เชิญชมภาพวัดแคราชานุวาส

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย kea.99999, 12 ตุลาคม 2009.

  1. kea.99999

    kea.99999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2009
    โพสต์:
    675
    ค่าพลัง:
    +1,297
    [​IMG] วัดแคราชานุวาส
    <HR style="COLOR: #cccccc" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    วัดแคราชานุวาสสร้างขึ้น พ.ศ.๒๑๓๐
    รูปเกาะลอย ที่วงกลมวัดแคราชนุวาส และ โฉนดที่ดินของวัดได้เมือวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ.2551
    [​IMG]ขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนช่วย โดยเฉพาะ คุณ สุพจน์ สุวรรณโชติ เจ้าพนักงานที่ดิน​
     
  2. kea.99999

    kea.99999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2009
    โพสต์:
    675
    ค่าพลัง:
    +1,297
    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด
    (หลวงปู่ทวด ราโมธัมมิโก)

    วัดช้างไห้ (วัดราษฎร์บูรณะ)
    ต.ป่าไร่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี <!--colorc-->
    <!--/colorc-->


    สมเด็จเจ้าพะโคะหรือหลวงพ่อทวด เป็นที่รู้จักของชาวไทยทุกภูมิภาคในฐานะพระศักดิ์สิทธิ์ที่มีอิทธิปาฏิหาริย์และอภิญ
    ญาแก่กล้า จนได้สมญาว่า “หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด” ประวัติอันพิสดารของท่านมีเล่าสืบกันมาไม่รู้จบสิ้น ยิ่งนานวันยิ่งซับซ้อนและขยายวงกว้างออกไปกลายเป็นความเชื่อความศรัทธาอย่างฝังใจ

    หลวงพ่อทวดเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงๆ เรื่องราวต่อไปนี้ผู้เขียนได้รวบรวมจากหนังสืออ้างอิงหลายเล่มทั้งที่เป็นตำนานหลักฐ
    านทางประวัติศาสตร์ หนังสือและเอกสารต่างๆ พอจะให้ท่านผู้อ่านได้ทราบว่า หลวงพ่อทวดคือใคร เกิดในสมัยใดและได้สร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและพระศาสนาไว้อย่างไรบ้าง เพื่อเป็นคติเตือนใจแก่อนุชนรุ่นหลังสืบไป


    <!--coloro:#FF0000--><!--/coloro-->๏ ทารกอัศจรรย์ <!--colorc--><!--/colorc-->

    เมื่อประมาณสี่ร้อยปีที่ผ่านมา ในตอนปลายรัชสมัยของพระมหาธรรมราชา แห่งกรุงศรีอยุธยา ณ หมู่บ้านสวนจันทร์ ตำบลชุมพล เมืองจะทิ้งพระ ตรงกับวันศุกร์ เดือนสี่ ปีมะโรง พุทธศักราช 2125 ได้มีทารกเพศชายผู้หนึ่งถือกำเนิดจากครอบครัวเล็กๆ ฐานะยากจนแร้นแค้น แต่มีจิตอันเป็นกุศล ชอบทำบุญสุนทาน ยึดมั่นในศีลธรรมอันดี ปราศจากการเบียดเบียนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย

    ทารกน้อยผู้นี้มีนายว่า “ปู” เป็นบุตรของนายหู และนางจันทร์ ในขณะเยาว์วัย ทารกผู้นั้นยังความอัศจรรย์ให้แก่บิดามารดาตลอดจนญาติพี่น้องทั้งหลาย ด้วยอยู่มาวันหนึ่งมีงูตระบองสลาตัวใหญ่มาขดพันอยู่รอบเปลที่ทารกน้อยนอนหลับอยู่ และงูใหญ่ตัวนั้นไม่ยอมให้ใครเข้ามาใกล้เปลที่ทารกน้อยนอนอยู่เลย

    จนกระทั่งบิดามารดาของเด็กเกิดความสงสัยว่า พญางูตัวนั้นน่าจะเป็นเทพยดาแปลงมาเพื่อให้เห็นเป็นอัศจรรย์ในบารมีของลูกเราเป็นแน่
    แท้ จึงรีบหาข้าวตอกดอกไม้และธูปเทียนมาบูชาสักการะ งูใหญ่จึงคลายลำตัวออกจากเปลน้อย เลื้อยหายไป

    ต่อมาเมื่อพญางูกจากไปแล้ว บิดามารดาทั้งญาติต่างพากันมาที่เปลด้วยความห่วงใยทารก ก็ปรากฏว่าเด็กชายปูยังคงนอนหลับอยู่เป็นปกติ แต่เหนือทรวงอกของทารกกลับมีดวงแก้วดวงหนึ่งมีแสงรุ่งเรืองเป็นรัศมีหลากสี ตาหู นางจันทร์จึงเก็บรักษาไว้ นับแต่บัดนั้นฐานะความเป็นอยู่การทำมาหากินก็จำเริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับอยู่สุขสบ
    ายตลอดมา


    <!--coloro:#33CC00--><!--/coloro-->๏ สามีราโม <!--colorc--><!--/colorc-->

    เมื่อกาลล่วงมานานจนเด็กชายปูอายุได้เจ็ดขวบ บิดาได้นำไปฝากสมภารจวง วัดกุฏิหลวง (วัดดีหลวง) เพื่อให้เล่าเรียนหนังสือเด็กชายปูมีความเฉลียวฉลาดมาก สามารถเรียนหนังสือขอมและไทยได้อย่างรวดเร็ว ครั้นอายุได้ 15 ปี ก็บรรพชาเป็นสามเณรและบิดาได้มอบแก้ววิเศษไว้เป็นของประจำตัว ต่อมาสามเณรปูได้ไปศึกษาต่อกับสมเด็จพระชินเสน ที่วัดสีหยัง (สีคูยัง) ครั้นอายุครบอุปสมบทจึงได้เดินทางไปศึกษาต่อที่นครศรีธรรมราช ณ สำนักพระมหาเถระปิยทัสสี ได้ทำการอุปสมบทมีฉายาว่า “ราโมธมฺมิโก” แต่คนทั่วไปเรียกท่านว่า “เจ้าสามีราม” หรือ “เจ้าสามีราโม”

    เจ้าสามีรามได้ศึกษาอยู่ที่วัดท่าแพ วัดสีมาเมือง และวัดอื่นๆ อีกหลายวัด เมื่อเห็นว่าการศึกษาที่นครศรีธรรมราชเพียงพอแล้วจึงขอโดยสารเรือสำเภาเดินทางไปกรุง
    ศรีอยุธยา ขณะเดินทางถึงเมืองชุมพร เกิดคลื่นทะเลปั่นป่วน เรือไม่สามารถแล่นฝ่าคลื่นลมไปได้ต้องทอดสมออยู่ถึงเจ็ดวัน ทำให้เสบียงอาหารและน้ำหมดบรรดาลูกเรือตั้งข้อสงสัยว่าการที่เกิดเหตุอาเพศในครั้งนี
    ้เพราะเจ้าสามีราม จึงตกลงใจให้ส่งเจ้าสามีรามขึ้นเกาะและได้นิมนต์ให้เจ้าสามีรามลงเรือมาด ขณะที่นั่งอยู่ในเรือมาดนั้น ท่านได้ห้อยเท้าแช่ลงไปในทะเลก็บังเกิดอัศจรรย์น้ำทะเลบริเวณนั้นเป็นประกายแวววาวโช
    ติช่วง เจ้าสามีรามจึงบอกให้ลูกเรือตักน้ำขึ้นมาดื่มก็รู้สึกว่าเป็นน้ำจืด จึงช่วยกันตักไว้จนเพียงพอ นายสำเภาจึงนิมนต์ให้ท่านขึ้นสำเภาอีก และตั้งแต่นั้นมาเจ้าสามีรามก็เป็นชีต้นหรืออาจารย์สืบมา

    เมื่อถึงกรุงศรีอยุธยา ก็ได้ไปพำนักอยู่ที่วัดแค ศึกษาธรรมะที่ วัดลุมพลีนาวาส ต่อมาได้ไปพำนักอยู่ที่วัดของสมเด็จพระสังฆราช ได้ศึกษาธรรมและภาษาบาลี ณ ที่นั้นจนเชี่ยวชาญจึงทูลลาสมเด็จพระสังฆราชไปจำพรรษาที่วัดราชนุวาส เมื่อประมาณ พ.ศ. 2149 ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเอกาทศรถ


    <!--coloro:#3333FF--><!--/coloro-->๏ รบด้วยปัญญา <!--colorc--><!--/colorc-->

    กระทั่งวันหนึ่งถึงกาลเวลาที่ชื่อเสียงของหลวงพ่อทวดหรือเจ้าสามีรามจะระบือลือลั่นไ
    ปทั่วกรุงสยาม จึงได้มีเหตุพิสดารอุบัติขึ้นในรัชสมัยของพระเอกาทศรถ กล่าวคือ

    สมัยนั้นพระเจ้าวัฏฏะคามินี แห่งประเทศลังกา ซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรแหลมทองทางภาคใต้ คิดแก้มือด้วยการท้าพนันแปลธรรมะ และต้องการจะแผ่พระบรมเดชานุภาพมาทางแหลมทอง ใคร่จะได้กรุงศรีอยุธยามาเป็นประเทศราช แต่พระองค์ไม่ปรารถนาให้เกิดศึกสงครามเสียชีวิตแก่ประชาชนทั้งสองฝ่าย จึงทรงวางแผนการเมืองด้วยสันติวิธี คิดหาทางรวบรัดเอากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองขึ้นด้วยสติปัญญาเป็นสำคัญ

    เมื่อคิดได้ดังนั้น พระเจ้ากรุงลังกาจึงมีพระบรมราชโองการ สั่งให้พนักงานท้องพระคลังเบิกจ่ายทองคำบริสุทธิ์ แล้วให้ช่างทองประจำราชสำนัก ไปหล่อทองคำเหล่านั้นให้เป็นตัวอักษรบาลีเล็กเท่าใบมะขาม ตามพระอภิธรรมทั้งเจ็ดคัมภีร์ จำนวน 84,000 ตัว จากนั้นก็ทรงรับสั่งให้พราหมณ์ผู้เฒ่า อันมีฐานะเทียบเท่าปุโรหิตจำนวนเจ็ดท่าน คุมเรือสำเภาเจ็ดลำบรรทุกเสื้อผ้าแพรพรรณ และของมีค่าออกเดินทางมายังกรุงศรีอยุธยา พร้อมกับปริศนาธรรมของพระองค์

    เมื่อพราหมณ์ทั้งเจ็ดเดินทางลุล่วงมาถึงกรุงสยามแล้วก็เข้าเฝ้าถวายพระราชสาส์นของกษ
    ัตริย์ตนแก่พระเจ้าเอกาทศรถ มีใจความในพระราชสาส์นว่า

    พระเจ้ากรุงลังกาขอท้าให้พระเจ้ากรุงสยามทรงแปลและเรียบเรียงเมล็ดทองคำตามลำดับ ให้เสร็จภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับพระราชสาส์นนี้เป็นต้นไป ถ้าทรงกระทำไม่สำเร็จตามสัญญาก็จะยึดกรุงศรีอยุธยาให้อยู่ใต้พระบรมเดชานุภาพของพระอ
    งค์ และทางกรุงสยามจะต้องส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทองอีกทั้งเครื่องราชบรรณาการแก่กรุงลังกาต
    ลอดไปทุกๆ ปีเยี่ยงประเทศราชทั้งหลาย


    <!--coloro:#FFFF00--><!--/coloro-->๏ พระสุบินนิมิต <!--colorc--><!--/colorc-->

    เมื่อพระเอกาทศรถทรงทราบความ ดังนั้น จึงมีพระบรมราชโองการให้สังฆการีเขียนประกาศนิมนต์พระราชาคณะและพระเถระทั่วพระมหานค
    ร ให้กระทำหน้าที่เรียบเรียงและแปลตัวอักษรทองคำในครั้งนี้ แต่ก็ไม่มีท่านผู้ใดสามารถเรียบเรียงและแปลอักษรทองคำในครั้งนี้ได้ จนกาลเวลาลุล่วงผ่านไปได้หกวัน ยังความปริวิตกแก่พระองค์และไพร่ฟ้าประชาชนต่างพากันโจษขานถึงเรื่องนี้ให้อื้ออึงไป
    หมด

    ครั้นราตรีกาลยามหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเข้าพระบรรทมทรงสุบินว่า ได้มีพระยาช้างเผือกลักษณะบริบูรณ์เฉกเช่นพระยาคชสารเชือกหนึ่ง ผายผันมาจากทางทิศตะวันตก เยื้องย่างเข้ามาในพระราชนิเวศน์แล้วก้าวเข้าไปยืนผงาดตระหง่านบนพระแท่นพลางเปล่งเส
    ียงโกญจนาทกึกก้องไปทั่วทั้งสี่ทิศ เสียงที่โกญจนาทด้วยอำนาจของพระยาคชสารเชือกนั้นยังให้พระองค์ทรงสะดุ้งตื่นจากพระบร
    รทม

    รุ่งเช้าเมื่อพระองค์เสด็จออกว่าราชการ ได้ทรงรับสั่งถึงพระสุบินนิมิตประหลาดให้โหรหลวงฟังและได้รับการกราบถวายบังคมทูลว่า
    เรื่องนี้หมายถึงชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของพระองค์และพระบรมเดชานุภาพจะแผ่ไพศาลไปทั่วสาร
    ทิศเป็นที่เกรงขามแก่อริราชทั้งปวง ทั้งจะมีพระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งจากทางทิศตะวันตก มาช่วยขันอาสาแปลและเรียบเรียงตัวอักษรทองคำปริศนาได้สำเร็จ พระเจ้าอยู่หัวได้ฟังดังนั้นจึงค่อยเบาพระทัย และรับสั่งให้ข้าราชบริพารทั้งมวลออกตามหาพระภิกษุรูปนั้นทันที


    <!--coloro:#6600CC--><!--/coloro-->๏ อักษรเจ็ดตัว<!--colorc--><!--/colorc-->

    ต่อมาสังฆการีได้พยายามเสาะแสวงหาจนไปพบ “เจ้าสามีราม” ที่วัดราชานุวาส และเมื่อได้ไต่ถามได้ความว่าท่านมาจากเมืองตะลุง (พัทลุงในปัจจุบัน) เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย สังฆการี จึงเล่าความตามเป็นจริงให้เจ้าสามีรามฟังทั้งได้อ้างตอนท้ายว่า “เห็นจะมีท่านองค์เดียวที่ตรงกับพระสุบินของพระเจ้าอยู่หัว จึงใคร่ขอนิมนต์ให้ไปช่วยแก้ไขในเรื่องร้ายดังกล่าวให้กลายเป็นดี ณ โอกาสนี้”

    ครั้นแล้วเจ้าสามีรามก็ตามสังฆการีไปยังที่ประชุมสงฆ์ ณ ท้องพระโรง พระเจ้าอยู่หัวทรงมีรับสั่งให้พนักงานปูพรมให้ท่านนั่งในที่อันควร พราหมณ์ทั้งเจ็ดคนได้ประมาทเจ้าสามีรามโดยว่า เอาเด็กสอนคลานมาให้แก้ปริศนา เจ้าสามีรามก็แก้คำพราหมณ์ว่า กุมารเมื่ออกมาแต่ครรภ์พระมารดา กี่เดือนกี่วันจึงรู้คว่ำ กี่เดือนกี่วันจึงรู้นั่ง กี่เดือนกี่วันจึงรู้คลาน จะว่ารู้คว่ำแก่ หรือจะว่ารู้นั่งแก่ หรือจะว่ารู้คลานแก่ ทำไมจึงว่าเราจะแก้ปริศนาธรรมมิได้ พราหมณ์ก็นิ่งไปไม่สามารถตอบคำถามท่านได้ จากนั้นจึงรีบนำบาตรใส่อักษรทองคำเข้าไปประเคนแก่เจ้าสามีราม

    ท่านรับประเคนมาจากมือพราหมณ์แล้วนั่งสงบจิตอธิษฐานว่า “ขออำนาจคุณบิดามารดาครูบาอาจารย์และอำนาจผลบุญกุศลที่ได้สร้างมาแต่ปางก่อนและอำนาจ
    เทพยดาที่รักษาพระนครตลอดถึงเทวดาอารักษ์ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ครั้งนี้อาตมาจะแปลพระธรรมช่วยกู้บ้านกู้เมือง ขอให้ช่วยดลบันดาลจิตใจให้สว่างแจ้งขจัดอุปสรรคที่จะมาขัดขวาง ขอให้แปลพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าสำเร็จสมปรารถนาเถิด”

    ท่านรับประเคนมาจากมือพราหมณ์แล้วนั่งสงบจิตอธิษฐานว่า “ขออำนาจคุณบิดามารดาครูบาอาจารย์และอำนาจผลบุญกุศลที่ได้สร้างมาแต่ปางก่อนและอำนาจ
    เทพยดาที่รักษาพระนครตลอดถึงเทวดาอารักษ์ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ครั้งนี้อาตมาจะแปลพระธรรมช่วยกู้บ้านกู้เมือง ขอให้ช่วยดลบันดาลจิตใจให้สว่างแจ้งขจัดอุปสรรคที่จะมาขัดขวาง ขอให้แปลพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าสำเร็จสมปรารถนาเถิด”

    ครั้นแล้วท่านก็คว่ำบาตรเทอักษรทองคำเริ่มแปลปริศนาธรรมทันที ด้วยอำนาจบุญญาบารมี กฤษดาภินิหารของท่านที่ได้จุติลงมาเป็นพระโพธิสัตว์โปรดสัตว์ในพระพุทธศาสนา กอปรกับโชคชะตาของประเทศชาติที่จะไม่เสื่อมเสียอธิปไตย เดชะบุญญาบารมีในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เทพยาดาทั้งหลายจึงดลบันดาลให้ท่านเรียบเรียงและแปลอักษรจากเมล็ดทองคำ 84,000 ตัว เป็นลำดับโดยสะดวกไม่ติดขัดประการใดเลย

    ขณะที่ท่านเรียบเรียงและแปลอักษรไปได้มากแล้ว ปรากฏว่าเมล็ดทองคำตัวอักษรขาดหายไปเจ็ดตัวคือ ตัว สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ ท่านจึงทวงถามเอาที่พราหมณ์ทั้งเจ็ด พราหมณ์ทั้งเจ็ดก็ยอมจำนวน จึงประเคนเมล็ดทองคำที่ตนซ่อนไว้นั้นให้ท่านแต่โดยดี ปรากฏว่าท่านแปลพระไตรปิฎกจากเมล็ดทองคำสำเร็จบริบูรณ์เป็นการชนะพราหมณ์ในเวลาเย็นข
    องวันนั้น

    ขณะที่ท่านเรียบเรียงและแปลอักษรไปได้มากแล้ว ปรากฏว่าเมล็ดทองคำตัวอักษรขาดหายไปเจ็ดตัวคือ ตัว สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ ท่านจึงทวงถามเอาที่พราหมณ์ทั้งเจ็ด พราหมณ์ทั้งเจ็ดก็ยอมจำนวน จึงประเคนเมล็ดทองคำที่ตนซ่อนไว้นั้นให้ท่านแต่โดยดี ปรากฏว่าท่านแปลพระไตรปิฎกจากเมล็ดทองคำสำเร็จบริบูรณ์เป็นการชนะพราหมณ์ในเวลาเย็นข
    องวันนั้น


    มีต่อ<!--sizec--><!--/sizec-->

    <!--sizeo:5-->
    <!--/sizeo--><!--coloro:#FF0000--><!--/coloro-->๏ พระราชมุนี <!--colorc--><!--/colorc-->

    สมเด็จพระเอกาทศรถทรงพระโสมนัสยินดีเป็นที่ยิ่ง ทรงมีรับสั่งถวายราชสมบัติให้แก่เจ้าสามีรามให้ครอง 7 วัน แต่ท่านก็มิได้รับโดยให้เหตุผลว่าท่านเป็นสมณะ พระองค์ก็จนพระทัยแต่พระประสงค์อันแรงกล้าที่จะสนองคุณความดีความชอบอันใหญ่ยิ่งให้แ
    ก่ท่านในครั้งนี้ จึงพระราชทานสมณศักดิ์ให้เจ้าสามีรามเป็น "พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์" ในเวลานั้น

    พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์หรือหลวงพ่อทวดได้ไปจำพรรษาอยู่ ณ วัดราชานุวาส ศึกษาและปฏิบัติธรรมอยู่เป็นเวลาหลายปี ด้วยความสงบร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา


    <!--coloro:#33FF33--><!--/coloro-->๏ โรคห่าเหือดหาย<!--colorc--><!--/colorc-->

    ต่อจากนั้น กรุงศรีอยุธยาเกิดโรคห่าระบาดไปทั่วเมืองประชาราษฎรล้มป่วยเจ็บตายลงเป็นอันมาก ประชาชนพลเมืองเดือดร้อนเป็นยิ่งนัก สมัยนั้นหยูกยาก็ไม่มี นิยมใช้รักษาป้องกันด้วยอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย

    พระเจ้าอยู่หัวทรงพระวิตกกังวลมากเพราะไม่มีวิธีใดจะช่วยรักษาและป้องกันโรคนี้ได้ ทรงระลึกถึงพระราชมุนีฯ มีรับสั่งให้อำมาตย์ไปนิมนต์ท่านเจ้าเฝ้า ท่านได้ช่วยไว้อีกครั้งโดยรำลึกถึงคุณพระศรีรัตนตรัยและดวงแก้ววิเศษ แล้วทำน้ำพระพุทธมนต์ประพรมแก่ประชาชนทั่วทั้งพระนคร โรคห่าก็หายขาดด้วยอำนาจ คุณความดีและคุณธรรมอันสูงส่ง ทำให้พระเจ้าอยู่หัวทรงเลื่อนสมณศักดิ์ท่านขึ้นเป็นพระสังฆราชมีนามว่า "พระสังฆราชคูรูปาจารย์" และทรงพอพระราชหฤทัยในองค์ท่านเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับทรงมีรับสั่งว่า "หากสมเด็จเจ้าฯ ประสงค์สิ่งใด หรือจะบูรณะวัดวาอารามใดๆ ข้าพเจ้าจะอุปถัมภ์ทุกประการ"


    <!--coloro:#33CCFF--><!--/coloro-->๏ กลับสู่ถิ่นฐาน <!--colorc--><!--/colorc-->

    ขณะที่ท่านรุกขมูลธุดงค์ สมเด็จเจ้าฯ ได้เผยแผ่ธรรมะไปด้วยตามเส้นทาง ผ่านที่ไหนมีผู้เจ็บป่วยก็ทำการรักษาให้ ตามแนวทางที่ท่านเดินพักแรมที่ใดนั้น ที่นั่นก็เกิดเป็นสถานศักดิ์สิทธิ์ ประชาชนในถิ่นนั้นได้ทำการเคารพสักการะบูชามาถึงบัดนี้ ได้แก่ที่บ้านโกฏิ อำเภอปากพนัง ที่หัวลำภูใหญ่ อำเภอหัวไทร และอีกหลายแห่ง


    <!--coloro:#FFFF00--><!--/coloro-->๏ สมเด็จพะโคะ <!--colorc--><!--/colorc-->

    ต่อจากนั้น ท่านก็ได้ธุดงค์ไปจนถึงวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะ อันเป็นจุดหมายปลายทาง ประชาชนต่างซึ่งชื่นชมยินดีแซ่ซ้องสาธุการต้อนรับท่านเป็นการใหญ่ และได้พร้อมกันถวายนามท่านว่า "สมเด็จเจ้าพะโคะ" และเรียกชื่อวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะว่า "วัดพะโคะ" มาจนบัดนี้ สมเด็จเจ้าฯ เห็นวัดพระโคะเสื่อมโทรมมาก เนื่องจากถูกข้าศึกทำลายโจรกรรม มีสภาพเหมือนวัดร้างสมเด็จเจ้าฯ กับท่านอาจารย์จวง คิดจะบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพะโคะ

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบ ยินดีและอนุโมทนาเป็นอย่างยิ่ง โปรดให้นายช่างผู้ชำนาญ 500 คน และทรงพระราชทานสิ่งของต่างๆ และเงินตราเพื่อการนี้เป็นจำนวนมาก ใช้เวลาประมาณ 3 ปี จึงแล้วเสร็จ สิ่งสำคัญในวัดพะโคะหรือ พระสุวรรณมาลิกเจดีย์ศรีรัตนมหาธาตุ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุซึ่งพระอรหันต์นามว่าพระมหาอโนมทัสสีได้เป็นผู้เดินทางไ
    ปอัญเชิญมาจากประเทศอินเดียสมเด็จเจ้าฯ ได้จำพรรษาเผยแผ่ธรรมที่วัดพะโคะอยู่หลายพรรษา


    <!--coloro:#FF0000--><!--/coloro-->๏ เหยียบน้ำทะเลจืด <!--colorc--><!--/colorc-->

    ขณะที่สมเด็จเจ้าฯ จำพรรษาอยู่ ณ วัดพะโคะ ครั้งนี้คาดคะเนว่า ท่านมีอายุกาลถึง 80 ปีเศษ อยู่มาวันหนึ่งท่านถือไม้เท้าศักดิ์สิทธิ์ประจำตัวไม้เท้านี้มีลักษณะคดไปมาเป็น 3 คด ชาวบ้านเรียกว่า "ไม้เท้า 3 คด" ท่านออกจากวัดมุ่งหน้าเดินไปยังชายฝั่งทะเลจีน ขณะที่ท่านเดินพักผ่อนรับอากาศทะเลอยู่นั้น ได้มีเรือโจรสลัดจีนแล่นเลียบชายฝั่งมา พวกโจรจีนเห็นท่านเดินอยู่คิดเห็นว่าท่านเป็นคนประหลาดเพราะท่านครองสมณเพศ พวกโจรจึงแวะเรือเทียบฝั่งจับท่านลงเรือไป

    เมื่อเรือโจรจีนออกจากฝั่งไม่นาน เหตุมหัศจรรย์ก็ปรากฏขึ้น คือ เรือลำนั้นแล่นต่อไปไม่ได้ต้องหยุดนิ่งอยู่กับที่ พวกโจรจีนพยายามแก้ไขจนหมดความสามารถเรือก็ยังไม่เคลื่อน จึงได้จอดเรือนิ่งอยู่ ณ ที่นั้นเป็นเวลาหลายวันหลายคืน ในที่สุดน้ำจืดที่นำมาบริโภคในเรือก็หมดสิ้น จึงขาดน้ำจืดดื่มและหุงต้มอาหารพากันเดือดร้อนกระวนกระวายด้วยกระหายน้ำเป็นอย่างมาก
    สมเด็จเจ้าฯ ท่านเห็นเหตุการณ์ความเดือดร้อนของพวกโจรถึงขั้นที่สุดแล้ว ท่านจึงเหยียบกาบเรือให้ตะแคงต่ำลงแล้วยื่นเท้าเหยียบลงบนผิวน้ำทะเลทั้งนี้ย่อมไม่พ
    ้นความสังเกตของพวกโจรจีนไปได้

    เมื่อท่านยกเท้าขึ้นจากพื้นน้ำทะเลแล้วก็สั่งให้พวกโจรตักน้ำตรงนั้นมาดื่มชิมดู พวกโจรจีนแม้จะไม่เชื่อก็จำเป็นต้องลองเพราะไม่มีทางใดจะช่วยตัวเองได้แล้ว แต่ได้ปรากฏว่าน้ำทะเลเค็มจัดที่ตรงนั้นแปรสภาพเป็นน้ำจืดเป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก พวกโจรจีนได้เห็นประจักษ์ในคุณอภินิหารของท่านเช่นนั้น ก็พากันหวาดเกรงภัยที่จะเกิดแก่พวกเขาต่อไป จึงได้พากันกราบไหว้ขอขมาโทษแล้วนำท่านล่องเรือส่งกลับขึ้นฝั่งต่อไป

    เมื่อสมเด็จเจ้าฯ ขึ้นจากเรือเดินกลับวัด ถึงที่แห่งหนึ่งท่านหยุดพักเหนื่อย ได้เอา "ไม้เท้า 3 คด" พิงไว้กับต้นยางสองต้นอันยืนต้นคู่เคียงกัน ต่อมาต้นยางสองต้นนั้นสูงใหญ่ขึ้น ลำต้นและกิ่งก้านสาขาเปลี่ยนไปจากสภาพเดิกกลับคดๆ งอๆ แบบเดียวกับรูปไม้เท้าทั้งสองต้น ประชาชนในถิ่นนั้นเรียกว่าต้นยางไม้เท้า ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งปรากฏอยู่ถึงทุกวันนี้

    สมเด็จเจ้าพะโคะหรือหลวงพ่อทวดครองสมณเพศและจำพรรษาอยู่ที่วัดพะโคะ เป็นที่พึ่งของประชาราษฎร์มีความร่มเย็นเป็นสุข ได้ช่วยการเจ็บไข้ได้ทุกข์ บำรุงสุข เทศนาสั่งสอนธรรมของพระพุทธองค์ ประดุจร่มโพธิ์ร่มไทรของปวงพุทธศาสนิกชนตลอดมา


    <!--coloro:#33CC00--><!--/coloro-->๏ สังขารธรรม<!--colorc--><!--/colorc-->

    หลังจากนั้นหลายพรรษา สมเด็จเจ้าฯ หายไปจากวัดพะโคะ เที่ยวจาริกเผยแผ่ธรรมะไปหลายแห่ง จากหลักฐานทราบว่าท่านได้ไปพำนักที่เมืองไทรบุรี ชาวบ้านเรียกท่านว่า “ท่านลังกา” และได้ไปพำนักที่วัดช้างไห้ ชาวบ้านเรียกท่านว่า “ท่านช้างให้” ดังนี้

    ท่านได้สั่งแก่ศิษย์ว่า หากท่านมรณภาพเมื่อใด ขอให้ช่วยกันจัดการหามศพไปทำการฌาปนกิจ ณ วัดช้างให้ด้วย ขณะหามศพพักแรมนั้น ณ ที่ใดน้ำเหลืองไหลลงสู่พื้นดิน ที่ตรงนั้นให้เอาเสาไม้แก่นปักหมายไว้ ต่อไปข้างหน้าจะเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อ ยู่มาไม่นานเท่าไร ท่านก็ได้มรณภาพลงด้วยโรคชรา ปวงศาสนิกชนก็นำพระศพมาไว้ที่วัดช้างให้ ตำบลควนโนรี อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี สถานที่ที่สมเด็จเจ้าฯ เคยพำนักอยู่หรือไปมา นับได้มีดังนี้คือ วัดกุฎิหลวง, วัดสีหยัง, วัดเสมาเมือง, นครศรีธรรมราช, กรุงศรีอยุธยา, วัดพะโคะ, วัดเกาะใหญ่, วัดในไทรบุรี และวัดช้างให้


    <!--coloro:#66FFFF--><!--/coloro-->๏ ปัจฉิมภาค <!--colorc--><!--/colorc-->

    สมเด็จเจ้าฯ ในฐานะพระโพธิสัตว์หน่อพระพุทธภูมิ ผู้ทรงศีลวิสุทธิทรงธรรมและปัญญาญาณอันล้ำเลิศ กอปรด้วยกฤษดาภินิหารและปาฏิหาริย์ไม่ว่าท่านจะพำนักอยู่สถานที่ใด ที่นั่นจะเป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ไม่ว่าท่านจะจาริกไป ณ ที่ใด ก็จะมีคนกราบไหว้ฟังธรรม หลักการปฏิบัติของท่านเป็นหลักสำคัญของพระโพธิสัตว์คือช่วยเหลือประชาชนและเผยแพร่ธร
    รมะให้ชาวโลกอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข มีความเคารพเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ สมดังคำว่า "พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณัง คัจฉามิ" ตลอดไป
    <!-- / message -->
     
  3. kea.99999

    kea.99999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2009
    โพสต์:
    675
    ค่าพลัง:
    +1,297
    ประวัติหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด

    วัดพะโคะ

    (สมเด็จเจ้าพะโคะ)


    (พระโพธิสัตว์ซึ่งเป็นพระอริยสงฆ์ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ มีฤทธานุภาพ และอิทธิฤทธิ์ด้านปาฏิหาริย์)


    ชื่อของหลวงปู่ทวดที่ประชาชนทั่วไปเรียกตามประวัติมี 6 ชื่อคือชื่อ “ปู” เป็นชื่อที่บิดามารดาตั้งขึ้นเมื่อเกิดใหม่ๆ , ชื่อ สามีราม เป็นชื่อตามฉายาทางศาสนาเมื่อท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุ พระอุปัชฌาย์ให้ชื่อฉายาว่า สามีราโม , ชื่อ สมเด็จพระราชมุนีสามีรามคุณูปรมาจารย์ เป็นชื่อพระราชทานสมณศักดิ์ เมื่อครั้งแก้ปริศนาธรรมชนะแก่พราหมณ์ทูตเมืองลังกา , ชื่อ สมเด็จเจ้าพะโคะ เมื่อท่านได้รับสมณศักดิ์ชั้นสมเด็จแล้วท่านมาบูรณปฏิสังขรณ์และจำวัดณวัดพะโคะ จึงเรียกสมเด็จเจ้าพะโคะ , ชื่อ ท่านลังกา บ้านสวนนายปัจจุบันอยู่ติดทางทิศใต้ของวัดพะโคะ เดิมเป็น หัวเมืองเรียกว่า เมืองลังกาพะโคะหรือลังกาชาติ เมื่อท่านจาริกธุดงค์ไปสถานที่ต่างๆชาวบ้านเรียกว่าท่านลังกา ชื่อ หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด เรียกย่อว่า หลวงพ่อทวด เพราะท่านเป็นพระที่สำคัญทางจิตสูง มีปาฏิหาริย์ ศักดิ์สิทธิ์ สามารถทำน้ำเค็มให้เป็นน้ำจืดได้
    กล่าวกันว่าสมเด็จเจ้าพะโคะองค์นี้ในปลายกัปปัจจุบันจะได้มาตรัสรู้เป็นองค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่าพระศรีอริยะเมตตรัย ในยุคศาสนาพระศรีอริยะ เมตตรัยบ้านเมืองจะอยู่เย็นเป็นสุข ผู้คนจะอายุยืนทุกคนจะตั้งอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม มนุษย์จะมีหน้าตารูปร่างผิวพรรณและภาษาคล้ายคลึงกัน จะมีต้นกัลปพฤกษ์ทุกมุมเมือง ความเดือดร้อนของหมู่มนุษย์จะไม่มีในยุคนั้น
    ซึ่งจะได้กล่าวถึงประวัติสมเด็จเจ้าพะโคะดังนี้ มีสามีภรรยาคู่หนึ่ง ชื่อนายหู นางจัน เป็นคนยากจนแต่ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม เมื่อถึงวันพระก็จะเข้าวัดทำบุญ ทำทานสมาทานศีล และฟังพระธรรมเทศนาเป็นประจำ นายหูกับนางจันปลูกบ้านเรือนอยู่ในที่ดินของเศรษฐีปานเจ้าของสวนจันทร์ ปัจจุบันชื่อว่าบ้านเลียบ หมู่ที่ 1 ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เศรษฐีปานผู้นี้มีข้าทาสและลูกหนี้ชายหญิงมากมาย และนายหูกับนางจันก็เป็นลูกหนี้ของเศรษฐีปานด้วย ต่อมาจันได้คลอดบุตรชายคนหนึ่ง เมื่อวันศุกร์ เดือน 5 ปีมะโรง ตรงกับ พ.ศ.2125 ในวันที่ถึงกำหนดคลอดนั้นได้เกิดแผ่นดินไหวอันเป็นที่อัศจรรย์อย่างยิ่ง นายหู ผู้เป็นบิดาได้เอารกของบุตรชายไปฝังไว้ที่ใต้ต้นเลียบ ซึ่งอยู่ใกล้สวนจันทร์ของเศรษฐีปาน ซึ่งต้นเลียบนั้นได้เจริญงอกงามจนปัจจุบันนี้ มีลำต้นใหญ่มาก ประชาชนถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านเลียบ ซึ่ง ต้นเลียบใหญ่นั้นวัดโดยรอบประมาณ 13 เมตร(อยู่ในบริเวณบ้านสวนจันทร์ในอดีต) ปัจจุบันอยู่ในบริเวณบ้านเลียบ ซึ่งอยู่ทางทิศอาคเนย์ของวัดพะโคะ ระยะทางประมาณ 2 กม. อายุต้นเลียบ 425 ปีกว่า บัดนี้เป็นที่อยู่สำนักสงฆ์ต้นเลียบ สร้างพระพุทธรูปปางต่างๆ และรูปจำลองของสมเด็จเจ้าพะโคะ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สักการบูชาได้ศึกษาประวัติความเป็นมา
    ครั้งนั้นเป็นเทศกาลเดือน 4 อันเป็นฤดูเกี่ยวข้าวเศรษฐีปานจึงเร่งรัดข้าทาสชายหญิง และลูกหนี้ให้ไปเกี่ยวข้าวในนา ในจำนวนนี้มีนางจันที่เพิ่งคลอดบุตรใหม่ๆ ถูกรบเร้าให้ไปเกี่ยวข้าวด้วย นางจันได้ขอผัดเอาไว้ แต่เศรษฐีปานไม่ยอมยกเว้นยังคงเร่งรัดให้นางจันไปเกี่ยวข้าวให้ได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการชดเชยกับการชำระหนี้นางจันจึงยอมออกไปเกี่ยวข้าวให้เศรษฐีปานในวันต่อมา ในกาลนี้นางจันได้พาบุตรน้อยซึ่งเพิ่งคลอดได้ไม่กี่วันไปด้วย ระหว่างที่ออกไปเกี่ยวข้าวในนาพร้อมๆ กับลูกจ้างของเศรษฐีปานนั้น นางจันได้ให้บุตรของนางอยู่ในแปลซึ่งมีผ้าผูกขึงระหว่างต้นไม้ใหญ่ ครั้นเกี่ยวไปได้เวลาพอสมควรนางจันก็ขึ้นจากนามาที่บุตรเพื่อให้กินนม ทันใดนั้นนางก็ได้เห็นงูใหญ่ ขนาดเท่าต้นหมากนอนขดอยู่รอบๆเปล ที่บุตรของนางนอนอยู่ นางตกใจเป็นอันมากก็ได้ตะโกนให้คนทั้งหลายมาช่วย แต่ก็ไม่มีผู้ใดสามารถช่วยได้ ในที่สุดนางคิดได้จึงนั่งลงพนมมือไหว้ระลึกถึงคุณบิดามารดา คุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์ทั้งหลาย ให้ช่วยคุ้มครองบุตรน้อยของนาง ซึ่งจากการอธิฐานจิตของนางได้ผลเป็นอย่างยิ่ง เพราะในบัดดลนั้นเองงูใหญ่ได้เลื้อยจากไป และนางได้เห็นดวงแก้วขนาดใหญ่เท่าไข่นกพิราบวางอยู่ในฝ่ามือของบุตรน้อย เพื่อนบ้านทุกคนที่ไปดูอยู่ด้วยต่างก็เห็นเป็นดวงแก้วมีสีเป็นประกายแวววาว ส่วนเศรษฐีปานนั้นเมื่อเห็นดวงแก้วอันเป็นสิ่งประหลาดก็มีความอยากได้เป็นอย่างมาก จึงเฝ้าวิงวอนขอดวงแก้วอันนั้นจากนางจัน โดยยินยอมยกที่นาและข้าวในนาให้เป็นการแลกเปลี่ยน ตอนแรกนางไม่ยินยอมเพราะดวงแก้วนั้นเป็นของบุตรชายของตน แต่เศรษฐีปานก็ไม่ละความพยายาม เฝ้าวิงวอนอยู่เรื่อยมาๆ และยังเพิ่มทรัพย์สินเงินทองให้นางจันอีกมากมาย ในที่สุดนางจันก็รู้สึกเกรงใจเศรษฐีปาน ในฐานะที่เคยเป็นลูกหนี้มาก่อนจึงได้มอบดวงแก้วให้ไป เมื่อนางจันกลับมาถึงบ้านได้เล่าเหตุการณที่เกิดขึ้นให้นายหูสามีฟัง นายหูเสียใจมากที่ดวงแก้วของบุตรชายตกไปอยู่กับเศรษฐีปาน จึงขอร้องให้นางจันไปขอดวงแก้วนั้นคืน
    ฝ่ายเศรษฐีปานเมื่อได้รับแก้ววิเศษไปแล้ว ปรากฏว่าทั้งบุตรและภรรยาได้เกิดล้มป่วยลงอย่างกะทันหัน ส่วนเศรษฐีปานเองเมื่อนอนหลับฝันเห็นเป็นลางร้ายว่าจะต้องตายกันทั้งครอบครัว เศรษฐีปานตกใจกลัวเป็นอันมาก จึงได้นำเอาแก้ววิเศษพร้อมด้วยทรัพย์สินเงินทองมาทำขวัญให้แก่บุตรชายของนางจัน และขอขมาต่อบุตรชายที่ได้ทำการล่วงเกิน ส่วนที่ดิน นา และข้าวในนาที่มอบให้แล้วไม่เอากลับคืนได้มอบแก่บุตรชายของนางด้วย เพราะขณะนั้นเศรษฐีปานได้เกิดศรัทธาในตัวบุตรชายของนางจันแล้ว ดังนั้นฐานะความเป็นอยู่ของนายหูนางจันจึงได้พ้นจากความยากจนขึ้นมาทันที ทั้งนี้เพราะบารมีของบุตรชาย
    บุตรชายคนนี้ต่อมามีนามว่า ปู เมื่อเด็กชายปูมีอายุได้ 7 ขวบ บิดาได้นำไปฝากไว้กับท่านสมภารจวงวัดกุฎีหลวง (วัดดีหลวง)เพื่อให้เล่าเรียนหนังสือ เด็กชายปูมีความเฉลียวฉลาดมาก สามารถเรียนทั้งหนังสือขอมและไทยได้อย่างรวดเร็ว ครั้นอายุได้ 15 ปี สมภารจวงก็บวชสามเณรให้ พร้อมกันนั้นนายหูผู้บิดาได้มอบแก้ววิเศษไว้เป็นของประจำตัวด้วย ต่อมาสมเณรปูได้ไปศึกษาต่อกับสมเด็จพระชินเสนที่วัดสีหยัง(สีคูยัง) ซึ่งพระชินเสนองค์นี้เป็นอาจารย์ที่เชี่ยวชาญมีชื่อเสียงมาจากกรุงศรีอยุธยา เมื่อสามเณรปูเรียนธรรมบททศชาติมูลบทบรรพกิจจบแล้ว จึงได้เดินทางไปศึกษาต่อที่เมืองนครศรีธรรมราช ครั้นอายุได้ 20 ปีบริบูรณ์ ขุนลกก็นำสามเณรปูไปสู่สำนักพระมหาเถระปิยะทัสสี เพื่อขออุปสมบทเป็นภิกษุ เนื่องจากเวลานั้นที่วัดท่าแพยังไม่มี พัทธสีมาขุนลกจึงได้จัดเรือมาดตะเคียนลำหนึ่ง เรือมาดพะยอมลำหนึ่ง เรือมาดยางลำหนึ่ง เอามาผูกขนานกันที่คลองที่เรือ ซึ่งอยู่กับวัดท่าแพ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช เพื่อใช้เป็นที่อุปสมบทแก่สามเณรปู ขุนลกและญาติพี่น้องทั้งหลายได้มาร่วมในพิธีอุปสมบทโดยพร้อมเพรียงกันในพิธีอุปสมบทสามเณรปูมีพระมหาปิยะทัสสีเป็นพระอุปัชฌายะ พระมหาพุทธสาครเป็นพระกรรมวาจา พระมหาเถระศรีรัตนเป็นอนุกรรมวาจา สามเณรปูเมื่ออุปสมบทแล้วมีฉายาว่า สามีราโม แต่คนทั่วไปเรียกว่า เจ้าสามีราม เจ้าสามีรามได้ศึกษาที่วัดท่าแพ และวัดเสมาเมือง เมื่อเห็นว่าเพียงพอแก่การศึกษาที่เมืองนครศรีธรรมราชแล้ว จึงตั้งใจไปศึกษาต่อที่กรุงศรีอยุธยาโดยไปลงเรือที่ วัดคงคาเลียบ พอดีทราบว่ามีเรือสำเภาของนายอินชาวเมืองสทิงพระ จะไปค้าขายยังกรุงศรีอยุธยาและมาแวะที่เมืองนครศรีธรรมราชด้วยจึงขอโดยสารเรือสำเภาลำนั้นไปยังกรุงศรีอยุธยา ซึ่งนายสำเภาอินก็อนุโมทนารับนิมนต์ไปกับเรือสำเภานั้น เมื่อถึงวันเดินทางเจ้าสามีรามก็อำลา ชีต้นผู้เป็นอาจารย์และโยมทั้งหลายไปกับเรือของนายอิน ครั้นเรือสำเภาแล่นเข้าเขตหน้าเมืองชุมพร ได้บังเกิดคลื่นลมแรงทะเลปั่นป่วนเรือไม่สามารถฝ่าคลื่นลมไปได้ ต้องทอดสมออยู่ 7 วัน 7 คืน เป็นเหตุให้เสบียงอาหารรวมทั้งน้ำจืดที่อยู่ในเรือสำเภาขาดแคลนลง บรรดาลูกเรือต่างก็ตั้งข้อสงสัยกันว่า การเกิดอาเพทครั้งนี้เป็นเพราะเจ้าสามีรามโดยสารมาในเรือดังนั้นทั้งเรือสำเภาและลูกเรือต่างก็ตกปลงใจให้ส่งเจ้าสามีรามขึ้นเกาะ ดังนั้นจึงได้นิมนต์ให้เจ้าสามีรามลงเรือมาด ขณะที่เจ้าสามีรามนั่งอยู่ในเรือมาดนั้น ได้ห้อยเท้าข้างซ้ายซึ่งมีลักษณะทู่ลงในทะเล ก็บังเกิดอัศจรรย์น้ำทะเลบริเวณนั้นเป็นประกายแวววาวโชติช่วง เจ้าสามีรามจึงบอกให้ลูกเรือตักน้ำบริเวณนั้นขึ้นมาดื่ม ก็รู้สึกว่าเป็นน้ำจืด จึงช่วยกันตักใส่เรือไว้จนเพียงพอ ทั้งนายสำเภาอินและลูกเรือก็สำนึกในความผิดก้มลงกราบขอขมาเจ้าสามีราม และนิมนต์ขึ้นเรือสำเภาอีก และนับถือเจ้าสามีราม เป็นชีต้นหรืออาจารย์แต่นั้นมา หลังจากนั้นเรือสำเภาก็ได้แล่นเร็วเกินความคาดหมายมุ่งตรงเข้าสู่กรุงศรีอยุธยา
    ช่วงที่ศึกษาเล่าเรียนที่กรุงศรีอยุธยาได้พำนักอยู่ที่วัดแค และศึกษาธรรมะที่ วัดลุมพลีนาวาส และหลังจากนั้นได้รับนิมนต์ไปพำนักอยู่ที่วัดสมเด็จพระสังฆราช โดยได้ศึกษาธรรมและภาษาบาลีจนมีความรู้เชี่ยวชาญจึงขอลาสมเด็จพระสังฆราชไปจำพรรษาที่ วัดราชานุวาสซึ่งอยู่นอกกำแพงเมืองและสงบดี
    ประมาณ พ.ศ. 2149 กษัตริย์ประเทศลังกาคิดจะแผ่อำนาจมายังประเทศสยาม เพราะครั้งหนึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรสยามตอนใต้ด้วยการท้าพนันเมืองกันในการแปลธรรมะ โดยคิดว่าประเทศสยามคงจะหาผู้เชี่ยวชาญมาแปลไม่ได้ คงจะเป็นฝ่ายแพ้ แต่ในที่สุดก็มีนักปราชญ์มาจากทิศใต้ คือหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด สามารถแปลธรรมะครั้งนี้ได้สำเร็จรอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของประเทศลังกา ซึ่งเปรียบเสมือนการทำสงครามแบบใหม่ เรียกว่า “ ธรรมยุทธ” ซึ่งการแปลปริศนาธรรมแผ่นทองคำจารึกอักขระ 7 คัมภีร์ พรหมณ์ราชทูตทั้ง 7 จึงยอมแพ้ก้มลงกราบเจ้าสามีรามด้วยความเคารพเลื่อมใสยิ่ง ชัยชนะในครั้งนี้ได้รับการโห่ร้องแสดงความยินดี ดังกึกก้องไปทั่วท้องพระลานหลวง และได้มีการตีกลองสัญญาณประโคมสังคีตดนตรีกันอย่างครื้นเครง พราหมณ์ราชทูตทั้ง 7 ได้นำเครื่องราชบรรณาการเหล่านั้นมาถวายแก่เจ้าสามีราม สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าแต่งตั้งสมณศักดิ์ว่า “สมเด็จพระราชมุนีสามีรามคุณูปรมาจารย์” สมเด็จเจ้าฯไม่ยอมรับเครื่องบรรณาการ และได้ถวายคืนแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้สร้างกุฏิขึ้น 1 หลัง ถวายแก่สมเด็จเจ้าฯพร้อมกับเมืองอีกกึ่งหนึ่ง สมเด็จเจ้าพำนักอยู่ที่กุฎิหลังนั้น 3 วัน ก็ถวายกุฎิและเมืองคืนแก่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ สมเด็จเจ้าฯก็ไปพำนักอยู่ที่วัดราชานุวาส ซึ่งเป็นสถานที่สงบดังเดิม
    เมื่ออยู่ในช่วงระยะหนึ่ง กรุงศรีอยุธยาได้เกิดโรคห่าระบาดอย่างร้ายแรง ประชาชนล้มตายเป็นจำนวนมาก สมเด็จเจ้าฯจึงได้ทำพิธีปลุกเสกน้ำพระพุทธมนต์ ระลึกถึงคุณพระศรีรัตนตรัย เพ่งเอาพระบารมีที่สมเด็จเจ้าฯสร้างมาพร้อมทั้งเอาดวงแก้ววิเศษเป็นแรงอธิฐาน นำไปประพรมแก่ประชาชนในไม่ช้าก็หายจากโรคร้ายดังกล่าวไปในที่สุด สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ทรงมีดำรัสว่าถ้าสมเด็จเจ้าฯประสงค์จะบูรณะวัดพะโคะ หรือวัดใดๆ พระองค์จะอุปถัมภ์ทุกประการ
    หลังจากอยู่กรุงศรีอยุธยาหลายปี ต่อไม่นานสมเด็จเจ้าฯ ได้ทูลลาสมเด็จพระสังฆราชาธิบดี และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อเดินทางกลับวัดพะโคะ ซึ่งเป็นปิตุภูมิ มาตุภูมิ ในการเดินทางกลับจาริกธุดงค์ประมาณ 3 เดือน เดินป่าผ่านแม่น้ำลำคลองแห่งหนึ่ง ไม่มีเรือแพจะข้ามสมเด็จเจ้าฯจึงแสดงปาฏิหาริย์เดินบนผืนน้ำ บรรดาสัตว์น้ำต่างก็กราบไหว้วันทาทั่วกัน ได้บิณฑบาต และเที่ยวเทศนาสั่งสอนผู้คน ที่ไหนมีผู้เจ็บไข้ได้ป่วย สมเด็จเจ้าก็ทำน้ำมนต์รักษาให้ตลอดเส้นทางที่เดินทาง
    ต่อมาสมเด็จเจ้าฯได้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดพะโคะ โดยได้รับอนุโมทนา และอุปถัมภ์จากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเฉพาะการบูรณะพระมาลิกเจดีย์(พระสุวรรณมาลิกเจดีย์ศรีรัตนมหาธาตุ) , พระอุโบสถ , ธรรมศาลา , พระพุทธไสยาสน์(พระพุทธโคตมะ) ฯ โดยเวลาในการดำเนินงานเป็นเวลาประมาณ 3 ปี
    สมเด็จเจ้าฯจำพรรษาอยู่ในวัดพะโคะหลายพรรษา และได้แสดงปาฏิหาริย์ มากมาย โดยเฉพาะการเหยียบน้ำทะเลเค็ม น้ำก็เป็นประกายโชติช่วงเป็นน้ำจืดเอาน้ำมาดื่มกินได้เลย
    ในช่วงวาระสุดท้ายเล่ากันว่า วันหนึ่งเป็นวันจันทร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 สมเด็จเจ้าฯได้ทำสังฆกิจ และเข้าฌานสมาบัติ และหายไปในคืนวันนั้นซึ่งเป็นวันเพ็ญ เดือน 6 ไปพร้อมกับสามเณรรูปหนึ่งซึ่งได้นำดอกมณฑาสวรรค์มากราบไหว้สมเด็จเจ้าฯ (ซึ่งต่อมาเล่าขานกันว่า สามเณรรูปนั้น คือ หลวงปู่ทิม นั่นเอง)
    หลังจากที่สมเด็จเจ้าฯหายไปจากวัดพะโคะแล้ว ก็ได้จาริกธุดงค์ไปในที่หลายแห่ง ท้องที่หรือเมืองใด ที่สมเด็จเจ้าฯเห็นว่าประชาชนมีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา สมเด็จเจ้าฯก็จะไปเผยแพร่ที่นั่น บางแห่งก็ผ่านไป บางแห่งก็พำนักอยู่หลายปีหลายเดือน
    โดยบางตำนานกล่าวว่าสมเด็จเจ้าฯได้ละสังขารขณะจาริกธุดงค์ไปที่ประเทศมาเลเซีย และพญาช้างสารได้นำพระศพเดินทางกลับแผ่นดินเกิดประเทศไทย พญาช้างสารได้หยุดที่ใดได้สร้างวัดที่นั่น ที่นั้นก็คือวัดช้างให้ ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ ต.นาประดู่ อ.โคกโพธิ์ จ. ปัตตานี เป็นที่มาของวัดช้างให้ หรือ หลวงพ่อทวดวัดช้างให้ ก็คือ หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด นั้นเอง
    (รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประวัติหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด และวัดพะโคะ สามารถดูได้จากหนังสือของวัดพะโคะ)
    --------------------------------------------------------------------------------
    “ไม่มีใครที่ห้อยหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืดแล้วตายโหง”
    (เป็นคำพูดของเจ้าหน้าที่ตำรวจและอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยที่มีประสบการณ์ในการช่วยเหลือ คนที่เกิดอุบัติเหตุในทุกเหตุการณ์ )




    สมเด็จราชมุณีสามีรามคุณูปรมาจารย์
    สมเด็จเจ้าพะโคะ
    (หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด)
    คาถาอาราธนา
    ปาทัง ราชะมุนีสามีรามัง อาราธะนัง สาระณัง อาคัจฉามิ ( 3 ครั้ง )
    คาถาบูชา
    นะโมโพธิสัตโต ราชะมุณีสามีราโม มหาปุญโญ อานุภาเวนะ เมรักขันตุ (3 ครั้ง) ​

    <!-- / message --><!-- edit note -->
     
  4. kea.99999

    kea.99999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2009
    โพสต์:
    675
    ค่าพลัง:
    +1,297
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    เอกกระสารเก่าของ 1

    ประวัติ
    วัดแค ตำบลหัวรอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

    วัดแคตั้งอยู่บริเวรเกาะลอยริมแม่นำแควป่าสัก ชานเมืองกรุงศรีอยุธยา ตามประหลักฐานไม่ปรากฏชัด แต่สันนิฐานว่า วัดนี้สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เพราะพระพุทธรูปที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน เป็นแบบศิลาสีขาว ศิลาสีเขียว และศิลาทราย มีเป็นจำนวนมาก แตไม่สมบูรณ์ จากคำบอกเล่าของท่านผู้เฒ่า อายุ 95 ปี มีบ้านอยู่ใกล้เล่าว่า เมื่อปี พ.ศ.2500 มีพวกมิจฉาชีพได้ลักพาพระศิลาสีเขียว พระศิลาสีขาวไปหมด คงเหลือแต่พระสิลาทรายที่ชำรุดไว้ หลักฐานที่อยู่คือแผ่นอิฐใหญ่ ๆ คล้าย ๆ แผ่นอิฐกลางเมือง และฐานวิหารเก่า ส่วนฐานวิหารนั้น ท่านปลัดวัฒนา กันตามระ ได้สืบเอาประวัติมาว่า เป็นวิหารของหลวงปู่ทวด เหยียบนำทะเลจืด ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ต้องการหาพระผู้เรืองวิชา เพื่อมาช่วยแก้ปัญหา ตามประวัตินั้น ซึ่งมีชาวเมืองอื่นมาท้าพนัน ถ้าแก้ปัญหาไม่ได้จะเสียพระนคร พระราชาจึงสั่งให้นายนักการทั้งหลายสืบหาดูพระผู้เรืองวิชา ปรากฏว่ามีหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด นครศรีธรรมราช เมื่อพระราชาทรงทราบจึงรับสั่งให้นิมนต์เข้ามาในพระนคร ทรงบอกเรื่องทั้งหมดให้ทราบ ปรากฏว่าอักขระทั้งหมดหลวงปู่แก้ได้ทั้งหมด และที่หายไปก็ยังรู้ เมื่อพระองค์ทราบว่าแก้ปัญหาได้ชนะพระองค์ทรงดีพระทัย มีพระดำรัสให้ครองพระนครกึ่งหนึ่ง และถวายทรัพย์อีกส่วนหนึ่ง แต่หลวงปู่ทวดไม่ยอมรับ เพียงแต่ขอเพื่อพักอาศัยการปฏิบัติอยู่ใกล้ ๆ ชานเมือง พระองค์จึงให้สร้างวัดขึ้นใหม่ ให้นามว่า "วัดราชานุวาส" แปลว่าเป็นที่อยู่ของพระราชาองค์น้อย ถวายแด่หลวงปู่ทวด และทรงตั้งฐานันดรศักดิ์ "เป็นสมเด็จพะโค๊ะ" ต่อมาอยุธยาใกล้จะเสียกรุง พม่าได้ยกทัพใหญ่มาตั้งที่โพธิ์สามต้น อำเภอบางปะหัน แล้วจึงสั่งทัพหน้ามาตั้งอยู่ที่บริเวณวัดมณฑป, วัดแค ซึ่งตั้งอยู่ใกล้เมืองด้านตะวันออก เพราะสะภาพของเมืองมีแม่นำล้อมรอบ พม่าจึงทำสะพานเชือกข้ามครองไปสู่เมืองหลวง

    จึงสันนิฐานตามประวัติศาสตร์ วัดนี้คงเป็นพระอารามหลวง คงร่วงโรยมาเป็นลำดับ หรืออาจจะเป็นวัดร้างมาสมัยหนึ่งปัจจุบันวัดนี้ชำรุดทรุดโทรมมาก มีเจ้าอาวาสปกครองมาเป็นลำดับ จนถึงเจ้าอธิการเพิ่ม ฐิติญาโณ เจ้าคณะหมวด ในสมัยนั้นเป็นเจ้าอาวาส เป็นพระเถรนักปฏิบัติ ต่อมาปฏิบัติไม่สำเร็จ ท่านจึงเล่นแร่แปลธาตุ ปรากฏว่าท่านทำพระของ่ทานไว้มากมาย เป็นที่รู้จักของวงการพระเครื่อง แม้เหรียญของก็ยังมีการประกวดอยู่มีราคาสูงพอสมควร ช่วงนี้จึงไม่การบูรณะปฏิสังขรณ์ เมื่อท่านมรณภาพแล้ว ทางการคณะสงฆ์ จึงส่งพระมหาระหงษ์ มาเป็นเจ้าอาวาส เมื่อมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสแล้ว จึงเริ่มการก่อสร้าง การบูรรณะปฏิสังขรณ์ รวมทั้งการศึกษาฝ่ายบาลี-นักธรรมขึ้นจนถึงปัจจุบัน ต่อมาเจ้าอาวาสได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลท่าวาสุกรีเขต 2 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่ "พระครูอดุลวิริยกิจ" และดำรงตำแหน่งพระอุปัชฌาย์ประจำตำบล ฯ ได้สร้างกุฏิทั้งหมด 17 หลังศาลาการเปรียญ 1 หลังมีพระสงฆ์-สามเณรอยู่จำพรรษา 25 รูป ศิษย์วัด 12 คน ชี 4 คน ปัจจุบันดำริห์จะสร้างเมรุปูนถาวร และจะปฏิสังขรณ์อุโบสถ แต่ทางวัดยังขาดทุนทรัพย์ในการนี้ จึงใคร่ขอความอุปถัมภ์จากท่านสาธุชนโยทั่วไป

    พระครูอดุลวิริยกิจ

    เจ้าอาวาสวัดแค และเจ้าคณะตำบลท่าวาสุกรีเขต 2

    อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

    27 มิถุนายน 2527
    สีเขียวเอกกระสารเก่า 2

    <!-- / message --><!-- attachments -->
     
  5. kea.99999

    kea.99999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2009
    โพสต์:
    675
    ค่าพลัง:
    +1,297
    [FONT=Tahoma][SIZE=5][COLOR=#ff0000]ข่าวประกวดราคา ประจำวันที่ 3 กันยายน 2551[/COLOR][/SIZE][/FONT]
    [​IMG]
    ประกาศจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    เรื่อง ประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ งานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง
    และปรับภูมิทัศน์ริมแม่น้ำลพบุรี หน้าวัดแค(ราชานุวาส) ตำบลหัวรอ
    อำเภอพระนครศรีอยุธยาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

    ความยาว 60.00 เมตร จำนวน 1 โครงการ


    ...................................................
    <TABLE class=fontblack width=757 border=0><TBODY><TR class=fontblack><TD width=153 height=18>ประมูลจ้าง :</TD><TD width=582>จ้างก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง และปรับภูมิทัศน์ริมแม่น้ำลพบุรี หน้าวัดแค(ราชานุวาส) ตำบลหัวรอ ความยาว 60.00 ม.</TD></TR><TR class=fontblack><TD height=18>าคากลาง :</TD><TD>5,004,000 บาท (ห้าล้านสี่พันบาทถ้วน)</TD></TR><TR class=fontblack><TD height=18>ดูสถานที่ :</TD><TD>วันที่ 4 กันยายน 2551 เวลา 09.00 น. - 10.00 น. </TD></TR><TR class=fontblack><TD height=18>ยื่นซอง :</TD><TD>วันที่ 15 กันยายน 2551 เวลา 09.30 น. - 10.00 น. ณ สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ศาลากลางจังหวัด </TD></TR><TR class=fontblack><TD height=18>ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ :</TD><TD>วันที่ 15 กันยายน 2551 เวลา 11.00 น.</TD></TR><TR class=fontblack><TD>ซื้อเอกสารการประมูล :</TD><TD>วันที่ 2 - 10 กันยายน 2551 ที่ ฝ่ายบริหารงานธุรการ สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ศาลากลางจังหวัด</TD></TR><TR class=fontblack><TD>สถานที่ติดต่อ :</TD><TD>โทร. 0-3533-6543 ในวันและเวลาราชการ</TD></TR><TR class=fontblack><TD colSpan=2>
    ประกาศ ณ วันที่ 1 กันยายน 2551

    </TD></TR><TR class=fontblack><TD colSpan=2>
    ลงข่าววันที่ 3 กันยายน 2551 เวลา 15.15 น.

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]

    <!-- / message -->
     
  6. kea.99999

    kea.99999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2009
    โพสต์:
    675
    ค่าพลัง:
    +1,297
  7. kea.99999

    kea.99999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2009
    โพสต์:
    675
    ค่าพลัง:
    +1,297
  8. kea.99999

    kea.99999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2009
    โพสต์:
    675
    ค่าพลัง:
    +1,297
  9. kea.99999

    kea.99999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2009
    โพสต์:
    675
    ค่าพลัง:
    +1,297
    [​IMG] วัดแคราชานุวาส6/1/52
    <HR style="COLOR: #cccccc" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->
    [​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG]
     
  10. kea.99999

    kea.99999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2009
    โพสต์:
    675
    ค่าพลัง:
    +1,297
    [​IMG] วัดแคราชานุวาส
    <HR style="COLOR: #cccccc" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->
    [​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG]
     
  11. kea.99999

    kea.99999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2009
    โพสต์:
    675
    ค่าพลัง:
    +1,297
    [​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG]
    ...ตรงต้นตะเคียน ที่ท่านเห็น จะเป็นที่ตั้งฐานหลวงปู่ทวด...

    ...เสาเข็มที่ท่านเห็น เป็นบันได กว้าง 6 เมตร...

    <!-- / message --><!-- attachments -->
     
  12. kea.99999

    kea.99999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2009
    โพสต์:
    675
    ค่าพลัง:
    +1,297
  13. kea.99999

    kea.99999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2009
    โพสต์:
    675
    ค่าพลัง:
    +1,297
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG]วิหารหลวงพ่อขาว[​IMG]

    <!-- / message --><!-- attachments -->
     
  14. kea.99999

    kea.99999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2009
    โพสต์:
    675
    ค่าพลัง:
    +1,297
    [​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG]

    [​IMG]ทุกวันพฤหัสบดี เชิญมาไห้วหลวงปู่ด้วยกัน[​IMG]

    <!-- / message --><!-- attachments -->
     
  15. kea.99999

    kea.99999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2009
    โพสต์:
    675
    ค่าพลัง:
    +1,297
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG]

    <!-- / message --><!-- attachments -->
     
  16. kea.99999

    kea.99999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2009
    โพสต์:
    675
    ค่าพลัง:
    +1,297
    [​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG]
    พิพธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษม

    ตรงข้ามทางไปวัดแค(ราชานุวาส)
    [​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG]
    มีลานจอดรถ ลงเรือตรงศาลาท่าน้ำ คุณจะจ้างเรือมาที่วัดแคราชานุวาส
    หรือลงเรือพายมาขึ้นที่วัดมณฑป และเดินประมาณ 120 เมตร (ค่าเรือ 3 บาท)​

    <!-- / message --><!-- attachments -->
     
  17. kea.99999

    kea.99999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2009
    โพสต์:
    675
    ค่าพลัง:
    +1,297
    [​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG]

    9/1/52​

    <!-- / message --><!-- attachments -->
     
  18. kea.99999

    kea.99999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2009
    โพสต์:
    675
    ค่าพลัง:
    +1,297
    สถานที่ท่องเที่ยวกรุงเก่า

    [​IMG][​IMG]

    วัดแค(ราชานุวาส) อยู่อันดับที่ 62 (เกาะลอย)​

    <!-- / message --><!-- attachments -->
     
  19. kea.99999

    kea.99999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2009
    โพสต์:
    675
    ค่าพลัง:
    +1,297
    เหตุอัศจรรย์ ณ วัดเเค เรื่องจริงไม่อิงนิยาย
    วัดเเท้ๆของหลวงพ่อทวดที่ปรากฏในพงศาวดารไทย

    วัดเเคราชานุวาสเป็นวัดสมัยอยุธยาที่อยู่เกาะกลางน้ำอยู่ตรงข้าววังจันทรเกษม ซึ่งวัดเเคนี้เองมีความสำคัญยิ่งกล่าวคือเป็นวัดที่สอนสั่งหลวงพ่อทวดให้เรียนรู้หลักธรรมหรือหลักใจในชีวิตสมณเพศของท่านอยู่หลายปีเรียกว่าบำเพ็ญบารมีที่วัดนี้เยี่ยงปัญญาบารมีหลายปี ชัดเจนทุกคำ ก่อนที่ท่านเองจำตอบปัญหากู้เมืองกู้ชาติของกรุงศรีอยุธยาก็ได้ความรู้หลักๆจากที่นี่อีกนั่นเเหละเรียกได้ว่าถ้าไม่มีวัดเเคไม่มีหลวงพ่อทวดไม่มีวัดเเคอยูธยาต้องเสียเมืองบางส่วนในครั้งนั้นอย่างเเน่นอนฉะนั้นวัดเเคนี้เองเป็นวัดที่มีคุณูปการกับประเทศไทยเราเมื่อครั้งอดีตอันจะหาเหตุผลมาเเย้มิได้เลย

    วัดเเคนี้เองมีหลักฐานสำคัญว่าเกี่ยวข้องกับสมัยอยุธยาจริงหลายประการไม่ว่าจะเป็นซากอิฐกุฏิเเท้ๆที่กล่าวว่าเป็นกุฏิเดิมของสมเด็จพระราชมุนีหรือหลวงพ่อทวดรวมทั้งหลังคาดินเผาเทพพนมเเละตราครุฑซึ่งหาชมได้ยากยิ่งรวมทั้งพระกรุวัเเคอันลือชื่อนั่นเองที่ทำให้วัดเเคนี้สมศักดิ์เเละสิทธิ์แห่งวัดสายตรงหลวงพ่อทวดทุกประการ[​IMG]
    <!-- / message --><!-- edit note -->
     
  20. kea.99999

    kea.99999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2009
    โพสต์:
    675
    ค่าพลัง:
    +1,297
    [​IMG] คณะญาติธรรม..จากกรุงเทพฯ..มาด้วยความศรัทธา..[​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG]

    <!-- / message --><!-- attachments -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...