มครองสิทธิของประชาชนในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ภายใต้หลักการนี้เองรัฐจึงต้องระมัดระวังที่จะเลือกมาตรการใดมาใช้เพื่อการแก้ไขปัญหากัดเซาะชายฝั่ง โดยต้องคำนึงว่า มาตรการหรือโครงการนั้นจะบรรลุวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งได้หรือไม่ และเมื่อชั่งน้ำหนักแล้วโครงการดังกล่าวจะต้องส่งผลกระทบในลักษณะที่ก่อให้เกิดผลดีมากกว่าผลเสีย หากรัฐไม่แน่ใจถึงผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นแล้ว รัฐต้องไม่ควรดำเนินโครงการดังกล่าวเพราะผลที่เกิดขึ้นต่อทรัพยากรชายฝั่งอาจเสียหายจนยากจะเยียวยาให้กลับคืนสู่สภาพเดิมได้

    ตัวอย่างในต่างประเทศ หลายประเทศหันมาให้ความสนใจกับมาตรการที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ

    ประมาณ 50% ของชายฝั่งทะเลในเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลก ถูกป้องกันโดยใช้โครงสร้าง แต่ก็มิได้จำกัดอยู่เฉพาะเมืองใหญ่ๆ เท่านั้น ในประเทศสหรัฐอเมริกามีชายฝั่งประมาณ 14% (22,000 กิโลเมตร) ที่ใช้โครงสร้างป้องกัน และมากกว่า 15,000 กิโลเมตร หรือประมาณ 50% ของชายฝั่งในยุโรปถูกกัดเซาะและใช้โครงสร้างป้องกัน และสำหรับประเทศที่ประสบภัยพิบัติทางทะเลค่อนข้างมากอย่างญี่ปุ่นที่มีชายฝั่งทะเลยาว 34,500 กิโลเมตร ถูกป้องกันด้วยโครงสร้างทางวิศวกรรมประมาณ 27% [4]

    ประเทศที่มีดินแดนติดชายฝั่งหลายประเทศ โดยเรียนรู้จากบทเรียนเดิมที่เคยเกิดขึ้นว่า มาตรการใช้โครงสร้างป้องกันชายฝั่งนั้นมีข้อจำกัดทั้งเรื่องงบประมาณที่ต้องใช้เพื่อการก่อสร้างและบำรุงรักษาที่นับวันจะมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ [5] รวมถึงผลกระทบต่อพื้นที่ข้างเคียงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กลายเป็นว่ายิ่งสร้างโครงสร้างป้องกันยิ่งจะส่งผลให้ต้องสร้างต่อไปเรื่อยๆ เพราะชายหาดที่ไม่ถูกป้องกันจะถูกกัดเซาะเป็นโดมิโน่ (Domino effect) แนวโน้มของการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในปัจจุบันจึงได้พยายามปรับเปลี่ยนวิธีการ จากการตรึงชายฝั่งให้อยู่กับที่ “Hold the line” โดยใช้โครงสร้างป้องกัน มาเป็นใช้มาตรการที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ข้างเคียงน้อยที่สุด รวมถึงมาตรการไม่ใช้โครงสร้างแทน

    แนวคิด ‘Work with nature’ เป็นแนวคิดที่หลายประเทศหันมาให้ความสนใจกับมาตรการที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ อย่างมาตรการ ‘Living shoreline’ เป็นการป้องกันชายฝั่งโดยใช้ธรรมชาติสู้กับธรรมชาติ อย่างการเสริมความมั่นคงของป่าชายหาด พืชคลุมดิน สันทรายชายหาด ให้ได้เจริญเติบโตเพื่อเป็นปราการธรรมชาติให้กับชายฝั่ง [4] (รูปที่ 6 มาตรการ Living shoreline) อย่างไรก็ตามมาตรการนี้ควรถูกใช้เพื่อการป้องกันการกัดเซาะในระยะยาว หมายความว่า ควรใช้ในกรณีที่ชายฝั่งมีแนวโน้มจะถูกกัดเซาะ หรือยังไม่ถูกกัดเซาะ แต่หากว่าชายฝั่งนั้นถูกกัดเซาะไปแล้ว จำเป็นต้องปรับใช้มาตรการอื่นๆ ร่วมด้วย

    48095715763_1b44b5b9cc_o_d.png
    รูปที่ 6 มาตรการ Living shoreline (ซ้าย: เกาะ Dhigurah ประเทศ Maldives, ขวา: Western Australia ประเทศ Australia)

    มาตรการอื่นที่อาจปรับใช้ร่วมกันกับแนวคิด ‘Work with nature’ อาจเป็นการสร้างโครงสร้างเพื่อป้องกันชายฝั่งเพียงชั่วคราว เนื่องจากชายฝั่งทะเลส่วนใหญ่ถูกกัดเซาะเฉพาะในช่วงฤดูมรสุม พายุ หากเราใช้โครงสร้างป้องกันแบบถาวร ครั้งเมื่อหมดฤดูมรสุมและพายุผ่านพ้นไปแล้ว การมีอยู่ของโครงสร้างจะส่งผลต่อพื้นที่ข้างเคียงตามที่ได้กล่าวมาแล้ว หากเป็นโครงสร้างชั่วคราวก็จะสามารถรื้อถอนโครงสร้างนั้นเมื่อหมดประโยชน์ ซึ่งจะทำให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงสร้างเพื่อการป้องกันชายฝั่งทะเล และไม่เกิดผลกระทบต่อเนื่องกับพื้นที่ข้างเคียงอีกด้วย โดยโครงสร้างที่รื้อถอนออกไปนั้น สามารถนำกลับมาเวียนใช้ใหม่ได้ยามจำเป็น

    ผศ.ดร.จันทจิรา ได้ยกตัวอย่างการจัดการปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในประเทศฝรั่งเศส ว่ามีการกำหนดรัฐบัญญัติชายฝั่งทะเลในปี 1986 เพื่อการบริหารจัดการชายฝั่งโดยมีเป้าหมายเพื่อ สร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเลกับการใช้ประโยชน์จากชายฝั่งเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศควบคู่กันไป ซึ่งขณะนั้นเกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างหนักในประเทศอันเนื่องมาจากกิจกรรมของมนุษย์ โดยมีหลักการสำคัญที่เน้นการไม่เข้าไปแทรกแซงกระบวนการทางธรรมชาติของชายฝั่งทะเล เช่น การจำกัดการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างที่ประชิดชายฝั่ง การกำหนดระยะถอยร่น การคำนึงถึงความสามารถในการรองรับของพื้นที่ชายฝั่งทะเล

    สำหรับประเทศไทยแล้วยังไม่มีกำหนดมาตรการการจำกัดการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างที่ประชิดชายฝั่ง หรือการกำหนดระยะถอยร่นชายฝั่งทะเล มีเพียงระยะถอนร่นตามกฎหมายผังเมืองเท่านั้น แต่จากการศึกษาถึงผลกระทบที่เกิดจากการกัดเซาะชายฝั่ง พบว่าความเสียหายมักเกิดขึ้นกับพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์ในระยะประชิดกับชายฝั่งทะเลมากเกินไป [6] ตามหลักแล้วควรต้องมีการสงวนพื้นที่ชายฝั่งทะเลไว้เป็นระยะทางจำนวนหนึ่งเพื่อรองรับและเป็นกันชนของอิทธิพลคลื่นลม น้ำขึ้นน้ำลง กระบวนการชายฝั่งที่มีการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล ตลอดจนภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นบริเวณชายฝั่งทะเล ที่อาจก่อภัยอันตรายให้แก่ชีวิต ทรัพย์สินและสวัสดิภาพของประชาชน การอนุญาตให้บุคคล ชุมชน หน่วยงาน ตลอดจนผู้ประกอบการเอกชนเข้าใช้ประโยชน์ในระยะประชิดชายฝั่งมากเกินไปจะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชน มาตรการระยะถอยร่นจึงเป็นอีกหนึ่งมาตรการที่หลายประเทศนำมาใช้เพื่อป้องกันระวังเหตุที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

    ผศ.ดร.จันทจิรา ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าประเทศฝรั่งเศส มีการจัดตั้งหน่วยงานที่เข้ามาจัดการชายฝั่งทะเลโดยเฉพาะที่เรียกว่า ‘องค์การอนุรักษ์พื้นที่ชายฝั่งทะเลและทะเลสาบ’ (CELRL) ซึ่งเป็นองค์การมหาชนระดับชาติ นอกจากหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามนโยบายแห่งชาติแล้ว ยังมีหน้าที่เวนคืนที่ดินที่มีการกัดเซาะชายฝั่ง แล้วนำมาฟื้นฟูให้กลับคืนสภาพดีแล้วโอนกลับไปให้ท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องดูแลรักษาต่อไป นับว่าเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการจัดการทรัพยากรชายฝั่งทะเลของประเทศฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก

    เริ่มแล้วในประเทศไทย

    สำหรับหน่วยงานในประเทศไทย ยังไม่มีระเบียบรองรับการเวนคืนที่ดินมาเพื่อทำการฟื้นฟูกรณีที่โครงสร้างป้องกันก่อให้เกิดหาดกัดเซาะในพื้นที่ถัดไป มีแต่การเวนคืนพื้นที่เพื่อการก่อสร้างเท่านั้น อย่างไรก็ตาม หน่วยงานที่รับผิดชอบเริ่มมีแนวคิดที่จะไม่ใช้สิ่งก่อสร้างเพื่อป้องกันชายฝั่งเพราะคำนึงถึงผลกระทบที่ตาม ดังจะเห็นได้จากการใช้มาตรการเติมทรายชายหาด ณ หาดชลาทัศน์ จ.สงขลา ในปี 2555 ระยะทางประมาณ 450 เมตร ดำเนินการโดยเทศบาลนครสงขลาร่วมกับกรมเจ้าท่า ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่นำมาตรการเติมทรายชายหาดมาใช้เพียงอย่างเดียว โดยไม่พ่วงด้วยมาตรการใช้โครงสร้างแบบที่เคยเกิดขึ้นในหลายที่ เช่น หาดแสงจันทร์ จ.ระยอง ในปัจจุบัน (มิ.ย.2562) กรมเจ้าท่ากำลังดำเนินการเติมทรายชายหาดชลาทัศน์อีกรอบ โดยเพิ่มพื้นที่ชายหาดที่กว้างและยาวครอบคลุมตลอดแนวชายหาดร่วม 5 กิโลเมตร โดยมีแผนแล้วเสร็จในปี 2562 นี้

    นอกจากนี้ยังพบว่า การเติมทรายชายหาด มีประโยชน์หลักที่เห็นเด่นชัดคือเพิ่มพื้นที่สาธารณะประโยชน์เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ เสริมสร้างเกราะป้องกันชายฝั่งโดยไม่ส่งผลให้เกิดการกัดเซาะในพื้นที่ถัดไปเหมือนการใช้โครงสร้างป้องกัน นอกจากนั้นยังมีผลกระโยชน์แฝงอื่น เช่น เสริมสร้างความสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ริมชายหาด เพิ่มศักยกภาพการเข้าถึงพื้นที่ชายหาด และไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลในอนาคต [7] แม้มาตรการนี้จำเป็นต้องดำเนินการเติมทรายซ้ำอย่างต่อเนื่องตามวาระที่ได้ออกแบบไว้ เช่นทุก 3-5 ปี แต่เพราะส่งผลดีต่อทัศนียภาพของชายหาด จึงเป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายสำหรับชายหาดท่องเที่ยว เช่น ไมอามี่ ไวกิกิ ในประเทศสหรัฐอเมริกา รวมถึงหาดพัทยา จ.ชลบุรี กรมเจ้าท่าได้ใช้วิธีการเติมทรายชายหาดร่วมกับการฝังกระสอบทรายเพื่อเพิ่มความมั่นคงให้กับชายหาด ตลอดระยะทาง 2.8 กิโลเมตร แล้วเสร็จเมื่อกุมภาพันธ์ 2562 (รูปที่ 7 การเติมทรายชายหาดพัทยา)

    48095771092_6a62245cdc_o_d.png

    รูปที่ 7 การเติมทรายชายหาดพัทยา ก่อนการเติมทรายปี 2556 และหลังการเติมทรายปี 2562 (ที่มาภาพด้านซ้าย: ประชาไท)

    ปรับมุมมองใหม่ ในการต่อรองและอยู่ร่วมกับธรรมชาติ

    ผลกระทบของโครงสร้างป้องกันที่มีต่อชายหาดข้างเคียงตามที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น เป็นประเด็นที่หน่วยงานที่รับผิดชอบตระหนักดี และพยายามหาวิธีการป้องกันแก้ไข แต่ด้วยข้อจำกัดหลายด้าน หนึ่งในนั้นคือระบบงบประมาณ จึงทำให้การของบประมาณเพื่อป้องกันชายฝั่งนั้นทำได้เพียงพื้นที่จำกัด หากต้องป้องกันตลอดทั้งแนวของชายหาดที่ต่อเนื่องกันจนถึงหัวหาดเพื่อลดผลกระทบ จะเป็นโครงการใหญ่และงบประมาณประจำปีมีไม่เพียงพอ จึงนำมาซึ่งในแบ่งงบประมาณก่อสร้างเป็นส่วนๆ เฉพาะพื้นที่ โดยโครงสร้างตัวสุดท้ายจะเหนี่ยวนำให้เกิดการกัดเซาะในพื้นที่ถัดไป แล้วใช้งบประมาณก้อนถัดไปเพื่อโครงการแก้ไขปัญหาชายฝั่งทะเลถูกกัดเซาะจากผลกระทบของโครงสร้างป้องกันที่สร้างโดยงบประมาณก้อนที่ใช้ไปก่อนหน้า จะเห็นได้ว่าเป็นการดำเนินงานแบบวนซ้ำ ซึ่งเกิดขึ้นมาแล้วในหลายพื้นที่ และจากตัวอย่างข้อมูลเพียงสองหน่วยงานหลักที่กล่าวมาแล้วข้างต้น พบว่าหน่วยงานต้องใช้งบประมาณเพื่อป้องกันชายฝั่งทะเลจำนวนมาก หากมีการก่อสร้างโครงสร้างป้องกันไปเรื่อยๆแบบที่เคยดำเนินการมา ประเทศจะต้องสูญเสียทั้งพื้นที่ริมชายฝั่งจากผลกระทบของตัวโครงสร้างป้องกันเอง และงบประมาณเพื่อการป้องกันเพิ่มมากขึ้นอย่างมิอาจคาดเดาได้ในอนาคต

    สุดท้ายแล้ว หากเรายังคงเดินตามแนวทางปฏิบัติเดิมๆ เพื่อการต่อสู้กับธรรมชาติ ยิ่งสร้างโครงสร้างป้องกัน ชายฝั่งก็ยิ่งกัดเซาะลุกลามไปในพื้นที่อื่น มิใช่เพียงจะต้องสูญเสียพื้นที่ชายฝั่งและงบประมาณอย่างมหาศาลเท่านั้น แต่ผลกระทบที่มีต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในยุคนี้ที่ธรรมชาติทั่วโลกเกิดความผันผวนอย่างที่มิอาจคาดเดาได้

    บางทีมาตรการที่เหมาะสมในการต่อสู้กับธรรมชาติ อาจต้องให้ธรรมชาติต่อสู้กันเอง แล้วเอามนุษย์ออกจากพื้นที่นั้น หันมาจัดการกับการใช้ประโยชน์ของมนุษย์อาจเป็นวิถีทางที่เหมาะสม ที่จะสามารถต่อรองและอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน



    เอกสารอ้างอิง
    [1] กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, การประมวลข้อมูลสถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่งปี 2560, กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2561.
    [2] จันทจิรา เอี่ยมมยุรา, อารยา สุขสม และสมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง, การฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับการกระทำของหน่วยงานของรัฐที่ก่อให้เกิดการกัดเซาะชายหาดในประเทศไทย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2562.
    [3] เอกสารคำให้การโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง ส่งศาลปกครองเพชรบุรี คดีหมายเลขดำที่ ส.6/2559, 2559.
    [4] Donna M. Bilkovic, Molly M., Megan L. Peyre and Jason D. Toft, Living Shorelines: The Science and Management of Nature-Based Coastal Protection, Taylor&Francis Group, 2017.
    [5] Luciana S. Esteves, Managed Realignment: A Viable Long-Term Coastal Management Strategy?, Springer, UK, 2014.
    [6] สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง, รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่องการเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งทะเลภาคใต้ สาเหตุและผลกระทบ, เสนอ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ภายใต้แผนงานสร้างเสริมการเรียนรู้กับสถาบันอุดม ศึกษาไทย เพื่อการพัฒนานโยบายสาธารณะที่ดี, 2554.
    [7] สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง, การเติมทรายชายหาดเพื่อป้องกันชายฝั่งทะเล, วิศวสารลาดกระบัง, Vol.31, No.4, .7-12, 2557.

    แหล่งอ้างอิงจากเว็บไซต์
    https://www.md.go.th/intranet/joomlatools-files/docman-files/งานบัญชีและงบประมาณ/report2561.pdf https://www.md.go.th/intranet/joomlatools-files/docman-files/งานบัญชีและงบประมาณ/plan2562.pdf
    https://prachatai.com/journal/2013/05/46566
    http://www.dpt.go.th/eprocurement_v3

    https://www.tcijthai.com/news/2019/8/scoop/9314
     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,784
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    สัญญานเตือนจากรัสเซีย ในอเมซอน และไซบีเรีย ป่าสองแห่งกำลังหดตัวอย่างเห็นได้ชัด ในจังหวัดของรัสเซีย ควันจากไฟไหม้ถูกมองจากอวกาศ และไปถึงแคนาดาแล้ว # 15 สิงหาคม

     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,784
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Michael DiFato

    บางส่วนของ eddy flow ของ magnetons โผล่มาใน the Y-Cut Magnetosphere cygnet วันนี้ [ภาพพวกนี้เข้าใจแค่ว่าในกรวยไม่ควรมีเส้นที่ยุ่งเหยิง หรือมีสีที่ผิเปกติ จะเห็นว่าในกรวยด้านซ้าย มีเส้นสีแดง เหมือนด้านนอกกรวยข้างขวา Michael DiFato จึงบอกว่า บางส่วนของ eddy flow ของ magnetons โผล่มาใน the Y-Cut Magnetosphere cygnet ซึ่งปกติไม่ควรมี]
    IMG_4092.JPG
    Some of the eddy flow of magnetons showing up in the Y-Cut Magnetosphere cygnet today.


     

แชร์หน้านี้

Loading...