เรื่องเด่น ประสบการณ์ การเข้าฌาน 4 ครั้งแรก

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย solardust, 7 กุมภาพันธ์ 2014.

  1. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,612
    ค่าพลัง:
    +3,015





    วิธีการก็ถูกต้องแล้วครับ
    คือ เข้าจาก รูป คือ เพ่ง
    จนไปถึง อรูป คือ อารมณ์

    การเข้าอรูป ก็ถูกต้องแล้ว
    เพราะการเข้า อรูปญาน
    ของผู้ที่ไม่เชี่ยวชาญ
    จะสามารถ เข้าอรูปญาน
    ขั้นไหนก็ได้ แล้วแต่ว่า
    มาของเก่ามาเท่าไหร
    เช่น เมื่อทำสมาธิ จนจิตรวม
    จิตก็จะมาจับเอา ความว่างของอากาส
    จนบางครั้งคิดว่า อากาส คื่อ ญานสี่
    แต่ความจริง คือ อรูปญานที่หนึ่ง นั่นเอง

    ส่วนของคุณ คือ เพ่งไฟ
    ซึ่งเป็นของเก่า
    แล้วก็ทะลุไป อรูปญานที่สอง
    คือ วิญญานา หรือ การรับรู้
    หรือ ตัวรู้
    แล้วก็ทะลูไป อรูปญานที่สาม
    คือ ไม่รับรู้ หรือ การตัดตัวรับทั้งห้า
    หรือ ตัดวิญญานทั้งห้า
    ได้แก่ ตัดอาการรับรู้
    ทางตาหู จมูก ลิ้น กาย
    หรือ แต่ ใจ หรือ จิต อย่างเดียว
     
  2. จิตเปโม

    จิตเปโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2012
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +253
    ใช่ครับ แต่ละคนอินทรีย์มาไม่เท่ากัน

    ถ้าสติปัญญาหมุนเองเป็นอัตโนมัติแล้ว ภาวนาจะสบายครับ
    ไม่ต้องไม่ต้องวางจิตใว้ตรงใหน ไม่ต้องยกอะไรพิจารณา
    เพราะจิตเขาที่สติปัญญาเป็นอัตโนมัติแล้ว เขาจะหาเหตุหาผลเอง

    มาถึงตรงนี้รึยังครับ ถ้ายังจะไม่เข้าใจนะครับ

    การหัดพิจารณาไตรลักษณ์จะทำในตอนเริ่มต้น ให้จิตเคยชิน

    แต่เมื่อสติปัญญาเกิดเองแล้ว เขาจะทำเองครับ

    เราแค่หมั่นภาวนา ทำในรูปแบบให้จิตมีกำลัง สมาธิก็จำเป็น สติจะอาศัยสมาธิ
    ทำให้ตั้งมั่นถึงฐาน สติตั้งมั่นเป็นกลางปัญญาถึงจะเกิด

    ปัญญาก็เป็นเจตสิก จะเกิดเองไม่ได้ต้องอาศัยสติ แต่ใช่ว่าปัญญาจะเกิดร่วมกับสติทุกครั้ง
    ต้องเหตุปัจจัยพอด้วยนะครับ ปัญญาเกิดก็ใช่ว่าเห็นสภาวะแล้วบรรลุเลย
    บางทีต้องเห็นซ้ำๆ ซากๆ สะสมความเห็นถูกไปเรื่อยๆ เมื่อพอแล้วเขารวมเข้าอริยะมรรคเองครับ

    ผมยอมรับเรื่องอินทรีย์ อ่อนแก่ แต่ที่พูดเรื่องการฉลาดในการวางจิตนี่ ผมรู้เลยว่ายังไม่ขึ้นวิปัสนาญาน

    จิตเป็นกลางเองจากการฝึกที่จะไม่แทรกแซงสภาวะธรรมนะครับ

    ไม่ใช่การฝึกที่จะวางใว้ตรงนั้นตรงนี้ เราไปทำอะไรไม่ได้ จิตไม่ใช่เรา เขารู้เอง บรรลุเอง
    เราแค่ทำเหตุให้เกิดสติปัญญาครับ

    ถ้ายังใช้คำว่าฉลาดวางจิตให้เป็นกลาง ผิดแล้วครับ ถ้ายังมีการบังคับ
    จับวางจิต จะหล่นจากความจริงทันที
    เมื่อไร่ที่ที่หยุดคิดปรุงแต่ง แทรกแซงนั่นแหละ จิตจะเข้าสู่ความเป็นกลางทันที

    ผ่านตรงนี้มาก่อนครับ ช่วงใหม่ยังต้องอาศัยคิดนะครับ พ้นจากนี้แล้วจิตเขาจะทำเองครับ

    ยังไม่ถึงนะครับมาอีกๆๆๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 เมษายน 2016
  3. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,426
    ค่าพลัง:
    +35,044
    ขออนุญาตเสริมในบางประเด็นครับ...
    ปกติแล้วถ้าเป็นมนุษย์ธรรมดา ถ้านั่งสมาธิเข้าถึงในระดับฌาน ๔
    ได้จริงๆในระดับที่ กายกับจิต ตัดกันแทบจะเด็ดขาดชั่วคราวในครั้งแรก
    ต้องเข้าใจว่า มันจะตัดระบบประสาทร่างกายออกไปเลยนะครับ
    ส่วนในระดับอุปจารสมาธินั้น
    ถ้าพอกำลังสติทางธรรม
    จะยังที่สามารถระลึกได้
    แต่เป็นการระลึกที่ไม่หลุด
    จากสภาวะอารมย์ ณ เวลานั้นครับ
    และถ้าถึงฌาน ๔ ได้ จริงๆ

    แทบจะไม่มีใครที่จะสามารถควบคุมจิต
    หรือกายทิพย์ตัวเองได้ครับ..ไม่โผล่อยู่ใกล้ๆตัวเอง
    ก็หกคะเมนตีลังกาไปเรื่อย....บุคคลที่เข้าถึงได้จริงๆ..
    ถึงได้เริ่มรู้ว่า ตัวสติที่ตัวเองบอกว่ามีนั้น
    นั้นเป็นเพียงแค่สติทางโลก
    ไม่ใช่ตัวสติทางธรรม
    ที่จะคอยควบคุมจิต
    ควบคุมกายทิพย์ได้
    ถึงต้องมาเจริญสติในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้นครับ..
    และมันมักจะมีกิริยามาหลอกว่าเราถึงฌาน ๔ ด้วยครับ..
    ตรงนี้ต้องระวังๆให้ดีๆ ถ้าไม่มีครูบาร์อาจารย์
    คอยแนะ ก็ต้องอย่าพึ่งไปเชื่อหรือยึดถือใน
    สภาวะที่ตนเข้าถึงได้ครับ...
    เพราะพวกนี้ ดูเหมือนไม่ยึด
    แต่ว่ามันเป็นกิเลสอย่างหนึ่ง
    เรียกว่ากิเลสธรรมครับ..
    คือมันจะทำให้เราไม่สนใจ
    สร้างสติและเดินปัญญาลดกิเลส
    จะไม่สนในเรื่อง แต่การอยากมี
    อยากทำ อยากได้ อยากเด่น
    ในเรื่องเกี่ยวกับอะไรๆที่พิเศษๆครับ.


    ต้องประมาณ ครั้งที่ ๓ ถึง ๔ ครับ
    ชนิดที่ว่า ถ้าจิตหรือกายจะออก
    ต้องไม่ให้มันออกครับ
    หรือถ้ามันจะออก ก็ต้องชนิดที่ว่า
    ไปไหนสติทางธรรมตามไปด้วยตลอด
    ถึงจะพอควบคุมทั้งจิต หรือ กายทิพย์ไม่ให้มัน
    ไปไหนได้ เพราะตัวจิตนิสัยปกติจะชอบท่องเที่ยวเป็นทุนเดิม

    และพอมีกำลังสติทางธรรมมากพอ ที่จะควบคุมมันไม่ให้ไปไหน
    ได้แล้ว พูดง่ายๆคือ อยู่นิ่งๆในกาย ถ้าเป็นจิตเราก็จะเห็นช่อง
    ท้องตัวเองจากด้านไหน หรือ ใครมาในระบบกายทิพย์ก็จะ
    ค่อยๆยกกายตัวเองอีกกายออกจากร่างกายนั่นหละครับ...

    พอมาตรงจุดนี้ได้ ก็ต้องมาดูว่า ตัวจิตเดิมมันเคยสะสมมาด้านไหน
    ถ้าใครเข้าไปต่อซ้อนเข้าไปในตัวจิต แล้วเกิดการระเบิดได้
    พอลืมตาขึ้นมา ก็จะบังเกิดความสามารถพิเศษขึ้นมาได้
    และสามารถใช้งานได้ในเวลาลืมตาปกติครับ....

    ส่วนใครที่วิ่ง ไปดูอวัยวะในร่างกาย หรือวิ่งเข้าไปในเส้นเลือด
    ต่างๆในร่างกาย จะไปได้ ในเรื่องของการตัดการยึดติดร่างกาย
    แทนถึงขั้นที่ละเอียดแทนครับ

    ส่วนต่อจากนี้ใครจะไปทาง อฐิษฐานจิต ไปทางกสิณ ไปทางอรูปฯ
    เพื่อเอากำลังที่ได้มาเป็นฐานสำหรับวิปัสสนาในเวลาลืมตาปกติ
    หรือพลิกขึ้นวิปัสสนาในขณะที่เข้าถึงอารมย์ระดับสูงก็สุดแล้ว
    แต่วาระของแต่ละบุคคลครับ...


    แต่ประกันได้อีกอย่างว่า แม้ว่าจะมีความชำนาญในการเข้าถึง
    ได้ในอารมย์สมาธิระดับสูงแล้ว แต่ไม่ได้ประกันว่าตัวจิตเรา
    จะดีขึ้นได้ครับ หมายความว่า กิเลสมันจะน้อยลงเลยในแต่ระเรื่อง..
    ยังไงก็ต้องมา เดินปัญญา วิปัสสนา เพื่อ ลด ละ คลาย กิเลสตัว
    ต่างๆในเวลาต่อมาด้วยครับ.....

    ส่วนความสามารถใช้งานของจิตแบบพิเศษๆได้นั้น...
    จะใช้กำลังไม่ควรเกินฌานที่ ๓ เพราะถ้าฌาน ๔
    จิตมันจะนิ่งและอุเบกขา และทำอะไรไม่ได้ครับ...
    ให้ลองสังเกตุดูเองได้ครับ....

    ส่วนผู้ทรงฌาน ในทางกิริยา ไม่ได้หมายความ
    ว่าเคยนั่งสมาธิได้ระดับไหนมา(ตรงนี้
    ต้องระวังเพราะจะยึดติดกับอดีตได้อย่างไม่รู้ตัว) หรือสามารถ
    ที่จะอยู่ในสมาธิระดับไหน ได้นานแค่ไหน
    (ถ้าอย่างนี้เรียกว่า แช่ ต่อไปจิตจะพิการ
    หรือตื้อๆ ใช้งานตะกุกตะกัก
    และหลงตัวเองได้ครับ)
    ทรงญานก็คือ ตัวจิตมีความสามารถที่จะนำไปใช้
    งานต่างๆได้ ไม่ว่าในชีวิตประจำวันหรือจะใช้
    งานในกรณีพิเศษๆต่างๆได้ครับ..
    และที่สำคัญก็คือ ภายในเวลาเสี้ยววินาทีครับ...
    และใช้แล้วก็ต้องรู้จักวาง ใช้แล้วก็ต้องรู้จักแล้วๆไป...

    ไม่งั้นมันจะทำให้จิตเราไม่คลายตัวได้ครับ..
    คล้ายๆ เราทำงานแล้วเอาเรื่องงานกลับมาคิด
    ต่อที่บ้านนั้นหละครับ ประมาณนี้...

    ส่วนความสามารถในการใช้งานทางจิต
    ให้ได้ผลดียิ่งขึ้น เป็นอัตโนมัติมากยิ่งขึ้น
    และจนสุดท้าย ไม่มีตัวเราเป็นผู้ไปกระทำ
    ปล่อยให้จิตเป็นไปโดยอัตโนมัติของมันเองได้นั้น..
    ก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะสามารถมาเดินปัญญา
    หรือวิปัสสนา เพื่อ ลดละ ตัวลาภ ยศ สุข
    สรรเสริญ ได้มากน้อยแค่ไหนครับ
    ประเด็นนี้ก็เป็นไปตามวาระแห่งตนครับ...
    เพราะการฝึกสมาธิในบางระดับ
    มันไม่สามารถที่จะฝึกเอาได้
    หรือตั้งต้นที่จะฝึกเอาได้ครับ..
    มันต้องใช้การวางในเรื่องต่างๆ
    ออกจากตัวจิต.
    เพื่อให้เข้าถึงได้แทนครับ...
    ปล.ประมาณนี้ ขอบคุณครับ..
     
  4. เทพบุตรลั้ลลาลั้ลลั้ลลาาา

    เทพบุตรลั้ลลาลั้ลลั้ลลาาา เพื่อมวลมนุษย์แลสรรพสัตว์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    872
    ค่าพลัง:
    +1,936
    ขอบคุณครับ..แต่ก็ยังสงสัยอยู่ว่า ไม่ได้ทำขั้นตอน
    ละฌาณสี่คืออุเบกขา,เอกกัคคตา มาจับอากาศละอากาสา
    แล้วค่อยมาจับวิญญานเป็นอารมณ์
    จึงไม่แน่ใจว่าเป็นฌาณ4หรืออรูปฌาน. แต่ว่าสัญญาก็เหลือน้อย
    เบาบางเต็มทีเหมือนกัน พอขั้นตอนถอยออกมานี่ กว่าบังคับสั่งการร่างกายได้
    ลำบากมาก อันดับแรกพยามขยับนิ้งโป้งให้ได้ก่อน. ส่วนอื่นๆค่อยๆได้ตามมา
    ออกมาแล้วปีติเกินบรรยายครับ น้ำตาไหลพรากๆ ตื้นตันใจและสงสารสรรพสัตว์ เหลือคณานับ ..พอได้บวชพระกลับเข้าฌาณไม่ได้ จึงลุยด้านวิปัสนา
    (สติปัฏฐาน4)..
     
  5. จิตเปโม

    จิตเปโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2012
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +253
    เดียวจะหลงประเด็นไปไกล

    ผมพูดถึง "จิตที่ตั้งมั่นเป็นกลางเป็นเหตุให้เกิดปัญญา" นะครับ

    ส่วนจิตที่เป็นกลางต่อสภาวะธรรมของพระอรหันต์ก็เรื่องหนึ่ง และเป็นเรื่องของท่าน (พระอรหัตบุคคล) เราไม่ไปก้าวล่วงครับ

    ผมยังเป็นปถุชนนะครับ ออกตัวก่อน เดียวหาว่าผมอวดอ้าง


    ธรรมนี้ที่ผมเล่ามาเป็นธรรมพื้นๆนะครับ เป็นทางดำเนิน นะครับ


    คุณต้องเข้าใจใหม่ จิตมันค่อยเริ่มเป็นกลางก่อนจะขึ้นวิปัสนญาน
    แต่ไม่ใช่ว่าจะทุกครั้ง ที่สติเกิด บางทียังมีหวงตัวผู้รู้อยู่

    แต่จะเริ่มดีขึ้นๆ เหมือนเด็กหัดเดิน

    ก่อนจะรู้ธรรมเห็นธรรม มันก็มีรู้กับหลงอยู่ ตามภูมิ

    มันมีสภาวะแห่งความเป็นกลางบ้างไม่เป็นกลางบ้าง

    แต่นั่นก็เพียงพอต่อการเกิดอริยะมรรคแล้ว

    คุณไปหาอ่านดู สติ ปัญญาของพระอริยะแต่ละขั้นภูมิ ยังไม่เท่ากันนะครับ

    ผมพูดถึงสติปัญญาเริ่มจะเป็นอัตโนมัติ สติเกิดเอง ในชีวิตประจำวัน

    เกิดบ่อย ไม่ใช่เกิดตลอดเวลา

    ส่วนพระอรหันต์นั้น จากที่ฟังเทศน์ครูอาจารย์ อย่างท่านหลวงตาพระมหาบัว
    ท่านพูดว่า "มหาสติมหาปัญญา"

    การที่จิตเริ่มเป็นกลางต่อสภาวะธรรมนั้น จะต้องมาก่อนที่จะเกิดอริยะมรรค

    ก่อนจะเกิดโสดาปัฐฏิมรรค จิตต้องมีสติปัญญาเกิดแล้ว ขึ้นวิปัสนาญาณแล้ว

    ไม่ใช่เป็นพระอริยะก่อนแล้วค่อยมี สติ มี ปัญญา

    มันต้องเริ่มมีสติปัญญาหมุนตัวก่อน ถ้าไม่มีจะเอาปัญญาที่ใหนมาตัดสินธรรม จนเกิดกระบวนการทางอริยะมรรคขึ้น

    ความเป็นกลางที่ว่า ไม่ใช่เป็นกลางอยู่ตลอดเวลา

    ตามภูมิของผู้ยังเดินไม่สุดทาง ย่อมมีรู้บ้าง หลงบ้าง กดข่มแทรกแซงบ้าง
    มากน้อย แล้วแต่ผู้เดินเข้าใกล้มากน้อยต่างกันนะครับ

    ธรรมะคือ ธรรมชาติ ธรรมดา ทุกอย่างล้วนอยู่ในกรอบของเหตุและผลทั้งสิ้น

    ไม่มีอะไรเกิดขึ้นมาลอยๆ นะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤษภาคม 2016
  6. จิตเปโม

    จิตเปโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2012
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +253
    ที่คุณ nilakarn

    เขียนว่า
    .......................................................................
    "สภาวะธรรม ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ
    ที่คนทั่วไป จะนำมาเอ่ยเล่นได้
    ผู้ที่เอ่ยได้ ก็คือ พระอริยะเจ้า เท่านั้น"
    .......................................................................

    ผมจะถามกลับว่า

    ความโกรธ ความหลง ราคะ โมหะ โทสะ เป็นสภาวะธรรมใหมครับ

    นักปฏิบัติต้องเรียนและพูดถึง พิจจารณาถึงสิ่งเหล่านี้ อยู่เนืองๆ ครับ

    ทุกอย่างที่เกิดแก่จิต คือสภาวะธรรมทั้งหมด ทำไมปถุชนจะกล่าวถึงไม่ได้
    เราเรียนให้รู้ความจริงของสภาวะธรรม

    เราเรียนธรรมะ จากเส้นผม หนัง เนื้อ เอ็นกระดูก ลมปาก ลมตด

    ขี้ เยี่ยว มีธรรมะอยู่ในสิ่งปฏิกูล สิ่งสวยๆงาม ธรรมะอยู่ในทุกสิ่ง

    บางท่านท่านนั่งพิจารณาก้อนขี้ท่านก็ทำ

    สนทนาธรรมอย่างมีรสชาดครับ อย่าโกรธผมนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤษภาคม 2016
  7. จิตเปโม

    จิตเปโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2012
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +253
    ผมลงรายละเอียดของ สติธรรม ปัญญาธรรม ขั้นเริ่มของวิปัสนาญาณเองนะครับ

    ตรงใหนที่ผมเขียนมาเป็นสภาวะธรรมของพระอรหันต์ครับ

    อันนี้เราสนทนาธรรมกันไปเรื่อยๆนะครับ ไม่ได้หาเรื่องทะเลาะครับ (k)
     
  8. จิตเปโม

    จิตเปโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2012
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +253
    เป็นการสนทนาที่ดีมากครับ

    ผมขอขยายความตรงนี้นิดครับ

    ปรกติผู้ปฏิบัติใหม่ เอาเป็นว่าที่ฝึกตามแนวดูจิตนะครับ
    ผมขอโทษที่ไม่ได่แนะนำแนวทางปฏิบัติของตัวเองให้ทราบก่อน

    ผู้ปฏิบัติใหม่ สมมุติเวลาตามดูสภาวะธรรมมักจะแทรกแซง ทำให้เกิดสภาวะกดข่มจิต ซึ่งจะทำให้จิตไม่เป็นกลางต่อสภาวะธรรมนั้นๆ ทำให้สติติหรือตัวจิตผู้รู้จะเกิดไม่ได้ครับ

    อันนี้อย่างหยาบๆ ส่วนเมื่อเริ่มปฏิบัติได้ดีขึ้นแทรกแซงน้อยลง
    จิตเริ่มสบายขึ้น เมื่อตามรู้ตามดูจนจิตจำสภาวะธรรม เช่นความโกรธ หรือ จิตที่หลงไปคิดปรุงในเรื่องต่างๆ ซึ่งเรียกว่าจิตส่งออกนอก เมื่อจำสภาวะธรรมได้

    จิตจะเกิดผู้รู้ผุดตั้งเด่นขึ้น เรียกตัวนี้ว่าจิตที่มีสติครับ

    คราวนี้ เมื่อภาวนามาถึงตรงนี้ ละเอียดขึ้นมาหน่อย ผู้ปฏิบัติจะรักษาตัวรู้
    หรือเพ่งตัวรู้ใว้ จะเป็นทุกคนรวมถึงกระผมด้วยครับ

    คราวนี้เมื่อเกิดการรักษาตัวรู้ จิตจะแน่นไม่เป็นกลาง คือมีการกดข่ม

    เรียกการกดข่มว่าไม่เป็นกลางต่อสภาวะธรรมนะครับ ไม่ใช่การเป็นกลางแบบไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่ใช่อย่างนั้น

    มันแว๊ปเดียว พอสติเกิดจิตจะสงบตั้งมั่น แล้วแต่ว่าเราทำสมาธิมาดีแค่ใหน
    ก็จะลงถึงฐานแห่งสมาธินั้นๆ อันนี้ไม่นับรวมผู้ที่จิตทรงฌานอยู่นะครับ
    เพราะผู้ที่จิตทรงฌานอยู่ตัวรู้จะตั้งมั่นอยู่แล้ว

    คราวนี้พอสติเกิด จากการตามรู้ตามดูสภาวะธรรม เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นกลาง
    มันจะดีดตัว แยกจากขรรธ์ ออกมาเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่ต่างหาก

    จะเห็นได้ว่าร่างกายจะอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง

    ส่วนขั้นเจริญปัญญานั้น ในตอนนี้ให้หัดคิดพิจจารณากายใจไปก่อน
    อาจจะใช้การพาให้จิตมันคิดนำไปก่อนนำ ว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่เรา มันคนละอัน

    หรือถ้าเราดูความโกรธที่กำลังสุมหัวใจเราอยู่ในขณะนั้น แล้วสติมันเกิด

    จิตมันตั้งมั่น แยกออกมาเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่นั้น ให้คิดนำไปก่อนว่า จิตมันโกรธไม่ใช่เราโกรธ ความโกรธเกิดมันก็ดับ ไม่ใช่เรา

    คราวนี้พูดถึงตัวปัญญาเจตสิก จะเกิดร่วมกับสติที่ตั้งมั่นเป็นกลางเท่านั้น
    บางครั้งสติมันเกิดมันเกิดปัญญาขึ้น สอนธรรมะเราขึ้นมาสดๆร้อน

    อย่างเรากำลังโกรธอยู่ พอสติระรึกรู้ ปัญญามันเกิด มันสอนขึ้นมาว่า "มันมีเหตุมันก็โกรธแหละ เขาด่าก็ต้องโกรธแหละ " อันนี้จิตมันสอนขึ้นมา
    แล้วมันยอมรับ มันก็ปล่อย อารมณ์มันขาดเลย ใจมันสบายใปหลายนาทีเลย

    แต่ถ้าอารมณ์มันแรง พอกลับมาคิดเรื่องเดิม มันก็โกรธใหม่ ก็ตามรู้ตามดูสู้กันไปอีก

    นี่คือปัญญาจิ๋วๆ แต่ก็ทำให้สบายเบาใจขึ้น ภาวนามาถึงนี้แล้วชวิตมันไม่ทุกข์มาก

    สติปัญญาจิ๋วมันคอยสู้อยู่ตลอดทั้งวัน

    บางทีอย่างกรณีของผม ผมมีปัญหาคนยืมเงินไปหลายหมื่นแล้วเบี้ยว เป็นแฟนเก่า เขาไปมีแฟนใหม่แล้วยืมตังค์ เราเห็นใจก็ช่วย แต่ไม่คืนก็โทรไป
    ก็ไม่รับสาย

    เราก็กระวนกระวาย ใจก็ตามรู้อาการของจิตไป แต่มันกดถ่วงรุนแรงมาก
    ตัดสินใจว่าจะไม่โทรแล้ว จิตก็คอยคิดอยู่ 3 เรื่อง เกี่ยวกับแฟนเก่า
    คือ 1 เรารักเขาอยู่ (2) พอสักพักก็โกรธเรื่องที่เขาหลอกเรา (3) แล้วก็คิดว่าควรให้อภัยเขา วนเวียนอยู่

    แต่ใจหนึ่งพอขาดสติจะลุกขึ้นไปโทรศัพท์ คราวนี้สติมันเกิด มันเห็น จิตมันคิดใน 3 เรื่องที่ว่ามา คือจิตมันเกิดสติแล้วดีดตัวแยกออกมาเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่ต่างหาก

    มันเห็นความคิดมันเกิดขึ้นเองอยู่อีกส่วนหนึ่ง จิตก็ดูอยู่เฉยๆ ตั้งมั่นอยู่ไม่ไปร่วมปรุงแต่ง

    เห็นความคิดมัน คิดของมันเองวนไปวนมาอยู่สามรอบ

    คราวนี้มันมีความรู้ผุดขึ้นมาสอนว่า " เชื่อไม่ได้ "

    จากนั้น สิ่งที่แสดงอยู่มันดับพรึบลง ตอนนั้นร่างกายทรุดลงกับเก้าอี้ เหมือนใจที่แบกรับความทุกข์อยู่มันกระเด็นหายไป มันโล่งมันเบา

    มันสงบ สว่างปิติสุขมันเกิดตามมา มันมีความสุขจนใจจะขาด

    จากวันนั้นมาใจมันคิดเรื่องแฟนเก่าทีไร มันไม่ทุกข์มาก มันไม่กดถ่วง มันเป็นแว๊บๆ ผ่านมา สติมันแรงกว่ามันตัดอารมณ์ทิ้งไป จนให้อภัยได้จริงๆ

    เงินก็เลิกทวงครับ

    นี่ครับ ผมเลยบอกว่าถ้าเขามีสติตั้งมั่นแล้วเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่ อย่างเป็นกลางต่อสภาวะธรรมที่เกิด มันจะเห็นความจริงของกายของใจ

    ส่วนมันจะตัดสิน รวมเข้าอริยะมรรคหรือไม่นั้น อยู่ที่อินทรีย์ สะสมความเห็นถูก
    มาพอหรือยัง

    กรณีทีผมยกมา มันไม่เกิดอริยะมรรค แต่มันทำให้ใจคลายความกดถ่วงลงครับ

    เราภาวณาไปใจมันมีความสว่าง ความทุกข์มันน้อยลง ชีวิตก็ดีงามขึ้นครับ

    แต่ขอได้โปรดอย่ามองว่าทำไมแลยังมีอารมณ์ขุ่นเคือง โอ้....ยังปถุชนครับ
    ยังมี แต่ก็พอมีสติคุมใว้ได้บ้างครับ แต่คงไปหาต่อยใครไม่เอาแล้ว ยุงยังไม่ตบครับ
    ถ้าไม่เผลอ....

    ผมอาจอถิบายใว้น้อยไปทำให้เกิดความขัดแย้งนะครับ ต้องขอโทษด้วย

    อีกอย่างคือผมเพียงบอกเล่าประสพการณ์การปฏิบัติจริงให้เพื่อน ญาติธรรมให้อ่านกัน
    เป็นธรรมะขั้นเริ่มต้น ไม่ได้เอาธรรมะขั้นสูงเกินที่ตัวเองจะไม่เคยรู้เคยเห็นมาแอบอ้าง

    คือผ่านมาด้วยตนเอง เอาแต่ที่ปฏิบัติเห็นมาแล้ว มาเล่าสู่กันฟัง แต่ยังไม่อาจเล่าให้ฟังทั้งหมด แต่มันก็สนุกนะครับการภาวนา

    ของแบบนี้มันโม้ไม่ได้รสได้ชาดหรอกครับถ้าฟังของคนอื่นมาแล้วมาเล่า แอบอ้างเอานะครับ มันเห็นเองแล้วเล่าได้ละเอียดสนุก แต่ขอบอกใว้ก่อนว่า สิ่งที่เห็นบางอย่างมันไม่มีสมมุติบัญญัติ เอามาเล่าได้ไม่ทั้งหมด เพราะมันอถิบายเป็นตัวหนังสือยากหลือเกินครับ

    ไม่ได้ประมาทธรรมของท่านนะครับ หากล่วงเกินให้ขัดเคืองผมขอขมาโทษนะครับ

    จากใจจริงครับ

    ............................
    คือปฏิบัติมาทางนี้ แต่ไม่ปฏิเสธแนวทางอื่นๆนะครับ

    ขอบคุณครับที่สนทนาด้วยอย่างมีสติ ครับเพื่อนสหธรรมมิก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤษภาคม 2016
  9. solardust

    solardust เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    250
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,771
    ...ถามมาตั้งเป็นเดือนแล้ว เพิ่งสังเกตุเห็น....โทษทีครับ....

    จะให้ตอบก็ไม่ค่อยมั่นใจเท่าไร คือมันไม่รู้ว่าจะเอาไปเทียบกับตรงไหนในหนังสือสอนนั่งสมาธิ

    แต่เข้าใจว่า ตรงนี้เรียกว่าฌานใช้งาน (เดาเอานะครับ ไม่รู้ว่าใช่หรือเปล่า)
    (ศัพท์นี้ก็อปมาจากหลวงพี่เล็กวัดท่าขนุนนะครับ ส่วนตัวจริงๆก็ไม่เคยเห็นศัพท์นี้ที่ไหนมาก่อน เพิ่งจะเห็นในเว็ปวัดท่าขนุนไม่นานมานี่แหละ)

    สภาพของมันคร่าวๆจะเป็นแบบนี้ครับ
    อยู่ในสภาวะคล้ายเข้าอุปจารสมาธิอยู่หน่อยๆ คือเป็นสมาธิ แต่ยังพูดคุย ติดต่อสื่อสาร ทำโน่น ทำนี่ ได้ตามปรกติ
    ส่วนกำลังสมาธิที่กดอยู่ มันไม่ได้เป็นกำลังในระดับอุปจารสมาธิ เป็นกำลังฌาน

    โดยปรกติ (ตามความเข้าใจของผม ไม่รู้ว่าคนอื่นเป็นเหมือนกันหรือเปล่านะครับ)
    คือสภาพจิตของเราหลังออกจากฌานมา มันจะไม่ได้กลับคืนสู่สภาพปรกติทันที มันจะมีอารมณ์ และกำลังของฌานตัวล่าสุดที่เราเข้าไปแช่อยู่ติดออกมาอยู่กับเราด้วยพักใหญ่
    (จริงๆไม่ได้ต้องถึงกับแช่นะครับ เข้าฌานไปแค่เสี้ยววินาทีแล้วถอยออกมาเลยก็ใช้ได้แล้ว)

    อาการมันจะเหมือนอยู่ในอุปจารสมาธิ คือมีสภาพจิตคล้ายกึ่งทิพย์อยู่
    แต่กำลังของจิตเป็นกำลังฌาน มันจะมีกำลังมากกว่า มีความชัดเจนมากกว่าที่เราเข้าอุปจารสมาธิแล้วเอากำลังของอุปจารสมาธิมาใช้งานตรงๆอย่างเดียว

    ถ้าจะตอบคำถามที่ว่า มันคือฌาน 4 หรือเปล่า
    คำตอบก็คือ ไม่ใช่ ถ้าเทียบตามหนังสือสอนนั่งสมาธิ

    ถ้าจะถามต่อว่า งั้นมันคืออุปจารสมาธิสินะ
    คำตอบก็คือ ใช่ ถ้าเทียบตามหนังสือสอนนั่งสมาธิ แต่ใช่แค่ครึ่งเดียว เพราะอารมณ์จิตใกล้เคียงอุปจารสมาธิอ่อนๆ
    แต่อย่างที่บอก กำลังของมันไม่ใช่อุปจารสมาธิ กำลังของมันสูงกว่านั้นเยอะ ขึ้นอยู่กับว่าเพิ่งออกจากฌานระดับไหนมา

    โดยส่วนตัว การนำกำลังสมาธิไปใช้งานนั้น จากประสบการณ์ สามารถใช้ได้สองสภาวะเท่านั้น
    คือที่อุปจารสมาธิ คือใช้กำลังสมาธิทั้งๆที่กำลังใช้งานร่างเนื้ออยู่ด้วย กับอีกแบบคือใช้มันที่ฌานสี่ในสภาพกายทิพย์

    แปลตรงตัวตามประสบการณ์นะครับ
    แปลว่าฌาน 1,2,3 เนี่ย ถ้าเข้าไปอยู่ในสภาวะนั้นตรงๆเลยเนี่ย นิ่งอย่างเดียวครับ ใช้งานอะไรไม่ได้
    ส่วนฌานสี่นี่ ไม่ค่อยแน่ใจนะครับ
    คือเหมือนมันมีสองสภาวะ นิ่งแน่นตึ้บไม่เอาอะไรเลยอันนึง กับกายทิพย์หลุดออกมานอกกายเนื้ออีกอันนึง
    ตัวนิ่งแน่นตึ้บก็ใช้งานอะไรไม่ได้เหมือนกัน ต้องถอยออกมาที่อุปจารสมาธิก่อน
    ไม่มั่นใจว่า เป็นฌานสี่ละเอียด กับฌานสี่หยาบหรือเปล่า
    (ตรงนี้ต้องทำความเข้าใจกันก่อนนะครับ ว่าผมศึกษามาน้อย ไม่ได้รู้อะไรมาก ตอบตามความเข้าใจอันน้อยนิดของตัวเองเท่านั้น)

    การนำกำลังสมาธิไปใช้งานในสภาวะอุปจารสมาธินั้น อย่างที่บอกคือ มันสามารถนำกำลังฌานมาใช้ได้ด้วย
    ถ้าเข้าฌานไปก่อนแล้วถอยออกมาที่อุปจารสมาธิ กำลังฌานมันจะติดออกมาด้วย
    การนำอุปจารสมาธิไปใช้งานใดๆ ในสภาพนั้นมันจะถูกใช้ออกไปด้วยกำลังฌาน

    สรุปก็คือ ผมเข้าใจ(เอาเอง) ว่ามันคือฌานใช้งาน เป็นอุปจารสมาธิที่มีกำลังของฌานสี่คุมอยู่ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มิถุนายน 2016
  10. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    ในเมื่อเข้าใจขนาดนี้ ชอบสมาธฺิน่าจะอ่านการทำสมาธิของหลวงปู่เทศน์ หรือไม่ก็หลวงปู่ชา หรือหลวงพ่อลี หรือไม่ก็ท่านเส็ง ปุสโส เพิ่มเติมนะคับ (หลวงพ่อลี สมาธิของท่านมีพลังสูงมากๆ ส่วนท่านเส็งเก่งเรื่องตาทิพย์ ตาใน)
    และ "จิตเปโม" นี่มีความหมายทางพระว่าอะไร ได้รับฉายานี้ตอนสมัยบวชพระใช่หรือป่าว?
    ปล. อยากให้ k.solardust และ K.จิตเปโม ฝึกต่อไปเรื่อยๆนะคับ เพราะทั้งคู่มีพื้นฐานสมาธิที่ดีมากๆโดยเฉพาะ K.solardust น่าจะมีของเก่า บุญ(ภาวนา)เก่าติดตัวมาด้วย
     
  11. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    ฌานใช้งาน

    +++ โพสท์นี้สำหรับคุณ solardust เพราะในระดับนี้ ย่อมเข้าใจและสามารถทำได้ ไม่ยากนัก

    +++ "ฌานใช้งาน" ตามความหมายตรง ๆ ของมันก็คือ "การทำงานด้วยเอกัคตารมณ์" มี 2 กรณี คือ 1. ใช้เอกัคตารมณ์เพื่อการทำงาน (สมถะ) กับ 2. การทำงานในเอกัคตารมณ์ (วิปัสสนา)

    +++ ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 กรณี ย่อมต้องอยู่ใน เอกัคตารมณ์ ในสภาวะดำรงค์ชีพตามปกติ (ฌานลืมตา) ทั้งสิ้น

    +++ 1. ใช้เอกัคตารมณ์เพื่อการทำงาน (สมถะ) จะมีลักษณะ อยู่ในอารมณ์เดียวตลอดเวลา ส่วนจิต "จะกำหนดไปมาด้วยตัวมันเอง" เป็นลักษณะของ "อฐิษฐานฤทธิ์" ภาษาอาจแตกต่าง แต่ การทำงานของจิต เป็นอาการนี้ ไม่แตกต่างกันเลย อารการนี้จะตรงกับสิ่งที่เรียกว่า "ป้องกันอุปสรรค หรือ ปัญหา"

    +++ 2. การทำงานในเอกัคตารมณ์ (วิปัสสนา) อยู่ในอารมณ์เดียวตลอดเวลา เหมือนกัน ส่วนใหญ่ "จิตจะไม่กำหนดไปมา" ไม่มีลักษณะ อฐิษฐาน อะไร แต่ในยามใดที่ "การงานเจออุปสรรค" จิตจะ ปริวัติตัวมันเองทันที เพื่อเข้า "เรียนรู้และแก้ไขอุปสรรคสถานการณ์" นั้น ๆ อย่างมีอิสระในตัวมันเอง และผลลัพธ์ที่ออกมาจะเป็นลักษณะที่เรียกกันว่า "ถูกต้องอย่างคาดไม่ถึง" อาการนี้คือ "การแก้ปัญหา"

    +++ ทั้ง 2 อาการรวมกัน จะส่งผลออกมาเป็น 1. ปกป้อง 2. ปราบปราม ในเรื่องเกี่ยวกับ อุปสรรคและปัญหาต่าง ๆ

    +++ หากสามารถอยู่ใน เอกัคตารมณ์ ในยามใช้ชีวิตตามปกติได้ ก็จะเห็นอาการทั้ง 2 ประการนี้ ปรากฏมาเองตามธรรมชาติของมัน

    +++ "ไม่เคยเห็นศัพท์นี้ที่ไหนมาก่อน" เหมือนกัน เพราะคนทำได้มีน้อยตัวมาก และถ้า ทำได้แล้ว จะนำมาอธิบายได้ ยิ่งน้อยกว่าน้อยเสียอีก

    +++ อุปจาระ VS อัปปนา ชี้ขาดที่ "เอกัคตารมณ์" คำว่า "แต่ยังพูดคุย ติดต่อสื่อสาร ทำโน่น ทำนี่ ได้ตามปรกติ" ตรงนี้เป็นแค่เปลือก เป็นแค่ รูปแบบ แต่ตรงนี้ต่างหาก "ส่วนกำลังสมาธิที่กดอยู่ เป็นกำลังฌาน" เป็นเนื้อหา สรุปตรงนี้คือ "เป็นฌานเต็มเนื้อหา"

    +++ แยก รูปแบบ ออกจาก เนื้อหา แล้วก็จะค่อย ๆ ชัดเจนในเรื่องการใช้ภาษาในการสื่อสารไปเอง

    +++ ผมแค่ "แจงเฉพาะ" ในเรื่องของคำว่า "ฌานใช้งาน" เท่านั้น สูง-ต่ำ กว่านี้ ถือว่านอกประเด็น นะครับ
     
  12. จิตวิญญาณ

    จิตวิญญาณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +679
    ขออนุญาตแจมประสบการณ์เล็กๆน้อยๆ คงไม่ว่ากันนะ

    เมื่อหลายปีที่ผ่านมา ระหว่างที่นั่งสมาธิเงียบๆ อยู่ๆก็เห็นร่างกายหายไป เริ่มหายไล่ไปเรื่อยๆจากเท้า ขา ลำตัว แขน คอ หัว หายหมด พออยู่อย่างนั้นสักพัก ไม่เห็นอะไรเกิดขึ้น เลยลองระลึกเอาว่ามือมันอยู่ช่วงไหน พอลองกระดิกนิ้วมือตรงที่เราระลึกเพื่อให้ความรู้สึกตัวกลับคืนมา เออ กระดิกตรงตำแหน่ง ความรู้สึกตัวกลับมาจริงๆด้วย ( คือแบบว่าครั้งแรกที่เกิดอาการนี้ ยังออกจากสมาธิไม่เป็น ) ตอนหลังเลยใช้วิธีกำหนดเอา พอหลับตาปุ๊บ รู้สึกร่างกายหายเลย จิตใจสงบนิ่งดี หลังๆมามันก็ทำได้สุดแค่นั้น พอออกจากสมาธิสักพักมันก็คิดเหมือนเดิม ไม่ก้าวหน้าไปไหนมาไหน


    เคยเข้ามาตั้งคำถามผู้รู้ในเว็บนี้ ก็ได้รับคำตอบที่ไม่เคลียร์ จนได้เจอท่านธรรมชาติ เป็นครูบาอาจารย์แนะนำคำสอนให้ เลยเข้าใจกับสภาวะ สามารถทำให้การปฏิบัติก้าวหน้าไปได้รวดเร็ว และที่สำคัญที่สุดคือ ทำให้เราได้รู้จักไอ้ตัวที่พาเราหลงสังสารวัฏ หลงจมอยู่กับกองทุกข์ หลงเวียนว่ายตายเกิดไม่รู้จักจบจักสิ้น กว่าจะรู้จักไอ้ตัวนี้ก็เกือบเฒ่าตายทิ่มซือๆ น่าสลดสังเวชจริงๆ


    พูดถึงอาการร่างกายหายไปนี้ เมื่อสมัยวัยเริ่มมีครอบครัว ตอนนั้นชีวิตจมอยู่กับความทุกข์ คือเห็นชีวิตมันหมุนวนเวียนจำเจทุกวัน จนไม่อยากมีชีวิตอยู่ แต่ก็เป็นห่วงลูกเพราะลูกยังตัวเล็กๆ (จริงๆเราเห็นทุกข์มาตั้งแต่เด็กๆแล้ว ตอนเด็กๆพูดกับตัวเองตลอดว่าเกิดมาทำไมก็ไม่รู้ เกิดมาก็มีแต่ทุกข์ ) แล้วมีอยู่วันหนึ่ง ช่วงบ่ายๆขณะที่กำลังเอนหลังพักเหนื่อยจากทำงาน อยู่ๆก็รู้สึกร่างกายเริ่มหาย จากเท้า ขา ลำตัว แขน คอ ไล่มาถึงหัว ตอนที่ถึงช่วงกระหม่อมกำลังจะหายไป นึก ยังไม่อยากตายตอนนี้ ลูกยังตัวเล็ก พอนึกเสร็จ ความรู้สึกวูบกลับมาเต็มตัว .. นึกในใจ รอดตายแล้ว !! ( เฮ่อๆ ความโง่นี่มันไม่เข้าใครออกใครจริงๆนะ )



    เคยเป็นเหมือนกันค่ะ จากประสบการณ์ ตอนออกจากสมาธิใหม่ๆ ฌานมันจะค้างประมาณครึ่งชั่วโมง แต่ก่อนไม่รู้นะว่าเขาเรียกว่าฌาน เพิ่งมารู้ตอนหลังๆนี่เอง
     
  13. somkiatfem

    somkiatfem เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2016
    โพสต์:
    324
    ค่าพลัง:
    +195
    ขอถามว่า ถ้าทรงชาญ 4 ได้ดี จะมีอาการ ปวดเมื่อย ไหมครับ หรือ ทรงได้นานเท่าไร จึงสามารถเมื่อยได้ ครับ หรือไม่มีอาการเมื่อย ชา เลยครับ
     
  14. yuhua

    yuhua Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +90
    ที่เคยสัมผัสได้(แต่ไม่แน่ใจว่าฌาน4หรือไม่)
    เข้าสมาธิไปได้สักพักจิตก็สงบแบบที่ไม่วอกแวก
    ไม่คิดถึงอะไรเลย ไม่มีความรู้สึกใดๆไม่รู้สึกว่าร้อนว่าหนาว
    ไม่รู้สึกถึงว่ากำลังหายใจอยู่ไม่มีอาการปวดเมื่อยทางกาย
    จิตสงบนิ่งจนไม่อยากจะลุกออกจากสมาธินั้น
    ไม่แน่ใจว่านานแค่ไหน จิตมันนิ่งจนถึงเวลาเพราะต้องออกจากสมาธิ
    ไปทำการงานอื่นๆก็ค่อยๆถอนจิตออกมา เป็นความรุ็สึกที่พิเศษมากคะ
    ไม่เคยรู้สึกนิ่งแบบนั้นมาก่อน...
     
  15. ผ่านมาเฉยๆ

    ผ่านมาเฉยๆ ไรเซ็นมันพูดว่าอะไรหว่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +1,210
    ฌาณใช้งาน
    ก็หมายถึงใช้ชีวิตไปเรื่อยๆโดยที่จิตเป็นเอกคตารมณ์ตลอดเวลาครับ
    หรือจะใช้คำว่าทรงฌาณอยู่ตลอดเวลา
    เป็นความหมายที่หมายถึงอารมณ์ของผู้ที่มีวิหารธรรมแน่วแน่อยู่ตลอดเวลา
    และทุกอิริยาบทครับ
    เดาล้วนๆ อิอิ
    อ้อ แล้วแต่ระดับของการปฏิบัติด้วยครับ
     
  16. a5g1aeka

    a5g1aeka เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    728
    ค่าพลัง:
    +1,579
    :cool::cool::cool:การปฎิบัติธรรม หากไม่มีครูบาอาจารย์ที่มีความรู้จริงมาให้คอยชี้แนะ ปรึกษา ระวังจิตวิปลาสเอาง่ายๆนะครับ ก่อนอื่นควรหาครูบาอาจารย์ก่อน แนะนำสายพระอาจารย์มั่นที่รู้จักกันดี และอย่าใจร้อน คิดเอง เออเอง เพราะเรื่องของการดูแลรักษาจิตให้มีสมาธิ จนเข้าถึงฌาณต้องใช้เวลา แล้วแต่บุญกรรมทำแต่งของแต่ละคนด้วย เอวัง...:cool::cool::cool:
     
  17. Tanakorn

    Tanakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +1,537
    ขออนุโมทนากับเจ้าของกระทู้

    ท่านทำได้จริง อย่างเวลาจิตรวม จะมีอาการอย่างที่ว่า คือเหมือนทุกอย่างรวมมาอยู่ศูนย์กลางกาย ไม่รู้สึกว่ามีร่างกาย ผมก็มีประสบการณ์คล้ายๆท่านเจ้าอขงกระทู้ แต่ไม่ละเอียดแบบท่าน
     
  18. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,426
    ค่าพลัง:
    +35,044
    แยกดีๆนะครับ ๑.ระหว่างเคยนั่งสมาธิได้ในระดับฌานไหน
    กับ๒.สามารถนำสมาธิระดับฌานไหนมาใช้งานครับ
    สมาธิใช้งานได้ในชีวิตประจำวัน ในระดับปฐมฌานก็ถือว่าเพียงพอแล้วครับ..
    และการนั่งสมาธิได้ในระดับฌานไหน มันส่งผลเกี่ยวเนื่องกับ
    การนำสมาธิมาใช้งานในชีวิตประจำวันด้วยนะครับ...

    ไม่ใช่ว่า ท่านเข้าใจว่าท่านได้ถึงระดับฌาน ๔ แล้วในเวลาปกติ
    จิตท่านจะทำงานได้ถึงระดับฌาน ๔ นะครับ
    การที่ท่านเป็นผู้ทรงฌาน ในทางกิริยาคือ เมื่อใดก็ตาม
    ที่ท่านต้องการใช้งานในระดับกำลังสมาธิระดับไหน
    ท่านต้องสามารถเข้าถึงได้ภายในเวลาเสี้ยววินาทีครับ
    ที่คือทรงฌานนะครับ ไม่ใช่การไปอยู่ในฌานตลอดเวลา
    นี่เค้าเรียกว่า การจมหรือแช่ ซึ่งต่อไปมันจะส่งผลให้จิตพิการได้ครับ
    พิการคือ ไม่มีความสามารถในทางด้านนามธรรมต่างๆ
    ไม่ว่าด้านการรับรู้พิเศษ การทำอะไรได้พิเศษ ตลอดการไปหนุน
    ให้เกิดเป็นปัญญาทางธรรมเพื่อมาลดละกิเลสได้จริงๆครับ....
    ดังนั้นระวังข้อ ๑ และ ๒ ให้ดีๆ เพราะถ้าไปยึด มันจะคิดให้เราหลอก
    ตัวเองไปว่า เราเป็นผู้ได้ญานระดับนั้น ทั้งๆที่ ณ เวลาลืมตาปัจจุบัน
    เราไม่มีความสามารถทางจิตทำอะไรได้เลย มันก็จะหลอกให้เราคิดว่า
    เรายังได้ฌานนั้นอยู่ ทั้งๆที่การได้ฌานระดับไหนนั้น เค้าดูกัน
    ตอนที่นำไปใช้งานและภายในเวลาไม่นานหรือเสี้ยววินาทีนะครับ..

    ส่วนกิริยาของระดับสมาธิ ฌาน ๔ ข้อย้ำอีกครั้งว่า...
    เป็นไปได้ยากมากๆๆๆๆๆๆ ที่ท่านเข้าถึงแล้วท่านจะควบคุม
    ตัวจิตให้มันอยู่ในร่างกายได้ครับเพราะจิตมันมีนิสัย
    ชอบส่งออกและท่องเที่ยวเป็นทุนเดิมครับ
    ถ้ามันตัดขาดกับกายได้เด็ดขาดชั่วคราวแล้ว
    มันไปแน่นอนครับมันไม่อยู่หรอกครับ
    เราถึงต้องมาสร้างสติทางธรรมเพื่อคอยควบคุม
    มันยังไงหละครับ (พวกนิ่งสงบๆแล้วยิ่งมีปิติ รู้สึกสงบด้วยแล้ว จะให้นั่งกี่วันก็ทำได้
    ถ้าร่างกายชินนะครับ และพวกแสงสว่างจร้าสีขาวไม่เย็น
    พวกนี้ปฐมฌานเท่านั้นนะครับ ย้ำว่าแค่เบื้องต้น
    เพราะมันเป็นกิริยาทางจิตที่เกิดขึ้นในกำลังระดับนี้อยู่แล้วเป็นปกติครับ)

    ถ้าระดับฌาน ๔ เลย จะต้องเป็นแบบว่า ท่านต้องเห็นไอ้ตัวท่าน ที่นั่งๆอยู่
    ชนิดที่ว่า เห็นจะๆ และเห็นอยู่ในสภาพแวดล้อม ณ เวลานั้นๆด้วยครับ
    ประมาณว่า เห้ย นี่มันตัวเรานี่หว่า แล้วที่ยืนมองตัวเราอยู่นี่มันใคร
    มันก็คือ ตัวจิตเราที่แยกออกมา จากกายในกำลังสมาธิระดับฌาน ๔
    นั่นหละครับ หลักสังเกตุการรับรู้ทางนามธรรมท่านจะดีขึ้นมาก ณ
    ตอนที่แยกออกมา(นึกภาพออกไหมครับ แค่เรานั่งสมาธิขณะมีกายอยู่ใน
    ระดับสงบเฉยๆหูเรายังได้ยินดีกว่าปกติเลย
    ไม่ต้องนึกว่า เวลาที่จิตมันออกมาแล้วจะชัด
    เจนขนาดไหน พอนึกออกไหมครับ
    ถ้าแบบเงียบๆให้ระวังๆนะครับไม่ใช่เด็ดขาด
    และอย่าไปคิดว่าเป็นระดับฌาน ๔ นะครับ)
    การเงียบ การเบา มันจะเกิดขึ้นในส่วนของการ
    นำสมาธิที่ได้ มาใช้งานได้ครับ ยิ่งระดับสมาธิใช้งานได้จริงสูง
    (ย้ำว่าใช้งานได้จริง)มันจะยิ่งเบา ยิ่งเงียบครับ
    แต่ต่างกันนะครับ ระหว่างตอนที่นั่งและยังมีกายอยู่
    กับการที่สามารถใช้งานได้แล้ว
    แยกกันดีๆนะครับ
    ระวังตรงนี้ให้ดีๆนะครับ อย่าไปยึดว่าเคยนั่งในระดับไหนได้มาก่อน
    และให้ดูดีๆก่อนด้วยว่า ไอ้ที่เคยนั่งมาได้ก่อนหน้านั้น มันระดับไหนกันแน่ๆ
    ถ้าคุณเคยผ่านการนั่งระดับกำลังฌาน ๔ มาก่อน
    อย่างแย่เลย ในเวลาปกติจิตจะสามารถทำงานในระดับอุปจารสมาธิ
    ได้เป็นปกติครับ ถ้าจิตยังทำงานไม่ได้แสดงว่าไม่ใช่แระ ให้เฉยๆซะอย่ายึด...
    และถ้าจิตคุณผ่านอรูปฌานได้ จากการผ่านรูปฌานมาก่อน
    จิตคุณในเวลาปกติ มันจะทำงานได้ในระดับกำลังฌาน ๑ แบบง่ายๆมาก
    การรับรู้เรื่องพลังงานก็จะเกิดขึ้นได้ เพราะมันเป็นผลที่เกิดได้แบบ
    ปกติของมันอยู่แล้ว ถ้าคุณไม่มีตรงนี้ ให้เฉยๆอย่าคิดว่าเข้าถึงอรูปฌานมานะครับ
    มันจะหลอกเราให้หลงตัวเองได้อย่างคาดไม่ถึง
    แม้ว่า ในเวลาลืมตาปกติ เราจะไม่มีความสามารถทำอะไรได้เลย
    พิสูจน์ไม่ได้ เราก็จะหลงตัวเองได้ครับ..
    ถ้าไม่มาทางพิเศษ อย่างน้อย ความเข้าใจทางนามธรรมเราจะต้อง
    ดีขึ้นอย่างแน่นอนครับ..เช่น เห็นและรู้นามธรรมต่างๆเราจะทราบเลย
    ว่าวัตถุประสงค์คืออะไร การที่ยังไปสงสัย ว่าสิ่งที่เห็นคืออะไร
    ไปค้นหาคำตอบ นี่คือมันยังไม่ใช่ผลของการที่เราผ่านกำลังสมาธิระดับสูงมานะครับ
    ย้ำว่า ทราบวัตถุประสงค์นะครับ ไม่ใช่อยากทราบว่าคืออะไร แล้วไปค้นหาคำตอบ
    หรือถ้าเราจะรู้อะไร มันจะรู้ ณ เวลานั้นๆเลยทันทีครับ
    นี่คือผลของการ ผ่านรูปฌาน ๔ และอรูปฌานมาครับ...

    ปล.เล่าให้ฟังเพื่อเป็นข้อคิดเตือนใจ บวกกับหลักการสังเกตุตัวเอง
    จะได้ระมัดระวังใจตัวเองให้มากขึ้น จะได้พอรู้เท่าทันกับในอดีตที่ผ่านมาครับ
    หวังว่าจะเข้าใจที่พยายามสื่อนะครับ
     
  19. ผ่านมาเฉยๆ

    ผ่านมาเฉยๆ ไรเซ็นมันพูดว่าอะไรหว่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +1,210
    เรื่องทรงอยู่ในอารมณ์เดียวตลอดเวลาในทุกอิริยาบทนั้นอย่าเพิ่งไปสนใจเลยครับ
    เอาแค่เข้าออกสมาธิในแต่ละระดับในอย่างเป็นวสีหรือมีความชำนาญให้ได้ก่อนครับ
    เฉพาะอิริยาบทนั่งนะครับ
    โดยที่ไม่มีการลังเลสงสัยในภพหรืออาการต่างๆที่ปรากฏ
    ถ้ายังมีการแตกตื่นหรือยังยินดีในอาการหรือภพต่างๆ
    โดยที่ไม่สามารถแยกแยะสิ่งที่ปรากฏขึ้นได้ก็แสดงว่ายังข้องหรือติดอยู่ครับ
    ต่อมา
    ถ้าได้แล้วก็มาเดินจงกรมฝึกอิริยาบทเคลื่อนไหว
    แล้วจะเข้าใจอานิสงฆ์ของการเดินจงกรมข้อที่ว่า
    สมาธิที่ได้จะไม่เสื่อมหรือเสื่อมได้ยากครับ
    นี่แค่ฝึกจับดินสอเองครับ
    ยังไม่ได้หัดเขียนเลย
    กอไก่กอกาจนไปถึงเขียนกลอนแต่งหนังสือ
    ยังมีอีกเยอะครับ
    เพราะสมาธิยังนำไปใช้ไม่ได้เลยก็แตกตื่นกันแล้ว
    บอกไว้ก่อนครับ
    จะได้ไม่หลงคิดว่าเป็นมรรคผลนิพพาน
    ขอบคุณครับ
     
  20. Chatreekain

    Chatreekain สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +22
    การเข้าญาณมันน่าจะอยู่ข้างหลังนะลองเข้าแบบจับดูตัวเองดิ
    มันจะรู้สึกว่าส่วนหลังมันจะเด้งๆเข้าทีละญาณลองจับดูที่ตัวเองดู
    ผมก็ใช่วิธีนี้แห่ละจะดูว่าตัวเองเข้าสมาธิเป็นมั้ยหลังจากที่ลองแล้ว
    ก็รู้สึกได้ว่าการเข้าญาณนี้ต้องเข้าแบบนี้นิเองผมก็ไม่ได้อ่านตำราอะไรมา
    อย่างที่ท่านบอกวิชานอกริตไม่มีครูบาอจารย์เหมือนกันก็ฝึกตามที่เคย
    อ่านๆผ่านทางเน็ตมานี้และ
     

แชร์หน้านี้

Loading...