บทความให้กำลังใจ(ตัวโกรธ)

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 8 พฤษภาคม 2017.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    วิธีคิดเมื่อต้องเป็นผู้แพ้

    TAKREANG CHANAL
    Apr 6, 2020

    buddhateachtonippan.jpg
     
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    คนรักกันต้องยอมทิ้ง "พยศ" ลด "มานะ" ละ "ทิฐิ" ทิ้งความเป็น "เธอ" ความเป็น "ฉัน" แล้วหลอมกันเป็น "เรา" [ท่าน ว.วชิรเมธี]
    #สาราณียธรรม ๖ คือ ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง, ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน, ธรรมที่ทำให้เกิดความสามัคคี, หลักการอยู่ร่วมกัน มี ๖ ประการ ได้แก่
    ๑. เมตตากายกรรม ตั้งเมตตากายกรรมในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลังช่วย เหลือกิจธุระต่าง ๆ ของหมู่คณะด้วยความเต็มใจ แสดงอาการกิริยาสุภาพต่อกัน เคารพนับถือกัน
    ๒. เมตตาวจีกรรม ตั้งเมตตาวจีกรรมในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ ช่วยบอกแจ้งสิ่งที่เป็นประโยชน์สั่งสอน นำตักเตือนด้วยความหวังดี กล่าววาจาสุภาพ แสดงความเคารพนับถือกัน ทั้งต่อหน้าหรือลับหลัง
    ๓. เมตตามโนกรรม ตั้งเมตตามโนกรรม ในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือตั้งจิตปรารถนาดี คิดทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กัน มองกันในแง่ดี มีความยิ้มแย้มแจ่มใสต่อกัน
    ๔. สาธารณโภคิตา (ปกติโดยทั่ว ๆ ไป มักกล่าวว่า สาธารณโภคี) ได้ของสิ่งใดมาก็แบ่งปันกัน คือเมื่อได้สิ่งใดมาโดยชอบธรรม แม้เป็นของเล็กน้อย ก็ไม่หวงไว้ผู้เดียว นำมาแบ่งปันเฉลี่ยเจือจาน ให้ได้มีส่วนร่วมใช้สอยบริโภคทั่วกัน
    ๕. สีลสามัญญตา มีศีลบริสุทธิ์เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ มีความประพฤติสุจริตดีงาม ถูกต้องตามระเบียบวินัย ไม่ทำตนให้เป็นที่น่ารังเกียจของหมู่คณะ
    ๖. ทิฏฐิสามัญญตา มีทิฏฐิดีงามเสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ มีความเห็นชอบร่วมกัน ในข้อที่เป็นหลักการสำคัญที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้น สิ้นทุกข์ หรือขจัดปัญหา
    #พระมหาวุฒิชัย #ความรัก
     
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    กฎแห่งกรรม เรื่อง ชีวิตสองด้าน แง่คิดเกี่ยวกับชีวิตกับธรรมะ
    พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ความว่า “ความโศกย่อมเกิดจากสิ่งเป็นที่รัก ภัยคือความกลัว ย่อมเกิดจากสิ่งเป็นที่รัก สำหรับผู้ที่พ้นแล้วจากสิ่งที่เป็นที่รัก จะไม่มีความโศก ภัยจักมีแต่ที่ไหน” พระพุทธภาษิตนี้ดูคล้ายกับมองในทางร้ายว่า สิ่งเป็นที่รักจะเป็นแหล่งแห่งเกิดความโศกและภัยเสมอ แต่ก็เป็นความจริงที่ความโศกและภัยทุกอย่างเกิดจากแหล่งของความรักทั้งนั้น ใครก็ตามที่ได้รับความสุขจากสิ่งเป็นที่รักเพียงอย่างเดียว ยังไม่ชื่อว่าได้พบโลกหรือผ่านโลกทั้งสองด้าน ต่อเมื่อได้รับความทุกข์จากสิ่งเป็นที่รักอีกอย่างหนึ่ง จึงจะชื่อได้ผ่านพบโลกครบสองด้าน เป็นโอกาสที่ทำให้รู้จักโลกดีขึ้น อันที่จริงชีวิตที่ดำเนินผ่านสุขทุกข์ต่างๆในโลก หรือผ่านโลกที่มีทั้งสุขทั้งทุกข์ เท่ากับเป็นการศึกษาให้เกิดเจริญปัญญาขึ้นอยู่เสมอ อาจจะมีการหลงผิดไปในบางคราว ก็ไม่ใช่ตลอดไป และทุกคนที่เกิดมาย่อมมีพื้นฐานของปัญญาที่จะเพิ่มเติมขึ้นได้เสมอ ทั้งปัญญาที่จะเป็นปัญญาที่สมบูรณ์ขึ้นก็เพราะรู้ทั้งสองด้าน คือรู้ทั้งสุขทั้งทุกข์ ถ้ารู้จักแต่สุข ไม่รู้จักทุกข์ ก็ยังไม่ใช่ปัญญาที่สมบูรณ์ จะรู้จักทุกข์ได้ก็ต้องประสบกับความทุกข์ และดูเข้าไปที่ทุกข์ หรือดูเข้ามาที่จิตใจอันมีทุกข์ว่า จิตนี้มีทุกข์ ดูอาการจิตในที่มีทุกข์ว่าเป็นอย่างไร อาการ คือ แห้งผากใจปราศจากความสดชื่น เหมือนอย่างต้นไม้ที่เหี่ยวเฉา คร่ำครวญใจด้วยความคิดถึงสิ่งที่ล่วงมาแล้วหรือถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง ไขว่คว้าในสิ่งที่สิ้นไปหายไปแล้ว เหมือนอย่างไล่จับเงา หรือกลัวสิ่งที่ยังอยู่ว่าหายไปเสีย หรือกลัวว่าอะไรที่น่ากลัวจะเกิดขึ้น ตรอมใจ ไม่มีความผาสุก คับแค้นใจ เหมือนอย่างถูกอัดถูกบีบ อาการใจเหล่านี้ แสดงออกมาให้เห็นทางกายอันเป็นเรือนอาศัยของจิตใจ อวัยวะทางกายที่บอกใจอย่างดีที่สุดคือดวงตาและสีหน้า ดวงตาจะเศร้า สีหน้าจะหมอง ร่างกายทั่วไปจะซูบ อาการทางกายเหล่านี้กล่าวได้ว่าเป็นผลพลอยเสียตามไปด้วย ดูอาการจิตใจที่มีทุกข์ว่าเป็นอย่างนี้ๆ ดูให้เห็นชัด ให้คล้ายกับส่องกระจกเห็นเงาหน้าของตนชัดเจน แล้วศึกษา คือพยายามค้นหาความจริงในจิตใจของตนเองต่อไปว่า เป็นอาการประจำหรือเป็นอาการจร เทียบอย่างเป็นโรคประจำหรือเป็นโรคจร มีอะไรเป็นเหตุเป็นสมุฏฐาน จะเห็นว่าเป็นอาการจร เพราะแต่ก่อนนี้ไม่เคยมีไม่เคยเป็น เคยมีแต่อาการที่เป็นความสุขอันตรงกันข้าม ถึงอาการที่เป็นความสุขก็เหมือนกัน คือเป็นอาการจร เพราะก่อนแต่นั้นก็ไม่เคยมีไม่เคยเป็น ได้แก่ เมื่อเป็นเด็กยังไม่มีอาการจิตใจเช่นนี้ มาเริ่มมีขึ้นตั้งแต่เมื่อย่างเข้าดรุณวัยเริ่มมีสิ่งเป็นที่รักขึ้นตั้งแต่หนึ่งสิ่งสองสามสิ่ง เป็นต้น เมื่อศึกษาจิตใจของตนเองไปดังนี้ จักได้พบสัจจะขึ้นสมจริงตามพระพุทธพยากรณ์นี้ แหละเป็นเหตุเป็นสมุฏฐาน การหัดศึกษาให้รู้จักกระบวนแห่งจิตใจของตนเองนั้น เป็นข้อที่ควรทำ ทั้งในคราวมีสุขและในคราวมีทุกข์ เหตุแห่งสุขและทุกข์ข้อที่สำคัญก็คือ สิ่งที่เป็นที่รัก ในขณะที่มีสุขจะยกไว้ก่อน จะกล่าวแต่ที่มีทุกข์ ให้รวมใจดูที่ตัวความทุกข์ที่กำลังเสวยอยู่ ดูอาการของจิตที่เป็นทุกข์ว่าเป็นอย่างไร ห่อเหี่ยวอย่างไร มีอาการเศร้าหมองอย่างไร ห่อเหี่ยวอย่างไร หมดรส หมดความสำราญอย่างไร ดูความคิดว่าในขณะที่จิตเป็นทุกข์เช่นนี้ จิตมีความคิดอย่างไร คิดถึงอะไร ก็จะรู้ว่ากำลังคิดถึงเรื่องที่ทำให้ทุกข์นั้นแหละ เพราะจิตผูกอยู่กับเรื่องนั้นมาก ความผูกจิตมีมากในเรื่องใด ก็ดึงจิตให้คิดถึงเรื่องนั้นมากและเป็นทุกข์มาก ฉะนั้น ความทุกข์จึงเป็นผลตามความผูกจิต (สังโยชน์) ซึ่งคอยดึงจิตให้คิดไปถึงเรื่องที่ผูกไว้ในใจ อันที่จริงเรื่องที่ผูกใจไว้นี้มิใช่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นที่รักเท่านั้น ถึงสิ่งที่ไม่เป็นที่รักก็ผูกใจไว้เหมือนกัน จึงเกิดความชอบใจและความไม่ชอบใจ ถ้าไม่มีความผูกใจไว้เสียเลย ก็จะไม่มีทุกสิ่ง คือที่รักก็ไม่มี ที่ไม่รักก็ไม่มี ตลอดถึงความยินดียินร้ายก็จะไม่มีด้วย ตามที่กล่าวมานี้เป็นกระบวนทางจิต กล่าวสั้นๆ คือ ความผูกจิตอยู่กับเรื่อง (อันเรียกว่า อารมณ์) ที่ทุกๆ คนประสบพบผ่านมาทางอายตนะ มี ตา หู เป็นต้น และความคิดที่ถูกดึงให้คิดไปในเรื่องที่ผูกใจอยู่เสมอ ถ้าเป็นเรื่องของสิ่งอันเป็นที่รัก และไม่เป็นไปตามที่ปรารถนาต้องการ ยิ่งคิดไปก็ยิ่งเป็นทุกข์ไป จิตครุ่นคิดไปด้วยเสวยทุกข์ไปด้วย “หยุดคิดได้เมื่อใด ก็หยุดทุกข์ลงเมื่อนั้น” คำว่า หยุดคิด หมายถึง หยุดคิดถึงเรื่องที่ทำให้เป็นทุกข์ ถ้ากล่าวดังนี้แก่ใคร ก็น่าจะได้รับตอบว่า สำหรับหลักการที่ว่านั้นไม่เถียง แต่ทำไม่ได้ คือจะห้ามมิให้คิดไม่ได้ ถ้าแย้งดังนี้ ก็ต้องรับรองว่าห้ามไม่ได้จริง ด้วยเหตุที่ยังมีความผูกจิตอยู่ในเรื่องนั้น ดังที่ได้กล่าวข้างต้นแล้วว่า ความผูกจิตไว้นี้เอง คอยดึงจิตให้คิดไปในเรื่องที่ผูกไว้ เป็นดังนี้ จนกว่าจะปล่อยความผูกนี้ได้ ถ้าว่าดังนี้ ก็น่าจะถูกประท้วงอีกว่าปล่อยไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ซึ่งเป็นที่รัก และสามัญชนทั่วไปก็จะต้องมีสิ่งเป็นที่รัก เช่น จะต้องมีพ่อแม่ลูกหลาน เป็นต้น ที่เป็นที่รัก เมื่อมีขึ้น จิตใจก็จะต้องผูกพัน ที่เรียกว่าความผูกจิต จึงไม่สามารถจะปล่อยไว้ ถ้ามีการประท้วงดังนี้ ก็ต้องตอบชี้แจงได้ว่า รับรองว่าสามารถแน่ ถ้าลองปฏิบัติดูตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เพราะความผูกพันแห่งจิตใจนี้เป็นกิเลส เพื่อที่จะชี้ให้เห็นหน้าตาให้ชัดขึ้นพระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ในธรรมบท แปลความรวมกันว่า “ความโศก ความกลัว เกิดจากความรัก ความยินดี ความใคร่(กาม) ความอยาก (ตัณหา) สำหรับผู้ที่พ้นแล้วจากความรัก ความยินดี ความใคร่(กาม) ความอยาก (ตัณหา) จะไม่มีความโศก ความกลัวจักมีแต่ที่ไหน”
    .........................................
     
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    Cats react to durian
     
  5. ฐานธมฺโม

    ฐานธมฺโม ทำลายเพื่อสร้างใหม่ ให้ดี ให้งาม..

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2019
    โพสต์:
    12,898
    ค่าพลัง:
    +4,609
  6. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    หิมะกลางฤดูร้อน
    ผมได้อ่านหนังสือ ชื่อ “หิมะกลางฤดูร้อน” เขียนโดยพระสงฆ์วิปัสสนาจารย์ชาวพม่า ชื่อ พระโชติกะ
    ขอคัดเลือกบางตอนมานำฝาก ดังนี้ ครับ
    การหลอกตัวเอง
    บางครั้งก็แนบเนียนจนเราไม่รู้ตัว
    การป้องกันตัวเองอย่างร้อนตัว
    กลับทำให้เรายิ่งมืดบอดกับจุดอ่อนที่เรามี
    เพราะการต้องยอมรับจุดอ่อน มันช่างเจ็บปวด
    เราจึงชอบหลอกตัวเอง เพื่อจะยังเป็นสุขอยู่ได้
    มันต้องอาศัยความกล้าหาญ ความซื่อสัตย์
    และสติอย่างมาก ที่จะยอมรับความจริง
    หากคุณต้องตัดสินใจผิดพลาดจนเกิดปัญหาตามมา

    อย่าบ่นหรือตำหนิตนเองหรือผู้อื่น
    พึงศึกษาข้อผิดพลาดนั้น
    อย่าวิ่งหนีปัญหา อย่าหงุดหงิดกับปัญหา
    หากคุณมองปัญหาโดยปราศจากความรู้สึกต่อต้าน
    คุณจะชนะมันได้ง่ายและรวดเร็วด้วย
    การต่อต้านบุคคลหรือสถานการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ตลอดเวลา
    แม้เพียงเรื่องเล็กๆน้อยๆ
    ก็อาจจะก่อให้เกิดความตึงเครียดในจิตใจได้
    เมื่อสั่งสมนานเข้า ก็จะกลายเป็นความเหนื่อยล้า
    ไม่เคยมีอะไรสักอย่างที่ได้อย่างใจเรา
    ฉะนั้นจะไปกังวลอะไรให้มากมายนัก
    อย่าไปดิ้นรนยืนกรานให้ทุกอย่างต้องเป็นไปตามใจเรา
    โดยเฉพาะกับผู้คน เขาก็มีจิตใจของเขา ความชอบของเขา
    พอกันทีสำหรับความเชื่อ ความคาดการณ์ และ ความหวัง
    มีแต่ทำให้หนักหัวใจ
    กำจัดมันได้ จิตใจจะเบาสบายขึ้น
    โละมันทิ้งได้ จะได้จดจ่อใส่ใจกับสิ่งที่ควรทำเสียที
    ทุกสถานการณ์ ทุกประสบการณ์ ไม่ว่าจะดีหรือร้าย
    คือโอกาสทองของการเรียนรู้
    การยอมรับความไม่แน่นอนและดำรงชีวิตอยู่กับมันได้
    เป็นสัญญาณบ่งบอกวุฒิภาวะที่แก่กล้าขึ้นแล้ว
    บ่อยครั้งที่เรามักต้องการความมั่นใจสำหรับอนาคต

    แต่..อะไรจะเกิด มันก็ต้องเกิด
    เป็นของฝากในวันหยุดสำหรับมิตรรักทุกท่าน ชอบบทไหนกันบ้างหรือเปล่าครับ
    :- https://www.gotoknow.org/posts/218416



     
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    Lotus and lust.jpg
    วิชาสุดท้ายที่ใช้ได้ตลอดชีวิต

    โดย พระไพศาล วิสาโล
    จัดพิมพ์โดย อมรินทร์ธรรมะ
    พิมพ์ครั้งที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐
    ความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพนั้นมีมากมาย แต่มีความรู้อีกประเภทหนึ่งซึ่งเราไม่ควรละเลย นั่นคือความรู้เกี่ยวกับความจริงของชีวิต ความรู้ดังกล่าวทำให้เราสามารถอยู่ในโลกนี้ได้อย่างมีความสุขจริงอยู่ความทุกข์เป็นสิ่งที่ไม่มีใครหนีพ้น แต่เมื่อความแก่ ความเจ็บ ความพลัดพราก ความล้มเหลวบังเกิดขึ้น ไม่จำเป็นที่เราจะต้องเศร้าโศก เสียใจ อาลัยอาวรณ์ ขุ่นเคือง ท้อแท้ หรือจมอยู่กับความตกต่ำย่ำแย่เสมอไป เหตุการณ์เหล่านี้สามารถเป็นอุปกรณ์สอนธรรม ฝึกใจเราให้เข้มแข็ง เตือนให้ไม่ประมาทกับชีวิต อีกทั้งยังเปิดใจให้เห็นสัจธรรมได้ด้วย นี้คือความจริงอย่างหนึ่งที่เราควรรู้


    ความทุกข์ไม่เพียงผลักดันให้เราเข้าหาธรรม หากยังแสดงธรรมให้เราเห็น เพราะทุกข์ก็คือธรรมนั้นเอง สัจธรรมที่ช่วยให้พ้นทุกข์นั้นล้วนอยู่ในสิ่งที่เราเรียกว่าทุกข์ แต่เป็นเพราะคนส่วนใหญ่เมื่อเจอทุกข์แล้วมักปล่อยใจให้เป็นทุกข์ จึงถูกทุกข์กระทำย่ำยี อันที่จริง ทุกข์นั้นหากเราดูมันด้วยสติ พิจารณาด้วยปัญญา ก็สามารถเห็นธรรมที่ช่วยให้จิตเป็นอิสระจากทุกข์ได้ เพราะกุญแจที่ไขไปสู่ความพ้นทุกข์ก็อยู่ในทุกข์นั้นเอง ทุกข์จึงเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับความพ้นทุกข์

    ปราศจากโคลนตม ดอกบัวอันงดงามย่อมมิอาจเกิดขึ้นได้ฉันใด ปราศจากความทุกข์ ปัญญาหรือความรู้แจ้งก็มิอาจเกิดขึ้นได้ฉันนั้น ดังนั้นเมื่อประสบทุกข์จึงไม่ควรตีโพยตีพาย หรือปล่อยใจให้จมอยู่ในความทุกข์ แทนที่จะเป็นผู้ทุกข์ พึงถอยออกมาเห็นทุกข์ ทุกข์จะกลายเป็นธรรมที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง

    ความรู้เกี่ยวกับความจริงของชีวิตช่วยให้เราอยู่กับความทุกข์ได้ด้วยใจสงบ ขณะเดียวกันก็ช่วยให้เราเข้าถึงความสุขที่ประณีตและประเสริฐได้ ความรู้เหล่านี้ล้วนเป็นวิชาอย่างหนึ่งที่เราควรเรียนรู้ มิใช่ด้วยการอ่านจากตำราหรือฟังครูสอนในห้องเรียนเท่านั้น แต่ด้วยการฝึกจิต ดูใจ และใคร่ครวญประสบการณ์ชีวิต วิชาจำนวนไม่น้อย เราเรียนแล้วก็ลืมหรือไม่ได้ใช้เลย แต่วิชาชีวิตเป็นวิชาที่เราได้ใช้ตลอดชีวิตอย่างแน่นอน

    หนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยบทความ ๖ ชิ้นซึ่งมีที่มาจากจากคำบรรยายของข้าพเจ้าหลังทำวัตรเช้าและเย็น ณ วัดป่าสุคะโต ตีพิมพ์ครั้งแรกโดยชมรมกัลยาณธรรมในชื่อ “เปลี่ยนทุกข์เป็นธรรม” ในการพิมพ์ครั้งใหม่นี้สำนักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะได้จัดลำดับใหม่และขัดเกลาเนื้อหาทั้งเล่ม โดยตั้งชื่อใหม่ว่า “วิชาสุดท้ายที่ใช้ได้ตลอดชีวิต” หนังสือเล่มนี้จะมีส่วนช่วยให้ผู้อ่านเห็นความสำคัญของวิชาชีวิต เพื่อนำพาชีวิตให้ผ่านทุกข์ พบสุข และเข้าถึงประโยชน์สูงสุดแห่งความเป็นมนุษย์

    พระไพศาล วิสาโล
    ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ตุลาคม 2020
  10. ppojai

    ppojai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2005
    โพสต์:
    4,638
    ค่าพลัง:
    +9,971
    ใช่เลยค่ะคุณพี่ คิดถึงนะคะ
     
  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    อยากตัดใจจากรัก ต้องใช้ธรรมะข้อใด

    เสถียรธรรมสถาน SDS Channel
    ติดตามรายการ สาวิกา สื่อเพื่อชีวิตที่งดงามและเป็นอิสระ ได้ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09:00-11:30
     
  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ขอให้ใจเย็นฉํ่าเหมือนนํ้าฝนทุกๆท่านค่ะ
    Raining.gif
     
  13. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ชีวิตของคนเรามักมีเรื่องกระทบใจหรือมีการกระทบกระทั่งกันเนือง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัวหรือเพื่อนบ้านเรือนเคียง ยังไม่ต้องพูดถึงปัญหาในที่ทำงาน ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดความรุ่มร้อนในจิตใจ เปรียบไปไม่ต่างจากการเดินอยู่ในที่โล่งกว้าง แดดแรงกล้า แต่เราคงไม่อยากถูกแดดแผดเผาจนเกรียมใช่ไหม ถ้าเช่นนั้นจะทำอย่างไร ก็ต้องหาร่มมาบังแดดหรือไม่ก็หลบมาอยู่ใต้ร่มไม้

    กายหายร้อนได้เพราะร่มเงา ส่วนใจนั้น จะหายร้อนได้ก็ต้องอาศัยร่มธรรม อาทิ สติ สมาธิ สัมปชัญญะ สิ่งเหล่านี้สามารถปกป้องใจจากอารมณ์ที่ร้อนแรงได้ ร่มไม้นั้นมีอยู่เป็นที่ๆ ถ้าอยู่ในเมืองก็หาร่มไม้ยากสักหน่อย จะพบได้ง่ายก็ต้องเข้าสวนหรือเข้าป่า ส่วนร่มธรรมแม้ว่าจะมองไม่เห็น แต่สามารถพบได้ในใจเรา เมื่อพบแล้วก็จะตามเราไปทุกที่

    มีหลายคนที่ช่วยให้คนอื่นมีความสุข แต่ใจของตนกลับมีความทุกข์ เต็มไปด้วยความเครียด ความวิตกกังวล ความหนักอกหนักใจ เปรียบไปก็คล้ายๆ กับพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศ พัดลมทำความเย็นให้กับผู้คนรอบตัว แต่ตัวมันเองกลับร้อน เมื่อร้อนแล้วก็ต้องระบายความร้อนใส่คนที่อยู่ใกล้ๆ
    หลายคนพยายามให้ความสุขกับผู้คน แต่ตัวเองกลับทุกข์ร้อน เสร็จแล้วก็อดไม่ได้ที่จะระบายความทุกข์ใส่คนรอบข้าง จนนำไปสู่การกระทบกระทั่งกัน กระทบกระทั่งด้วยคำพูด อารมณ์ สายตา และท่าที การกลับมาทำให้ตัวเองมีความสุขใจมีความเย็นใจถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อทำประโยชน์ท่านมากแล้วก็ต้องรู้จักทำประโยชน์ตนด้วย ทำให้ผู้อื่นมีความสุขแล้วก็ควรทำให้ตัวเองมีความสุขด้วย สุขที่ว่านี้คือสุขใจ

    เราสร้างความสุขให้กับผู้อื่นผ่านการงาน แต่สามารถสร้างความสุขให้กับตัวเองผ่านการภาวนา ถ้าทำได้ครบถ้วนก็จะเป็นชีวิตที่ประเสริฐ

    ท่านอาจารย์พุทธทาสกล่าวว่า ชีวิตที่ดีคือชีวิตที่ “สงบเย็นและเป็นประโยชน์” สงบเย็นหมายถึงใจสงบเย็น เป็นประโยชน์หมายถึงการช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น สองอย่างนี้ควรไปด้วยกัน ขณะที่เราทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น เราก็ควรพบความสงบเย็นในจิตใจด้วย ความสงบเย็นนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการดูแลจิตใจของตนเอง นั่นก็คือนอกจากการทำกิจเพื่อผู้อื่นแล้ว เราก็ต้องทำจิตเพื่อตัวเองด้วย

    ทำกิจกับทำจิตเป็นสิ่งที่ต้องทำคู่กัน การทำกิจคือการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่น ส่วนการทำจิตคือการทำใจให้สงบเย็น หลายคนทำกิจแต่ลืมทำจิต แม้จะทำประโยชน์ให้ผู้อื่นมาก แต่ตัวเองกลับรุ่มร้อน ไม่มีความสงบเย็น เมื่อมีความรุ่มร้อนเกิดขึ้น การทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นก็จะค่อยๆ ลดลงไป พอถึงจุดหนึ่งก็เกิดโทษขึ้นมาด้วยซ้ำ

    หลายคนตั้งใจช่วยเหลือผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นจิตอาสา หรือเอ็นจีโอ พอทำไปนานๆ แทนที่จะเกิดประโยชน์แก่ผู้อื่น เกิดโทษขึ้นมาแทนที่ เพราะไม่ได้รักษาจิตใจของตนให้สงบเย็น บางคนดูแลผู้ป่วย ทีแรกก็ดูแลด้วยความเอาใจใส่ ทำด้วยความรัก แต่พอต้องรับภาระดูแลนานเข้าก็เริ่มเครียด หงุดหงิด เวลาแนะนำคนป่วยแล้วเขาไม่ทำตาม คนดูแลก็ไม่พอใจ พอสะสมมากขึ้นถึงจุดหนึ่งก็สติแตก ต่อว่าด่าทอผู้ป่วย

    มีผู้ดูแลบางคนรำคาญและหงุดหงิดพ่อที่ป่วย พ่อเรียกร้องตลอดเวลา กลางวันเรียกร้องเอาโน่นเอานี่ไม่ได้หยุดหย่อน กลางคืนก็ไม่ยอมนอน ปลุกลูกให้พลิกตัวแทบทั้งคืน พลิกตัวเสร็จไม่ทันไรก็เรียกให้หมุนเตียง เป็นอย่างนี้ทุกคืน จนลูกชายทนไม่ไหวลืมตัว สติแตก คว้าคอพ่อเขย่า ตวาดใส่ว่า “พ่อจะเอายังไงกันแน่ เรียกร้องโน่นนี่ไม่หยุดหย่อน ผมทนไม่ไหวแล้วนะ” นี่เป็นเพราะไม่รู้จักทำใจให้สงบเย็น ปล่อยให้ความเครียดความหงุดหงิดรุมเร้า พอความรุ่มร้อนเกิดขึ้นก็ส่งผลในทางกลับกัน แทนที่จะช่วยเหลือผู้ป่วย กลับสร้างปัญหาหรือสร้างความทุกข์ให้เขา เมื่อคิดแต่จะทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น แต่ไม่รู้จักทำความสงบเย็นให้แก่จิตใจตนเอง สุดท้ายประโยชน์ที่มุ่งหวังให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่นก็กลายเป็นโทษไปในที่สุด

    การทำจิตให้สงบเย็นเป็นส่วนหนึ่งของการทำกิจ เราจะช่วยผู้อื่นหรือทำประโยชน์ให้แก่เขาได้ อย่างแท้จริง ก็ต่อเมื่อมีความสงบเย็นในจิตใจเป็นตัวรองรับสนับสนุน จะทำกิจให้ดีก็ต้องทำจิตด้วย ไม่อาจแยกจากกันได้

    พระไพศาล วิสาโล
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    Relaxing Background Music for Meditation. Calming Music for Stress Relief, Yoga, Spa, Massage

    Meditation Relax Music
    Have a perfect relaxation!
     
  15. ppojai

    ppojai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2005
    โพสต์:
    4,638
    ค่าพลัง:
    +9,971
    0777D9D4-460F-4A44-81E3-E23D95377888.jpeg
     
  16. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    5ข้อคิดเมื่อชีวิต "ท้อ" I จตุพล ชมภูนิช

    Supershane Thailand
    Apr 5, 2020
     
  17. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    Fish Life.jpg
     
  18. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    prasangharaja20.jpg
    โอวาทท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 วิธีฝึก 8 อย่าง จะได้ไม่ "ทุกข์"
    1. ฝึกมองตัวเองให้เล็กเข้าไว้ หมายความว่า จงเป็นคนตัวเล็ก อย่าเป็นคนตัวใหญ่ จงเป็นคนธรรมดา อย่าเป็นคนสำคัญ เวลามีอะไรเกิดขึ้นกับเรา อย่าไปให้ความสำคัญกับตัวเองมากไป
    2. ฝึกให้ตัวเองเป็นนักไม่สะสม หมายความว่า การสะสมอะไรสักอย่างนั้นเป็นภาระ ไม่มีอะไรที่เราสะสมแล้วไม่เป็นภาระยกเว้นความดี นอกนั้นล้วนเป็นภาระทั้งหมดไม่มากก็น้อย
    3. ฝึกให้ตนเองเป็นคนสบายๆ หมายความว่า อย่าไปบ้ากับความสมบูรณ์แบบ เพราะความสมบูรณ์แบบมันไม่มีจริง มีแต่คนโง่เท่านั้นที่มองว่า ความสมบูรณ์แบบมีจริง
    4. ฝึกให้ตัวเองเป็นคนนิ่งๆ หรือไม่ก็พูดในสิ่งที่ดีๆ หมายความว่า ถ้าอะไรไม่ดีก็อย่าไปพูดมากไม่ว่าสิ่งนั้นจะถูกหรือผิด แต่ถ้ามันไม่ดี เป็นไปได้ก็ไม่ต้องพูด เพราะการพูด หรือวิจารณ์ในทางเสียหายนั้น มีแต่ทำให้จิตใจตนเองตกต่ำ และขุ่นมัว
    5. ฝึกให้ตัวเองรู้ธรรมชาติว่า อะไรๆ ก็ผ่านไปเสมอ หมายความว่า เวลามีความสุข ก็ให้รู้ว่า เดี๋ยวความสุขมันก็ผ่านไป เวลามีความทุกข์ ก็ให้รู้ว่า เดี๋ยวความทุกข์ก็ผ่านไป เวลามีสถานการณ์แย่ๆ เกิดขึ้น ก็ให้รู้ทันว่า เรื่องราวเหล่านี้ มันไม่ได้อยู่กับเราจนวันตาย
    6. ฝึกให้ตัวเองเข้าใจเรื่อง ของการนินทา หมายความว่า เราเกิดมาก็ต้องรู้ตัวว่า เราต้องถูกนินทาแน่นอน ดังนั้น เมื่อถูกนินทาขอให้รู้ว่า "เรามาถูกทางแล้ว" แปลว่า เรายังมีตัวตนอยู่บนโลก คนที่ชอบเต้นแร้งเต้นกา กับคำนินทาก็คือคนไม่รู้เท่าทันโลก แม้แต่คนเป็นพ่อแม่ก็ยังนินทาลูก คนเป็นลูกก็ยังนินทาพ่อแม่ นับประสาอะไรกับคนอื่น ถ้าเราห้ามตัวเองไม่ให้นินทาคนอื่นได้เมื่อไหร่ ค่อยมาคิดว่า เราจะไม่ถูกนินทา
    7. ฝึกให้ตัวเองพ้นไปจาก ความเป็นขี้ข้าของเงิน หมายความว่า เราต้องหัดพอใจกับสิ่งที่ตัวเองมีอยู่ รถยนต์ใช้อะไรอยู่ ก็หัดพอใจกับมัน นาฬิกาใช้อะไรอยู่ ก็หัดพอใจกับมัน เสื้อผ้าใช้อะไรอยู่ ก็หัดพอใจกับมัน การที่คนเราจะเลิกเป็นขี้ข้าเงินได้ ต้องเริ่มจากการรู้จักเพียงพอก่อน เมื่อรู้จักพอแล้ว ก็ไม่ต้องหาเงินมาก เมื่อไม่ต้องหาเงินมาก ชีวิตก็มีโอกาสทำอะไรที่มากกว่าการหาเงิน
    8. ฝึกให้ตัวเองเสียสละ และยอมเสียเปรียบ หมายความว่า การที่คนๆ หนึ่งยอมเสียเปรียบผู้อื่นบ้าง เป็นเรื่องจำเป็น ใครก็ตามที่บ้าความถูกต้อง บ้าเหตุบ้าผล ไม่ยอมเสียเปรียบอะไรเลย ไม่ช้า คนๆ นั้นก็จะเป็นบ้าสติแตก กลายเป็นคนที่ถูกทุกอย่างแต่ไม่มีความสุข เพราะต้องสู้รบกับคนรอบข้างเต็มไปหมดเพื่อความถูกต้องที่ตนเองยึดมั่นถือมั่น
    ;- MEDIA=facebook]1104977576279447[/MEDIA
     
  19. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    dhuka VV.jpg
     
  20. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,274
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    โอวาทหลักธรรมะ 4 ข้อ การเลือกคู่ครอง - โดยนพดล ปฏิมาประกรณ์
    พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ให้พุทธศาสนิกชนได้พึงปฏิบัติ นำมาจากบทมงคลสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสตอบปัญหาเทวดาที่ถามว่า คุณธรรมอันใดที่ทำให้ชีวิตคู่ถึงจะไปด้วยกันได้ดี ประสบความเจริญหรือมี "มงคลชีวิต" โอวาทหลักธรรมะ 4 ข้อมีดังนี้ีี้้

    1. สมสัทธา คือมีศรัทธาเสมอกัน เป็นความเชื่อในเรื่องต่างๆ ที่เหมือนกัน หากคนหนึ่งชอบไหว้พระ อีกคนหนึ่งชอบไหว้เจ้าไหว้ผี ก็สามารถนำมาซึ่งการทะเลาะกันได้

    2. สมสีลา คือมีศีลเสมอกัน คือมีความเป็นปกติในการใช้ชีวิต เช่น บางคนมีศีล 5 อีกคนกลับไม่มีศีล 5 เลย ทำให้เกิดความอึดอัดจนเกิดคำว่า “ดีเกินไป” ของอีกฝ่ายหนึ่งก็เป็นได้ เพราะทนรับกับสภาพของตัวเองที่ทำกับอีกฝ่ายไม่ได้
    3. สมจาคะ คือมีการเสียสละเหมือนกัน คือมีนิสัยในการเป็นผู้ให้และสละออก เช่น บางคนชอบทำบุญ ชอบช่วยคน แต่อีกฝ่ายหนึ่งขี้งกตระหนี่ถี่เหนียว ก็อยู่ด้วยกันลำบาก
    4. สมปัญญา คือมีปัญญาเสมอกัน คือมีความเข้าใจ ความคิดอ่าน การมองโลก ที่ใกล้เคียงกัน หากคนหนึ่งชอบคุยเรื่องหนึ่ง แต่อีกคนหนึ่งไม่ชอบ มันก็คุยกันไม่เข้าใจกัน
    ;- http://www.dhammathai.org/monktalk/dbview.php?No=420
     

แชร์หน้านี้

Loading...