ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    วิกฤตสุขภาพและระบบประกันของอเมริกา
    .
    ในเดือนที่ผ่านมานั้นอเมริกามีผู้แจ้งตกงานทั้งสิ้น 22 ล้านคน ซึ่งในนั้นมี 92 ล้านคน คนที่ระบบประกันสุขภาพของพวกเขาผูกกับการจ้างงาน พูดง่ายๆคือเขาเสียงานก็เสียประกันสุขภาพไปด้วย หากคนเหล่านี้ป่วยในช่วงระบาดนี้เขาก็ต้องรับผิดชอบจ่ายค่ารักษาพยาบาลเอง
    อเมริกานั้นวางระบบสุขภาพตัวเองไว้กับการทำประกัน ในรูปแบบต่างๆเมื่อคนอเมริกันป่วยก็จะมีบริษัทประกันจ่ายให้ โดยรัฐบาลไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบส่วนนี้ แต่ในช่วงเวลานี้ถือเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากการที่รัฐไม่เข้าดูแลสุขภาพของประชาชนโดยตรงกลายเป็นความเสี่ยงอย่างน่ากลัว

     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ไร้อารยธรรม

    LIBERATE : Trump Tweets Support for Anti-Lockdown Protests

    • มีผู้หวังดีประสงค์ร้ายได้ฉวยโอกาสคัดลอก 'สาสน์' ของประธานาธิบดี 'โดนัลด์ ทรัมป์' ที่เขียนลง Twitter ในการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ของผู้นำประเทศให้กลายมาเป็น 'การจลาจล' เรื่องส่งสัญญาณสนับสนุนพวกผู้ประท้วงให้ 'ปลดปล่อย' ออกมาสัมผัสโลกกว้างเพื่ออิสระ แห่งการใช้ชีวิตที่กว้างขึ้น ไม่ต้องตกอยู่ในมาตรการกักขัง

    • การเล็งเห็นอิทธิพลทางสังคมที่ส่งผ่านทาง Social Media Today จึงมีการขยายเนื้อหาข้อความให้เป็นการปลุกเร้าความฮึกเหิมในชาติ อาทิเช่น

    ❶ ผู้ที่ประสบความสำเร็จ คือ ผู้ที่กล้าก้าวเดินไปยังจุดหมายด้วยความเชื่อว่าความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่รอคอยอยู่เบื้องหน้า

    ❷ จงยอมรับความท้าทายเพื่อสัมผัสกับชัยชนะอันสวยงาม

    ❸ ปัญหายิ่งยากเท่าไหร่ รางวัลแห่งความสำเร็จยิ่งคุ้มค่าเท่านั้น

    ❹ ภาพความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ เกิดจากภาพความสำเร็จเล็ก ๆ รวมกัน

    ❺ อย่าเสียเวลามองนาฬิกา จงสนใจเฉพาะสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่

    • เมื่อจิตวิทยา 'การจูงใจ' ให้คนคล้อยตามประสบความสำเร็จทำให้เกิดแนวร่วม และผู้ใด 'คัดค้านไม่เห็นด้วย' จะเกิดปฏิกิริยาต่อต้านอย่างรุนแรง

    • การแสดงจุดยืนสนับสนุนผู้ประท้วงของประธานาธิบดี 'โดนัลด์ ทรัมป์' มีขึ้น 1 วันหลังจากรัฐบาลของเขาแถลงแผนการ 3 ขั้นซึ่งจะเปิดทางให้รัฐต่าง ๆ ทยอยผ่อนคลายคำสั่ง LockDown ปิดเมือง และขับเคลื่อนเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ให้เดินหน้าต่อไปได้ท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาด COVID-19

    • ข้อความบน Twitter ในวันศุกร์ที่ 17เมษายน ค.ศ. 2020 สวนทางกับท่าทีของ 'โดนัลด์ ทรัมป์' ที่บอกว่าเขารู้สึกเห็นใจผู้ประท้วง 'ดูเหมือนพวกเขาเป็นผู้ประท้วงที่คิดแบบเดียวกับผม ผมมีความคิดเห็นแบบเดียวกัน แต่ทั้งหมดมันขึ้นอยู่กับพวกผู้วาการรัฐ'

    • พวกผู้ประท้วงบอกว่าข้อจำกัดทางเศรษฐกิจอันเข้มงวดกำลังทำร้ายประชาชน แต่เหล่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเตือนว่า 'การยกเลิกมาตรการดังกล่าวอาจโหมกระพือการแพร่ระบาด ในขณะที่สหรัฐอเมริกายังพบเห็นตัวเลขผู้เสียชีวิตรายวันทุบสถิติสงสุดอีกครั้งในวันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน ค.ศ. 2020 หลังพบผู้เสียชีวิต 4,591 คน ในช่วง 24 ชั่วโมง'

    • การประท้วงเรียกร้องยุติ Shut Down เกิดขึ้นใน 'รัฐมิชิแกน, โอไฮโอ , นอร์ทแคโรไลนา , มินนิโซตา , ยูทาห์ , เวอร์จิเนีย เคนทักกี' แต่รัฐที่ถูกพาดพิงใน Twitter ของ 'โดนัลด์ ทรัมป์' ในวันศุกร์นั้น ล้วนแต่มีผู้ว่าการรัฐมาจากพรรคเดโมแครต ขณะที่ 'รัฐโอไฮโอและยูทาห์' ซึ่งเขาไม่ได้พาดพิงถึงนั้น มีผู้ว่าการรัฐมาจากรีพับลิกัน พรรคของประธานาธิบดี

    • นอกจากนี้แล้วมีรายงานว่า 'พวกผู้ชุมนุมมีแผนรวมตัวประท้วงกันในรัฐอื่น ๆ ด้วย ในนั้นรวมถึงวิสคอนซิน , ออริกอน , ไอดาโฮและเทกซัส'

    • บรรณานุกรม :

    Credit : https://www.aljazeera.com/news/2020...t-anti-lockdown-protests-200417191437581.html

     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    #วิกฤติภัยแล้ง
    17/04/20
    รายงานข่าวของนิวยอร์กไทม์สชิ้นนี้ (13/04) อ้างงานวิจัยที่เพิ่มตีพิมพ์โดยชี้ให้เห็นว่าปัญหาภัยแล้งหนักระดับวิกฤตในปีนี้ในไทย (รวมถึงลาว เวียดนาม และกัมพูชา) อาจเกิดจากสาเหตุที่จีนกักเก็บนำ้ไว้ในเขื่อนของตัวเอง ปิดกั้นเส้นทางไหลของแม่นำ้โขงลงสู่ประเทศอื่น.

    https://www.nytimes.com/2020/04/13/world/asia/china-mekong-drought.html
    Via: prajak kong
    #drought #Thai,#Laos, #Vietnam,#Cambodia
    #Watchers

     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    #สภาพอากาศโลก
    17/04/20
    ทางตะวันออกของ #Sharurah วันนี้ในภูมิภาค #Najran ตอนใต้ของ #ซาอุดีอาระเบีย (17-4-2020)

    ทะเลทรายที่ว่างเปล่าทางใต้ของซาอุดีอาระเบียหลังจากฝนตกเมื่อเร็ว ๆ นี้
    CR: طقس_العالم
    #Watchers

     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    หรือจีนจะแย่?
    พบในจีนขายบ้านทั่วไป มากกว่าเห็นป้ายโฆษณา (17/04/20)
    #โควิด19
    via: 全智胜

     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    [เศรษฐกิจจีนในหลายปีมานี้จากข่าวสารต่างๆการค้าก็ดูเงียบเหงา พอเจอพิษสงจากไวรัสจะไปดีได้ยังไงของเก่าก็แย่อยู่แล้วของใหม่นี่ไปเหยียบจนจม]

    ในขณะเดียวกัน คนอเมริกันรอเช็ค$1,200จากรัฐบาล ทำไมมันต่างจากจีนที่ไม่ได้ช่วยเหลือคนจีน1400ล้านคนอะไรเป็นพิเศษ แม้ว่าจะชัตดาวน์เหมือนกัน?

     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปัญหานี้ก็น่าจะยังอยู่ "บางรายกำลังดิ้นรนเพิ่มทุนใหม่หลังจากที่ต้องเผชิญปัญหาหนี้เสียและการผิดนัดชำระหนี้ในระดับสูงตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา"

    1582622505.jpg
    ธุรกิจ SMEs จีนนับล้านจ่อล่ม สังเวยไวรัสโคโรนา 25 Feb 2020 16:17 น.

    บริษัทเอกชนรายย่อยของจีนนับล้านรายทั่วประเทศกำลังเผชิญภาวะวิกฤตที่ทำให้อาจจะต้องปิดกิจการตามๆกัน หากไม่ได้รับเงินกู้จากธนาคารหรือความช่วยเหลือทางการเงินจากรัฐบาลเป็นการเร่งด่วน ทั้งนี้ เป็นผลกระทบสืบเนื่องที่เกิดจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ “โควิด-19” ในจีนที่ทำให้ทั้งลูกค้าและรายได้ของสถานประกอบการลดวูบ บางรายยังไม่สามารถเปิดดำเนินการได้ตามปกติ และหลายรายก็ประสบอุปสรรคในการขนส่งสินค้า ขาดแคลนแรงงาน รวมทั้งการเข้าถึงวัตถุดิบเนื่องจากรัฐบาลยังคงมาตรการเข้มงวดควบคุมการเข้า-ออกพื้นที่เสี่ยง

    1582622283_2.jpg

    ผู้อำนวยการบริษัทตัวแทนจำหน่ายรถยนต์รายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของจีนที่ไม่ประสงค์ออกนาม เปิดเผยกับสื่อใหญ่บลูมเบิร์กว่า บริษัทมีสาขา 100 แห่งทั่วประเทศ มีพนักงานรวม 10,000 คน แต่ต้องปิดบริการมาร่วม 1 เดือนแล้วนับตั้งแต่ที่เชื้อไวรัสได้แพร่ระบาดไปทั่ว สถานการณ์ดังกล่าวทำให้บริษัทขาดสภาพคล่องเงินสด และอีกไม่กี่เดือนหุ้นกู้มูลค่าหลายพันล้านหยวนของบริษัทก็จะครบระยะไถ่ถอนแล้ว ถ้าหากธนาคารไม่ยืดเวลาออกไปให้ บริษัทก็จะต้องผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งจะเป็นสถานการณ์ที่เลวร้ายมากๆ



    สภาพคล่องเงินสดเหือดแห้ง

    จากการสำรวจบริษัทเอกชนขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของจีนจำนวนรวม 6,422 รายในเดือนก.พ.นี้ จัดทำโดย สมาคมเอสเอ็มอีจีน (Chinese Association of Small and Medium Enterprises) พบว่า 1 ใน 3 หรือราว 33.7% ของบริษัทที่ตอบคำถามการสำรวจ มีเงินสดเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนคงที่อีกเพียง 1 เดือนเท่านั้น ขณะที่อีก 1 ใน 3 (ราว 32.8%) มีเงินสดเพียงพอสำหรับ 2 เดือน นอกจากนี้ มีบริษัท SMEs เพียง 30% ที่สามารถกลับมาเปิดดำเนินการได้ตามปกติ เพราะนอกนั้นเจออุปสรรคใหญ่หลายด้าน ทั้งมาตรการคุมเข้มของรัฐบาลท้องถิ่น การขาดแคลนแรงงาน และแหล่งเงินทุน

    1582622316_3.jpg

    แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามช่วย ด้วยการปรับลดดอกเบี้ย ออกคำสั่งให้ธนาคารปล่อยสินเชื่อมากขึ้น และผ่อนปรนกฎระเบียบเพื่อให้ผู้ประกอบการดำเนินงานได้สะดวกขึ้น แต่บริษัทเอกชนเป็นจำนวนมากแสดงความคิดเห็นว่า พวกเขายังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนตามที่ต้องการแม้ว่ากำหนดชำระหนี้(หุ้นกู้)จะใกล้เข้ามามากแล้วก็ตาม ไหนยังจะต้องหาเงินมาจ่ายค่าจ้างพนักงาน ถ้าหากไม่ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินมากกว่าที่เป็นอยู่ หรือหากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจไม่พลิกฟื้นกลับมาอย่างรวดเร็ว ก็เชื่อได้เลยว่าหลายรายจะต้องปิดกิจการไป

    2 ใน 3 ของ SMEs เข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน

    นายลู่ ฉางชุน นักวิเคราะห์จากบริษัท ปักกิ่ง จงเหอ อิงไถ แมเนจเมนท์ คอนซัลแทนท์ เปิดเผยว่า ถ้าจีนไม่สามารถหยุดยั้งการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาภายในไตรมาสแรกนี้ ก็เชื่อว่าบริษัท SMEs ที่ต้องปิดกิจการจะมีเป็นจำนวนมาก จากสถิติของ สถาบันการเงินและการพัฒนาแห่งชาติของจีน (China’s National Institution for Finance & Development) พบว่า บริษัทเอกชนของจีนเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 60% และเป็นแหล่งจ้างงานถึง 80% แต่ข้อเท็จจริงก็คือ บริษัทเอกชนจำนวนมากเป็นผู้ประกอบการรายเล็กๆ ผู้ประกอบการขนาดเล็กของจีนมีจำนวนราว 80 ล้านรายทั่วประเทศ และในจำนวนนี้ประมาณ 2 ใน 3 ของทั้งหมดยังขาดแคลนแหล่งเงินทุน หลายรายเป็นร้านโชห่วยเล็กๆในชุมชน ที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางวิกฤติไวรัสโคโรนา รัฐบาลจีนได้ประกาศแผนกระตุ้นเศรษฐกิจสู้ไวรัส และหนึ่งในมาตรการช่วยเหลือก็คือการปลดล๊อคให้ธนาคารพาณิชย์สามารถปล่อยกู้ได้มากขึ้น และเร่งสร้างการจ้างงานด้วยการเดินหน้าโครงการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆทั่วประเทศ

    1582622365_2.jpg

    แต่ปัญหาส่วนหนึ่งก็คือ ความช่วยเหลือของรัฐบาลในช่วงเวลานี้มุ่งเน้นไปที่บริษัทที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากโรคระบาดมากเกินไป ขณะที่จำนวนบริษัท SMEs ที่ได้รับผลกระทบทางอ้อม อาจถูกมองข้ามหรือไม่ได้รับความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ทั้งที่พวกเขาเองก็ดำเนินธุรกิจได้อย่างยากลำบากมากในสถานการณ์เช่นนี้ ส่วนหนึ่งนั้นเผชิญความยากลำบากมาก่อนแล้วตั้งแต่ช่วงที่จีนยังเปิดสงครามการค้ากับสหรัฐอเมริกา และการขยายตัวทางเศรษฐกิจก็ชะลอลงสู่ระดับต่ำที่สุดในรอบ 3 ทศวรรษ (ปี 2562 เศรษฐกิจจีนขยายตัวที่อัตราเฉลี่ย 6.1%) พอสงครามการค้าสงบลงได้ไม่นาน ก็มาถูกกระหน่ำซ้ำเติมด้วยการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

    นักวิเคราะห์กล่าวว่า ธุรกิจที่มีความเสี่ยงมากที่สุดคือ ธุรกิจบริการที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมาก เช่น ธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจท่องเที่ยวและการโรงแรม ธุรกิจสายการบิน ธุรกิจศูนย์การค้าและห้างร้านค้าปลีก ด้านธุรกิจธนาคารพาณิชย์เองก็ประสบปัญหาเช่นกัน บางรายกำลังดิ้นรนเพิ่มทุนใหม่หลังจากที่ต้องเผชิญปัญหาหนี้เสียและการผิดนัดชำระหนี้ในระดับสูงตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา บริษัท เอสแอนด์พี โกลบัล ซึ่งเป็นบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงิน ประมาณการว่า หากสถานการณ์โรคระบาดยืดเยื้อออกไป ระบบธนาคารของจีนอาจต้องเผชิญสัดส่วนหนี้เสียเพิ่มขึ้นมากกว่า 3 เท่าเป็นราวๆ 6.3% หรือเพิ่มขึ้น 5.6 ล้านล้านหยวน

    นายหวู ไห่ เจ้าของเชนร้านคาราโอเกะ เหมย เคทีวี (Mei KTV) ที่มีจำนวน 100 สาขาทั่วประเทศจีน ยอมรับว่า ธุรกิจกำลังประสบปัญหา เขาเล่าสถานการณ์ผ่านระบบโซเชียลมีเดีย “วีแชท” ว่า ตั้งแต่ไวรัสแพร่ระบาด ร้านสาขาของเขาทุกสาขาก็ถูกปิดชั่วคราวตามคำขอของรัฐบาล ทำให้เขาต้องขาดสภาพคล่องเงินสด และแม้ทางการจะปล่อยเงินกู้พิเศษช่วยเหลือก็ช่วยต่อลมหายใจได้เพียงน้อยนิด หากต้องการเงินกู้มากกว่านี้ก็จะต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันหรือสภาพคล่องเงินสดที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ ส่วนตัวเขาเองเชื่อว่า หากไม่ได้รับความช่วยเหลือ ก็คงต้องปิดกิจการภายใน 2 เดือนข้างหน้า

    นักวิเคราะห์กล่าวว่า ธุรกิจที่มีความเสี่ยงมากที่สุดคือ ธุรกิจบริการที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมาก เช่น ธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจท่องเที่ยวและการโรงแรม ธุรกิจสายการบิน ธุรกิจศูนย์การค้าและห้างร้านค้าปลีก ด้านธุรกิจธนาคารพาณิชย์เองก็ประสบปัญหาเช่นกัน บางรายกำลังดิ้นรนเพิ่มทุนใหม่หลังจากที่ต้องเผชิญปัญหาหนี้เสียและการผิดนัดชำระหนี้ในระดับสูงตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา บริษัท เอสแอนด์พี โกลบัล ซึ่งเป็นบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงิน ประมาณการว่า หากสถานการณ์โรคระบาดยืดเยื้อออกไป ระบบธนาคารของจีนอาจต้องเผชิญสัดส่วนหนี้เสียเพิ่มขึ้นมากกว่า 3 เท่าเป็นราวๆ 6.3% หรือเพิ่มขึ้น 5.6 ล้านล้านหยวน

    นายหวู ไห่ เจ้าของเชนร้านคาราโอเกะ เหมย เคทีวี (Mei KTV) ที่มีจำนวน 100 สาขาทั่วประเทศจีน ยอมรับว่า ธุรกิจกำลังประสบปัญหา เขาเล่าสถานการณ์ผ่านระบบโซเชียลมีเดีย “วีแชท” ว่า ตั้งแต่ไวรัสแพร่ระบาด ร้านสาขาของเขาทุกสาขาก็ถูกปิดชั่วคราวตามคำขอของรัฐบาล ทำให้เขาต้องขาดสภาพคล่องเงินสด และแม้ทางการจะปล่อยเงินกู้พิเศษช่วยเหลือก็ช่วยต่อลมหายใจได้เพียงน้อยนิด หากต้องการเงินกู้มากกว่านี้ก็จะต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันหรือสภาพคล่องเงินสดที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ ส่วนตัวเขาเองเชื่อว่า หากไม่ได้รับความช่วยเหลือ ก็คงต้องปิดกิจการภายใน 2 เดือนข้างหน้า

    https://www.thansettakij.com/content/422670
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1557635071.png
      1557635071.png
      ขนาดไฟล์:
      23.9 KB
      เปิดดู:
      58
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 เมษายน 2020
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    การทำธุรกิจในประเทศจีนไม่ได้รุ่งเรืองไปทุกอย่าง บางธุรกิจทำแล้วก็รุ่ง บางธุรกิจทำแล้วก็ร่วง หรือแค่พอประคองตัวไปได้ ดังนั้นพอประสบปัญหาจากโรคระบาด และเพิ่งผ่านสงครามการค้ากับสหรัฐอเมริกา ปัญหาที่สะสมไว้ก็น่าจะส่งผลต่อธุรกิจจีนไม่มากก็น้อย ช่วงนี้เห็นข่าวส่วนใหญ่ ออกมาราวๆ ว่าถ้าจีนผ่านอุปสรรคโรคระบาดจีนจะกลับมารุ่งเรืองเหมือนเดิม สำหรับผมไม่ค่อยเชื่อน่ะ เพราะสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนช่วงนี้ก็น่าจะย่ำแย่อยู่ แต่รัฐบาลจีนกลับไม่ช่วงค่าครองชีพของประชาชนจีนเลย ก็น่าจะมาจากรัฐบาลจีนได้ทุ่มงบประมาณจำนวนมหาศาลในการแก้ปัญหาโรคระบาด ซึ่งต้องใช้ไปเยอะแน่นอน เพราะอะไร การแก้ไขปัญหาที่มันใหญ่มโหฬารแล้วเป็นปัญหาที่ไม่เคยเจอมาก่อน คิดว่ายากไหม และงบประมาณที่ต้องจัดเตรียมเผื่อไว้สารพัด ซึ่งบางอย่างก็ไม่จำเป็น แต่จีนก็ทำเพราะเขาไม่รู้เลยว่าต้องเตรียมการยังไง ปัญหาโรคระบาดครั้งนี้ต่างจากไวรัสซาห์ในครั้งก่อนเพราะอัตราการแพร่กระจายเร็วมาก ดังนั้นเศรษฐกิจของจีนต้องดูกันยาวๆอย่าไปคาดหวังกันมาก ว่าพอหายโรคซึ่งไม่รู้จะจบเมื่อไหร่ แล้วจะกลับมาดีเลย

    81858295_476512646609969_3624686749801775104_n.jpg
    “สิงคโปร์” ถอดบทเรียน ความล้มเหลว “ร้านไร้พนักงาน” ในจีน
    วันที่ 10 มกราคม 2563 - 12:35 น.

    ในขณะที่ “ร้านค้าไร้พนักงาน” (unmanned store) ซึ่งเคยเฟื่องฟูในจีน ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา กำลังทยอยปิดตัวไปหลังจากเปิดให้บริการไม่นาน แต่กระแสของร้านประเภทดังกล่าวในสิงคโปร์ กลับเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้ หลังจากบรรดาผู้ประกอบการได้นำบทเรียนจากแดนมังกรมาปรับใช้ เพื่อสร้างโมเดลธุรกิจที่ตอบโจทย์พฤติกรรมลูกค้าได้มากขึ้น
    นิตยสารนิกเคอิ เอเชียน รีวิว ระบุว่า “Octobox” ร้านสะดวกซื้อไร้พนักงาน จากสตาร์ตอัพสัญชาติสิงคโปร์ ที่มีสาขาตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS) ซึ่งมีระบบการชำระเงินสุดไฮเทค เพียงแค่สแกนฝ่ามือลงไปที่หน้าจออิเล็กทรอนิกส์ที่ติดไว้บนผนัง

    Ng Kiat Seng ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ Octobox ระบุว่า เขาต้องการทาร์เก็ตไปที่กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่อินกับดิจิทัล โดยการเข้าไปตอบโจทย์เรื่องของความสะดวก ราคาที่เข้าถึงได้ และใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยบริหารร้าน เพื่อเติมเต็มในสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการ ซึ่งต้นทุนการเปิดต่อสาขานั้นอยู่ที่ 108,000 เหรียญสหรัฐ และภายในระยะเวลา3 สัปดาห์ มีนักศึกษาที่สนใจลงทะเบียนกว่า 3,000 คน ที่สแกนฝ่ามือเพื่อผูกกับเบอร์โทรศัพท์ในการยืนยันตัวตน

    Ng ยังระบุถึง แผนการเปิดสาขาอีก 4 แห่งเร็ว ๆ นี้ ด้วยกลยุทธ์เดียวกันกับที่ใช้ใน NUS คือ เข้าไปเจาะกลุ่มชนขนาดเล็ก เช่น ที่พักอาศัย รวมถึงยิม พร้อมกับความสนใจที่จะนำโมเดลนี้ไปเปิดในต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย ไต้หวัน และอินโดนีเซีย

    เทรนด์ของการเปิดร้านค้าไร้พนักงานในสิงคโปร์ เป็นที่สนใจของกลุ่มผู้ประกอบการในสิงคโปร์อีกหลายราย เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนแรงงานและอัตราค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็น เชนร้านสะดวกซื้อ “Cheers” ที่เปิดตัวร้านไร้พนักงานขายแห่งแรกที่นันยางโพลีเทคนิค เมื่อ 2 ปีที่แล้ว รวมถึงร้านอย่าง OMO Store และ Pick and Go โดยผู้ประกอบการแต่ละรายได้ให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ ว่าจะไม่ทำผิดแบบเดียวกับที่เกิดขึ้นในจีน

    Toh Hong Aik กรรมการผู้จัดการ ยู เวนเจอร์ อินเวสต์เมนต์ เจ้าของร้าน OMO ระบุว่า ขั้นตอนที่ยุ่งยากของการยืนยันตัวตน จนถึงการทำรายการได้สำเร็จ ในร้านค้าไร้พนักงานของจีนนั้น ขัดกับคอนเซ็ปต์ของสะดวกซื้อ เพราะมีหลายขั้นตอนเกินไป และลูกค้าก็หวังที่จะได้การบริการที่รวดเร็ว ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นในร้าน OMO คือ ขั้นตอนของการชำระเงินที่สะดวกรวดเร็ว โดยไม่ต้องยืนยันตัวตนแม้สเต็ปเดียว ขณะที่ประสบการณ์การเข้ามาใช้บริการของผู้บริโภคภายในร้านก็ถูกจับตาอย่างใกล้ชิด เพื่อที่ร้านจะสามารถช่วยเหลือ หรือเติมเต็มได้

    สวนทางกับเทรนด์ของร้านไร้พนักงานในจีน เช่น กรณีของร้าน “Buy-Fresh Go” ร้านสะดวกซื้อแบบไร้พนักงานที่ปิดตัวลงในช่วงกลางปีที่ผ่านมา หลังจากที่เปิดให้บริการได้เพียง 1 ปี

    Buy-Fresh-Go ลงหลักปักฐานธุรกิจครั้งแรกในปี 2017 ที่เสิ่นเจิ้น จากนั้นก็เปิดสาขาที่หัวเฉียง ย่านการค้าสำคัญของเสิ่นเจิ้นในเวลาต่อมา แต่ไม่นานนัก ความนิยมชมชอบในร้านอัจฉริยะไร้พนักงานขายนี้ก็เริ่มลดลง และนำไปสู่การปิดสาขาในเวลาต่อมา

    และที่เมืองกว่างโจว ก็พบว่า “i-Store”” ซึ่งเป็นร้านสะดวกซื้อแบบไร้พนักงานขายเชนแรกของที่นี่ ก็ปิดสาขาลงเรื่อย ๆ จนเหลือเพียง 3 สาขา ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา จากช่วงที่มีสาขาพีก ๆ ประมาณ 9 สาขา

    หรือก่อนหน้านี้ JD.com พี่ใหญ่ในอีคอมเมิร์ซจีนอีกรายก็ได้ออกมาประกาศว่า จะเลื่อนแผนการทำ smart shelf business หรือร้านไร้พนักงานขายไซซ์เล็กออกไปก่อน หลังจากที่เคยวางแผนเอาไว้ว่าจะขยายสาขาร้านโมเดลดังกล่าวถึง 5,000 สาขา โดยจะเอาไปตั้งอยู่ในตึกออฟฟิศ และอาคารอื่น ๆ ในเมืองหลัก ๆ ทั่วประเทศ แต่ก็ถอดใจไม่ลงทุนต่อเพียงแค่ในระยะเวลา 6 เดือนต่อมา

    ย้อนกลับไป หลังจากที่ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซในสหรัฐอย่าง “อเมซอน” ที่ได้ลอนช์ร้านสะดวกซื้อไร้พนักงานมาตั้งแต่ปี 2016 ในจีนก็มียักษ์อีคอมเมิร์ซอย่าง “อาลีบาบา” ที่เปิดร้านประเภทเดียวกันในปีต่อมา

    เพียงแค่ 1 ปีหลังจากที่อาลีบาบาจุดกระแสของการเปิดร้านประเภทนี้ ในจีนก็มีร้านค้าไร้พนักงานเปิดไม่ต่ำกว่า 200 แห่งทั่วประเทศ สอดคล้องไปกับ itjuzi.com บริษัทวิจัยที่เชี่ยวชาญด้านการลงทุนในกิจการที่เกี่ยวกับระบบไอทีที่ออกมาระบุว่า ในปี 2017 นั้นมีการลงทุนไปกับการเปิดร้านโมเดลนี้ถึง 4.3 พันล้านหยวน หรือประมาณ 620 ล้านเหรียญสหรัฐ

    นักวิเคราะห์ที่เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมค้าปลีกระบุว่า ร้านสะดวกซื้อในเมืองหลักของจีนอย่างปักกิ่ง นั้นจำเป็นต้องมียอดขายประมาณ 5,000-6,000 หยวนต่อวัน เพื่อให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ โดยที่รายได้หลัก ๆ ของร้านมักจะมาจากสินค้าประเภท กล่องข้าวกลางวัน, อาหารปรุงสด, ขนมหวาน ฯลฯ ที่มีเชลฟ์ไลฟ์ไม่นานนัก

    เช่นเดียวกับในญี่ปุ่น ร้านประเภทนี้จะมีอัตรากำไรขั้นต้นจากอาหารสด เป็นหลัก 40-50% อาจกล่าวได้ว่า ยิ่งอัตราส่วนของอาหารสดมีมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้ร้านสะดวกซื้อมั่นคงเท่านั้น แต่ดูเหมือนว่า หลายบริษัทในจีนพยายามวิ่งเข้าหาเทรนด์ของร้านสะดวกซื้อไร้พนักงานจนลืมคิดถึงเรื่องนี้ไป

    หากร้านค้าอัจฉริยะเหล่านี้วางขายเพียงแต่สินค้าที่เก็บไว้ได้นาน อย่างพวกขนม และเครื่องดื่ม ร้านนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติใหญ่ ๆ เครื่องหนึ่งในสายตาของผู้บริโภค

    และอีกปัจจัยหนึ่งก็คือ ธุรกิจนี้ยังขาดการใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการที่ร้านสะดวกซื้อในญี่ปุ่น ประสบความสำเร็จมากกว่าที่อื่น เนื่องจากมีการนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อวางแผนการขาย การพัฒนาสินค้าใหม่ ๆ รวมถึงการสร้างเครือข่ายกระจายสินค้าที่มีประสิทธิภาพในขณะที่บริษัทจีนที่สนใจแต่การนำเทคโนโลยีเข้าไปแทนที่การใช้แรงงานเป็นหลัก และอาจมองข้ามการนำข้อมูลเหล่านี้ไปปรับใช้กับบริการอื่น ๆ แต่บางบริษัทก็ได้เรียนรู้กับสิ่งที่เกิดขึ้น

    “อาลีบาบา” ได้เปิดตัว “Freshippo” หรือที่รู้จักกันในนาม “เหอหม่า เซียนเซิง” ร้านซูเปอร์มาร์เก็ตไฮเทค ที่นำเอาเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาใช้ภายในร้าน ทั้งระบบการชำระเงินแบบแคชเลส คิวอาร์โค้ดบอกข้อมูลสินค้า ฯลฯ แต่ที่ร้านก็ยังมีพนักงานเพื่อซัพพอร์ตลูกค้าอยู่

    แม้ว่าเทรนด์ของร้านไร้พนักงานที่จีนจะบูมสุดขีดและจบลงภายในระยะเวลาไม่นาน แต่ก็ได้ทิ้งบทเรียนบางอย่างเอาไว้ ซึ่งผู้ที่ผ่านมาได้อาจกลายเป็นผู้ชนะในสมรภูมินี้ในอนาคตก็เป็นได้

    https://www.prachachat.net/marketing/news-409363
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 เมษายน 2020
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ช่างตัดผม โอดไม่หวังเงินช่วยเหลือ 5พัน วอนพ่อเมืองเข้าช่วยเหลือด่วน(มีคลิป)

    นายนนทศภัฎ อายุ 46 ปี เจ้าของร้านเสริมสวย ตั้งอยู่ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา ได้รับผลกระทบจากพิษโควิด 19 ไม่มีรายได้เพราะต้องปิดร้านชั่วคราว บอกกับทีมข่าวว่า เขาลงทะเบียนเพื่อขอรับเงินเยียวยา 5,000 บาทไว้ แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้า ขณะที่บางร้านได้รับเงินไปแล้วและบางร้านคุณสมบัติไม่ผ่าน เพราะแต่ละร้านก็ลงทะเบียนกรอกคุณสมบัติเหมือนๆกัน จึงไม่อยากจะคาดหวัง จะได้รับเงินก้อนนี้ แต่ก็จะยื่นอุทธรณ์อีกครั้ง

    ขณะที่ตอนนี้ต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายมากมาย ค่าน้ำ-ค่าไฟฟ้า โดยที่หน่วยงานไม่มีการยืดหยุ่นผ่อนผันให้กับผู้ใช้บริการเลย ส่วนค่าเช่าอาคารและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ยังสามารถพูดคุยขอเลื่อนออกไปได้ เงินในบัญชีธนาคารถอนออกมาจนหมด เหลือใช้ไปถึงวันที่ 20 นี้เท่านั้น

    ซึ่งถ้าไม่ได้เงินช่วยเหลือ ก็ยังไม่รู้จะทำยังไง หากสถานการณ์โควิด-19 ยังยืดยาวออกไป รวมทั้ง รัฐบาลไม่มีมาตรการช่วยเหลือที่เหมาะสมกว่านี้ ก็เชื่อว่า ความเดือดร้อนจากปัญหาปากท้องจะวิกฤตเลวร้ายมากยิ่งขึ้น

    นายนนทศภั จึงขอฝากความหวังไว้ที่พ่อเมืองโคราช นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดฯ ให้ลงมาดูความเดือดร้อนของเราหน่อย ไม่ใช่ให้รอความหวังจากเงินช่วยเหลือของรัฐบาลเพียงอย่างเดียว เพราะคนที่มีอาชีพอิสระ-หาเช้ากินค่ำเดือดร้อนหนักจริงๆ ขอให้ช่วยคนโคราชก่อน แค่พอประทังชีวิตไปวันๆก็พอ

    The post ช่างตัดผม โอดไม่หวังเงินช่วยเหลือ 5พัน วอนพ่อเมืองเข้าช่วยเหลือด่วน(มีคลิป) appeared first on SpringNews.

    Source : #Springnews #สปริงนิวส์

     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ‼️"สมคิด" คาดกู้เงินล็อตแรก 6 แสนล้าน ได้ไม่เกินกลางเดือน พ.ค.ย้ำทุกประเทศก็ต้องกู้ ชี้ IMF สนับสนุน ขอคนไม่เดือนร้อนเปิดทางคนลำบากก่อนปมแจกเงินเยียวยา 5,000 บ. เพราะหากแจกทุกคนก็ต้องกู้ยันตาย
    .
    นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ไม่มีประเทศใดในโลกที่จะมีงบประมาณดูแลประชาชนที่เดือนร้อนเพียงพอ ทุกประเทศต้องหันมาใช้การกู้ยืมเงิน ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา หรือ สิงคโปร์ ก็ต้องกู้เงินเพื่อนำเงินมาดูแลประชาชนที่เดือดร้อน
    .
    ในส่วนของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่าหนี้ของโลกจะสูงมากในปีนี้ (63) และปีหน้า (64) แต่ก็ยังสนับสนุนให้แต่ละประเทศกู้เงินเพื่อมาดูแลประชาชน กระทรวงการคลังจึงได้เร่งออก พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้าน โดยวางแผนไม่เกินกลางเดือน พ.ค.นี้ จะสามารถกู้เงินได้ ซึ่งจะมีเงินมาสานต่อจากงบประมาณปกติ จะทำให้การช่วยเหลือไม่ขาดตอน ทั้งกลุ่มเยียวยา ดูแลท้องถิ่น และภาคการเงิน เป็นไปตามแผนงานการก่อหนี้
    .
    "การกู้ยืมของกระทรวงการคลังเป็นการสะท้อนความเข้มแข็งของประเทศไทย เพราะหนี้ต่อจีดีพีอยู่ที่ร้อยละ 40-41 การกู้ 1 ล้านล้าน ตัวเลขยังเป็นมาตรฐานไม่สะเทือน เพราะมีการดูแลในอดีตที่ผ่านมา แต่เงินที่กู้มาจะต้องใช้อย่างระมัดระวัง งบประมาณก็มีแค่นั้น มีประเทศไหนที่มีงบประมาณดูแล 3-4 เดือน ต่อให้อเมริกาก็ไม่มี โครงการเงินกู้จะมาเสริมต่อ เดือน พ.ค.นี้ กู้เงินล็อตแรกอย่างน้อยๆ ก้อนแรกเยียวยา 6 แสนล้านก็ต้องมาก่อน" นายสมคิด กล่าว
    .
    รองนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า การแจกเงินเยียวยาผลกระทบคนละ 5,000 บาท จะไม่มีกลุ่มไหนถูกทอดทิ้ง แต่ขอให้คนที่ไม่เดือนร้อนเสียสละให้คนที่เดือนร้อนก่อน เพราะหากคนที่มีรายได้แล้วยังจะเอาอีก จะมีรัฐบาลไหนที่จะดูแลได้ครบ ส่วนที่มีข้อเสนอจากนักวิชาการว่าให้แจกเงินเยียวยาทุกคนในประเทศ 3,000 บาท แทน 5,000 บาท นายสมคิด ระบุว่า ถ้าจะแจกเงินทุกคนก็ต้องกู้ยันตาย
    .
    "ประเด็นปัญหาที่ถกกันในสังคมว่าการแจกเงินเยียวยา 5,000 บาทที่ถกกันในสังคมจะเอาอย่างไร เมื่อวานนี้ (15 เม.ย.) ครม.ออกมาแล้ว คนที่อยู่ประกันสังคมก็จะได้เงินจากประกันสังคมแน่นอน ส่วนคนนอกระบบประกันสังคมก็จะพยายามดูแลทุกกลุ่มแน่นอน ถ้าคนเดือนแล้วขอแล้วไม่ได้ก็มีสิทธิอุทธรณ์ ฉะนั้นจะไม่มีกลุ่มไหนถูกละทิ้ง ยกเว้นกลุ่มที่ควรจะไม่ได้ เช่น มีรายได้เพียงพอ อย่าลืมว่าประเทศอยู่ในภาวะที่ลำบาก คนที่ดูแลตัวเองได้ก็ต้องให้คนที่ดูแลตัวเองไม่ได้ก่อน ไม่อย่างนั้นคนจนๆ จะลำบากมาก" นายสมคิด กล่าว
    .
    ด้านนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ความคืบหน้าแนวทางการแจกเงินช่วยเหลือเกษตรกรจากการระบาดของโควิด-19 ขณะนี้อยู่ระหว่างหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ครอบคลุมและรัดกุม

     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    อัปเดตยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19
    ไทยติดเชื้อเพิ่ม 33 ราย
    เสียชีวิตสะสม 47 ราย
    18 เมษายน 2563
    .
    #mgronline #ยอดผู้ติดเชื้อโควิด19 #ไทยติดเชื้อเพิ่ม33ราย

     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ตรวจสอบกันจะจะ!! ‘ประธานาธิบดีทรัมป์’ ซัดแหลก ‘องค์การอนามัยโลก’
    ได้ ‘ถูกต้อง’ หรือ ‘เลอะเทอะ’?
    .
    ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ กล่าวหาองค์การอนามัยโลก (WHO) ว่าบริหารจัดการการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาอย่างผิดพลาด รวมทั้งกำลังปกปิดข้อมูลหลังจากที่มันปรากฏขึ้นมาในประเทศจีน
    .
    เขายังประกาศด้วยว่า เขาจะยุติการให้เงินทุนแก่ ฮู ในช่วงเวลาที่คณะบริหารของเขาจะศึกษาทบทวนการกระทำต่างๆ ขององค์กรชำนัญพิเศษของสหประชาชาติแห่งนี้
    .
    อ่านต่อ>>https://mgronline.com/around/detail/9630000040442
    #mgronline #โดนัลด์ทรัมป์ #ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา #กล่าวหา #องค์การอนามัยโลก #WHO #การแพร่ระบาด #ไวรัสโคโรนา

     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ... "รัฐบาลถูกคัดค้านเรื่องตั้งกองทุน BSF อุ้มหุ้นกู้เอกชน 400,000 ล้าน"

    ... โดยหนึ่งในกลุ่มผู้คัดค้านเป็นอดีตลูกหม้อคณะทำงานของธนาคารแห่งประเทศไทยเอง

    ... โดยแนวทางที่ออกข่าวมาว่า รัฐบาลจะใช้กลไกของธนาคารแห่งประเทศไทยในการ "อัดฉีดสภาพคล่องเพื่อช่วยสร้างเสถียรภาพให้กับตลาดหุ้นกู้ของเอกชน" ยังได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อีกครั้งจากหนึ่งในอดีตคณะบุลคลที่เคยทำงานในธนาคารแห่งปรพเทศไทยเองด้วย การคัดค้านประเด็นหลักมีประเด็นคือว่า จะเกิดความล้มเหลวของแก้ไขสาเหตุของปัญหา ที่ไม่ได้แก้ที่รากเหง้า

    ... ท่ามกลางความเสี่ยงที่หลาย ๆ บริษัทจะประสบปัญหาการขาดสภาพคล่องในตอนวิกฤตินี้, ( วิกฤติไวรัสโควิด19 เป็นแค่ปลายเหตุ วิกฤติเศรฐกิต โลก เกิดมาก่อนหน้าแล้ว) ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้วางแผน "กู้ยืมเงินมาเพื่ออุ้มหุ้นกู้คนรวย หรือจัดตั้ง " กองทุนตราสารหนี้ (BSF)" อุ้มคนรวย หรือ Corporate Bond Stabilisation Fund

    ... มูลค่า 400, 000 ล้านบาทเพื่อให้บริการสินเชื่อทางการเงินแก่ บริษัทที่มีคุณภาพสูง หรือ "ซื้อหุ้นกู้เอกชนคุณภาพดี" ( ซึ่งก็คือบรรษัทใหญ่ๆ)

    ... ซึ่ง สส.หลายคนออกมาตีปีกเห็นด้วย ในการเอาสร้างหนี้สาธารณะโดนการอุ้มเอกชนซ้ำรอยปี2540 เช่นพรรคสีฟ้า บอกว่าถ้าไม่ทำตลาดพันธบัตรจะกระทบคนอาจจะเททิ้ง อาจจะกระทบกับตลาดการเงิน และอาจจะลามไปภาคอื่นๆ

    ... โดยบอร์ด "ธนาคารออมสิน" เคาะใช้เงิน 2 หมื่นล้านบาท ลงขันกองทุน BSF ร่วมกับ “ธนาคารแห่งประเทศไทย, ร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ได้แก่ สมาคมธนาคารไทย, ธุรกิจประกันภัย, กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบข.) รวมถึงกองทุนรวมวายุภักษ์ รวมถึงธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่จะมีการออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การสนับสนุนสภาพคล่องเพื่อดูแลเสถียรภาพตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน ซึ่งมีวงเงิน 400,000 ล้านบาท โดยคาดว่าทาง ธปท.จะมีการกำหนดกลไกของ "กองทุน BSF" ออกมาให้ชัดเจนในสัปดาห์นี้

    ... แต่ธนาคารออมสินก็มีเงื่อนไขว่า “แบงก์ออมสิน บอร์ดไฟเขียวให้ใส่เงินร่วมจัดตั้งกองทุนได้ แต่รัฐบาลจะต้องชดเชยกรณีเกิดผลขาดทุนขึ้น หรือแม้แต่เงินของ ธปท.เอง ถ้าขาดทุน ก็ต้องมีกลไกการชดเชย ลักษณะเดียวกับเมื่อครั้งปี 2540 ที่ภาคการเงินเสียหายไป 1.4 ล้านล้านบาท แล้วมีการจัดตั้งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) ขึ้นมา ซึ่งปัจจุบันชดเชยความเสียหาย โดยให้แบงก์จ่าย 0.46%”

    ... ( หนี้กองทุนฟื้นฟูผ่านมา23ปี หนี้ยังลดไม่ถึงร้อยละสิบเศษๆ คนไทยยังไม่รู้มากนัก เราต้องเจียดแบ่งเงินงบประมาณประจำปีมาจ่ายดอกเบี้ยและหนี้ ทุกปี ยังไม่นับจ่ายเงินที่เสียหายจากการโกงกินในบางโครงการเช่น โฮปเวลล์หรือจำนำข้าว แทนที่จะเอาเงินไปพัฒนาส่วนอื่นๆของประเทศ )

    ... ( ธนาคารออมสินเคยเจ็บปวดมาแล้ว จากการถูกรัฐเอาเงินฝากเด็กไปอัดฉีดโครงการ "รถคันแรก" ที่มีสาเหตุมาจากรัฐบาลพี่น้องดัง กลัวนักลงทุนต่างชาติย้ายฐานการผลิตรถยนตร์หลังเห็นรถลอยน้ำเป็นแพปลาเน่าตอนน้ำท่วมใหญ่ จึงเอาใจผู้ผลิตรถยนตร์ต่างชาติ และเอาใจขยายหาเสียงคนรุ่นใหม่ที่อยากมีรถยนต์เร็วๆ )

    ... โดยบอกว่าเป็นหลังพิงให้ “หุ้นกู้เอกชน” ชี้รัฐจำเป็นต้องมีกลไกอุ้มบางองค์กร เช่น “การบินไทย” หุ้นกู้ครบดีล รวมถึงการเพิ่มทุนด้วย

    ... นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธปท. บอกว่า "การจัดตั้งกองทุน BSF" จะใช้เป็น "แหล่งเงินสำรองชั่วคราว" (bridge financing) สำหรับเข้าไป "ซื้อตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทที่มีคุณภาพดี" ที่ครบกำหนดในช่วงปี 2563-2564 โดยบริษัทที่ขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนจะต้องมีแผนการเงินและการจัดหาเพิ่มทุนระยะยาวที่ชัดเจน, ต้องชำระอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าตลาด และต้องระดมทุนส่วนใหญ่ได้จากแหล่งเงินทุนอื่น เช่น การกู้เงินธนาคารพาณิชย์ หรือ " การเพิ่มทุน" ในระยะยาวที่ชัดเจน

    ..." กองทุนนี้บีเอสเอฟ" อ้างว่าเป็นการวางแผนการเงินล่วงหน้าเพื่อป้องกันผลกระทบของการระบาดใหญ่ของโคโรนาไวรัสจากที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางการเงิน

    ... โครงการนี้ไม่ครอบคลุมพันธบัตรที่คุณภาพต่ำเช่น Non-Investment Grade (นัน-อินเวสต์เมนต์ เกรด) หมายถึง “กลุ่มต่ำกว่าระดับลงทุน" เรทติ้ง ตั้งแต่ BB+ ลงมา จนถึง D เป็นหุ้นกู้คุณภาพปานกลางถึงคุณภาพต่ำ ( เน้นอุ้มแต่คนรวยชั้นสูง ซึ่งผิดหลักการเงิน ที่ต้องอุ้มจากจนมารวย )

    ... ดร.วีรพงษ์ รามางกูร อดีต รมว.คลัง และอดีตประธานคณะกรรมการ ธปท. พร้อมด้วยอดีตผู้บริหาร ธปท.หลายราย ทำจดหมายเปิดผนึกแสดงความไม่เห็นด้วยในบทบาทของ ธปท. เรื่องการใช้วงเงิน 4 แสนล้านบาท รับซื้อตราสารหนี้ภาคเอกชน โดยมองว่าขัดกับหลักการของธนาคารกลาง แต่หากจำเป็นต้องทำเห็นว่าควรโอนไปให้ธนาคารของรัฐทำแทน ( เพราะถ้าธนาคารแห่งประเทศไทยทำ จะกลายเป็นหนี้สาธารณะทันที)

    ... และนักวิจารณ์ฝ่ายต่อต้านโต้แย้งว่าการซื้อพันธบัตรองค์กรเอกชนนี้ มันอยู่นอกเหนือขอบเขตหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยและความเสียหายใดที่เกิดขึ้นจะกลายเป็น "หนี้สาธารณะของชาติต่อไป" ( เปลี่ยนหนี้เอกชนเป็นหนี้สาธารณะซ้ำรอยปี 2540 อีกครั้ง)

    ... Ms Navaporn compared how the move has a tendency to be at the wrong end of addressing the problem, akin to a policy devised over 20 years ago during the 1997 financial crisis

    .

    ... https://www.prachachat.net/finance/news-450894

    ... https://www.thairath.co.th/news/politic/1819829

    ...https://www.bangkokpost.com/busines...faces-slew-of-criticism#group=nogroup&photo=0

     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    #Covid_19กับมุมมองของผู้นำบราซิล
    #วิกฤติไวรัสเมืองแซมบ้า

    เมื่อวานนี้ 17 เมษายน มีรายงานข่าวล่าสุดว่า ยอดผู้ติดเชื้อในบราซิลทะลุ 30,000 คน และมีผู้เสียชีวิตแล้วเกิน 2 พันคน ต้อนรับข่าวคำสั่งด่วน ปลดรัฐมนตรีสาธารณสุข ลูอิซ เฮนริเก มันเดตตา ที่สร้างความกังวลไปทั้งประเทศว่าวิกฤติโรคระบาดนี้จะไปจบที่ตรงไหน

    ความกังวลของชาวบราซิล ไม่ได้มาจากความหวาดกลัวโรคภัยไข้เจ็บเพียงอย่างเดียว แต่สิ่งที่หนักใจยิ่งกว่านั้นคือมุมมองของผู้นำประเทศ ประธานาธิบดี ชาร์อี บอลโซนาโร ต่อเชื้อ Covid-19 ที่เคยประกาศออกอากาศว่า "จะกลัวมันทำไม กะอีแค่ไข้หวัดจิ๊บๆ"

    และด้วยความคิดเห็นที่ว่า Covid-19 เป็นแค่ไข้หวัดจิ๊บๆนี่เอง จึงเป็นสาเหตุให้สั่งปลดลูอิซ มันเดตตารัฐมนตรีสาธารณสุข ที่ชาวบราซิลรักมากในวันนี้ โดย ประธานาธิบดี บอลโซนาโร ให้เหตุผลว่า เป็นเพราะความคิดเห็นไม่ตรงกัน

    ความเห็นไม่ตรงกันเรื่องอะไรบ้าง?

    - ท่านมันเดตตา รมต. สาธารณสุข บอกให้เว้นระยะห่างทางสังคม แต่ประธานาธิบดีบอกว่า ไม่ต้อง

    - มันเดตตาบอกให้ Lockdown เก็บตัวอยู่กับบ้าน ท่านผู้นำอยากให้เปิดเมือง ใช้ชีวิตปกติ

    - มันเดตตาบอกว่า ไม่เชื่อว่า ยาต้านเชื้อมาลาเรีย ที่เสี่ยอ่าง โดนัลด์ ทรัมพ์ แกคุยนักหนาว่าเป็น Game Changer ที่จะรักษา Covid ได้ผล ซึ่งไปขัดใจท่านประธานาธิบดีนักหนา ที่อยากจะให้ใช้ยาตัวนี้เลย ไม่ต้องรอ

    ความขัดแย้งมีมาตั้งแต่เริ่มต้นวิกฤติ ที่ท่านรัฐมนตรีกระทรวงหมอคนนี้ ออกมาเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วตั้งแต่พบเคสนักศึกษาที่เพิ่งกลับจากอู่ฮั่น มีอาการคล้ายจะติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ตั้งแต่ปลายมกราคม แกก็เป็นคนชงเรื่องถึงรัฐบาลก่อนใครว่าต้องมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทางสาธารณสุข และรณรงค์มาตลอดให้ชาวบราซิลเคร่งครัดมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม

    ที่ท่านรัฐมนตรีลูอิซ มันเดตตา ค่อนข้างซีเรียสเรื่องนี้มากๆ เพราะแกเคยเป็นหมอมาก่อนที่จะมาทำงานการเมือง แกจึงมีมุมมองแบบคุณหมอว่า มาตรการต้องเคร่ง หากจำเป็นต้องปิดเมือง ก็ต้องเอาให้สุดเพื่อสกัดโรคให้เด็ดขาด เจ็บแต่จบ!

    และด้วยการทำงานที่มีกฏระเบียบชัดเจน รับมือสถานการณ์ไว เลยทำให้ชาวบราซิลรักมาก สะท้อนจากโพลสำรวจความนิยม ที่ชาวบราซิลเทคะแนนให้มากถึง 74%

    ส่วนท่านประธานาธิบดี ชาร์อี บอลโซนาโร แกก็มาสายชิลล์ ไม่ได้มองว่าวิกฤติไวรัสโคโรน่าเป็นเรื่องที่ต้องซีเรียสถึงขนาดนั้น แกมองว่าชาวบราซิลจะอดตายเพราะปิดเมือง มากกว่าจะติดโรคตายเสียอีก

    ดังนั้นท่านบอลโซนาโร จึงพยายามบอกว่าเจ้าเชื้อโรคนี้มันไม่ได้น่ากลัว ไม่ต้องกังวล แกชิลล์ขนาดที่เคยเกือบติดเชื้อ Covid กับตัวเองมาแล้ว ตอนต้นเดือนมีนาคม เพราะโฆษกส่วนตัวของแกไปติดเชื้อ Covid มาตอนไหนก็ไม่รู้ แต่สุดท้ายหลังตรวจเชื้อครั้งที่สอง ก็ยืนยันว่าท่านบอลโซนาโรไม่ได้ติด

    แต่ตัวแกก็ยังไม่เข็ด ยังออกไปเยี่ยม ทักทายชาวบ้านแบบเป็นกันเอง โอบกอด จับมือ ลูบหน้า เช็ดจมูก กันให้วุ่นวาย เพื่อโชว์พาว ว่าแกไม่กลัวเชื้อ Covid

    และเมื่อวันที่ 24 มีนาคม ที่ผ่านมา ท่านประธานาธิบดี แกก็มาคุยออกทีวี โจมตีสื่อว่าออกข่าวเกินจริงเรื่องเชื้อไวรัส และไม่ต้องเคร่งมาตรการ Social distancing ขนาดนั้น มีช่วงหนึ่ง แกพูดไว้ว่า

    "With my history as an athlete, if I were infected with the virus I would have no reason to worry. I would feel nothing, or it would be at most just a little flu."

    "ในฐานะที่ผมเคยเป็นนักกีฬามาก่อน ถ้าติดเชื้อจริงๆ ผมก็ไม่กลัวหรอกครับ จะกลัวทำไม มันก็แค่ไข้หวัดจิ๊บๆ"

    เท่านั้นแหละ ชาวบ้านบราซิลถึงขั้นทนไม่ไหว คว้าหม้อ ไห กาละมัง ออกมาตีเกราะประท้วงกันสนั่นเมือง ราวกับไล่ราหูอย่างไร อย่างนั้น

    ภาพชาวบราซิลเคาะหม้อไห ประท้วงผู้นำตอนออกทีวี



    นอกจากมุมมองของผู้นำจะน่าเป็นห่วงแล้ว ยังมีข่าวว่าแกยังใช้อำนาจเข้าไปแทรกแซงมาตรการเว้นระยะห่างของผู้ว่าฯบางเมืองด้วยซ้ำ โดยแกให้เหตุผลว่า เรื่องโรคระบาดก็ปัญหาหนึ่ง เรื่องเศรษฐกิจก็อีกปัญหาหนึ่ง เราจะรักษาแค่โรคเดียว แล้วทิ้งอีกโรคหนึ่งไปเลยก็ไม่ได้ มันต้องรักษาทั้ง 2 อย่าง

    แต่ท่านประธานาธิบดีอาจจะลืมไปว่า วิกฤติโรคระบาดระดับโลก มันก็ไม่ได้มาบ่อยๆ ร้อยปีจะมาสักครั้ง และแต่ละครั้งก็ทิ้งความหายนะให้แก่มนุษย์มากมายมหาศาลแค่ไหน จะคิดว่ามันเป็นแค่เรื่องไข้หวัดธรรมดาไม่ได้นาท่าน

    แต่สุดท้าย ท่านประธานาธิบดีก็คงว่าแกคิดถูกแล้ว ก็เลยจำเป็นต้องเปลี่ยน รัฐมนตรีสาธารณสุขคนเก่าออก ส่วนคนใหม่ที่มารับตำแหน่ง ก็ยังโชคดีที่เคยเป็นหมอเหมือนกัน ก็หวังว่าจะยังพอรับมือต่อได้

    สิ่งที่น่ากลัวของสถานการณ์ในบราซิล คือ ยอดตัวเลข 3 หมื่น ที่นำโด่งที่สุดในกลุ่มประเทศลาตินอเมริกาแล้วในตอนนี้ ยังไม่น่าใช่จุดพีค มันยังไปต่อได้อีก และการตรวจเชื้อยังทำได้น้อยมาก ประมาณ 300 คน ต่อประชากร 1 ล้านคนเท่านั้นเอง

    ขนาดตรวจน้อย ยังเจอขนาดนี้ ถ้าเพิ่มปริมาณการตรวจแบบปูพรมในพื้นที่ที่มีการระบาดเข้มข้น ตัวเลขจะเพิ่มขึ้นขนาดไหนหนอ

    ในขณะที่ประธานาธิบดี บอลโซนาโร ยืนยันว่าจะเปิดเมือง เริ่มเดินหน้าเศรษฐกิจ ทางเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วย Covid-19 ต่างออกมาบอกว่า ตอนนี้มันตึงมือ เกินจะดูแลไหวแทบทุกอย่างแล้ว

    เจ้าหน้าที่ในที่นี้ ไม่ได้รวมแค่คุณหมอ คุณพยาบาลอย่างเดียว แต่รวมถึงคุณสัปเหร่อ ที่ต้องรับหน้าที่ทำพิธี ขุดหลุมฝังศพก็ออกมาสะท้อนความเห็นว่า ช่วงนี้ก็ทำกันแทบไม่ไหวแล้วเหมือนกัน

    หากท่านผู้นำบราซิล แกยังมีมุมมองเรื่อง ไข้หวัด Covid จิ๊บๆ อย่างนี้ต่อไป สถานการณ์ในบราซิลอาจหลุดไกลเกินตัวเลขแนวต้านของจีนอีกประเทศหนึ่งก็เป็นได้นะคะ

    แหล่งข้อมูล

    https://www.theguardian.com/world/2...brazil-to-slaughterhouse-covid-19-coronavirus

    https://www.bbc.com/news/world-latin-america-52040205
    https://m.jpost.com/international/b...onavirus-victims-next-to-live-patients-625005
    https://www.bbc.com/news/world-latin-america-52040205
    https://en.m.wikipedia.org/wiki/2020_coronavirus_pandemic_in_Brazil

     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    #สงครามราคาน้ำมัน ที่ซาอุเริ่มขึ้นมาเพื่อโจมตีการผลิตน้ำมันในสหรัฐนั้นเห็นผลชัดเจนทันทีภายในเดือนเดียว นอกจากจะทำให้บริษัทจุดเจาะน้ำมันในสหรัฐต้องเริ่มล้มละลายแต่ภายในเดือนเดียวสหรัฐกลับต้องนำเข้าน้ำมันดิบจากซาอุเพิ่มอีกขึ้นถึง 50% !

    เป็นจุดที่ทำให้ยิ่งน่าคิดว่า #ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐและซาอุ นั้น... จริงๆแล้วยังเป็นพันธมิตรกันหรือไม่ ? ⚔️

    ถึงแม้สงครามการผลิตน้ำมันจะจบลงไปแล้ว อย่างน้อยก็ในเบื้องต้นที่ทุกฝ่ายตกลงที่จะลดกำลังการผลิตกันในต้นเดือนหน้านี้ แต่สงครามราคายังไม่จบแน่ๆในเมื่อซาอุยังพยายามจะลดราคาขายน้ำมันดิบของตัวเอง (ผ่าน OSP) เพื่อที่จะพยายามเพิ่มส่วนแบ่งตลาดของตัวเองให้ได้มากที่สุด

    การผลิตเชลล์ออยในสหรัฐที่เติบโตขึ้นมาในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานั้นเป็นเสมือนฝันร้ายของซาอุดิอาระเบีย เพราะ

    1️⃣ ทำให้ซาอุไม่สามารถส่งน้ำมันของตัวเองไปขายให้สหรัฐประเทศที่ใช้น้ำมันมากที่สุดในโลกได้เสมือนแต่ก่อน การนำเข้าน้ำมันดิบของสหรัฐในปี 2017 นั้นเคยสูงเกินกว่า 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน แต่สุดท้ายต้องลดลงมาเหลือไม่ถึง 0.4 ล้านบาร์เรลต่อวันในช่วงต้นปีนี้ หรือหายไปกว่า 60% (กราฟแนบในคอมเม้นท์)

    2️⃣ เท่านั้นยังไม่พอทางสหรัฐได้พยายามเร่งการสร้างท่อส่งออกน้ำมันดิบอย่าเร่งด่วนใน 3-4 ปีที่ผ่านมา ส่งน้ำมันดิบของประเทศตัวเองออกมาตีตลาดฝั่งเอเชียมากขึ้น เรียกได้ว่าเข้ามาโจมตีตลาดอู่ข้าวอู่น้ำของการขายน้ำมันของทางซาอุเลย โดยทางภูมิภาดเอเชียก็เริ่มรับน้ำมันดิบของสหรัฐมากขึ้นมาตลอด แม้แต่ประเทศไทยเราเองก็เริ่มใช้น้ำมันดิบของสหรัฐมากขึ้นด้วย ทดแทนสัดส่วนของน้ำมันดิบในตะวันออกกลางไป

    3️⃣ และที่สำคัญที่สุดคือไม่ว่าทางซาอุพยายามจะดันราคาน้ำมันในตลาดโลกให้สูงขึ้นอย่างไร ก็ยังจะมีน้ำมันจากสหรัฐที่เร่งเพิ่มการผลิตเข้ามาทดแทนสัดส่วนน้ำมันในตลาดของซาอุอยู่ตลอดเวลา ทำให้น้ำมันนั้นล้นตลาดอยู่เสมอ ซาอุจะลดกำลังการผลิตเท่าไหร่ก็ไม่สามารถดันราคาน้ำมันดิบโลกให้ขึ้นได้ !

    ซาอุผู้รายได้หลักของประเทศคือการขายน้ำมันล้วนๆโดนเช่นนี้มาตลอด 3-4 ปีที่ผ่านมา ทำให้จะทนยอมอยู่เฉยๆได้อย่างไร ถึงแม้ว่าจะมีพันธมิตรทางทหารที่ดีกับสหรัฐก็ตาม...

    นี่จึงเป็นเหตุผลนึงที่ทางซาอุเริ่มสงครามราคาน้ำมันในครั้งนี้ และมันกำลังเริ่มเห็นผลดีขึ้นแล้วภายในเวลาเพียงเดือนเดียว ล่าสุดนอกจากธุรกิจเชลล์ออยสหรัฐจะต้องเริ่มปิดตัวลง ตัวเลขการนำเข้าน้ำมันดิบซาอุของสหรัฐยังได้ดีดขึ้นถึง 50% ! จากที่เคยนำเข้าอยู่ที่ไม่ถึง 0.4 ล้านบาร์เรลต่อวันดีดขึ้นเป็น 0.6 ล้านบาร์เรลต่อวันทันทีในเดือนเมษายน

    หากให้เปรียบเทียบว่าปริมาณน้ำมันดิบที่สหรัฐซื้อเพิ่มขึ้นมานั้นมากเท่าไหร่ ? เปรียบได้ง่ายๆว่าปริมานนี้สามารถใช้เข้ากลั่นในโรงกลั่นใหญ่ๆของประเทศเราอย่าง TOP หรือ PTTGC ให้ดำเนินการได้ทั้งเดือนสบายๆเลย

    แต่ตัวเลขนำเข้าในเดือนพฤษภาคมนั้นจะยิ่งโตมากขึ้นไปกว่านี้หรือว่าจะลดลงก็ต้องติดตามกันต่อไป เพราะล่าสุดทางซาอุได้ปรับลดราคา OSP ที่ขายไปให้ทางสหรัฐขึ้นเล็กน้อยแล้ว ไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะทางรัฐบาลสหรัฐมากดดันหรือป่าวว่าไม่ให้ขายน้ำมันราคาต่ำเข้าไปกดตลาดในสหรัฐ

    ก่อนที่จะตกลงเรื่องการลดกำลังการผลิตร่วมกันได้นั้น ทางรัฐบาลสหรัฐก็มีการขู่ว่าจะใช้สงครามภาษีเข้ามาช่วยปกป้องผู้ผลิตในประเทศของสหรัฐ

    นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ทางทรัมป์นั้นใช้ภาษีเข้ามาเป็นกลไกช่วยในการค้าระหว่างประเทศ จำช่วง 2 ปีที่แล้วที่สิ้นค้าราคาถูกของจีนกำลังไหลเข้ามาในสหรัฐจนแย่งส่วนแบ่งตลาดของสหรัฐไปหมดได้ไหมครับ ? ทางสหรัฐจึงขึ้นภาษีสินค้าจีนด้วยการประกาศ #สงครามการค้า จนทำให้ของๆจีนที่จะต้องนำเข้ามานั้นราคาแพงกว่าของที่ผลิตเองในสหรัฐ ทำให้ผู้ประกอบการในสหรัฐยังมีส่วนแบ่งตลาดที่ดีอยู่ และสุดท้ายก็เป็นการบีบให้จีนต้องยอมจำนนต่อข้อเสนอสัญญาการค้าจากสหรัฐที่เพิ่งเซ็นกันไปตอนต้นปี

    ครั้งนี้เหตุการณ์ก็เหมือนกันเป๊ะๆครับ ต้นทุนผลิตของซาอุนั้นถูกว่าทางสหรัฐเยอะ หากการนำเข้าน้ำมันจากซาอุนั้นถูกกว่าการขุดน้ำมันในประเทศจริงๆ ทางผู้ผลิตในสหรัฐก็จะต้องหยุดการผลิตในประเทศและหันไปนำเข้าแทนจะได้คุ้มค่ามากกว่า

    สุดท้ายแล้วทางซาอุจะสามารถเพิ่มส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐต่อไปได้หรือไม่ ? ราคาน้ำมันโลกจะเป็นไปในทิศทางที่ซาอุต้องการไหม ? ความสัมพันธ์ของ 2 ประเทศนี้ #จริงๆแล้วยังเป็นพันธมิตรกันอยู่หรือป่าว ???

    มาติดตามกันอย่างใกล้ชิดต่อไปกับทางเราได้ครับ แนะนำให้กดไลค์ที่โพสต์เรื่อยๆ หรือกดตั้งค่า “เห็นโพสต์ก่อน” หรือ See First ไว้ที่เมนูมุมขวาบนของเพจได้เลยครับ ไม่งั้นทาง Facebook จะไม่ค่อยแสดงโพสต์ของเราที่อัพเดทใหม่ๆครับ

    ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามเพจของเรานะครับ ฝากกด Like และ Share ให้แอดด้วยหากข้อมูลนี้มีประโยชน์นะครับ ขอบคุณมากๆครับ

    #OilTradingKP

     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    รัฐบาลมาเลเซีย เล็งควบรวม"มาเลเซีย แอร์ไลน์" -"แอร์เอเชีย"
    .
    สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า นายโมฮาเหม็ด อัซมิน อาลี รัฐมนตรีอุตสาหกรรมและการค้าระหว่างประเทศของมาเลเซีย ซึ่งถูกมองว่าเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดรองจากนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย กล่าวว่า การควบรวมกิจการมาเลเซีย แอร์ไลน์และแอร์เอเชีย กรุ๊ป ถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้สายการบินทั้งสองผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 ซึ่งได้ส่งผลกระทบอย่างหนักต่ออุตสาหกรรมการบินนายอัซมิน ระบุว่า รัฐบาลมาเลเซียจะพิจารณาทางเลือกต่างๆเพื่อเยียวยาธุรกิจการบินในประเทศ ซึ่งทางเลือกในการนำมาเลเซีย แอร์ไลน์มาควบกิจการกับแอร์เอเชีย กรุ๊ป ได้มีการพิจารณาตั้งแต่ปีที่แล้ว ก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ออกคำแนะนำการป้องกันโควิด-19 ในช่วงเดือนรอมฎอน
    .
    นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค ในฐานะกรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ แนะนำ 7 แนวการป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงเดือนรอมฎอน ซึ่งจะเริ่มในห้วงระหว่างวันที่ 24 หรือ 25 เม.ย. - 23 หรือ 24 พ.ค.63 คือ

    1.หลีกเลี่ยงการสลามด้วยการสัมผัสมือ การสวมกอด และการสัมผัสแก้ม โดยให้ยกมือสลามกันเท่านั้น

    2.งดการไปร่วมละหมาดวันศุกร์ที่มัสยิดให้ปฏิบัติศาสนกิจภายในบ้าน

    3.หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารร่วมกัน และงดการแบ่งปันอาหาร

    4.หลีกเลี่ยงการไปสถานที่ที่มีการรวมตัวกันของคนเป็นจำนวนมาก หากจำเป็นควรเว้นระยะห่าง 1-2 เมตร สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยทุกครั้ง ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลให้สะอาดอยู่เสมอ

    5.กรณีมีความจำเป็นต้องปฏิบัติศาสนกิจในมัสยิด ให้เปิดหน้าต่างและผ้าม่านเพื่อให้อากาศถ่ายเท งดการใช้เครื่องปรับอากาศ และให้คัดกรองทุกคนก่อนเข้ามัสยิด

    6.หากมีการสัมผัสบุคคลหรือไปสถานที่เสี่ยง เมื่อกลับเข้าบ้าน ให้รีบทำความสะอาดร่างกาย อาบน้ำสระผม และเปลี่ยนเสื้อผ้า

    7.เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และดื่มน้ำสะอาดมากๆ หลังรับประทานอาหาร

    สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว ไม่ควรออกไปร่วมกิจกรรมทางศาสนานอกบ้าน ให้ปฏิบัติศาสนกิจภายในบ้าน เพื่อลดความเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จากสิ่งแวดล้อมภายนอก

     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students

    FB_IMG_1587189366586.jpg

    (Apr 18) ธุรกิจติดโควิด: เร่งเยียวยา ลดการแพร่เชื้อ : ระบบเศรษฐกิจประกอบด้วยธุรกิจและครัวเรือนต่างๆ ที่มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันผ่านการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า บริการ รวมถึงปัจจัยการผลิตต่างๆ ทั้งวัตถุดิบ สินค้าขั้นกลาง และแรงงาน ซึ่งแน่นอนว่า หากธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งประสบปัญหา ครัวเรือนและธุรกิจอื่นๆ ที่มีความเชื่อมโยงไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมกับธุรกิจนี้ย่อมได้รับผลกระทบตามไปด้วย

    ในภาวะปกติ การเกิดการตายของธุรกิจเป็นเรื่องปกติ กิจการหลายแห่งต้องปิดตัวลงเพราะขาดความสามารถในการแข่งขันหรือจากปัจจัยความเสี่ยงอื่นๆ ซึ่งพลวัตนี้เป็นกลไกที่ช่วยคัดกรองให้ธุรกิจที่เหลืออยู่ในระบบเศรษฐกิจเป็นธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ การปิดกิจการไม่ได้มีผลกระทบต่อผู้ประกอบการเท่านั้น แต่ยังกระทบลูกจ้างที่ต้องหางานใหม่ และกระทบธุรกิจอื่นๆ ที่เชื่อมโยงผ่านห่วงโซ่อุปทานที่ต้องหาแหล่งวัตถุดิบหรือลูกค้าใหม่ ซึ่งการปรับตัวหลังการปิดกิจการนี้อาจต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง

    ในช่วงนี้ ผู้ที่ได้รับผลกระทบอาจอยู่รอดได้โดยอาศัยเงินออมของตนเอง ความช่วยเหลือจากญาติพี่น้อง เงินกู้ยืมจากทั้งในระบบสถาบันการเงินและนอกระบบ หรือเงินชดเชยจากระบบประกันสังคม นอกจากนี้ ธุรกิจที่ปิดกิจการส่วนมากมักมีผลประกอบการที่ไม่ดีติดต่อกันมาระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งทำให้ลูกจ้างและธุรกิจคู่ค้าที่มองเห็นสถานการณ์สามารถเริ่มปรับตัวแต่เนิ่นๆ การช่วยเหลือจากภาครัฐแก่กิจการที่ปิดตัวลงจึงเป็นส่ิงที่ไม่จำเป็นในภาวะปกติ

    สถานการณ์โควิด-19 เป็นภาวะที่ไม่ปกติ เพราะเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ได้มีการคาดการณ์กันมาก่อน เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน และกระทบกับธุรกิจต่างๆ ในระบบเศรษฐกิจอย่างรุนแรงและเป็นวงกว้าง ทั้งจากปัจจัยทางด้านอุปสงค์ เช่น การเว้นระยะทางสังคม (social distancing) และกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลง และปัจจัยทางด้านอุปทาน เช่น ห่วงโซ่อุปทานที่ขาดช่วง และการห้ามประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลายประเภท ซึ่งธุรกิจจำนวนมากเป็นธุรกิจที่มีผลประกอบการดี ผลิตภาพสูง สามารถทำกำไรได้ในภาวะปกติ และหากอยู่รอดจนภาวะวิกฤติโควิดคลี่คลายจะสามารถดำเนินกิจการต่อได้ ธุรกิจเหล่านี้จึงควรได้รับความช่วยเหลือระยะสั้นเพื่อ “ต่อสายป่าน” ให้ผู้ประกอบการอยู่รอดในช่วงวิกฤตินี้

    และที่สำคัญ ความอยู่รอดของธุรกิจหนึ่งๆ ยังช่วยรักษาการจ้างงานและรายได้ของครัวเรือน รักษาห่วงโซ่อุปทาน และป้องกันไม่ให้วิกฤติเศรษฐกิจลุกลามต่อเนื่องจากธุรกิจหนึ่งไปสู่ครัวเรือนและธุรกิจอื่นๆ ที่มีความเชื่อมโยงกัน

    ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะการช่วยเหลือสภาพคล่องทางการเงิน เช่น การเลื่อนการชำระหนี้และการสนับสนุนสินเชื่อใหม่ให้แก่ผู้ประกอบการ จึงเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากธุรกิจและผู้ประกอบการจำนวนมากมีเงินออมที่จำกัดและไม่เพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจในภาวะเศรษฐกิจที่แทบจะหยุดนิ่ง ในขณะที่ความช่วยเหลือจากแหล่งอื่นๆ ที่พึ่งพาได้ในภาวะปกติก็มีข้อจำกัดในช่วงวิกฤตินี้ การพึ่งความช่วยเหลือจากญาติพี่น้องและเพื่อนฝูงทำได้ลำบากในสถานการณ์ที่คนจำนวนมากต่างได้รับความเดือดร้อนและไม่สามารถช่วยคนอื่นได้มากนัก การกู้ยืมจากสถาบันการเงินในระบบด้วยกระบวนการปกติทำได้ยาก และหากสามารถกู้หนี้นอกระบบได้ก็ต้องแบกรับต้นทุนอัตราดอกเบี้ยที่สูงยิ่งขึ้นไปจากภาวะปกติ

    ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เป็นกลุ่มผู้ประกอบการที่ต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐเป็นพิเศษ

    ประการแรก ถึงแม้ธุรกิจเหล่านี้มีขนาดไม่ใหญ่นักแต่มีจำนวนมากและเป็นแหล่งจ้างงานสำคัญของแรงงานในภาคเอกชน สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรายงานว่า ในปี 2563 SMEs คิดเป็น 99.8% ของจำนวนสถานประกอบการ และ 85.6% ของการจ้างงานนอกภาคเกษตร

    ประการที่สอง ธุรกิจขนาดกลางและเล็กมีความเปราะบางทางการเงินมากกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ ธุรกิจเหล่านี้มีความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่จำกัดแม้ในภาวะปกติ และยากยิ่งขึ้นมากในภาวะวิกฤติ นอกจากนี้ ธุรกิจรายย่อยมักมีสายป่านที่สั้นกว่า และมีข้อจำกัดในการบริหารกระแสเงินสด ทำให้ไม่สามารถอยู่รอดหากต้องพักการประกอบกิจการหรือหากมีรายได้ที่ลดลงเพียงไม่นาน

    ประการที่สาม SMEs จำนวนมากมีความสามารถในการนำเทคโนโลยีมาใช้บรรเทาปัญหาในช่วงวิกฤติโควิดน้อยกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ ถึงแม้ว่าธุรกิจจำนวนหนึ่งได้เพิ่มการขายผ่านออนไลน์แพลตฟอร์มตั้งแต่ช่วงก่อนวิกฤติ และธุรกิจอีกจำนวนมากได้หันมาใช้ออนไลน์แพลตฟอร์มในช่วงวิกฤตินี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังขาดความรู้และความพร้อม ประการสุดท้าย การปิดตัวของธุรกิจ SMEs จำนวนมากย่อมส่งผลต่อเนื่องถึงธุรกิจขนาดใหญ่หลายแห่ง ซึ่งธุรกิจเหล่านี้มีการจ้างงานอีกจำนวนมาก

    อุปสรรคและความยากลำบากของภาครัฐในการเยียวยาผู้ประกอบการและลูกจ้างอย่างหนึ่งเกิดจากการที่ประเทศไทยมีภาคเศรษฐกิจนอกระบบ (informal sector) ที่ใหญ่มาก ธุรกิจจำนวนมากไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือไม่ได้อยู่ในฐานภาษี การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจหลังวิกฤตินี้ จึงควรสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการเข้ามาอยู่ในระบบมากขึ้น เช่น การยกเลิกกฎเกณฑ์ที่ไม่จำเป็น การชี้ให้เห็นประโยชน์ของการเข้าระบบ การปรับปรุงระบบประกันสังคมของภาครัฐให้ตอบสนองต่อผู้ประกอบการและลูกจ้างได้ดีขึ้น ซึ่งการลดขนาดเศรษฐกิจนอกระบบยังช่วยให้ภาครัฐสามารถช่วยเหลือธุรกิจได้อย่างเป็นระบบ ช่วยลดภาระการคลังภาครัฐในภาวะวิกฤติ และช่วยสร้างความเป็นธรรมระหว่างธุรกิจให้แข่งขันภายใต้กติกาเดียวกัน

    แน่นอนว่า การช่วยเหลือผู้ประกอบการในช่วงวิกฤตินี้มีต้นทุนที่สูง นอกจากต้นทุนทางการเงินแล้ว นโยบายเยียวยาต่างๆ ยังอาจบิดเบือนแรงจูงใจของธุรกิจในระยะยาว เช่น ธุรกิจบางแห่งอาจไม่บริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม โดยมุ่งหวังว่าภาครัฐจะเข้ามาช่วยเหลือเมื่อประสบปัญหา การออกแบบโครงสร้างเชิงสถาบันเพื่อสร้างความสมดุลระหว่างแรงจูงใจและการเยียวยาที่เหมาะสมในอนาคตจึงเป็นสิ่งจำเป็นอีกประการหนึ่ง

    โครงสร้างเศรษฐกิจไทยหลังวิกฤติโควิดผ่านพ้นไปแล้วจะเปลี่ยนไปในหลายมิติ ผู้ประกอบการจะต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด แต่การปรับตัวต้องใช้เวลา ในช่วงระหว่างวิกฤตินี้ การช่วยเหลือเยียวยาจึงเป็นสิ่งจำเป็นเฉพาะหน้า เพื่อควบคุมการลุกลามและความรุนแรงของวิกฤติ นอกจากนี้ ธุรกิจที่อยู่รอดยังเป็นฟันเฟืองสำคัญในการผลักดันการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจหลังจากที่ควบคุมสถานการณ์การระบาดของเชื้อโควิดได้แล้วอีกด้วย

    การหลุดพ้นจากวิกฤติการระบาดของเชื้อโควิด-19 ต้องเริ่มจากการหยุดการแพร่เชื้อจากผู้ติดเชื้อคนหนึ่งไปสู่คนอื่นๆ การหลุดพ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจก็เช่นกัน ต้องเริ่มจากการลดการส่งผ่านผลกระทบจากสถานการณ์โควิดจากธุรกิจหนึ่งไปสู่ครัวเรือนและธุรกิจอื่นๆ บทบาทของภาครัฐในการช่วยเหลือ “ให้ยา” แก่ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ เพื่อให้ธุรกิจที่ “ติดเชื้อ” เหล่านี้ไม่ “แพร่เชื้อ” ต่อไปในระบบเศรษฐกิจจึงเป็นสิ่งจำเป็นและเร่งด่วน

    โดย กฤษฎ์เลิศ สัมพันธารักษ์

    Source: ThaiPublica
    https://thaipublica.org/2020/04/19-economists-with-covid-19-02/
     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students

    FB_IMG_1587189541992.jpg

    (Apr 17) วิกฤติ COVID-19 ในมุมมองเศรษฐศาสตร์มหภาค : วิกฤติ COVID-19 มีส่วนผสมของทั้ง supply shock ที่ทำให้การผลิตสินค้าและบริการหายไป และ demand shock ที่ทำให้ความต้องการซื้อสินค้าและบริการหายไป และเนื่องจากทั้งสอง shock มีขนาดใหญ่ ผลลัพธ์รวมที่เกิดขึ้นจึงทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจชะลอตัวลงอย่างรุนแรงจนถึงขั้นถดถอยในหลายประเทศ

    สาเหตุหลักที่ทำให้การระบาดของโรค COVID-19 มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจรุนแรงกว่าการระบาดของโรค SARS ในปี 2546 และโรค MERS ในปี 2555 หลายเท่าตัว แม้ว่าอัตราการเสียชีวิตจากโรคนี้จะต่ำกว่ามากนั้น เนื่องจากติดต่อกันได้ง่ายกว่ามาก ทำให้หลายประเทศต้องออกมาตรการคุมเข้ม ทั้งการล็อกดาวน์ การห้ามเดินทาง และการห้ามออกไปสังสรรค์ เพื่อจำกัดการแพร่ระบาดและลดจำนวนผู้เสียชีวิต (แม้อัตราการตายจะไม่สูงมาก แต่ด้วยความที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ทำให้จำนวนผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 มีมากกว่า SARS และ MERS รวมกันมาก)

    มาตรการคุมเข้มนี้เอง ที่เป็นตัวทวีคูณผลทางเศรษฐกิจของการระบาด แต่ไม่ทำก็ไม่ได้เพราะสุดท้าย ถ้ามีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก เศรษฐกิจก็จะพังยิ่งกว่า

    มาตรการเหล่านี้ทำให้คนจำนวนมากต้องทำงานที่บ้าน ลดการเดินทาง ลดการใช้จ่าย ธุรกิจต้องลดกำลังการผลิตหรือปิดกิจการ (จากมาตรการโดยตรง หรือจากความต้องการสินค้าและบริการที่ลดลง) ซึ่งนอกจากจะทำให้สินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องหายไปจากตลาด และห่วงโซ่การผลิตหยุดชะงัก (supply chain disruption) แล้ว ยังนำไปสู่การปรับลดค่าจ้างและการปลดพนักงาน ซ้ำเติมกำลังซื้อสินค้าและบริการที่เปราะบางอยู่แล้ว ทำให้กระแสเงินที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจลดลงอย่างมาก

    ซึ่งหากไม่มีมาตรการรองรับทางเศรษฐกิจที่ดีพอ อาจส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินและตลาดเงินตลาดทุน กลายเป็นวิกฤติซ้อนวิกฤติได้

    ในบริบทของไทยนั้น demand shock มีบทบาทเด่นชัดกว่า supply shock มาก โดยเฉพาะอุปสงค์จากต่างประเทศที่ลดลง จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่หดตัวแรงตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ และการส่งออกสินค้าซึ่งจะถูกกระทบตามมาจากเศรษฐกิจโลกถดถอย ขณะที่อุปสงค์ในประเทศถูกฉุดรั้งจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและการที่คนส่วนใหญ่ต้องอยู่บ้าน อย่างไรก็ดี หากการปิดเมืองยืดเยื้อยาวนานและขยายขอบเขต ความสามารถในการผลิตสินค้าและบริการของประเทศก็อาจถูกกระทบหนักได้

    ด้วยความที่มีมิติด้านสุขภาพเข้ามาเกี่ยวข้อง การจะแก้ปัญหาวิกฤติ COVID-19 นี้ จึงต่างจากการแก้ไขปัญหาวิกฤติอื่นในอดีต โดยจำเป็นต้องอาศัยมาตรการด้านสาธารณสุขที่จำกัดการแพร่ระบาดของโรค และควบคุมสถานการณ์ให้คนส่วนใหญ่สามารถกลับไปใช้ชีวิตเป็นปรกติได้ ควบคู่ไปกับการอัดฉีดเงินผ่านมาตรการการเงินการคลัง เนื่องจากเป็นไปไม่ได้เลย ที่รัฐจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับเป็นปรกติได้ ไม่ว่าอัดฉีดเงินแค่ไหนก็ตาม ถ้าคนส่วนใหญ่ยังถูกล็อกดาวน์ หรือไม่กล้าเดินทาง ไม่กล้าใช้จ่าย เพราะยังกังวลกับการติดเชื้อ

    ดังนั้น ในช่วงนี้ ภาครัฐควรทุ่มสรรพกำลังในการควบคุมการแพร่ระบาด และการประคับประคองเศรษฐกิจไปพร้อมๆ กัน โดยดูแลไม่ให้เกิดปัญหาสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจ และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤติ จนหลังสถานการณ์โรคระบาดสามารถควบคุมได้ จึงเน้นไปที่การกระตุ้นการใช้จ่ายและการสร้างงานเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ

    แม้เรายังไม่รู้ว่าโรค COVID-19 จะถูกควบคุมได้เบ็ดเสร็จเมื่อไร เพราะขึ้นอยู่กับการพัฒนาวัคซีนและการรักษา (ซึ่งหมายความว่า รัฐต้องพร้อมที่จะเพิ่มขนาดของมาตรการ หากสถานการณ์ลากยาว) แต่ถ้าเราสามารถประคับประคองภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจให้ไปต่อได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ให้พัฒนาไปสู่วิกฤติการเงินซึ่งแก้ยากและใช้เวลา

    การฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กลับมาเป็นปรกติหลังสถานการณ์จบลงไม่ใช่เรื่องยาก ที่สำคัญมากกว่าในระยะยาว คือ การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สอดรับกับบริบทเศรษฐกิจโลกหลัง COVID-19 รวมถึงการ re-build พื้นที่ทางการคลังและการเงินที่ถูกใช้ไป เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต

    โดย ดอน นาครทรรพ

    Source: ThaiPublica
    https://thaipublica.org/2020/04/19-economists-with-covid-19-01/
     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เกิดอะไรขึ้นถ้าพายุดาวเคราะห์น้อยไปสู่โลก
    รัฐบาลของเราจะเตือนเราให้เวลาเราป้องกันตัวเองไหม?
    NASA และ FEMA ระบุไว้ 5 ขั้นตอนหากค้นพบดาวเคราะห์น้อยนักฆ่า
    1. ) ข้อความถูกส่งไปไม่เกิน 12 นักวิทยาศาสตร์ (ไม่เกิน 12?)
    2. ) ติดตามวงโคจรดาวเคราะห์น้อย
    3. ) กำหนดขนาดและเวลาของผลกระทบ
    4. ) ยืนยันกับ FEMA ว่าผลกระทบนั้นหลีกเลี่ยงไม่ได้
    5. ) องค์การนาซ่าและ FEMA ออกแถลงการณ์ร่วมสาธารณะ - หน่วยงานระบุถึงวิธีการปกป้องโลก

    เกิดอะไรขึ้นถ้าพวกเขาข้ามขั้นตอนที่ห้าและไม่ได้ทำประกาศสาธารณะ

    จะเป็นอย่างไรถ้าใน ASTEROIDS หนังสือพวกเขาใช้ "Bliss Protocol" เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนตื่นตระหนก?

    http://mikemccoy.me/book-store/

     

แชร์หน้านี้

Loading...