ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,774
    ค่าพลัง:
    +97,150
    การต่อสู้กับโควิด-19 ด้วยแอนติบอดี

    ระบบภูมิคุ้มกันของคนเราสามารถต่อสู้กับไวรัส โดยเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีชื่อว่า เซลล์พลาสมา (plasma cell) จะสร้างแอนติบอดีขึ้นมา แอนติบอดีเป็นสารพวกโปรตีนที่ทำหน้าที่จับกับส่วนต่าง ๆ ของไวรัส และขัดขวางการติดเชื้อ

    โดยเมื่อผู้ป่วยติดเชื้อโรคโควิด-19 ร่างกายมีกระบวนการตามธรรมชาติที่จะสร้างแอนติบอดีเพื่อตอบสนองต่อการติดเชื้อ หรือเมื่อในกรณีที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคก็จะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนตีบอดีขึ้นมา เราเรียกว่า "active immunity" เพราะร่างกายของเราสร้างขึ้นมาเอง

    กระบวนการสร้างแอนติบอดีในผู้ป่วยติดเชื้อโรคโควิด-19 ไม่ได้เกิดขึ้นในทันที ใช้เวลาประมาณหนึ่งถึงสองสัปดาห์ แต่เมื่อเกิดการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันแล้ว หากได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย ร่างกายจะสามารถตอบสนองต่อสู้กับไวรัสได้อย่างรวดเร็ว เรียกว่ามีกำลังอาวุธยุทโธปกรณ์พร้อมเข้าจู่โจมทำลายไวรัส และระบบภูมิคุ้มกันที่ได้กระตุ้นแล้วนี้จะอยู่ได้นานหลายทศวรรษหรือตลอดชีวิต

    แต่ในขณะนี้เรายังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค สำหรับกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกัน การนำแอนติบอดีจากผู้ป่วยที่หายจากโรคแล้ว (convalescent plasma) มาใช้เพื่อต่อสู้กับไวรัสโควิด-19 ในผู้ป่วยที่เพิ่งติดเชื้อใหม่ จึงเป็นทางเลือกการรักษาโรครูปแบบหนึ่ง ภาษาวิชาการเรียกว่าเป็น "passive immunity" เพราะเราไม่ได้สร้างภูมิคุ้มกันเองเพราะต้องใช้เวลาในการกระตุ้นการสร้าง ผู้ป่วยได้รับแอนติบอดีในทันที ไม่ต้องรอกระบวนการสร้างตามธรรมชาติ

    นักวิจัยคาดว่าแอนติบอดี (neutralizing antibody) มุ่งจู่โจมไปที่โปรตีนในส่วนของปุ่มที่ยื่นออกด้านนอก (spike protein) ของไวรัสโรคโควิด-19 (SARS-CoV-2) ซึ่งพวกมันใช้ปุ่มนี้แหล่ะ ไปจับกับตัวรับที่เยื้อหุ้มเซลล์ของมนุษย์แล้วทำให้พวกมันเข้าไปภายในเซล์ได้

    ถ้าแอนติบอดีจับกับอนุภาคไวรัสแล้วจะเกิดอะไรขึ้น อ่านต่อที่นี่ครับ https://bit.ly/2UZcFFT

    อ่านเพิ่มเติม
    -Convalescent plasma as a potential therapy for COVID-19
    https://www.thelancet.com/journals/laninf/article/PIIS1473-3099(20)30141-9/fulltext
    -The convalescent sera option for containing COVID-19
    https://www.jci.org/articles/view/138003
    -Investigational COVID-19 Convalescent Plasma - Emergency INDs
    https://www.fda.gov/vaccines-blood-...l-covid-19-convalescent-plasma-emergency-inds
    -Houston Methodist performs the nation’s first plasma transfusion to treat COVID-19
    https://www.tmc.edu/news/2020/03/ho...s-first-plasma-transfusion-to-treat-covid-19/

     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,774
    ค่าพลัง:
    +97,150
    บทเรียนจากเยอรมนี
    : อ่านค่าสถิติผู้เสียชีวิตจากไวรัส COVID-19 ทำไมจึงยังอยู่ในระดับต่ำ? เยอรมนีมีจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 เป็นอันดับ 4 ของโลก โดยมีผู้ติดเชื้อสะสมกว่า 1 แสนราย แต่มีผู้เสียชีวิตเพียง 1,584 ราย คิดเป็นอัตราการเสียชีวิต 1.58% เทียบกับประเทศฝรั่งเศสซึ่งมีผู้ติดเชื้อกว่า 92,000 คน กลับมีอัตราเสียชีวิตสูงถึง 8.7% น่าสนใจว่าทำไมสถิติผู้เสียชีวิตในเยอรมนีจึงยังอยู่ในระดับต่ำแม้ว่าจะมีผู้ติดเชื้อสูงถึงหลักแสนคนแล้ว

    ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า อัตราการตายในเยอรมนีนั้นต่ำมาก เกิดจาก การระดมปูพรมตรวจหาเชื้อ “ในบางประเทศ เช่น อิตาลี ผู้ที่ได้รับการตรวจจะมีเฉพาะกลุ่มที่แสดงอาการรุนแรงเท่านั้น แต่ในบางประเทศ เช่น เยอรมนี กลยุทธ์ระดมตรวจแบบปูพรมถูกนำมาใช้” ดร.เดียทริช รอธเท่นเบเคอร์ ผู้อำนวยการสถาบันระบาดวิทยา มหาวิทยาลัย Ulm ในเยอรมนี กล่าวกับสำนักข่าว TIME

    นั่นหมายความว่า แม้เยอรมนีจะมีผู้ติดเชื้อมากเป็นอันดับ 4 ของโลก แต่มีโอกาสน้อยกว่าที่จะมีผู้ติดเชื้อที่ไม่ได้รับการตรวจหลงเหลืออยู่ หากเทียบกับประเทศที่ตรวจเฉพาะเคสอาการหนักเท่านั้น

    ระบบราชการช่วยให้ผลิตชุดตรวจได้เร็ว

    เมื่อวันที่ 15 มี.ค. 63 ขณะนั้นเยอรมนีมีอัตราการตรวจหาเชื้อ 2,023 คนต่อประชากร 1 ล้านคน อัตรานี้ยังตามหลังอยู่ 3 ประเทศ คือ เกาหลีใต้, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และออสเตรเลีย

    แต่ต่อมาในวันที่ 20 มี.ค. 63 โลธาร์ วีลเลอร์ ประธานสถาบัน Robert Koch สถาบันที่เป็นแกนหลักในการดูแลสาธารณสุขของเยอรมนี กล่าวว่า แล็บทดลองเยอรมนีพร้อมแล้วที่จะตรวจหาเชื้อได้ถึง 1.6 แสนครั้งต่อสัปดาห์ จากก่อนหน้านั้นหากจะตรวจได้ถึงระดับนี้ต้องใช้เวลา 2 เดือน

    ย้อนกลับไปถึงเดือนมกราคม เยอรมนีคือหนึ่งในประเทศแรกๆ ที่สามารถพัฒนาชุดตรวจหาเชื้อ COVID-19 ได้สำเร็จ เนื่องจากระบบการปกครองที่นี่ไม่ได้ถูกกดทับด้วยระบบราชการรวมศูนย์ไว้ที่ส่วนกลาง ระบบสาธารณสุขจะถูกกำกับควบคุมในกฎหมายระดับรัฐ ทำให้บริษัทเอกชนได้รับอนุญาตและทำงานได้เร็วกว่าเพื่อผลิตชุดตรวจจำนวนมาก มีสถิติระบุว่า จนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ บริษัทแห่งหนึ่งในกรุงเบอร์ลินสามารถผลิตชุดตรวจได้อย่างน้อย 1.4 ล้านชิ้นเพื่อให้องค์การอนามัยโลก (WHO) กระจายต่อไปทั่วโลก

    เทียบกับระบบรวมศูนย์ส่วนกลางอย่างในสหรัฐอเมริกา ซึ่งการอนุมัติเวชภัณฑ์ขึ้นอยู่กับองค์การอาหารและยา (FDA) เท่านั้น ทำให้กว่าจะมีบริษัทได้รับอนุญาตให้ผลิตชุดตรวจเองก็เป็นช่วงต้นเดือนมีนาคมแล้ว ทำให้ชุดตรวจไม่เพียงพอ

    ยิ่งตรวจมาก ตัวเลขอัตราการตายยิ่งต่ำ

    “เพราะเยอรมนีสามารถผลิตชุดตรวจได้เร็วมาก นั่นทำให้ประเทศนี้มีแนวโน้มที่จะเลือกตรวจเคสที่อาการไม่รุนแรงได้มากขึ้น” ดร.เลียม สมีธ ศาสตราจารย์ด้านระบาดวิทยาจาก London School of Hygiene and Tropical Medicine กล่าว

    เขาเสริมว่า ในทางกลับกัน ประเทศที่ไม่มีชุดตรวจมากเท่าจึงถูกบีบโดยปริยายให้ตรวจเฉพาะเคสที่มีอาการรุนแรง แยกคนที่มีอาการไม่รุนแรงออกจากสถิติการตรวจหาเชื้อ ดังนั้นยิ่งตรวจคนที่มีอาการน้อยจำนวนมากเท่าไหร่ ก็จะทำให้อัตราการตายออกมาน้อยลง

    แม้ว่าเยอรมนีและอิตาลีจะมีกลุ่มอายุประชากรใกล้เคียงกัน โดยเป็นสองประเทศที่มีผู้สูงอายุจำนวนมากที่สุดในสหภาพยุโรป แต่ค่าเฉลี่ยอายุประชากรของเยอรมนีที่ติดเชื้อไวรัส COVID-19 กลับต่ำกว่ามากโดยอยู่ที่อายุ 46 ปี ขณะที่อิตาลีอยู่ที่ 63 ปี อย่างไรก็ตาม สมีธกล่าวเช่นกันว่าน่าจะเกิดจากการระดมตรวจแบบปูพรมนั่นเอง

    “หากคุณตรวจหาเชื้อมากขึ้น คุณก็น่าจะได้ค่าเฉลี่ยอายุของเคสผู้ติดเชื้อต่ำลง” สมีธกล่าว “สถิตินี้ไม่ได้หมายความว่าค่าเฉลี่ยอายุผู้ติดเชื้อในความเป็นจริงจะต่างกันเสมอไป”

    เตียงรับเคสโคม่าจำนวนมาก

    เยอรมนียังเป็นประเทศที่มี “เตียงผู้ป่วย” จำนวนมาก ทำให้โรงพยาบาลไม่เต็มจนล้นจากเคสผู้ป่วย COVID-19 เหมือนกับในอิตาลีตอนเหนือ

    จากงานวิจัยเมื่อปี 2555 พบว่าเยอรมนีมีเตียงผู้ป่วยอาการหนักสูงถึง 29.2 เตียงต่อประชากร 1 แสนคน เกือบจะเป็นเท่าตัวของอิตาลีซึ่งมีจำนวนเตียงเพียง 12.5 เตียงต่อประชากร 1 แสนคน และปกติแล้วเตียงผู้ป่วยหนักในเยอรมนีจะมีการใช้งานอยู่ที่ 70-80% เท่านั้น ดังนั้นจึงมีเตียงผู้ป่วยหนักเพียงพอสำหรับรับผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 เข้ารักษาเพิ่ม

    อย่างไรก็ตาม สถิติผู้เสียชีวิตที่ต่ำของเยอรมนีอาจไม่เป็นเช่นนี้ไปตลอด เพราะ COVID-19 อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการหนักได้นานหลายสัปดาห์ก่อนที่จะคร่าชีวิตผู้ป่วย และเยอรมนียังอยู่ในขั้นเริ่มต้นของโรคระบาดเท่านั้นหากเทียบกับสถานการณ์ในอิตาลี

    “เยอรมนียังอยู่ในระยะเริ่มต้นของการระบาดเท่านั้น” รอธเท่นเบเคอร์กล่าว “จำนวนผู้เสียชีวิตมักจะช้ากว่าสถานการณ์จริงในปัจจุบันเสมอ ใน 2-3 สัปดาห์ข้างหน้า ตัวเลขอาจจะแตกต่างจากนี้”

    โดย Pattarat
    Source: positioningmag.com
    https://positioningmag.com/1271904

    เพิ่มเติม
    - Why Is Germany's Coronavirus Death Rate So Low? https://time.com/5812555/germany-coronavirus-deaths/

    - ‘เยอรมนี’ ขยายล็อกดาวน์ ผวาติดเชื้อโควิด-19 ทะลุแสน: https://www.bangkokbiznews.com/news..._medium=internal_referral&utm_campaign=corona

     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,774
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ด่วนที่สุด!! BoJo
    นายกรัฐมนตรีอังกฤษ อาการทรุดหนักถูกย้ายเข้าห้อง ICU จากการติดเชื้อโคโรนาไวรัส

     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,774
    ค่าพลัง:
    +97,150
    #ข่าวสั้น (7 เมษา)  รพ. เคย์โอเผยแพทย์ฝึกงานจากโรงพยาบาลม. เคย์โอติดเชื้อแบบ cluster (กลุ่ม) ถึง 18 ราย

    มีประวัติไปกินเลี้ยงฉลองจบฝึกงานพร้อมกัน 40 คน

    รายละเอียด
    31 มีนา พบหมอฝึกงานติดเชื้อ 1 ราย

    รพ. ขอให้หมอฝึกงาน 99 คนที่มี ประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับแพทย์ผู้ติดเชื้อพักอยู่ที่บ้าน 14 วันพร้อมทั้งตรวจเชื้อ

    ถึงวันที่ 6 เมษา พบว่าติดเชื้อไปแล้ว 18 ราย

    (สืบประวัติพบว่ามีแพทย์ฝึกงานถึง 40 คนไปกินข้าวด้วยกันแม้ทางรพ. จะสั่งห้ามไว้แล้ว)

    ทางฝั่งโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเคย์โอก็ต้องออกมาขอโทษเป็นการใหญ่ ว่าเป็นการกระทำที่ไม่น่าให้อภัย

    #กิ๊ฟจังนั่งเล่า #ข่าวญี่ปุ่น #เกาะติดไวรัสโคโรนา
    #เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ #อู่ฮั่น #COVID-19 #โควิด19

    慶應大学病院 研修医18人集団感染 大勢で会食「許されぬ行為」 https://www3.nhk.or.jp/news/html/20200407/k10012371461000.html

     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,774
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ทำงานแลกอิ่ม!!
    "บอง โจวี" เปิดร้านอาหารเพื่อคนยากไร้ ไม่ได้แจกฟรี!!

    ศิลปินร็อกระดับตำนาน "จอน บอน โจวี" ให้กำลังใจทุกคนให้ผ่านช่วงเวลาอันเลวร้ายจาก COVID-19 ให้ได้ ด้วยโครงการ "ทำเท่าที่ทำได้" ซึ่งสนับสนุนให้คนช่วยเหลือเกื้อกูลกัน อย่างที่เขาทำผ่านโครงการร้านอาหาร "JBJ Soul Kitchen" ที่ไม่ได้ขายอาหารแบบธรรมดา ๆ แต่ลูกค้าสามารถแลกอาหารด้วยการบริจาคเงิน หรือทำประโยชน์เพื่อสาธารณะชนในรูปแบบต่างๆ

    อ่านต่อ>>https://mgronline.com/entertainment/detail/9630000035337

    #บองโจวี #jonbonjovi #rockstar #โควิด19 #covid19

     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,774
    ค่าพลัง:
    +97,150
    รัฐบาลมาเลเซียให้ความช่วยเหลือ ทุกคนที่ได้รับผลกระทบจาก COVID 1,000 MYR เป็นเวลา 6 เดือนพร้อมไฟฟ้าและน้ำฟรี 3 เดือน
    FB_IMG_1586216712093.jpg
    Malaysian Government assist all impacted from COVID 1,000 MYR for 6 months plus free electricity and water for 3 months

     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,774
    ค่าพลัง:
    +97,150
    #ภูเขาไฟ #Volcano
    06/04/20
    การปะทุอย่างต่อเนื่องครั้งที่ 2 ของปี
    ภูเขาไฟ #PitondelaFournaise บนเกาะ เรอูนียง #LaReunion เกาะตั้งอยู่บริเวณมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกของมาดากัสการ์
    มองเห็นได้ชัดเจนแม้กระทั่งบนอวกาศวันนี้
    CR view captured at 06.35UTC.Image via
    @ PlatformAdam
    @ CopernicusEU
    ดาวเทียม #Sentinel2
    #Watchers

     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,774
    ค่าพลัง:
    +97,150
    John Traczyk

    กรณีที่ได้รับการยืนยันครั้งแรกของการระบาดของโรค coronavirus 2019 (COVID-19) ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ประกาศเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2563 มันเป็นประเทศแรกในตะวันออกกลางที่รายงานกรณีที่ได้รับการยืนยัน นั่นคือ 2 1/2 เดือนที่ผ่านมา

    ดูที่ทั้งหมด 5G พวกเขามีประชากร 9.8 ล้านคน จนถึงปัจจุบันมีผู้เสียชีวิต 11 ราย พวกมันควรจะตกลงมาเหมือนแมลงวัน

    The first confirmed case of the pandemic of coronavirus disease 2019 (COVID-19) in the United Arab Emirates was announced on January 29, 2020. It was the first country in the Middle East to report a confirmed case. That was 2 1/2 months ago

    Look at all that 5G. They have a population of 9.8 million people. There have been 11 deaths to date. They should be falling over like flies.

     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,774
    ค่าพลัง:
    +97,150
    #เกาหลีใต้ส่งกลับสาวไต้หวันเซ่นมาตรการกักตัว
    #แอบส่องกฏเหล็กกักเชื้อที่เกาหลีใต้

    มีข่าวใหญ่ ออกสื่อทั้งฝั่งเกาหลีใต้ และฝั่งไต้หวันวันนี้ว่า มีนักท่องเที่ยวสาวไต้หวัน ถูกปฏิเสธเข้าเมืองและส่งตัวกลับ โทษฐานที่ไม่ยอมถูกกักตัว 14 วัน ตามมาตรการใหม่ของเกาหลีใต้

    ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนเป็นต้นมา ทางเกาหลีใต้ได้ออกมาตรการเข้าเมืองใหม่ ให้ชาวต่างชาติทุกคน จะต้องถูกกักตัวในที่พักของรัฐบาลเกาหลีใต้เป็นเวลา 14 วัน ถึงจะอนุญาตเข้าเมืองได้

    ย้ำอีกครั้ง ชาวต่างชาติทุกคนที่จะเดินทางเข้าเมืองเกาหลีใต้ ต้องถูกกักตัว 14 วัน ไม่ว่าจะมาเพื่อจุดประสงค์ใด หรือจะเข้า-ออก เกาหลีใต้มาแล้วหลายครั้งก่อนหน้านี้ หากเดินทางมาที่เกาหลีใต้ หลังวันที่ 1 เมษายน ต้องถูกกักตัว 14 วันทุกคน

    แล้วระหว่างที่ถูกกักตัวในที่พักของเกาหลี ก็ไม่ได้อยู่ฟรีนะคะ ต้องเสียค่าใช้จ่ายรายวันให้กับทางรัฐบาลเกาหลีด้วย เขาคิดวันละ 100,000 วอน × 14 วัน

    เท่ากับต้องจ่ายทั้งหมด 1,400,000 วอน (ประมาณ 39,200 บาท) ต่อคน ที่ต้องอยู่กับเขา 14 วัน และเก็บเงินทันทีตั้งแต่วันแรกที่เข้าเมือง

    ข้อมูลนี้ ทางเกาหลีใต้แจ้งนักท่องเที่ยวตั้งแต่ตอนที่กำลังจะเดินทางเข้ามา ซึ่งสาวไต้หวันก็รับทราบข้อมูลนี้แล้วตั้งแต่ก่อนออกเดินทาง

    แต่พอถึงวันเดินทางจริง ตอนไปถึงสนามบินที่อินชอน กลับอิดออดเรื่องที่จะจ่ายค่ากักตัว 14 วัน โดยอ้างว่าเธอมีเงินไม่พอที่จะเสียค่าใช้จ่ายตรงนี้ ขอไม่กักตัวได้ไหม

    เมื่อเป็นเช่นนั้น ทางการเกาหลีใต้จึงพิจารณาเป็นอื่นไม่ได้ นอกจากความผิดฐานฝ่าฝืนมาตรการกักโรค จึงปฏิเสธการเข้าเมือง แล้วส่งตัวกลับไต้หวันทันที

    และนักท่องเที่ยวสาวไต้หวันคนนี้ ก็เป็นชาวต่างชาติคนแรกที่ถูกส่งตัวกลับ เซ่นมาตรการกักโรคใหม่ของเกาหลีใต้

    แล้วก็ไม่ใช่แค่สาวไต้หวันคนนี้ คนเดียวที่เจอปัญหา ต่อมาไม่นาน ทางเกาหลีใต้ก็จำเป็นต้องส่งชาวต่างชาติคนอื่นกลับอีกถึง 11 คน ที่ปฏิเสธการเข้าโปรแกรมกักตัว หนึ่งในนั้นเป็นนักกีฬาชาวอังกฤษ ที่เคยเข้าเมืองเกาหลีใต้แล้วหลายครั้ง ก็ไม่รอด เพราะรัฐบาลเกาหลีใต้ย้ำในย้ำ ว่ากฏต้องเป็นกฏ ต้องปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด

    และนอกเหนือจากการถูกปฏิเสธเข้าเมืองแล้ว หากมีการให้ข้อมูลเท็จ หรือแอบหลบหนีขณะอยู่ในโปรแกรมกักตัว มีโทษจำคุกถึง 1 ปี หรือปรับเงิน 10 ล้านวอน (ประมาณ 280,000 บาท) และอาจมีโทษถึงขั้นเพิกถอนวีซ่า หรือแบนการเข้าประเทศอีกหลายปีก็เป็นได้

    ส่วนสาวไต้หวัน หลังจากที่โดนส่งกลับบ้าน ก็ยังไม่หมดเคราะห์ ต้องโดนกักตัวที่ไต้หวันอีก 14 วัน เพราะเกาหลีใต้ก็เป็นประเทศที่ขึ้นบัญชีแดงของทางไต้หวันเหมือนกัน

    ก็ถือเป็นการแจ้งข่าว สำหรับท่านใดที่มีแผนว่าจะเดินทางไปเกาหลีใต้ ก็แนะนำให้เปลี่ยนใจ เลื่อนไปก่อนท่าจะดีกว่า จนกว่าสถานการณ์ทางโน้นจะดีขึ้น

    เพราะเกาหลีใต้เขาเอาจริง กฏระเบียบเข้มกว่าเราเยอะ อยู่ก็ไม่สบาย แถมต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่น้อย ไหนเลยจะรับรองระดับ VIP แบบบ้านเรา จัดให้อยู่ดี กินฟรีทุกอย่าง ไม่มีนะค้า บอกเลย

    แหล่งข้อมูล

    https://m-en.yna.co.kr/view/AEN20200406004452315?section=national/national
    http://m.koreaherald.com/view.php?ud=20200406000756
    https://www.taiwannews.com.tw/en/news/3911227
    https://thetaiwantimes.com/taiwanese-woman-deported-from-s-korea/2070

     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,774
    ค่าพลัง:
    +97,150
    #เลย เกิดพายุลูกเห็บถล่ม อำเภอเชียงคานเสียหายหนัก ในรอบ 5 ปี พายุทำให้บ้านเรือนราษฏร ที่อยู่ในเขตเทศบาลเชียงคาน เสียหายกว่า 100 หลังคาเรือน โรงพยาบาลเชียงคานได้รับความเสียหายอย่างหนัก คนไข้ไม่มีที่อยู่
    #พายุฤดูร้อน

     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,774
    ค่าพลัง:
    +97,150
    #สมุทรปราการ บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่มูลนิธิร่วมกตัญญู นำเงินส่วนตัว 5 ล้านบาท พร้อมหน้ากากอนามัย เดินเคาะประตูห้องเช่า ภายในชุมชนเคหะเมืองใหม่บางพลี แจกเงินเยียวยาครอบครัวละ 500 บาท พร้อมหน้ากากอนามัยอีกคนละ 2 แผ่น
    #โควิด19

     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,774
    ค่าพลัง:
    +97,150
    #น่าน ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เปิดประชุมด่วน ซักซ้อมความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ประจำด่านตรวจคัดกรองห้วยน้ำอุ่น เพื่อวางมาตรการเข้ม หลังมีคำสั่งระงับการเดินทางเข้าจังหวัดน่าน เป็นการชั่วคราว มีผลบังคับใช้

     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,774
    ค่าพลัง:
    +97,150
    #สมุทรปราการ เซียนไก่ 9 ราย ไม่สน พ.ร.ก. มั่วสุมซ้อมตีไก่ ภายในชุมชนศรีด่าน 22 ตำรวจและฝ่ายปกครองบุกรวบทั้งวงดำเนินคดี
    #ชนไก่ #โควิด19

     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,774
    ค่าพลัง:
    +97,150
    กลุ่ม NGO ในอินเดียทำงานหนัก แจกอาหาร บริการตรวจสุขภาพประชาชนฟรี
    .
    อินเดียถือเป็นประเทศหนึ่งที่มีกลุ่ม NGO (ผมขอรวมองค์กรการกุศลในทุกรูปแบบลงไปด้วย โดยองค์กรทางศาสนา) ทำงานเยอะมาก แอดเคยไปคุยกับ NGO หลายคนในอินเดียด้วยแหละ โดยเฉพาะในกลุ่มที่ทำเรื่องการแก้ไขปัญหาความยากจน และลดความเหลื่อมล้ำ ตอนนั้นอาจารย์พาไปลงสำรวจสลัม และช่วย NGO อินเดียทำงาน
    .
    จะบอกว่าในช่วงปกติ กลุ่มคนเหล่านี้ก็ทำงานค่อนข้างหนักครับ เพราะคนอินเดียมีเยอะมาก ไหนเรื่องการกระจายรายได้ในอินเดียจะทำได้น้อยมาก ทำให้อินเดียติดอันดับต้น ๆ ของโลกในเรื่องความเหลื่อมล้ำ ชีวิตคนจนในอินเดียนี่วัน ๆ นึงทำงานได้เงินประมาณ 100 รูปี หรือราว 50 บาทไทยเท่านั้น ย้ำว่า 1 วันทำ8-10 ชั่วโมงนะครับ
    .
    ทั้งนี้ตัวเลขจากธนาคารโลกเมื่อปี 2015 ระบุว่าอินเดียนั้นมีคนที่อยู่ด้วยรายได้ประมาณเท่านี้มากถึง 176 ล้านคน แต่จากการประมวลดัชนีความยากจนในรูปแบบใหม่ของทางสหประชาชาติ พบว่าอินเดียอาจมีประชากรที่อยู่ในสภาพยากจนสุดขั้วมากถึง 369 ล้านคน
    .
    แต่ในทางกลับกันอินเดียนั้นมีมหาเศรษฐีที่ขึ้นนิตสารคนรวยของโลกเยอะเป็นอันดับต้นๆ นี่แหละครับที่เขาเรียกว่า "ความเหลื่อมล้ำทางรายได้" ซึ่งมันเป็นผลสำคัญมาจากความอ่อนแอทางด้านนโยบายของภาครัฐ
    .
    ด้วยปัญหาการทำงานของรัฐบาลในอินเดีย ส่งผลให้คนจำนวนมากที่มีจิตสาธารณะและเห็นปัญหาเหล่านี้ตั้งกลุ่มให้ความช่วยเหลือคนยากคนจนขึ้นมาในลักษณะเกือบทุกมิติของชีวิต ทั้งเรื่องสิทธิพลเมือง สิทธิในที่ดิน สิทธิการทำงาน การศึกษา การสาธารณสุข เป็นต้น
    .
    แต่ละกลุ่มก็จะมีเป้าหมายในการทำงานไม่เหมือนกัน และในยามวิกฤตเช่นนี้กลุ่ม NGO ต่างในอินเดียถือว่าต้องทำงานหนักมากขึ้น และก็ต้องเสี่ยงมากยิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน
    .
    ตลอดช่วงเวลาการปิดเมืองที่ผ่านมาเราเลยได้เห็นกลุ่มคนเหล่านี้ออกมาทำภารกิจมากมาย ที่มันควรจะเป็นหน้าที่ของภาครัฐ เช่นการแจกจ่ายอาหารของสมาคมชาวซิกข์ให้กับแรงงานอินเดียที่เดินเท้ากลับบ้าน หรือการแจกจ่ายอาหารและของใช้ให้กับคนอินเดียในพื้นที่ชนบท
    .
    ในหลายพื้นที่มีกลุ่มแพทย์อาสาออกให้บริการตรวจสุขภาพประชาชนฟรี พร้อมให้คำแนะนำในการป้องกันตัวจากโควิด19 เพื่อเป็นการลดปัญหาการติดเชื้อในหมู่คนยากจน
    .
    เคสที่เห็นได้ชัดก็คือ NGO ทางการแพทย์ที่ให้การรักษาในสลัมดาราวี ที่สุดท้ายคุณหมอก็ติดเชื้อจากผู้ป่วยในพื้นที่ แต่นั่นไม่ได้ทำให้จิตวิญญาณของ NGO เหล่านี้ลดลง แต่พวกเขายังคงทำงานหนักเพื่อให้ความช่วยเหลือเพื่อนร่วมชาติกันเอง
    .
    ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วเรื่องเหล่านี้ควรเริ่มและดำเนินการโดยภาครัฐ แต่ด้วยความล่าช้าของระบบงบประมาณ และระบบราชการอินเดีย ส่งผลให้จนถึงวันนี้การให้ความช่วยเหลือก็ยังไม่ทั่วถึง บางรัฐยังไม่เริ่มดำเนินการ
    .
    ความอยู่รอดของคนยากคนจนในอินเดียจำนวนมากที่ตกงานหรือได้รับผลกระทบจากการปิดเมืองจึงอยู่ในมือของกลุ่ม NGO เหล่านี้ ที่กำลังทำงานอย่างหนักไม่แพ้ภาครัฐ เพื่อป้องกันไม่ให้สถานการณ์ในอินเดียเลวร้ายไปมากกว่านี้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องยอมรับว่าศักยภาพของพวกเขาไม่สามารถเทียบเคียงได้กับรัฐบาล
    .
    กลุ่ม NGO ยังคงเรียกร้องให้รัฐบาลออกมาตรการในการช่วยเหลือให้เร็วขึ้น เพื่อให้ลดความยากลำบากของประชาชนลง เพราะจนถึงวันนี้ที่ปิดเมืองมาเกือบสองสัปดาห์ มาตรการช่วยเหลือของรัฐก็ยังไม่ทั่วถึงนัก
    .
    #กระแสเอเชียใต้ #อินเดีย #โควิด19 #ความยากจน #ความช่วยเหลือ #NGO

     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,774
    ค่าพลัง:
    +97,150
    #จากปากีสถานสู่สุวรรณภูมิ
    #เที่ยวบินพิเศษ
    .
    คณะพี่น้องเราทั้งหมด300กว่าชีวิตมาถึงสนามบินสุวรรณภูมิประมาณ.6.30น.ทุกคนต่างเดินสู่สนามบินอย่างดีใจแต่ละคนก็ไปตามโปรแกรมที่ตัวเองคาดการณ์แต่พอเดินมาถึงในสนามบิน เราก็เห็นพี่น้องด้านหน้าของเรานั่งลงบนพื้นห่างกัน2แผ่นกระเบื้อง
    เราทุกคนนั่งลงทำตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ทุกประการ เจ้าหน้าที่ให้เรากรอกข้อมูลในโทรศัพท์ และในกระดาษทุกคนทำตามอย่างเคร่งครัดและเมื่อกรอกข้อมูลเสร็จทุกคน
    .
    ทางเจ้าหน้าที่ให้รอต่อแถวตรวจเอกสารรับรองการเดินทางและตรวจสุขภาพเบื้องต้นใช้เวลานานพอสมควรเพราะมีเจ้าหน้าที่ตรวจแค่2คน
    คนที่ไม่มีไข้เจ้าหน้าที่ให้ไปเอกระเป๋าแต่คนที่มีไข้จะโดนกักตัวไว้ก่อน
    .
    เมื่อตรวจเสร็จแล้วเจ้าหน้าให้ผู้โดยสารไปเอากระเป๋า ทุกคนต่างก็นึกเหมือนกันคือขั้นตอนนี้เสร็จแล้วเราก็ได้ไปตามโปรแกรมของตัวเอง
    .
    ซึ่งไม่มีเจ้าหน้าคนใดที่แจ้งให้เราทราบเลยว่าเราจะต้องถูกควบคุมตามที่สนามบินจัดไว้
    .
    พอผู้โดยเอากระเป๋าทางเจ้าหน้าให้เราต่อแถวและนำเราเดินออกจากสนามบินในใจก็เริ่มนึกไปต่างๆนาๆแล้ว พอเดินออกจากสนามบินมีรถทัวร์จอดรอผู้โดยสารอยู่ เจ้าหน้าที่ให้เราขึ้นรถทัวร์ ทุกคนปฏิบัติตามเจ้าหน้าที่ทุกประการไม่ทีแม้แต่จะถามว่าจะพาเราไปไหน รถทัวร์1คัน ให้นั่งแค่20คน

    .
    ทุกคนนั่งในรถอย่างเงียบโดยไม่รู้เลยว่าเจ้าหน้าที่จะพาไปไหน
    .
    ใช้เวลาเดินทางประมาณ10นาที รถทัวร์ผู้โดยสารลงณ.อาคารแห่งหนึ่งซึ่งมีผู้โดยสารก่อนหน้านี้นั่งรออยู่ ซึ่งเป็นอาคารดับเพลิง
    .
    เมื่อเราลงไปทางเจ้าหน้าที่ให้ลงชื่อตามจ.ที่เราอยู่
    และทางเจ้าหน้าที่แจกอาหารและน้ำแล้วให้ไปนั่งรอ
    เจ้าหน้าที่เลยแจ้งให้ทราบว่า
    .
    "จะไปส่งทุกคนกลับบ้านของตัวเองโดยรถทัวร์ "
    ที่นี้เลยถึงบางอ้อ แต่ก็ยังไม่ใว้ใจสถานการณ์
    .
    ใช้เวลาตรวจคัดกรองในสนาบินประมาณ2ชม.
    และใช้เวลารอขึ้นรถทัวร์อีก4ชม.
    .
    ทางเจ้าหน้าที่เรียกผู้โดยสารแต่ละจังหวัดขึ้นรถทัวร์ คนละไม่เกิน20คน จะเป็น โซน3จ.มากที่สุด
    .
    จ.สงขลามี1คัน เจ้าหน้าที่นำผู้โดยสารมาส่งที่อส.100สงขลาเพื่อตรวจคัดกรอง เราถึงไปประมาณตี3กลางดึก เมื่อตรวจเสร็จ เจ้าหน้าที่แจ้งให้เราไปกักตัวที่บ้าน14วัน
    .
    และมีเจ้าหน้าที่มาติดตามอาการที่บ้าน
    .
    มาทราบภายหลังนร.โซน3จังหวัด จำนวน200กว่าคนไม่สามารถกักตัวที่บ้านได้ ต้องกักตัวในสถานที่ตามเจ้าหน้าที่กำหนด14วัน
    .
    #ทุกคนไม่มีการโวยวาย #ทุกคนยอมรับตากฎระเบียบ #ปฏิบัติตัวตามเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด
    #อัลฮัมดุลิ้ลลาฮ์ด้วนความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์
    #จากเรื่องยากอัลลอฮ์ให้ง่ายดาย

    #เราทุกคนก็ปฏิบัติตัวตามระเบียบ
    #เรามั่นใจว่าเมื่ออัลลอฮ์ต้องการให้อะไรเกิดขึ้นก็ไม่มีใครขวางได้
    #แต่หากอัลลอฮ์ไม่ต้องการก็ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นได้
    เชื่อมั่นและดุอาฮ์
    Alhamdulillah

     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,774
    ค่าพลัง:
    +97,150
    #อัปเดตวันนี้ 6/4/2563

    เหตุการณ์ขณะนี้เป็นเหตุการณ์ ที่ไม่น่าจะเกิดกับเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

    มีอยู่ว่า นักศึกษาไทยเราป่วยคนหนึ่ง และต้องการที่จะรักษาตัวใน รพ.
    กลับถูกขับไล่ไสส่ง 3โรงพยาบาล(ใหญ่ๆ) 1คลีนิก จนตอนนี้นักศึกษาเราอาการยังไม่ทุเลาลง
    สุดท้ายนี้...........................................................

    วอนขอพี่น้องช่วยดุอา(ขอพร)ให้เขาด้วยนะครับ

    และจะบอกว่า "ในที่ ที่เราอยู่นั้น อยู่ในสภาวะตัวใครตัวมัน"(หมายถึง พาผู้ป่วยไปหาหมอแต่ไม่ถูกอนุญาตให้เข้าตรวจ และกลับโดนปิดประตู นี้แหละครับสภาวะตัวใครตัวมัน เห็นใจเขา เห็นใจเรา เรากังวล เขาก็กลัวเราติดเชื้อ เป็นเหตุการณ์ที่กดดันมากๆ)

    เพิ่มเติม
    และในรัฐอุตรประเทศ มีจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 305 คน (แต่น้องนักศึกษาเรา ผลเบื้องต้นไม่ได้ติดโควิด-19 นะครับ อย่าเข้าใจผิด)

    เราจะผ่านไปด้วยกันครับ

    จากใจนักศึกษาทุกคนที่อยู่ที่นี้

     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,774
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Sovereign Man
    There’s a major sovereign debt crisis looming
    วิกฤตหนี้สาธารณะกำลังจะมา

    Simon Black April 2, 2020

    ช่วงกลาง ๆ ของปี 1300s สาธารณรัฐฟลอเรนซ์ หรืออิตาลีในปัจจุบัน เกิดอาการบูมทางเศรษฐกิจแบบฉุดไม่อยู่ ...สุด ๆ ในประวัติศาสตร์มนุษยชาติกันเลย

    ในชั่วไม่ถึงศตวรรษ ฟลอเรนซ์เติบโตขึ้นจากเมืองเล็ก ๆ ที่อยู่หลังเขา กลายเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในยุโรป และเป็นศูนย์กลางการเงินที่โดดเด่นสุด ๆ

    ประชากรของฟลอเรนซ์เพิ่มเป็น 10 เท่า ...มีความเด่นในการผลิตอาวุธ และสิ่งทอ

    (ผู้เชี่ยวชาญทางภาษาเชื่อว่า คำว่า pistol (ปืนพก) มาจากชื่อเมืองแห่งหนึ่งในฟลอเรนซ์คือ Pistoia ชื่งมีชื่อเสียงด้านการผลิตอาวุธ)

    นวัตกรรมด้านธุรกิจแบ้งกิ้งของฟลอเรนซ์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจทั่วทั้งยุโรปยุคนั้น

    ความสำเร็จทางเศรษฐกิจที่โดดเด่นของฟลอเรนซ์เหมือนกับสหรัฐอเมริกาในประวัติศาสตร์ยุคแรก ๆ

    แต่แล้ว..พวกเขาก็พังมันลงจนได้

    ในช่วงต้น ๆ ของยุค 1300 หนี้สาธารณะของสาธารณรัฐฟลอเรนซ์อยู่ในระดับที่จัดการได้ แค่ 50,000 gold florins ...นั่นมันน้อยกว่า $100 ต่อหัว ถ้าคิดในอัตราเงินปัจจุบัน

    ปี 1338 หลังจากใช้เงินในการทำสงครามแบบเป็นซีรี่ส์ และโปรเจ็คท์งานสาธารณูปโภคที่แสนแพง หนี้ของฟลอเรนซ์กลายเป็นบัลลูนขึ้นไปถึง 450,000 gold florins ...หลังจากนั้น 4 ปี และอีก 1 สงคราม ก็กลายเป็น 600,000 gold florins

    มันแทบทำให้สาธารณชนเป็นง่อยไปเลย เพราะรัฐบาลจ่ายได้แค่ดอกเบี้ยที่สูงถึง 10% - 15%

    ที่แสบไปกว่านั้น หลายแบ้งค์ใหญ่ของฟลอเรนซ์ยังไปปล่อยกู้ให้กับรัฐบาลต่างประเทศ ..รายใหญ่เลยก็คือคิงเอ็ดเวิร์ดที่สามของอังกฤษ ที่กำลังแพ้สงครามกับฝรั่งเศส ในสงครามที่เรียกว่า "สงครามร้อยปี"

    สุดท้ายแล้ว คิงเอ็ดเวิร์ดก็ชักดาบหนี้ทั้งหมดของแบ้งค์อิตาเลียน เป็นการจุดชนวนวิกฤตแบ้งกิ้งในฟลอเรนซ์

    ข่าวกระจายอย่างรวดเร็วว่า ศูนย์กลางการเงินที่แข็งแกร่งที่สุดของยุโรปกำลังจะเจ๊ง รัฐบาลก็ใกลัพังเต็มทน ธนาคารก็กำลังจะ collapse

    แถมก็ยังมีกาฬโรคตามมาอีก ....เวรกรรม

    ปี 1348 กาฬโรคระบาดเข้าฟลอเรนซ์ คร่าชีวิตประชากรไป 25%

    ธุรกิจการค้าพังพาบ การเก็บภาษีเป็นศูนย์ รัฐบาลฟลอเรนซ์ไม่สามารถจ่ายหนี้

    Giovanni Villani นักการเมืองยุคนั้นอธิบายถึงสถานการณ์ ...."ประเทศเรากำลังสูญเสียทุกอย่างแล้ว ประชาชนทั้งประเทศกำลังกลายเป็นยาจกในพริบตา"

    แล้วที่น่าอัศจรรย์ยิ่งกว่านั้นคือ มันไม่ได้หยุดอยู่แค่ฟลอเรนซ์

    ในปลายช่วง 1340s ฝนตกหนักจนเกิดน้ำท่วมที่ทำลายผลผลิตทางการเกษตรไปทั่ว ส่งผลให้เกิดทุพภิกขภัยเป็นวงกว้าง

    ผู้บริหารรัฐพยายามอย่างสิ้นหวังที่จะสั่งนำเข้าอาหาร แต่เครดิตของฟลอเรนซ์ไม่เหลือแล้ว ไม่มีใครอยากเป็นคู่ค้าด้วยอีกแล้ว

    เป็นการร่วงจากอำนาจแบบเป็นประวัติการณ์ที่ไม่เคยมีมาก่อน ฟลอเรนซ์ร่วงจากประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในยุโรปมาเป็นขอทานภายในเวลาชั่วหนึ่งทศวรรษ

    ทำให้ผมเริ่มอยากรู้แล้วว่า ในยุควิกฤตโมเดอร์นอย่างเวลานี้ ประเทศไหนจะกลายเป็นขอทาน ในแบบที่ฟลอเรนซ์เป็นเมื่อยุค 1300s บ้าง....เท่าที่ดูแล้วผมประมาณได้นับโหล ๆ ที่กำลังเจอกับปัญหาการเงินขนาดหนัก ภายใต้โรคระบาด

    ตอนนี้รายรับภาษีของประเทศเหล่านี้ก็หดตัวลง แต่ก็ยังจำต้องใช้จ่ายเงินเพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจยังเดินหน้าต่อไปให้ได้

    เราเห็นแพกเกจการกระตุ้นกำลังเกิดขึ้นทุกประเทศทั่วโลก

    ในสหรัฐเอง รัฐบาลผ่านกฏหมายแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ $2 ล้านล้าน ...ซึ่งผมคิดว่าก็คงซื้อเวลาไปได้ซัก 4 - 6 สัปดาห์แค่นั้นแหละ

    แล้วถ้าโรคระบาดนี้มันลากยาวยืดเยื้อไปเรื่อย ๆ ก็คงต้องมีการใช้เงินอีก $2 ล้านล้าน ...และก็อีก $2 ล้านล้าน ยาวไปโลด

    ถ้ายังไม่ลืม รัฐบาลสหรัฐได้เพิ่มหนี้ไว้ $10 ล้านล้านในช่วงไม่กี่ปีแรกหลังจากวิกฤตการเงินครั้งล่าสุด มันก็คงเกิดซ้ำซากไปแบบนี้แหละ

    บางประเทศก็สามารถใช้เงินมหาศาลขนาดนี้ได้

    เช่นอย่างนอร์เวย์ซึ่งมีหนี้สาธารณะเป็นศูนย์ รัฐบาลนอร์เวย์มีเงินเหลือในคลังมากพอที่จะบอกกับประชาชนว่า "จงอยู่ที่บ้านแล้วไม่ต้องทำอะไรไปอีกสักหกเดือนได้เลย ....จะซื้อของใช้ก็แค่เขียนเช็คจ่ายไป" ...รัฐบาลมีเงินให้ประชาชนของตนใช้ได้โดยไม่ต้องสร้างหนี้เลย

    แต่กับอิตาลีแล้ว เป็นคนละเรื่องเลย ...ฐานะการเงินแย่สุดๆ (a basket case)

    รัฐบาลอิตาลีไม่เคยมีเงินเหลือในคลังเลย ภาระหนี้ของประเทศถึงแม้ก่อนเกิดวิกฤตไวรัส ก็ปาเข้าไปเกินกว่า 120% ของ GDP อยู่แล้ว

    ยิ่งกว่านั้น ธนาคารในประเทศเองแกว่งตัวอยู่บนขอบของความพินาศก่อนที่ไวรัสจะมาถึงซะอีก ป่านนี้คิดว่าแบ้งค์พวกนี้ก็คงเจ๊งกันไปหมดแล้ว

    ถ้าจะให้ทำ forecast ตอนนี้ก็คงจะยากน่าดู ...เอาทุก scenario มากางบนโต๊ะได้เลย ...ทุก scenario เกิดขึ้นได้ทั้งนั้น

    ประเทศที่มีหนี้หนักสุดดูเหมือนจะเป็นประเทศที่อยู่ใน big trouble สุดๆ .....เราคงต้องได้เห็น วิกฤตหนี้สาธารณะในหลาย ๆ ประเทศแน่ ๆ ในช่วงไม่กี่เดือนจากนี้

    Sovereign Man

    There’s a major sovereign debt crisis looming

    Simon Black April 2, 2020

    By the mid 1300s, the Republic of Florence in modern day Italy had experienced one of the greatest economic booms in human history.

    In less than a century, Florence had grown from a tiny, irrelevant backwater to become one of Europe’s largest cities and preeminent financial center.

    The expansion was truly impressive. Florence’s population had grown 10x. It had become a leading manufacturer in both weapons and textiles.

    (Many etymologists believe the word ‘pistol’ is derived from the name of a town near Florence called Pistoia, which was renowned for its quality arms.)

    And the city’s innovations in the banking industry were revolutionizing business across Europe.

    Florence’s phenomenal economic success is quite similar to what the United States experienced in its early history.

    Naturally, though, they managed to screw it up.

    At the turn of the century in the year 1300, the Republic of Florence’s public debt was quite manageable at just 50,000 gold florins. That’s less than $100 per capita in today’s money.

    By 1338, after a series of costly wars and expensive public works projects, Florence’s debt had ballooned to 450,000 gold florins. Four years later (after yet another war) it had grown to 600,000 gold florins.

    This was crippling to public finances given that the government of Florence was paying between 10% and 15% interest on its debt.

    To make matters worse, some of Florence’s most prominent banks had made bad loans to foreign governments– most notably to King Edward III of England, who had suffered terrible defeat against France in what would become known as the Hundred Years War.

    Edward would ultimately default on his Italian bank loans, sparking a terrible banking crisis in Florence.

    News traveled quickly that the most powerful financial center in Europe was in trouble. The government was near ruin, and the banks were collapsing.

    And then came the plague.

    In 1348, the Black Death ravaged Florence, wiping out at least 25% of its population. The famed Italian author Giovanni Boccaccio was living in the city at the time, and he wrote about his first-hand experiences in the Decameron:

    uch terror was struck into the hearts of men and women by this calamity, that brother abandoned brother, and the uncle his nephew, and the sister her brother, and very often the wife her husband. What is even worse and nearly incredible is that fathers and mothers refused to see and tend their children, as if they had not been theirs.”

    Business and commerce ground to a halt. Tax revenue dried up. Florence’s government was unable to pay its debts. People were wiped out.

    As local politician Giovanni Villani described the situation, “Our republic has lost all its power and our citizens have nearly all been impoverished.”

    Amazingly enough, Florence’s misfortune didn’t stop there.

    In the late 1340s, torrential rains destroyed local agricultural production, resulting in widespread famine.

    City managers tried desperately to import food, but because Florence’s credit was so poor, few traders were willing to do business with them.

    It was a historic and unprecedented fall from power; Florence had gone from being one of the wealthiest cities in Europe to literally begging for food in less than a decade.

    I can’t help but wonder which countries are going to be begging as a result of our modern crisis.

    Just like Florence in the 1300s, there are dozens of countries who were already in severe financial hardship going into this pandemic.

    Now their tax revenues are dwindling, and they’re forced to spend absurd amounts of money to stimulate their economies.

    A few years back our holding company acquired a private business in Australia that, thankfully, is holding up extremely well.

    The CEO of that company called me a few days ago to tell me about some of Australia’s stimulus efforts; in addition to waiving payroll taxes, extending tax deadlines, and making direct loans to businesses, the Australian government is now directly subsidizing certain employee wages, up to $3,000 per month.

    We’re seeing similar stimulus packages all over the world.

    In the United States, of course, the government recently passed a $2 trillion stimulus plan… though I expect they’ll quickly realize that $2 trillion buys them about 4-6 weeks.

    So if this pandemic drags on, they’re going to have to spend another $2 trillion, and another $2 trillion after that.

    Remember that US government debt increased by $10 trillion in the first few years following the last financial crisis. It certainly seems reasonable to expect a repeat performance.

    Some places will be able to afford such prodigious spending.

    Norway, for example, has ZERO net debt. Norway’s government has such a massive financial surplus that they could tell every citizen, “Stay home and do nothing for the next six months,” and just write a check for everything. They wouldn’t need to go into debt by a single penny.

    Italy, on the other hand, is a basket case.

    The Italian government has no savings, and its debt burden even before this crisis was more than 120% of GDP.

    Moreover, Italian banks were also teetering on the edge of disaster before the pandemic hit. I suspect most of them are completely insolvent now.

    Making any forecast right now is remarkably difficult. Every scenario is on the table, and absolutely anything can happen.

    But it seems pretty clear that the most heavily indebted countries are in big trouble… and we may be looking at a major sovereign debt crisis over the next few months.

    Cr : Sayan Rujiramora

     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,774
    ค่าพลัง:
    +97,150
    จำนวนการตรวจ VS จำนวนคนติดเชื้อ

    จากข้อมูลล่าสุด คนติดเชื้อทั่วโลกเพิ่มวันละ 80,000 คน จนทำให้การไต่ระดับจาก 1.1 ล้านคน เป็น 1.2 ล้านคนได้ภายใน 1 วันเท่านั้น

    ซึ่งมีการถกเถียงกันในสังคมเป็นวงกว้าง ถึงปริมาณการตรวจเชื้อ COVID เท่าไหร่ถึงจะเพียงพอที่จะสะท้อนจำนวนคนป่วยที่แท้จริง

    เมื่อมีข้อมูลล่าสุดก็น่าจะเพียงพอให้นำมาวิเคราะห์ นโยบายที่แต่ละประเทศใช้ และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้

    ปัจจัยแรก ปริมาณการตรวจ และจำนวนการตรวจต่อประชากร 1 ล้านคน (สองคอลัมน์สุดท้าย) หากจำนวนการตรวจเกินกว่า 3,000 คน/ประชากร 1 ล้านคน แสดงว่าการตรวจเริ่มครอบคลุม ทราบคนป่วยที่แน่ชัดว่ามีเท่าไหร่ในสังคมรอบตัว และยิ่งประเทศใดมีการตรวจแตะ 10,000 คน/ประชากร 1 ล้านคน แสดงว่า คน 1% ในสังคมทราบแน่ชัดแล้วว่ามีโรค CoVID หรือไม่

    ปัจจัยที่สอง จำนวนติดเชื้อต่อปริมาณการตรวจ เช่น สหรัฐ มีการตรวจ 1.6 ล้านคน พบเชื้อ 0.3 ล้านคน หรือคิดเป็น 18.7% ถือว่าค่อนข้างสูง หรือเกาหลีใต้ มีการตรวจไป 0.45 ล้านคน พบเชื้อ 0.01 ล้านคน หรือคิดเป็น 2.3% ถือว่าค่อนข้างต่ำ

    ดังนั้นเราสามารถแบ่งกลุ่มประเทศออกเป็น 4 กลุ่ม ที่ใช้นโยบาย 2 แบบ คือ การไล่ตรวจแบบเชิงรุกในวงกว้าง และการตรวจแบบเชิงรับรอคนเข้าเกณฑ์ และผลการติดเชื้อที่มากหรือน้อย

    1) นโยบายไล่ตรวจแบบเชิงรุก
    1.1 ประเทศที่ตรวจมากและเจอมาก
    - สหรัฐ ตรวจ 1.6 ล้านคน คิดเป็น 4,900 คนต่อประชากร 1 ล้านคน / พบคนติดเชื้อ 18.7% ของการตรวจ

    - เยอรมัน ตรวจ 0.92 ล้านคน คิดเป็น 10,900 คนต่อประชากร 1 ล้านคน / พบคนติดเชื้อ 10% ของการตรวจ

    - อิตาลี ตรวจ 0.65 ล้านคน คิดเป็น 10,800 คนต่อประชากร 1 ล้านคน / พบคนติดเชื้อ 19% ของการตรวจ

    - สเปน ตรวจ 0.35 ล้านคน คิดเป็น 7,600 คนต่อประชากร 1 ล้านคน / พบคนติดเชื้อ 35% ของการตรวจ

    - ฝรั่งเศส ตรวจ 0.22 ล้านคน คิดเป็น 3,400 คนต่อประชากร 1 ล้านคน / พบคนติดเชื้อ 40% ของการตรวจ

    1.2 ประเทศที่ตรวจมากและเจอน้อย
    - เกาหลีใต้ ตรวจ 0.45 ล้านคน คิดเป็น 8,800 คนต่อประชากร 1 ล้านคน / พบคนติดเชื้อ 2.3% ของการตรวจ

    - UAE ตรวจ 0.22 ล้านคน คิดเป็น 22,000 คนต่อประชากร 1 ล้านคน / พบคนติดเชื้อ 0.6% ของการตรวจ

    - นอร์เวย์ ตรวจ 0.105 ล้านคน คิดเป็น 19,500 คนต่อประชากร 1 ล้านคน / พบคนติดเชื้อ 5% ของการตรวจ

    - ฮ่องกง ตรวจ 0.09 ล้านคน คิดเป็น 12,000 คนต่อประชากร 1 ล้านคน / พบคนติดเชื้อ 0.9% ของการตรวจ

    - สิงคโปร ตรวจ 0.04 ล้านคน คิดเป็น 6,600 คนต่อประชากร 1 ล้านคน / พบคนติดเชื้อ 3% ของการตรวจ

    2) นโยบายตรวจแบบเชิงรับ
    2.1 ประเทศที่ตรวจน้อยและเจอมาก
    - บราซิล ตรวจ 0.054 ล้านคน คิดเป็น 260 คนต่อประชากร 1 ล้านคน / พบคนติดเชื้อ 18.7% ของการตรวจ

    - ไทย ตรวจ 0.024 ล้านคน คิดเป็น 350 คนต่อประชากร 1 ล้านคน / พบคนติดเชื้อ 10% ของการตรวจ

    - ฟิลิปปินส์ ตรวจ 0.016 ล้านคน คิดเป็น 160 คนต่อประชากร 1 ล้านคน / พบคนติดเชื้อ 18% ของการตรวจ

    - ญี่ปุ่น ตรวจ 0.043 ล้านคน คิดเป็น 339 คนต่อประชากร 1 ล้านคน / พบคนติดเชื้อ 7% ของการตรวจ

    2.2 ประเทศที่ตรวจน้อยและเจอน้อย
    - อินเดีย ตรวจ 0.128 ล้านคน คิดเป็น 93 คนต่อประชากร 1 ล้านคน / พบคนติดเชื้อ 2.7% ของการตรวจ

    - ไต้หวัน ตรวจ 0.036 ล้านคน คิดเป็น 1,500 คนต่อประชากร 1 ล้านคน / พบคนติดเชื้อ 1% ของการตรวจ

    - เวียดนาม ตรวจ 0.075 ล้านคน คิดเป็น 775 คนต่อประชากร 1 ล้านคน / พบคนติดเชื้อ 0.3% ของการตรวจ

    จะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะตรวจมาก หรือตรวจน้อย อัตราการพบเชื้อจะอยู่ในระดับที่สูงต่ำต่างกัน ไปตามนโยบายที่เคร่งครัดและการลงโทษตามกฎหมายปิดเมืองขั้นรุนแรงในแต่ละประเทศ

    แต่หากให้ประเทศในกลุ่มที่ 2 มีการตรวจมากขึ้นมาในระดับ 3,000 คน ต่อประชากร 1 ล้านคน เราจะพบคนติดเชื้อมากขึ้นหรือไม่ล้วนเป็นสิ่งที่น่าคิด เช่น ในไทยเองหากเพิ่มการตรวจในระดับนั้นแสดงว่าต้องมีการตรวจเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่าจากปัจจุบัน หรือแม้แต่ในอินเดียที่ต้องเพิ่มชุดตรวจไม่น้อยกว่า 30 เท่า จึงจะเห็นแน่ชัดว่าคนป่วยในสังคมปัจจุบันอยู่ในระดับเท่าใด

    แต่เข้าใจดีว่าแต่ละประเทศล้วนมีข้อจำกัด ทำให้ไม่สามารถอัดนโยบายการตรวจแบบเชิงรุกได้ ด้วยปัจจัย 3 ประการ

    1) ห้องตรวจไม่เพียงพอ เพราะต้องได้รับมาตรฐานความปลอดภัยระดับสูง

    2) น้ำยาและอุปกรณ์ตรวจไม่เพียงพอ เพราะบางประเทศผลิตเองไม่ได้ จึงต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศและรอคิวการจัดส่ง

    3) บุคลากรที่รองรับการตรวจไม่เพียงพอ เพราะแม้จะมีห้องตรวจ และอุปกรณ์ตรวจพร้อม แต่ขาดคนทำงานย่อมส่งผลให้เกิดคอขวดในการตรวจเชื้อ

    แต่ทั้งหมดนี้คือปัญหาที่ทางภาครัฐต้องบริการจัดการ ให้เร็วและเพียงพอในอนาคตอันใกล้

    เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและกำหนดนโยบายที่จะทำต่อเนื่องเมื่อต้องกลับมาเปิดเมืองอีกครั้งในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า
    ========================================
    ดังนั้นจากข้อสังเกตุที่พบจากสถิติพวกนี้
    ตรวจมาก โอกาสเจอคนติดเชื้อมาก แต่ก็ไม่ได้แปลว่าคนติดเชื้อมีมาก หากบังคับใช้นโยบายเข้มข้น (กลุ่ม 1.2)

    ตรวจน้อย โอกาสเจอคนติดเชื้อน้อย แต่ก็ไม่ได้แปลว่าคนติดเชื้อมีน้อย หากบังคับใช้นโยบายไม่เข้มข้น (กลุ่ม 2.1)

    ดังนั้นการเปิดให้เดินทางระหว่างประเทศอีกครั้ง สิ่งที่รัฐบาลไทยต้องทำให้ต่างประเทศเชื่อมั่นได้ว่า
    1) เราได้มีการตรวจโรคอย่างเพียงพอในวงกว้างแล้ว อย่างน้อยต้องไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ต่างประเทศยอมรับ

    2) เรามีมาตรการชัดเจนเมื่อเปิดเมืองอีกครั้ง มีการสกรีนและควบคุมการระบาดของคนในประเทศเพียงพอ

    หากไม่ทำเช่นนั้น มาตรการที่ต่างประเทศจะเล่นกับประเทศเราอย่างต่อเนื่อง ได้แก่
    - ห้ามบุคคลจากประเทศไทยเดินทางไปยังประเทศของพวกเขาต่อไปอีกหลายเดือน

    - ห้ามบุคคลในประเทศตนเอง เดินทางไปยังประเทศไทย หรือหากจำเป็นต้องโดนกักตัว 14 วัน เมื่อมีการบินกลับมา เป็นต้น

    ซึ่งภาพเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้น ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม สายการบิน สนามบิน และกิจการที่เกี่ยวข้องอื่นๆ คงเตรียมตัวรอรับชะตากรรมที่อาจจะยาวนานกว่า 2-3 เดือนอย่างแน่นอน

    สุดท้ายเชื่อเถอะว่า ต่อให้ยื้อไว้นานแค่ไหน การตรวจในวงกว้างควรจะต้องทำในที่สุด แม้จะเสียเงินไปหลัก 2,000-3,000 ล้านบาท เพื่อทุ่มงบในการตรวจเชื้อ แต่ยังดีกว่าต้องมาแก้เศรษฐกิจที่เสียหายในระดับหลายแสนล้านบาทในอนาคต

    ภาวนาให้รัฐมองเห็นและมองไปในระยะยาวกว่าที่เป็นอยู่ อย่าไปห่วงว่าตรวจเยอะแล้วจะพบตัวเลขคนติดเชื้อสูง เพราะมันไม่น่ากลัวเท่าคนขาดความเชื่อมั่นและไม่รู้ชะตากรรมว่าเมื่อไหร่เรื่องราวพวกนี้จะจบลง...

    #SoloInvestor

     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,774
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ฟันธง จาก QE --> เจอCovid-19, Disruption --> Hyper Inflation --> ศก.โลก Set Zero ใจเย็นๆค่อยๆอ่านให้จบนะครับ

    หุ้น เศรษฐกิจ เศรษฐศาสตร์ การลงทุน การเงิน
    ผมนั่งวิเคราะห์วิกฤตเศรษฐกิจรอบนี้มาหลายวันแล้ว ผมได้ข้อสรุปว่า วิกฤตเศรษฐกิจรอบนี้น่าจะจบด้วยการที่เศรษฐกิจโลก Set Zero

    เหตุผลที่ผมมองเช่นนั้น ผมจะไล่เรียงให้ดูนะครับ ประเด็นหลักๆคือ ปริมาณ QE ที่หลายประเทศออกมาตั้งแต่ สมัยSubprime ซึ่งตอนนี้เป็นบอลลูนขนาดใหญ่มหึมาที่ผมมองว่ามันใกล้จะแตกเต็มทีแล้ว ซึ่งผลกระทบที่ตามมายังไม่มีใครรู้ได้ เพราะ QE ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในวิชาเศรษฐศาสตร์

    หลังจากที่ออก QE ไปเศรษฐกิจก็เริ่มดีขึ้นแต่ก็ไม่มีการลด QE มีแค่หยุดไปช่วงหนึ่ง ซึ่งเท่าที่ผมเข้าใจคือมันไม่ได้มีการดึงเงินเหล่านี้กลับไปเลย และก็กลับมาออก QE และลดดอกเบี้ยอีกรอบ จนมาเจอกับ Covid-19 เมกาได้ใช้ไพ่ใบสุดท้ายคือ ลดดอกเบี้ยจนหมด พร้อมออก QE แบบ Unlimit (2เหตุการณ์ข้างต้น คือเกิดมาแล้ว)

    สิ่งที่สำคัญคือหลังจากนี้ หากเศรษฐกิจไม่สามารถฟื้นได้ และเกิด Default หนี้ขึ้นมา ไม่ว่าจะในไทย หรือประเทศอื่นทั่วโลก ก็จะเกิดการกระทบแบบ Domino คือการทบเป็นทอดๆ จนทำให้เกิด Hyper Inflation คือการที่ของแพงขึ้นอย่างรวดเร็วจากเงินที่ล้นโลก ประเทศไหนเป็นต้นเหตุก็น่าจะเฟ้อหนักหน่อย และตอนนี้ราคาน้ำมันที่ดีดกลับอย่างรวดเร็วยิ่งเป็นตัวเร่งให้เกิดเงินเฟ้อเข้าไปอีก บางคนมองตรงข้ามกับผมโดยสิ้นเชิงว่าจะเกิดเงินเฟ้อติดลบ ของจะราคาถูกลงเงินจะใหญ่ขึ้น Cash is King (ส่วนตัวผมมองว่าเงินที่ล้นระบบขนาดนี้มันจะฝืดได้ยังไง)

    หลังจากเกิด Hyper Inflation จนทำให้ไม่มีเงินจ่ายหนี้ การชักดาบของยักษ์ใหญ่ทั่วโลกก็จะเกิดขึ้นจนทำให้เกิด Set Zero ทางเศรษฐกิจ(ความหมายของผมคือ หนี้เป็น0 ประเทศยักษ์ใหญ่แพ้สงคราม ศก. ในรอบนี้และจะต้องเป็นผู้ตามในการขึ้นของ ศก.รอบหน้า) ผมมองว่าคนที่มีหนี้เป็นเงิน $ น่าจะเป็นหนี้ 0 แต่สุดท้ายประเทศผู้ที่อยู่รอด หรือผู้ที่ชนะในวิกฤตเศรษฐกิจรอบนี้ก็จะกลับมาเป็นสกุลเงินหลักของโลก ซึ่งผมก็ไม่รู้ว่าจะเป็นประเทศไหน แต่ผมคิดว่าเหตุการณ์ที่ผมเล่ามาโอกาสเกิด 80% ภายใน 1 ปีหลังจากนี้

    ลองเปิดใจอ่านดูครับเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างไรก็แสดงความเห็นได้นะครับ เจตนาไม่ได้ให้กลัวนะครับ แค่ต้องการเตือนและใช้วิจารณญาณในการคิดวิเคราะห์ด้วยตัวเองครับ

     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,774
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ทุเรียน+มังคุด ต.สองสลึง ขาดน้ำแห้งตายหลายพันต้น
    นายหัสภูมิ ทับทิม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสองสลึง อ.แกลง จ.ระยอง เผยถึงผลกระทบของภัยแล้งที่มีมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ว่า ขณะนี้ชาวสวนผลไม้เดือดร้อนอย่างหนักเพราะน้ำไม่พอรดต้นไม้
    Source : #ไทยรัฐ #ไทยรัฐทีวี #Thairath #ThairathOnline

     

แชร์หน้านี้

Loading...