สมาธิสูตร สมาธิธรรม และธรรมหมวดต่างๆที่บรรยายโดยพระอัครสาวกผูู้เลิศด้วยปัญญา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 15 มิถุนายน 2020.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,473
    QSaVgAkVo5NDcxUYCpVVh5fnnhEUxLVjgkP_XFRa3VM1U7ycz75vDtj124ynO09pie4z6Tv9&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,473
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
    ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา

    [​IMG]
    ๒. สารีปุตตเถรคาถา
    คาถาสุภาษิตของพระสารีบุตรเถระ
    พระสารีบุตรเถระ ครั้นสำเร็จแห่งสาวกบารมีญาณ ดำรงอยู่ในตำแหน่งพระธรรมเสนาบดี
    อย่างนี้แล้ว เมื่อจะทำประโยชน์แก่หมู่สัตว์ วันหนึ่งเมื่อพยากรณ์อรหัตผลโดยมุขะ คือ
    ประกาศความประพฤติของตนแก่เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย จึงได้กล่าวคาถาความว่า
    [๓๙๖] ผู้ใดสมบูรณ์ด้วยศีล สงบระงับ มีสติ มีความดำริชอบ ไม่ประมาท
    ยินดีแต่เฉพาะกรรมฐานภาวนาอันเป็นธรรมภายใน มีใจมั่นคงอย่างยิ่ง
    อยู่ผู้เดียว ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ปราชญ์ทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่าภิกษุ
    ภิกษุเมื่อบริโภคอาหารจะเป็นของสดหรือของแห้งก็ตาม ไม่ควรติดใจจน
    เกินไป ควรเป็นผู้มีท้องพร่อง มีอาหารพอประมาณ มีสติอยู่ การ
    บริโภคอาหารยังอีก ๔-๕ คำจะอิ่ม ควรงดเสีย แล้วดื่มน้ำเป็นการ
    สมควรเพื่ออยู่สบายของภิกษุผู้มีใจเด็ดเดี่ยว อนึ่งการนุ่งห่มจีวรอันเป็น
    กัปปิยะ นับว่าเป็นประโยชน์ จัดว่าพอ เป็นการอยู่สบายของภิกษุผู้มีใจ
    เด็ดเดี่ยว การนั่งขัดสมาธินับว่าพอ เป็นการอยู่สบายของภิกษุ ผู้มีใจเด็ด
    เดี่ยว ภิกษุรูปใดพิจารณาเห็นสุข โดยความเป็นทุกข์ พิจารณาเห็น
    ทุกข์โดยความเป็นลูกศรปักอยู่ที่ร่าง ความถือมั่นว่าเป็นตัวเป็นตนใน
    อทุกขมสุขเวทนา ไม่ได้มีแก่ภิกษุนั้น จะพึงติดอยู่ในโลกอย่างใด
    ด้วยกิเลสอะไร ภิกษุผู้มีความปรารถนาลามกเกียจคร้าน มีความเพียร
    เลวทราม ได้สดับน้อย ไม่เอื้อเฟื้อ อย่าได้มาในสำนักของเราแม้ใน
    กาลไหนๆ เลย จะมีประโยชน์อะไรด้วยการให้โอวาทบุคคลเช่นนั้นใน
    หมู่สัตว์โลกนี้ อนึ่ง ขอให้ภิกษุผู้เป็นพหูสูต เป็นปราชญ์ตั้งมั่นอยู่ใน
    ศีล ประกอบใจให้สงบระงับเป็นเนืองนิตย์ จงมาประดิษฐานอยู่บน
    ศีรษะของเราเถิด ภิกษุใดประกอบด้วยธรรมเครื่องเนิ่นช้า ยินดีใน
    ธรรมเครื่องเนิ่นช้า ภิกษุนั้นย่อมพลาดนิพพานอันเป็นธรรมเกษมจาก
    โยคะอย่างยอดเยี่ยม ส่วนภิกษุใด ละธรรมเครื่องเนิ่นช้าได้แล้ว ยินดี
    ในอริยมรรคอันเป็นทางไม่มีธรรมเครื่องเนิ่นช้า ภิกษุนั้น ย่อมบรรลุ
    นิพพานอันเป็นธรรมเกษม จากโยคะอย่างยอดเยี่ยม พระอรหันต์ทั้ง
    หลาย อยู่ในสถานที่ใด เป็นบ้านหรือป่าก็ตามที่ดอนหรือที่ลุ่มก็ตาม
    สถานที่นั้นเป็นภูมิสถานที่น่ารื่นรมย์ คนผู้แสวงหากามย่อมไม่ยินดีใน
    ป่าอันน่ารื่นรมย์เช่นใด ท่านผู้ปราศจากความกำหนัด จักยินดีในป่าอัน
    น่ารื่นรมย์เช่นนั้น เพราะท่านเหล่านั้นไม่เป็นผู้แสวงหากาม บุคคลควร
    เห็นท่านผู้มีปัญญาชี้โทษมีปกติกล่าวข่มขี่ เหมือนผู้บอกขุมทรัพย์ให้
    ควรคบบัณฑิตเช่นนั้น เพราะว่าเมื่อคบกับบัณฑิตเช่นนั้น ย่อมมีแต่
    ความดีไม่มีชั่วเลย ปราชญ์ก็ควรโอวาทสั่งสอน ควรห้ามผู้อื่นจากธรรม
    ที่มิใช่ของสัตบุรุษ แต่บุคคลเห็นปานนั้น ย่อมเป็นที่รักใคร่ของสัตบุรุษ
    เท่านั้น ไม่เป็นที่รักใคร่ของอสัตบุรุษ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสรู้แล้ว
    มีพระจักษุ ทรงแสดงธรรมแก่ผู้อื่นอยู่ เมื่อพระองค์กำลังทรงแสดง
    ธรรมอยู่ เราผู้มุ่งประโยชน์ตั้งใจฟัง การตั้งใจฟัง ฟังของเรานั้น
    ไม่ไร้ประโยชน์ เราเป็นผู้หมดอาสวะ เป็นผู้หลุดพ้นพิเศษ เราไม่
    ได้ตั้งความปรารถนาเพื่อปุพเพนิวาสญาณ ทิพจักขุญาณ เจโตปริยญาณ
    อิทธิวิธี จุตูปปาตญาณ ทิพโสตญาณ อันเป็นธาตุบริสุทธิ์ มาแต่ปางก่อน
    เลย แต่คุณธรรมของสาวกทั้งหมดได้มีขึ้นแก่เรา พร้อมกับการบรรลุ
    มรรคผล เหมือนคุณธรรม คือ พระสัพพัญญุตญาณ ได้มีแก่พระพุทธ-
    เจ้า ฉะนั้น มียักษ์ตนหนึ่งมากล่าวว่า มีภิกษุหัวโล้นรูปหนึ่งชื่ออุปติสสะ
    เป็นพระเถระผู้อุดมด้วยปัญญา ห่มผ้าสังฆาฏินั่งเข้าฌานอยู่ที่โคนไม้
    สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้กำลังเข้าสมาบัติอันไม่มีวิตกในขณะ
    ถูกยักษ์ตีศีรษะ ก็ยังประกอบด้วยธรรมคือความนิ่งอย่างประเสริฐ ภูเขา
    หินล้วนตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ฉันใด ภิกษุย่อมไม่หวั่นไหวเหมือน
    ภูเขาเพราะสิ้นโมหะ ก็ฉันนั้น ความชั่วช้าเพียงเท่าปลายขนทราย ย่อม
    ปรากฏเหมือนเท่าก้อนเมฆที่ลอยอยู่บนท้องฟ้า แก่ภิกษุผู้ไม่มีกิเลส
    เครื่องยั่วยวน แสวงหาความสะอาดเป็นนิตย์ เราไม่ยินดีต่อความตาย
    และชีวิต เราเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะจักละทิ้งร่างกายนี้ไป ไม่ยินดีต่อ
    ความตายและชีวิต รอคอยเวลาตายอยู่ เหมือนลูกจ้างรอให้หมดเวลา
    ทำงาน ฉะนั้น ความตายนี้มีแน่นอนในสองคราว คือ ในเวลาแก่
    หรือในเวลาหนุ่ม ที่จะไม่ตายเลยย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลาย
    จงบำเพ็ญแต่สัมมาปฏิบัติเถิด ขอจงอย่าได้ปฏิบัติผิดพินาศเสียเลย
    ขณะอย่าได้ล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย เมืองที่ตั้งอยู่ชายแดน เขาคุ้ม
    ครองป้องกันดีทั้งภายนอกและภายในฉันใด ท่านทั้งหลายก็จงคุ้มครอง
    ตนฉันนั้นเถิด ขณะอย่าได้ล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย เพราะผู้มีขณะ
    อันล่วงเลยไปเสียแล้ว ต้องพากันไปเศร้าโศกยัดเยียดอยู่ในนรก ภิกษุ
    ผู้สงบระงับ งดเว้นโทษเครื่องเศร้าหมองใจได้อย่างเด็ดขาด มีปกติพูด
    ด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมกำจัดบาปธรรมได้เหมือนลมพัดใบไม้ล่วง
    หล่นไป ฉะนั้น ภิกษุผู้สงบระงับ งดเว้นจากโทษเครื่องเศร้าหมอง
    ใจได้อย่างเด็ดขาด มีปกติพูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน ได้ลอยบาปธรรม
    เสียได้ เหมือนลมพัดใบไม้ร่วงหล่นไป ฉะนั้น ภิกษุผู้สงบระงับละเว้น
    กองกิเลสและกองทุกข์ ที่เป็นเหตุทำให้เกิดความคับแค้น มีใจผ่องใส
    ไม่ขุ่นมัว มีศีลงาม เป็นนักปราชญ์ พึงทำที่สุดทุกข์ได้ บุคคลไม่ควร
    คุ้นเคย ในบุคคลบางพวกจะเป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิตก็ตาม หรือเบื้องต้น
    เขาจะเป็นคนดี ตอนปลายเป็นคนไม่ดีก็ตาม นิวรณ์ ๕ คือกามฉันทะ ๑
    พยาบาท ๑ ถีนมิทธะ ๑ อุทธัจจะ ๑ วิจิกิจฉา ๑ เป็นธรรมเครื่อง
    เศร้าหมองจิต สมาธิของภิกษุผู้มีปกติชอบอยู่ด้วยความไม่ประมาท
    ไม่หวั่นไหวด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ด้วยมีผู้สักการะ ๑ ด้วยไม่มี
    ผู้สักการะ ๑ นักปราชญ์เรียกบุคคลผู้เพ่งธรรมอยู่เป็นปกติ พากเพียร
    เป็นเนืองนิตย์ พิจารณาเห็นด้วยปัญญาสุขุม สิ้นความยึดถือและความ
    ยินดีว่า เป็นสัตบุรุษ มหาสมุทร ๑ แผ่นดิน ๑ ภูเขา ๑ และ
    แม้ลม ๑ ไม่ควรเปรียบเทียบความหลุดพ้นกิเลสอย่างประเสริฐของพระ
    ศาสดาเลย พระเถระผู้ยังพระธรรมจักรอันพระศาสดาให้เป็นไปแล้ว
    ให้เป็นไปตาม ผู้มีปัญญามาก มีจิตมั่นคง เป็นผู้เสมอด้วยแผ่นดินและ
    ไฟย่อมไม่ยินดียินร้าย ภิกษุผู้บรรลุปัญญาบารมีธรรมแล้ว มีปัญญา
    เครื่องตรัสรู้มาก เป็นนักปราชญ์ผู้ใหญ่ ไม่ใช่เป็นคนเขลา ทั้งไม่เหมือน
    คนเขลา เป็นผู้ดับความทุกข์ร้อนได้ทุกเมื่อ ท่องเที่ยวไปอยู่ เรามีความคุ้น
    เคยกับพระศาสดามาก เราทำคำสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว ปลง
    ภาระหนักลงได้แล้ว ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพแล้ว ท่านทั้งหลาย
    จงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด นี้เป็นอนุศาสนีย์ของเรา เรา
    พ้นจากกิเลสทั้งปวงแล้ว จักปรินิพพาน.
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,473
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,473
    นกุลปิตุสูตร

    นกุลปิตุสูตร ว่าด้วยนกุลปิตาคหบดี คือ นกุลปิตาคหบดีเป็นผู้ชรา มีกายกระสับกระส่ายเจ็บป่วยประจำ จึงเข้าไปทูลขอให้พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมให้ฟัง พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘เมื่อเรามีกายกระสับกระส่ายอยู่ จิตจักไม่กระสับกระส่าย’ นกุลปิตาคหบดียังไม่เข้าใจพระภาษิตนี้ จึงเข้าไปถามกับพระสารีบุตรเพื่อจะได้อธิบายเนื้อความให้แจ่มแจ้ง พระสารีบุตร ตอบว่า ถ้ามีสักกายทิฏฐิ ๒๐ และยึดถือขันธ์ ๕ กายและจิตก็กระสับกระส่าย ถ้าไม่ยึดถือก็ไม่กระสับกระส่าย
    สักกายทิฏฐิ ๒๐ คือ ความเห็นว่าเป็นกายของตน ๒๐ ประการ (ขันธ์ ๕ x ความเห็น ๔ อย่าง = ๒๐) ได้แก่
    - เห็นขันธ์ ๕ โดยความเป็นอัตตา (เห็นรูปโดยความเป็นอัตตา, เห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา, เห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา, เห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา, เห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา = ทิฏฐิ ๕)
    - เห็นอัตตาว่ามีขันธ์ ๕ (เห็นอัตตาว่ามีรูป, เห็นอัตตาว่ามีเวทนา, เห็นอัตตาว่ามีสัญญา, เห็นอัตตาว่ามีสังขาร, เห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ = ทิฏฐิ ๕)
    - เห็นขันธ์ ๕ ในอัตตา (เห็นรูปในอัตตา, เห็นเวทนาในอัตตา, เห็นสัญญาในอัตตา, เห็นสังขารในอัตตา, เห็นวิญญาณในอัตตา = ทิฏฐิ ๕)
    - เห็นอัตตาในขันธ์ ๕ (เห็นอัตตาในรูป, เห็นอัตตาในเวทนา, เห็นอัตตาในสัญญา, เห็นอัตตาในสังขาร, เห็นอัตตาในวิญญาณ = ทิฏฐิ ๕)
    ดูรายละเอียดใน นกุลปิตุสูตร สํ.ข. (ไทย) ๑๗/๑/๑-๖ มหาจุฬา ฯ
    ************************
    ข้อความบางตอนกล่าวถึง สักกายทิฏฐิ ๒๐ ว่า
    ...ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในรูป ดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า ‘เราเป็นรูป รูปเป็นของเรา’ เมื่อเขาดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า ‘เราเป็นรูป รูปเป็นของเรา’ รูปนั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะรูปแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ (ความเศร้าโศก) ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ) ทุกข์ (ความทุกข์กาย) โทมนัส (ความทุกข์ใจ) และอุปายาส (ความคับแค้นใจ) จึงเกิดขึ้นแก่เขา…
    นกุลปิตุสูตร สํ.ข. (ไทย) ๑๗/๑/๓-๔ มหาจุฬา ฯ
    (ขันธ์ ๕ ที่เหลือคือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีเนื้อความเดียวกัน)
    http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=17&siri=1
    ******************
    ส่วนพระอริยสาวกมีนัยตรงกันข้าม คือ...ไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในรูป ไม่ดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า ‘เราเป็นรูป รูปเป็นของเรา’ เมื่อพระอริยสาวกนั้นไม่ดำรงอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า ‘เราเป็นรูป รูปเป็นของเรา’ รูปนั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น เพราะรูปแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้นแก่พระอริยสาวกนั้น...
    (ขันธ์ ๕ ที่เหลือคือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีเนื้อความเดียวกัน)
    ************
    วิถีทางดับสักกายทิฏฐิ คืออริยมรรคมีองค์๘
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=12&siri=44
    ulD6h6P6Pg_rqZmD8fqmJFJWPFsOrkxv4WR8grYBiKdj&_nc_ohc=PMJe5QtLb7kAX_bYjiL&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,473

    พระสารีบุตรสนทนาปราศรัย
    กับท่านพระมหาโมคคัลลานะ



    ******************************************

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
    สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

    [​IMG]
    ๓. ฆฏสูตร

    [๖๙๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
    อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตรและท่าน
    พระมหาโมคคัลลานะอยู่ในวิหารเดียวกัน ในพระเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน ครั้ง
    นั้นแล เวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่เร้น เข้าไปหาท่านพระมหา-
    *โมคคัลลานะถึงที่อยู่ ครั้นเข้าไปหาแล้ว ได้สนทนาปราศรัยกับท่านพระมหา-
    *โมคคัลลานะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วน
    ข้างหนึ่ง ฯ
    [๖๙๒] ครั้นท่านพระสารีบุตรนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระมหา
    โมคคัลลานะว่า ท่านโมคคัลลานะ อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก ผิวหน้าของท่าน
    บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ชะรอยวันนี้ ท่านมหาโมคคัลลานะ จะอยู่ด้วยวิหารธรรมอัน
    ละเอียด ฯ
    ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า อาวุโส วันนี้ผมอยู่ด้วยวิหารธรรมอัน
    หยาบ อนึ่ง ผมได้มีธรรมีกถา ฯ
    สา. ท่านมหาโมคคัลลานะได้มีธรรมีกถากับใคร ฯ
    ม. ผมได้มีธรรมีกถากับพระผู้มีพระภาค ฯ
    สา. เดี๋ยวนี้พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ
    ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ไกลนัก ท่านมหาโมคคัลลานะไป
    เฝ้าพระผู้มีพระภาคด้วยฤทธิ์หรือ หรือว่าพระผู้มีพระภาคเสด็จมาหาท่านมหา-
    *โมคคัลลานะด้วยฤทธิ์ ฯ
    ม. ผมไม่ได้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคด้วยฤทธิ์ แม้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ได้
    เสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์ แต่ผมมีทิพยจักษุและทิพยโสตธาตุอันหมดจดเท่าพระผู้มี
    พระภาค แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงมีทิพยจักษุและทิพยโสตธาตุอันหมดจดเท่าผม ฯ
    สา. ท่านมหาโมคคัลลานะได้มีธรรมีกถากับพระผู้มีพระภาคอย่างไร ฯ
    [๖๙๓] ม. ผมได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคในที่นี้ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์
    ผู้เจริญ ที่เรียกว่าผู้ปรารภความเพียรๆ ดังนี้ ก็บุคคลจะชื่อว่าเป็นผู้ปรารภความ
    เพียรด้วยเหตุประมาณเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า อาวุโส เมื่อผมกราบทูลอย่างนี้แล้ว
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะผมดังนี้ว่า โมคคัลลานะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็น
    ผู้ปรารภความเพียร ด้วยตั้งสัตยาธิษฐานว่า จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็นและกระดูก
    ก็ตามที เลือดและเนื้อในร่างกายจงเหือดแห้งไปเถิด ผลอันใดที่จะพึงบรรลุได้ด้วย
    เรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษ ยังไม่
    บรรลุผลนั้นแล้ว จะหยุดความเพียรเสียเป็นอันไม่มี โมคคัลลานะ ภิกษุย่อมเป็น
    ผู้ปรารภความเพียรอย่างนี้แล อาวุโส ผมได้มีธรรมีกถากับพระผู้มีพระภาค
    อย่างนี้แล ฯ
    [๖๙๔] สา. อาวุโส เปรียบเหมือนก้อนหินเล็กๆ ที่บุคคลเอาไปวาง
    เปรียบเทียบกับขุนเขาหิมพานต์ฉันใด เราเมื่อเปรียบเทียบเคียงกับท่านมหาโมค-
    *คัลลานะก็ฉันนั้นเหมือนกัน แท้จริง ท่านมหาโมคคัลลานะเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มี
    อานุภาพมาก เมื่อจำนงอยู่ พึงตั้งอยู่ได้ตลอดกัปแล ฯ
    [๖๙๕] ม. อาวุโส ก้อนเกลือเล็กๆ ที่บุคคลหยิบเอาไปวางเปรียบเทียบ
    กับหม้อเกลือใหญ่ ฉันใด ผมเมื่อเปรียบเทียบท่านสารีบุตรก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    แท้จริง ท่านพระสารีบุตรเป็นผู้อันพระผู้มีพระภาคทรงชม ทรงสรรเสริญ ทรง
    ยกย่องแล้วโดยปริยายมิใช่น้อย มีอาทิว่า ภิกษุผู้ถึงซึ่งฝั่งคือพระนิพพาน เป็นผู้
    เยี่ยมด้วยปัญญา ด้วยศีลและอุปสมะ คือพระสารีบุตร ดังนี้ ฯ
    ท่านมหานาคทั้งสองนั้น เพลิดเพลินคำสนทนาที่เป็นสุภาษิตของกันและ
    กัน ด้วยประการดังนี้แล ฯ

    จบสูตรที่ ๓
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,473
    เมื่อจิตฟุ้งซ่าน ก็เป็นกาลแห่งสมถะ เมื่อจิตตั้งมั่น ก็เป็นกาลแห่งวิปัสสนา
    ***********
    ว่าด้วยกาลแห่งสมถะและวิปัสสนา
    คำว่า ตามกาล ในคำว่า ภิกษุนั้นเมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบตามกาล อธิบายว่า เมื่อจิตฟุ้งซ่าน ก็เป็นกาลแห่งสมถะ เมื่อจิตตั้งมั่น ก็เป็นกาลแห่งวิปัสสนา (สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า)
    โยคี ใด ยกจิตไว้ในกาล(หนึ่ง)
    ข่มจิตในอีกกาลหนึ่ง ทำจิตให้รื่นเริงตามกาล
    ตั้งจิตให้มั่นในกาลเพ่งดูจิตตามกาล
    โยคีนั้น ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในกาล
    การยกจิต ควรมีในกาลไหน
    การข่มจิตควรมีในกาลไหน
    กาลสำหรับทำจิตให้รื่นเริงควรมีในกาลไหน
    และกาลแห่งสมถะเป็นเช่นไร
    บัณฑิตย่อมแสดงกาลสำหรับเพ่งดูจิตของโยคีไว้อย่างไร
    การยกจิตควรมีในเมื่อจิตย่อหย่อน
    การข่มจิตควรมีในเมื่อจิตฟุ้งซ่าน
    โยคีควรทำจิตที่ถึงความไม่แช่มชื่นให้รื่นเริงทุกเมื่อ
    จิตรื่นเริง ไม่ย่อหย่อน ไม่ฟุ้งซ่านย่อมมีในกาลใด
    ในกาลนั้นก็เป็นกาลแห่งสมถะ
    ใจพึงยินดีอยู่ภายในโดยอุบายนี้เอง
    เมื่อใดจิตตั้งมั่น เมื่อนั้นโยคีพึงรู้จิตที่ตั้งมั่น แล้วพึงเพ่งดูจิต
    นักปราชญ์รู้จักกาล ทราบกาล ฉลาดในกาล
    พึงกำหนดอารมณ์อันเป็นนิมิตของจิต โดยควรแก่กาล อย่างนี้
    คำว่า ภิกษุนั้นเมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบตามกาล อธิบายว่า ภิกษุนั้นเมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง” เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบว่า “สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ... ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา”
    คำว่า ธรรมเอกผุดขึ้น ในคำว่า ภิกษุนั้น ... เป็นผู้มีธรรมเอกผุดขึ้น พึงกำจัดความมืด อธิบายว่า ผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีใจไม่ซัดส่าย คือ สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ รวมความว่า เป็นผู้มีธรรมเอกผุดขึ้น
    คำว่า ภิกษุนั้น ... พึงกำจัดความมืด อธิบายว่า ภิกษุพึงขจัด พึงกำจัด คือ ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความมืดเพราะราคะ ความมืดเพราะโทสะ ความมืดเพราะโมหะ ความมืดเพราะมานะ ความมืดเพราะทิฏฐิ ความมืด
    เพราะกิเลส ความมืดเพราะทุจริต อันทำให้เป็นคนตาบอด ทำให้ไม่มีจักษุ ทำให้ไม่มีญาณ อันดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความลำบาก ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
    ……………..
    ข้อความบางตอนใน สารีปุตตสุตตนิทเทส ขุททกนิกาย มหานิทเทส พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=29&siri=16
    และดูเพิ่มใน อรรถกถาสารีปุตตนิทเทส http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=881...
    Uh-Ju9xoHqGur9yffmHBuSsLDdgHw1zy8lYUPbFUKXce&_nc_ohc=qiHTGZDTU8AAX8wCXJQ&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,473
    ?temp_hash=c779a4a4762b152f9654a413013a3993.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,473
    ตามกาล
    ***********
    [๙๘๒] ภิกษุเป็นผู้มีสติ มีจิตหลุดพ้นด้วยดีแล้ว
    พึงกำจัดความพอใจในธรรมเหล่านี้
    ภิกษุนั้นเมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบตามกาล
    เป็นผู้มีสมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น พึงกำจัดความมืด
    ...................
    ข้อความบางตอนใน สารีปุตตสูตร ขุททกนิกาย สุตตนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25...
    บทว่า กาเลน โส สมฺมา ธมฺมํ ปริวีมํสมาโน ภิกษุนั้นพิจารณาธรรมโดยชอบโดยกาลอันสมควร คือภิกษุนั้นพิจารณาธรรมอันเป็นสังขตธรรมทั้งหมดโดยนัยมีความไม่เที่ยงเป็นต้นตามกาล ดังที่ท่านกล่าวไว้แล้วโดยนัยมีอาทิว่า เมื่อยกระดับจิตขึ้นก็เป็นกาลของสมาธิ.
    บทว่า เอโกทิภูโต วิหเน ตมํ โส ภิกษุนั้นมีจิตแน่วแน่พึงกำจัดความมืดเสีย คือภิกษุนั้นมีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเพื่อกำจัดความมืดมีโมหะเป็นต้นทั้งหมดเสีย ไม่มีสงสัยในข้อนี้.
    ........
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาสารีปุตตสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=423
    ***********
    หมายเหตุ ศึกษาพึงเพิ่มเติมใน สารีปุตตสุตตนิทเทส ขุททกนิกาย มหานิทเทส พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙
    ว่าด้วยกาลแห่งสมถะและวิปัสสนา
    คำว่า ตามกาล ในคำว่า ภิกษุนั้นเมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบตามกาล อธิบายว่า เมื่อจิตฟุ้งซ่าน ก็เป็นกาลแห่งสมถะ เมื่อจิตตั้งมั่น ก็เป็นกาลแห่งวิปัสสนา (สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า)
    โยคี ใด ยกจิตไว้ในกาล(หนึ่ง)
    ข่มจิตในอีกกาลหนึ่ง ทำจิตให้รื่นเริงตามกาล
    ตั้งจิตให้มั่นในกาลเพ่งดูจิตตามกาล
    โยคีนั้น ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในกาล
    การยกจิต ควรมีในกาลไหน
    การข่มจิตควรมีในกาลไหน
    กาลสำหรับทำจิตให้รื่นเริงควรมีในกาลไหน
    และกาลแห่งสมถะเป็นเช่นไร
    บัณฑิตย่อมแสดงกาลสำหรับเพ่งดูจิตของโยคีไว้อย่างไร
    การยกจิตควรมีในเมื่อจิตย่อหย่อน
    การข่มจิตควรมีในเมื่อจิตฟุ้งซ่าน
    โยคีควรทำจิตที่ถึงความไม่แช่มชื่นให้รื่นเริงทุกเมื่อ
    จิตรื่นเริง ไม่ย่อหย่อน ไม่ฟุ้งซ่านย่อมมีในกาลใด
    ในกาลนั้นก็เป็นกาลแห่งสมถะ
    ใจพึงยินดีอยู่ภายในโดยอุบายนี้เอง
    เมื่อใดจิตตั้งมั่น เมื่อนั้นโยคีพึงรู้จิตที่ตั้งมั่น แล้วพึงเพ่งดูจิต
    นักปราชญ์รู้จักกาล ทราบกาล ฉลาดในกาล
    พึงกำหนดอารมณ์อันเป็นนิมิตของจิต โดยควรแก่กาล อย่างนี้
    คำว่า ภิกษุนั้นเมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบตามกาล อธิบายว่า ภิกษุนั้นเมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง” เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบว่า “สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ... ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา”
    คำว่า ธรรมเอกผุดขึ้น ในคำว่า ภิกษุนั้น ... เป็นผู้มีธรรมเอกผุดขึ้น พึงกำจัดความมืด อธิบายว่า ผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีใจไม่ซัดส่าย คือ สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ รวมความว่า เป็นผู้มีธรรมเอกผุดขึ้น
    คำว่า ภิกษุนั้น ... พึงกำจัดความมืด อธิบายว่า ภิกษุพึงขจัด พึงกำจัด คือ ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความมืดเพราะราคะ ความมืดเพราะโทสะ ความมืดเพราะโมหะ ความมืดเพราะมานะ ความมืดเพราะทิฏฐิ ความมืด
    เพราะกิเลส ความมืดเพราะทุจริต อันทำให้เป็นคนตาบอด ทำให้ไม่มีจักษุ ทำให้ไม่มีญาณ อันดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความลำบาก ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
    ……………..
    ข้อความบางตอนใน สารีปุตตสุตตนิทเทส ขุททกนิกาย มหานิทเทส พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=29&siri=16
    และดูเพิ่มใน อรรถกถาสารีปุตตนิทเทส http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=881...
    foiD3ceLioKeYXiJ9rzj_N1xv4oA9N-VvzHHLn13McGT&_nc_ohc=KCewpw2S8YEAX_y8dai&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,473
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,473
    ?temp_hash=ab3da011938de096d258d3229a31546f.jpg

    ผู้ขวนขวยในฌาน และกาลแห่งสมถะ กาลแห่งวิปัสสนา

    "เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบ ความว่าเมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯลฯ

    สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบ"

    ว่าด้วยผู้ขวนขวายในฌาน

    [๙๗๑] คำว่า พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน ในคำว่า พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน เป็น
    ผู้ตื่นอยู่มาก ความว่า เป็นผู้ขวนขวายในฌานด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ เป็นผู้ประกอบ ประกอบ
    ทั่ว ประกอบโดยเอื้อเฟื้อ มาประกอบด้วยดี เพื่อความเกิดขึ้นแห่งปฐมฌานที่ยังไม่เกิดขึ้น เพื่อ
    ความเกิดขึ้นแห่งทุติยฌานที่ยังไม่เกิดขึ้น เพื่อความเกิดขึ้นแห่งตติยฌานที่ยังไม่เกิดขึ้น หรือเพื่อ
    ความเกิดขึ้นแห่งจตุตถฌานที่ยังไม่เกิดขึ้น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เป็นผู้ขวนขวาย
    ในฌาน. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุซ่องเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งปฐมฌานที่เกิดขึ้นแล้ว ทุติยฌานที่
    เกิดขึ้นแล้ว ตติยฌานที่เกิดขึ้นแล้ว หรือจตุตถฌานที่เกิดขึ้นแล้ว แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึง
    ชื่อว่า เป็นผู้ขวนขวายในฌาน. คำว่า เป็นผู้ตื่นอยู่มาก ความว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ชำระ
    จิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเป็นเครื่องกั้น ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดวัน ชำระจิตให้บริสุทธิ์
    จากธรรมเป็นเครื่องกั้น ด้วยการเดินจงกรมและการนั่ง ตลอดปฐมยามแห่งราตรี ย่อมสำเร็จสีห-
    *ไสยา (นอนอย่างราชสีห์) โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ใส่ใจถึง
    สัญญาในการลุกขึ้น ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี กลับลุกขึ้นแล้ว ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรม
    เป็นเครื่องกั้น ด้วยการเดินจงกรมและการนั่ง ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
    พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน เป็นผู้ตื่นอยู่มาก.

    ว่าด้วยอุเบกขา

    [๙๗๒] ความเพิกเฉย กิริยาที่เพิกเฉย กิริยาที่เพิกเฉยยิ่ง ความที่จิตสงบ ความที่
    จิตระงับ ความที่จิตเป็นกลาง ในจตุตถฌาน ชื่อว่า อุเบกขา ในคำว่า พึงเป็นผู้ปรารภอุเบกขา
    มีจิตตั้งมั่น. ความหยุด ความนิ่ง ความแน่วแน่ ความไม่กวัดแกว่ง ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต
    ความที่ใจไม่กวัดแกว่ง ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ชื่อว่า ความเป็นผู้
    มีจิตตั้งมั่น. คำว่า พึงเป็นผู้ปรารภอุเบกขามีจิตตั้งมั่น ความว่า ปรารภอุเบกขาในจตุตถฌาน
    เป็นผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีใจอันอะไรๆ ไม่ให้กวัดแกว่งได้ เพราะฉะนั้น
    จึงชื่อว่า พึงเป็นผู้ปรารภอุเบกขามีจิตตั้งมั่น.

    ว่าด้วยจิตที่เป็นกาลของสมถะและวิปัสสนา

    [๙๘๖] คำว่า ตามกาล ในคำว่า ภิกษุนั้น เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบตาม
    กาล ความว่า เมื่อจิตไม่ฟุ้งซ่านเป็นกาลของสมถะ เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นกาลของวิปัสสนา.
    สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
    โยคีผู้ใด ย่อมประคองจิตในกาล ย่อมข่มจิตในกาลอื่น ย่อมให้จิต
    รื่นเริงโดยกาล ย่อมตั้งจิตไว้ในกาล ย่อมวางเฉยในกาล โยคีผู้นั้น
    ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในกาล ความประคองจิตควรมีในกาลไหน? ความข่ม
    จิตควรมีในกาลไหน? กาลเป็นที่ให้จิตรื่นเริงควรมีในกาลไหน? และ
    กาลของสมถะเป็นกาลเช่นไร? บัณฑิตย่อมแสดงกาลเป็นที่วางเฉย
    แห่งจิตของโยคีบุคคลอย่างไร? เมื่อจิตของโยคีบุคคลย่อหย่อน เป็นกาล
    ที่ควรประคองไว้ เมื่อจิตของโยคีบุคคลฟุ้งซ่านเป็นกาลที่ควรข่มไว้ โยคี
    บุคคลพึงยังจิตที่ถึงความไม่แช่มชื่นให้รื่นเริงในกาลนั้น จิตเป็น
    ธรรมชาติรื่นเริงไม่ย่อหย่อน ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมมีในกาลใด กาลนั้นเป็น
    กาลของสมถะ ใจพึงยินดีในภายใน โดยอุบายนั้นนั่นแหละ จิตเป็น
    ธรรมชาติตั้งมั่น ย่อมมีในกาลใด ในกาลนั้น โยคีบุคคลพึงวางเฉย
    ไว้ซึ่งจิตที่ตั้งมั่นแล้วด้วยปัญญา ธีรชนผู้รู้แจ้งกาล ทราบกาล ฉลาด
    ในกาลพึงกำหนดอารมณ์อันเป็นนิมิตของจิต ตลอดกาล ตามกาล อย่างนี้.
    เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุนั้น ... ตามกาล. คำว่า เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบ ความว่า
    เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวง
    เป็นอนัตตา ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับไปเป็น
    ธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบ.
    [๙๘๗] คำว่า มีจิตเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ในคำว่า เป็นผู้มีจิตเป็นธรรมเอกผุดขึ้น พึง
    กำจัดความมืด พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดังนี้ ความว่า เป็นผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน
    มีใจไม่กวัดแกว่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้มีจิตเป็นธรรมเอกผุดขึ้น. คำว่า ภิกษุนั้นพึงกำจัด
    ความมืด ความว่า พึงขจัด กำจัด ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความมืดคือ
    ราคะ ความมืดคือโทสะ ความมืดคือโมหะ ความมืดคือมานะ ความมืดคือทิฏฐิ ความมืดคือกิเลส
    ความมืดคือทุจริต อันทำให้บอด ทำให้ไม่มีจักษุ ทำให้ไม่มีญาณ ดับปัญญา เป็นฝักฝ่ายความลำบาก
    ไม่ให้เป็นไปเพื่อนิพพาน. คำว่า ภควา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความเคารพ. อีกอย่างหนึ่ง. ชื่อว่า
    ภควา เพราะอรรถว่า ผู้ทำลายราคะ ทำลายโทสะ ทำลายโมหะ ทำลายมานะ ทำลายทิฏฐิ ทำลาย
    เสี้ยนหนาม ทำลายกิเลส. เพราะอรรถว่า ทรงจำแนก ทรงแจกแจง ทรงจำแนกเฉพาะซึ่ง
    ธรรมรัตนะ. เพราะอรรถว่า ทรงทำที่สุดแห่งภพทั้งหลาย. เพราะอรรถว่า มีพระกายอันทรง
    อบรมแล้ว มีศีลอันอบรมแล้ว มีจิตอันอบรมแล้ว มีปัญญาอันอบรมแล้ว. อนึ่ง พระผู้มี
    พระภาคทรงซ่องเสพเสนาสนะอันเป็นป่าละเมาะและป่าทึบอันสงัด มีเสียงน้อย ปราศจากเสียง
    กึกก้อง ปราศจากชนผู้สัญจรไปมา เป็นที่ควรทำกรรมลับของมนุษย์ สมควรแก่การหลีกออก
    เร้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งจีวร บิณฑบาต
    เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มี
    พระภาคทรงมีส่วนแห่งอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา อันมีอรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส เพราะ
    ฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งฌาน ๔ อัปปมัญญา ๔ อรูป
    สมาบัติ ๔ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งวิโมกข์ ๘
    อภิภายตนะ ๘ อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาค
    ทรงมีส่วนแห่งสัญญาภาวนา ๑๐ กสิณสมาบัติ ๑๐ อานาปาณสติสมาธิ อสุภสมาบัติ เพราะ
    ฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔
    อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
    ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งตถาคตพลญาณ ๑๐ เวสารัชญาณ ๔ ปฏิสัมภิทา ๔
    อภิญญา ๖ พุทธธรรม ๖ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. พระนามว่า ภควา นี้ พระมารดา
    พระบิดา พระภาดา พระภคินี มิตร อำมาตย์ พระญาติสาโลหิต สมณพราหมณ์ เทวดา มิได้
    เฉลิมให้ พระนามว่า ภควา นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม (พระนามมีในอรหัตผลในลำดับแห่ง
    อรหัตมรรค) เป็นสัจฉิกาบัญญัติ พร้อมด้วยการทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ณ ควงโพธิพฤกษ์
    ของพระผู้มีพระภาคทั้งหลายผู้ตรัสรู้แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีจิตเป็นธรรมเอกผุดขึ้น
    พึงกำจัดความมืด พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดังนี้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
    ภิกษุเป็นผู้มีสติ มีจิตพ้นวิเศษแล้ว พึงกำจัดฉันทะในธรรมเหล่านั้น
    ภิกษุนั้น เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบตามกาล เป็นผู้มีจิตเป็น
    ธรรมเอกผุดขึ้น พึงกำจัดความมืด พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดังนี้
    ฉะนี้แล.

    สารีปุตตนิทเทสที่ ๑๖.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,473
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,473
    วันนี้วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ตรงกับวันพระใหญ่ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔* เป็นวันคล้ายวันบรรลุอมฤตธรรมของพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ผ่านมาแล้ว ๒,๖๐๘ ปี พระมหาเถระเจ้าผู้เป็นพระอัครสาวกฝ่ายขวา ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเลิศกว่าพระสงฆ์ทั้งปวงในด้านสติปัญญา นอกจากนี้ พระสารีบุตร ยังมีคุณธรรมในด้านความกตัญญู และการบำเพ็ญประโยชน์ให้แก่พุทธศาสนาอีกด้วย จึงมีคำยกย่องภิกษุรูปนี้ว่าเป็น "#พระธรรมเสนาบดี" คู่กับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เป็น "#พระธรรมราชา" จึงขอน้อมนำ พระประวัติอรหันตสาวก พระธรรมเสนาบดีพระสารีบุตรมหาเถระเจ้า มาเผยแผ่เพื่อน้อมมาเป็น ธรรมานุสติ สังฆานุสติ จนถึงมรณานุสติ ให้ได้พิจารณากันนะครับ
    *ตามปฏิทินจันทรคติไทย ปีนี้เป็นปีอธิกมาส มีเดือน ๘ สองหน เดือนมาฆะจากเดือน ๓ จึงมาตกที่เดือน ๔ วันบรรลุธรรมของท่านพระสารีบุตรตรงกับวันมาฆบูชาเช่นกัน
    (ภาพบน : สถานที่บรรลุธรรมของพระสารีบุตร ถ้ำสุกรขตา เชิงเขาคิชฌกูฏ เมืองราชคฤห์ / สองภาพล่าง : พระสถูปบรรจุพระอัฐิธาตุของพระสารีบุตร ที่เมืองนาลันทา บ้านเกิดของพระสารีบุตร ต่อมากลายเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรกของโลก และภาพใหญ่ รูปเหมือนแทนองค์ท่านพระสารีบุตรเถระเจ้า ภายในเจดีย์ชั้นสอง วัดถ้ำผาแดงผานิมิต จ.ขอนแก่น)
    #ประวัติพระธรรมเสนาบดีพระสารีบุตรมหาเถระเจ้า
    #สถานะเดิม
    พระสารีบุตรเมื่อแรกเกิดมีชื่อว่า "อุปติสสะ" เป็นบุตรของนางพราหมณี ชื่อ "สารี" และนายพราหมณ์ ผู้เป็นหัวหน้าหมู่บ้านอุปติสคามแห่งตำบลตำบลนาลกะ หรือตำบลนาลันทา ชื่อ "วังคันตะ" คำว่า "อุปติสสะ" หมายความว่า ชาวบ้านอุปติสคาม อุปติสสะนั้นมีน้องชายสามคน คือ พระจุนทะ พระอุปเสน พระเรวัตตะ และมีน้องสาวอีกสามคน คือ นางจาลา อุปจาลา และสีสุปจาลา ในวันเดียวกับที่นางพรามหณ์สารีให้กำเนิดอุปติสสะนั้น ยังเป็นวันที่ครอบครัวข้างเคียงให้กำเนิดบุตรชื่อว่า "โกลิตะ" หรือต่อมาคือพระมหาโมคคัลลานะ อีกด้วย
    ครอบครัวของนางพราหมณีสารีนั้นมีความมั่งคั่งสมบูรณ์พร้อมมูลพอ ๆ กับครอบครัวของโกลิตะ นิสัยใจคอของทั้งอุปติสสะและโกลิตะก็คล้ายคลึงกัน ท่านทั้งสองได้คบหาและเล่าเรียนด้วยกันมาแต่เล็ก ๆ จนเติบใหญ่ นอกจากนี้ ครอบครัวของทั้งสองก็ยังคบหาสมาคมกันมาแต่ชั่วบรรพบุรุษ ทั้งสองจึงเป็นเพื่อนรักกันอย่างยิ่ง
    #การออกจากเพศฆราวาส
    วันหนึ่ง อุปติสสะและโกลิตะไปเที่ยวเล่นในงานรื่นเริงประจำปีในกรุงราชคฤห์ ขณะชมมหรสพอยู่นั้นก็เกิดความสลดใจขึ้นมาอย่างเดียวกันว่า กิจกรรมเหล่านี้ช่างไร้สาระสิ้นดี หาประโยชน์แก่นสารมิได้เลย ควรจะหาสิ่งใดเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวและหลุดพ้นจากบ่วงเช่นนี้ อีกสองวันจึงพากันไปบวชในสำนักของสัญชัยปริพาชก ณ กรุงราชคฤห์นั้นเอง และสำเร็จการศึกษาในสำนักนั้นโดยใช้เวลาเพียงสองสามวัน เมื่อจบแล้วก็ออกจากสำนัก แต่ยังไม่พึงพอใจเพราะเห็นว่าความรู้จากสำนักนั้นหาใช่ที่ตนค้นหาไม่ จึงตกลงแยกกันไปตามหาครูผู้สามารถสอนความจริงของโลกให้ประจักษ์ได้อย่างแท้จริง และสัญญากันว่าถ้าใครเจอครูเช่นว่าแล้วก็จะมาบอกกันมิได้อำพราง
    #บรรลุโสดาบันและบวชในพระพุทธศาสนา
    พระอัสสชิอันเป็นหนึ่งในพระปัญจวัคคีย์ หลังจากได้ฟังธรรมจาก พระพุทธองค์ จนบรรลุอรหันต์แล้ว วันหนึ่งท่านถือบาตรและจีวร ไปสู่กรุงราชคฤห์เพื่อบิณฑบาตแต่เช้าตรู่ อุปติสสะได้พบพระอัสสชิเถระ ประทับใจในอิริยาบถน่าเลื่อมใส สำรวมดี ของท่านพระอัสสชิเถระ ผู้มีอินทรีย์ฝึกดีแล้ว จึงเกิดความคิดว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระอรหันต์ จึงได้ตามท่านพระอัสสชิเถระไปข้างหลัง รอคอยโอกาสอยู่ แล้วสอบถาม
    พระอัสสชิเถระได้แสดงความลึกซึ้งในคำสอน ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ว่า “..ท่านกล่าวบทอันลึกซึ้งละเอียดทุกอย่าง เป็นเครื่องฆ่าลูกศร คือ ตัณหา เป็นเครื่องบรรเทาความทุกข์ทั้งมวล ว่าธรรมเหล่าใด มีเหตุเป็นแดนเกิด พระตถาคตเจ้า ตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะเจ้ามีปกติตรัสอย่างนี้..” เมื่ออุปติสสะได้ฟังก็ได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุโสดาบัน
    หลังจากนั้น อุปติสสะกราบลาพระอัสสชิเถระ แล้วนำธรรมะที่ได้รับฟังมา ไปบอกเพื่อนสนิทคือโกลิตะ จนได้บรรลุโสดาบัน เช่นเดียวกัน ทั้งสองได้ไปชวนสัญชัยปริพาชก ให้ไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า แต่สัญชัยปริพาชกปฏิเสธ ทั้งสองจึงได้พาปริพาชก ๒๕๐ คน ไปฟังธรรมจากพระพุทธองค์ หลังจากฟังธรรมครั้งนั้น ปริพาชก ๒๕๐ คนบรรลุอรหัตผล แต่อุปติสสะและโกลิตะ ยังคงบรรลุเพียงโสดาบันเช่นเดิม พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ทั้งหมดด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา ภายหลังบวชในพระพุทธศาสนาแล้ว ท่านอุปติสสะมีชื่อเรียกใหม่ว่าสารีบุตร
    #การบรรลุอรหันต์
    เวลาผ่านไปครึ่งเดือน (หลังจากที่พระสารีบุตรบวชในพระพุทธศาสนา) ที่ถ้ำสุกรขาตา เชิงเขาคิชกูฏ นครราชคฤห์ พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระสารีบุตร ทีฆนขปริพาชกผู้เป็นหลาน (ลุง) พระสารีบุตร เข้าเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อทูลถามปัญหา พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเกี่ยวกับ ทิฏฐิและเวทนา ทีฆนขะได้บรรลุโสดาบัน ส่วนพระสารีบุตรนั้น ท่านกำลังถวายงานพัดพระพุทธองค์ ท่านได้ยินธรรมเหล่านั้นอยู่ด้วย ก็บรรลุอรหัตผล
    #ทรงเป็นผู้เลิศทางปัญญา
    หลังจากพระพุทธองค์ทรงแสดงยมกปาฏิหารย์ จำพรรษาและแสดงอภิธรรม ณดาวดึงส์ เสด็จลงมา ณประตูเมืองสังกัสสะ พระสารีบุตรพร้อมทั้งภิกษุ ภิกษุณี และสาธุชนจำนวนมาก มาเฝ้ารอรับเสด็จ
    พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสถามปัญหาในวิสัยของปุถุชนเป็นต้น พวกปุถุชนแก้ปัญหาได้ ในวิสัยของตนเท่านั้น ไม่สามารถจะแก้ปัญหา ในวิสัยของพระโสดาบันได้ พระอริยบุคคลทั้งหลาย มีพระโสดาบันเป็นต้นก็เหมือนกัน ไม่สามารถจะแก้ปัญหา ในวิสัยของพระอริยบุคคลทั้งหลาย มีพระสกทาคามีเป็นต้น พระมหาสาวกที่เหลือ ไม่สามารถจะแก้ปัญหา ในวิสัยของพระมหาโมคคัลลานะ พระมหาโมคคัลลานะไม่ สามารถจะแก้ปัญหา ในวิสัยของพระสารีบุตรเถระได้ แม้พระสารีบุตรเถระ ก็ไม่สามารถจะแก้ปัญหาในวิสัยของพระพุทธเจ้าได้เหมือนกัน ในครั้งนั้น มหาชนจึงได้รู้จักพระสารีบุตร ว่า เป็นผู้เลิศทางปัญญา “..พระสารีบุตร เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีปัญญามากฯ..”
    #ในด้านคุณความดีของพระสารีบุตรเถระเจ้า
    พระสารีบุตรท่านมีคุณความดีที่พระพุทธองค์ทรงยกย่องไว้มากมาย ขอยกมาเฉพาะบางเรื่องที่สำคัญๆ ดังต่อไปนี้
    ๑.พระพุทธองค์ทรงยกย่องพระสารีบุตรว่า เป็นผู้มีปัญญาอนุเคราะห์เพื่อนบรรพชิตด้วยกัน ตัวอย่างครั้งหนึ่งที่กรุงเทวทหะ ภิกษุพากันเข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์ ทูลลาจะไปปัจฉาภูมิชนบท พระองค์ตรัสให้ไปลาพระสารีบุตร เพื่อท่านสารีบุตรจะได้แนะนำสั่งสอน ในการไปของพวกเธอ จะได้ไม่เกิดความเสียหาย
    ๒.ทรงยกย่องพระสารีบุตรว่าเป็นคู่กับพระมหาโมคคัลลานะ เช่น ทรงตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายคบกับสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด ... สารีบุตรเปรียบเหมือนมารดาผู้ให้กำเนิด โมคคัลลานะเปรียบเหมือนนางนม ผู้เลี้ยงทารกที่เกิดแล้วนั้น สารีบุตรย่อมแนะนำให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล โมคคัลลานะแนะนำให้ตั้งอยู่ในคุณเบื้องบนสูงกว่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงมีคำยกย่องว่า พระสารีบุตรเป็นอัครสาวกฝ่ายขวา และพระโมคคัลลานะเป็นอัครสาวกฝ่ายซ้าย
    ๓.มีคำเรียกยกย่องพระสารีบุตร อีกอย่างหนึ่งว่า พระธรรมเสนาบดี ซึ่งเป็นคู่กับพระบรมศาสดาว่า พระธรรมราชา
    ๔.พระสารีบุตรเป็นผู้มีปฏิภาณในการแสดงพระธรรมเทศนา คือ ชี้แจงแสดงให้ผู้ฟังเข้าใจได้ชัดเจน
    ๕.ท่านเป็นผู้มีความกตัญญูกตเวที พึงเห็นตัวอย่างได้จาก เมื่อท่านได้ฟังธรรมเทศนาที่พระอัสชิแสดง ได้ธรรมจักษุแล้วมาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ตั้งแต่นั้นมาท่านก็นับถือพระอัสสชิว่า เป็นอาจารย์ทำการเคารพอยู่เสมอ แม้ได้ยินข่าวว่าพระอัสชิอยู่ในทิศใด เมื่อท่านจะนอน ท่านจะนมัสการไปทางทิศนั้นก่อน แล้วนอนหันศีรษะไปทางทิศนั้น อีกตัวอย่างหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรยังราธพราหมณ์ให้อุปสมบท เพราะระลึกถึงคุณที่ราธพราหทณ์ ได้ถวายบิณฑบาตแก่ท่านเพียงทัพพีเดียว
    ๖.ก่อนที่ท่านจะนิพพาน ท่านพระสารีบุตรพิจารณาเห็นว่าอายุสังขารจวนจะสิ้นแล้ว ปรารถนาจะไปโปรดมารดา (คือ นางสารี) ที่ยังเป็นมิจฉาทิฏฐิอยู่ เมื่อท่านไปถึงบ้านเดิมแล้ว ได้เกิดปักขันทิกาพาธขึ้นในคืนนั้น ในเวลาที่พระสารีบุตรกำลังอาพาธอยู่นั้น ท่านได้เทศนาโปรดมารดา จนนางสารีได้บรรลุโสดาบัน คืนนั้นเป็นวันเพ็ญเดือนสิบสอง พระสารีบุตรก็ปรินิพพานในห้องที่ท่านเกิด รุ่งขึ้นพระจุนทะ (ผู้เป็นน้อง) ได้ทำฌาปนกิจสรีระพระเถรเจ้า เสร็จแล้วเก็บอัฏฐิธาตุ นำไปถวายพระบรมศาสดา ณ พระเชตวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถี พระพุทธองค์โปรดให้ก่อเจดีย์ บรรจุอัฏฐิธาตุของพระสารีบุตร ไว้ ณ ที่นั้น การที่บุตรได้ชักนำบุพการี ให้นับถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะ จนได้มรรคผล นับเป็นการตอบแทนคุณอย่างยอดเยี่ยม
    #นิพพาน
    พระธรรมเสนาบดีพระสารีบุตรมหาเถระเจ้า ได้เข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน ที่บ้านเกิดของท่าน ในช่วงเช้าตรู่ เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนกฤติกา (เดือนสิบสอง) ซึ่งตรงกับวันลอยกระทงของบ้านเรา
    #อ่านเรื่องราว "พุทธจริยา ประวัติปฏิปทาพระสาวก พระสาวิกา สามเณรอรหันต์สมัยพุทธกาล" ได้ที่ลิงค์ครับ
    https://m.facebook.com/thindham/albums/592972097420002/?ref=bookmarks
    7nw9KIGD_IE1jHidyVyaOHXvs_1rWuA7Zhyr_JFm3yX-&_nc_ohc=XZuu1XNfbMkAX82EV4J&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    ขอบคุณ
    https://www.facebook.com/ท่องถิ่นธรรม-พระกัมมัฏฐาน-196619973707839
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,473
    s8Q2DiGM1a27DQBvlbYjwhbrE7WQASBdFVv15B57-8Z5&_nc_ohc=kWL1lqmnwNQAX95-jMS&_nc_ht=scontent.fbkk2-4.jpg

    พระสารีบุตรประกอบด้วยคุณสมบัติของทูต ๘ อย่าง
    *********
    [๓๔๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติ ๘ อย่าง ควรทำหน้าที่ทูตได้ คุณสมบัติ ๘ อย่าง คือ
    ๑. รู้จักฟัง
    ๒. สามารถพูดให้ผู้อื่นฟังได้
    ๓. ใฝ่ศึกษา
    ๔. ทรงจำได้ดี
    ๕. เป็นผู้รู้ได้เข้าใจชัด
    ๖. สามารถพูดให้ผู้อื่นเข้าใจได้
    ๗. ฉลาดในสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์
    ๘. ไม่ก่อความทะเลาะวิวาท
    ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติ ๘ อย่าง ควรทำหน้าที่ทูตได้
    ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกอบด้วยคุณสมบัติ ๘ อย่าง คือ
    ๑. รู้จักฟัง
    ๒. สามารถพูดให้ผู้อื่นฟังได้
    ๓. ใฝ่ศึกษา
    ๔. ทรงจำได้ดี
    ๕. เป็นผู้รู้ได้เข้าใจชัด
    ๖. สามารถพูดให้ผู้อื่นเข้าใจได้
    ๗. ฉลาดในสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์
    ๘. ไม่ก่อความทะเลาะวิวาท
    ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกอบด้วยคุณสมบัติ ๘ อย่าง ควรทำหน้าที่ทูตได้
    ภิกษุผู้เข้าสู่ชุมชนที่โต้เถียงกันอย่างรุนแรงก็ไม่สะทกสะท้าน
    ไม่ทำคำพูดให้เสียหาย ไม่ปกปิดข่าวสาส์น
    ชี้แจงอย่างไม่มีข้อสงสัย ถูกย้อนถามก็ไม่โกรธ
    ภิกษุผู้มีลักษณะเช่นนั้นแลควรทำหน้าที่ทูตได้
    ........
    ข้อความบางตอนใน สังฆเภทกถา ตติยภาณวาร พระวินัยปิฎก จุลวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=7&siri=54
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,473
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,473
    #พระสารีบุตรโปรดนายเคราแดง


    ขณะเดียวกันนั้นเอง พระสารีบุตรเถระออกจากสมาบัติ
    พิจารณาว่าควรจะไปโปรดใคร ได้เห็นนายเคราแดงนั้นแล้ว
    ทราบด้วยญาณว่า เมื่อท่านไปโปรดเขา
    เขาจักถวายอาหารแก่ท่าน
    และจักได้สมบัติใหญ่เพราะบุญนั้น
    นายเคราแดงพอเห็นพระเถระก็มีจิตเลื่อมใส
    คิดว่า "เราได้ฆ่าคนเป็นอันมากมาเป็นเวลานานถึง ๕๕ ปี
    บัดนี้ไทยธรรมของเราก็มีแล้ว พระเถระก็มายืนอยู่เฉพาะหน้า
    เราควรทำบุญในวันนี้"
    ดังนี้แล้วลงไปนิมนต์พระเถระให้ขึ้นเรือน
    แล้วถวายยาคูลงในบาตรของพระเถระ
    ราดเนยใสใหม่ลงไปแล้ว ได้ยืนพัดพระเถระอยู่
    ขณะดูพระเถระฉันอยู่นั้นความอยากบริโภคยาคู
    มีประมาณยิ่งได้เกิดขึ้นแก่เขา
    เพราะไม่ได้บริโภคอาหารเช่นนี้มาเป็นเวลานาน
    พระเถระรู้วาระจิตของเขา จึงขอให้เขาไปบริโภคยาคูของเขาเสีย
    ให้คนอื่นพัดท่านแทน แต่พระสารีบุตรบอกให้ไปพัดให้นายเคราแดง
    นายเคราแดงบริโภคจนอิ่มเต็มที่แล้ว
    มานั่งพัดพระเถระอีก ท่านพระสารีบุตรฉันเสร็จแล้ว
    ทำอนุโมทนา แต่ใจของนายเคราแดงฟุ้งซ่าน
    ไม่อาจส่งกระแสจิตไปตามธรรมเทศนาได้
    พระเถระสังเกตเห็นจึงถาม เขาตอบว่า
    "ท่านผู้เจริญ! ข้าพเจ้าได้ทำกรรมหยาบช้า
    มาเป็นเวลานาน ข้าพเจ้าฆ่าคนมาเป็นจำนวนมาก
    เมื่อระลึกถึงกรรมนั้นของตนแล้ว
    ก็ไม่สามารถส่งกระแสจิตไปตามธรรมเทศนาของท่านได้"
    พระเถระคิดว่าจักลวงเพื่อให้เขามีใจปลอดโปร่ง
    ฟังธรรมแล้วจักได้ผลมาก จึงถามว่า
    "ท่านทำเอง หรือใครให้ทำเล่า?"
    "พระราชาให้ข้าพเจ้าทำ ท่านผู้เจริญ" เขาตอบ
    "เมื่อเป็นเช่นนี้ อกุศลจักมีแก่ท่านได้อย่างไร"
    เมื่อได้ฟังดังนั้น นายเคราแดงเข้าใจว่า
    บาปไม่มีแก่ตน จึงตั้งใจฟังธรรม
    จนได้บรรลุอนุโลมขันติภายในโสดาปัตติมรรค (เป็นพระโสดาบัน)
    เมื่อพระเถระอนุโมทนาเสร็จเดินกลับ
    เขาเดินไปส่งพระเถระหน่อยหนึ่งแล้วกลับ
    ขณะนั้นเองแม่โคนมตัวหนึ่งขวิดเขาถึงแก่ความตาย
    ไปเกิดในภพดุสิต
    ภิกษุทั้งหลายทราบเรื่องนั้นแล้ว
    สนทนากันในธรรมสภาว่า
    นายเคราแดงตายแล้วไปเกิดที่ใดหนอ?
    พระศาสดาเสด็จมาตรัสบอกว่า
    ไปเกิดในภพดุสิต ภิกษุทูลถามว่า
    เขาทำกรรมอันหยาบช้ามาเป็นเวลานาน
    จะไปเกิดในภพดุสิตได้อย่างไร?
    พระศาสดาตรัสว่า
    "ภิกษุทั้งหลาย! บุรุษนั้นได้กัลยาณมิตรผู้ยิ่งใหญ่
    เช่นสารีบุตร แล้วได้ฟังธรรมแล้ว
    ยังอนุโลมญาณให้เกิดขึ้นแล้ว
    เมื่อสิ้นชีพจึงไปเกิดในภพดุสิต
    "ภิกษุทั้งหลาย! แม้เขาเคยฆ่าโจรมามากก็จริง
    แต่ฟังคำสุภาษิตแล้วได้อนุโลมขันติ
    ไปสู่เทวโลกแล้ว ย่อมบันเทิงใจ"
    "ข้าแต่พระองค์! บุรุษนั้นทำอกุศลกรรมไว้มาก
    เพียงแต่ได้ฟังอนุโมทนากถา
    จะยังคุณวิเศษให้เกิดขึ้นได้อย่างไร?"
    "ภิกษุทั้งหลาย! เธอทั้งหลาย
    อย่าถือเอาปริมาณแห่งคำสุภาษิตอันเราแสดงแล้ว
    ว่าน้อยหรือมาก เพราะว่าแม้เพียงคำเดียว
    แต่เป็นวาจาอันประกอบด้วยประโยชน์ย่อมประเสริฐโดยแท้"
    พระศาสดาได้ทรงสืบพระธรรมเทศนาต่อไปว่า
    "คำพูดแม้ตั้งพัน แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
    ย่อมสู้คำเดียวที่เป็นประโยชน์ไม่ได้"
    เป็นอาทิ มีนัยดังพรรณนามาแล้วแต่ต้น.
    ==================
    #ธรรมบทแห่งความดี เล่มที่ ๒
    #เพจอาจารย์วศิน อินทสระ
    #ท่านอาจารย์วศิน อินทสระ

    pLTOojfdPjq-xT&_nc_ohc=FkyW_SKHiRwAX9RBDZF&tn=6cH58Tvc5DnXEYO9&_nc_zt=23&_nc_ht=scontent.fbkk2-8.jpg
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,473
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,473
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...