หลวงพ่อสำเร็จศักดิสิทธิ์ /รวมเรื่องหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

ในห้อง 'ประวัติและนิทานธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 12 สิงหาคม 2017.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,764
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    อาจารย์ยอด : แก้เวรแก้กรรม [กรรม] new

    อาจารย์ยอด
    Jan 31, 2021
     
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,764
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,764
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,764
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    EP 8 I ตามรอยหลวงตาพันธ์ I ตอน ผีกองกอยภูเขาควาย

    Yang song channel วันนี้มีเรื่องมาเล่า
    Dec 27, 2022
    เณรน้อยในเรื่องคือหลวงพ่ออะไรในปัจจุบันนี้ครับ

    หลวงปู่วิมโล ญาณสัมปัณโน
    --> lpvimaloyanasampunno.jpg






     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มกราคม 2023
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,764
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
  6. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,764
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,764
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,764
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    บุญนำพา เทวดาชี้ทาง สองพี่น้องผู้โชคดี

    thamnu onprasert
    Jan 4, 2023 ุ
    รุกขเทวดาใจดีตนหนึ่ง ชี้ทางแก่สองพี่น้องชาวกองเกวียน ให้ทำบุญกับพระพุทธเจ้าและได้กลายเป็นปฐมอุบาสกคนแรกในพระพุทธศาสนา.
     
  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,764
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    หลวงปู่อ่อน - พระป่าแห่งกองทัพธรรม

    หลวงตา
    95,997 views Jan 1, 2023
    พระป่าแห่งกองทัพธรรม หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม บ้านหนองบัวบาน ต.หนองบัวบาน อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
     
  10. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,764
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    เรื่องผี ๆ ที่วัดบวร

    หลวงตา
    Jan 7, 2023
     
  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,764
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    ๒๖๔.อดีตชาติที่ดอยช้าง ธุดงค์ป่ารัฐฉาน

    thamnu onprasert
    Jan 6, 2023

    เรื่องราวลึกลับแห่งภพชาติของพระภิกษุชาวเวียงลายค่า ที่เดินทางไปพบอดีตภรรยาและลูกน้อยเกิดเป็นช้างอยู่ในดงดอย..เฝ้ารอคอยการกลับมาของท่านด้วยความรักความผูกพันไม่ลืมเลือน.
     
  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,764
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    lp-parekhemungaro.jpg
    อาจารย์ยอด : หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง [พระ] new

    อาจารย์ยอด
    Jan 6, 2019
     
  13. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,764
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    lp-parekhemungaro.jpg
    ประวัติ หลวงพ่อแพ เขมังกโร วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี


    ๏ อัตโนประวัติ

    “พระ ธรรมมุนี” หรือ “หลวงพ่อแพ เขมังกโร” มีนามเดิมว่า แพ ใจมั่นคง เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๔๘ ตรงกับขึ้น ๒ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเส็ง ณ บ้านสวนกล้วย เลขที่ ๙๓/๓ หมู่ที่ ๓ ตำบลพิกุลทอง อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี บิดาชื่อ นายเทียน ใจมั่นคง มารดาชื่อ นางหน่าย ใจมั่นคง มีพี่น้องร่วมสายโลหิต ๔ คน ท่านเป็นบุตรคนสุดท้อง

    เมื่ออายุได้ ๘ เดือน โยมมารดาผู้ให้กำเนิดได้ถึงแก่กรรม ดังนั้น นายบุญ และนางเพียร ขำวิบูลย์ สามีภรรยาซึ่งมีศักดิ์เป็นอา ได้ขอเด็กชายน้อยๆ ที่มีอายุเพียง ๘ เดือน จากนายเทียน ใจมั่นคง โยมบิดาผู้บังเกิดเกล้า โดยรับอุปการะเป็นบุตรบุญธรรม

    ๏ การศึกษาเล่าเรียนเบื้องต้น

    เมื่อ อายุได้ ๑๑ ปี โยมบิดา-มารดาบุญธรรม (นายบุญ และนางเพียร ขำวิบูลย์) ได้นำเด็กชายแพไปฝากอยู่วัดกับสำนักอาจารย์ป้อม เพื่อที่จะศึกษาเล่าเรียนตามแบบโบราณนิยม คือ การเรียนภาษาไทย ภาษาขอม นอกจากนั้น ยังได้เรียนหนังสือมูลบทบรรพกิจ ทางธรรมก็มีพระมาลัยสูตร และยังได้หัดอ่านพระธรรมเจ็ดคัมภีร์

    ปี พ.ศ.๒๔๖๑ เมื่ออายุได้ ๑๔ ปี โยมบิดา-มารดาบุญธรรมได้ส่งไปศึกษาต่อที่สำนักวัดอาจารย์สม ภิกษุชาวเขมร วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ การศึกษาในกรุงเทพฯ ขั้นแรกได้เริ่มเรียนหนังสือโบราณท่องสนธิ (อัตโถ อักขระสัญญโตฯ), เรียนมูลกัจจายนสูตร เป็นเวลา ๑ ปี ต่อมา ก็ไปเป็นนักเรียนบาลีไวยากรณ์ ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ
    %E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%9E.jpg

    ๏ การบรรพชา

    ครั้น ต่อมาปี พ.ศ.๒๔๖๓ เมื่อศึกษาหาความรู้จนอายุได้ ๑๖ ปี ก็ได้เดินทางกลับบ้านเกิด เพื่อเยี่ยมเยียนโยมบิดาผู้ให้กำเนิดและโยมบิดา-มารดาบุญธรรม เมื่อบุพการีทั้งสามของท่านเห็นว่าท่านโตพอสมควรแล้ว จึงได้ให้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๓ ณ วัดพิกุลทอง ตำบลพิกุลทอง อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี โดยมีพระอธิการพัน จันทสโร เจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง (ในขณะนั้น) เป็นพระอุปัชฌาย์

    ครั้นเมื่อบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ก็ได้เดินทางกลับไปอยู่วัดชนะสงคราม ตามเดิม จนเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๖ ท่านสามารถสอบไล่นักธรรมชั้นตรีได้ (ในสมัยนั้นผู้เข้าสอบต้องอายุ ๑๙ ปีจึงจะมีสิทธิ์ เข้าสอบได้) นอกจากนี้แล้ว ท่านยังได้ศึกษาบาลีไวยากรณ์ต่อไปอีก จนสอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค ตั้งแต่ยังเป็นสามเณร เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๘ นับว่าได้นำเกียรติมาสู่วัดชนะสงคราม เป็นอย่างมาก จากนั้นท่านได้ไปเล่าเรียนที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ โดยเป็นศิษย์ของ ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี)

    ในปี พ.ศ.๒๔๖๘ นายเทียน ใจมั่นคง บิดาผู้บังเกิดเกล้าก็ได้ถึงแก่กรรม ท่านจึงเดินทางกลับไปจังหวัดสิงห์บุรี เพื่อจัดการศพโยมบิดา แล้วกลับมาอยู่วัดชนะสงครามเช่นเดิม

    ๏ การอุปสมบท

    สามเณร เปรียญแพ ขำวิบูลย์ ได้ทำการอุปสมบทเมื่ออายุครบ ๒๑ ปีบริบูรณ์ ในวันขึ้น ๖ ค่ำ ปีขาล ตรงกับวันพุธที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๙ ณ พระอุโบสถวัดพิกุลทอง โดยมีพระมงคลทิพย์มุนี เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิ์ราชาวาส กรุงเทพฯ เป็นพระอุปัชฌาย์, ท่านพระครูสิทธิเดช วัดชนะสงคราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และท่านเจ้าอธิการอ่อน วัดจำปาทอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “เขมังกโร” แปลว่า “ผู้ทำความเกษม”

    ภายหลังจากอุปสมบทแล้ว พระแพ เขมังกโร หรือมหาแพ ก็ได้เดินทางกลับสู่วัดชนะสงคราม เพื่อตั้งใจศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรม ให้ได้ในระดับสูงที่สุด เพื่อที่จะได้นำความรู้ ความสามารถที่ได้ฝักใฝ่ศึกษาเล่าเรียนนั้น นำไปสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าและประโยชน์ต่อชุมชนและพระพุทธศาสนาอย่างเต็ม ที่ พระแพ เขมังกโร พยายามที่จะศึกษาเล่าเรียนหาความรู้ อ่านหนังสือตำราเรียนอยู่เสมอ และในปีเดียวกันนั้นท่านสอบนักธรรมชั้นโทได้

    โดย ความมุมานะพยายาม โดยอาศัยแสงสว่างจากเทียนไขหรือตะเกียง โดยส่วนมากเพราะสาเหตุนี้ นัยน์ตาอันเป็นส่วนสำคัญของสังขาร ก็เกิดอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง ทุกครั้งที่ตรากตรำอ่านหนังสือมากเกินไปในที่สุด นายแพทย์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้แนะนำไม่ให้อ่านหนังสืออีกต่อไป มิฉะนั้น นัยน์ตาอาจพิการได้

    ดังนั้นภายหลังจากสอบได้เปรียญธรรม ๔ ประโยคแล้ว การศึกษาด้านพระปริยัติธรรมก็ต้องยุติลง แต่ด้วยความที่เป็นผู้มีใจใฝ่การศึกษา พระแพ เขมังกโร จึงได้ศึกษาและปฏิบัติสมถกัมมัฎฐาน วิปัสสนากัมมัฎฐานในสำนักของพระครูภาวนาฯ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม จนชำนาญและดำเนินการสั่งสอนให้แก่ประชาชนทั่วไป

    ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๗๑-๒๔๗๒ ท่านได้รับหน้าที่เป็นครูสอนบาลี โดยสอนตามคณะต่างๆ ของวัดชนะสงคราม
    paragraph_5_758.jpg

    ๏ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง

    ใน ปี พ.ศ.๒๔๗๔ พระอาจารย์หยด พวงมสิต เจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง ได้ลาสิกขา ทำให้ตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างเว้นลง ชาวบ้านพิกุลทองและชาวบ้านจำปาทองจึงนิมนต์ให้พระแพ มารับเป็นเจ้าอาวาส ในเดือนเมษายน พ.ศ.๒๔๗๔ ขณะนั้นท่านได้เดินทางกลับมาเยี่ยมโยมบิดาและญาติพี่น้อง ซึ่งท่านได้พำนักอยู่ที่วัดพิกุลทอง

    ท่านเห็นว่าวัดพิกุลทองเป็นวัด บ้านเกิดเมืองนอน ตอนนี้เสนาสนะชำรุดทรุดโทรมมาก โดยเฉพาะพระอุโบสถซึ่งสร้างมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๔๐ และขณะนั้นท่านได้หยุดพักรักษานัยน์ตา ประสงค์จะพักผ่อนหาความสงบ คิดว่าเมื่อตาหายดีแล้ว ก็จะไปศึกษาบาลีนักธรรมต่อตามความตั้งใจเดิม จึงรับปากว่าจะมาอยู่วัดพิกุลทอง ในระหว่างที่ยังว่างเว้นเจ้าอาวาสอยู่ ซึ่งในขณะนั้นพระแพ มีอายุเพียง ๒๖ ปี

    ปี พ.ศ.๒๔๘๒ คณะสงฆ์แต่งตั้งให้ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลถอนสมอ และในปีเดียวกันหลวงพ่อพิจารณาเห็นว่าพระอุโบสถชำรุดทรุดโทรมมาก เมื่อพระสงฆ์ประกอบพิธีสังฆกรรมแต่ละครั้ง ต่างกลัวไม้หลังคากระเบื้องจะหล่นถูกศีรษะ ไม่มีจิตเป็นสมาธิ ท่านจึงริเริ่มคิดที่จะบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ

    ๏ เริ่มเรียนจิตศาสตร์

    เมื่อ อายุประมาณ ๒๔-๒๕ ปี สมัยยังศึกษาอยู่ที่กรุงเทพฯ ท่านได้เริ่มสนใจในทางปฏิบัติเพื่อหาความสงบทางใจ จึงเข้าอบรมและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในสำนักพระครูภาวนาฯ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์ท่าเตียน) ได้ความรู้ในแถวทางปฏิบัติมาพอสมควร และยังได้ศึกษาจากท่านอาจารย์พระครูใบฎีกาเกลี้ยง วัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งเป็นพระฐานานุกรมและศิษย์ผู้ใกล้ชิด สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว) วัดสุทัศนเทพวราราม ซึ่งเชี่ยวชาญทางด้านสร้าง-ลบผงพุทธคุณ พระครูใบฎีกาเกลี้ยงท่านได้เมตตาสั่งสอนอบรม และมอบตำราเกี่ยวกับจิตศาสตร์วิทยาคมให้

    ต่อมาทราบว่าในท้องที่อำเภอ บางระจัน มีพระอาจารย์เรืองวิทยาคมอยู่รูปหนึ่ง มีคนนับถือและเกรงกลัวมากเพราะวาจาศักดิ์สิทธิ์ ชื่อ หลวงพ่อศรี เจ้าอาวาสวัดพระปรางค์ ท่านจึงได้เดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์ จนมีความสามารถและเป็นที่โปรดปรานของหลวงพ่อศรี เป็นอย่างยิ่ง

    ท่าน เล่าว่า หลวงพ่อศรี เมตตาสอนวิทยาคมให้อย่างไม่ปิดบังอำพราง และในขณะที่ก่อสร้างพระอุโบสถ หลวงพ่อศรีก็แนะนำให้ท่านสร้างแหวน และทุกครั้งที่ท่านได้สร้างเสร็จ ท่านจะนำไปถวายหลวงพ่อศรีปลุกเสก (ท่านถามหลวงพ่อศรีว่า สร้างแล้วคนนิยมกันไหม หลวงพ่อศรี ท่านบอกว่านิยมมาก ให้สร้างมากๆ ท่านจะสนับสนุน) ด้วยความเมตตาของหลวงพ่อศรีนี้เอง ทำให้ท่านได้สร้างพระอุโบสถหลังใหม่ ได้สำเร็จในเวลา ๒ ปีเศษ

    ๏ หล่อสมเด็จทองเหลือง

    เมื่อ หลวงพ่อมีบารมีมากขึ้นตามลำดับ วัดหลายวัดต่างนิมนต์ท่านเป็นประธานในการก่อสร้างวัด พระวิหาร และถาวรวัตถุต่างๆ มากมายหลายวัด และเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๔๙๓ ทางวัดทางแถบอำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี ก็ได้นิมนต์ท่านไปร่วมงาน

    หลวง พ่อเล่าว่า ท่านเพลียมากจึงชวนศิษย์ไปจำวัด ที่หอสวดมนต์ โดยมีคนหลายนอนอยู่ก่อนแล้ว ก่อนนอนท่านเอาผ้าอาบน้ำฝนใส่ไว้ในย่าม จึงรู้สึกว่าย่ามใหญ่ คิดว่าคนที่นอนอยู่คงเข้าใจว่าเป็นเงิน ด้วยความอ่อนเพลียท่านจึงหลับไป พอท่านตื่นจากจำวัดเวลาเช้ามืด พบว่าย่ามหายไปแล้ว จึงแจ้งทางวัดทราบ สำหรับสิ่งของในย่ามมีเพียงของเล็กๆ น้อยๆ แต่ของที่สำคัญก็คือ พระสมเด็จวัดระฆังฯ ซึ่งได้รับจากสมบัติของโยมวัดชนะสงคราม จึงเป็นของที่แท้ และทรงคุณค่าทางด้านจิตใจของหลวงพ่อมาก ท่านจึงเสียดายเป็นอย่างมาก

    ญาติ โยมช่วยกันติดตาม ปรากฏว่าได้รับของอื่นคืนครบทุกชิ้น ยกเว้นพระสมเด็จ สอบถามผู้ขโมยได้ความว่าได้นำไปขายให้บุคคลไม่ทราบชื่อ ไม่สามารถติดตามคืนได้ หลวงพ่อเล่าว่าท่านเสียดายมาก ระหว่างนั้นต้องไปขอยืมสมเด็จวัดระฆังจากอาจารย์หยด ซึ่งเคยเป็นเจ้าอาวาส มาติดตัวไปก่อน

    ด้วยความเคารพในบารมีสมเด็จพระพุฒาจารย์โต เป็นอย่างยิ่ง ทำให้หลวงพ่ออธิษฐานขอบารมี ณ วัดไชโยวรวิหาร ขอสร้างพระโลหะพิมพ์สมเด็จขึ้นใช้เอง และแจกจ่ายให้กับผู้เคารพศรัทธา จนกระทั่งในปี พ.ศ.๒๔๙๔ ประมาณเดือน ๖ ท่านได้นำช่างมาเททองหล่อ ที่ด้านใต้โบสถ์หลังเก่า โดยได้รับโลหะจากผู้ที่มาร่วมพิธีนำมาหล่อ เช่น เครื่องเงิน ขันลงหิน โต๊กทาน เชียนหมาก ตะบันหมาก สตางค์แดง สตางค์ข้าว สตางค์สิบ ทองเหลือง เป็นจำนวนมาก

    ๏ ไปประเทศอินเดีย

    ในวัน ที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๔ ซึ่งวันนั้นเป็นวันที่คับคั่งไปด้วยศิษยานุศิษย์เกือบจะเต็มศาลาการเปรียญ วันนั้นหลวงพ่อได้กล่าวออกมาด้วยความปิติต่อชุมชนว่า การเดินทางไปอินเดียครั้งนี้ เสมือนกับบุตรไปเยี่ยมภูมิประเทศบิดา เพื่อเป็นการถวายสักการบูชา เป็นการแสดงกตัญญูกตเวทิตาคุณ ในเมื่อมีโอกาสก็ควรจะกระทำ ซึ่งการเดินทางไปอินเดียในครั้งนี้จะประกอบกิจเป็นกรณีพิเศษ ๒ ประการ คือ

    ประการ ที่หนึ่ง เพื่อตั้งใจนมัสการสังเวชนียสถานทั้ง ๔ ตำบล อันได้แก่ สถานที่ประสูติ สถานที่ตรัสรู้ สถานที่ปฐมเทศนา และสถานที่ปรินิพพาน ซึ่งนับว่าเป็นมหากุศลพิเศษ

    ประการที่สอง เพื่อเดินทางไปสร้างพระสมเด็จรุ่นพิเศษ พิมพ์ปรกโพธิ์ เนื้อมวลสารประกอบด้วยผงวิทยาคม ที่ (ได้ลบผง) สะสมไว้แล้ว จะผสมดินที่พระพุทธเจ้าของเราประสูติ ตรัสรู้ และปฐมเทศนาด้วย

    เวลา ๑๔.๐๐ น. หลวงพ่อเข้าสู่พระอุโบสถ นมัสการพระประธาน แล้วไปนมัสการรูปหล่อท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ณ วิหารสมเด็จของวัด แล้วเดินทางเข้ากรุงเทพฯ พักที่วัดชนะสงคราม คณะ ๑๐ หนึ่งคืน

    วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๔ ออกเดินทางจากท่าอากาศยานกรุงเทพฯ ถึงประเทศอินเดีย จากนั้นเที่ยวชมสถานที่ต่างๆ ของอินเดีย และเดินทางสู่พุทธคยาในตอนค่ำ

    วัน ที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ เวลาเช้า ได้เดินทางไปนมัสการต้นศรีมหาโพธิ์ ซึ่งเป็นสถานที่ตรัสรู้ หลวงพ่อและคณะได้นมัสการด้วยความเคารพอย่างสูงแล้ว ได้เริ่มผสมผงเพื่อพิมพ์สมเด็จปรกโพธิ์เป็นปฐมฤกษ์ หลวงพ่อท่านได้นั่งสมาธิจิตรำลึกถึงคุณพระศรีรัตนตรัย เสกพิมพ์พระปรกโพธิ์ แล้วจึงกดพิมพ์ ด้วยจิตที่มุ่งส่งกระแสจิตเพื่อบรรจุในองค์พระ ณ ควงไม้โพธิ์ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าพิมพ์ปรกโพธิ์ที่สร้างขึ้น มีมงคลฤกษ์ ณ สถานที่ตรัสรู้ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ก่อให้เกิดสิริมงคลแก่ผู้นำไปบูชา

    เวลา ๑๑.๐๐ น. เดินทางกลับมาที่วัดไทยพุทธคยา เพื่อฉันภัตตาหารเพล พักผ่อนพอสมควรแล้ว ตอนบ่ายหลวงพ่อได้เดินทางไป ณ ควงต้นศรีมหาโพธิ์ อีกครั้งหนึ่งเพื่อนมัสการเป็นคำรบสอง และปลุกเสกพิมพ์พระ และผงที่ผสมในดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ โดยประสงค์เพื่อจะนำกลับมาเพื่อเป็นชนวนผสมสร้างพระให้พอเพียงแก่ผู้มีจิต ศรัทธาในตัวหลวงพ่อ จะได้นำไปบูชาสักการะและติดตัว เพื่อคุ้มครองทุกหนทุกแห่ง

    และหลังจากนั้นหลวงพ่อได้เดินทางไปยัง สถานที่ปฐมเทศนา ปรินิพพาน และประสูติ ตามลำดับ และยังได้เดินทางไปตามสถานที่สำคัญต่างๆ อีกมากมาย ท่านได้เดินทางกลับประเทศไทย ในวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๔ ใช้เวลาเดินทางรวม ๑๓ วัน
    0cd292083cffea3f6d74a1fe3776fc6e.jpg

    ๏ บูรณะค่ายบางระจัน

    ค่ายบางระจันเป็นสถานที่ ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชนท้องถิ่นและผู้ไปเที่ยวชมมากต่อมาก โดยเฉพาะก้อนอิฐ ซึ่งแต่ละก้อนจะประทับดอกจันทร์ไว้ ชาวบ้านเกรงกลัวเป็นอย่างยิ่ง และต้นไม้แดงซึ่งมีมากบริเวณค่าย ไม่มีใครสามารถตัดได้ แม้แต่กิ่งแห้งเหี่ยวหักตกลงมา ชาวบ้านหรือแม้กระทั่งพระในวัด นำไปเป็นฟืนหุงต้มยังวิบัติ และสิ่งสำคัญและศักดิ์สิทธิ์อีกอย่างหนึ่งก็คือสระน้ำหน้าวิหารพระอาจารย์ ธรรมโชติ สมัยก่อนมีปลาชุมคลักอยู่ก้นบ่อ ผู้ใดจับไปกินจะเกิดอาเพศต่างๆ แม้น้ำในบ่อเคยมีคนนำไปเติมหม้อน้ำรถ หม้อน้ำก็ยังระเบิด

    ชาวบ้านบาง ระจันจึงพร้อมใจยอมรับกันว่า มีแต่หลวงพ่อเท่านั้นที่จะเป็นผู้นำในการบูรณะครั้งนี้ โดยแต่เดิมท่านก็ได้ดูแลมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๘ จนในปี พ.ศ.๒๕๐๘ คณะรัฐมนตรีมีมติแต่งตั้งให้ท่านเป็นกรรมการฟื้นฟูและบูรณะค่ายบางระจัน และปลูกต้นโพธิ์ อีก ๘ ต้น รวมกับต้นเก่าที่มีอยู่แล้ว อันเป็นสัญลักษณ์ของวัดโพธิ์เก้าต้น

    ๏ ไปประเทศศรีลังกา

    วัน ที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๕ หลวงพ่อท่านได้เดินทางไปกับคณะพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก เพื่อไปร่วมประชุมและสังเกตการณ์ โดยมีพุทธศาสนิกชนจากหลายประเทศเข้าร่วมประชุม ณ ประเทศศรีลังกา ซึ่งการเดินทางครั้งนี้หลวงพ่อแพท่านได้ประทับพิมพ์พระสมเด็จฐานสิงห์เป็น ปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๕ ณ วัดศรีมหาโพธิ์

    ๏ สร้างพระอุโบสถหลังใหม่

    หลวง พ่อแพ ท่านได้ตัดสินใจสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ ในวันเพ็ญเดือน ๓ ตรงกับวันมาฆบูชา เพื่อให้เพียงพอสำหรับพระภิกษุและสามเณรที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น และในวันสำคัญในศาสนา ประชาชนจะได้มีโอกาสเข้าร่วมบำเพ็ญกุศลในพระอุโบสถได้มากขึ้นด้วย

    แต่ อุปสรรคสำคัญก็คือ การหาเงินปัจจัยในการสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ ซึ่งท่านต้องใช้งบจำนวนมาก ซึ่งท่านได้เตรียมพระสมเด็จปรกโพธิ์ซึ่งท่านได้ตั้งใจสร้างล่วงหน้าไว้ ณ ประเทศอินเดีย เพื่อมอบให้แก่ผู้ร่วมบริจาคทรัพย์สร้างพระอุโบสถ จึงได้วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๕ ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง ๑ ปีเศษ เป็นพระอุโบสถที่หลังใหญ่ที่สุดในบรรดาวัดที่มีอยู่ในภูมิภาค เป็นปูชนียสถานที่มีการแกะสลักลวดลายประตูหน้าต่าง อย่างวิจิตรงดงามตระการตา เป็นที่กล่าวขวัญและชื่นชมของผู้พบเห็น

    อีก ทั้งยังสร้าง “พระพุทธสุวรรณ มงคลมหามุนี” หรือ “หลวงพ่อใหญ่” พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวสิงห์บุรี ซึ่งเป็นพระพุทธรูปนั่งปางประทานพรองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หน้าตักกว้าง ๑๑ วา ๒ ศอก ๗ นิ้ว สูง ๒๑ วา ๑ คืบ ๓ นิ้ว ใช้งบประมาณก่อสร้างประมาณ ๒๐ ล้านบาท

    ๏ งานด้านการศึกษา

    ด้านการศึกษาท่านได้ตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรม ทำการเปิดสอนแผนกธรรมและภาษาบาลีขึ้น ในวัดพิกุลทองตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๔๗๕

    ๏ งานด้านสาธารณประโยชน์

    นับ ตั้งแต่พระแพ เขมังกโร ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง ท่านได้บำเพ็ญประโยชน์ภายในวัด และสาธารณประโยชน์ทั่วไป พอสรุปได้ดังนี้ ดำเนินการก่อสร้างถาวรวัตถุภายในวัด ได้แก่ พระอุโบสถ, ศาลาการเปรียญ, หอสวดมนต์, หอประชุมกุฎิสงฆ์, หอไตร, หอฉัน, ศาลาวิปัสสนา, โรงฟังธรรม, ฌาปนสถาน, ศาลาเอนกประสงค์ และเขื่อนหน้าวัด เป็นต้น รวมทั้ง ดำเนินการก่อสร้างสาธารณประโยชน์เพื่อเป็นการอนุเคราะห์แก่สาธุชนและประชาชน ทั่วไป พอสรุปได้ดังนี้

    ๑. เป็นประธานในการก่อสร้างโรงพยาบาลอำเภอท่าช้าง

    ๒. เป็นประธานในการก่อสร้างที่ว่าการอำเภอท่าช้าง

    ๓. เป็นประธานในการก่อสร้างสถานีตำรวจอำเภอท่าช้าง

    ๔. เป็นประธานในการก่อสร้างสถานีอนามัยตำบลพิกุลทอง

    ๕. เป็นประธานในการก่อสร้างโรงเรียนประชาบาลวัดพิกุลทอง

    ๖. เป็นประธานในการหาทุนสมทบในการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ที่อำเภออินทร์บุรีและสะพานข้ามแม่น้ำน้อย อำเภอท่าช้าง

    ๗. ดำเนินการก่อสร้างสาธารณประโยชน์ให้กับโรงพยาบาลสิงห์บุรี ดังนี้

    พ.ศ.๒๕๒๘ ก่อสร้างอาคารหลวงพ่อแพ ๘๐ ปี เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง ๔ ชั้น มูลค่า ๑๑,๑๐๐,๐๐๐ บาท (สิบเอ็ดล้านหนึ่งแสนบาทถ้วน) สามารถให้บริการผู้ป่วยได้ ๘๙ เตียง ปัจจุบันเป็นอาคารหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกชาย-หญิง, หอผู้ป่วยหู-ตา-คอ-จมูก และหอผู้ป่วยพิเศษ พร้อมทั้งจัดตั้งกองทุนเพื่อใช้เป็นค่ายาและเวชภัณฑ์ สำหรับพระภิกษุสามเณรที่อาพาธในโรงพยาบาลสิงห์บุรี เป็นเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท (สองแสนบาทถ้วน)

    พ.ศ.๒๕๓๒ ก่อสร้างอาคารเอ็กซเรย์ (อาคารหลวงพ่อแพ ๘๖ ปี) เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง ๒ ชั้น มูลค่า ๗,๐๐๐,๐๐๐ บาท (เจ็ดล้านบาทถ้วน) ก่อสร้างแล้วเสร็จ และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๓ ปัจจุบันเป็นอาคารกลุ่มงานรังสีวิทยา สำนักงาน และห้องประชุม

    พ.ศ.๒๕๓๔ ก่อสร้างอาคารหลวงพ่อแพ ๙๐ ปี เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง ๖ ชั้น มูลค่า ๓๕,๐๙๕,๕๕๕ บาท (สามสิบห้าล้านเก้าหมื่นห้าพันห้าร้อยห้าสิบห้าบาทถ้วน) อาคารหลังนี้ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๔ เวลา ๐๙.๐๙ น. และเปิดให้บริการ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๗ โดยชั้นที่ ๑ ถึงชั้นที่ ๕ เป็นหอผู้ป่วยสามัญ ชั้นที่ ๖ เป็นหอผู้ป่วยพิเศษ จำนวน ๑๕ ห้อง และทางโรงพยาบาลสิงห์บุรีได้กราบทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารหลวงพ่อแพ ๙๐ ปี เมื่อวันจันทร์ที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๙ พ.ศ. ๒๕๓๘

    พ.ศ.๒๕๓๘ ก่อสร้างอาคารหลวงพ่อแพ เขมังกโร ๙๔ ปี เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง ๙ ชั้น มูลค่า ๑๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งร้อยยี่สิบล้านบาทถ้วน) ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อ วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๘ อาคารหลังนี้มีพื้นที่ใช้สอย ๑๑,๔๓๐ ตารางเมตร โดย ชั้นที่ ๑-๒ เป็นแผนกบริการผู้ป่วยนอก ชั้นที่ ๓-๔ เป็นฝ่ายอำนวยการ ชั้นที่ ๕-๙ เป็นห้องผู้ป่วย จำนวน ๖๐ ห้อง ก่อสร้างแล้วเสร็จ และเริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๑

    นอกจากด้าน ศาสนาแล้ว ท่านยังช่วยเหลือด้านการศึกษาและสาธารณสุขด้วย มีผลงานเป็นที่ประจักษ์มากมาย โดยเฉพาะในส่วนของโรงพยาบาลสิงห์บุรีได้รับความอนุเคราะห์จากพระเดชพระคุณ หลวงพ่อแพ ดังจะเห็นได้จากการก่อสร้าง อาคารหลวงพ่อแพ ๘๐ ปี, อาคารหลวงพ่อแพ ๘๖ ปี (อาคารเอ็กซเรย์), อาคารหลวงพ่อแพ ๙๐ ปี ที่เด่นเป็นสง่า และดูสวยงามภายในโรงพยาบาสิงห์บุรี และปัจจุบันกับอาคารหลวงพ่อแพ เขมังกโร ๙๔ ปี ที่สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีก็ด้วยเพราะบุญบารมีของหลวงพ่อแพ ที่ท่านมอบต่อสาธุชนด้วยเมตตาธรรม อีกทั้งหลวงพ่อยังได้พัฒนาและก่อสร้างศาสนสถานให้กับวัดอื่นๆ อย่างมากมาย
    shr_att630002006.jpg

    ๏ ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์

    พ.ศ.๒๔๘๒ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลถอนสมอ

    พ.ศ.๒๔๘๓ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพระอุปัชฌาย์ และเป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวง

    พ.ศ.๒๔๘๔ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอท่าช้าง

    พ.ศ.๒๕๒๕ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี

    ๏ ลำดับสมณศักดิ์

    พ.ศ.๒๔๘๔ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ผู้ทำกิจปริยัติธรรมวินัย ในราชทินนามที่ พระครูศรีพรหมโสภิต

    พ.ศ.๒๕๑๕ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษ ในราชทินนามเดิม

    พ.ศ.๒๕๒๑ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนามที่ พระสุนทรธรรมภาณี

    พ.ศ.๒๕๓๐ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นกรณีพิเศษ วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๐ ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ พระราชสิงหคณาจารย์

    พ.ศ.๒๕๓๕ ได้รับพระราชทานเลื่อนชั้นสมณศักดิ์ เป็นกรณีพิเศษ วันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๕ ในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามที่ พระเทพสิงหบุราจารย์

    พ.ศ.๒๕๓๙ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นกรณีพิเศษ วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๙ ในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชย์ครบ ๕๐ ปี (พระราชพิธีกาจญนาภิเษก) ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ในราชทินนามที่ พระธรรมมุนี

    ๏ เทพเจ้าแห่งลุ่มแม่น้ำน้อย

    หลวง พ่อแพ เป็นพระเถราจารย์ ผู้ทรงคุณธรรมอันประเสริฐ มีเมตตาเป็นที่สุด มีลูกศิษย์ลูกหามากมายทั่วประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง อาทิเช่น ประเทศฮ่องกง, สิงคโปร์, ไต้หวัน, มาเลเซีย เป็นต้น วัตถุมงคลที่จัดสร้างขึ้นทุกรุ่นของท่านนั้นปรากฏพุทธคุณสูงเยี่ยมในทุกๆ ด้าน ล้วนได้รับความนิยมจากประชาชนเป็นที่เลื่องชื่อลือชาอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีประสบการณ์มากมาย ทั้งแคล้วคลาด คุ้มครอง โชคลาภ ค้าขายร่ำรวย

    ตลอด ชีวิตของหลวงพ่อแพ ท่านได้บำเพ็ญสาธารณประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาอย่างเอนกอนันต์ และได้อุทิศเวลาส่วนใหญ่ให้แก่ประชาชนผู้เดือดร้อนหรือตกทุกข์ได้ยากตลอดมา ท่านเปรียบเสมือนร่มโพธิ์ร่มไทรของประชาชนทั่วไป ได้แผ่บารมีช่วยเหลือกิจการต่างๆ ผลงานเป็นที่ประจักษ์ต่อชาวสิงห์บุรีและพุทธศาสนิกชนทั่วไป จนได้รับความเคารพยกย่องถึงกับมีการขนานนามท่านว่า “เทพเจ้าแห่งลุ่มแม่น้ำน้อย”

    ๏ การมรณภาพ

    ในระยะหลัง หลวงพ่อได้งดรับกิจนิมนต์ โดยคำแนะนำจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิงห์บุรี เนื่องจากไม่สามารถพยุงตัวเองได้ รวมทั้งมีโรคประจำตัว คือ เบาหวาน และโรคชรา จนเมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๑ ทางคณะแพทย์ไดเห็นสมควรนำหลวงพ่อเข้าพักรักษาพยาบาล ที่โรงพยาบาลสิงห์บุรี เนื่องจากตรวจพบว่าหลวงพ่อเป็นโรคปอดอักเสบ ทางคณะแพทย์ได้ถวายการรักษาจนอาการดีขึ้น

    ต่อมาในวันที่ ๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๑ ท่านอาการทรุดลง จนกระทั่งเวลา ๐๑.๓๐ น. ของวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๑ ท่านได้มีอาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ไม่รู้สึกตัว และหัวใจหยุดเต้น ทางคณะแพทย์ได้ทำการช่วยจนหลวงพ่อฟื้นคืนชีพได้สำเร็จ และทางได้ถวายดูแลรักษาจนอาการดีขึ้น จนกระทั่งเมื่อวันพุธที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๒ หลวงพ่อท่านได้ละสังขารลงอย่างสงบ ณ ห้อง ๙๐๑ ชั้น ๙ อาคารหลวงพ่อแพ เขมังกโร ๙๔ ปี โรงพยาบาลสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี สิริอายุรวม ๙๔ พรรษา ๗๓

    ปัจจุบัน ทางวัดพิกุลทองยังคงประดิษฐานสรีระของหลวงพ่อแพเอาไว้ เพื่อให้ศรัทธาญาติโยมและพุทธศาสนิกชนทั่วไปได้สักการบูชากราบไหว้ตลอดมา



    [​IMG]

    สมเด็จหลวงพ่อแพ 1 พัน ( รุ่นแรก )



    [​IMG]


    สมเด็จหลวงพ่อแพ 2 พัน ( รุ่นสอง )



    [​IMG]

    สมเด็จหลวงพ่อแพ 3 พัน ( รุ่นสาม )



    [​IMG]

    สมเด็จหลวงพ่อแพ 4 พัน ( รุ่นสี่ )



    [​IMG]

    สมเด็จหลวงพ่อแพพิมพ์ปรกโพธิ์ ปี 2514 ( มี 3 เนื้อ คือ ดำ ลายดำ ขาว )



    [​IMG]

    สมเด็จหลวงพ่อแพพิมพ์ฐานสิงห์ ปี 2515 ( มี 3 เนื้อ คือ ดำ ลายดำ ขาว )
    :- http://www.praasia.com/detail_geji.php?geji_id=47
     
  14. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,764
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    พิศวงที่เขาวงพระจันทร์ ลพบุรี

    thamnu onprasert
    Jun 29, 2022
    หลวงปู่ปาน โสนันโท เดินธุดงค์ไปพบเห็นเรื่องลี้ลับน่าพิศวงของเทวานุภาพอันเป็นความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งที่เขาวงพระจันทร์ จ.ลพบุรี
     
  15. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,764
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
  16. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,764
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    หลวงปู่คำผอง ธุดงค์ป่าลึก | EP.88 เรื่องเล่าพระธุดงค์ | หลวงปู่คำผอง กุสลธโร

    100 เรื่องเล่า
    58,396 views Nov 10, 2022
    หลวงปู่คำผอง ธุดงค์ดงลึก หลวงปู่คำผอง กุสลธโร แห่งวัดป่าผาแด่น อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ท่านเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่ชอบ ฐานะสโม ท่านมักจะเที่ยวธุดงค์ไปตามป่าเขา ทั้งในภาคอีสาน และภาคเหนือ ในทางจังหวัดเชียงใหม่ ในถิ่นห่างไกลทุรกันดาร ประสบการณ์ ในการเดินธุดงค์ ของท่านนั้น ท่านได้พบกับเหตุการณ์ต่างๆหลายอย่าง ทั้งจากสัตว์ป่า และภูติผีวิญญาณ

    เรื่องราวจะเป็นอย่างไรนั้นเชิญรับฟังได้เลยครับ ผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้้ดวยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กรกฎาคม 2023
  17. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,764
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    หลวงปู่คำผอง-กุสลธโร.jpg
    ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่คำผอง กุสลธโร วัดป่าผาแด่น ต.สันป่ายาง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

    หลวงปู่คำผอง กุสลธโร แห่งวัดป่าผาแด่น อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ท่านเป็นพระอริยสงฆ์ผู้เลิศในการอยู่ป่าเป็นวัตร ท่านเป็นศิษย์สายธรรมหลวงปู่ชอบ ฐานสโม ที่เคยได้ร่วมธุดงค์และอุปัฏฐากหลวงปู่ชอบทั้งถิ่นที่กันดารในหุบเขาสูงเขต จ.เลย ตลอดจนถึงเขต จ.เชียงใหม่ ซึ่งในที่ขึ้นชื่อว่ากันดารและสุดโหดของพระกัมมัฏฐานในยุคนั้นที่นึงก็คือ วัดป่าผาแด่น นั่นเอง


    หลวงปู่คําพอง กุสลธโร ท่านมีนามเดิมว่า ผอง ยอดคีรี เกิดเมื่อวันจันทร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๒ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๗๔ ณ บ้านหนองบัวบาน ต.เชียงพิณ อ.เมือง (ต่อมาเปลี่ยนเป็น ต.หมากหญ้า อ.เมือง และปัจจุบันเปลี่ยนเป็น ต.หนองบัวบาน อ.หนองวัวซอ) จ.อุดรธานี เป็นบุตรของนายเหลา ยอดคีรี และนางแห่ว (เป็นภาษาอีสาน แปลว่า “เหี่ยว”) ยอดคีรี (นามสกุลเดิมคือ วงษา) มี พี่น้อง ๔ คน นายผอง ยอดคีรี (หลวงปู่คําพอง กุสลธโร) คือบุตรคนที่ ๓
    บ้านหนองบัวบานเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ ดินเป็นดินล้วนปนทราย ปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารได้งอกงามมากทั้งยังมีห้วยหนองอยู่รอบๆ หมู่บ้าน จึงสมบูรณ์ไปด้วยธัญญาหาร มัจฉาหาร มังสาหาร รอบๆ หมู่บ้านเป็นป่าทึบ เต็มไปด้วยเสือและช้าง เวลาจะออกไปทําไร่ทํานา ชาวบ้านจะไม่กล้าไปคนเดียว ต้องมีเพื่อนไปด้วย ๒-๓ คน เพราะเกรงจะถูกเสือนําไปเป็นอาหาร (ภายหลังได้มีการสร้างเขื่อนห้วยหลวง ทําให้น้ำจากอ่างเก็บน้ำเหนือ เขื่อนท่วมเข้ามาถึงบริเวณรอบหมู่บ้าน)

    ชาวบ้านหนองบัวบานเดิมเป็นชาวบ้านโคกมน ต.ผาน้อย อ.วังสะพุง จ.เลย อพยพย้ายถิ่นฐานมาตั้งหลักแหล่งที่นี่ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม เล่าว่า ชาวบ้านโคกมนที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานที่บ้านหนองบัวบานในคราวแรก พ.ศ.๒๔๖๒ คือ ครอบครัวของขุนศรีวงษา ครอบครัวขุนพรหม ครอบครัวขุนจันทร์ และครอบครัวอื่นๆ รวมทั้งสิ้น ๘ ครอบครัว ซึ่งครอบครัวของหลวงปู่ ชอบก็ได้อพยพมาด้วย ขณะนั้นหลวงปู่ชอบมีอายุประมาณ ๑๒ ปี

    ขุนศรีวงษานี้ คือ คุณตาของหลวงปู่คําผอง ซึ่งบิดาของขุนศรีวงษา ได้อพยพจากประเทศลาว มาอาศัยอยู่ที่บ้านโคกมน ต.ผาน้อย อ.วังสะพุง จ.เลย ดังนั้น หลวงปู่คําผองจึงมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติ คือเป็น หลานของหลวงปู่ชอบด้วย

    หลวงปู่คําผองในขณะเป็นฆราวาส เป็นผู้มีนิสัยใจคอเยือกเย็น มีความอุตสาหะพยายามเป็นเลิศ พูดน้อย แต่ขยัน ได้ทําไร่ทํานาช่วยพ่อแม่พี่น้องมาตลอด จนทํานาได้ข้าวปีละ ๑,๐๐๐ กว่าถัง ท่านเรียนจบชั้น ป.๔ จากโรงเรียนบ้านหนองวัวซอ ซึ่งเป็นโรงเรียนแห่งเดียวในแถบนั้น ขณะ อายุ ๑๓-๑๔ ปี ท่านได้เป็นฝีที่หัวเข่า เป็นเหตุให้มีแผลเป็นมาจนทุกวันนี้ กระทั่งอายุได้ ๒๑ ปี ได้ไปคัดเลือกทหารในปี พ.ศ.๒๔๙๕ และต้องเกณฑ์ทหารอยู่ ๒ ปี สมัยนั้น เงินเดือนทหารเกณฑ์ ประมาณ ๒๐-๓๐ บาท พอท่านสิ้นสุดการเกณฑ์ทหาร ท่านเก็บเงินได้ถึง ๒,๐๐๐ กว่าบาท เพราะเป็นคนประหยัด ใช้จ่ายเฉพาะในสิ่งที่จําเป็น
    เมื่อท่านกลับจากเป็นทหารมาที่บ้าน ในปี พ.ศ.๒๔๙๗ ก็ได้ให้โยมพ่อพาไปวัดป่านิโครธาราม เพื่อขอบวชอยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ หลวงปู่อ่อนท่านมาตั้งวัดป่านิโครธาราม ในปี พ.ศ.๒๔๙๖ ดังนั้น หลวงปู่คําผองจึงเป็นภิกษุที่เป็นชาวบ้านหนองบัวบานรูปแรกของวัดป่านิโครธาราม และภายหลังมีชาวบ้านหนองบัวบานที่ได้บวชเป็นศิษย์หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ อีกหลายองค์ เช่น พระอาจารย์ประสิทธิ์ ปุญฺญมากโร (วัดป่าหมู่ใหม่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่) พระอาจารย์จันทร์เรียน คุณวโร (วัดถ้ำสหาย อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี) พระอาจารย์บุญรอด อธิปุญโญ (วัดถ้ำไทรทอง อ.หนองกุงศรี จ.กาฬสินธุ์) พระอาจารย์สมศรี อัตตสิริ (วัดป่าเวฬวนาราม อ.วังสะพุง จ.เลย) พระอาจารย์ชํานาญ ชุติปัญโญ (วัดป่าศิริรุ่งเรือง อ.ด่านซ้าย จ.เลย) พระอาจารย์รื่น จิตฺตทโม (วัดสามัคคีย่าดี อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ) เป็นต้น ก่อนหน้าหลวงปู่คําผอง ก็ได้มีชาวบ้านหนองบัวบานไปอุปสมบทในงานถวายเพลิงศพหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๙๓ จํานวน ๒ รูป คือ หลวงปู่ลี กุสลธโร (วัดภูผาแดง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี) และพระอาจารย์บัวคํา มหาวีโร (ภายหลังเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าสัมมานุสรณ์ อ.วังสะพุง จ.เลย ปัจจุบันมรณภาพแล้ว)

    อุปสมบท
    เมื่อหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เห็นว่าหลวงปู่คําผองเรียนรู้ข้อวัตรปฏิบัติของภิกษุได้ครบถ้วนสมบูรณ์ พร้อมทั้งท่องคําขออุปสมบทได้ถูกต้องตามอักขรฐานกรณ์แล้ว ท่านก็ได้พาหลวงปู่ไปอุปสมบท เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๙๗ เวลา ๑๑.๐๙ น. ณ วัดทิพยรัฐนิมิตร อ.เมือง จ.อุดรธานี ขณะมีอายุ ๒๓ ปี โดยมี พระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูพิทักษ์คณานุการ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    [​IMG]
    ปี ๒๔๘๐ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ท่านจำพรรษาที่วัดป่าบ้านบง (วัดป่าอรัญญวิเวก ต.อินทขีล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่) ร่วมกันกับ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี และหมู่คณะที่จำพรรษาร่วมกันในปีนี้
    องค์ขวาสุดคือท่านหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี องค์ถัดต่อมาคือ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
    อยู่ศึกษาธรรมและข้อวัตรกับหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ
    จําพรรษาที่วัดป่านิโครธาราม พรรษาที่ ๑-๔ พ.ศ.๒๔๙๗-๒๕๐๐
    อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี เมื่อหลวงปู่คําผองอุปสมบทแล้ว ได้กลับมาจําพรรษาที่วัดป่า นิโครธาราม บ้านหนองบัวบาน กับหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เพื่อศึกษาข้อวัตร และการปฏิบัติจิตภาวนากับท่าน ขณะนั้นยังไม่ได้ตั้งชื่อวัดว่า วัดป่านิโครธาราม เพราะเพิ่งตั้งวัดได้เพียง ๑ ปี และหลวงปู่อ่อนก็ยัง ไม่ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส

    ในพรรษาแรกนี้มีพระจําพรรษา ๔ องค์ คือ หลวงปู่อ่อน พระอาจารย์บุญหนา ธัมมทินโน (วัดป่าโสตถิผล บ้านหนองโดก อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร) ซึ่งเพิ่งบวชได้ ๑ พรรษา หลวงปู่คําผอง และหลวงตาอีกองค์หนึ่ง และมีสามเณรอว้าน (พระอาจารย์อว้าน เขมโก วัดป่านาคนิมิตต์ บ้านนามน อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร) ซึ่งเป็นหลานทางอดีตภรรยาของพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ มาจําพรรษาด้วย นอกจากนี้ในปีถัดๆ มายังมีพระอาจารย์สมัย ทีฆายโก (วัดโนนแสงทอง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร) พระอาจารย์ เกิ่ง วิฑิโต (วัดสามัคคีบําเพ็ญผล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร) พระอาจารย์บุญพิน กตปุญโญ (วัดผาเทพนิมิตร อ.นิคมน้ำอูน จ.สกลนคร) ด้วย
    ระยะ ๔ พรรษาแรกนี้ หลวงปู่คําผองจําพรรษาอยู่ที่วัดป่านิโครธารามโดยตลอด กิจวัตรประจําวัน คือ ตื่นตี ๔ ออกจากกุฏิ เตรียมตัวไปศาลา ปูเสื่อและอาสนะ ตั้งกระโถน ตั้งน้ำใช้น้ำฉัน ทั้งของตัวเอง และของครูบาอาจารย์ ประมาณ ๐๖.๐๐ น. เตรียมออกบิณฑบาต ถ้าเป็นฤดูฝนประมาณ ๐๖.๓๐ น. ถ้าเป็นฤดูหนาว ประมาณ ๐๖.๔๕ น. เมื่อฉันอาหารเสร็จก็ปัดกวาด เช็ดถูศาลา กลับกุฏิเดินจงกรมบ้าง ท่องหนังสือบ้าง แล้วแต่โอกาส เพราะระยะนั้นกําลังก่อสร้างกุฏิ และขยายศาลาอยู่บ้าง เวลาบ่าย ๒ โมง ฉันน้ำร้อนรวมกันที่ศาลา และฟังการอบรมจากหลวงปู่อ่อนทุกวัน วันละประมาณ ๒ ชม. แต่ถ้าเป็นช่วงเข้าพรรษา ท่านจะอ่านหนังสือสอนหนังสือเกี่ยวกับพระวินัย คือ หนังสือบุพพสิกขาวรรณนาแทน เมื่อเลิกจากนี้ก็ตักน้ำใส่โอ่งใส่ตุ่ม หลังจากนั้น ก็กลับกุฏิสรงน้ำ เสร็จแล้วเข้าทางเดินจงกรม จนถึง ๒ ทุ่ม จึงขึ้นกุฏิทําวัตร ไหว้พระสวดมนต์ ส่วนการประชุมฟังเทศน์หลวงปู่อ่อน ท่านจะเทศน์ ๔ คืนต่อครั้ง เสร็จแล้วนั่งสมาธิภาวนาต่ออีก หรือ บางครั้งหลวงปู่อ่อน ท่านปวดเมื่อย ก็ต้องไปนวดเส้นบีบเส้นถวายท่าน จนถึง ๕ ทุ่มหรือ ๖ ทุ่ม จึงกลับกุฏิเพื่อจําวัด

    ออกวิเวกเสาะหาครูบาอาจารย์
    เมื่อออกพรรษาที่ ๔ ลุถึง พ.ศ.๒๕๐๑ ท่านพระอาจารย์บัวคํา มหาวีโร ได้เที่ยวธุดงค์มาพักอยู่ที่วัดป่านิโครธาราม หลวงปู่จึงกราบลาหลวงปู่อ่อน ธุดงค์ติดตามท่านพระอาจารย์บัวคําไปทาง จ.เลย เพื่อกราบนมัสการหลวงปู่ชอบ ฐานสโม ที่วัดป่าบ้านวังม่วง อ.วังสะพุง จ.เลย พอดีระยะนั้นเป็นฤดูร้อน หลวงปู่ชอบเห็นหมู่พระไปหา จึงบอกว่า “เออ! หมู่มาก็ดีแล้ว เราจะไป” แล้วท่านก็เที่ยววิเวกธุดงค์ไปทางบ้านม่วงไข่ บ้านบง ในเขตภูเรือ ซึ่งมีอากาศเย็นสบาย เพราะอยู่ที่บ้านวังม่วง อากาศร้อนจัด ท่านไปทางภูเรือระยะหนึ่งก็กลับมาบ้านวังม่วง อากาศก็ยังคงร้อนอยู่ ท่านจึงกลับไปทางภูเรืออีก จนใกล้จะเข้าพรรษาจึงกลับมาจําพรรษาที่วัดป่าวังม่วง

    พรรษาที่ ๕ จำพรรษาที่วัดป่าโคกแฝก อ.วังสะพุง จ.เลย ซึ่งห่างจากวัดป่าวังม่วงไม่กี่กิโลเมตรเมื่อถึงวันอุโบสถก็จะไปรวมกันทำสังฆกรรมฟังพระปาฏิโมกข์และรับข้อธรรมจากหลวงปู่ชอบ ฐานสโม ที่วัดป่าวังม่วง หลวงปู่คำผอง ท่านเล่าว่า ถ้าจะนับกันจริงๆแล้ว ในสมัยที่หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ยังไม่เป็นอัมพาตนั้น ท่านจําพรรษาอยู่แถบบ้านโคกมนซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่านเพียงไม่กี่ครั้ง ส่วนใหญ่จะมาพักตอนนอกพรรษา ส่วนในพรรษา มักจะไปจําพรรษาที่อื่น เพราะท่านชอบอยู่ป่า เมื่อใดที่เกิดฝนแล้งที่บ้านโคกมน หากหลวงปู่ชอบกลับมา ฝนก็จะตก ข้าวกล้าจะอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านคนที่นับถือผี แล้วผีมักทําให้เจ็บป่วย เมื่อหลวงปู่ชอบสอนให้ไหว้พระสวดมนต์ ผีก็จะหนีไป แต่พอหลวงปู่ชอบไปวิเวก ผีก็กลับมาเข้าชาวบ้านอีก บางครั้งหลวงปู่ชอบยังให้หลวงปู่คําผองไปรื้อตูบผีที่ชาวบ้านบูชาเซ่นสรวงผี แล้วเอาโยนทิ้งน้ำเสีย และยังได้หอบเอาเทียน ที่ชาวบ้านใช้บูชาผีกลับมาใช้อีกกองโตทีเดียว


    เมื่อออกพรรษาแล้ว หลวงปู่คําผองกราบลาหลวงปู่ชอบออกเที่ยววิเวก โดยไปพักที่ถ้ำผาบิ้ง และได้พบกับพระองค์หนึ่ง ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของพระอาจารย์สวด เขมิโย จึงชักชวนกันธุดงค์ไปจนถึงแม่น้ำโขง แล้วล่องเรือไปทางน้ำไปแวะพักกับ หลวงปู่บัวพา ปัญญาภาโส ที่วัดป่าพระสถิตย์ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ๑ คืน พอดีได้ทราบข่าวว่า หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ท่านพักอยู่ที่ถ้ำหีบ บ้านนาอ่าง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี จึงพากันมุ่งหน้าไปหาท่าน โดยแวะพักกันที่บ้านค้อก่อน แล้วจึงไปหนองกบ ต่อมาจึงถึงถ้ําหีบ ขณะนั้นหลวงปู่มหาบุญมี ท่านอยู่ องค์เดียว หลวงปู่คำผองจึงได้อยู่ศึกษากับท่าน และร่วมจำพรรษากับท่านที่วัดป่าบ้านหนองบัว อ.พังโคน จ.สกลนคร

    ในพรรษาที่ ๖ พ.ศ. ๒๕๐๒ และติดตามหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดป่ามัชณันติการาม บ้านเหล่าน้อย อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร ซึ่งใกล้กับภูจ้อก้อ ที่หลวงปู่หล้า เขมปัตโต เพิ่งได้ไปเริ่มก่อสร้างไม่กี่ปี ท่านจึงได้ทำสังฆกรรมฟังพระปาฏิโมกข์ร่วมกันในวันอุโบสถเป็นประจำตลอดระยะเวลา ๒ ปี ในพรรษาที่ ๗-๘ พ.ศ. ๒๕๐๓ – ๒๕๐๔

    พรรษาที่ ๙ พ.ศ. ๒๕๐๕ จำพรรษาที่วัดป่าห้วยทราย (วัดป่าวิเวกวัฒนาราม) อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร ร่วมกับหลวงปู่สม โกกนุทโท , หลวงปู่สิงห์ทอง ธัมมวโร, พระอาจารย์สรวง สิริปุญโญ เป็นต้น ระหว่างพรรษา โยมมารดาของหลวงปู่คำผองป่วย เมื่อออกพรรษาแล้ว ท่านกับพระอาจารย์สิงห์ทอง จึงเดินทางไปพักกับหลวงปู่บัว สิริปุณโณ วัดป่าหนองแซง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านโยมมารดาท่าน

    เมื่อพักอยู่ดูอาการของโยมมารดาระยะหนึ่ง จนมีอาการดีขึ้นแล้ว หลวงปู่คำผอง จึงธุดงค์ไปยังถ้ำกวาง บ้านหินร่อง อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น ท่านพักวิเวกอยู่ที่ถ้ำกวางประมาณครึ่งเดือน

    พบงูและเสือที่ถ้ำกวาง
    วันหนึ่งหลังจากสรงน้ำแล้ว ขณะเดินจงกรมอยู่ หลวงปู่คําพอง รู้สึกร้อนผิดปกติ จึงสงสัยว่า “เอ๊ะ! วันนี้เป็นอะไร อะไรจะมาหนอ” แต่แล้วท่านก็ไม่สนใจ คิดว่าอะไรจะมาก็มา แล้วก็เดินจงกรมต่อไป วันนั้นเป็นวันข้างแรม จึงจุดเทียนไขห้อยโคมไฟเดินจงกรมอยู่ ทันใดนั้นก็ได้ยินเสียงเหมือนอะไรเลื้อยผ่านใบไม้แห้ง มุ่งตรงเข้ามาที่ทางจงกรม พอมาถึงก็เงียบหายไป หลวงปู่เกิดความสงสัย จึงหยุดเดินจงกรม แล้วเดินไปหยิบไฟฉายที่นั่งร้านที่พัก ซึ่งอยู่ใต้ก้อนหินในถ้ำ มีฝาเป็นใบตองแห้งขัดอยู่ ๒ ข้าง มาส่องหาดู ก็พบงูใหญ่นอนหมอบอยู่ข้างทางเดินจงกรม


    ท่านจึงพูดว่า “ทําไมมานอนอยู่ตรงนี้ เดี๋ยวเราเดินจงกรมไม่เห็น จะเหยียบหัวเอา ไป ออกไปนอกทางเดินจงกรม” งูตัวนั้นก็เหมือนกับรู้ภาษามนุษย์ เลื้อยออกไปทางหัวทางจงกรมขึ้นไปบนต้นไม้ที่อยู่ตรงชะโงกหินเหนือถ้ำ ทําให้ใบไม้แห้งร่วงลงมาใส่ทางที่หลวงปู่เดินจงกรมผ่าน หลวงปู่จึงพูดขึ้นอีกว่า “เออ! พระกําลังเดินจงกรมอยู่ ทําใบไม้ตกใส่หัวพระ มันบาปนะ ลงมา!” งูจึงเลื้อยถอยหลังเอาหางลงมาจนถึงดิน หลวงปู่บอกอีกว่า “เออ! ไปเถอะ เรารู้แล้ว อย่ามาผ่านทางจงกรมเราอีกนะ” งูนั้นก็เลื้อยหายไป ส่วนหลวงปู่ก็เดินจงกรมต่อ

    หลวงปู่คำผอง บอกว่างูนี้อาจจะเป็นพญานาคซึ่งอยู่ที่ถ้ำนี้ก็ได้ เพราะเมื่อครั้งที่หลวงปู่คําดี ปภาโส มาจําพรรษาที่ถ้ำนี้ พญานาคที่นี่พยายามจะพ่นพิษทําอันตรายหลวงปู่คําดี แต่สู้หลวงปู่คําดีท่านไม่ได้ จึงยอมละมิจฉาทิฏฐิ และยอมรับนับถือเคารพพระตลอดมา แต่ตัวนี้ทั้งหัวและ ตัวมีลักษณะเหมือนงูจงอาง จะใช่พญานาคหรือไม่ก็ไม่แน่ใจนัก

    ขณะที่หลวงปู่พูดกับงูนั้น เณรซึ่งกําลังจําวัดอยู่ห่างไป ๔-๕ วา ได้ยินเสียงพูดจึงตื่นขึ้น แล้วถามว่า “อาจารย์พูดกับใคร” หลวงปู่เกรงว่าเณรจะกลัว จึงตอบว่า “เราพูดเล่นเฉยๆ” แต่เณรไม่เชื่อและถามเซ้าซี้ หลวงปู่จึงบอกว่าพูดกับงู แล้วถามเณรว่า “ถ้าเห็นจะไม่กลัวหรือ” เณร บอกว่าไม่กลัว ไม่กี่วันต่อมางูนั้นก็มาอีกจริง ๆ คราวนี้ไม่มาผ่านทางจงกรมอีก แต่ตรงขึ้นไปหาเณรเลย ขณะนั้นเณรกําลังนอนอ่านหนังสืออยู่ เห็นงูเลื้อยผ่านแสงแวบ ก็ตกใจร้องขึ้น หลวงปู่จึงถามว่า “ร้องทําไม” เณรตอบว่า “งูมาหาผม” หลวงปู่จึงดุเอาว่า “ตัวเองอยากรู้อยากเห็น ทําไมไม่ดู ร้องทําไม” เณรกลัวมากจนตัวสั่นเทา แล้วหลวงปู่จึงพูดขึ้นว่า “เออ! ดีแล้ว ไปเถอะ คราวนี้อย่ามาอีกนะ เรารู้แล้ว” จากนั้นมาก็ไม่ปรากฏว่าเห็นงูนั้นอีกเลย

    อีก ๒-๓ วันต่อมา วันนั้นมีฝนตกเล็กน้อย ขณะที่หลวงปู่เดินจงกรมอยู่ ก็ได้ยินเสียงสุนัขเห่าในหมู่บ้าน จึงสงสัยว่าคงเป็นเสือไปหากินสุนัขในหมู่บ้าน สักพักเสือนั้นก็วิ่งผ่านมาข้างทางที่หลวงปู่กําลังเดินจงกรมอยู่ ผ่านเลยขึ้นไปทางด้านบนที่เณรพักอยู่ แล้ววิ่งหายไป เมื่อหลวงปู่หยุดเดินจงกรม จึงได้ถามเณรที่กําลังจุดเทียนนอนอ่านหนังสืออยู่ว่า “นั่นเสียงอะไรวิ่งขึ้นไปหา เห็นไหม ทําไมไม่เดินจงกรม ภาวนา” เณรตอบว่า “ไม่เห็น” หลวงปู่จึงดุเอาว่า “มันจะเหยียบหัว ยังไม่รู้อีก” พอตื่นเช้าไปดูก็เห็นเป็นรอยเท้าเสือจริงๆ แต่เป็นเสือเหลือง ซึ่งไม่กินคน

    อยู่ต่อมาอีก ๒ วัน มีโยมมาหา ๒ คน มานั่งคุยกันที่ศาลาเก่าๆ มุงแฝกซึ่งไม่ได้ใช้แล้ว หลวงปู่จึงเดินไปถามว่า “มาทําไม” โยมนั้นตอบ ว่า “มาเล่นกับครูบา” แล้วถามว่า “ครูบามาอยู่ที่นี่เจออะไรไหม” หลวงปู่ว่าทีแรกนึกว่าเขาถามเรื่องจิตภาวนา แต่พอรู้ว่าเขาถามเรื่องภายนอก จึงตอบว่า มีงูมา ๒ ครั้ง และเสือมาครั้งหนึ่ง โยมนั้นจึงเล่าให้หลวงปู่ฟังว่า สมัยก่อนมีพระอยู่กับหลวงปู่คําดี ปภาโส ที่นี่ ขณะที่เดินจงกรมภาวนาอยู่ ปรากฏว่ามีแก้วเสด็จ พระองค์นั้นก็เลยเดินตาม แก้วนั้นก็เสด็จลอยขึ้นต้นไม้ พระก็ปีนต้นไม้ตาม พอแก้วลอยถึงยอดไม้ก็เสด็จหนีหายไป พระองค์นั้นอยู่บนยอดไม้ก็ลงไม่ได้ ต้องร้องบอกให้หมู่เพื่อนเอาไม้มาพาดให้ลง แต่นั้นมาพระองค์นั้นก็จิตวิปลาสไป

     
  18. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,764
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    cont.
    ต่อมามีหลวงตาองค์หนึ่ง มานอนจําวัดตอนบ่ายอยู่ที่ก้อนหินข้างๆ ทางเดินจงกรมท่านนี่แหละ ได้มีงูมาเลื้อยพาดหน้าอก หลวงตาก็สะดุ้งตื่น แล้วร้องขึ้น พอตกกลางคืน หลวงตาองค์นั้นก็เดินจงกรมภาวนาอยู่ แต่พอเช้าขึ้นกลับหายไป ไม่เห็นออกไปบิณฑบาต เมื่อพระเณรฉันเสร็จเลยพากันไปดู ก็หาท่านไม่พบ จึงแยกย้ายกันออกตามหาไปเห็นท่านตกหน้าผาที่สูงชันมรณภาพอยู่ที่นั้น

    เมื่อหลวงปู่วิเวกอยู่ที่ถ้ำกวางได้ประมาณครึ่งเดือน ก็ลาญาติโยมเดินทางกลับมาวัดป่านิโครธาราม

    พรรษาที่ ๑๐ พ.ศ.๒๕๐๖ จําพรรษาที่วัดป่านิโครธาราม อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี พรรษานี้นอกจากมีหลวงปู่คําผอง ที่จําพรรษาอยู่กับ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ แล้วก็ยังมี พระอาจารย์สมัย ฑีฆายุโก พระอาจารย์เคน เขมสโย พระอาจารย์ประสิทธิ์ ปุญฺญมากโร และพระอาจารย์จันทร์เรียน คุณวโร สำหรับพระอาจารย์จันทร์เรียนนั้นท่านเพิ่งบวชเป็นพรรษาแรก หลวงปู่คําผองจึงมีโอกาสให้คําแนะนําเกี่ยวกับข้อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ แก่ท่านพระอาจารย์จันทร์เรียนด้วย และพรรษาที่ ๑๑ พ.ศ.๒๕๐๗ โยมมารดาของหลวงปู่คำผอง ได้ถึงแก่กรรม เมื่อทำบุญอุทิศกุศลให้แล้ว หลังออกพรรษา ท่าน และหลวงปู่ลี กุสลธโร และพระอาจารย์จันทร์เรียน คุณวโร ได้ออกธุดงค์ร่วมกันไปหาหลวงปู่ชอบ ฐานสโม ในเขตภูเรือ จ.เลย

    พญานาคมาทำทางให้ที่วัดป่าม่วงไข่
    พรรษาที่ ๑๒ พ.ศ.๒๕๐๘ จําพรรษาที่วัดป่าบ้านตาลเลียน อ.กุดจับ จ.อุดรธานี
    ปีนี้จําพรรษาที่บ้านตาลเลียน ร่วมกับพระอาจารย์ลี กุสลธโร พระอาจารย์จันทร์เรียน คุณวโร และสามเณร ๒ รูป เมื่อออกพรรษาแล้ว ก็เดินธุดงค์ทวนกลับทางเดิมที่มา คือ ทวนแม่น้ำโขงกลับไปทาง อ.เชียงคาน ไปพักอยู่ถ้ำผาปู่ แล้วขึ้นไปหาหลวงปู่ชอบที่บ้านกลาง บนภูเรือ ซึ่งขณะนั้นท่านอยู่กับท่านพระอาจารย์บุญพิน กตปุญฺโญ เมื่อหลวงปู่ชอบ เห็นพระเณรมากท่านเลยพาเกี่ยวหญ้าแฝกมาต่อเติมศาลาให้ใหญ่ขึ้น เสร็จแล้วไม่นาน พระอาจารย์ลี และ พระอาจารย์จันทร์เรียน ก็ลาหลวงปู่ชอบไป วิเวกทาง อ.ด่านซ้าย แล้วไปจําพรรษาที่อื่น ส่วนพระอาจารย์บุญพิน เกรงว่าหลวงปู่ชอบจะให้อยู่ที่บ้านกลาง จึงเตรียมจะออกวิเวกบ้าง แต่ หลวงปู่คําผอง รีบออกมาก่อน โดยลงมาพักอยู่ที่วัดป่าบ้านบง

    ตอนกราบลาหลวงปู่ชอบจะมาบ้านบง หลวงปู่ชอบท่านจะให้ไป ที่บ้านม่วงไข่ แต่หลวงปู่มาบ้านบง เพราะตั้งใจจะมาจําพรรษาที่นั่นองค์เดียว ระหว่างทางเดินมาเห็นรอยเสือโคร่งบ้าง รอยเสือกับหมูป่าสู้กันบ้าง แต่ไม่เจอตัว อยู่ไม่กี่วัน ท่านพระอาจารย์บุญพิน พร้อมด้วย พระม่อย (ภายหลังลาสิกขา) ซึ่งเป็นคนบ้านวังม่วง ก็ตามมาอยู่ด้วย แต่อยู่ได้ไม่กี่วัน หลวงปู่ชอบท่านก็ให้เณรมาตามไปที่วัดป่าบ้านม่วงไข่ เพื่อช่วยสร้างกุฏิและศาลา เพราะหลวงปู่ชอบท่านสั่งให้พ่อเชียงหมุน (ซึ่งเคยเกิดเป็นเพื่อนกับท่านในอดีตชาติที่เคยเป็นพ่อค้าผ้ามาร่วมสร้าง พระธาตุพนมด้วยกัน และชาตินี้มาเกิดอยู่ที่บ้านม่วงไข่) เตรียมไม้ เตรียมหญ้าแฝกไว้ล่วงหน้าแล้ว จึงสร้างกุฏิ ๑ หลัง และศาลาชั่วคราว ๒ ห้อง อีก ๑ หลัง พื้นเป็นฟากไม้ไผ่ หลังคามุงแฝก

    หลวงปู่เล่าว่าที่บ้านบง บ้านกลาง ภูคั่ง เวลานั้นเสือโคร่งยังมีชุมมาก บางที่ลงมาเดินอยู่ในลานวัด แต่หลวงปู่ชอบท่านก็ไม่พูด เกรงว่า พระเณรจะกลัวกันมากเกินไป แม้แต่ตอนที่หลวงปู่คําผองอยู่ที่วัดป่าบ้านบง ท่านก็ยังได้ยินเสียงเสือ แต่ไม่เห็นตัว พอตื่นเช้าขึ้นมาเดินไปดู ก็ได้เห็น รอยเท้าของมัน ส่วนใหญ่มันจะลงมาจากภูหลวง มาเที่ยวหากินแถวภูบักได ภูคั่ง บ้านกลาง บ้านบง แล้วไปทางบ้านห้วยลาด บ้านสานตม แล้วก็กลับขึ้นภูหลวง

    ขณะที่หลวงปู่คําผองอยู่กับหลวงปู่ชอบที่วัดป่าบ้านม่วงไข่นั้นปกติ ต้องลงไปตักน้ำในลําธารในเหวทุกวัน เนื่องจากวัดอยู่บนยอดเขา ซึ่งไม่มีบ่อน้ำ ต้องลงมาสรงน้ำในเหว และช่วยกันตักน้ำไปใส่ตุ่มบนยอดเขา ทางขึ้นลงนั้นชันมากและเต็มไปด้วยป่าไผ่ ซึ่งมักเกี่ยวสบง อังสะของ พระเณร จนเป็นแผลกันอยู่บ่อยๆ บางครั้งยังลื่นไถลลงมาด้วยซ้ำ ทำให้ได้รับความลําบากมาก

    วันหนึ่งตอนเย็น เกิดฝนตกหนักอย่างไม่ลืมหูลืมตา พอถึงรุ่งเช้า พระเณรก็พบกับความประหลาดใจ เพราะทางขึ้นลงเหวนั้น กลายเป็นทางเตียนโล่งลงไปจนถึงที่ตักน้ำ กอไผ่แหวก ออกเป็นทางไป ๒ ข้าง เหมือนเอารถแทรกเตอร์มาเกรด หลวงปู่คําผอง ท่านก็สงสัยเพราะในป่าอย่างนี้ จะไปมีรถแทรกเตอร์มาเกรดให้ได้อย่างไร จึงไปกราบเรียนถามหลวงปู่ชอบ ท่านก็ยิ้มๆ แล้วบอกว่า

    “พญานาคเขามาทําให้ เขามาลาเรา บอกว่าจะไปสงคราม”

    หลวงปู่คําผองแปลกใจมากจึงเรียนถามว่า “พญานาคเขามีรบกันด้วยหรือ หลวงปู่” หลวงปู่ชอบท่านตอบว่า “มนุษย์เป็นอย่างไร เขาก็เป็นอย่างนั้น”

    นับแต่นั้นมา เวลาพระเณรลงไปตักน้ำก็ไม่ลําบากอีก

    เทวดามาฟังธรรมหลวงปู่ชอบ ฐานสโม
    พรรษาที่ ๑๓ พ.ศ.๒๕๐๙ จําพรรษาที่วัดป่าสัมมานุสรณ์ บ้านโคกมน อ.วังสะพุง จ.เลย พรรษานี้หลวงปู่คําผอง จําพรรษากับหลวงปู่ชอบ ฐานสโม และพระเณรรวม ๙ องค์ หลวงปู่ท่านเล่าเสมอว่า มีเทวดามากราบหลวงปู่ชอบเป็นประจํา เวลาอยู่บ้านโคกมนอย่างนี้ เทวดาบางพวกก็มาจากเชียงใหม่ บางพวกก็มาจากภูหลวง บางครั้งมาทางดิน บางครั้งก็เหาะมาทางอากาศ เพื่อมาฟังธรรมจากหลวงปู่ชอบ หลวงปู่คําผองได้เคยกราบเรียนถามหลวงปู่ชอบว่า “เทศน์อะไรให้พวกเขาฟัง” หลวงปู่ชอบบอกว่า “แล้วแต่เขาจะชอบ บางพวกก็ชอบพระไตรสรณคมน์ บางพวกก็ชอบธรรมจักรกัปวัตนสูตร บางพวกก็ชอบอนัตตลักขณสูตร”

    พรรษาที่ ๑๔ พ.ศ.๒๕๑๐
    จําพรรษาที่วัดป่าผาแด่น อ. แม่แตง จ. เชียงใหม่
    พรรษานี้จําพรรษาร่วมกัน ๔ องค์ คือ หลวงปู่คำผอง , พระอาจารย์บุญพิน กตปุญฺโญ , พระม่อยและเณร หลวงปู่คำผองอยู่ที่ผาแด่น จนถึงเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๑๑ จึงลงเขาไปพักอยู่วัดป่าห้วยน้ำริน เพื่อตัดเย็บย้อมผ้า จากนั้นก็เดินทางไป จ. เลย เที่ยวธุดงค์มาจนถึง ภูผาสาด (ภูปราสาท) ซึ่งเป็นภูใหญ่ในเขต อ.ภูเรือ ท่านเห็นว่ามีความสงบ น้ํำท่าอุดมสมบูรณ์จึงตกลงใจ จะจําพรรษาที่นี่

    เจอพญานาคและธุดงค์ร่วมกับหลวงปู่ชอบ ฐานสโม
    พรรษาที่ ๑๕ พ.ศ.๒๕๑๑ จําพรรษาที่ภูปราสาท อ.ภูเรือ จ.เลย
    ปีนี้จําพรรษากับเณรอีก ๒ องค์ อยู่ในถ้ํำ เวลาบิณฑบาตจะไปที่บ้านหนองแซง วันหนึ่งขณะที่หลวงปู่เข้าจําวัดแล้ว ได้เห็นพญานาคมาหา โดยครั้งแรกมาในรูปของงูก่อน แล้วก็หายไป จากนั้นก็มาอีก แต่มาในรูปมนุษย์ เขาถามว่า “คราวที่แล้วเขามา รู้ไหมว่าเป็นอะไร ไม่กลัวหรือ” ท่านก็ตอบว่า “ไม่กลัว” แล้วเขาก็หายไป มาภายหลังได้เล่าถวายให้หลวงปู่ชอบฟัง ท่านถามว่า “ทําไมไม่ถามว่าเขามาทําไม” แต่หลวงปู่คำผองตอบว่าไม่ได้สนใจจะถาม แล้วท่านก็ได้ถามหลวงปู่ชอบว่า “บนเขาอย่างนี้ก็มีอยู่ด้วยหรือหลวงปู่ พญานาคน่ะ” หลวงปู่ชอบตอบว่า “ก็มีอยู่ ทุกแห่งนั่นแหละ” ความจริงเวลาชาวบ้านแถวภูปราสาทนั้น เวลาเขาทําไร่ทําสวนก็มักได้ยินเสียงเหมือนคนพูดกัน แต่ก็มองหาไม่เห็นว่าใครพูด

    พอออกพรรษาแล้ว หลวงปู่เดินทางร่วมกับหลวงปู่ชอบ ฐานสโม และหลวงปู่ซามา อจุตโต กลับไปทางเชียงใหม่ โดยไปพักที่วัดป่าห้วยน้ำรินก่อน จากนั้นหลวงปู่ติดตามหลวงปู่ชอบไปเที่ยวธุดงค์ แถวบ้านแม้ว ทาง อ. สะเมิง ส่วนหลวงปู่ซามา ท่านเดินไม่ไหว จึงพักอยู่ที่ห้วยน้ำริน เวลานั้นเสือโคร่งกําลังอาละวาดกัดกินม้าของพวกแม้วแล้วถูกพรานดักยิง แต่มันก็ไม่ตายกลายเป็นเสือลําบาก ชาวบ้านก็เตือนให้ระวัง แต่ก็ไม่เจอกัน เมื่อออกมาจากบ้านแล้ว ไปพักที่ใหม่ หลวงปู่ชอบสั่งให้ทําร้านพัก ๒ ร้าน เฉพาะของหลวงปู่ชอบกับหลวงปู่คำผอง ส่วนที่เหลือคือพระแดง กับผ้าขาว ให้นอนพื้นดิน หลวงปู่คำผองกับพระแดงและผ้าขาวจึงไปช่วยกันทําร้าน โดยให้ผ้าขาวซึ่งแก่แล้วเป็นคนตัด หลวงปู่คําผองกับพระแดงช่วยกันดึง ได้มาวันละไม่กี่ลํา เอามาทําฟาก พอสร้างเสร็จได้วันเดียว หลวงปู่ชอบก็ชวนเดินทางต่อ

    หลวงปู่พูดให้ฟังถึงนิสัยมาเร็วไปเร็วของหลวงปู่ชอบอยู่เสมอๆ อย่างกรณีนี้ ท่านเล่าอย่างขําๆ ว่า “เราทําอยู่เป็นอาทิตย์ สองอาทิตย์ กับท่านแดง นั่งฉันได้วันเดียว หลวงปู่ชอบไปแล้ว นี่แหละเหนื่อยใจไปกับหลวงปู”

    คราวนี้เดินทางมาถึงพระพุทธบาทสี่รอย ก็ค่ำพอดี จึงนิมนต์หลวงปู่พักที่นี่ รุ่งขึ้นค่อยไปผาแด่น แต่ท่านก็ยังพาเดินต่อลงเขา มาจนพบร่องน้ำ ท่านจึงพาหยุดพัก ผ้าขาวก็เอากาต้มน้ำร้อนสรงหลวงปู่ชอบ หลวงปู่เองก็สรงน้ำ แล้วปูที่นอนเตรียมจําวัด ผ้าขาวก็ไปหาฟืนมาเตรียมก่อไฟ สักพักหลวงปู่ชอบชวนเดินทางต่ออีก ตกลงเลยไม่ต้องนอน เดินกันมาแต่ก็ไม่ถึงวัด ตกลงต้องนอนผิงไฟอยู่ข้างทางนั้น เพราะอากาศหนาวมาก ตื่นเช้าบิณฑบาตฉันแล้วจึงเดินทางถึงวัดป่าผาแด่น

    พรรษาที่ ๑๖ – ๑๘ พ.ศ.๒๕๑๒ – ๒๕๑๔
    จําพรรษาที่วัดป่าผาแด่น ต.สันป่ายาง อ. แม่แตง จ. เชียงใหม่
    ปี พ.ศ.๒๕๑๒ หลวงปู่จําพรรษากับเณร ๑ องค์ และผ้าขาวเกตุ (คือ หลวงตาเกตุ วัดป่าม่วงหัก จ.มุกดาหาร ในเวลาต่อมานั่นเอง หลวงตาเกตุนี้ หลวงปู่ชอบเคยพยากรณ์ไว้ล่วงหน้าแล้วว่าจะมรณภาพพร้อมกันกับหลวงปู่ชอบ และก็เป็นจริง คือท่านมรณภาพด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์ระหว่างเดินทางมากราบศพหลวงปู่ชอบ ภายหลังจากได้ทราบข่าวว่าหลวงปู่ชอบมรณภาพ) ส่วนหลวงปู่ชอบจําพรรษาที่วัดป่าห้วยน้ำริน พอออกพรรษาแล้ว หลวงปู่ชอบท่านก็ขึ้นเขาไปอยู่ที่วัดป่าโป่งเดือด แล้วมาพักกับหลวงปู่คําผองที่ผาแด่น จากนั้นก็กลับลงไปห้วยน้ำริน แต่ปรากฏว่าอากาศร้อน หลวงปู่ชอบจึงกลับขึ้นไปโป่งเดือดอีก สุดท้ายท่านก็กลับไปทางบ้านโคกมน จ. เลย เพื่อไปสร้างถังน้ำ ศาลา และโบสถ์ ที่วัดป่าสัมมานุสรณ์ ส่วนหลวงปู่คําผองอยู่ที่ผาแด่น จนถึง พ.ศ.๒๕๑๔




     
  19. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,764
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    cont.
    [​IMG]
    (จากซ้าย) พระอาจารย์คำผอง กุสลธโร กับ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
    และพระอาจารย์ขันตี ญาณวโร
    บันทึกภาพ ณ วัดป่าผาแด่น บ้านผาแด่น ต.สันป่ายาง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

    เมื่อถึง พ.ศ.๒๕๑๔ หลวงปู่ชอบเริ่มอาพาธ ท่านพระอาจารย์บัวคํา มหาวีโร จึงนิมนต์มารักษาที่โรงพยาบาลศิริราชอยู่ ๙ วัน อาการดีขึ้น จึงกลับไปจําพรรษาที่วัดป่าบ้านสานตม อ.ภูเรือ จ.เลย โดยมี ท่านพระอาจารย์บัวคํา มหาวีโร, ท่านพระอาจารย์ขันตี ญาณวโร อยู่จําพรรษาด้วย ระยะนั้นหลวงปู่ชอบยังพอเดินได้ โดยใช้ไม้เท้าช่วย ท่านยังเดินไปใช้ไม้เท้าชี้ที่ก่อสร้างศาลาได้อยู่ พอออกพรรษาปี พ.ศ.๒๕๑๔ หลวงปู่คําผองลงจากผาแด่นไปกราบเยี่ยมหลวงปู่ชอบที่บ้านสานตม ก่อนกลับยังได้สั่งท่านพระอาจารย์บุญพินซึ่งได้มาพักอยู่ดูแลหลวงปู่ชอบว่า

    “ถ้าหลวงปู่อาพาธหนักให้เขียนจดหมายไปหาผมนะ ผมจะขึ้นไปเชียงใหม่ก่อน”

    แล้วหลวงปู่คำผองก็กลับผาแด่น ต่อมาไม่นานก็ได้รับจดหมายจากท่านพระอาจารย์บุญพิน กตปุญฺโญว่า หลวงปู่ชอบเข้าโรงพยาบาลอีก ซึ่งมีสาเหตุมาจากหมอคนจีนเอายาสมุนไพรมาถวายท่านฉันได้เพียงนิดเดียว ก็มีอาการกระตุก ปากเบี้ยว น้ำลายไหล จึงต้องรีบส่งโรงพยาบาล หลวงปู่คำผองท่านจึงรีบเดินทางโดยรถไฟลงมากรุงเทพฯ แล้วจึงไปเยี่ยมหลวงปู่ชอบที่ รพ.ศิริราชทันที ก็มาทราบว่าหลวงปู่ชอบ ท่านตกเตียงซ้ำอีก คือตอนกลางคืนไม่ได้เอารางเหล็กกั้นขอบเตียงพยาบาลขึ้น หลวงปู่ชอบ ท่านตื่นขึ้นมากลางดึก จึงลุกขึ้นเอียงตัวไปบ้วนน้ำลายเป็นเหตุให้ตกเตียงหัวฟาดพื้นถึงกับสลบไป เมื่อฟื้นขึ้นมาอาการอัมพาตจึงไม่ดีขึ้นอีกเลย กลายเป็นอัมพาตซีกซ้ายไปตลอดชีวิต หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ละสังขารเมื่อวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๘

    พรรษาที่ ๒๔ – ๒๙ พ.ศ.๒๕๒๐ – ๒๕๒๕ จำพรรษาที่วัดป่าผาแด่น ต.สันป่ายาง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๒๐ – ๒๕๒๕ นี้ หลวงปู่อยู่ที่ผาแด่นโดยตลอด มีอยู่วันหนึ่ง หลวงปู่อยู่องค์เดียว ไม่มีพระเณรอื่น ท่านเจ็บเส้นที่ท้องมาก ต้องนั่งนวดเส้นเองอยู่คนเดียว จึงบ่นขึ้นว่า

    “พวกภูมิ (ภุมมเทวดา) ไม่มีอยากได้บุญเลยหรือ เจ็บท้องจะตาย ไม่มีใครมาบีบเส้นให้”

    คืนนั้น เมื่อเดินจงกรมเสร็จ ก็เดินกลับขึ้นกุฏิ พอลงนอนก็เห็นร่างดําทะมึนเดิน ตามขึ้นมาบนกุฏิ ขณะนั้นท่านไม่ได้จุดเทียนจึงมองไม่ออก และไม่สนใจด้วยว่าจะมาจากไหน ท่านก็บอกว่า “เอ้า ! นวดเส้น” เขาก็นวดให้ บางที่นวดแรงไปหลวงปู่ก็บอกว่า “อย่าทําแรงมากไปมันเจ็บ” เขาก็ลดกําลังลงจนพอดี พอเสร็จแล้วเขาก็กราบลาแล้วเดินลงกุฏิไป หลวงปู่ก็จําวัด ท่านบอกว่า อาจจะเป็นพวกภูมิที่เคยทําแร่อยู่แถวๆ วัด เพราะชาวบ้าน เล่าว่า คนสมัยก่อนเขามาทําแร่ ถลุงเหล็ก ต้มเหล็กกันอยู่แถววัดในปัจจุบันเป็นจํานวนมาก แม้เมื่อตอนสร้างกุฏิที่หลวงปู่พักหลังปัจจุบันนั้น ขณะที่รถได้ไปยังเจอเอาที่ต้มเหล็ก และทั่งตีเหล็ก ฝังดินอยู่จึงเอาขึ้นมา

    [​IMG]
    หลวงปู่คำผอง กุสลธโร ที่ รพ.ศิริราช ๒๒ มิ.ย.พ.ศ.๒๕๔๐
    วันท่านจะออกจากศิริราชกลับวัดป่านิโครธาราม
    [​IMG]
    (ซ้าย) พระอาจารย์ประสิทธิ์ ปุญญมากโร
    (กลาง) หลวงปู่บุญพิน กตปุญโญ
    (ขวา) พระอาจารย์บุญรอด อธิปุญโญ
    ในงานประชุมเพลิงศพ หลวงปู่คำผอง กุสลธโร
    ณ วัดป่านิโครธาราม อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    วันที่ ๕ กรกฏาคม พ.ศ.๒๕๔๖
    มรณภาพตรงกับวันอุปสมบท
    หลวงปู่คำผอง กุสลธโร ดำเนินตามรอยพระบาทแห่งองค์พระศาสดามาตลอดชีวิตการอุปสมบท ๔๙ พรรษา ท่านละสังขารลงด้วยอาการสงบเมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๖ ตรงกับวันแรม ๓ ค่ำ เดือน ๗ เวลา ๒๐.๒๐ น. สิริรวมอายุ ๗๒ ปี ๕ เดือน ๖ วัน

    [​IMG]
    อัฐิธาตุ ของท่าน หลวงปู่คำผอง กุสลธโร วัดป่านิโครธาราม อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    [​IMG]
    อัฐิธาตุ ของท่าน หลวงปู่คำผอง กุสลธโร วัดป่านิโครธาราม อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    โอวาทธรรม หลวงปู่คำผอง กุสลธโร

    “..ธรรมคําสอนของพระพุทธเจ้าที่ดีเลิศ ไม่เสื่อมสูญไปไหน เรียกว่า ศาสนาไม่ว่างจากคุณธรรม หรือ พระอรหันต์ไม่ว่างจากโลก เมื่อใครปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ธรรมก็เกิดแก่ใจของผู้นั้น อยู่ตราบนั้น..”
    ขอบพระคุณที่มา :- https://www.108prageji.com/หลวงปู่คำผอง-กุสลธโร/
     
  20. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,764
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    เส้นทางการบรรลุธรรมของหลวงปู่เสาร์กับหลวงปู่มั่น | EP.91 เรื่องเล่าพระธุดงค์

    100 เรื่องเล่า
    Dec 8, 2022

    หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล กับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านเป็นพระกรรมฐาน เป็นพระอาจารย์ใหญ่ของพระกรรมฐาน ในภาคอีสาน ที่เส้นทางการบรรลุธรรมของพวกท่านนั้น ไม่ได้ง่าย มีอุปสรรคนานับ ประการ และสิ่งหนึ่งที่คอยขัดขวางการบรรลุธรรม ของพวกท่านนั้น ก็คือ ในอดีตชาตินั้น พวกท่านเคยปราถนาที่จะเป็นพระพุทธเจ้า ในชาติปัจจุบันของพวกท่านนั้น การปราถนาพุทธภูมินี้ จึงทำให้พวกท่านบรรลุธรรมช้า แต่ในที่สุด ทั้งหลวงปู่มั่น และหลวงปู่เสาร์ พวกท่านก็บรรลุธรรม เป็นพระอรหันต์ของเมืองไทย

    เรื่องราวจะเป็นอย่างไรนั้น เชิญรับฟังได้เลยครับ ผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...