สายพระป่ากรรมฐานลป.บุญจันทร์ อุดรธานี ลป.บุญหนัก หนองคาย

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Jumbo A, 17 สิงหาคม 2022.

  1. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,787
    ค่าพลัง:
    +21,343
    FB_IMG_1712688975286.jpg

    ประวัติหลวงปู่เย็น ทานรโต
    ชาติภูมิ
    หลวงปู่เย็น ทานรโต เกิดเมื่อวันเสาร์ เดือนสี่ ปีขาล พุทธศักราช ๒๔๔๕
    หมู่บ้านวังขรณ์ ต.เชิงกลัด อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี
    บิดาชื่อ นายเถิร ศรีศาสตร์ (ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า หมอถิน) มีอาชีพทำนา เป็นหมอแผนโบราณ ถอนคุณไสยต่าง ๆ
    มารดาชื่อ นางแช่ม ศรีศาสตร์
    มีบุตรธิดาด้วยกันทั้งหมด ๘ คน
    ๑.นายเย็น ศรีศาสตร์ เป็นบุตรคนหัวปี
    ๒.นางส้มเช้า ศรีศาสตร์
    ๓.นายเชื้อ ศรีศาสตร์
    ๔.นายชื้น ศรีศาสตร์
    ๕.นางเกลี้ยง ศรีศาสตร์
    ๖.นางจันทร์ ศรีศาสตร์
    ๗.นายเชื่อม ศรีศาสตร์
    ๘.นายบุญมี ศรีศาสตร์
    เด็กชายเย็น เป็นบุตรคนโต เป็นที่รักใคร่ของบิดา มารดา ชอบศึกษาเล่าเรียนตามบิดา เมื่อเด็กชายเย็น ถึงวัยที่จะต้องศึกษาเล่าเรียน นายถิน จึงได้พาเด็กชายเย็น ไปฝากเรียนที่วัดพระปรางค์และเหตุที่ต้องไปเรียนที่วัดพระปรางค์ ก็เพราะที่วัดวังขรณ์ ยังไม่มีพระที่จะให้การศึกษาจึงไปเรียนกับหลวงพ่อศรีที่วัดพระปรางค์ ต.เชิงกลัด อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี หลังจากที่เด็กชายเย็นได้ไปเล่าเรียนกับหลวงพ่อศรีพอที่จะอ่านออกเขียนได้แล้ว หลวงปู่ศรีเห็นว่าเณรเย็นมีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียนจึงได้พาสามเณรเข้าสู่กรุงเทพ แถวฝั่งธนบุรีพาไปฟากเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดระฆังโฆสิตารามด้วยความขยันหมั่นเพียรของสามเณรเย็นทำให้ที่สามารถที่จะสอบได้นักธรรมชั้นโทและเปรียญธรรม ๓ ประโยค

    อุปสมบท
    จนกระทั่งสามเณรเย็นมีอายุครบบวชจึงได้เดินทางกลับมาที่บ้านเกิดของท่านและหลังจากนั้น หมอถิน นางแช่ม และเครือญาติจึงพาสามเณรเย็นไปอุปสมบทยังวัดพระปรางค์เพราะในขณะนั้นวัดวังขรณ์ ยังไม่มีพระอุโบสถ โดยมี
    หลวงพ่อศรี เกสโร เป็นพระอุปชา
    หลวงพ่อทอง เป็นพระกรรมวาจา
    หลวงพ่อปลา จันทสุวัณโณ เป็นพระอนุศาสนาจารย์
    หลังจากนั้นหลวงปู่เย็น ท่านเดินทางกลับไปศึกษาเล่าเรียนที่วัดระฆังโฆสิตาราม จนสอบได้นักธรรมเอกและเปรียญธรรม ๕ ประโยค พร้อมกับไปเรียนพระธรรมวินัย ภาษาบาลี และภาษาขอม กับหลวงพ่อนาค จำพรรษาอยู่ที่วัดระฆังโฆสิตารามรวม ๙ ปี หลังจากนั้นหลวงปู่ก็เริ่มหัดเทศน์ โดยมีไหวพริบปฏิภาณเป็นเลิศไม่ว่าท่านจะไปเทศน์ในที่ใดก็ตามจะมีผู้คนไปคอยฟังมากมายเพราะสำเนียงการเทศน์ของท่านนั้นไพเราะ มีสำนวนโวหารที่ดี ในฐานะนักเทศน์ฝีปากเอก ที่ใดมีงานมงคลต่างๆ หรือแม้กระทั่งงานศพ หากประชาชนรู้ว่าได้นิมนต์มหาเย็นมาเทศน์ด้วยไม่ว่าอยู่ใกล้อยู่ไกลก็หลั่งไหลมาฟังเทศน์กันอย่างล้นหลาม การต่อมาวัดท่ากระแส จ.ชัยนาท จัดให้มีการฉลองศาลาการเปรียญ จึงให้มีการเทศน์สามธรรมมาสโดยพระนักเทศน์ ฝีปากเอกจากกรุงเทพฯ คือพระมหาเดช วัดอนงค์ฯ พระมหาป่วน วัดราชบูรณะฯ พระมหาเย็น วัดระฆังฯ ขณะที่ท่านบวชเป็นพระอยู่นั้นท่านมีนิสัยชอบสวดมนต์ทำวัตรเป็นกิจวัตรประจำวันไม่เคยขาดและสารยามนต์ที่ได้เรียนมาอยู่ทุก ๆวัน

    พบหลวงปู่เทพโลกอุดร
    วันหนึ่งขณะที่นั่งพักผ่อนในกุฏิก็ท่านเห็นพระธุดงค์รูปหนึ่งเดินแบกกลดสะพายบาตรผ่านมาใบหน้างามดูเป็นหนุ่มไม่แก่ชราเลย แต่เกศานั้นขาวโพลนไปหมด รูปร่างสูงใหญ่ จีวรสีคล้ำตามแบบพระป่า เกิดความรู้สึกเลื่อมใสศรัทธาขึ้นมาอย่างประหลาดใจในบุคลิกของท่าน จึงไปนิมนต์ท่านมาพักในกุฏิ พร้อมทั้งต้อนรับปฏิสันถารท่านเป็นอย่างดี เมื่อต้อนรับท่านเป็นที่เรียบร้อยแล้วจึงชวนท่านสนทนา เพราะขณะนั้นหลวงปู่เย็นอยากทราบว่าพระธุดงค์นั้นเขามีวัตรปฏิบัติอย่างไร และขณะธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆในป่าในดงนั้นไม่กลัวอันตรายต่างๆ บ้านหรือไร พระธุดงค์รูปดังกล่าว เมตตาอธิบายเรื่องธุดงควัตรเป็นอย่างดี “การธุดงค์นี้เป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส พระผู้สมาทานธุดงค์นั้นต้องรักษาศีลให้บริสุทธิ์หมดจด เพราะหากศีลด่างพร้อยแล้วย่อมเป็นอันตรายต่อตัวเองขณะธุดงค์ได้ การธุดงค์นั้นมีข้อวัตร ๑๓ ประการ เช่นอยู่ในป่า อยู่ที่แจ้ง อยู่ในเรือนร้าง ใช้ผ้าสามผืน หลังไม่เอนติดพื้น ฉันรวมกันในบาตรเป็นต้น ธุดงควัตรทุกข้อเป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลสในใจตนทั้งสิ้น หากว่ามีธุดงควัตรเรียบร้อยงดงาม อำนาจแห่งธุดงควัตรนั่นแลจะรักษาผู้ประพฤติปฏิบัติให้พ้นจากภัยอันตรายต่างๆ เทวดาจะพากันอนุโมทนา เมื่อหลวงปู่เย็นถามว่าท่านธุดงค์ไปที่ใดมาบ้างและไม่กลัวอันตรายหรือ พระธุดงค์ลึกลับกล่าวว่าท่านธุดงค์ไปมาทั่ว ไม่ว่าประเทศไทย พม่า ลาว เขมร ท่านไปมาหมด ในป่าลึกนั้นเต็มไปด้วยอันตรายนาๆ ประการ ทั้งไข้ป่า สัตว์ร้าย ภูตผีปีศาจนานาชนิด
    ท่านยังเมตตาเล่าให้หลวงปู่เย็นฟังว่า ครั้งหนึ่งท่านธุดงค์ไปยังเมืองลาว ต้องเดินผ่านเข้าไปยังหมู่บ้านหนึ่งที่มีชื่อว่า “บ้านแก้ว” ซึ่งเป็นที่เลื่องลือในเรื่อง “ยาพิษยาสั่ง” คนแปลกหน้าผ่านเข้าผ่านไปในหมู่บ้านเป็นต้องถูกลองยาเสมอ น้อยคนนักจะออกมาได้อย่างปลอดภัย มีคนลองวิชาแต่ท่านไม่เป็นไร พร้อมทั้งพูดปริศนาว่า “เขาทำให้ตาย กินข้าวได้เราไม่กลัว” ซึ่งเป็นคำปริศนาธรรม หมายถึงการทำยาสั่งยาเบื่อใส่ แต่พระลึกลับรูปนี้สามารถทานข้าวปลาอาหารที่มียาเบื่อยาสั่งได้โดยเมื่อยิ่งพูดยิ่งคุยยิ่งสนทนากับพระลึกลับรูปนี้แล้วก็ทำให้หลวงปู่เย็นทราบขึ้นมาแน่ชัดว่า พระรูปที่กำลังนั่งสนทนากับท่านข้างหน้านี้หาใช่พระภิกษุปุถุชนธรรมดาไม่ แต่หากเป็นพระผู้วิเศษที่สำเร็จฤทธิ์อภิญญาตามวิชชาชั้นสูงของพระพุทธศาสนา หรือท่านอาจเป็นพระอริยเจ้าผู้อยู่เหนือโลกไปแล้ว

    วิชาตัว พ พาน หลวงปู่ใหญ่
    พระธุดงค์ได้มอบของวิเศษอย่างหนึ่งไว้ให้หลวงปู่เย็นบอกว่าสร้างวัดได้ พระธุดงค์รูปนั้นเอื้อมมือหยิบก้านธูป ที่จุดหมดดอกแล้วหน้าหิ้งพระมาก้านหนึ่งแล้วนำมาหักเป็นสี่จังหวะให้เป็นรูปตัว “พ” ต่อจากนั้นก็หยิบสายสิญจน์มาพันพร้อมทั้งบริกรรมกำกับคาถา จนสำเร็จเป็นรูปตัว “พ.พาน” ต่อจากนั้นก็ยื่นให้หลวงปู่เย็น และได้กำชับว่าตัว “พ” นี้คือ พ่อพระพุทธ พ่อพระธรรม พ่อพระสงฆ์ ผู้ใดได้ไว้ครอบครองตั้งมั่นในศีลธรรม
    เป็นของดีที่วิเศษ ยิ่งกว่าสิ่งใดๆ ในโลกนี้ แก้วแหวนเงินทอง ทรัพย์สินใดๆ ในโลกนี้ มนุษย์หรือปุถุชนจะไขว่คว้าหามาได้โดยไม่ยากแต่ของวิเศษ ดีเลิศ ประเสริฐ ยิ่งกว่า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่มีอีกแล้วที่ดีกว่านี้
    พอ พอ แล้ว ผู้รู้จักพอคือเศรษฐี คือผู้ค้นพบความร่ำรวย ผิดกับผู้ไม่รู้จักพอย่อมเป็นผู้ทุกข์อยู่กับการดิ้นรนแสวงหาเรื่อยไป”
    หลวงปู่เย็นรับ “พ.พาน” ตัวเศษจากพระภิกษุลึกลับรูปนี้ด้วยความปลาบปลื้มใจ หลวงปู่เย็นท่านจึงได้ก้มกราบพระธุดงค์รูปนั้นสามครั้ง แต่พอครั้นเงยหน้าขึ้นมาปรากฎว่า พระธุดงค์รูปนั้นได้หายไปอย่างไรร่องรอย นับว่าน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง เป็นสิ่งเหลือเชื่อที่เกิดขึ้นกับหลวงปู่เย็นขณะอยู่ในวัยหนุ่ม เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่ “วัดระฆัง” ฝั่งธนบุรี ซึ่งเป็นเหตุการณ์สำคัญที่หลวงปู่เย็นท่านจำได้ดีตลอดมา “ท่านบอกว่าชื่ออะไรก็ไม่รู้แต่จำหน้าท่านได้แม่นยำ มารู้ที่หลังว่าเป็นใครก็ตอนที่เขาพิมพ์เรื่องหลวงปู่โลกอุดรนี่แหละ” หลวงปู่เย็นชี้ให้ดูรูป “พระครูโลกอุดร” ที่ท่านใส่กรอบตั้งไว้บูชาข้างหัวนอนและว่า “อาจารย์รูปนี้แหละ ที่ทำให้สร้างวัดสร้างวาได้สำเร็จ”

    หลวงปู่จึงได้เดินทางกลับมายังวัดพระปรางค์พร้อมกับได้นำเรื่องดังกล่าวมาเล่าให้หลวงปู่ศรีฟัง หลวงปู่ศรีท่านก็มิได้พูดอะไรเพียงแต่ยิ้มตอบมาเท่านั้นเพราะหลวงปู่ศรีท่านเก่งในด้านทางในสามารถทราบเหตุการณ์ล่วงหน้าได้ในขณะนั้นหลวงปู่ศรีท่านมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย หลวงปู่เย็นเป็นศิษย์พี่ศิษย์น้องกับ หลวงพ่อกวย ในบางครั้งก็มีการแลกเปลี่ยนคาถากัน จากที่แต่ละคนได้ไปเรียนมาจากท่านอาจารย์ต่างๆ หลวงปู่ศรีท่านเมตตาสอนพระคาถาให้หลวงปู่เย็นทุกแขนงเท่าที่ท่านรู้จนหมดสิ้นหลังจากนั้น หลวงปู่ศรีก็ส่งหลวงปู่เย็นไปเรียนวิชากับหลวงปู่อิ่ม ที่ ต.หัวเขา อ. เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี ในขณะนั้นท่านก็เป็นเกจิอาจารย์ชื่อดังเหมือนกัน หลวงปู่อิ่มท่านมีวิทยาคมที่แก่กล้าทั้งมหาอุต เมตตา นะงังงัง เช่นท่านสามารถเสกแร่ได้ ใน ๑๕วัน ปืนยิงไม่ติด คาถาโจรใจอ่อนหรือนะจังงัง วิชาอาคมการผสมธาตุ วิชาแพทย์แผนโบราณ แต่หลวงปู่อิ่มท่านมีวิชาวิเศษอย่างหนึ่ง คนเฒ่าคนแก่ร่ำลือกันว่าท่านมีวิชามือยาวใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาดหลังคาโบสถ์ หลวงปู่อิ่มท่านมีความเมตตาหลวงปู่เย็นมากเพราะท่านคอยดูแลปรนนิบัติหลวงปู่อิ่มอย่างดี เช่น คอยบีบนวดให้ คอยต้มน้ำชาให้หลวงปู่อิ่ม ท่านจึงเมตตา สอนวิชาที่ท่านรู้ให้กับหลวงปู่เย็นจนหมดสิ้นโดยไม่ปิดบังเลยแม้แต่วิชาเดียว หลวงปู่เย็นท่านมีน้องชาย ๔ คนได้แก่ พระเชื้อ พระชื้น พระเชื่อม และ สามเณรบุญมี ในที่นี้จะบอกกล่าวถึงพระเชื้อท่านเป็นพระที่คงแก่เรียนทางด้านการรักษา ปรุงยา มีลูกหลานเล่าว่า ท่านสามารถเสกข้าวสารใหหุงเท่าไรก็ไม่หมด สามารถเสกข้าวสุกให้เป็นกุ้งได้ เสกใบมะขามให้เป็นต่อแตน เสกตะคตเป็นงู ฉีกกระดาษสาให้เป็นตะขาบ ในขณะที่วัดวังขรณ์ยังไม่มีพระอุโบสถและได้กำลังช่วยเหลือจากพี่น้องตระกูลศรีศาสตร์ช่วยกันสร้างจนสำเร็จแม้แต่หลวงปู่เย็นก็ยังเอ่ยปากชมพระน้องชายท่านเก่งทางวิทยาคมมาก

    ท่านจะต้องสึก
    แต่ชีวิตของมนุษย์ย่อมมีความผันแปรไปตามกรรมซึ่งก็ได้เกิดขึ้นกับหลวงปู่เย็นอยู่มาวันหนึ่งขณะที่ท่านกำลังบีบนวดให้หลวงปู่อิ่มอยู่นั้น หลวงปู่อิ่มท่านก็ได้กล่าวขึ้นว่า ท่านเย็น ท่านจะต้องสึก ซึ่งก็ทำหลวงปู่เย็นรู้สึกแปลกใจแต่ท่านก็ไม่ได้พูดอะไรโต้ตอบแล้วอยู่มาวันหนึ่งก็มีเหตุให้ท่านต้องสึกไปจริงๆเมื่อกรรมเก่าในอดีตได้ตามมาทวงหนี้ท่านจึงทำให้ท่านต้องสึกแล้วท่านก็ได้เข้าไปหาหลวงปู่อิ่มซึ่งพอหลวงปู่เย็นเข้าไปหาหลวงปู่อิ่มท่านก็รู้ในทันที่ว่าหลวงปู่เย็นมาเพื่อเหตุอะไร จึงพูดกับหลวงปู่เย็นว่า ก่อนท่านจะสึกเราจะขอท่านไว้อย่างหนึ่ง จะได้ไหมซึ้งหลวงปู่เย็นก็คิดไปว่าหลวงปู่อิ่มจะไม่ให้มีภรรยาเป็นแน่ แต่กลับไม่ใช่อย่างนั้น หลวงปู่อิ่มจึงได้กล่าวขึ้นไปว่า ปัจจัยที่ได้จากการเทศน์ก็ดี จากการสวดก็ดี
    ขอท่านอย่างได้นำออกไปใช้ข้างนอกเลยเพราะปัจจัยเหล่านั้นเป็นปัจจัยที่เขาอนุโมทนาแล้วเป็นทรัพย์บริสุทธิ์ ขอท่านจงใช้ในกิจทางศาสนาให้หมดเถิด หลังจากนั้นหลวงปู่เย็นพร้อมก้มกราบลาเพื่อเดินทางไปลาสิกขาบทกับหลวงปู่ศรีแม้ว่าหลวงปู่ศรีท่านจะรู้สึกเสียดายก็ตามแต่ก็ไม่สามารถที่จะรั้งไว้ได้เพราะกรรมนั้นได้ตามมาบั่นทอนแล้วเพราะมนุษย์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม (แล้วหลังจากนั้นในปี พ.ศ.๒๔๘๔ หลวงปู่ศรีก็ได้มรณภาพ ด้วยท่านเป็นพระบริสุทธิ์ในวันที่พระราชทานเพลิงศพได้เกิดเหตุที่หน้าอัศจรรย์ขึ้นคือคนเฒ่าคนแก่ที่มาในงานได้เล่าว่ามีดาวขึ้นในตอนกลางวันซึ่งหลังจากงานพระราชทานเพลิงศพมีการแบ่งพระอัฐิกันหลวงปู่เย็นก็ได้รับแบ่งมาส่วนหนึ่ง เมื่อเวลาผ่านไปนานเข้าอัฐิหลวงปู่ศรีก็กลับแปลสภาพกลายเป็นพระธาตุสีขาวใสดุจดวงดาวในยามราตรีท่านเป็นพระที่น่าเคารพเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่งเป็นพระสุปฏิปันโน)

    โยกย้ายถิ่นฐานไปยังจังหวัดสุพรรณบุรี
    หลังจากที่หลวงปู่เย็นได้ลาสิกขาบทท่านก็ได้แต่งงานกับนางมาย มีบุตรธิดารวมกันทั้งสิ้น ๖ คน นายเย็นและนางมายได้ทำการอพยพโยกย้ายถิ่นฐานไปยัง หมู่บ้านหนองบอน ต.โคกช้าง อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี ในสมัยที่หลวงปู่ย้ายมานั้นมีแต่ต้นไม้และมีป่าไผ่จำนวนมากมายนายเย็นและภรรยาช่วยกันทำงาน รับจ้างเลี้ยววัวเลี้ยงควาย เช่านาทำ จนมีเงินมีเงินทองมากมาย และมีที่นาถึง ๕๐๐ ไร่พร้อมกับได้วัวอีกหนึ่งฝูงในสมัยนั้น
    ตัวท่านเองนั้นนอกจากจะช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพกสิกรรมแล้ว ยังมีฝีมือในเชิงช่างหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นช่างไม้ ช่างปูน แม้กระทั้งการออกแบบบ้านเรือน หรือวัดวาอารามตลอดจนสลักลวดลายท่านก็ทำได้และฝีมือดีมากเสียด้วย
    นายเย็นนอกจากจะมีอาชีพทำนาเลี้ยงวัวเป็นช่างแล้วยังมีอาชีพคอยเป็นหมอให้การรักษาผู้คนที่เจ็บป่วยซึ่งท่านก็ได้ร่ำเรียนมาจากบิดาของท่านและจากหลวงปู่ศรี หลวงปู่อิ่ม พร้อมทั้งมีคาถาเมตตา จังงัง คงกระพัน มหาอุต แต่ทางด้านรักษาผู้คน ไม่ว่าจะเป็นฝีชนิดไหน หรือการเจ็บป่วยแบบไหนก็ตาม นายเย็นก็จะรักษาด้วยการนำเหล็กแดงไปเผาไฟแล้วจากนั้นก็นำไปแทงที่ฝีหรือในบริเวณที่มีอาการเจ็บปวดซึ่งเมื่อได้รับการรักษาจากนายเย็นแล้วมีอาการดีขึ้นหายเป็นปลิดทิ้ง เมื่อนายเย็นใช้เหล็กแทงแล้วท่านก็ทำน้ำมนต์ที่ท่านเสกเป่าทาไปที่บาดแผลนั้นประกอบกับใช้ยาแผนโบราณ นายเย็นรักษาผู้คนด้วยจิตที่เมตตาโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนแต่อย่างใดเพราะในสมัยนั้นเงินทองเป็นของหายาก แต่ก็มีผู้คนบางส่วนที่ได้สำนึกในบุญคุณของนายเย็นจึงได้นำสิ่งตอบแทนมาให้จนทำให้ครอบครัวของนายเย็นมีฐานะที่ดีขึ้นและเมื่อเข้าสู่ฤดูของการทำนาก็จะมีผู้คนที่เคยมาให้นายเย็นรักษาให้มาที่ช่วยกันไถนา ดำนา ให้นายเย็นและไม่ขอค่าตอบแทนเลยแม้แต่อย่างเดียวในขณะที่นายเย็นได้ครอบครองเพศคฤหัสถ์อยู่นั้น นายเย็นเป็นผู้ที่รักในการสวดมนต์ทำวัตรเป็นอย่างมากโดยเป็นการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องไม่เคยขาด ไม่ว่าจะเป็นพระคาถาเวทย์มนต์คาถาต่าง ๆมาท่องจำอยู่บ่อยจึงทำให้มีจิตใจเข้มแข็งมั่นคงเข้มขลังเป็นอย่างมาก

    อุปสมบทครั้งที่ ๒
    จนเมื่อนายเย็นอายุอย่างเข้าปีที่ ๔๙ นั้น มีอยู่คืนหนึ่งนายเย็นได้สวดมนต์ไปจนค่อนรุ่งจึงรู้สึกเมื่อยเนื้อเมื่อยตัวหวังจะเอนตัวลงนอน ในขณะนั้นเองก็มีคนมาเรียกนายเย็นจึงได้ออกไปดู จึงได้พบเข้ากับพระภิกษุรูปหนึ่งยืนหน้าประตู เมื่อนายเย็นเห็นก็ก้มลงกราบที่เท้าของท่านแล้วพระภิกษุรูปนั้นก็ได้กล่าวขึ้นว่า ถึงเวลาแล้วที่ท่านต้องไปกับเราแล้ว นายเย็นจึงตอบไปว่า ได้ขอรับ แต่กระผมขอจัดการทางบ้านให้เรียบร้อยก่อน พอรุ่งเช้านายเย็นจึงได้เรียกภรรยาและบุตรธิดาเข้ามาเพื่อทำการแบ่งสมบัติให้และก็ได้จัดแจงแบ่งสมบัติให้บุตรธิดาและภรรยาได้ที่นาไปคนละ ๕๗ ไร่ เมื่อทำการแบ่งสมบัติให้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว นายเย็นก็ได้กล่าวคำสั่งสอนบุตรธิดาไว้ว่าให้ขยันรักษาทรัพย์อย่าประมาท พร้อมกับกล่าวคำลาสุดท้ายว่า “พ่อจะไปแล้ว” แม้ว่าบุตรธิดาจะถามว่าไปไหนนายเย็นก็ไม่ได้ตอบแล้วก็ก้าวเท้าออกจากบ้านไปและเมื่อบุตรธิดาเดินตามออกมาดูก็ไม่พบนายเย็นเพราะนายเย็นได้ใช้คาถากำบังตนและคาถาย่นหนทางทำให้บุตรธิดาและภรรยาไม่สามารถตามมาได้ทัน เมื่อเดินออกจากทางบ้านมาแล้วนายเย็นก็มุ่งหน้าเดินทางไปยังวัดหัวเขาและเมื่อเดินทางมาถึงนายเย็นก็เข้าไปหาหลวงพ่อแขก (พระครูอเนกคุณากร) เพื่อแจ้งความประสงค์ว่าจะบวช เมื่อหลวงพ่อแขกทราบเรื่องท่านก็ได้จัดการทำพิธีอุปสมบทให้นายเย็นซึ่งหลวงปู่อิ่มได้เคยบอกกับท่านไว้ว่าวันหนึ่งนายเย็นจะกลับมาบวชอีกครั้ง ขอท่านจัดการให้นายเย็นแทนเราด้วย โดยมี
    พระอุปชา คือ หลวงพ่อแขก(พระครูอเนกคุณากร)
    พระกรรมวาจา พระยวด
    พระอนุศาสนาจารย์ พระวิทยา
    อุปสมบทเมื่ออายุ ๔๗ ปี วันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๔๙๘ เวลา ๑๕.๓๐ นาฬิกา ณ วัดหัวเขา จำพรรษา เป็นเวลา ๑ เดือน แล้วหลวงปู่เย็นก็ได้เข้าไปกราบลาอุปชาเพื่อขอไปปรีกวิเวกหลังจากที่หลวงปู่เย็นจัดเตรียมสัมภาระเรียบร้อยแล้วก่อนจะเดินทางหลวงปู่ก็ได้กราบลาอุปชาอีกครั้ง หลวงปู่เย็นจึงเริ่มเดินธุดงค์เดินทางไปสู่ภาคเหนือและอีสาน ผ่านป่าไม้ ผ่านถ้ำ ผ่านเขา ถ้าท่านผ่านไปที่ใดมีชาวบ้านบอกว่าพระอาจารย์ที่ไหนดังทางด้านวิปัสสนา ท่านจะเข้าไปหาขอฟากตัวเป็นศิษย์เพื่อขอเรียนวิชา หลวงปู่เย็น ทานรโต ได้พบ “หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ พบในป่าแถบลพบุรี ท่านเป็นพระดี พระเก่ง พูดน้อย ปฏิบัติมาก เวลาไปไหน พบต้นไม้ใหญ่ ๆ ท่านจะยืนคุยกับรุกขเทวดา สักพักท่านจึงเดินทางต่อไป เวลาท่านพักตามถ้ำ จะได้ยินท่านพูดคุยกับรุกขเทวดา บางครั้งท่านก็แสดงธรรมแผ่เมตตา” หลวงปู่ได้ติดตามอยู่เป็นเวลาไม่นานมากนักและได้ร่ำเรียนวิชาต่างๆจากท่าน และแยกกับอาจารย์ธุดงค์ไปเรื่อย หลวงปู่เย็นได้ร่ำเรียนวิชาสายหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ได้พบอาจารย์อีกหลายท่าน หลวงปู่เย็นเดินทางท่องเที่ยวอยู่ในป่าเขาเป็นเวลานาน ในขณะที่ปฏิบัติกรรมฐานบางครั้งบางคราวก็เกิดติดขัด แต่ครูท่านก็จะมาแนะนำให้หลวงปู่เย็นเดินหน้าปฏิบัติธรรมเช่นนี้เป็นเวลานานจนอายุย่างเข้า ๖๐ ปี เมื่อท่านมองดูสังขารตัวเอง ท่านก็คิดในใจว่าสังขารเราก็เริ่มชราภาพแล้วไม่ควรเดินทางต่อไปแล้ว เมื่อท่านคิดเช่นนั้นแล้วท่านก็คิดที่จะหวนกลับไปยังบ้านเกิดแล้วในวันรุ่งขึ้นหลวงปู่เย็นก็เดินทางกลับ

    “สร้างวัดกลางชูศรีเจริญสุข”
    เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๗ หลวงปู่เย็นได้ธุดงค์ผ่านไปทางอำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี พบเจดีย์องค์หนึ่งซุกอยู่ในดงหญ้ารกทึบอยู่ในสภาพทรุดโทรม จึงรู้ว่าอดีตเคยเป็นวัดที่ถูกปล่อยปะละเลยทิ้งให้รกร้างหลวงปู่จึงปักกรดอยู่ที่หน้าวัด ในวันรุ่งเช้าหลวงปู่เย็นออกบิณฑบาตอยู่นั้นก็มีญาติโยมที่เคยได้รับการอุปถัมภ์จากหลวงปู่เย็นในครั้งที่หลวงปู่เป็นคฤหัสถ์ได้กราบนิมนต์หลวงปู่ให้จำพรรษา ณ วัดริ้วกรูด ต.พักทัน อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี เพื่อให้หลวงปู่เย็นมาสร้างวัด ณ ที่แห่งนี้ และจะได้ใช้เป็นที่ยึดเหนียวจิตใจของผู้คน ด้วยกุศลเจตนาที่บังเกิดขึ้นในดวงจิตอย่างแรงกล้า จึงตั้งปณิธานที่จะบูรณะก่อสร้างขึ้นมาใหม่ หลวงปู่เย็นลงมือถากถางป่า แล้วหลวงปู่เย็นก็ได้ดำเนินการก่อสร้างกุฏิ เพื่อใช้จำพรรษา ในไม่ช้าการก่อสร้างวัดก็เริ่มขึ้น ซึ่งในตอนที่หลวงปู่เย็นไปอยู่ที่วัดระฆังนั้นท่านเห็นการก่อสร้างวัดท่านจึงได้เรียนและจดจำมา ทำให้หลวงปู่เย็นมีความรู้ทางด้านนี้อีกแขนง หลวงปู่เย็นจึงเริ่มสร้างศาลาอเนกประสงค์เพื่อใช้ประกอบพิธีทางศาสนา ทำบุญวันพระ หลวงปู่เย็นท่านชอบปลูกต้นไม้เป็นอาจิน เช่น มะพร้าว, มะละกอ, กล้วย ,ขนุน มะปราง ,มะม่วง, และพืชที่ใช้ทำยา เป็นต้น และแล้วศาลาเอนกประสงค์ก็สำเร็จเสร็จไปหนึ่งหลัง ปัจจัยส่วนใหญ่ก็ได้มาจากการจำหน่ายตัว พ และการทำบุญจากการเป็นหมอรักษาผู้คน เมื่อศาลาอเนกประสงค์สร้างเสร็จเป็นที่เรียบร้อย หลวงปู่เย็นก็เริ่มสร้างโบสถ์โดยลงมือสร้างด้วยตัวท่านเองกับชาวบ้านไม่กี่คนในปี พ.ศ.๒๕๑๐ กว่า ๆ ในการสร้างโบสถ์จำเป็นต้องใช้ทุนทรัพย์มาก จึงเป็นเหตุให้หลวงปู่เย็นต้องสละสมบัติส่วนตัวของท่าน จึงขายนาที่ จ.สุพรรณบุรี ๕๐ ไร่เพื่อเอาเงินมาสร้างโบสถ์ ซื้ออิฐ หิน ปูน ทราย และวัสดุก่อสร้าง และนำไปใช้ในการซื้อที่ดินที่ติดกับบริเวณวัดเพื่อสร้างเป็นสถานศึกษาในปัจจุบันก็คือ โรงเรียนวัดกลางชูศรีเจริญสุขนั่นเอง การสร้างโบสถ์ก็ได้ดำเนินไปเรื่อยๆ จนปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ก็ได้ฉลองพระประธาน และสร้างโบสถ์เสร็จในปี พ.ศ.๒๕๒๒ หลวงปู่เย็นได้จัดงานปิดทองฝังลูกนิมิต
    ต่อมาก็สร้าง หอสวดมนต์, ขุดสระ ,สร้างเมรุเผาศพ (เสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๓๔) จนกลายเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรืองสวยงาม มีนามว่า “วัดกลางชูศรีเจริญสุข” จากวัดร้างให้กลับรุ่งเรืองขึ้นมาอีกครั้ง ในชั้นแรกนั้นเป็นเงินจากการขายที่นาหลวงปู่เย็น ต่อมาเมื่อชาวบ้านได้เห็นเจตนาอันบริสุทธิ์ของท่านก็นำวัสดุก่อสร้างมาถวาย ผู้ใดถวายปูน ๑ ถุง หลวงปู่ก็มอบอักษร “พ”ให้หนึ่งตัว ปรากฏว่าตัว “พ”ที่หลวงปู่เย็นได้มอบสมนาคุณให้ไปนั้น ผู้ที่รับไปแล้วต่างประสบอภินิหารกันหลายต่อหลายราย ตั้งจิตอธิษฐานขอสิ่งใดมักจะสมหวังในสิ่งนั้นเสมอ เป็นที่เล่าลือจากปากต่อปาก จึงมีคนมาขอตัว “พ”จากหลวงปู่เย็นจำนวนมากผู้คนที่มาจากที่ไกลไม่สามารถขนปูนมาได้ ก็ถวายปัจจัยตามราคาของปูน ๑ ถุง หลวงปู่ก็มอบตัว “พ”ให้ไป ๑ ตัว แต่ก่อนปูนถุงละ ๒๐ บาท ใครถวาย ๒๐ บาท ก็จะได้ตัว “พ” ไป ๑ ตัว เมื่อปูนขึ้นราคา ตัว “พ” ของหลวงปู่เย็นก็ขึ้นราคาตามไปด้วย ซึ่งผู้ที่รับไปไม่เคยคิดในเชิง “พุทธพาณิชย์” แม้หลวงปู่เย็นจะพูดอย่างอารมณ์ดีเสมอว่า “ตัว พ ของข้าเป็นพุทธพาณิชย์” ทุกคนก็รู้ว่าเงินทุกบาททุกสตางค์ที่ท่านได้มาล้วนแต่ถูกนำไปใช้ในการก่อสร้างถาวรวัตถุภายในวัดทั้งสิ้น ช่วงที่หลวงปู่เย็นบูรณะก่อสร้างวัดกลางชูศรีเจริญสุขนี้ ในแต่ละวันหลังจากท่านออกบิณฑบาตฉันอาหารเสร็จ ก็จะมาขนหินขนทรายผสมปูนก่อสร้างหรือทำงานช่างไม้ด้วยตัวท่านเอง ถ้ามีญาติโยมเจ็บป่วยมาให้รักษา ท่านจะทำหน้าที่เป็นหมอ รักษาด้วยยาแผนโบราณบ้าง น้ำมนต์บ้าง โดยเฉพาะเรื่องฝีและแผล เนื้อร้ายแผลเน่านั้น หลวงปู่เย็นมีวิธีรักษาที่เฉียบขาดไม่เหมือนใคร ท่านจะใช้เหล็กเผาไฟจนแดงแทงตรงที่เป็นฝีแล้วพรมน้ำมนต์ ไม่กี่วันก็หานอย่างน่าอัศจรรย์ แม้กระทั่งในปัจจุบันก็ยังมีคนไปให้ท่านรักษาอยู่เสมอ ตกกลางคืนหลังจากที่ท่านไหว้พระสวดมนต์แล้ว หลวงปู่เย็นก็จะมานั่งหักก้านธูปทำตัว “พ” ไว้แจกจ่ายสมนาคุณผู้ที่นำปูนมาถวายจึงกล่าวได้ว่าสิ่งก่อสร้างรุ่นเก่าภายในวัดกลางชูศรีเจริญสุข ไม่ว่าจะเป็นโบสถ์ กุฏิธรรมฐาน กุฏิต้อนรับญาติโยม เมรุ ล้วนแล้วแต่เกิดจากฝีมือของหลวงปู่เย็นทั้งสิ้น

    นิมนต์หลวงปู่บุดดา ถาวโร มาสร้างความเจริญต่อ
    วันหนึ่งในปี พ.ศ.๒๕๒๐ ฉันและคณะได้ไปกราบหลวงพ่อบุดดา ที่วัดอาวุธฯ ท่านไม่อยู่ฉันคอยอยู่สักครู่ท่านก็เดินทางกลับมาถึง และบอกว่าพึ่งกลับมาจากวัดพิกุลทอง สิงห์บุรี ฉันและคณะก็อยากจะฟังเทศน์หลวงปู่บุดดา แต่มหาทองเขาบอกว่า อย่าเพิ่งให้ท่านเทศน์เลย ท่านมาเหนื่อยๆสักพักหนึ่งพวกลูกศิษย์เขาบอกอีกว่าอยากฟังเทศน์ ฉันสงสารหลวงปู่บุดดาเห็นท่านเหนื่อยมา ฉันเลยเทศน์แทนหลวงพ่อบุดดา ฉันเทศน์ไปก็เอาตะละปัดบังหน้าไว้ (เพราะฉันอายท่าน) หลวงปู่บุดดาก็นั่งพนมมือฟังเทศน์ฉันจนจบ หลังจากนั้นฉันก็ไปเยี่ยมหลวงปู่บุดดาเสมอ ฉันขอบใจในปฏิปทาของท่าน ในใจคิดอยากนิมนต์ท่านมาอยู่วัดฉัน แต่ก็คิดว่าท่านคงไม่ไปหรอก เพราะวัดฉันเป็นวัดบ้านนอก
    ในปี พ.ศ. ๒๕๒๓ หลวงปู่เย็นได้ไปกิจนิมนต์ไปวัดทุ่งสามัคคีธรรม หลวงปู่บุดดาที่ขึ้นธรรมมาสน์ มีสำเนียงการเทศน์น่าฟังยิ่งนัก เสียงไพเราะจับจิตน่าเลื่อมใสเป็นอย่างมาก อีกทั้งกิริยาเต็มไปด้วยความสงบเยือกเย็นบ่งบอกถึงการเป็นพระนักปฏิบัติธรรม ในใจเกิดความผูกพัน จึงอยากได้พระรูปนี้มาอยู่ที่วัดที่ท่านกำลังสร้างอยู่ เพื่อจะได้ช่วยกันสร้างความเจริญรุ่งเรือง ด้วยเกรงว่าจะพาท่านมาอดมาอยาก ลำบากเสียเปล่าๆ ก็มานึกว่าหลวงปู่บุดดาไม่ไปอยู่ก็ไม่เป็นไร ฉันก็ลองนิมนต์ดู ทีแรกฉันคิดว่าจะนิมนต์ท่านไปพักค้างคืนที่วัดกลางชูศรีเจริญสุขสักคืนหนึ่งโดยขอให้มาอยู่สักพักหนึ่งคืนก็ได้ หรือถ้าอยู่นานได้ยิ่งดี พระเทศน์รูปนั้นรับปากทันที และบอกหลวงปู่เย็นว่าจะอยู่นานทีเดียวละ หลังจากที่หลวงปู่บุดดา มาจำพรรษาอยู่ด้วยแล้ว หลวงปู่เย็นก็ได้สร้างวัดกลางชูศรีเจริญสุขให้เป็นวัดของนักปฏิบัติธรรมโดย แท้จริง โดยมีหลวงปู่เย็นเป็นผู้นำในการเจริญภาวนา วิปัสสนากรรมฐานเมื่อวัดกลางชูศรีฯ เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาสมตามที่หลวงปู่เย็นได้ตั้งปณิธานไว้แต่ต้น ท่านก็ถวายวัดให้หลวงปู่บุดดาแล้วฉันก็ไปอยู่วัดสระเปรียญจนทุกวันนี้

    นิมนต์มาสร้างวัดสระเปรียญ
    ในปี พ.ศ.๒๕๒๗ แม่ชีมณีและหลวงตาชุ่มเดินทางไปอาราธนานิมนต์หลวงปู่เย็นให้มาสร้างความเจริญที่วัดสระเปรียญ ซึ่งในขณะนั้นวัดกลางชูศรีก็เจริญมากแล้ว หลวงปู่เย็นรับปากว่าจะช่วยพัฒนา ตอนที่หลวงปู่เย็นมานั้น ทางกรมศาสนาได้ขึ้นทะเบียนเป็นวัดร้างมาแล้วประมาณ ๖๐-๗๐ ปี สิ่งที่หลงเหลือให้เห็นจึงมีแต่เพียงซากอิฐเก่าในดงหญ้ารก ซึ่งสันนิษฐานว่าจะเป็นโบสถ์ที่หักทรุดลงมาและมีอายุยาวนานมากหลายยุคสมัย และใบเสมาแกะสลักที่เหลืออยู่เพียงครึ่งใบอีก ๒-๓ ชิ้น จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าที่อาศัยอยู่ในละแวกใกล้กับวัดมานานกล่าวว่า สมัยก่อนโน้นมีคนเข้ามาขุดหาของมีค่าในวัดร้าง และได้ไปเป็นสมบัติส่วนตัวหลายชิ้น เช่นพระพุทธรูปบูชา ขนาดย่อม พระเครื่องของใช้ทำด้วยสัมฤทธิ์ โลหะ อื่นๆ และเครื่องปั้นดินเผา ตลอดจนพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ขนาดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันหลวงพ่อนาค ประดิษฐานอยู่ที่พระอุโบสถวัดหัวเด่นเดิมที่นั้น ชาวบ้านหัวเด่นเล่าว่าสมัยที่ตนเป็นเด็ก คุณครูใช้มาขนก้อนอิฐ ลูกนิมิต จากวัดสระเปรียญ ไปสร้างวัดหัวเด่น ดินผ่านขนาเห็นแขนผีบ้าง ขาบ้างโพล่ กองอิฐนั้นสูงท่วมหัว ในบริเวณวัดร้างสระเปรียญเป็นป่าช้าผีดิบ ชาวบ้านมักจะนำศพคนตายมาฝัง เพราะในสมัยนั้นยังไม่ได้เผา จึงเป็นสถานที่ ที่มีผีดุ แม้แต่ในช่วงเวลากลางวันยังไม่มีใครกล้าเข้ามา วัดร้างสระเปรียญมีเนื้อที่ทั้งหมด ๙๗ ไร่ ๓ งาน
    การพัฒนาวัดของหลวงปู่เย็นนั้นถูกต่อต้านในบริเวณวัดนี้และมักจะถูกขัดขว้างอยู่เป็นประจำ หลวงปู่ใช้เงินส่วนหนึ่งไปกับการซื้อทางเข้าวัด ซึ่งเดิมเป็นที่ของวัด ขณะนั้นใช้ทำการเกษตร ในวัดสระเปรียญแห่งนี้มีสระน้ำศักดิ์สิทธิ์อยู่ ๓ สระ แต่ต่อมาภายหลังได้ถมเสียสองสระ จึงเหลือเพียงสระเดียว และเชื่อถือกันว่าเป็นสระน้ำที่ศักดิ์สิทธิ์มาก ต่อมาหลวงปู่เย็นได้มาบูรณะวัดการเปรียญและทำการขุดลอกสระเพื่อจะได้กักเก็บน้ำไว้ใช้ตลอดทั้งปี ได้พบตรงกลางสระมีเสาไม้ ๑๐ กว่าต้น ผู้เฒ่าซึ่งอยู่ที่นั้นมานานคาดว่าคงเป็นเสาหอไตรที่สร้างไว้กลางสระในสมัยก่อน และเล่าต่อไปว่าคนรุ่นเก่าๆไม่มีใครกล้าลงไปในสระนั้น เพราะเคยมีคนตักน้ำไปกินไปใช้แล้วเกิดอาเพศขึ้นภายใน ๓ ถึง ๗ วัน บางคนลงไปอาบน้ำในสระ ปรากฏว่า ๒-๓ วันต่อมาผิวหนังตามตัวเกิดสะเก็ดเหมือนเกล็ดปลา บางคนก็เป็นผดผื่นคัน รักษาเท่าไรก็ไม่หายจนต้องจุดธูปขอขมาที่ข้างสระ อาการที่เป็นอยู่ก็หายไปอย่างน่าอัศจรรย์

    หลังจากหลวงปู่เย็นได้บูรณะวัด สร้างใหม่ให้มีสภาพร่มรื่นเหมาะแก่การ ปฏิบัติธรรมแล้วท่านได้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่เป็น “วัดสระเปรียญ” โดยได้แรงจูงใจจากที่วัดนั้นเคยมีสระน้ำศักดิ์สิทธ์โบราณ หลวงปู่เย็นได้สร้างศาลาอเนกประสงค์ตรงบริเวณที่เคยเป็นโบสถ์เก่า สำหรับประกอบศาสนกิจของญาติโยม ปรับบริเวณวัดให้มีทางเดินสะดวกสบาย ปรับปรุงถนนเข้าวัดที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้น สร้างหอสวดมนต์ปฏิบัติธรรมของพระภิกษุสามเณร และอุบาสิกาที่สนใจการปฏิบัติกรรมฐาน และสร้างกุฏิให้เจ้าของวัดในอดีตเรียกว่า หลวงปู่เย็นเคยกล่าวกับศิษย์ที่ใกล้ชิดตอนอยู่วัดสระเปรียญใหม่ๆ ด้วยความเชื่อมั่นว่า “เคยสร้างวัดกลางชูศรีฯ มาแล้ว จะต้องสร้างวัดนี้ขึ้นมาใหม่ให้ได้”และบัดนี้ท่านได้ทำตามที่ลั่นวาจาไว้แล้ว และยังคงทำต่อไปโดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก

    มรณภาพด้วยอาการสงบ
    โดยท่านมีโรคประจำตัวคือระบบขับถ่ายไม่ปกติ โรคหอบ โรคถุงลมโป่งพอง ในวันอาทิตย์ที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๓๙ เวลา ๑๓.๔๕ น. รวมอายุได้ ๙๔ปี ๒เดือน ๑๑ วันสรีระของท่านหลังจากสวดอภิธรรม บำเพ็ญกุศลแล้วนำมาบรรจุใส่โลงแก้วประดิษฐานไว้ที่วัดสระเปรียญ เพื่อให้สาธุชามาสักการะขอพรกันอย่างสม่ำเสมอ

    และสุดท้ายนี้ ขอให้ผู้อ่านอัตถะชีวประวัติของหลวงปู่เย็นจงพบกับความสุขความเจริญได้ระโยชน์จากภาคปฏิบัติธรรมของหลวงปู่เย็นได้มากก็ดี ได้น้อยก็ดีแล้วแต่ผู้มีปัญญาจะเห็นเองของให้ผู้อ่านจงอยู่เย็นเป็นสุข ปราศจากทุกข์โศกโรคภัยและอันตรายทั้งป่วงทั้งหลายเทอญ


    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    รูปหล่อรุ่น ๑ หลวงปู่เย็นวัดสระเปรียญอำเภอสรรคบุรีชัยนาท
    ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ(ปิดรายการ)

    IMG_20240410_012843.jpg IMG_20240410_002220.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 เมษายน 2024
  2. j999

    j999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    4,986
    ค่าพลัง:
    +5,394
    ขอปิดครับ
     
  3. j999

    j999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    4,986
    ค่าพลัง:
    +5,394
    ขอปิดครับ
     
  4. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,787
    ค่าพลัง:
    +21,343
    fb_img_1711343899717-jpg.jpg

    พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป
    วัดอรัญญวิเวก (บ้านปง)
    ต.อินทขิล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
    ...
    พวกเราท่านทั้งหลายตั้งแต่เราเกิดมาตั้งแต่เล็ก
    มาจนใหญ่จนโต จนเฒ่าจนแก่มาเช่นนี้
    จิตใจของพวกเรานั้นไม่ได้ฝึกฝนอบรม
    ไม่ได้ควบคุมดูแล ไม่ได้ประคับประคอง
    ไม่รักษา ไม่ได้เจริญเมตตาภาวนา ฝึกฝนอบรมเขา
    เขาก็ย่อมคิดไปนานาต่างๆ ให้พวกเราท่านทั้งหลาย
    มีความวุ่นวายเกิดขึ้นในการที่เขาคิด
    แล้วก็พอจะพินิจพิจารณาได้นู่นแหล่ะว่า
    บางทีนั้นจิตมันคิดดี คิดแล้วมีความสุขความสบาย
    บางทีมันคิดไม่ดี มันคิดแค่ทำให้มีความเศร้าหมองความทุกข์
    มันก็คิด นี่เป็นเรื่องของจิต
    เหตุฉะนั้นการฝึกฝนอบรมจิตใจจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ
    แม้เขาจะมาอยู่กับรูปร่างกายพวกเราก็ตาม
    เขามาอาศัยอยู่แต่เขามีอำนาจ มีการควบคุมร่างกาย
    ให้เป็นไปตามอำนาจของเขาที่มันยังใช้งานได้อยู่
    เรียกว่า เขาควบคุมดูแล มันเป็นเช่นนี้แหละ
    เมื่อจิตใจของพวกเรา เมื่อมันเกิดคิดไม่ดีขึ้นมา
    ยังโกรธยังเกลียด ยังเคียดยังแค้น ยังผูกพยาบาท
    อาฆาตจองเวรกัน ยังคิดถกเถียงทุบตีกัน คิดฆ่ากัน
    เบียดเบียนกันเกิดขึ้นก็เพราะเรื่องอย่างนี้เอง
    ที่เราจะฝึกฝนอบรมจิตใจของเรามันคิดไม่ดีเป็นไปอย่าง

    พระผงกลีบบัวผสมเกศารูปถ่ายยุคต้นหลวงปู่เปลี่ยนเชียงใหม่ให้บูชา 500 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    img_20240325_104632-jpg.jpg img_20240325_104655-jpg.jpg
     
  5. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,787
    ค่าพลัง:
    +21,343
    รับทราบครับ ขอบคุณครับ
     
  6. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,787
    ค่าพลัง:
    +21,343
    FB_IMG_1712743368760.jpg

    บารมีแห่งเมตตาหลวงพ่อสำเนียง(วันออกพรรษา)
    เนื่องจากหลวงพ่อเป็นพระของประชาชน นักข่าวจึงหาโอกาสพบหลวงพ่อได้ยากเย็นเต็มที จนกระทั่งเย็นวันที่ ๒๓ พ.ย. ๒๕๐๙ ได้พบกับหญิงวัยชราสองคนโดยบังเอิญ กำบังตามหาหลวงพ่อสำเนียง เพื่อจะนิมนต์ไปช่วยชีวิตลูกชาย(คุณดิลก ธีรธร) ซึ่งกำลังเจ็บหนักอยู่ที่โรงพยาบาลอายุรศาสตร์เขตร้อน นักข่าวจึงถือโอกาสช่วยตามหา เมื่อได้เรื่องราวจากคุณหลวงธนาทรพินิจ ว่าหลวงพ่อเพิ่งจะเดินทางไปจังหวัดนครปฐม เมื่อสองชั่วโมงมานี่เอง มีคนมารับไปทำพิธีเสกผ้าห่มองค์พระปฐมเจดีย์ ซึ่งจะมีพิธีเปิดงานสมโภชองค์พระปฐมเจดีย์ในวันพรุ่งนี้(หลวงพ่อได้รับเชิญให้ไปเป็นประธาน ประกอบพิธีทางศาสนาทุกปี) จึงได้ติดตามไปยังจังหวัดนครปฐม ถามหาอยู่หลายแห่งได้พบหลวงพ่อกำลังนั่งสนทนาอยู่กับท่านผู้ว่าราขการจังหวัดยะลา (พ.ต.อ.พิเศษศิริ คชหิรัญ) ณ ร้านอำเภอบางเลนในงานพระปฐมเจดีย์ ขณะนั้นเป็นเวลาสองทุ่มเศษ เมื่อได้พบหลวงพ่อก็รู้สึกหินขึ้นมา จึงนึกได้ว่าพวกเรายังไม่ได้รับประทานอาหารเย็นกันเลย หญิงชราความที่เป็นห่วงลูกชายก็เลยลืมเป็นลม เมื่อจัดการเรื่องอาหารเรียบร้อยแล้ว จึงตามไปพบหลวงพ่อที่บ้านคุณหลวงชัยอาญา ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากพระปฐมเจดีย์เท่าไหร่นัก ณ ที่นี้เอง นักข่าวได้ถือโอกาสสัมภาษณ์หลวงพ่อและได้นิมนต์ท่าน หลวงพ่อก็เต็มใจเดินทางกับกรุงเทพในกลางดึก ทั้งๆที่เพิ่งเดินทางมาถึง เพื่อไปช่วยชีวิตคนไข้ที่กำลังสิ้นหวัง

    #เพื่อเผยแพร่บารมีหลวงพ่อสำเนียง

    FB_IMG_1712743244130.jpg
    เมื่ออยู่ที่วัดกัลยาฯ พลตรี ถนอม อุปถัมภานนท์ ได้นำภรรยาไปรักษาเพราะได้รักษาที่อื่นมาแล้วไม่หาย โรคเกี่ยวกับเนื้องอกในมดลูก หลวงพ่อจึงทำการรักษาอยู่ประมาณ๑อาทิตย์จึงหายเรียบร้อย ประชาชน เมื่อ ทราบข่าวจึงได้ หลั่งไหล กันมา ต้องรับแขกตั้งแต่หัวค่ำจนรุ่งสว่าง ไม่มีเวลาพักผ่อนและศึกษาเล่าเรียน จึงได้ไปปรึกษากับคุณประสาท สุขุม(บุตรชายเจ้าพระยายมราช) เพื่อหาที่อยู่ใหม่จะได้ศึกษาเล่าเรียน
    คุณประสาทได้แนะนำให้ไปอยู่ที่วัดบางขุนศรี ต.บางขุนศรี อ.บางเลน จ.นครปฐม ซึ่งเป็นวัดรามัญ คุณประสาทได้นำเรือ ๘ ลำ ไปรับที่วัดกัลยาฯ พระเถระผู้ใหญ่ พร้อมด้วยประชาชนมากมาย ได้ไปส่งถึงวัดขึ้นศรี
    #ข้อมูลจากเล่มไหนจำไม่ได้บอกว่ามีคนเรียกหลวงพ่อตั้งแต่บวชได้๗วัน
    ถือว่าได้ข้อมูลจากเล่มนี้ทำให้มีความกระจ่าง ในเรื่องที่ว่าทำไมบอกว่าบวช๗วันมีคนเรียกว่าหลวงพ่อแล้ว

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความ ข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อสำเนียงอยู่สถาพรปี 2493 บล็อก แขนร่อง หูหยิก
    ให้บูชา
    600 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20240410_171036.jpg IMG_20240410_171117.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 เมษายน 2024
  7. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,787
    ค่าพลัง:
    +21,343
    fb_img_1701357793078-jpg.jpg
    fb_img_1701358872619-jpg.jpg
    พระครูนิพัทธ์ธรรมาภรณ์ นามเดิม พันธ์ นามสกุล บุญยอด นามฉายา สุมโน นามโยมบิดา นายดี บุญยอด นามโยมมารดา นางกลม บุญยอด ชาติกาล เกิดวันศุกร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 6 ปีชวด ตรงวันที่ 9 เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช 2467 ณ บ้านนาแปะ-บ้านห่อง หมู่ที่ 9 บ้านเลขที่ 14 ตำบลตาโกน อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ
    การศึกษาเบื้องต้น
    เมื่อปฐมวัยอายุถึงเกณฑ์การเข้าโรงเรียนประถมศึกษาก็ไม่ได้เข้าเรียนเหมือนเด็กทั่วไป เนื่องจากสถานการศึกษาของรัฐยังจัดการให้ไม่ทั่วถึง การคมนาคมก็ไม่สะดวก สถานการศึกษายังอยู่ไกลกันดารมาก คนในรุ่นนั้นสมัยนั้นจะไม่ค่อยได้มีโอกาสเข้าโรงเรียนระดับประถมศึกษา แม้ว่าจะมีอายุเข้าเกณฑ์เรียนหนังสือในระดับประถมศึกษา นอกจากพ่อแม่ผู้ปกครองจะนำเด็กเหล่านั้นไปฝากตัวไว้กับอาจารย์ตามวัดต่าง ๆ จึงจะมีโอกาสเรียนหนังสือ คนรุ่นนี้จึงปรากฏว่า บางคนอ่านหนังสือไม่ออกเป็นส่วนใหญ่ ที่อ่านได้เขียนได้เพราะไปเรียนหนังสือที่วัดเป็นส่วนมาก จึงปรากฏว่า คนรุ่นนี้ในบ้านนอกอ่านหนังสือไม่ออก หลวงพ่อก็เช่นเดียวกันไม่ได้เข้าโรงเรียน ในระหว่างนั้นก็อยู่ช่วยบิดามารดาทำนาอยู่หลายปี หลังจากนั้นบิดาได้นำไปฝากเข้าเรียนอักษรสมัยที่วัดใกล้เคียงบ้านจนสามารถเรียนรู้อักษรสมัยวิธีมีการเล่าเรียนกันอยู่ในชนบทในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี ยามว่างยามสิ้นทำนาก็ได้เข้าวัดอยู่บ่อย
    ตำบลเสียว อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งอยู่ใกล้บ้านหลวงพ่อ ได้ศึกษาอักษรไทย พร้อมทั้งอักษรขอมเป็นวลาหลายปี ได้เป็นศิษย์พระอธิการบุญมา เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม ทำวัตรสวดมนต์รับใช้พระอาจารย์มาโดยตลอด
    การบรรพชา
    ในปีพุทธศักราช 2483 อายุนับได้ 16 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 10 ตุลาคม 2483 มีเจ้าอธิการบุญมา เป็นพระอุปัชฌาย์ วัดบ้านสามขาเจ้าคณะตำบล ตำบลเสียว อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ บรรพชา ณ วัดบ้านสามขา ตำบลเสียว อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษนี้เอง บรรพชาเป็นสามเณรแล้วได้อยู่วัดบ้านสามขา ศึกษาพระปริยัติธรรม ศึกษาภาษาไทยและภาษาขอม ซึ่งในสมัยก่อนนั้นการเทศน์มหาชาติทุกวัดจะมีการเทศน์โดยภาษาขอมเป็นส่วนมาก จะห
    าหนังสือที่เป็นภาษาไทยเหมือนปัจจุบันนี้ได้ยาก หลวงพ่อจึงได้ศึกษาอยู่ที่วัดนี้มาจนถึงกาลอุปสมบทร่วมเวลา 4 ปี

    อุปสมบท
    ในปีพุทธศักราช 2487 อายุหลวงพ่อ
    ครบ 20 ปีพอดี ได้อุปสมบทต่อจากการ
    เป็นสามเณรโดยมิได้สิขาลาเพศเป็น
    ฆราวาสแต่ประการใด ได้อุปสมบทเป็น
    พระภิกษ ณ พัทธสีมา วัดบ้านตาโกน
    ตำบลตาโกน อำเภออุทุมพรพิสัย
    จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อ วันอาทิตย์ ขึ้น 14
    ค่ำ เดือน 7 ปีวอก ตรงกับวันที่ 4 เดือน
    มิถุนายน พุทธศักราช 2487 โดยมีเจ้า
    อธิการบุญมา วัดบ้านสามขา เจ้าคณะ
    ตำบลเสียว อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัด
    ศรีสะเกษ เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระมหา
    สิงห์ ฉายา
    วัดศรีสวาสดิ์
    (ปลาซิว) วัดบ้านตาโกน ตำบลตาโกน
    อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ
    เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และมีพระครู
    พุทธิธรรม ฉายา เขม?กโร วัดโนนลาน
    ตำบลเป๊าะ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัด
    ศรีสะเกษ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ได้
    รับนามฉายาในทางพุทธศาสนาว่า " สุม
    โน " อุปสมบทแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัด
    สามขา ตำบลเสียว อำเภออุทุมพรพิสัย
    จังหวัดศรีสะเกษ โดยศึกษาพระปริยัติ
    ธรรมเป็นเวลา
    ปีต่อจากนั้นก็
    ได้ย้ายจากวัดสามขาไปอยู่ ณ วัด
    ม่วงสามสิบ ตำบลม่วงสามสิบ อำเภอ
    ม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานีเพื่อ
    ศึกษาพระปริยัติธรรมและบาลีเป็นเวลา
    5 ปี
    ในระยะนี้หลวงพ่อได้ทราบข่าวว่าที่ใดมี
    สำนักเทศน์ดัง ๆ จะพยายามไปศึกษา
    ในสถานที่ต่าง ๆ เช่น จังหวัดขอนแก่น
    เคยเดินทางไปแถวปักใต้เพื่อหาที่
    ปฏิบัติ จนในช่วงพรรษาที 11 หลังออก
    พรรษาแล้ว หลวงพ่อได้เดินทางมา
    เยี่ยมญาติที่หนองสะเอิ้ง ตำบลสาย
    ลำโพง อำเภอท่าตะโก จังหวัดนคร
    สวรรค์ ได้พักอยู่ที่นันกับญาติ ๆ บรรดา
    ญาติโยมทางบ้านเขาล้อทราบข่าวนี้จึง
    ปรึกษาหาลือกันนิมนต์หลวงพ่อมาอยู่ที่
    วัดเขาล้อ เพราะที่วัดเจ้าอาวาสว่างพอดี
    หลวงพ่อจึงรับนิมนต์ตามศรัทธาของญ
    าติโยมบ้านเขาล้อ นับแต่พรรษาที่ 12
    หลวงพ่อจึงได้อยู่จำพรรษาที่วัดเขาล้อ
    โดยรับภารธุระด้านการศึกษา การ
    ปกครอง การเผยแผ่ การก่อสร้างปฏิสั
    งขรณ์ ปรับปรุงมาโดยตลอดจนถึง
    ปัจจุบันนี้
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    พระกริ่งสุมโนหลวงพ่อพันธ์วัดเขาล้อรุ่น ๑
    ให้บูชา 250 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20240411_174614.jpg IMG_20240411_174638.jpg
     
  8. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,787
    ค่าพลัง:
    +21,343
    fb_img_1705571444097-jpg.jpg
    ปู่โทน หลำแพร เป็นชาวบ้านโพธิ
    ไทร อำเภออินทร์บุรี จังหวัด
    สิงห์บุรี เมื่อสมัยยังเป็นหนุ่มน้อย
    ได้บวชเป็นสามเณรอยู่ 3 พรรษา
    และอุปสมบทเป็นพระภิกษุต่ออีก
    2 พรรษา ขณะที่บวชเรียนอยู่นั้น
    ปูโทนก็สนใจในวิชาวิปัสสนา
    กรรมฐาน ได้เคยศึกษาและปฏิบัติ
    จากูพระอาจารย์ผู้มีความรู้ทางด้
    านนี้หลายรูป
    ต่อมาแม้เมื่อได้ลาสิกขาออกมาคร
    องเพศฆราวาสแล้ว ปูโทนผู้นี้ก็ยัง
    สนใจในวิชาวิปัสสนากรรมฐานอยู่
    พยายามหาโอกาสออกแสวงหา
    สถานที่วิเวกเพื่อบำเพ็ญธรรม อยู่
    ขณะที่ท่านมีอายุได้ประมาณ 30
    เสมอ
    ปี ครั้งหนึ่งก็ได้ออกไปแสวงหา
    สถานที่วิเวกเพื่อบำเพ็ญ และใน
    ที่สุดก็ได้พบกับสูถานที่ ที่ต้องการ
    แห่งหนึ่ง คือ ในถ้ำพระ ซึ่งอยู่หลัง
    เขาช่องแค อำเภอตาคลี จังหวัด
    นครสวรรค์
    พบพระครูโลกอุดร
    คืนหนึ่งขณะที่ท่านนั่งสมาธิอยู่ พอ
    จิตได้อารมณ์เป็นสมาธิแน่วนิ่งแล้วก็
    บังเกิดความประหลาดขึ้น โดยมีพระ
    ภิกษุรูปหนึ่งได้ปรากฏให้เห็นในนิมิต
    ตามคำบอกเล่าของปู่โทนบอกว่า
    พระภิกษุรูปนั้น มีลักษณะเหมือนคน
    โบราณ แต่ผิวพรรณผ่องใส มีสง่า
    ราศีน่าเคารพนับถือ ดูจากรูปร่างภาย
    นอกแล้วเห็นว่ายังหนุ่มแน่นแต่ศรีษะ
    มีหงอกขาวโพลน
    ครั้นได้เห็นพระภิกษุรูปนั้น ปู่โทนก็
    เข้าใจว่าคงจะเป็นพระอาจารย์ทางวิ
    ปัสสนากรรมฐานผู้มีญาณวิเศษ
    สามารถถอดจิ๊ตมาสนทนากันได้ใน
    นิมิต และการมาของท่านก็คงจะมา
    เพื่อสนทนาธรรมหรือช่วยชีแนะข้อ
    ธรรมกรรมฐานที่ท่านติดขัดอยู่ ปู่
    โทนจึงได้เรี้ยกถามท่านไป(ในนิ
    มิต)ว่า "พระคุณเจ้าเป็นใคร" พระ
    ภิกูษุหนุ่มผู้มีสง่าราศีน่าศรัทธายิ่งรู
    ปนั้น ก็ตอบให้ทราบว่า ท่านคือหลวง
    ปู่เทพโลกอุดร เป็นพระธุดงค์อาศัย
    อยู่ตามป่าเขาลำเนาถ้ำเป็นวัตร ที่มา
    นี่กี๊เพื่อต้องการจะมาชี้แนะธรรม
    ปฏิบัติบางอย่าง เพราะเห็นว่าอุบาสก
    โทนยังปฏิบัติไม่ถูกต้อง
    ปโทนได้ทราบอย่างนั้นก็ปลื้มปีติยิ่ง
    ปูโทนได้ทราบอย่างนั้นก็ปลื้มปีติยิ่ง
    น้ำก ที่จะได้มีพระอาจารย์ผู้มีความูร
    อบรู้มีคุณวิเศษเลิศล้ำ มาเมตตาชี้
    แนะข้อธรรมให้ ซึ่งบัดนั้นปู้โทนไม่ได้
    ทราบว่า หลวงปู่เทพโลกอุดร ที่ว่านั้น
    เป็นใครมาจากไหน เพราะว่า ท่านไม่
    เคยได้พบเจอ หรือได้ยินได้ทราบกิต
    ติศัพท์มาก่อนว่า ท่านผู้นี้อยู่ที่ไหนแต่
    ปโทนก็ยินดีที่จะน้อมรับคำแนะนำ
    เรื่องการวิปัสสนาจากพระภิกูษุผู้
    มาอย่างแปลกประหลาดรูปนี้
    หลังจากนั้นหลวงปู่เทพโลกอุดรก็
    เมตตาชี้แนะวิธีทำกรรมฐานให้กับปู่
    โทนอธิบายจนปูโทนเข้าใจดีแล้ว ก็
    หายวับไป ปูโทนกลับคีนอารมณ์ปกติ
    แต่ก็ยังจำเหตุการ์ณนั้นได้ติดูตา
    และยังปูลื้มปีติไม่หาย ปู่โทนได้คำ
    แนะนำนั้นมาปฏิบัติจนเห็นผลในเวลา
    ไม่นาน
    ครั้นบำเพ็ญธรรมกรรมฐานอยู่ที่นั่นพ
    อสมควรแล้วปโทนก็กลับมายังบ้าน
    เพื่อประกอบสั้มมาอาชีพเลี้ยงครอบ
    ครัวต่อไป แต่แม้ว่าปู่จะกลับมาอยู่
    บ้าน แต่ก็ไม่เลิกทำก้รรมฐานเสียเลย
    ยังคงบำเพ็ญอยู่อย่างสม่ำเสุมอ แต่ก็
    น้อยกว่าเวลาไปบำเพ็ญในที่วิเวก
    ตามป่าเขาลำเนาถ้ำเท่านั้นเอง และ
    หลังจากนั้นปูโทนก็ได้หาโอกาสไป
    บำเพ็ญธรรมที่ถ้ำพระนั้นอีก และก็ได้
    พบพระอาจารย์ในนิมิต ที่ท่านร้จักใน
    พบพระอาจารย์ในนิมิต ที่ท่านรู้จักใน
    นาม หลวงปู่เทพโลกอุดรมาคอยชี้
    แนะข้อธรรมะให้อีก และสอนใน
    ระดับสูงขึ้นๆ
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    พระผงรูปเหมือนหลวงปู่เทพโลกอุดรออกวัดคลองช่องแคปี 35 เนื้อผงอิทธิเจมวลสารอธิษฐานปลุกเสกโดยปู่โทน หลำแพร ศิษย์ ในหลวงปู่เทพโลกอุดรให้บูชา 350 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
    สำหรับท่านที่ชอบ สายเหนือโลก สานในดง(ปิดรายการ)

    IMG_20240411_173052.jpg IMG_20240411_173114.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 เมษายน 2024
  9. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,787
    ค่าพลัง:
    +21,343


    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    ลองดูประวัติและหาอ่านประวัติของท่านก่อนครับ
    หลวงพ่อสุบินวัดหัวเขาเป็นศิษย์หลวงพ่อสดวัดปากน้ำและศิษย์วัดหัวเขา

    พระผงรูปเหมือนฝังตะกรุดหลวงพ่อสุบินวัดหัวเขาอายุ ๖๕ ปี ปี๓๗ ให้บูชาคู่๒องค์ 270 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20240411_181144.jpg IMG_20240411_181204.jpg
     
  10. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,787
    ค่าพลัง:
    +21,343
    fb_img_1708707049525-jpg.jpg
    ในการสร้างพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พุทโธ ของวัดประดู่ฉิมพลี ในขณะที่หลวงปู่โต๊ะชราภาพมากแล้ว ท่านปรารภกับลูกศิษย์ว่า "หากหมดบุญฉันแล้วให้ไปหาหลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพระองค์ ท่านแทนฉันได้"
    หลวงพ่อทองอยู่ หรือ พระครูสุตาธิการี อดีตเจ้าอาวาส วัดใหม่หนองพระอง จ.สมุทรสาคร ท่านเป็นพระเถระ พระเกจิอาจารย์ยุคเก่า ที่แก่กล้าด้วยอาคม ท่านเกิดในตระกูล “สิงหเสนี” ซึ่งเป็นตระกูลทหารชาตินักรบ อุปสมบทเมื่ออายุประมาณ ๓๐ ปี ที่วัดใหม่หนองพะอง ครั้นพอพรรษาแรก จิตใจรู้สึกสงบ และทราบซึ้งในรสพระธรรม จึงได้อุปสมบทตลอดเรื่อยมา
    ในสมัยที่ท่านยังมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ท่านได้ธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรกว่า ๓๐ ปี ไปในที่ทุรกันดารต่าง ๆ ที่ใดที่มีพระอาจารย์เก่งกล้าทางคาถาอาคม หรือ เก่งทางด้านปฏิบัติธรรม ก็จะไปฝากตัวเป็นศิษย์ เพื่อขอศึกษาวิชาความรู้ต่าง ๆ โดยหลวงพ่อทองอยู่นี้ ในสมัยที่ท่านยังหนุ่มอยู่ ท่านจะเดินธุดงค์ไปปฏิบัติธรรมที่ภาคเหนือเป็นประจำทุกปี ซึ่งหลวงพ่อท่านก็มีโอกาสได้กราบนมัสการท่าน พระครูบาเจ้าศรีวิชัย ยอดนักบุญแห่งล้านนาไทยอย่างใกล้ชิดด้วย อีกทั้งยังเป็นศิษย์ในกรรมฐานของครูบาศรีวิชัย ซึ่งท่านครูบาศรีวิชัย ได้เคยชักชวน หลวงพ่อทองอยู่ ให้อยู่กับท่านด้วยกัน แต่หลวงพ่อทองอยู่ยังติดภาระที่ต้องดูแลทางวัดอยู่ จึงเดินทางกลับมา ซึ่งครูบาศรีวิชัย ท่านจะถวายปัจจัยสำหรับค่าเดินทางกลับให้อยู่เสมอมิได้ขาด
    มีอยู่ครั้งหนึ่งหลวงพ่อทองอยู่ ได้กราบเรียนถามพระครูบาเจ้าศรีวิชัย ว่า ปฏิบัติอย่างไรจึงมีเมตตามีบารมี และมีคนนับถือมากมายขนาดนี้ ซึ่งพระครูบาเจ้าศรีวิไชยก็ได้ตอบแก่หลวงพ่อทองอยู่อย่างเมตตา
    "พุทโธ ธัมโม สังโฆ นี้แหละ ที่เฮาภาวนาเสมอ มิได้ขาด” และ หลวงพ่อทองอยู่ ได้เคยกล่าวถึงท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย ให้ลูกศิษย์ใกล้ชิดฟังว่า
    “ครูบาเจ้าศรีวิชัยนี้ ท่านมีญาณสูงมาก ด้วยเหตุนี้แหละ จึงมีผู้ตั้งอธิกรณ์ ฟ้องท่านว่าเป็นผีบุญ เพราะไปไหน ก็มีคนติดตามไปเป็นจำนวนมาก บางครั้งก็เดินไปเหนือยอดหญ้า ฝนตกจีวรก็ไม่เปียก ทั้ง ๆ ที่เดินฝ่าฝนไป แต่ สุดท้าย ผู้ที่กล่าวหาท่าน ก็ถูกบาปกรรมตามสนองอย่างน่าสยดสยองที่สุด”
    หลวงพ่อทองอยู่ ท่านได้ขอเรียนวิชาเพิ่มเติมจาก หลวงปู่ทอง วัดราชโยธา ท่านเป็นยอดพระเกจิที่เก่งมาก ๆ ในสมัยก่อน หลวงปู่ทอง วัดราชโยธานี้ ท่านเป็นศิษย์รุ่นน้องของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ซึ่งมีอาจารย์ร่วมสำนักเดียวกัน คือ หลวงปู่แสง วัดมณีชลขันธ์ จ.ลพบุรี (ศิษย์ร่วมสำนักเดียวกันอีกท่าน คือ หลวงปู่แก้ว วัดเครือวัลย์) ซึ่งในสมัยนั้นยังมีพระเกจิอาจารย์อีกหลายท่าน ที่มาขอเรียนวิชาเพิ่มเติมจากหลวงปู่ทอง เช่น หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา, หลวงปู่คง วัดบางกะพ้อม สมุทรสงคราม, หลวงปู่จาด วัดบางกะเบา ปราจีนบุรี, หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ, หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขันธ์ นครศรีธรรมราช, หลวงปู่เหลือ วัดสาวชะโงก ฉะเชิงเทรา, หลวงพ่ออี๋ สัตหีบ ชลบุรี และ หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว จ.สมุทรปราการ
    จะ เห็นว่า ลูกศิษย์ของหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา ที่เอ่ยนามมานี้ ล้วนเก่งกล้าวิทยาคม วัตถุมงคลของท่านเป็นที่นิยมของสะสมพระเครื่องทั้งหลาย ดังนั้น หลวงพ่อทองอยู่ ซึ่งเป็นศิษย์รุ่นน้อง หรือ รุ่นสุดท้ายของหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา จึงไม่ธรรมดาอย่างแน่นอน
    จะยกตัวอย่างพลังจิตของหลวงพ่อทองอยู่เรื่องหนึ่ง ในมูลเหตุที่ท่านได้รับฉายาจากศิษยานุศิษย์ทั้งหลายว่า หลวงพ่อทองอยู่ ดับดาวเดือน เพราะท่านเคยแสดงให้ลูกศิษย์ใกล้ชิดดู โดยถามว่า เธอต้องการให้ดับดาวดวงไหน ให้ลองชี้มาแล้ว ท่านจะดับให้ดู ครั้นพอลูกศิษย์บอกว่าต้องการดูดวงไหนดับแล้ว ท่านจะบริกรรมคาถาสักครู่ แล้วชี้ไปที่ดาวดวงนั้น ซึ่งแสงดาวก็จะหายวับดับไปในทันที ราวกับปาฏิหารย์ แสดงว่า พลังจิตของท่านสูงส่งมากทีเดียว สามารถเพ่งกระแสจิต แล้วชี้ไปที่ดวงดาว จนแสงดาวที่กระพริบอยู่นั้น ดับวูบลงไปทันที
    ท่านเป็นสหธรรมิก กับ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ โดยเรียนวิชายันต์ตรีนิสิงเห มาจาก หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ สมุทรสาคร มาด้วยกัน งานไหนมีปลุกเสกเครื่องรางของขลัง หรือ วัตถุมงคล ที่นั่นจะมี หลวงปู่โต๊ะกับ หลวงพ่อทองอยู่ ด้วยเสมอ
    วิชาที่สุดยอดของท่านอีกอย่างคือ ลงกระหม่อมด้วยน้ำมันจันทร์หอม ใครได้ลงครบสามครั้ง รับรองได้ว่า ไม่มีตายโหง และไม่อดไม่อยาก เป็นที่รักใคร่ของคนโดยทั่วไป ท่าน เจริญเมตตา จนมีฝูงปลาสวายมาอยู่หน้าวัดเต็มไปหมดเลย ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ ๑ ใน ๔ องค์ ที่หลวงปู่โต๊ะนิมนต์มาในงานครบรอบวันเกิดของท่านทุกปี อีกสามองค์ที่เหลือ องค์แรก คือ หลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง กรุงทพฯ องค์ที่สอง หลวงพ่อฮะ วัดดอนไก่ดี สุพรรณบุรี องค์ที่สามเป็น พระจีน (ไม่ทราบชื่อ) สำหรับงานวันเกิดหลวงปู่โต๊ะนั้น จะนิมนต์หลวงปู่หลวงพ่อทั้ง ๔ องค์นี้เป็นประจำ มานั่งสี่มุม ส่วนหลวงปู่โต๊ะท่านจะนั่งที่หน้าพระประธานเป็นองค์ที่ห้า

    fb_img_1708707046845-jpg.jpg
    คำสั่งเสียของหลวงปู่โต๊ะ ก่อนมรณภาพ
    ในการสร้างพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พุทโธ ของวัดประดู่ฉิมพลี ในขณะที่หลวงปู่โต๊ะชราภาพมากแล้ว ท่านปรารภกับลูกศิษย์ว่า "หากหมดบุญฉันแล้วให้ไปหาหลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพระองค์ ท่านแทนฉันได้" และท่านยังสั่งลูกศิษย์ใกล้ชิดไว้ว่า หากท่านอยู่ปลุกเสกรุ่นนี้ไม่ทัน ให้นำไปให้หลวงพ่อทองอยู่ปลุกเสกแทน พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พุทโธ รุ่นนี้ จึงเป็นสุดท้ายของหลวงปู่โต๊ะ ซึ่งทางวัดประดู่ฉิมพลี ได้ประกอบพิธีเททองหล่อภายในวัด เมื่อวันที่ ๑๕ ก.พ. ๒๕๒๔ โดยหลวงปู่เป็นประธานในพิธี และมีเกจิอาจารย์อีก ๙ ท่าน ร่วมนั่งปรกในขณะเททอง
    ในขณะที่พระกริ่งพระชัยวัฒน์ พุทโธ กำลังอยู่ในระหว่างตกแต่ง หลวงปู่โต๊ะก็ได้มรณภาพเสียก่อน ในวันที่ ๕ มี.ค ๒๕๒๔ (แสดงให้เห็นถึงอนาคตังสญาณของหลวงปู่โต๊ะ ที่รู้ล่วงหน้าว่าจะมรณภาพในปีนั้น) เมื่อตกแต่งเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลวงพ่อทองอยู่ ได้ปลุกเสกเดี่ยวให้ก่อน ๑ ครั้ง และ ต่อมา เมื่อทางวัดได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกครั้งใหญ่ พร้อมกับ รูปหล่อขนาดเท่าองค์จริงหลวงปู่โต๊ะ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเททองหล่อขึ้น ทางวัดได้นำ พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ "พุทโธ" เข้า ร่วมในพิธี โดยมีสมเด็จพระญาณสังวร เป็นประธาน และ หลวงพ่อทองอยู่นั่งปรกปลุกเสกด้วย จำนวนสร้างพระกริ่ง ๑,๕๐๐ องค์ พระชัยวัฒน์ ๓,๐๐๐ องค์ ทั้ง ๒ พิมพ์ ตอกโค้ด "ต" สำหรับพระชัยวัฒน์นั้นใต้ฐานอุดด้วยเทียนชัย และเส้นเกศาของหลวงปู่โต๊ะไว้ด้วย
    สองเกจิร่วมสมัย ร่วมกันโปรดวิญญาณในคลองภาษีเจริญ
    เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณปี ๒๕๐๐ กว่า ๆ เป็นเหตุการณ์ที่พระอริยะเจ้าสองรูป ได้โปรดวิญญาณ ที่ต้องทนทุกข์ทรมาน อยู่ในคลองภาษีเจริญ บริเวณประตูน้ำหน้าวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พระอริยะเจ้าสองรูปนั้น องค์แรกท่าน คือ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี องค์ที่สอง คือ หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง เหตุการณ์นี้สืบเนื่องจาก บริเวณหน้าวัดปากน้ำภาษีเจริญในขณะนั้น มีคนตกน้ำตายเป็นประจำ ชาวบ้านต้องตกอยู่ในความกลัวตลอด มีลูกศิษย์ไปเล่าเรื่องให้หลวงปู่ทั้งสองท่านฟัง ท่านจึงได้เดินทางมาโปรดวิญญาณทั้งหลาย ที่ต้องทนทุกข์อยู่ในน้ำนั้น โดยมี หลวงพ่อทองอยู่ เดินโปรยข้าวตรอกดอกไม้ และ หลวงปู่โต๊ะนั่งสมาธิอยู่ที่ริมคลองบริเวณประตูน้ำ ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนั้น ผู้สูงอายุในขณะนี้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ต่างทราบเหตุการณ์นี้ดี
    วัตถุ มงคลที่สร้างในสมัยที่หลวงพ่อทองอยู่ ยังมีชีวิตอยู่ เมื่อเทียบกับพระเกจิอาจารย์อื่น ๆ ที่ร่วมสมัยเดียวกัน อย่างเช่น หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี , หลวงปู่สุด วัดกาหลง, หลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง, หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู ฯลฯ แล้ว ถือว่า น้อยมาก และมีเพียงไม่กี่แบบ เท่าที่ทราบมี เหรียญรุ่นแรก สร้างปี พ.ศ. ๒๕๐๙ จากนั้นก็มีเหรียญรุ่นต่าง ๆ อีกเพียงไม่กี่รุ่น, พระกริ่งสุตาธิการี, พระกริ่งตั๊กแตน ฯลฯ เนื่องจากท่านเป็นศิษย์สายวัดสุทัศน์ เคยอยู่วัดสุทัศน์มาก่อน พระกริ่งของท่านจึงได้รับความนิยมอย่างมาก ใช้แทนพระกริ่งวัดสุทัศน์ได้เลย นอกนั้นก็เป็นพวก พระปิดตา, ล็อกเก็ต, ภาพถ่าย, ท้าวเวสสุวัณ (ขนาดบูชา) ฯลฯ เป็นต้น
    พระเครื่องที่ได้รับความนิยมสูงสุด ท่านสร้างมาก่อนปี พ.ศ. ๒๕๐๐ คือ พระสมเด็จ มีพระสมเด็จเนื้อผงขาว และ พระสมเด็จเนื้อผงใบลาน (สีดำ) มีหลายพิมพ์ แต่ที่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย และถือเป็นเอกลักษณ์ของท่านก็เห็นจะเป็น “สมเด็จหลังเสือเผ่น” ซึ่งสร้างมา ๒ – ๓ รุ่น หลายรูปแบบ (เสือเล็ก – เสือใหญ่) หลายพิมพ์ ปัจจุบันเป็นที่เสาะแสวงหาของนักนิยมสะสมพระเครื่องอย่างกว้างขวาง
    พระ สมเด็จเนื้อผงของท่าน ท่านสร้างจากผงวิเศษที่ท่านเก็บสะสมไว้ และทำไว้ด้วยตัวของท่านเอง ท่านมีความสามารถลบผงวิเศษทั้ง ๕ ประการ คือ ผงปถมัง ผงอิทธิเจ ผงมหาราช ผงพุทธคุณ และผงตรีนิสิงเห ตามตำรับเดียวกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้อย่างเข้มขลัง โดยผสมน้ำมันจันทร์หอม ลงไปในเนื้อพระดังกล่าวด้วย ทำให้พระสมเด็จของท่านนั้น มีพุทธคุณโดดเด่นไปด้วยเมตตามหานิยม อุดมลาภผล แคล้วคลาด และคงกระพันชาตรี
    เรียก ว่าสมเด็จทุกรุ่นของท่านนั้น มีมวลสารสุดยอดจริง ๆ มีทั้งผงสมเด็จเก่า ๆ ที่หลวงพ่อได้รวบรวมไว้ เช่น ผงแตกหักของพระวัดระฆัง, ผงแตกหักของพระกรุวัดบางขุนพรหม ซึ่งแต่ก่อนนั้นหาได้ไม่ยากนัก และที่สำคัญ คือ ผงของวัดพระยาบึงสุเรนทร์ (หลวงปู่ทองเป็นประธานการปลุกเสก) ซึ่งได้มาจากตระกูลของท่าน ดังนั้น ในแต่ละรุ่นจึงสร้างได้น้อย และมีไม่มากนัก เพราะท่านพิถีพิถันในการสร้างพระสมเด็จเป็นอย่างมาก ไม่ให้เสียชื่อสำนัก และครูบาอาจารย์ก็ว่าได้
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    พระสมเด็จเจ็ดชั้นหลังเสือ ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งด่วน 3 0บาทครับ(ปิดรายการ)

    IMG_20240411_185343.jpg IMG_20240411_185409.jpg

    พระสมเด็จพิมพ์พระประธานหลวงพ่อทองอยู่ให้บูชา 250 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ(ปิดรายการ)

    IMG_20240411_185434.jpg IMG_20240411_185509.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 เมษายน 2024
  11. sunmk

    sunmk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2020
    โพสต์:
    1,192
    ค่าพลัง:
    +961
    จองหลวงปู่เทพโลกอุดร/พระสมเด็จลป.ทองอยู่ทั้ง 2 องค์
     
  12. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,787
    ค่าพลัง:
    +21,343
    รับทราบครับ ขอบคุณครับ
     
  13. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,787
    ค่าพลัง:
    +21,343
    เหรียญพระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศหลวงพ่อเกษมเขมโกปลุกเสกอธิษฐานจิตปี ๒๕๑๘ ในงานพิธีฉลองพัดยศ ชั้นเอกพระครูประโชติคณารักษ์แบบครบสมบูรณ์มีเข็มกลัดห้อยโบว์
    ให้บูชา 400 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20240411_191416.jpg IMG_20240411_191451.jpg
     
  14. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,787
    ค่าพลัง:
    +21,343


    พระผงรูปเหมือนหลวงพ่อท้าวสำนักสงฆ์วชิรกัลยา
    ให้บูชา ๒ องค์ 220 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20240414_202907.jpg IMG_20240414_202925.jpg IMG_20240414_202950.jpg IMG_20240414_203014.jpg IMG_20240414_203038.jpg
     
  15. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,787
    ค่าพลัง:
    +21,343
    หลวงพ่อเริ่มเหยียบฉ่ารักษาคนป่วยมาตั้งแต่ปีไหนครับ?
    - ตั้งแต่ปี ๒๕๐๔ ขณะนั้นหลวงปู่อินทร์ยังมีชีวิตอยู่ ท่านมีความชำนาญเรื่องการต่อกระดูก รักษาหมาบ้ากัด รวมทั้งอัมพฤกษ์ อัมพาต ระหว่างที่บวชนั้นยังไม่ทันออกพรรษาท่านก็จดคาถาต่างๆ มาให้ท่อง พร้อมกับบอกพุทธคุณของคาถาแต่ละบทให้ด้วย หลังจากออกพรรษาแล้ว หลวงปู่เข้ากรุงเทพฯ อาตมาก็เริ่มรักษาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จนถึงทุกวันนี้กว่า ๔๕ ปีแล้ว คนป่วยที่ผ่านเท้าอาตมาน่าจะเป็นหมื่นคน เคยมีคนมาให้เหยียบมากที่สุดคือ ๔๒ คนต่อวัน
    * ตอนนั้นยังเป็นพระหนุ่มอยู่ จะมีคนเชื่อถือหรือครับ?
    - ตอนนั้นอายุ ๒๐ เอง แต่ผลงานมาปรากฏ หลังจากเหยียบเสร็จก็จะถามอาการ บางครั้งจะรักษาด้วยการเหยียบอย่างเดียวไม่ได้ เพราะว่าปวด ต้องเปลี่ยนมาเป็นนวดด้วยมือ
    * หลวงปู่อินทร์สอนคาถาให้ทุกอย่างเลยหรือครับ?
    - สอนหมดทุกอย่างเลย ทุกวันนี้อาตมาก็ยึดแนวของหลวงปู่อินทร์ คือ ถ่ายทอดให้ผู้สนใจใคร่อยากรู้ทุกอย่างโดยไม่ปิดบังเลยสักอย่าง เพราะอาตมาเชื่อว่าคนเราอยู่ได้ไม่เกินร้อยปีก็ตายกันหมด ส่วนที่เกินร้อยก็มีอยู่ไม่เท่าไร วิชาเหล่านี้มีค่ามหาศาลยิ่งนัก มันสมควรอยู่เป็นสมบัติของมนุษยชาติ ถ้าปิดหรือเก็บไว้มันก็ตายตามตัวเราไปเท่านั้นเอง หลวงปู่อินทร์มักสอนเสมอๆ ว่า ใครอยากเล็กให้หามาใส่ ใครอยากใหญ่ให้ถ่ายออก
    ธรรมะของพระพุทธเจ้าที่ตกทอดมาถึงรุ่นเราเพราะพุทธองค์ทรงถ่ายทอดให้สาวกลงมาตามลำดับขั้น ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่า ถ้าอยากให้อะไรคงอยู่บนผืนโลกต้องบอก ต้องประกาศให้คนหมู่มากรู้ เพื่อจะได้ช่วยรักษาสมบัติอันล้ำค่าไว้
    * ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นใครครับ?
    - ก็เป็นพวกที่รักษามาจากโรงพยาบาลนั่นแหละ อาการหนักสุดก็ชาไปทั้งตัว หรือที่เรียกว่าเป็นอัมพฤกษ์ เมื่อเหยียบแล้วเขาก็หายเป็นปกติ แต่ต้องขึ้นอยู่กับคนไข้ด้วยว่าปฏิบัติตามคำแนะนำได้ครบถ้วนหรือไม่
    * ระหว่างเหยียบฉ่าหลวงพ่อบริกรรมคาถาบทใดครับขั้นแรกก็ต้องตั้งนะโม ๓ จบ ก่อน จากนั้นก็ว่าคาถาดับพิษไฟที่ว่า โอมมะ อัคคีภัย คลายเย็นดังน้ำพระคงคา โอมบรรเทาสวาหะ ระหว่างที่ลงเท้าก็บริกรรม พุทธังละลาย ธัมมังละลาย สังฆังสูญหาย เหยียบไปถาวนาไป ซึ่งมันก็ได้ผลเกินคาด ไม่ว่าจะเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ปวดเมื่อยตามแขนขา หรือตามร่างกาย ใช้ได้ทั้งนั้น เคล็ดอย่างหนึ่งคือ ต้องท่องคาถาให้คล่องเสียก่อน จากนั้นก็ใส่สมาธิเข้าไป เมื่อมีสมาธิอำนาจพุทธคุณในคาถาจึงเกิด
    * คาถาที่ว่านี้ฆราวาสนำไปใช้ได้หรือเปล่าครับ?
    - ได้สิ อาตมาไม่เคยหวงเลยสักบท ใครมาติดต่อขอเรียนก็ถ่ายทอดให้หมดเปลือก ไม่เคยปิดบังอำพราง จดให้ไปท่องกันเลย สอนไปเป็นร้อยๆ คน ฝรั่งต่างชาติก็มาเรียนกันหลายคน พระบางรูปหรือคนบางคนถือเคร่งก็ไปทำชื่อเสียงให้กับตัวเองมามากแล้ว พระบางรูปนำวิชาเหยียบฉ่าไปสร้างวัด สร้างศาลา ก็เคยมีมาแล้ว
    * ใช้คาถารักษาโรคไม่งมงายหรือครับ?
    - จริงๆ มันประกอบกัน จะพึ่งคาถาอย่างเดียวก็ไม่ได้ต้องใช้ภาคปฏิบัติด้วย โดยเฉพาะความชำนาญของผู้รักษา ขณะเดียวกันต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วยอีกทางหนึ่ง อาตมารักษาไปอย่างสุดความสามารถ แต่ผู้ป่วยไม่รู้จักรักษาตัวเองมันก็ไม่ได้ผลอะไร
    * แล้วการทำยาสมุนไพรล่ะครับ?
    - อันนี้ก็สอนให้หมดเหมือนกัน อย่างกับยาที่ใช้ระหว่างเหยียบฉ่านั้นประกอบด้วย หัวไพล ผิวมะกรูด การบูร และน้ำมันมะพร้าว ส่วนยาทาแก้ปวดประกอบด้วย น้ำมันมะพร้าว การบูร ผิวมะนาว และผิวมะงั่ว
    * พวกที่รักษาไม่หาย ย้อนกลับมาด่าหลวงพ่อหรือเปล่าครับ?
    [​IMG]- ไม่เคยมีเลยสักราย เพราะเรารักษาฟรี และก็รักษาให้เต็มความสามารถด้วย ที่ไม่หายส่วนใหญ่อาจจะเป็นนานเกินไป ก่อนที่จะมาถึงเท้าอาตมา ขณะเดียวกันก็ไม่กระตือรือร้นที่จะรักษาตัวเอง เมื่อมารักษาต้องปฏิบัติามคำแนะนำ เช่น ต้องพยายามฝึกเดิน อาบน้ำอุ่น นอนห่มผ้า ไม่นอนห้องแอร์ และไม่นอนเปิดพัดลม ถ้านอนอย่างเดียวรอให้หายเอง เทวดาที่ไหนก็มาช่วยไม่ได้
    * มีคนบอกว่าไม่สะอาดหรือเปล่าครับ?
    - การใช้เท้าเหยียบดูเหมือนว่าไม่สะอาด แต่จริงๆ แล้วอาตมาไม่ได้เหยียบสิ่งสกปรกอะไรมา ที่สำคัญคือคนเรามุ่งที่จะรักษาตัวให้หายเป็นอันดับแรก
    * ท่านคิดค่ารักษาอย่างไรครับ?
    - รักษาฟรี ไม่เคยเรียกร้องสักบาท แต่เมื่อใครหายก็กลับมาทำบุญเอง ทั้งทอดกฐินและถวายผ้าป่า ปัจจัยที่ได้จากกิจนิมนต์ จากไปเทศน์ก็นำไปซื้อสมุนไพรมาปรุงเป็นตัวยา อาตมาถือว่าเป็นการให้ทานอย่างหนึ่ง เพราะคิดอยู่เสมอว่า อโรคยา ปรมา ลาภา หมายถึง ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ ซึ่งเป็นความปรารถนาของทุกคน เมื่อเป็นโรคก็เป็นทุกข์เหมือนกับตกนรกทั้งเป็น เมื่อพ้นจากโรคก็เป็นสุขเหมือนได้ขึ้นสวรรค์ทั้งเป็น ใครที่มาให้อาตมาเหยียบล้วนต้องการให้พ้นจากความทุกข์จากโรคทั้งสิ้น เท่ากับว่าอาตมาได้ช่วยให้คนได้ขึ้นสวรรค์ ในขณะที่เขายังมีชีวิตอยู่
    * เหยียบฉ่ารักษาผู้หญิงไม่ต้องอาบัติหรือครับ?
    - อาตมาไม่ถือ เพราะเป็นวิธีรักษา ไม่ได้สัมผัสด้วยอารมณ์ราคะ สิ่งสำคัญคือ อาตมาเหยียบฉ่ารักษาผู้หญิงในที่โล่งแจ้ง มีญาติโยมนั่งอยู่เป็นเพื่อน ซึ่งตลอดเวลากว่า ๔๐ ปี ไม่มีใครมาต่อว่าอาตมาเลย ขณะเดียวกันอาตมาก็มีลูกศิษย์ที่เป็นฆราวาสคอยช่วยอยู่ด้วย
    * คนที่จะมารับการรักษาต้องนัดวันหรือเปล่าครับ?
    - ไม่ต้อง มาเมื่อไรก็เจอเมื่อนั้น อาตมาจะทิ้งวัดไปไหนไม่เกินชั่วโมง อาตมาไม่เคยปล่อยให้คนไข้รอ เพราะอาตมาให้ความสำคัญต่อการรักษาเป็นอันดับแรก ส่วนกิจนิมนต์เป็นอันดับรองๆ ลงมา ถ้านิมนต์ไปเหยียบนอกสถานที่อาตมาก็ไม่ไป เดี๋ยวคนมาวัดรอเก้อ
    * หลวงพ่อรักษาฟรี แต่ลูกศิษย์ไปรักษาแพง ถือว่าผิดครูหรือเปล่าครับ?
    - เป็นเรื่องของเขา แต่การรักษาต้องมีวัตถุประสงค์ เช่น จะหาเงินสร้างศาลาก็ให้ญาติโยมเป็นคนจัดการเรื่องเงินทอง ถ้าพระไปยุ่งกับเงินทองมากๆ ก็เกิดกิเลส และกิเลสนี้เองเป็นตัวนำพาแห่งความเสื่อมทั้งหลาย ส่วนความเชื่อที่โรคจะเข้าตัวผู้รักษานั้นเป็นการคิดไปเองมากกว่า ส่วนค่าขันบูชาครูนั้นอาตมาคิดว่าเป็นเรื่องของคนอยากได้มากกว่าเป็นการบูชาครู ใครมารักษาที่นี้ไม่มีค่าขันบูชาครู
    * มีคนบอกว่ารักษาโรคไม่ใช่หน้าที่ของพระ หลวงพ่อรู้สึกอย่างไรครับ?
    [​IMG]- คนที่พูดคือคนไม่รู้จักพระ ไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ศาสนา สมัยก่อนอะไรก็อยู่และเกิดจากวัดทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นการเรียนหนังสือ วิชาช่าง งานศิลปะ รวมทั้งการรักษาโรค ตั้งแต่เกิดไป จนตายก็ว่าได้ พอการแพทย์แผนปัจจุบันรุ่งเรือง ก็ลืมการแพทย์แผนโบราณ แต่เมื่อการแพทย์แผนปัจจุบันใช้ไม่ได้ผล ก็กลับมาพึ่งการแพทย์แผนโบราณ อย่างนี้เขาเรียกว่า อยู่กับทองคำ อยู่กับเพชรกลับ แต่กลับไม่รู้คุณค่าของมันเลย มันสมควรที่จะปล่อยให้ทองคำและ เพชรหายไป ระหว่างเหยียบฉ่า อาตมาจะสอดแทรกธรรมะให้กับผู้มารักษาด้วย โดยเฉพาะธรรมข้อที่ว่า "อโรคยา ปรมา ลาภา"
    * หลวงพ่อได้อะไรจากการรักษาคนไข้ครับ?
    - ก็ได้บุญไง แต่สิ่งที่ได้อย่างหนึ่ง คือ สัจธรรมชีวิต ความเจ็บไข้ได้ป่วยของผู้ที่มารักษา รวมทั้งความตาย สักวันหนึ่งมันก็ต้องเดินทางมาถึงเรา ขึ้นอยู่กับว่าจะช้าหรือเร็วเท่านั้น ในระหว่างมีชีวิตสำคัญอยู่ที่ว่าเราได้ทำบุญ หรือทำความดีอะไรทิ้งไว้เพื่อให้คนรุ่นต่อมาได้ชื่นชมบ้าง
    * ถ้าหลวงพ่อมรณภาพมีใครสานต่อหรือเปล่าครับ?
    - ที่วัดนี้อาจจะสูญไป แต่ที่วัดอื่นอาตมาเชื่อว่าต้องมีแน่ เพราะก่อนหน้านี้การเหยียบฉ่ามีเฉพาะที่วัดพระปรางค์เหลืองเท่านั้น แต่ปัจจุบันนี้เหลือที่วัดเกาะหงษ์ ส่วนที่วัดพระปรางค์เหลืองไม่มี ต่อไปอาจจะไปดังหรือทำชื่อเสียงให้วัดอื่น ก็ไม่เป็นไร เพราะถือว่าวิชายังอยู่ เช่นที่ จันทบุรี กาญจนบุรี กำแพงเพชร และปทุมธานี
    ด้วยเหตุนี้อาตมาจึงอยากฝากบอกถึงพระทุกรูปว่า พระที่จะไปดังจะมีชื่อเสียงโดยไม่มีความรู้ทางเปรียญธรรม หรือมีสมณศักดิ์ทางการปกครอง ต้องมีวิชาที่เกี่ยวข้องกับการใช้คาถาต่างๆ ซึ่งไม่เกินวิสัยของพระ


    ขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    หลวงพ่อบุญชูวัดเกาะหงษ์ศิษย์หลวงพ่ออินผู้ที่ได้รับถ่ายทอดวิชา จากหลวงพ่ออิ่มในสมัยอดีตหลายเกจิอาจารย์จะไปเรียนวิชากับหลวงพ่ออินทร์วัดเกาะหงษ์เช่นหลวงพ่อเมี้ยนโพธิ์กบเจาหลวงพ่อเอียดวัดไผ่ล้อมอยุธยา

    พระสมเด็จหลวงพ่อบุญชูวัดเกาะหงษ์ให้บูชา
    200 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ วัตถุมงคลท่านสร้างไม่เยอะ ไม่มีมาก นะครับ
    IMG_20240414_202731.jpg IMG_20240414_202748.jpg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 เมษายน 2024
  16. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,787
    ค่าพลัง:
    +21,343
    หลวงปู่แก้ว-สุทโธ-543x696.jpg

    หลวงปู่ครูบาแก้ว สุทโธ พระโพธิสัตว์แห่งวัดดอยโมคคัลลาน์ "
    ท่านเป็นหนึ่งในอริยสงฆ์แดนล้านนาที่มีฤทธิ์แก่กล้า เสียดายแต่คนรุ่นหลังหาคนรู้จักไม่มี หาคนสืบทอดเรื่องราวและประวัติของท่านไม่มี
    ย้อนไปสมัยก่อนหลวงปู่แก้ว สุทโธ ท่านเป็นคนบ้านหนองบ่อ อำเภอนาแก นครพนม กับหลวงปู่แหวน สุจิณโณ ท่านเป็นคนจังหวัดเลย ท่านเป็นพระมาจากภาคอิสานท่านทั้งสองเป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้เดินธุดงค์มาด้วยกันและมาพักปักกลดอยู่วัดบนยอดดอยโมคคัลลาน์
    หลวงปู่แก้ว สุทโธ เลยตัดสินใจอยู่พักสร้างวัดที่นี่ โดยหลวงปู่แหวน สุจิณโณ ได้เดินธุดงค์ต่อไปคนเดียว
    วัดดอยโมคคัลลาน์อยู่ใกล้แม่น้ำปิง ทำให้มีเหล่าพญานาคอาศัยอยู่มาก ครั้นต่อมาเมื่อหลวงปู่แก้ว สุทโธ มาพำนักที่นี่ก็มักออกมาหาหลวงปู่แก้วบ่อยๆ โดยเลื้อยจากแม่น้ำปิงขึ้นไปสู่ยอดดอย
    ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้มีชาวบ้านในอดีตเห็นกันมานักต่อนัก โดยพญานาคนั้นชอบนั่งตักหลวงปู่แก้ว (สุทโธ) เพื่อให้หลวงปู่แก้ว(สุทโธ)ป้อนกล้วยให้กิน
    นอกจากพญานาคแม่น้ำปิงแล้ว พญนาคแห่งบ่อน้ำดอยเต่า ก็ชอบมาหาหลวงปู่แก้ว(สุทโธ) เช่นกัน
    โดยบ่อดอยเต่าในอดีตนั้นเป็นบ่อลึกลับ เหล่านาคชอบออกมาเล่นน้ำ ทำให้ผู้คนสมัยนั้นหวาดกลัวกันยิ่งนัก
    หลวงปู่แก้ว(สุทโธ) มีความผูกพันธ์กับพญานาคมาก โดยครั้งหนึ่งมีรถขับผ่านเส้นทางจอมทอง – ฮอด เกิดไปทับพญานาคตนหนึ่งเข้า ทำให้ได้รับบาดเจ็บ ทุกข์เวทนายิ่งนัก
    ครั้นเมื่อได้สติก็เลื้อยขึ้นไปหาหลวงปู่แก้ว (สุทโธ) ซึ่งท่านก็ได้เมตตาเป่ามนต์รักษาให้นาคตนนั้นหายเป็นปกติ เป็นต้น
    หลวงปู่แก้ว (สุทโธ) นอกจากจะเป็นที่พึ่งให้กับญาติโยมแถวจอมทอง ฮอด เหล่าลูกศิษย์จากทุกสารทิศ
    ข้าราชการโดยเฉพาะทหารอากาศแล้ว ยังเป็นที่พึ่งให้เหล่าพญานาคอีกด้วย สำหรับพระเครื่องหรือเครื่องรางของขลังนั้นหลวงปู่แก้ว(สุทโธ) สร้างไว้ไม่มาก ซึ่งจะมีแค่เหรียญไม่กี่รุ่น รูปถ่ายไม่กี่รุ่น
    ซึ่งปัจจุบันหาชมได้ยากยิ่ง พระเครื่องของหลวงปู่นั้น มีนาายทหารอากาศได้ห้อยเหรียญหลวงปู่แก้วแก้ว (สุทโธ) มีครั้งหนึ่งเฮลิคอปเตอร์ระเบิดไปทั้งลำ ทหารคนนั้นที่อยู่ในนั้นไม่เป็นอะไรเพราะห้อยเหรียญหลวงปู่แก้ว แก้ว(สุทโธ)
    วัดดอยโมคคัลลาน์ ตั้งอยู่ตำบลสบเตี๊ยะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ (ระหว่างเส้นทางจอมทอง - ฮอด)
    ที่นี่เมื่อครั้งอดีตเคยมีพระอริยสงฆ์นามหลวงปู่แก้ว สุทโธ ซึ่งเป็นสหายทางธรรมกับหลวงปู่แหวน สุจิณโณ ผู้โด่งดัง
    และหลวงปู่พา พระโพธิสัตว์ แห่งวัดถ้ำตับเต่า จ.เชียงใหม่ เป็นคนภูไท บ้านม่วงไข่ พรรณานิคม จ.สกลนคร เป็นศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เช่นกัน
    ซึ่งในกัปป์นั้นจักได้เป็นพระพุทธเจ้าในกัปป์เดียวกัน หลวงปู่พา จะได้ตรัสรู้ ก่อนหลวงปู่แก้ว สุทฺโธ (อ้างอิงมาจากธรรมประวัติองค์หลวงป่จาม มหาปุญโญ ผู้มากมีบุญ)
    เรื่องราวของหลวงปู่ครูบาแก้ว (สุทโธ) นั้นปัจจุบันหาคนรู้ประวัติได้ยาก
    เรื่องราวอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ของหลวงปู่แก้ว(สุทโธ) นั้นสืบทอดกันปากต่อปาก ซึ่งชาวบ้านดอยโมคคัลลาน์และชาวบ้านใกล้เคียงนั้นต่างรู้ดี
    แม่น้ำปิงในสมัยก่อนนั้นมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์อยู่ ๓ องค์ หลวงปู่ครูบาแก้ว (สุทโธ) ได้อัญเชิญขึ้นมาจากน้ำเพื่อช่วยโปรดชาวโลก
    ซึ่งพระพุทธรูป ๓ องค์นี้ศักดิสิทธิ์มาก สามารถบันดาลฝนฟ้าให้ตกต้องตามฤดูกาลได้ ปัจจุบันมีการเก็บรักษาไว้อย่างดี ณ วัดดอยโมคคัลลาน์
    หลวงปู่แก้ว สุทโธ ถือเอาคำพูดที่ชาวบ้านประสบพบเห็นพญานาคราชเลื้อยขึ้นสู่ยอดดอย ท่านจึงได้สร้างบันไดทางขึ้นสู่ดอยโมคคัลลาน์เป็นรูปพญานาคเลื้อยเอาส่วนหัวขึ้น ส่วนหางทอดลงไปยังเชิงดอยต่างจากที่แห่งอื่น
    ซึ่งเมื่อจัดสร้างบันไดนาค จะทำราวบันไดเป็นรูปพญานาคเอาส่วนหัวดึงลงข้างล่าง ส่วนหางอยู่ด้านบน เป็นสัญลักษณ์พิเศษของบันไดขึ้นดอยโมคคัลลาน์
    พระธาตุดอยโมคคัลลานะ วัดพระธาตุดอยโมคคัลลานะ สร้างเมื่อพ.ศ. ๒๔๗๕ โดยหลวงปู่แก้ว สุทโธ (สหธรรมิก ผู้เคยธุดงค์กับหลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม ศิษย์ของพระอาจารย์ใหญ่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต) ได้ธุดงค์ผ่านมา และได้ตั้งสัจจะอธิฐานขอสร้างพระธาตุขึ้นบนดอยแห่งนี้ โดยได้แรงศรัทธาจากชาวบ้านร่วมกันสร้างจนสำเร็จ และตั้งชื่อว่าพระธาตุดอยโมคคัลลาน์
    มาถึงปี พ.ศ.๒๔๗๕ ได้ย้ายสำนักสงฆ์จากยอดดอยมาสร้างวัดที่บ้านหนองเตา ตั้งชื่อวัดเสียใหม่ว่า วัดโมคคัลลาน ต่อมาได้เกิดอุทกภัย อาคารต่างๆ ชำรุดเสียหาย จึงได้ทำการย้ายวัด ขึ้นไปอยู่บนเนินเขาและได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่จนถึงปัจจุบัน
    ตำนานโบราณจากสมัยดึกดำบรรพ์ มีการจารึกข้อความเกี่ยวกับ “ดอยโมคคัลลาน์” แห่งภาคเหนือสุดของแผ่นดินสยามไว้ดังนี้
    “สมัยพุทธกาล เมื่อสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ายังเสด็จออกโปรดเหล่าเวไนยสัตว์อยู่ในชมพูทวีป พร้อมด้วยพระอรหันตสาวกทั้งหลายที่ร่วมกันเผยแพร่พระพุทธศาสนาให้ขจรขจาย
    คราวหนึ่ง พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรวจตราหมู่สัตว์ผู้เข้ามาข้องเกี่ยวอยู่ในพุทธญาณตามพุทธประเพณี พระผู้มีพระภาคเจ้าทอดทัศนาเห็น “พญาอังครัฏฐะ” เจ้าผู้ครองนครอังครัฏฐะ (อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ในสมัยปัจจุบัน) เป็นผู้ประกอบไปด้วยศรัทธาเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนา บัดนี้พญาอังครัฏฐะมีความประสงค์จะถวายมหาทานแด่พระบรมศาสดา
    พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสั่งให้องค์อัครสาวกเบื้องซ้าย “พระมหาโมคคัลลานะเถรเจ้า” กับพระอรหันต์ผู้เป็นบริษัทของท่านอีก ๔ รูป มาโดยอากาศ (เหาะ) สู่นครอังครัฏฐะ เพื่ออนุเคราะห์แก่พญาอังครัฏฐะผู้มีศรัทธาแรงกล้า
    เมื่อพระเอกอัครสาวกเบื้องซ้าย “พระมหาโมคคัลลานะเถรเจ้า” พร้อมด้วยพระอรหันต์อีก ๔ รูป มาถึง ดอยแห่งนี้ อยู่ในอาณาเขตของนครอังครัฏฐะ จึงสำแดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ให้เป็นที่ประจักษ์ โดยก้าวลงมาจากอากาศเบื้องบน สู่พระบรมมหาราชวังของพญาผู้เป็นใหญ่ ณ นครแห่งนี้
    พญาอังครัฏฐะ แลเห็นพุทธสาวกเหาะลงมาจากท้องฟ้า นึกอัศจรรย์ใจในฤทธานุภาพเป็นกำลัง เข้าใจว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาด้วยพระองค์เอง รีบออกจากพระราชวังไปกราบอภิวาทวันทา
    “เป็นบุญวาสนาเหลือเกิน ที่ข้าพระพุทธเจ้ามีโอกาสได้ถวายสักการะแด่สมเด็จพระบรมศาสดา”
    พระมหาโมคคัลลานะเถรเจ้า ผู้เป็นเลิศทางอิทธิฤทธิ์ยิ่งกว่าพระอรหันต์ทั้งปวง กล่าวว่า...
    “อาตมามิใช่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า อาตมาเป็นเพียงสาวกของพระองค์ บัดนี้องค์พระศาสดาของอาตมาตรัสสั่งให้มาเพื่อยังความอนุเคราะห์แก่มหาบพิตร”
    ทราบดังนั้น พญาอังครัฏฐะก็ยังทรงโสมนัสยินดี เพราะพระมหาโมคคัลลานะเป็นพระอรหันต์ผู้มีศักดิ์ใหญ่ ทรงฤทธานุภาพเหนือโลก จึงอัญเชิญพระเถรเจ้าทั้ง ๕ รูป ไปยังที่นั่งอันสมควร ทรงสมาทานศีล ๘ แล้วถวายภัตตาหารบิณฑบาตแด่พระอรหันต์ทั้ง ๕ องค์
    หลังจากฉันภัตตาหารอันมีรสเลิศแล้ว พระมหาเถรเจ้าแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพญาอังครัฏฐะ ให้พญาผู้เป็นใหญ่แห่งนครนี้ ทรงตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม ๑๐ ประการ แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการประพฤติธรรมในการปกครองอาณาประชาราษฎร์ แล้วลาพญาอังครัฏฐะไปยัง “ดอยอังคะ สักการะ” (ดอยอินทนนท์) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของนคร
    พระมหาโมคคัลลานะเถรเจ้า พยากรณ์เหตุการณ์ที่จะอุบัติขึ้นในกาลเบื้องหน้าดังนี้
    “เมืองพญาอังครัฏฐะ ต่อไปจากเพลานี้ถึงอนาคตอันยาวไกล จักอุดมด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล จักจำเริญรุ่งเรืองด้วยพระบวรพุทธศาสนาไปตลอดครบ ๕,๐๐๐ ปี ”
    ( อ้างอิง ตำนาน “พระธาตุจอมทอง” ที่เล่าลือกันมาแต่ครั้งโบร่ำโบราณกล่าวอยู่ว่า )
    มีเทพยดาจำนวน ๒ องค์ กับ พญานาคราชผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์ ๒ ตน ทราบว่ากาลในอนาคตจักมีพระบรมสารีริกธาตุแห่งองค์พระศาสดา มาสถิตเป็นมหามงคลอยู่ที่ดอยจอมทอง”
    เทพยดาผู้มีอำนาจมากทั้ง ๒ องค์ กับ พญานาคราช ๒ ตน จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ ที่ประทับ ขออาสาเป็นผู้พิทักษ์ปกป้องดูแลพระธาตุเจดีย์ มิให้เป็นอันตรายไปด้วยเหตุร้ายประการใด...”
    ช่วงปัจฉิมวัย หลวงปู่แก้ว สุทโธ
    ช่วงปัจฉิมวัย หลวงปู่แก้ว สุทโธ ท่านได้ออกธุดงค์อีกเนิ่นนานหลังจากสร้างพระธาตุเจดีย์สำเร็จ ท้ายที่สุดท่านจึงย้ายกลับมาจำพรรษาที่ “วัดดอยโมคคัลลาน์” อบรมพระภิกษุ สามเณร ตลอดจนศรัทธาญาติโยมทั้งปวง ให้รู้จักการรักษาศีล เจริญภาวนา ตามแนวทางของพระอาจารย์ใหญ่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จวบจนวาระสุดท้ายในชีวิตของท่าน
    เพิ่มเติมข้อมูลสำหรับผู้มีจิตศรัทธาจะเดินทางไปกราบสักการะพระบรมสารีริกธาตุที่วัดพระธาตุดอยโทคคัลลานะ รายละเอียดดังนี้
    การเดินทางไปวัดพระธาตุดอยโมคคัลลานะ ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๘ (ถนนเชียงใหม่-ฮอด) มุ่งหน้าสู่อำเภอจอมทอง ผ่านวัดพระธาตุศรีจอมทอง ประมาณ ๔ กิโลเมตร ผ่านปากทางเข้าวัดโมคคัลลาน มาประมาณ ๕๐๐ เมตร ก็จะเห็นถนนทางขึ้นวัดพระธาตุดอยโมคคัลลานะ อยู่ด้านขวามือของถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๘
    ประวัติย่อหลวงปู่ครูบาแก้ว สุทโธ พระโพธิสัตว์แห่งวัดดอยโมคคัลลาน์ ต.สบเตี๊ยะ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
    ๔ เมษายน ๒๕๕๙
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    รูปหล่อรุ่นแรกหลวงปู่แก้ววัดดอยโมคคัลลาเลี่ยมเก่าแบบโบราณเลี่ยมเลนส์สมัยก่อนให้บูชา 1000 บาท ครับ

    IMG_20240415_093715.jpg IMG_20240415_093652.jpg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 เมษายน 2024
  17. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,787
    ค่าพลัง:
    +21,343
    สมเด็จหลวงพ่อโต๊ะ วัดสระเกศ พิมพ์ 7 ชั้น เนื้อออกโชนเหลืองพระรุ่นนี้วงการเล่นหาเป็นรุ่น 2 พิมพ์ 7 ชั้น นิยม สร้างเมื่อ ปี 2513 บ้างท่านเรียกรุ่นรับเสด็จ ทันหลวงพ่อ หลังจากหลวงพ่อมณภาพไปเมื่อปี 2514 พระสมเด็จของท่านยังตกค้างเหลืออยู่จำนวนหนึ่งจนถึงปี 2534 ทางวัดจึงได้ทำกล่องขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกสำหรับสาธุชนที่มีจิตศรัทธาในการร่วมทำบุญสร้างหอสวดมนต์และหอฉัน และมีการแตกกรุอีกครั้งเมื่อ ก.ค. ปี 2553 แต่สามารถแยกกันได้ครับ ว่ากันว่าพระเครื่อง เนื้อผง ยุคแรกๆที่ท่านสร้างไว้ มีส่วนผสมของพระสมเด็จเกศไชโย ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) สร้างไว้จำนวนมาก อีกทั้งผงอิทธิเจที่หลวงปู่โต๊ะลบไว้เอง และของครูบาอาจารย์ของท่าน แต่ละองค์จะแก่มวลสารมาก

    หลวงปู่โต๊ะ วัดสระเกศ อดีตพระเกจิชื่อดังอ่างทอง

    "หลวงปู่โต๊ะ" วัดสระเกศ อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง เป็นพระเกจิชื่อดังรูปหนึ่งแห่งภาคกลาง เมื่อ 50 ปีที่ผ่านมา ท่านได้จัดสร้างพระเครื่องวัตถุมงคลมากมาย อาทิ พระพิมพ์สมเด็จ รูปเหมือน และ เหรียญวัตถุมงคล

    เมืองอ่างทอง เป็นจังหวัดซึ่งอุดมไปด้วยงานหัตถกรรมพื้นถิ่น ไม่ว่าจะเป็นงานปั้นตุ๊กตาชาววัง การทำกลอง การทำอิฐดินเผา หรือการผลิตเครื่องจักสาน ทั้งยังเป็นแหล่งกำเนิดเพลงพื้นบ้านลิเก เป็นจังหวัดบ้านเกิดของวีรชนคนกล้าหลายคนในศึกบางระจัน

    นอกจากนี้ ยังเต็มไปด้วยวัดวาอารามมากมายกว่า 200 วัด ล้วนเป็นสถานที่น่าศึกษาประวัติศาสตร์และเรื่องราวความเป็นมาในอดีตของชาติไทย เป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดี พบร่องรอยคูเมืองที่มีร่องน้ำโอบล้อมรอบเมืองตามรูปแบบคูน้ำคันดิน

    อ่างทองเดิมชื่อ เมืองวิเศษชัยชาญ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน้อยบนพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญของกรุงศรีอยุธยาในการสู้รบกับกองทัพพม่า ดังปรากฏในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาหลายตอน

    ส่วนวัดสระเกศ เป็นวัดเก่าตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ที่ตำบลชัยภูมิ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทิศตะวันออก ห่างจากอำเภอเมืองอ่างทอง ประมาณ 15 กิโลเมตร ตำบลชัยภูมินี้เดิมชื่อบ้านสระเกศ ขึ้นอยู่กับแขวงเมืองวิเศษชัยชาญ มีกล่าวไว้ในพระราชพงศาวดารว่าเมื่อปี พ.ศ.2128 พระเจ้าเชียงใหม่ยกทัพมาตั้งค่ายอยู่ที่บ้านสระเกศ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ ได้รุกไล่ตีทัพของพระเจ้าเชียงใหม่จนแตกพ่าย

    เมื่อปีพ.ศ.2513 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระ บรมราชินีนาถ เคยเสด็จพระ ราชดำเนินมาวัดสระเกศ เพื่อทรงบำเพ็ญพระราชกุศลบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในช่วงที่หลวงปู่โต๊ะ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสระเกศ อ.ไชโย จ.อ่างทอง

    หลวงปู่โต๊ะ เป็นพระเถราจารย์ที่ได้รับความเคารพนับถือจากประชาชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวเมืองอ่างทอง และเป็นพระเกจิอาจารย์ที่อยู่ในรุ่นราวคราวเดียว กันกับหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี รวมทั้งมีความสนิทสนมกันเป็นอย่างดี เนื่องจาก ร่วมพิธีปลุกเสกด้วยกัน นอกจากนี้ ยังเคยแลกเปลี่ยนวิชาอาคมซึ่งกันและกันอีกด้วย

    หลวงปู่โต๊ะ ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ตั้งแต่ปี 2462 ท่านได้ชื่อว่าเป็นพระเกจิอาจารย์อาคมขลังยุคเก่าแห่งเมืองอ่างทองอีกรูปหนึ่ง ศิษยานุศิษย์สายตรงต่างรู้จักกันดี ถึงบารมีและความเมตตาสูงมาก ในช่วงที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายพิมพ์ มีทั้งโลหะ เนื้อดิน เนื้อผง แต่ที่โดดเด่นที่สุด คือ พระพิมพ์สมเด็จ 9 ชั้น เนื้อผง ซึ่งมีส่วนผสมของพระสมเด็จเกศไชโย ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) สร้างไว้จำนวนมาก อีกทั้งผงอิทธิเจที่หลวงปู่โต๊ะลบไว้เอง และของครูบาอาจารย์ของท่าน เป็นพระเครื่องยุคแรกที่ท่านสร้าง แต่ละองค์จะแก่มวลสารมาก

    หลวงปู่โต๊ะ ได้สร้างพระเครื่องพิมพ์สมเด็จไว้ โดยเอาผงที่ท่านลบผสมผงวัดไชโยฯ ที่ชำรุด และผงพระหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา และของพระเกจิอาจารย์ชื่อดังอื่นๆ ผสมเป็นมวลสารด้วย พุทธคุณว่ากันว่าเยี่ยมยอดครบถ้วน ทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย ค้าขายร่ำรวย

    ในช่วงก่อนหน้านี้ หลวงปู่โต๊ะ ท่านได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่พระครูอาทรสิกขการ และด้านปกครอง เคยดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลชัยภูมิ

    ช่วงบั้นปลายของชีวิต สังขารหลวงปู่เริ่มโรยราไปตามกาลเวลา ท่านอาพาธด้วยโรคชรา จนมาถึงวาระสุดท้าย ท่านได้มรณภาพด้วยความสงบ เมื่อปี พ.ศ.2514

    ต่อมาบรรดาศิษยานุศิษย์และทางวัด เห็นชอบจัดสร้างรูปเหมือนของท่านประดิษฐานไว้ในวัดสระเกศ อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง เพื่อกราบไหว้บูชาน้อมรำลึกถึงคุณความดีของหลวงปู่โต๊ะ ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตลอดชีวิต
    หลวงปู่โต๊ะ สุวณฺโณ มีนามเดิมว่า " โต๊ะ ศรีพิโรจน์ " บิดาชื่อเเก่น มารดาชื่อใย ศรีพิโรจน์ เป็นคนบ้านวัดสระเกษ เกิดเมื่อวันเสาร์ เดือน12 ปีมะโรง พ.ศ. 2434 (ตรวจสอบจากปฏิทิน100ปี ตรงกับ เดือนพฤศจิกายน ปีพ.ศ.2345 วันเสาร์เดือน12 มี3 วัน คือ วันเสาร์ที่5 ,12 ,19 )
    - อุปสมบทเมื่อปี2455 มีพระอธิการเมิน วัดจุฬามณี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดเฟื่อง วัดสกุณาราม(นก) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการจุ้ย วัดละมุด เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา สุวณฺโณ(หรือ สุวัณโณ) ( คนพื้นที่บางท่านว่า หลวงปู่เฟื่อง เป็นอุปัชฌาย์ ) ในสมัยเป็นสามเณรได้เข้ามาเรียนที่วัดหงส์รัตนราม ธนบุรี
    - ปีพ.ศ. 2462 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดสระเกษ
    - ปีพ.ศ. 2482 ได้รับสมณศักดิ์ เป็นพระครูชั้นประทวน " พระครูโต๊ะ สุวณฺโณ "
    - ปี พ.ศ. 2486 ได้รับสมณศักดิ์ เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตร " พระครูอาทรสิกขการ "
    - ปี พ.ศ. 2489 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการสงฆ์ อำเภอไชโย (หน้าที่องค์การเผยแผ่อำเภอ)
    - ปี พ.ศ.2490 ได้รับเเต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลไชยภูมิและพระอุปัชฌาย์
    หลวงปู่โต๊ะมรณะภาพเมื่อวันศุกร์ที่3 ธันวาคม พ.ศ.2514 ที่โรงพยาบาลพระปิ่นเกล้า สิริอายุรวม 80 ปี 59 พรรษา
    พระเครื่องเเละวัตถุมงคลของหลวงปู่โต๊ะแบ่งได้เป็นยุคๆตามวิวัฒนาการของการสร้างและวาระดังนี้

    - ยุคเเรก สันนิษฐานว่าเริ่มสร้างราวปี พ.ศ. 2470-2480 เพื่อวัตถุประสงค์เเจกจ่ายเเก่ลูกศิษย์ที่ไปรบในสงคราม จำพวกเครื่องราง ได้เเก่ผ้ายันต์เขียนมือ ตะกรุด ผ้าประเจียด และหลังจากเสร็จสิ้นยุคสงคราม เป็นการจัดสร้างพระพิมพ์บ้างว่าทำจากดินท่าน้ำ ดินเจ็ดป่าช้า ดินดิบ ผสมมวลสารต่างๆ ผ่านกรรมวิธีการเผา พิมพ์พระแบบสมเด็จ ขุนแผน และ นางพญา เเม่พิมพ์เเกะจากไม้เนื้อเเข็ง

    - ยุคกลาง สันนิษฐานว่าสร้างราวปี พ.ศ. 2480-2500 เพื่อฉลองวาระได้รับพระราชทานพระครูชั้นประทวน และชั้นสัญญาบัตรในชั้นถัดมาที่ พระครูอาทรสิกขการ เป็นพระเนื้อผงพิมพ์ 7 ชั้นเเละ 9 ชั้น มีหลายพิมพ์ รวมทั้งพิมพ์ประทับทรงสัตว์ , ขุนแผน , มีเนื้อผงสีขาว-ดำ-แดง เเม่พิมพ์เป็นทองเหลือง นอกจากเนื้อผงเเล้ว จะมีประเภท รูปเหมือนปั๊มรุ่นแรก(พระครูอาทรฯ) ผ้ายันต์สิงห์ใหญ่-สิงห์เล็ก-ชายธง, เหรียญกลมรุ่นเเรก ,แหวนรุ่นเเรก ,ตะกรุดโทน ฯลฯ

    - ยุคปลาย สร้างราวปี พ.ศ. 2500-2514 ถือเป็นยุคโด่งดังเเละเเพร่หลายในกลุ่มลูกศิษย์ต่างถิ่นมากที่สุด เริ่มมีกลุ่มลูกศิษย์จากกรุงเทพเเละจังหวัดใกล้เคียงเเวะเวียนมากราบไหว้ในรูปแบบทัวร์สองแถวส้ม รถบัสส้ม ส่วนมากจะเป็นทัวร์ไล่เรื่อยกราบไหว้พระจังหวัดพระนครศรีอยุธยา-อ่างทอง-สิงห์บุรี-ชัยนาท-นครสวรรค์ ( หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ-หลวงปู่โต๊ะ วัดสระเกษ-หลวงพ่อเชน วัดสิงห์-หลวงพ่อกัน วัดเขาเเก้ว-หลวงพ่อพรหม วัดช่องเเค ) ยุคนี้เป็นยุคที่โรงงานจัดสร้างพระเข้ามารับจัดสร้างประเภท เหรียญ เเหวน ตะกรุดชุด108ดอก ล็อกเกต รูปถ่าย รูปหล่อโบราณอุดกริ่ง รุ่น2 เป็นต้น

    - วาระที่หลวงปู่จัดสร้างที่สำคัญที่สุดเป็นคราวงานรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่9 ในวันอาทิตย์ที่25 มกราคม พ.ศ. 2513 เป็นพระผงแบบสมเด็จ7ชั้น เเละ 9 ชั้น เรียกว่า "รุ่นรับเสด็จ" พิมพ์ทรงคมชัดสวยงาม บางองค์ติดชัดเห็นหู ตา จมูกในพิมพ์7ชั้น ,ผ้ายันต์ จัดทำจำนวนมากเพื่อเตรียมไว้เเจกจ่ายเเก่ผู้มาร่วมงานชนิดที่ว่าหลังจากท่านมรณะภาพในปีถัดมากพระเครื่องเเละเครื่องรางที่ทันท่านปลุกเสกก็ยังไม่หมดไปจากวัดเสมือนหนึ่งเป็นการสร้างทิ้งทวนไว้ให้ผู้ที่ต้องการเเละศรัทธา ในการณ์นี้หลวงปู่โต๊ะได้ถวายโบราณวัตถุสำคัญที่ขุดค้นพบได้ในบริเวณวัดเเด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่รัชกาลที่9 เป็นพระพิฆเนศวรขนาดบูชาเนื้อสำริด 1 องค์ ศิลปะสมัยลพบุรีขุดพบ2องค์แต่อีกองค์ชำรุดจึงไม่ได้นำถวาย

    - พระสหธรรมิกของหลวงปู่โต๊ะ ได้เเก่ หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว หลวงปู่จันทร์ วัดคลองระนง หลวงพ่อพรหม วัดช่องเเค หลวงตาปลัดยศ วัดไชโย หลวงพ่อซวง วัดชีปะขาว ฯลฯ
    - พระอาจารย์หลวงปู่โต๊ะ สันนิษฐานว่า หลวงปู่เฟื่อง วัดสกุณาราม(นก) หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ หลวงพ่อคง วัดบางกระพี้
    - เอกลักษณ์พระเครื่องของหลวงปู่โต๊ะ สุวณฺโณ ได้เเก่ สมเด็จ7เเละ9ชั้น หลังติดรูปถ่าย ทั้งมีตัวอักษรและไม่มีตัวอักษร
    สำหรับพระสมเด็จเนื้อผงทั้ัง 3 องค์นี้เป็นพระพิมพ์สมเด็จฐาน9ชั้น จัดอยู่ในพระเครื่องยุคกลางของท่าน และเป็นพระสมเด็จเนื้อผงยุคแรกๆ เนื้อผงขาวพบได้มากที่สุด เนื้อผงดำพบได้น้อย เนื้อผงแดงพบได้น้อยมาก

    พุทธคุณ: เมตตา เเคล้วคลาด โชคลาภ คงกระพัน( บางท่านว่ามาเป็นอันดับ1) สมดั่งที่ชาวบ้านกล่าวว่าหลวงปู่โต๊ะท่าน"วาจาสิทธิ์" หลวงปู่ท่านมักพูดเสมอว่า " ดี ดี ดี "
    พระสมเด็จหลวงพ่อโต๊ะวัดสระเกศหลังติดรูปถ่ายมีซ่อมหักบิ่นมุมด้านขวา หลังรูปถ่ายผิวเสีย แตก ตามกาลเวลา แต่ เห็น คราบปรอท ฉาบบนรูปถ่ายชัดเจน
    ให้บูชา 800 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20240415_093755.jpg IMG_20240415_093814.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 เมษายน 2024
  18. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,787
    ค่าพลัง:
    +21,343
    FB_IMG_1713437794025.jpg
    วันนี้วันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๔ เป็นวันคล้ายวันมรณภาพของหลวงปู่สิงห์ สิริธัมโม รำลึก ๑๑ ปี อาจาริยบูชาคุณ “พระอริยสงฆ์ผู้มีธรรมอันเป็นมงคล” หลวงปู่สิงห์ สิริธัมโม สมัยท่านเป็นฆราวาสท่านได้อุปัฏฐากและอบรมธรรมอยู่กับหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี อยู่มาวันหนึ่งหลวงปู่เทสก์ ได้ถามท่านว่า “พ่อสิงห์ อยากบวชหรือเปล่า” ท่านจึงตอบว่า “อยากอยู่ครับ” หลวงปู่เทสก์ เทสรังสีจึงนำท่านมาพักที่วัดหินหมากเป้ง และให้นุ่งห่มขาวอยู่หลายเดือน ช่วงที่ท่านเป็นปะขาวอยู่นั้น ท่านได้หัดสวดมนต์บทต่างๆ จนคล่อง และฝึกปฏิบัติอดข้าว อดน้ำตามคำสอนของครูอาจารย์ แม้หลวงปู่สิงห์ ท่านบวชเมื่อวัยชรา แต่ท่านก็ได้เก็บเกี่ยวหลักธรรมวินัย จากพ่อแม่ครูบาอาจารย์อย่างเต็มที่ โดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยและย่อท้อ สิ่งเหล่านี้นี่เอง ย่อมเป็นเครื่องหมายอย่างดีที่บ่งบอกว่า ถึงแม้ท่านจะบวชยามแก่ แต่ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติธรรม เจริญภาวนาตามคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์แม้แต่น้อย หลวงปู่สิงห์เป็นพระภิกษุผู้มีอายุยืนนานถึง ๑๐๑ ปี ก่อนที่จะมรณภาพลงเมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๓ ผมจึงขอน้อมนำประวัติปฏิปทาของหลวงปู่สิงห์ สิริธัมโม มาเผยแพร่ให้เพื่อให้ระลึกถึงสังฆานุสติ และมรณานุสติกันครับ
    FB_IMG_1713437786624.jpg
    ชีวประวัติปฏิปทาพระครูสิริธรรมานุวัตร หลวงปู่สิงห์ สิริธัมโม
    วัดศิริอุปถัมภ์ บ้านโพนพระ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย

    หลวงปู่สิงห์ สิริธัมโม นามเดิมชื่อ “สิงห์” เกิดในสกุล “ประไธสงค์” ถือกำเนิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ.๒๔๕๑ ณ บ้านกระนวน ต.นาโพธิ์ อ.พุทไธสง จ.บุรีรัมย์ บิดาชื่อ นายบุญ ประไธสงค์ มารดาชื่อ นางหลิ่ง ประไธสงค์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๕ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๔ ครอบครัวท่านมีอาชีพทำไรทำนา ขณะที่ท่านอายุได้ ๕ ขวบ ในตอนเช้าวันหนึ่งซึ่งเป็นฤดูหนาว ขณะที่ผิงไฟอยู่นั้น เหตุการณ์ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น มารดาของท่าน อยู่ดี ๆ เกิดหงายหลังหมดสติและเสียชีวิตในตอนนั้น เหลือเพียงบิดาที่คอยดูแลเลี้ยงดูพี่น้องทุกคนในครอบครัวตลอดมา

    เมื่อท่านอายุได้ ๑๕ ปี มีความปรารถนาที่จะออกบวช บิดาก็ไม่ขัดข้อง จึงให้บวชเป็นสามเณรที่วัดบ้านเกิดของท่าน คือวัดบ้านนาโพธิ์นั่นเอง หลังบวชเณรได้ ๔ ปี บิดาท่านได้เกิดเจ็บไข้ล้มป่วย ญาติพี่น้องจึงให้ท่านเข้าไปดูแล ท่านก็เข้าไปดูแลโยมพ่อตามที่ญาติพี่น้องต้องการ ขณะที่หลวงปู่ได้ดูแลโยมบิดาอยู่นั้น ทุก ๆ วันที่ท่านได้ไปบิณฑบาตกลับมา ท่านจะนำอาหารที่บิณฑบาตมาให้โยมบิดาทานทุกวัน และดูแลปฏิบัติอย่างดี ทำอย่างนี้ทุกวันไม่ได้ขาด จนเป็นเวลา ๑ ปี บิดาของท่านจึงเสียชีวิตจากไป แต่ตอนที่บิดาท่านจะเสียชีวิตลงได้สั่งเสียไว้ว่า ให้อุปสมบทก่อนนะ เพื่อตอบแทนบุญคุณของพ่อแม่ ท่านก็ได้รับปากโยมบิดาตามนั้น

    ครั้นเมื่ออายุครบ ๒๐ ปี ท่านจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายมหานิกาย ที่วัดบ้านเกิดท่าน คือวัดบ้านนาโพธิ์ ต.นาโพธิ์ อ.พุทไธสง จ.บุรีรัมย์ หลังอุปสมบทแล้วท่านได้ศึกษาธรรมวินัยกับครูบาอาจารย์ที่วัดนาโพธิ์ ในสมัยนั้น ๆ พระอาจารย์ท่านได้สอนให้นั่งสมาธิภาวนา กำหนดสติอานาปานสติ มีพระภิกษุ ๕ รูป ให้นั่งเป็นวงกลม แล้วจุดเทียนไว้ตรงกลาง ๑ เล่ม แล้วพระอาจารย์ก็สั่งว่า ถ้ามีอะไรเข้ามาในนิมิตไม่ต้องสนใจ ท่านนั่งไปเรื่อย ๆ จนเกิดนิมิตขึ้น มีตะขาบยักษ์ตัวเท่าฝ่ามือ ยาวประมาณ ๑ เมตร ๕๐ เซนติเมตร มารัดตัวท่านตั้งแต่เอวขึ้นมาจนถึงหน้าอก ในนิมิตท่านไม่ได้หวั่นไหวอะไรกับสิ่งที่นิมิตเห็น ครั้นออกจากสมาธิ ท่านอาจารย์ของท่านบอกกับท่านว่า ท่านได้ผ่านการทดสอบในครั้งนี้

    ครั้นถึงอายุครบ ๒๒ ปี ท่านได้ไปจับฉลากทหารได้ใบแดง จึงขอลาพระอุปัชฌาย์ ลาสิกขาบทไปเป็นทหาร ท่านได้เป็นทหารกองประจำการที่กองทหารม้าจังหวัดนครราชสีมา และท่านได้เป็นทหารครบ ๒ ปี จึงได้ปลดประจำการ พอถูกปลดประจำการจากทหาร ท่านก็ได้มาทำไร่ทำนาต่อที่บ้านเพื่อช่วยป้าของท่านนั่นเอง

    พอถึงฤดูทำนา ท่านต้องตื่นแต่เช้าไปทำนาเหมือนชาวนาทั่วไป ชีวิตลำบากมาก แต่ท่านไม่เคยท้อ ท่านเล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนตอนทำนาท่านมีควายอยู่หนึ่งตัว เป็นตัวผู้ ซึ่งเจ้าของเดิมไม่สนใจมันจะฆ่ามันอย่างเดียวเพราะขาหลังของมันเน่าเปื่อย ทำนาไม่ได้ ท่านจึงขอซื้อมาจากเจ้าของเดิมในราคา ๖ สลึง พอซื้อมาแล้ว ท่านได้ดูแลรักษามันจนหายเป็นปกติ ควายตัวนี้มีความกตัญญูและเชื่องมาก ควายตัวไหนจะเข้ามาใกล้ท่าน มันจะขวางทันทีไม่ให้เข้ามาหาท่านได้ มันจะใช้เขาขวิดไล่ให้ควายตัวอื่นออกไปจากท่าน

    อุปสมบท
    ในช่วงที่ท่านมาทำงานที่บ้านโคกซาก อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย เป็นจังหวะเดียวกันกับที่หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ท่านกลับมาจากการเผยแผ่ธรรมทางภาคใต้ และกำลังมาสร้างวัดหินหมากเป้ง ท่านจึงได้ไปช่วยสร้างเสนาสนะให้หลวงปู่เทสก์เป็นประจำไม่ได้ขาด มาวันหนึ่งหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ได้ถามท่านว่า “พ่อสิงห์ อยากบวชหรือเปล่า” ท่านจึงตอบว่า “อยากอยู่ครับ” หลวงปู่เทสก์ เทสรังสีจึงนำท่านมาพักที่วัดหินหมากเป้ง และให้นุ่งห่มขาวอยู่หลายเดือน ช่วงที่ท่านเป็นปะขาวอยู่นั้น ท่านได้หัดสวดมนต์บทต่าง ๆ จนคล่อง และฝึกปฏิบัติอดข้าวอดน้ำตามคำสอนของครูอาจารย์ จนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๐ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี จึงได้อนุญาตให้ท่านบรรพชาอุปสมบท ณ วัดป่าพระสถิต อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๐ เมื่ออายุครบ ๕๙ ปี โดยมีหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี (ขณะนั้นดำรงตำแหน่ง พระนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาจารย์) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่อ่อนสี สุเมโธ(พระครูสีลขันธ์สังวร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ(ขณะดำรงตำแหน่งเป็นพระครูญาณปรีชา) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และได้รับฉายาว่า “สิริธัมโม” ซึ่งแปลว่า “ผู้มีธรรมเป็นมงคล”

    หลังจากอุปสมบท พระภิกษุสิงห์ ท่านก็จำพรรษาอยู่ที่วัดหินหมากเป้ง กับหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ท่านได้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์อย่างเคร่งครัดไม่ได้ขาด แต่ในทางการศึกษาเล่าเรียนท่านก็ไม่เคยทิ้ง ท่านสอบได้นักธรรมชั้นตรีในพรรษาแรกของการอุปสมบทนั่งเอง และต่อมาอีก ๔ ปี ท่านก็สอบได้นักธรรมชั้นโท ในขณะนั้นที่ท่านจำพรรษาที่วัดหินหมากเป้งนี้เอง

    ยามใดมีโอกาส ท่านก็จะไปกราบครูบาอาจารย์ต่าง ๆ เพื่อเรียนรู้ธรรมมะจากพระเถระทั้งหลาย เช่น หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู , หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดถ้ำขาม จ.สกลนคร , หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ จ.เลย และหลวงปู่วิริยังค์ สิรินธโร วัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร เป็นต้น พระมหาเถราจารย์ที่ได้กล่าวมานี้ได้อบรมสั่งสอน และได้มอบธรรมชั้นสูงแด่ท่าน เพื่อนำไปปฏิบัติตามหลักคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เพื่อนำไปสู่พระนิพพาน และท่านพระอาจารย์สิงห์ เองก็ได้นำมาประพฤติปฏิบัติตามธรรมนั้น ๆ อย่างเคร่งครัด โดยไม่ได้ทำให้ครูบาอาจารย์ผิดหวังในตัวท่านเลย

    ท่านพระอาจารย์สิงห์ สิริธัมโม ได้จำพรรษาที่วัดหินหมากเป้งได้ ๘ พรรษา ท่านได้เก็บเกี่ยวหลักธรรมวินัย จากครูบาอาจารย์อย่างเต็มที่ โดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยและย่อท้อ สิ่งเหล่านี้นี่เอง ย่อมเป็นเครื่องหมายอย่างดีที่บ่งบอกว่า ถึงแม้ท่านจะบวชยามแก่ แต่ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติธรรม เจริญภาวนาตามคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์แม้แต่น้อย

    ออกพรรษา ปี พ.ศ.๒๕๑๘ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ได้ส่งท่านไปเป็นประธานสงฆ์ที่บ้านลุมพีนี เนื่องด้วยมีชาวบ้านนำที่ดินมาถวายเพื่อสร้างวัด ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๑๙ วัดศิริอุปถัมภ์ ได้ขาดพระจำพรรษา เนื่องจากเจ้าอาวาสองค์เดิมได้มรณภาพลงนั่งเอง ชาวบ้านจึงรวมตัวเดินทางไปกราบนมัสการหลวงปู่เทสก์ ที่วัดหินหมากเป้ง เพื่อขออนุญาตให้มีพระภิกษุมาจำพรรษาที่วัดศิริอุปถัมภ์ หลวงปู่เทสก์ จึงแนะนำให้ไปนิมนต์พระอาจารย์สิงห์ สิริธัมโม ที่วัดป่าลุมพีนี ชาวบ้านจึงไปกราบอาราธนานิมนต์ท่านพระอาจารย์สิงห์ ไปเป็นเจ้าอาวาสที่วัดศิริอุปถัมภ์ ท่านพระอาจารย์สิงห์รับคำชาวบ้านโพนพระ และดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสนับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๐ เรื่อยมา ท่านพระอาจารย์สิงห์ อยู่กับชาวบ้านอย่างอดอย่างทน อาหารการขบฉันก็ตามมีตามเกิดไม่ยึดติดสิ่งใด ท่านเองรักษาข้อวัตรคอยปัดตาด ทำความสะอาด และทำกิจสงฆ์ด้วยตนเองมิได้ขาด เช้า-เย็นก็นำชาวบ้านไหว้พระสวดมนต์ คอยเมตตาอบรมสั่งสอนพระเณร และคอยพร่ำสอนชาวบ้านโพนพระ และหมู่บ้านละแวกใกล้เคียงอย่างเมตตา หาได้หย่อนยานลงไปเลย หลวงปู่สิงห์ จึงเป็นที่รักใคร่ และเคารพศรัทธาต่อพระภิกษุสงฆ์ และฆราวาสญาติโยมทั่วสารทิศ

    หลวงปู่สิงห์ เป็นพระที่หลวงปู่เทสก์ไว้ใจ
    ช่วงที่หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี อาพาธอยู่นั้น ท่านจะสั่งพระเณรอุปัฏฐาก ไม่ให้ใครเข้ามาเยี่ยมรบกวน แต่พอรู้ว่า ท่านพระอาจารย์สิงห์ มาเยี่ยมเยียน หลวงปู่เทสก์ก็ยินดีเรียกให้พระอาจารย์สิงห์เข้าพบได้ ท่านพระอาจารย์สิงห์ท่านจะจับฝ่าเท้าหลวงปู่เทสก์ ขึ้นใส่ศีรษะท่านเองเสมอ จากนั้นท่านก็จะสนทนาธรรมะกันซักพัก หลวงปู่สิงห์เป็นพระที่หลวงปู่เทสก์ ไว้ใจมาก หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี กล่าวยกย่องชมเชยหลวงปู่สิงห์ สิริธัมโม ต่อหน้าพระภิกษุว่า “ท่านสิงห์เป็นพระที่มีความพากความเพียร แม้บวชเมื่อยามแก่แล้วแต่ก็ไม่ได้ย่อหย่อน มีข้อวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัด และสวดปาฏิโมกข์ได้ตลอด ให้พระทั้งหลายเอาท่านสิงห์เป็นตัวอย่าง” หลวงปู่สิงห์ ท่านมาหยุดสวดพระปาฏิโมกข์ ตอนวัยชราภาพมากแล้ว คือเมื่ออายุได้ ๙๕ ปี

    การอาพาธ
    หลวงปู่สิงห์ เริ่มมีอาการอ่อนแรงตามวัยมากขึ้นเรื่อย ๆ จนมาปี พ.ศ.๒๕๔๗ ขณะนั้นหลวงปู่มีอายุ ๙๖ ปี อาการของหลวงปู่อ่อนแรงลงไปอย่างเห็นได้ชัด จนเป็นที่กังวลใจของลูกศิษย์ที่มาพบเห็น แต่หลวงปู่ไม่เคยบ่นหรือแสดงอาการใด ๆ ให้ลูกศิษย์เห็น นั่นเพราะหลวงปู่ท่านเป็นพระที่มีความอดทนต่อสิ่งต่าง ๆ ได้ดีนั่นเอง และสติหลวงปู่ท่านยังดีมาก

    วันหนึ่ง หลวงปู่ปรารภจะสร้างธาตุเจดีย์องค์เล็ก ๆ พอเพื่อเอาไว้ใส่อัฐิของท่าน ยามเมื่อท่านมรณภาพลงแล้ว จะได้ไม่เป็นภาระแก่ผู้อยู่ภายหลัง ลูกศิษย์ประชุมกันว่าหลวงปู่เป็นถึงพระเถระ และเป็นพระกัมมัฏฐานลูกศิษย์ของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี จะไปสร้างธาตุเจดีย์เล็ก ๆ ได้อย่างไร มันไม่สมเกียรติสมฐานะของพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ทางคณะลูกศิษย์จึงได้ตกลงจะทำเป็นเจดีย์พิพิธภัณฑ์ เพื่อบรรจุอัฐิของหลวงปู่สิงห์ สิริธัมโม และเพื่อไม่ให้เป็นการลำบากต่อองค์หลวงปู่ ในการก่อสร้าง เจดีย์จึงมีลักษณะไม่ให้ใหญ่โตจนเกินไป อีกทั้งการก่อสร้างจะได้ไม่เป็นการกระทบต่อธาตุขันธ์ของหลวงปู่ด้วย งานก่อสร้างเจดีย์จึงใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณเพียง ๖ เดือน จึงแล้วเสร็จ และได้ทำพิธีมอบเจดีย์ถวายองค์หลวงปู่สิงห์ สิริธัมโม เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๘ ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดครบ ๙๘ ปี ขององค์ท่าน
    FB_IMG_1713437730598.jpg
    การมรณภาพ
    วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๓ หลวงปู่สิงห์ มีอาการอ่อนเพลียอย่างเห็นได้ชัด ลูกศิษย์จึงมีความเห็นว่า ให้พาหลวงปู่สิงห์ไปโรงพยาบาล เวลาประมาณ ๑๐.๓๐ น. จึงเตรียมตัวนำหลวงปู่ ไปโรงพยาบาล ขณะนั้นหลวงปู่ท่านมีสติดีมาก หลวงปู่ได้สั่งกับลูกศิษย์ไว้ว่า “ถ้ามีการผ่าตัด ไม่ให้ผ่า ถ้ามีการเจาะเลือด ไม่ให้เจาะเลือด ถ้ามีการใส่ออกซิเจน ไม่ให้ใส่ออกซิเจน” คณะลูกศิษย์ไม่รู้จะทำอย่างไรเพราะขัดหลวงปู่ไม่ได้ จึงรับปากกับหลวงปู่ ที่ให้ทำตามนั้น

    พอถึงโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ จ.หนองคาย คณะแพทย์ให้ความเห็นว่า ต้องทำตามวิธีการรักษาของแพทย์ แต่คณะลูกศิษย์ได้อธิบายเจตนารมณ์ของหลวงปู่ที่ได้สั่งไว้ตอนอยู่ที่วัด คณะแพทย์จึงได้ทำตามคำของหลวงปู่ เพียงแต่ให้ออกซิเจนเป็นบางครั้ง ขณะที่หลวงปู่นอนพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ จ.หนองคาย หลวงปู่ยังคงมีสติดีมาก

    จนในวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๓ เวลาประมาณ ๑๙.๐๐ น. หลวงปู่ได้บอกกับลูกศิษย์ที่ดูแลอุปัฏฐากว่า “หลวงปู่จะละขันธ์แล้วนะ เมื่อหลวงปู่ละขันธ์ลงแล้ว ให้ทำบุญเลี้ยงพระพอสมควร และนำอัฐิเข้าบรรจุในเจดีย์ให้เป็นที่เรียบร้อย จนในเวลาประมาณเกือบสามทุ่ม หลวงปู่ได้ดึงสายออกซิเจนออกด้วยตัวท่านเอง ลูกศิษย์ใกล้ชิดพยายามเอาเข้าไปใหม่ แต่หลวงปู่ไม่ยอม ต่อมาหลวงปู่มีอาการหัวใจเต้นช้าลงเรื่อย ๆ จนถึงเวลา ๒๑.๑๒ น. หลวงปู่ก็ละสังขารลงด้วยอาการสงบ ตามแบบฉบับพระกัมมัฏฐานอย่างเรียบง่าย

    หลวงปู่สิงห์ สิริธัมโม ละสังขารลงด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๓ เวลา ๒๑.๑๒ น. สิริอายุรวม ๑๐๑ ปี ๕ เดือน ๒๒ วัน ๔๓ พรรษา

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    พระสมเด็จรุ่น ๑ หลวงปู่สิงห์ ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20240418_180016.jpg IMG_20240418_180042.jpg IMG_20240418_175943.jpg
     
  19. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,787
    ค่าพลัง:
    +21,343
    FB_IMG_1713439668674.jpg พุทธคุณของสีผึ้งหลวงปู่โป๊ะ สำหรับคนในพื้นที่เป็นที่ทราบกันดีว่า มีพุทธคุณที่สามารถพลิกชีวิตจากคนธรรมดาเป็นคนมั่งมีได้ ยิ่งถ้าตั้งใจทำมาหากินประกอบแต่กรรมดีด้วยแล้ว จะก้าวข้ามจากยาจกเป็นเศรษฐีนั้นย่อมไม่ใช่เรื่องเกินจริง
    ประวัติก็ว่าท่านได้สืบทอดวิชามาจากพระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน เจ้าเมืองขุขันธ์ ซึ่งในอดีตนั้น จังหวัดศรีสะเกษในปัจจุบันก็คือ นครขุขันธ์ ปกครองโดยพระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน สืบทอดกันมาถึง 9 รุ่น จนกระทั่งเมื่อรัชสมัย รัชกาลที่ 6 ปีพุทธศักราช จึงให้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อเมืองทุกเมืองในสยามประเทศเป็นจังหวัด เมืองขุขันธ์จึงได้เปลี่ยนมาเป็น จังหวัดศรีสะเกษ และขุขันธ์กลายมาเป็นอำเภอ จนถึงปัจจุบัน เจ้าเมืองขุขันธ์คนแรกนั้น มีนามว่า "ตากะจะ" เป็นผู้มีวิชาอาคมสูง เป็นหัวหน้าเขมรส่วยป่าดง หมู่บ้านโคกลำดวนหรือบ้านดวนใหญ่ในปัจจุบัน มีน้องชายชื่อเชียงขันธ์ ทั้ง ๒พี่น้อง มีความชำนาญในการคล้องช้างเพื่อจับมาฝึกใช้งาน โดยใช้พิธีกรรมปลุกเสกคาถาใช้ภาษาช้าง พูดกับช้างที่ถูกฝึกมาแล้วได้ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๐๒ ได้อาสาออกติดตามพญาช้างเผือก ในสมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์ หรือพระเจ้าเอกทัศน์ แห่งกรุงศรีอยุธยา ร่วมกับสหายชาวส่วยเขมรป่าดง เช่นเชียงปุม แห่งบ้านเมืองที่เชียงสีแห่งบ้านกุดหวาย เชียงฆะ แห่งบ้านดงยาง จนสามารถจับพญา ช้างเผือก นำกลับกรุงศรีอยุธยาได้อย่าง ปลอดภัย จึงได้รับ พระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "หลวงแก้วสุวรรณ" ให้ควบคุมลูกบ้านเขมรป่าดงในหมู่บ้านตน
    คือ บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน หรือบ้านดวนใหญ่ขึ้นต่อเมืองพิมาย ต่อมา ได้นำช้าง ม้า แก่นสน ยางสน ปีกนก นอระมาด งาช้าง ขี้ผึ้ง เป็นของส่วยนำส่งทูลถวาย ณ กรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์ จึงได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานยกฐานะบ้านปราสาท สี่เหลี่ยมโคกลำดวนขึ้นเป็น
    "เมืองขุขันธ์" เลื่อนบรรดาศักดิ์จาก "หลวงแก้วสุวรรณ" เป็น "พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน" เจ้าเมืองขุขันธ์ในปี พ.ศ. ๒๓๐๖ ปี พ.ศ. ๒๓๑๙ เมืองขุขันธ์ ได้ยกทัพไปช่วยพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) และพระยาสุรสีห์พิษณวาธิราช (ทองมา) ตีเมืองเวียงจันทน์ เพราะพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาสัตนาคนทูตแห่งเวียงจันทน์ ได้ให้พระสุโพธิยกทัพมาตีบ้านดอนมดแดงและจับพระวอประหารชีวิต การไปทัพครั้งนี้ ทำศึกจนได้ชัยชนะมีความชอบ
    จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อน บรรดาศักดิ์จาก "พระ" เป็น "พระยา" จึงทำให้ตากะจะได้บรรดาศักดิ์ครั้งสุดท้ายในนาม "พระยาไกรภักดี-ศรีนครลำดวน" เป็นเจ้าผู้ครองเมืองขุขันธ์เป็นคนแรก อยู่ในตำแหน่ง เจ้าเมือง ๑๐ ปี ถึงแก่อนิจกรรมในปี พ.ศ. ๒๓๒๑ นับเป็นบรรพบุรุษผู้ก่อตั้งเมืองขุขันธ์เป็นคนแรก

    และตำนานสีผึ้งของนั้น มีวิธีการแจกจ่ายที่ไม่เหมือนพระเกจิอาจารย์ทั่วไป สีผึ้งตามตำราที่ท่านหุงนั้น
    เมื่อศิษยานุศิษย์ที่ต้องการได้ไปไว้ใช้ติดต่อเพื่อเสริมเมตตามหานิยม ท่านจะให้บรรดาลูกศิษย์ไปทำตลับเงินขนาดเล็กมาท่านจึงจะปาดให้แต่ส่วนน้อย บางคนมีฐานะหน่อยก็ให้ไปทำตลับทองคำขนาดเท่าๆกันมาใส่ไว้ ท่านก็จะปาดให้แต่เพียงน้อย เมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ วันพระจันทร์เต็มดวง สีผึ้งที่ท่านให้ไว้เพียงน้อยนิดก็จะเต็มล้นออกมาจากตลับทุกตลับ เป็นแบบนี้กับศิษยานุศิษย์ทุกคนที่ได้รับสีผึ้งของท่านไป

    จนในภายหลังลูกศิษย์ที่นำไปใช้แล้วสามารถพลิกชีวิตได้ ก็อยากได้สีผึ้งของท่านมากขึ้น หลวงปู่โป๊ะท่านจึงให้บรรดาลูกศิษย์ที่อยากได้สีผึ้งของท่าน ไปแกะตลับให้เป็นรูปร่างสัตว์มงคลต่างๆมาใส่เอา แต่ลูกศิษย์โดยมากเป็นชาวบ้านไม่ค่อยมีฐานะจึงใช้วิธีข้ามฝั่งไปซื้อเอาจากฝั่งกัมพูชาทั้งสิ้น ก็เป็นตลับทองแดงชุบเงินบ้าง ตลับสังกะสีบ้าง บางก็อยู่ในตลับยาหม่อง
    ตามเเต่ชาวบ้านจะหามาได้ ตลับนี้เก่าสุดๆเทพนม
    เนื้อสีผึ้งตลับนี้ตักแบ่งตามกาลเวลาแต่เนื้อสีผึ้งไม่กลืนเข้าไปกับตลับ แต่ปิดไว้นานมาก เปิดโคตรยากจนเห็นเนื้อสีผึ้งล้นออกมานอกตลับ จึงขออาราธนาเปิดตลับนี้จึงเปิดให้ชมเนื้อข้างใน แต่ต้องขมาก่อนเพื่อไม่เป็นการลบหลู่ท่านที่ให้ไว้มาแต่เดิม
    ประวัติพระครูปิยเขมคุณ(หลวงปู่โป๊ะ เขมิโย)
    *ชาติภูมิ*พระครูปิยเขมคุณ มีนามเดิมว่าโป๊ะ นามสกุล สัจจาภานุวัฒน์ เกิดเมื่อวันนอาทิตย์ที่ ๑๐เดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๖๖ ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีกุน
    เวลา ๑๐:๔๕ น.ตรงกับรัชสมัยแผ่นดินรัชกาลที่ ๖
    พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งราชวงศ์จักรี กรุงรัตนโกสินทร์ในสมัยการปกครองสยามประเทศโดยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์โดย พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี คนที่๒ แห่งสยามประเทศ ในสมัยนั้น
    เกิดที่บ้านสวาย หมู่ที่ ๓ ตำบลดองกำเม็ด อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
    บิดาชื่อ นาย แม้น สัจจา
    มารดาชื่อ นางแก้ว สัจจา
    มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๗ คน ดังนี้
    ๑. นายต๊ะ สัจจา
    ๒.นางพัน ใจดี
    ๓.นางมะลิ สัจจา
    ๔.นางสอน สุขพันธ์
    ๕.พระครูปิยเขมคุณ (โป๊ะ เขมิโย)
    ๖.นายเทพ สัจจา
    ๗.นายทองอยู่ สัจจา
    #การบรรพชาอุปสมบท
    พุทธศักราช ๒๔๘๕
    อายุ ๑๙ ปี
    ได้บรรพชาเป็นสามเณร
    ณ วัดเจ๊กโพธิ์พฤกษ์ อำเภอขุขันธ์
    จังหวัดศรีสะเกษ
    โดย พระปลัดคอน เป็นพระอุปัชฌาย์
    และไปจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านสวาย
    หมู่ที่ ๓ ตำบลดองกำเม็ด อำเภอขุขันธ์
    จังหวัดศรีสะเกษ
    พุทธศักราช ๒๔๘๗
    อายุ ๒๑ ปี
    ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ
    ณ วัดเจ๊กโพธิ์พฤกษ์ อำเภอขุขันธ์
    จังหวัดศรีสะเกษ
    โดยมี พระปลัดคอน เป็นพระอุปัชฌาย์
    พระมอน ปญฺญาวชิโร
    เป็นพระกรรมวาจารย์
    พระสมุห์แซม กนตฺตสีโล
    เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    ได้รับฉายาทางธรรมว่า #เขมิโย#
    แปลว่า ผู้มีความสุขสงบยิ่งในธรรม
    และได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดเดิม คือ
    วัดบ้านสวาย หรือ วัดบ้านกันจาน
    ตำบลดองกำเม็ด อำเภอขุขันธ์
    จังหวัดศรีสะเกษ ในปัจจุบัน
    #การพระราชทานสมณศักดิ์#
    ๕ ธันวาคม ๒๕๑๕
    ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาส
    วัดราษฏร์ ชั้นตรี ในราชทินนามที่
    "พระครูปิยเขมคุณ"
    ๕ ธันวาคม ๒๕๒๐
    ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์
    เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาส
    วัดราษฏร์ ชั้นโท ในราชทินนามที่
    "พระครูปิยเขมคุณ"
    ๕ ธันวาคม ๒๕๒๙
    ได้รับพระราชทานเลื่อนชั้น
    พระสังฆาธิการ เป็นพระครูสัญญาบัตร
    พระครูเจ้าคณะตำบลชั้นโท
    ในราชทินนาม"พระครูปิยเขมคุณ"
    ๕ ธันวาคม ๒๕๓๕
    ได้รับพระราชทานเลื่อนชั้น
    พระสังฆาธิการ เป็นพระครูสัญญาบัตร
    พระครูเจ้าคณะตำบลชั้นเอก
    ในราชทินนาม "พระครูปิยเขมคุณ"
    #ตำแหน่งทางคณะสงฆ์
    พุทธศักราช ๒๔๘๙
    เจ้าอาวาสวัดบ้านบิง รูปเดิม
    ได้ลาสิกขาบท คณะกรรมการวัด
    ทายก ทายิกา ไวยาวัจกร และชาวบ้านบิง ได้พร้อมใจกันไปกราบนิมนต์ท่าน
    ที่วัดบ้านสวาย ให้มาเป็นเจ้าอาวาส
    วัดบ้านบิง ท่านจึงได้รับแต่งตั้งเป็น
    ผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดบ้านบิง
    นับแต่นั้นมา
    วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๔๙๓
    ได้รับการแต่งตั้งเป็นครูสอนปริยัติธรรม
    วันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๙๕
    ได้รับตราตั้งเป็น
    เจ้าอาวาสจากทางราชการ
    สังกัด วัดบ้านบิงโดยสมบูรณ์แบบ
    วันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๑๒
    ได้รับการแต่งตั้งเป็น
    เจ้าคณะตำบลดองกำเม็ด

    สำหรับประวัติโดยสังเขปของวัดบ้านบิง หมู่ที่ 2 ตำบลดองกำเม็ด อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ (เนื้อที่ตั้งวัด 9 ไร่ 1งาน 69 ตารางวา) สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2400 ได้รับพระราชทานราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2478 ในยุคที่ยังเป็นจังหวัดขุขันธ์ มีเจ้าอาวาสตั้งแต่ในอดีตถึงปัจจุบัน 11 รูปดังนี้
    1. พระอธิการเปี่ยม(ไม่ทราบฉายา)
    2. พระอธิการล้อม แสงลอย
    3. พระอธิการหอม แสงลอย
    4. พระอธิการคูณ คันศร
    5. พระอธิการเปรี้ย บุญจูง
    6. พระอธิการปรึก งามพรม
    7. พระอธิการยัง อุปมัย
    8. พระอธิการบิน ไชยมาศ
    9. พระครูปิยเขมคุณ(หลวงปู่โป๊ะ) อดีตเจ้าคณะตำบลดองกำเม็ด
    10. พระอธิการพลอย ปัญฺญาพโล
    11. พระอธิการคำมี ปญฺญาวุฑโฒ
    FB_IMG_1713439715489.jpg FB_IMG_1713439718733.jpg FB_IMG_1713439721486.jpg FB_IMG_1713439729246.jpg FB_IMG_1713439731900.jpg

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    พระผงรูปเหมือนหลวงปู่โต๊ะวัดบ้านบิง ให้บูชา 250 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ(ปิดรายการ)

    IMG_20240418_183023.jpg IMG_20240418_183101.jpg IMG_20240418_182952.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2024
  20. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,787
    ค่าพลัง:
    +21,343
    พระสมเด็จวัดสังเวชวิศยาราม (บางลำภู) ปี ๒๕๑๖
    สมเด็จพระวันรัต ลป.โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี และเกจิอาจารย์ในยุคนั้นร่วมปลุกเสกอธิฐานจิต

    ให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20240418_174053.jpg IMG_20240418_174111.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...